วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 09
จนถึงสามารถที่จะแทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลาย อย่างสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่ลืมว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล นี่คือการสะสมสุตะ ทรงไว้ ระลึกได้ แล้วยังสามารถที่จะแทงตลอดในสภาพธรรมนั้นด้วย ถ้ามีการฟังบ่อยๆ แล้วก็ไม่มีความเข้าใจผิดในสภาพธรรมที่ปรากฏโดยการฟัง และโดยการระลึก โดยการศึกษาตามสุตะที่ได้สั่งสมไว้ ให้ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตรงตามที่ได้ศึกษา ข้อสำคัญคือต้องตรง นี่คือประโยชน์ของการเป็นผู้ที่สะสมสุตะ หรือการฟังมามาก มิฉะนั้นแล้ว การฟังก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าไม่ได้ประจักษ์สภาพธรรมตรงตามที่ได้ทรงแสดงไว้ แม้ลักษณะของจิต หรือเจตสิก หรือรูปแต่ละลักษณะ ทรงแสดงไว้อย่างไร ผลคือผู้ที่แทงตลอดสภาพธรรมนั้นตามความเป็นจริง สามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมนั้นตรงตามที่ทรงแสดงไว้ ตามลักษณะของสภาพธรรมที่ได้ทรงประจักษ์ และได้ทรงแสดงไว้ มิฉะนั้นแล้ว การสะสมสุตะก็ไม่มีประโยชน์เลย ถ้าไม่สามารถที่จะแทงตลอดในสภาพธรรมที่ได้ศึกษา ที่ได้ฟังมาแล้ว
แล้วในธนสูตรที่ ๑ และธนสูตรที่ ๒ ในอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มีข้อความเกี่ยวกับอริยทรัพย์ ซึ่งได้แก่ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และปัญญา
ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว กุศลทั้งหมดเป็นทรัพย์ที่แท้จริง อกุศลไม่ใช่ทรัพย์เลย และไม่นำมาซึ่งทรัพย์ทั้งปวงด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะเจริญกุศลได้ยิ่งขึ้นก็จะต้องอาศัยศรัทธา ถ้าปราศจากศรัทธา ขาดศรัทธาเสียแล้ว ก็ไม่สามารถอบรมเจริญกุศลให้ยิ่งขึ้น แม้แต่ศรัทธาในการฟังธรรมหรือในการปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้น ศรัทธานี้เปรียบเหมือนพืช ถ้าไม่มีพืชก็ย่อมปลูกข้าวหรือปลูกพืชพรรณใดๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น ก่อนอื่นทีเดียวก็ต้องมีพืช คือ ศรัทธาในการฟังพระธรรม เป็นสิ่งที่สำคัญมากทีเดียว ถ้าขาดศรัทธาในขั้นต้น คือ ในขั้นการฟังก็ย่อมจะไม่ประพฤติปฏิบัติตามได้
สำหรับโภคทรัพย์กับปัญญา หรืออริยทรัพย์ จะเลือกอย่างไหน สำหรับผู้ที่มีชีวิตดำเนินไปในสังสารวัฏฏ์ ที่ยังไม่ได้ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท ก็คงจะอดที่จะคอยเอาทรัพย์เผื่อไว้ก่อนไม่ได้ ระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ถ้าเป็นผู้ที่มั่นคงจริงๆ ก็จะไม่หวั่นไหว เพราะเหตุว่าถ้าจะเอาทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมดมาแลกกับปัญญา ซึ่งเริ่มเข้าใจในพระธรรมแล้วสามารถที่จะอบรมเจริญปัญญาให้ยิ่งขึ้น ท่านจะไม่หวั่นไหวเลยค่ะ เพราะเหตุว่าท่านมีความมั่นคงในกุศล แต่ว่ากุศลนี่ก็แสนที่จะมั่นคงยากเหลือเกิน ลองคิดดู ถึงแม้ว่าบางท่านอาจจะทำกุศล เจริญกุศล ปรารถนาที่จะอบรมปัญญาให้ยิ่งขึ้น แต่กระนั้นกิเลสก็ยังคงมีกำลัง เพราะเหตุว่ายังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉท
เพราะฉะนั้น ในบางขณะยังปรารถนาบางสิ่งบางอย่างอยู่เรื่อยๆ มีไหมคะที่วันนี้จะปราศจากความปรารถนา ไม่มี ทั้งๆ ที่รู้ว่าปัญญาเป็นสิ่งประเสริฐ กุศลเป็นสิ่งประเสริฐ การอบรมเจริญสติปัฏฐานเป็นสิ่งประเสริฐ แต่กระนั้นทั้งๆ ที่ทราบอย่างนี้ อกุศลธรรมที่ได้สะสมมา ก็มีปัจจัยที่จะเกิดขึ้นทำให้มีความปรารถนาต้องการสิ่งนั้นบ้าง สิ่งนี้บ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่ปรารถนาจะไม่พ้นจากทรัพย์ หรือว่าต้องอาศัยทรัพย์จึงจะสมปรารถนาได้
ผู้ฟัง เรื่องทรัพย์ และปัญญา ในเรื่องมโหสถก็เคยโต้เถียงกันมา เมื่อผมบวชเป็นพระก็เคยเทศน์ ข้างหนึ่งเป็นทรัพย์ ข้างหนึ่งเป็นพระ ก็ว่ากันไป ในที่สุดก็อาศัยซึ่งกัน และกัน แม้พระผู้มีพระภาคท่านก็ตรัสไว้ อย่างอริยทรัพย์ ท่านก็ว่า สทฺธาธนํ ศีลธนํ หิริโอตตปฺโปธนํ สุตธนํ จาโคธนํ ปญฺญาธนํ คือ ทรัพย์ทั้ง ๗ อย่าง ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และปัญญา เรียกว่าเป็นทรัพย์ชนิดหนึ่ง เอาปัญญาไว้เป็นข้อที่ ๗ จะเป็นหญิงก็ดี ชายก็ดี มีสิ่งทั้ง ๗ อย่างนี้ไม่จน และชีวิตของคนนั้นก็ไม่เปล่า
ท่านอาจารย์ โดยมากผู้ที่จะอบรมเจริญกุศล ก็จะมีศรัทธา และมีความมั่นคงขึ้นในศีล และมีความละเอียดขึ้นในหิริโอตตัปปะ และมีการสะสมการฟัง เพื่อที่จะพิจารณาให้ได้ความเข้าใจในธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสุตะ เป็นปัจจัยให้เกิดจาคะ การสละกิเลสยิ่งขึ้น แต่ว่าตราบใดที่กิเลสยังมีกำลังอยู่ บางท่านแม้สละเป็นจาคะ แต่ก็ยังอดหวังผลที่เป็นโภคทรัพย์ไม่ได้ เพราะเหตุว่าอกุศลธรรมยังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉท
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ใคร่ที่จะอบรมปัญญาที่จะดับกิเลสจริงๆ ก็ควรที่จะได้พิจารณาสภาพจิตใจของท่านว่า มีความมั่นคงจริงๆ ในกุศลแค่ไหน แม้ในเรื่องจาคะ การบริจาค ถ้าเป็นการบริจาคทรัพย์ในเรื่องของการสร้างสมปัญญา หรือเป็นการสละทรัพย์เพื่อปัญญา ถ้าเป็นผู้ที่มั่นคงในการที่จะสะสมอุปนิสัยที่จะดับกิเลสจริงๆ แล้ว ย่อมไม่มีใครสามารถที่จะยับยั้งจาคะของท่านได้ เพราะเหตุว่าความหวงแหนยังมี ความตระหนี่ก็ยังมีสำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นพระอริยเจ้า แต่สำหรับผู้ที่มั่นคงในกุศลธรรมในการที่จะดับกิเลส ถ้าเป็นเรื่องของปัญญา จาคะของท่าน ย่อมไม่มีผู้ใดยับยั้งได้ ส่วนเรื่องของความหวงแหนหรือความตระหนี่ ก็จะเป็นในเรื่องอื่น แต่ไม่ใช่ในเรื่องของการสร้างสมปัญญา หรือในเรื่องที่เป็นจาคะเพื่อปัญญา เพราะเหตุว่ากว่าจะได้ปัญญามานี้แสนยาก จริงไหม
คะ ได้ทรัพย์ก็ยังไม่ยากเท่า แต่ปัญญาแต่ละขั้นที่จะได้ยากจริงๆ ถ้าเป็นพืช ก็เป็นพืชที่ปลูกยาก และยังจะต้องทะนุบำรุงรักษาอย่างดีจึงจะเกิดผล แต่ว่าผลที่จะเกิดนั้นก็นานมากทีเดียว ตลอดในสังสารวัฏฏ์ที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันในขณะนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า ปัญญาเกิดยากแค่ไหน แม้ว่าจะได้เคยบำเพ็ญกุศลหลายประการมาแล้วในอดีตชาติ และในปัจจุบันชาติ กุศลด้านอื่นก็ยังเกิดได้บ่อย แต่ปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามปกติตามความเป็นจริง เกิดแล้วหรือยัง ปัญญาที่ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลในขณะนี้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ถ้าจะให้สละทรัพย์ในขณะนี้ ไม่ยาก เท่าที่ปัญญาจะเกิดขึ้นประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติ เพราะฉะนั้น กุศลจึงมี ๒ ประการ คือ กุศลที่เป็นบารมีที่จะให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ดับทุกข์ได้เป็นสมุจเฉท ไม่เกิดอีกเลย กับกุศลที่ไม่ใช่บารมี เพราะเหตุว่าถึงแม้ว่าจะเป็นกุศล แต่ก็ยังหวังผลของกุศลที่ไม่ใช่ปัญญา อาจจะหวังการเกิดในสวรรค์ หรืออาจจะหวังการเกิดแล้วก็เป็นบุคคลที่มีความสุข ความสบาย มีทรัพย์ มีสมบัติมาก ถ้าขณะนั้นยังมีความปรารถนาอย่างนั้นอยู่ แม้เป็นผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน ผู้นั้นก็จะทราบความละเอียดของจิตใจได้ว่า บางขณะกิเลสเกิดขึ้นเป็นไปอย่างไร ยังคงมีความหวัง หรือยังมีความปรารถนา ยังมีความต้องการในสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เป็นการรู้แจ้งอริยสัจธรรมหรือไม่ เพราะฉะนั้น ตามปกติตามความเป็นจริงนั้นในชีวิตประจำวันสำหรับผู้เจริญสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นผู้ที่ตรง และตรงยิ่งขึ้น ก็จะรู้สภาพจิตของตนเองได้ละเอียดขึ้นว่า มีกิเลสเบาบาง หรือว่ากิเลสก็ยังคงมาก แม้ว่าจิตจะเป็นกุศล หรือว่าเป็นผู้ที่ใคร่ในการดับกิเลส แต่แม้กระนั้นก็ยังมีความปรารถนา หรือความหวังในเรื่องอื่นซึ่งไม่ใช่เรื่องของปัญญา
ถาม ที่อาจารย์กล่าวว่า กุศลที่ไม่ใช่บารมี กระผมเข้าใจว่า กุศลทั้งหมดเป็นบารมี และบารมีก็มี ๓ ขั้น ที่อาจารย์กล่าวว่า กุศลที่ไม่ใช่บารมีนั้นคืออย่างไร ขอ อาจารย์ช่วยขยายความนิดหน่อย
ท่านอาจารย์ ผู้ที่ได้ยินไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเลยนะคะ มีความยึดมั่นในตัวตน ไม่ได้รู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แม้ในขณะนี้ ผู้ที่มีความเชื่ออย่างอื่น มีความเลื่อมใสอย่างอื่น มีความเข้าใจอย่างอื่น เป็นผู้ที่มีจิตใจเป็นกุศล แต่ไม่ได้เกิดความปรารถนาที่จะให้ปัญญารู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติ เพราะฉะนั้น กุศลของบุคคลเหล่านั้นที่ไม่ได้ปรารถนาที่จะดับกิเลส ไม่ได้ปรารถนาที่จะสร้างสมปัญญาให้เจริญขึ้น ที่จะประจักษ์สภาพธรรมตามความเป็นจริง กุศลเหล่านั้นก็จะนำมาซึ่งภพชาติ ซึ่งทำให้เป็นผู้ที่มีความสุขสบาย เป็นผลของกรรม แต่ว่าไม่สามารถที่จะทำให้ถึงการดับกิเลสเป็นสมุจเฉทได้ ผู้ที่มีความเชื่ออย่างอื่น มีความเข้าใจอย่างอื่นมีมากทีเดียวค่ะ จะกล่าวว่ากุศลเหล่านั้นเป็นบารมีไม่ได้ เพราะแม้แต่ผู้ที่เข้าใจแล้ว แต่ว่าถ้าพิจารณาจิตใจโดยละเอียด บางครั้งมีความปรารถนาอะไร ยังไม่มีความมั่นคงพอที่จะสละทุกอย่างเพื่อปัญญา เพราะฉะนั้น ก็เป็นเครื่อง
พิสูจน์ได้ว่า ในบางครั้ง ในบางขณะ ถ้าไม่เป็นไปเพื่อการสร้างสมปัญญาบารมี เพื่อจะให้รู้แจ้งอริยสัจธรรมแล้ว กุศลเหล่านั้นก็ไม่ใช่บารมี
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นผู้ที่สละวัตถุสิ่งของให้กับผู้อื่น แล้วก็ทำให้ภพชาติต่อๆ ไปเป็นใหญ่เป็นโต เช่นพระมหากษัตริย์บางองค์มีวาสนามีบารมีสูง ฝนตกต้องตามฤดูกาล แบบนี้ก็จะถือว่าเป็นบารมีของพระองค์นั้นๆ ที่จะทำให้ประชาชนมีความสุขอย่างนี้ จะกล่าวว่าเป็นบารมีได้ไหมครับ
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ความหมายที่ใช้ค่ะ ว่าใช้ในทางพระธรรมหรือใช้ในความเข้าใจทั่วไป คำแปลในภาษาบาลีก็เป็นความหมายเฉพาะในภาษาบาลีที่จะต้องใช้ให้ตรงต่อความหมายของภาษาบาลี แต่สำหรับภาษาไทยหรือว่าภาษาอื่นแต่ละคำมีความหมายตรงหรือว่าใกล้เคียงกับภาษาบาลีมากน้อยอย่างไรก็เป็นที่เข้าใจ สำหรับคนไทยที่ใช้ภาษาไทยนั้น แต่ถ้าเป็นเรื่องของพระธรรมพูดถึงภาษาบาลีแล้ว ก็ต้องให้ตรงกับความหมายที่ใช้ในภาษาบาลี ไม่ให้คลาดเคลื่อนด้วย แต่ว่าคำใดที่ภาษาอื่นใช้ แล้วก็มีความเข้าใจ ก็ใช้ได้สำหรับภาษานั้น เพราะเหตุว่าภาษาอื่นๆ ไม่ใช่ภาษาบาลี ภาษาบาลีก็เป็นเรื่องของภาษาบาลีที่ผิดไม่ได้จากความหมายในภาษาบาลี แต่สำหรับภาษาอื่นจะใช้คำใกล้เคียงคล้ายคลึง หรืออาจจะตรงกันข้าม ก็ต้องอนุโลมตามภาษาที่ใช้กันอยู่ เช่น คำว่า “มานะ” ตามภาษาบาลีเป็นอกุศล ถ้าพูดถึงสภาพธรรมในภาษาบาลีแล้วละก็ มานะเป็นกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลธรรมที่จะต้องดับให้หมด เพราะเหตุว่าอกุศลธรรมทั้งหลายไม่ใช่สิ่งที่ควรเจริญ แต่ถ้าภาษาไทยจะใช้ในความหมายของความพากเพียรพยายาม ก็เป็นเรื่องของภาษาอื่นที่ใช้ ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาบาลี ซึ่งก็จะต้องเป็นไปตามภาษาที่ใช้กัน แต่ละกลุ่มของบุคคลด้วย
สำหรับท่านที่จะพิจารณาความหมายของกุศลที่เป็นบารมี และไม่ใช่บารมี ก็ขอให้คิดถึงบุคคล ๒ ท่าน ไม่ว่าจะเป็นทานหรือศีลก็ตาม ท่านหนึ่งกระทำไปด้วยความหวังผล คือ สวรรค์บ้าง หรือว่าการเกิดเป็นเศรษฐีมหาศาล หรือว่าเป็นกษัตริย์มหาศาล เป็นคฤหบดีมหาศาล เป็นพราหมณ์มหาศาล นั่นก็เป็นผลที่หวัง แล้วก็จะเป็นบารมีได้อย่างไร เพราะเหตุว่าความหวังอย่างนั้นไม่ทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ไม่ทำให้ดับกิเลสเลย และผู้ที่มีความเชื่ออย่างอื่น มีความเข้าใจอย่างอื่น ก็มีจาคะ มีทาน มีศีล มีความหวังอย่างอื่น ที่ไม่ใช่หวังการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ไม่หวังที่จะประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับอยู่ในขณะนี้ ไม่มีความเข้าใจอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จะให้กุศลของบุคคลนั้นเป็นบารมีก็ไม่ได้ อย่างอื่นก็มีจาคะ มีทาน มีศีล มีความหวังอย่างอื่นที่ไม่ใช่หวังการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ไม่ได้หวังที่จะประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับอยู่ในขณะนี้ ไม่มีความเข้าใจอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จะให้กุศลของบุคคลเหล่านั้นเป็นบารมีก็ไม่ได้ แต่สำหรับผู้ที่ได้ฟังพระธรรมแล้ว แล้วก็รู้ว่า การที่จะประจักษ์สภาพธรรมที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ เป็นสิ่งที่แสนยาก ยากเหลือเกิน อกุศลมีเหตุปัจจัยที่จะเกิดอยู่เนืองๆ บ่อยๆ อกุศลจิตขั้นหยาบอาจจะเกิดน้อย แต่ว่าอกุศลอย่างกลางที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ไม่บริสุทธิ์ หรือว่าอกุศล
ธรรมที่เบาบางกว่านั้นอีก ซึ่งยากที่จะรู้ได้ เช่นในขณะนี้นะคะ ถ้าท่านจะคิดถึง แล้วก็เปรียบเทียบเป็นขั้นๆ เวลาที่นอนหลับ ทุกคนหลับ ไม่มีกาย วาจาที่เป็นอกุศลเลย แต่ไม่ได้หมายความว่า คนที่นอนหลับนั้นปราศจากกิเลสซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้ทันทีที่ตื่นขึ้น อกุศลธรรมไหลไปแล้วสู่อารมณ์ภายนอกที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และสะสมอยู่ในจิตเพิ่มพูนขึ้นทุกขณะ เป็นประหนึ่งศัตรูภายในที่ใกล้ชิดที่สุด เพราะเหตุว่าอกุศลไม่ใช่สภาพธรรมที่ดีงาม แต่ว่าจะทำสิ่งที่ตรงกันข้าม ซึ่งเป็นการกระทำของศัตรูทีเดียวที่จะทำต่อบุคคลนั้น และเป็นศัตรูที่มีภัยมาก เพราะเหตุว่าเป็นศัตรูที่ใกล้ชิดที่สุด คือว่าเกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต ต้องปัญญาเท่านั้นที่จะรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง แล้วดับอกุศลธรรมที่เกิดกับจิตนั้นได้ เพราะฉะนั้น เวลาหลับกับเวลาตื่น สภาพของกิเลสต่างกันแล้ว ผู้ที่นอนหลับไม่ใช่พระอรหันต์มีกิเลสทุกคน พร้อมที่เมื่อตื่นขึ้นกิเลสอย่างหยาบอาจจะยังไม่ปรากฏทันที แต่กิเลสที่ปรากฏขึ้นไม่เหมือนกับที่กำลังหลับ แล้วก็ไม่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่มีการคิดนึกใดๆ เลย แต่ทันที่ตื่น แล้วเห็น มีกิเลสหรือยัง ถ้าไม่ทราบนะคะ ก็ดับกิเลสไม่ได้ เพราะว่าขณะนั้นมีกิเลสแล้วค่ะ ขณะที่กำลังนั่งอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าจะมีกุศลจิตเกิดตลอดเวลา ขณะใดที่ไม่รู้ในสภาพธรรมตามความเป็นจริง แล้วไม่ใช่กุศลธรรมแล้วละก็ เป็นอกุศลที่เบาบาง ที่ไม่แรง เพราะฉะนั้น ก็ทำให้ไม่รู้สึกว่า จิตเป็นอกุศลแล้ว แต่เวลาที่จิตใจเกิดเศร้าหมอง ปรากฏความไม่แช่มชื่น ความกระสับกระส่าย ความกระวนกระวาย หรือความว้าเหว่ หรือความเป็นห่วงกังวล ขณะนั้นไม่ใช่ทุจริต ไม่ใช่ปาณาติบาต ไม่ใช่อทินนาทาน แต่ขณะนั้นความแรงของกิเลสก็ปรากฏเพิ่มขึ้น ให้เห็นว่าเป็นสภาพจิตที่ไม่สบายเลย เพราะฉะนั้น อกุศลธรรมมีหลายขั้นทีเดียว ผู้ที่ไม่เข้าใจสภาพธรรม และไม่ได้ปรารถนาที่จะดับกิเลส ไม่ปรารถนาที่จะสะสมสร้างสมปัญญาให้เจริญขึ้นที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ แต่ว่าทำกุศลครั้งใด ไม่ว่าจะเป็นทาน หรือเป็นศีล ก็ปรารถนาเพียงแต่จะให้เกิดในสวรรค์บ้าง หรือปรารถนาจะให้ได้รับผลของกุศลที่เป็นทรัพย์สมบัติ อย่างนั้นจะเป็นบารมีได้อย่างไรคะ
ผู้ฟัง ผมก็ยังไม่เข้าใจว่า ก็พระโพธิสัตว์ทุกๆ พระองค์บำเพ็ญบารมีเพื่อจะตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ท่านก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มีตั้งแต่ทานบารมี ... อุเบกขาบารมี และพระโพธิสัตว์ทั้งหมดที่ท่านบำเพ็ญทานก็ดี รักษาศีลก็ดี ท่านเหล่านั้นเรียกว่าบารมี ทีนี้ถ้าบุคคลทั่วๆ ไป หรือว่าสาวก การให้ทาน การรักษาศีล ถ้าไม่ใช่เพื่อปัญญาแล้ว ไม่ใช่บารมีอย่างนั้นหรือครับ
ท่านอาจารย์ พระโพธิสัตว์หมายถึงบุคคลใดคะ คำว่า “โพธิสัตว์” ก็แสดงอยู่แล้วว่า เป็นผู้ที่ปรารถนาจะรู้แจ้งอริยสัจธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ตั้งความปรารถนาต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งพระองค์ใด ที่จะได้รับคำพยากรณ์ว่าจะเป็นพระโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้ต่อไปในสมัยใด พระนามว่าอะไร อย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ยังไม่ตรัสรู้ ก็เป็นพระโพธิสัตว์ ได้พบพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ มามากในระหว่างที่ทรงบำเพ็ญบารมี ก่อนที่จะได้บรรลุคุณธรรมตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
แม้พระสาวกก็เหมือนกัน ถ้าไม่เคยได้ยินได้ฟังพระธรรม เรื่องการที่จะรู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ท่านก็คงจะไม่ปรารถนาที่จะสร้างสมกุศลทั้งหลายที่จะให้เป็นบารมีที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เพราะเหตุว่าบุคคลที่มีความเชื่ออย่างอื่น มีความเห็นอย่างอื่น มีความเลื่อมใสอย่างอื่น ก็มีมาก แม้ว่าได้เฝ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้ทำทานกุศล แต่ก็ไม่ปรารถนาที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นอัญญเดียรถีย์ปริพาชกต่างๆ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นก็มีทาน มีศีล แต่ว่าบุคคลเหล่านั้นหรือที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ตราบใดที่ยังไม่ได้บำเพ็ญกุศลต่างๆ เพราะมีความเห็นว่า กิเลสเป็นสิ่งที่ดับยาก สภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ เป็นสิ่งที่ประจักษ์ยาก และถ้าไม่เจริญกุศลทุกประการเป็นเครื่องประกอบแล้วละก็ ย่อมยากแก่การที่จะดับกิเลสได้ เพราะเหตุว่าถ้ากุศลไม่เกิด อกุศลก็ย่อมเกิดสะสมเพิ่มขึ้น การที่จะดับกิเลสเหล่านั้นก็เป็นสิ่งที่ยากขึ้น ด้วยเหตุนี้ในสิงคาลกสูตร พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงแสดงธรรมแก่คฤหัสถ์ เพราะทราบว่าชีวิตของคฤหัสถ์จะต้องอบรมเจริญกุศลอีกมากทีเดียวกว่าที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะเหตุว่าการเป็นอยู่ของบุคคลทั้งหลายที่จะอยู่โดยลำพังนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ โดยฐานะต่างๆ กัน และเมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ โดยฐานะต่างๆ กันแล้ว จิตของท่านเป็นกุศล หรือเป็นอกุศลอย่างไร ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงวินัยของคฤหัสถ์ ที่จะให้ประพฤติปฏิบัติตาม แม้ว่าท่านจะอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนทิศทั้งหลาย เพราะเหตุว่าไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน ก็ต้องมีทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง มีทุกทิศ เพราะฉะนั้น การอยู่กับบุคคลทั้งหลายโดยฐานะต่างๆ เปรียบเสมือนบุคคลใดเป็นทิศใด แล้วท่านจะอยู่กับบุคคลเหล่านั้นด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิต
สำหรับผู้ที่อบรมปัญญาจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ย่อมต้องเจริญกุศลทุกประการ แม้แต่ในการที่จะปฏิบัติต่อบุคคลที่อยู่ร่วมกับท่าน ซึ่งเสมือนทิศต่างๆ
พระผู้มีพระภาคตรัสกับสิงคาลกมาณพว่า
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 01
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 02
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 03
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 04
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 05
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 06
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 07
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 08
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 09
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 10
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 11
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 12
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 13
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 14
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 15
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 16
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 17
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 18
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 19
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 20
- สมถภาวนา ตอนที่ 01
- สมถภาวนา ตอนที่ 02
- สมถภาวนา ตอนที่ 03
- สมถภาวนา ตอนที่ 04
- สมถภาวนา ตอนที่ 05
- สมถภาวนา ตอนที่ 06
- สมถภาวนา ตอนที่ 07
- สมถภาวนา ตอนที่ 08
- สมถภาวนา ตอนที่ 09
- สมถภาวนา ตอนที่ 10
- สมถภาวนา ตอนที่ 11
- สมถภาวนา ตอนที่ 12
- สมถภาวนา ตอนที่ 13
- สมถภาวนา ตอนที่ 14
- สมถภาวนา ตอนที่ 15
- สมถภาวนา ตอนที่ 16
- สมถภาวนา ตอนที่ 17
- สมถภาวนา ตอนที่ 18
- สมถภาวนา ตอนที่ 19
- สมถภาวนา ตอนที่ 20