แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 553
ครั้งที่ ๕๕๓
สุ. เพราะฉะนั้น ที่ท่านสงสัยว่า เวลาได้สิ่งที่พึงปรารถนา เช่น ได้ยินเสียงที่ไพเราะ ได้กลิ่นที่หอม และได้รับรสที่อร่อย ทำไมจึงมักจะหลงลืมสติ ก็เพราะเหตุว่าอบรมเจริญสติยังไม่ทั่ว แต่เมื่อใดที่สติเริ่มเกิดระลึกทั่วขึ้น แม้ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ประณีต เป็นเสียงที่ไพเราะ เป็นกลิ่นที่หอม เป็นรสที่อร่อย สติและปัญญาก็สามารถที่จะเกิดขึ้นรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้
ท่านถามต่อไปว่า เมื่อได้รับสิ่งที่ไม่ชอบ หรือได้ยินเสียงหยาบคาย กลิ่นที่เหม็น ได้ลิ้มรสอาหารหรือสัมผัสทางกายอย่างที่ไม่ชอบ สติก็ไม่ค่อยเกิด
แสดงให้เห็นว่า การอบรมเจริญสติยังไม่ทั่ว ยังไม่ละเอียด เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้รับอารมณ์ที่ไม่พอใจ เช่น เสียงหยาบคาย กลิ่นที่เหม็น ลิ้มรสอาหารหรือสัมผัสทางกายอย่างที่ไม่ชอบ สติจึงไม่ค่อยเกิด แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานจริงๆ สติและปัญญาก็สามารถจะเกิดรู้ชัดได้
คำถาม ข้อ. ๔ ที่ว่า ขณะที่ได้รับอารมณ์ปานกลาง สติเกิดบ่อยครั้ง
ต่อไป เมื่อเป็นผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานแล้ว จะเห็นได้ว่า สติและปัญญาไม่ได้เลือกอารมณ์เลย ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ประณีต ไม่ประณีต หรือปานกลาง สติและปัญญาที่ได้เจริญอบรมแล้วก็สามารถเกิดขึ้นรู้ชัดในลักษณะของอารมณ์นั้นๆ ได้
ถ้าเรียนถามแต่ละท่านที่ได้อบรมเจริญสติปัฏฐานแล้ว คำตอบของท่านคงจะไม่เหมือนกัน บางท่านสังเกตว่า อารมณ์ปานกลางนี้รู้ยาก แต่เวลาที่เป็นอารมณ์แรง สติเกิดระลึกรู้ เป็นอย่างนั้นบ้างไหม
เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่แต่ละคนมีเหตุปัจจัยที่สติพร้อมที่จะเกิดเมื่อไร สติก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น รู้อารมณ์นั้น แต่ยังไม่พอ ยังไม่ละเอียด ยังไม่ทั่ว เพราะฉะนั้น จึงปรากฏเป็นความหลงลืมสติในขณะที่ได้รับอารมณ์ที่ประณีตบ้าง ในขณะที่ได้รับอารมณ์ที่ไม่เป็นที่พอใจบ้าง หรือในขณะที่ได้รับอารมณ์ที่ปานกลางบ้าง แต่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมไปเรื่อยๆ จนกว่าสติจะเกิดพร้อมปัญญาที่รู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ อย่าห่วง หรืออย่ากังวลถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว คือ ขณะที่หลงลืมสติที่ผ่านไป ไม่ว่าจะมากน้อยประการใด เพราะว่านั่นเป็นลักษณะของตัวตน
วิธีเดียวที่จะแก้ หรือช่วยให้ละคลายการยึดถือสภาพธรรมนั้นๆ ซึ่งแม้ขณะที่หลงลืมสตินั้น ก็ไม่ใช่ตัวตนเลย แต่ว่าเป็นไปกับตัวตนที่ยึดถือในสภาพธรรมที่ปรากฏเพิ่มขึ้น เพราะว่าไม่ได้ละคลาย สติและปัญญาไม่ได้เกิด เพราะฉะนั้น ทางเดียว คือ ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนั้นต่อไปทันที เช่น เมื่อครู่นี้อาจจะหลงลืมสติไปนานมากทีเดียวสำหรับบางท่าน หมดไปแล้ว เพราะฉะนั้น จะทำอย่างไรก็ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ทันที เท่านั้นเอง
บางทีเวลาที่ระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรม แต่เพราะว่ายังไม่ใช่ปัญญาที่รู้ชัด เวลาสติที่ระลึกรู้ลักษณะของนามหรือรูปนั้นดับไป ความสงสัยก็เกิดขึ้นว่า เป็นลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรม หรือแม้ในขณะนี้ บางท่านอาจจะกำลังระลึก และเกิดสงสัยว่า สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตาเป็นลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรม
หลายท่านมักจะถามว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาที่เป็นรูปธรรมไม่ปรากฏ แต่ปรากฏเป็นคน เป็นวัตถุ เป็นสิ่งต่างๆ รูปธรรมที่ปรากฏทางตาที่เป็นแต่เพียงรูปารมณ์หรือสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นไม่เคยปรากฏกับเขาเลย แต่ความจริง รูปารมณ์หรือสิ่งที่ปรากฏทางตากำลังปรากฏอยู่ เวลาที่ลืมตาเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด มีสภาพที่รู้สีสันวัณณะทางตาขณะใด ขณะนั้นรูปธรรม ของจริงชนิดหนึ่งปรากฏให้รู้ทางตา
แต่ผู้นั้นยังไม่ได้อบรมเจริญปัญญาถึงขั้นที่จะแยกรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตานั้นไม่ใช่การที่รู้ความหมายของสิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อปัญญายังไม่สามารถที่จะแยกขาดได้ และความที่เคยยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาว่า เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่เสมอ ท่านผู้นั้นก็เกิดความสงสัยว่า รูปารมณ์ที่ปรากฏทางตาไม่เคยปรากฏกับเขาเลย เพราะฉะนั้น บางคนอาจจะไปแสวงหารูปารมณ์ว่าเป็นอย่างไร แต่ความจริงไม่ใช่สิ่งที่จะต้องไปแสวงหา เพราะว่าเป็นสิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ แต่ปัญญาจะต้องระลึกจนสามารถแยกขาดจากที่เคยยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาว่า ไม่ใช่การรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร ซึ่งเป็นสภาพรู้ทางใจ
อย่างเวลาที่เห็นเป็นคน กำลังเห็นอยู่ ตามปกติก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐานก็เห็นเป็นคน เห็นเป็นรถ เห็นเป็นดอกไม้ เห็นเป็นโต๊ะ เห็นเป็นเก้าอี้ นี่คือ ก่อนเจริญสติปัฏฐานที่จะรู้ว่า สภาพที่ปรากฏทางตานั้น เพียงเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นทีไรก็ยังคงเป็นคนอยู่
การอบรมเจริญปัญญา อย่าลืมว่า ปัญญา คือ จุดมุ่งหมายของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งจะต้องมีการระลึกรู้ในสิ่งที่เห็น และสภาพที่ระลึก คือ สติ ขณะที่กำลังระลึกนั้นเป็นสติ แต่ว่าปัญญาที่รู้ชัดยังไม่เกิด ก็ยังไม่สามารถแยกขาดในรูปที่ปรากฏทางตาว่า ไม่ใช่การรู้ว่าเป็นคนหรือเป็นสัตว์
เพราะฉะนั้น ระลึกในขณะที่กำลังเห็นให้รู้จริงๆ ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาบ่อยๆ เนืองๆ จนกระทั่งเป็นความรู้จริงๆ ได้ ซึ่งช่างนานเสียเหลือเกิน แต่ขณะที่อบรมไป ความรู้จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น การระลึกได้ในสิ่งที่ปรากฏทางตาว่า เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น จะเพิ่มการระลึกถึงความจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาขึ้นทีละน้อยๆ น้อยมากจริงๆ แต่ว่าเป็นของจริงและเป็นปกติ ซึ่งวันหนึ่งก็จะทำให้เกิดปัญญาที่รู้ชัด แยกขาดลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทางตาออกจากรูปธรรมและนามธรรมทางอื่นได้ แต่ละทาง แต่ละทวาร แต่ต้องตรงต่อสภาพธรรมที่ปรากฏ และไม่กั้นสติ ไม่มัวห่วงว่า อยู่ที่นี่สติเกิดน้อย อยู่ที่นั่นสติเกิดมาก
สติจะเกิดมากเกิดน้อยก็แล้วแต่ปัจจัยที่สะสมมา เมื่อยังเป็นผู้ที่อบรมน้อย คือเพียงรู้ลักษณะของบางรูปบางนาม เพราะฉะนั้น เวลาที่มีปัจจัยของนามอื่นรูปอื่นมากมายซึ่งสติไม่เคยระลึกรู้ สติก็ไม่เกิด และท่านก็สงสัยว่า ทำไมอยู่ที่บ้านสติจึงไม่ค่อยเกิด ก็เพราะเหตุว่าท่านไม่ได้อบรมเจริญสติปัฏฐานเป็นปกติที่บ้าน แต่เมื่อเป็นผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานที่บ้าน ก็เป็นผู้ที่ชินกับการที่สติจะระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมต่างๆ ที่ไม่ใช่ตัวตนเลยทั้งหมด และก็ชินขึ้นที่จะรู้ในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมใดนามธรรมใดก็ตาม
ถ. ผมเคารพและรู้สึกซาบซึ้งในพระคุณของอาจารย์เป็นอย่างมาก ผมฟังเทปแทบทุกวัน วันละหลายๆ ชั่วโมง แต่ยังมีบางสิ่งบางอย่างที่ผมไม่เข้าใจ เรื่องที่ผมสงสัย คือ เรื่องรูปไหว หรืออาการไหวของแขน สมมติว่า มือซ้ายกำลังแกว่ง และมือขวามาถูกมือซ้าย ก็รู้ว่านี่เป็นสภาพไหว โดยที่มือขวาเป็นมือที่รู้ อย่างนี้ไม่สงสัย หรือว่าถ้าเอามือขวาไปจับแขนซ้าย ก็รู้สึกว่ามีสภาพตึง อย่างนี้ก็ไม่สงสัย แต่ถ้าเอื้อมแขนขวาไปโดยที่ไม่มีอะไรมาถูกต้อง มาสัมผัส อย่างนี้จะเป็นการรู้ธาตุลม ซึ่งเป็นธาตุไหว หรือเป็นอาการตึงบ้าง ไหวบ้าง ผมยังไม่เข้าใจ คือ ไม่มีอะไรมาถูกอะไร ไม่ได้มีการสัมผัสอย่างชัดเจน ที่ผมสงสัย คือ ไม่มีผัสสะอย่างชัดเจนเกิดขึ้น แต่ก็เป็นไหวเหมือนกัน ซึ่งสติก็สามารถจะระลึกได้ ใช่ไหม
สุ. ท่านสงสัยถูกต้องที่ว่า จะก้าวไปก็ดี หรือจะยื่นมือออกไปก็ดี ไม่มีอาการของรูปไหวปรากฏ หรือแม้แต่การยืนที่จะรู้ว่าทรงตัวอยู่ แต่ว่ารูปใดกำลังปรากฏ สำหรับผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานนั้น ต้องตรงต่อลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อรูปไหวในขณะที่ยื่นแขนออกไป เหยียดแขนออกไปไม่ปรากฏ จะไปพากเพียรที่จะรู้ว่าเป็นรูปไหวได้ไหม แต่ละรูปก็เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว รูปอื่นเกิดมีลักษณะจริงๆ ปรากฏ แต่สติไม่ระลึก เพราะว่าจะพยายามไปรู้รูปไหวซึ่งไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงไม่สามารถที่จะประจักษ์ในลักษณะของรูปไหวในขณะที่ยื่นมือหรือเหยียดมือออกได้
แต่ถ้าปัญญาได้อบรมเจริญแล้ว ทุกรูปสามารถที่จะปรากฏได้ แม้ในขณะที่กำลังก้าวเดิน ลักษณะอาการของรูปไหวที่อยู่ภายในกาย ไม่ใช่ภายนอก โดยมากท่านผู้ฟังเห็นรูป สีที่ปรากฏทางตา มีสัญญาความจำว่า กำลังก้าวไป จึงรู้สึกว่าเป็นรูปที่ไหวไป หรือว่าเวลาที่เห็นพัดลมหมุน ก็รู้สึกว่าไหวไป แต่ความจริงแล้ว รูปไหวที่จะรู้สึกได้ จะต้องปรากฏที่กายปสาท ซึ่งกายปสาทนั้นซึมซาบอยู่ทั่วทั้งตัว เป็นความจริงใช่ไหม ลักษณะของกายปสาท
เพราะฉะนั้น การที่จะรู้รูป รู้ได้ทั้งภายในและภายนอกเมื่อปรากฏ แต่ถ้าไม่ปรากฏ อย่าได้เข้าใจหรือนึกภาพขึ้นมาเองว่า กำลังเหยียดแขนออกไปก็ดี หรือว่ากำลังก้าวเท้าไปก็ดี มีรูปไหวปรากฏ รูปไหวมีจริง เป็นลักษณะของธาตุลม ธาตุดินไม่ไหว ธาตุไฟไม่ไหว แต่ลักษณะของธาตุลมนั้น เป็นลักษณะที่ไหวหรือเคร่งตึง ถ้าขณะนั้นไม่มีปัจจัยที่จะให้ปรากฏเป็นอารมณ์ แต่มีลักษณะของรูปอื่นกำลังปรากฏ อย่างเวลาที่ก้าวเท้าไป ต้องมีการกระทบกับอ่อนหรือแข็งปรากฏมากกว่าอาการของรูปไหวในขาที่ก้าวไป หรือว่าในแขนที่เหยียดออกไป เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ไปเลือกหรือไปจงใจที่จะให้เป็นปัญญารู้ในธาตุไหว ซึ่งกระทบกันกับกายปสาทที่ซึมซาบอยู่ทั่วกาย และปรากฏในลักษณะของธาตุไหวในภายในขึ้น เพราะว่าต้องเป็นลักษณะของธาตุไหวในภายในของแขนที่ไหวไป
ถ. หมายความว่า ขณะที่เราเหยียดแขนออกไป มีกายปสาท
สุ. กายปสาทเป็นรูปที่เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐานทำให้เกิดขึ้น และรูปไหวนี้ก็เกิดดับสืบต่อไปเรื่อยๆ รูปไหวซึ่งเกิดขึ้นเพราะจิตก็มี วาโยธาตุเกิดขึ้นเพราะจิตที่มีความปรารถนาที่จะไหวไป หรือเมื่อจิตเป็นปัจจัยเป็นสมุฏฐานให้รูปไหวเกิดขึ้น เหยียดแขนไป หรือที่ขาก้าวเท้าไป ก็มีรูปไหวซึ่งเกิดขึ้นเพราะจิต แต่จะรู้ได้ด้วยกายปสาทซึ่งซึมซาบอยู่ทั่วทั้งตัว ไม่ใช่รู้ได้ทางตา
ถ. เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นจะต้องมีกายผัสสะ
สุ. แน่นอน
ถ. สมมติว่า ผมเหยียดแขนซึ่งกำลังงอ หรือคู้แขนเข้า ความจริงกล้ามเนื้อที่ตรงนี้หดตัว เคลื่อนไหวตรงนี้ แต่กลับทำให้ปลายแขนไหว แต่รูปตรงนี้เหมือนกับมาเกิดสัมผัสกันตรงนี้ กล้ามเนื้อตรงนี้หดตัวทำให้ปลายนิ้วกระดิก เพราะฉะนั้น ตรงนี้มีกายสัมผัส แต่ว่าไปไหวส่วนอื่น
สุ. อาจจะเป็นหลักวิชาที่ได้ศึกษามา แต่เรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน สติชั่วขณะที่เกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏชั่วขณะ เร็วมาก และก็ตรงต่อความจริงด้วยว่า ตรงไหนก็ตรงนั้น ไม่มีการนึกล่วงหน้าไว้ก่อนว่า กล้ามเนื้อที่นี่จะทำให้ส่วนไหนหด
ถ. การที่จะเคลื่อนไหวไปด้วยจิต เช่น เราจะเอื้อมมือไปหยิบแก้วน้ำมาดื่ม อาจารย์กล่าวว่า เพราะจิต บางคนเป็นโรคบางชนิด มือเขาสั่น สั่นไปด้วยเอื้อมไปด้วย ไม่ได้มีความอยากจะสั่นอะไรเลย ด้วยจิตอะไรที่ว่า มือจะต้องสั่นไปด้วย
สุ. ก็เลยสงสัยว่า รูปมือที่สั่นเกิดจากสมุฏฐานอะไร ใช่ไหม
ถ. ก็ไม่จำเป็นจะต้องสั่น
สุ. สั่นแล้ว เพราะสมุฏฐานอื่น ไม่ใช่เพราะจิตเป็นสมุฏฐาน รูปที่เกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน คือ รูปที่ไหวไปเพื่อจะหยิบสิ่งหนึ่งสิ่งใด เกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน แต่การสั่นไม่ได้เกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดเพราะสมุฏฐานอื่น ซึ่งเกิดร่วมกันได้ อุตุเป็นสมุฏฐานก็ได้
ในร่างกายของแต่ละคน นอกจากมีรูปที่เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน รูปที่เกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน ยังมีรูปที่เกิดเพราะอุตุ ความเย็นความร้อนเป็นสมุฏฐาน และมีรูปที่เกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นสมุฏฐาน
ถ. คือ ปกติก็ไม่สั่น และคนนั้นก็ไม่อยากสั่น แต่ก็ต้องสั่น
สุ. เกิดเพราะอุตุหรืออาหารเป็นสมุฏฐานจึงเกิดการสั่นของมือขึ้น โดยที่ไม่ได้ตั้งใจจะให้สั่น แต่เวลาตั้งใจจะสั่นมือ นั่นก็เกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐานได้
ถ. กายปสาทซึมซาบไปทั่วทั้งร่างกาย เท่าที่ผมทราบ มีเว้นบางแห่ง
สุ. ใช่
ถ. เช่น ที่ผม ที่เล็บ
สุ. ถูกต้อง
ถ. และที่บางส่วนในลำไส้ ถ้าส่วนไหนที่ไม่มีความรู้สึกเจ็บ แสดงว่าไม่มีกายปสาท
สุ. ไม่มีกายปสาท เช่น ปลายเล็บ ปลายผม
ถ. ขอโทษ ผมเป็นหมอ เวลาขูดมดลูก เราจับปากมดลูกด้วยคีม และดึงมาแรงพอสมควร คนไข้จะไม่เจ็บอะไรเลย เวลาจะตัดปากมดลูกเพื่อจะเอาชิ้นเนื้อไปตรวจว่าเป็นมะเร็งไหมจะไม่รู้สึกเจ็บ หรืออวัยวะบางแห่งเช่นตับ เวลาเจาะตับจะมีความรู้สึกเจ็บตรงที่เยื่อหุ้มตับเท่านั้น ถ้าเข้าไปในตับแล้ว จะแทงซ้ายแทงขวาก็ไม่เจ็บ
สุ. ถูกต้องตรงตามธรรมแล้วว่า ส่วนใดที่ไม่มีกายปสาท ส่วนนั้นก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดกายวิญญาณที่จะให้เกิดสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา
ถ. ก็ว่าซึมซาบทุกแห่งของร่างกาย
สุ. ซึบซาบนี่โดยทั่วไป แต่ต้องมีเว้นในส่วนที่ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึก เพราะกายปสาทไม่เกิดในส่วนนั้นๆ ในที่นั้นๆ
ถ. ผมคิดว่า ธรรมกับวิทยาศาสตร์จะต้องตรงกัน และทางธรรมก็จะจริงยิ่งกว่าเสียอีก
สุ. ที่ทรงแสดงไว้ละเอียดจริงๆ ว่า ที่ไหนไม่มีกายปสาท แต่เมื่อพูดโดย ทั่วๆ ไป กว้างๆ ยังไม่ได้กล่าวถึงส่วนที่เว้น ก็ให้ทราบว่า ที่หูก็มีกายปสาท ที่ตาก็มี ที่หน้าก็มี ที่แขนก็มี ในตัวก็มี เว้นแต่ส่วนที่ปลายผม ปลายเล็บ
ถ. อวัยวะภายใน มีความรู้สึกเจ็บไม่เท่ากัน
สุ. ตรงไหนก็ตามแต่ ซึ่งไม่เป็นปัจจัยให้เกิดสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา ตรงนั้นไม่มีกายปสาท
ถ. ในขณะกำลังเห็น พอเห็นแล้ว สติก็ระลึกว่า เป็นสภาพที่ไม่รู้ แต่บางครั้งจะมีความรู้สึกว่า มีหลายสี นี่เป็นสภาพรู้ทางใจใช่ไหม หรือว่าเผลอก็เป็นเหลี่ยม หรือว่าเป็นกลม
สุ. ถ้ารู้ว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ไม่เพ่งเล็งนิมิตอนุพยัญชนะ สีสัน สัณฐาน รูปร่างใดๆ นั่นเป็นการที่จักขุวิญญาณกำลังรู้รูปารมณ์ที่ปรากฏทางตา
ถ. ถ้ารู้ว่าเป็นสีที่แตกต่างกันอย่างไร สติก็ระลึกรู้ว่า เป็นสภาพรู้ทางใจหรือ
สุ. ทางใจนี่เกิดสืบต่อเร็วมาก แยกไม่ออกสำหรับปัญญาที่ยังไม่คมกล้า เวลานี้ ในขณะที่มีจักขุทวารวิถีเกิดขึ้นและดับไป มโนวิธีเกิดสืบต่อคั่นอยู่ระหว่างจักขุทวารวิถี โสตทวารวิถี การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรสต่างๆ อยู่เรื่อยๆ โดยที่ไม่ปรากฏเลย เพราะความรวดเร็วนี่เอง
เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญา ปัญญาสามารถจะเกิดขึ้นได้แน่นอน รู้ชัดได้จริงๆ แต่ไม่ใช่ประเดี๋ยวเดียว หรือเพียงชั่วที่ฟัง
ถ. ผมเข้าใจว่า เกิดยากมาก ผมก็พยายามอบรมสติตามที่อาจารย์ พร่ำสอน เสียงก็เหมือนกัน ขณะที่มีเสียงปรากฏ ก็ได้ยินเสียง ซึ่งบางครั้งสติระลึก บางครั้งก็คล้ายๆ ว่า มีเสียงหลายเสียง เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงแอ๊ดๆ ก็มี
สุ. จะเป็นเสียงอย่างไรก็ตาม ให้รู้ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางหูเท่านั้น นี่คือ ลักษณะสภาพความจริงของเสียงที่กำลังปรากฏ
ถ. เสียงดัง เสียงเบา เสียงสูง เสียงต่ำ เป็นเรื่องของทางใจ
สุ. เป็นเรื่องของจริง ซึ่งเมื่อปรากฏแล้วก็หมดไป ส่วนการที่จะไปคิดว่า เสียงดัง เสียงเบา เสียงอะไรนั้น เป็นเรื่องภายหลัง เพราะว่าเสียงเกิดปรากฏแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว ตามความเป็นจริงของเสียงนั้นๆ
ถ. ถ้าจะระลึกรู้ ก็เป็นการรู้นามคนละทางกับได้ยิน ได้ไหม
สุ. ได้ และควรที่จะต้องรู้ด้วย ถ้าไม่รู้ ก็แยกไม่ออก
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๕๕๑ – ๕๖๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 541
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 542
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 543
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 544
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 545
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 546
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 547
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 548
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 549
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 550
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 551
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 552
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 553
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 554
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 555
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 556
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 557
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 558
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 559
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 560
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 561
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 562
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 563
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 564
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 565
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 566
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 567
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 568
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 569
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 570
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 571
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 572
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 573
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 574
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 575
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 576
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 577
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 578
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 579
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 580
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 581
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 582
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 583
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 584
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 585
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 586
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 587
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 588
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 589
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 590
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 591
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 592
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 593
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 594
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 595
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 596
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 597
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 598
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 599
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 600