แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 544
ครั้งที่ ๕๔๔
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า
ดื่มชโลคิ ควรหรือไม่ ขอรับ
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า
ชโลคินั้น คืออะไร ขอรับ
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวว่า
การดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมา ควรหรือไม่ ขอรับ
ท่านพระเรวตะตอบว่า
ไม่ควร ขอรับ
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า
ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือไม่ ขอรับ
ท่านพระเรวตะตอบว่า
ไม่ควร ขอรับ
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า
ทองและเงิน ควรหรือไม่ ขอรับ
ท่านพระเรวตะตอบว่า
ไม่ควร ขอรับ
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวว่า
ท่านเจ้าข้า พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีนี้ แสดงวัตถุ ๑๐ ประการ เหล่านี้ในเมืองเวสาลี ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น พวกเราจงช่วยกันยกอธิกรณ์นี้ขึ้น ในภายหน้าสภาพที่มิใช่ธรรมจักรุ่งเรือง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาพที่มิใช่วินัยจักรุ่งเรือง วินัยจักเสื่อมถอย ในภายหน้าพวกอธรรมวาทีจักมีกำลัง พวกธรรมวาทีจักเสื่อมกำลัง พวกอวินัยวาทีจักมีกำลัง พวกวินัยวาทีจักเสื่อมกำลัง
ท่านพระเรวตะรับคำท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว ฯ
ปฐมภาณวาร จบ
ท่านพระเรวตะก็เห็นด้วย ในการที่จะชำระการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อน หรือความเข้าใจผิด ความประพฤติผิดในธรรมวินัยให้ถูกต้อง ให้บริสุทธิ์จากโทษ ท่านผู้ฟังจะเห็นได้แล้วว่า ฝ่ายธรรมวาที คือ ฝ่ายท่านพระยสกากัณฑกบุตรได้รับความเห็นชอบด้วยจากท่านพระเรวตะ ซึ่งเป็นผู้เฉียบแหลมและเป็นผู้ทรงธรรมวินัย
เพราะฉะนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีจะทำประการใด
ข้อความต่อไปมีว่า
ข้อ ๖๔๓
พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีทราบข่าวว่า พระยสกากัณฑกบุตรปรารถนาจักยกอธิกรณ์นี้ขึ้น กำลังแสวงหาฝักฝ่าย และข่าวว่าได้ฝักฝ่าย จึงคิดต่อไปว่า อธิกรณ์นี้แล หยาบช้า กล้าแข็ง พวกเราจะพึงได้ใครเป็นฝักฝ่ายซึ่งเป็นเหตุให้พวกเรามีกำลังกว่าในอธิกรณ์นี้หนอ แล้วคิดต่อไปว่า ท่านพระเรวตะนี้เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม เป็นนักปราชญ์ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราได้ท่านพระเรวตะเป็นฝักฝ่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราจักมีกำลังกว่าในอธิกรณ์นี้
จะเห็นได้ว่า ถ้าท่านผู้ใดเป็นบัณฑิต เฉียบแหลมในพระธรรมวินัย คนอื่นหรือสำนักทั้งหลายก็ปรารถนา ต้องการจริงๆ ที่จะได้บุคคลนั้นไปเพื่อประโยชน์แก่ตน เพราะฉะนั้น แม้พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีจะประพฤติผิด ปฏิบัติผิด แต่ก็ยังคิดที่จะอาศัยพระเถระผู้ชำนาญ ผู้เฉียบแหลม ผู้ทรงธรรมวินัย เพราะฉะนั้น พวก พระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีก็คิดถึงท่านพระเรวตะ ซึ่งเพียงปรารถนาใคร่ที่จะได้ผู้ที่เชี่ยวชาญ เป็นพหูสูต และมีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยเป็นฝักฝ่ายหรือเป็นพวกของตน
ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีจัดแจงสมณบริขารเป็นอันมาก คือ บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง ผ้ากายพันธ์บ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง ธัมกรกบ้าง แล้วขนสมณบริขารนั้นโดยสารเรือไปสู่สหชาตินคร ขึ้นจากเรือแล้วพักผ่อนฉันภัตตาหารที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ฯ
เรื่องพระสาฬหเถระปริวิตก
ข้อ ๖๔๔
ครั้งนั้น ท่านพระสาฬหะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความปริวิตกแห่งจิตขึ้นอย่างนี้ว่า ภิกษุพวกไหนหนอเป็นธรรมวาที คือ พวกปราจีนหรือพวกเมืองปาฐา เมื่อท่านกำลังพิจารณาธรรมและวินัย ได้คิดต่อไปว่า ภิกษุพวกปราจีนเป็นอธรรมวาที (หมายถึงภิกษุพวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี) ภิกษุพวกเมืองปาฐาเป็นธรรมวาที (หมายถึงพวกพระยสกากัณฑกบุตร)
ขณะนั้น เทวดาผู้อยู่ในชั้นสุทธาวาสตนหนึ่ง ทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่านพระสาฬหะด้วยจิตของตน ได้หายไปในเทวโลกชั้นสุทธาวาส มาปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระสาฬหะ เหมือนบุรุษที่มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น แล้วได้เรียนท่านพระสาฬหะว่า
ถูกแล้ว ชอบแล้ว ท่านพระสาฬหะ ภิกษุพวกปราจีนเป็นอธรรมวาที ภิกษุพวกเมืองปาฐาเป็นธรรมวาที ถ้าเช่นนั้นท่านจงดำรงอยู่ตามธรรมเถิดขอรับ
พระสาฬหะกล่าวว่า
เทวดา เมื่อกาลก่อนแลบัดนี้ อาตมาดำรงอยู่ตามธรรมแล้ว ก็แต่ว่าอาตมายังทำความเห็นให้แจ่มแจ้งไม่ได้ก่อนว่า แม้ไฉนสงฆ์พึงสมมติเราเข้าในอธิกรณ์นี้ ฯ
เรื่องพระอุตตรเถระ
ข้อ ๖๔๕
ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีถือสมณบริขารนั้น เข้าไปหาท่าน เรวตะ แล้วเรียนว่า
ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงรับสมณบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ผ้ากายพันธ์ ผ้ากรองน้ำ และธัมกรก
พระเรวตะกล่าวว่า
อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ไตรจีวรของเราบริบูรณ์แล้ว ไม่ปรารถนารับ
สมัยนั้น ภิกษุชื่ออุตตระมีพรรษา ๒๐ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระเรวตะ ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีเข้าไปหาท่านพระอุตตระ แล้วบอกว่า
ขอท่านอุตตระ จงรับสมณบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ผ้ากายพันธ์ ผ้ากรองน้ำ และธัมกรก
พระอุตตระกล่าวว่า
อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ไตรจีวรของผมบริบูรณ์แล้ว ไม่ปรารถนารับ
พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีกล่าวว่า
ท่านอุตตระ คนทั้งหลายน้อมถวายสมณบริขารแด่พระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับ พวกเขาย่อมดีใจเพราะการทรงรับนั้นแล ถ้าไม่ทรงรับ พวกเขาก็น้อมถวายแด่ท่านพระอานนท์ด้วยเรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงรับสมณบริขาร สมณบริขารที่พระเถระรับนั้น จักเหมือนสมณบริขารที่พระผู้มีพระภาคทรงรับ ฉะนั้น ขอท่านพระอุตตระจงรับสมณบริขารเถิด สมณบริขารที่ท่านรับนั้น จักเป็นเหมือนสมณบริขารที่พระเถระรับ ฉะนั้น
ครั้งนั้น ท่านพระอุตตระถูกพวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีแค่นไค้อยู่ จึงรับ
จีวรผืนหนึ่ง กล่าวว่า
ท่านทั้งหลาย ท่านพึงพูดสิ่งที่ท่านต้องการ
คือ ท่านทราบว่า ที่มาแค่นไค้ให้ท่านรับพวกปัจจัยต่างๆ นี้ คงจะมีกิจธุระที่อยากจะให้ท่านกระทำเป็นแน่
พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีกล่าวว่า
ขอท่านพระอุตตระจงกล่าวคำเพียงเท่านี้กะพระเถระว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงพูดคำมีประมาณเท่านี้ในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเสด็จอุบัติในปุรัตถิมชนบท พวกพระชาวปราจีนเป็นธรรมวาที พวกพระชาวเมืองปาฐาเป็นอธรรมวาที
คือ ขอให้ตัดสินว่า พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีซึ่งเป็นพวกพระชาวปราจีนเป็นธรรมวาที ส่วนพวกพระชาวเมืองปาฐาเป็นอธรรมวาที
นี่เป็นลักษณะของผู้ที่ไม่ใช่เป็นบัณฑิต เพราะว่าไม่ได้กล่าวถึงพระธรรมวินัย ใดๆ เลย ไม่มีข้อธรรมที่จะซักไซ้ไล่เลียงว่า ข้อนี้ถูก ข้อนี้ควร หรือว่าข้อนี้ไม่ควร เพียงแต่ให้ตัดสินโดยที่ไม่ยกธรรมวินัยขึ้นแสดง ให้ชี้ขาดลงไปว่า ผู้ใดผิด ผู้ใดถูก ผู้ใดเป็นธรรมวาที ผู้ใดเป็นอธรรมวาที
ท่านพระอุตตระรับคำของพวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีแล้ว เข้าไปหาท่านพระเรวตะ เรียนว่า
ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงพูดคำมีประมาณเท่านี้ในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเสด็จอุบัติในปุรัตถิมชนบท พวกพระชาวปราจีนเป็นธรรมวาที พวกพระชาวเมืองปาฐาเป็นอธรรมวาที
พระเถระกล่าวว่า
ภิกษุ เธอชวนเราในอธรรมหรือ แล้วประณามท่านพระอุตตระ
ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีได้ถามท่านพระอุตตระว่า
ท่านอุตตระ พระเถระพูดอย่างไร
พระอุตตระตอบว่า
ท่านทั้งหลาย พวกเราทำเลวทรามเสียแล้ว พระเถระกล่าวว่า ภิกษุ เธอชวนเราในอธรรมหรือ แล้วประณามเรา
พระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีถามท่านพระอุตตระว่า
ท่านอุตตระ ท่านเป็นผู้ใหญ่ มีพรรษา ๒๐ มิใช่หรือ
พระอุตตระตอบว่า
ถูกละ ขอรับ แต่ผมยังถือนิสัยในพระเถระ ฯ
คือ ยังต้องศึกษา ยังต้องอยู่ในโอวาทของท่านพระเรวตะ เพราะว่าท่านยังศึกษาพระธรรมวินัยไม่เพียงพอที่จะไม่ถือนิสัย เพราะฉะนั้น ท่านก็ยังจะต้องศึกษาถือนิสัย อยู่ในโอวาทของท่านพระเรวตะอยู่
ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า ผู้ที่เป็นธรรมวาทีก็จะต้องรู้ว่า คำพูดหรือคำขอร้องอย่างใดเป็นอธรรม คือ ไม่ใช่ธรรม ไม่เป็นไปตามธรรม เพราะฉะนั้น ท่านพระเรวตะก็เห็นว่า การที่ท่านพระอุตตระซึ่งเป็นอุปัฏฐากของท่าน บอกให้ท่านพูดอย่างนั้น เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
ข้อความต่อไปมีว่า
สงฆ์มุ่งวินิจฉัยอธิกรณ์
ข้อ ๖๔๖
ครั้งนั้น สงฆ์ปรารถนาจะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ได้ประชุมกันแล้ว จึงท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้
ญัตติกรรมวาจา
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าพวกเราจักระงับอธิกรณ์นี้ในที่นี้ บางทีจะมีพวกภิกษุผู้ถือมูลอธิกรณ์รื้อฟื้นขึ้นทำใหม่ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว อธิกรณ์นี้เกิดขึ้น ณ ที่ใด สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ในที่นั้น
คือ การที่จะมาพิจารณาคดีในสถานที่ที่ไม่ใช่ที่เกิดเหตุ เป็นการไม่สมควร เพราะว่าพระภิกษุในที่ๆ เกิดเหตุนั้น อาจจะรื้อฟื้นคดีนี้ขึ้นและวินิจฉัยพิจารณาใหม่ เพราะฉะนั้น ท่านพระเรวตะผู้ทรงธรรม ผู้ทรงวินัย จึงขอให้ไปชำระคดี หรือกระทำสังคายนาที่เมืองเวสาลี ซึ่งเป็นที่เกิดเหตุนั่นเอง
ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายได้พากันไปเมืองเวสาลี มุ่งวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ครั้งนั้น พระสัพพกามีเป็นพระสงฆ์เถระทั่วแผ่นดิน มีพรรษา ๑๒๐ แต่อุปสมบท เป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระอานนท์ อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี จึงท่านพระเรวตะได้กล่าวกะท่านพระสัมภูตสาณวาสีว่า
ท่าน ผมจะเข้าไปสู่วิหารที่พระสัพพกามีเถระอยู่ ท่านพึงเข้าไปหาท่านพระสัพพกามีแต่เช้า แล้วเรียนถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีรับเถระบัญชาแล้ว
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะเข้าไปสู่วิหารที่พระสัพพกามีเถระอยู่ เสนาสนะของท่านพระสัพพกามีเขาจัดแจงไว้ในห้อง เสนาสนะของท่านพระเรวตะเขาจัดแจงไว้ที่หน้ามุขของห้อง ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะคิดว่า พระผู้เฒ่านี้ยังไม่นอน จึงไม่สำเร็จการนอน ท่านพระสัพพกามีคิดว่า พระอาคันตุกะรูปนี้เหนื่อยมา ยังไม่นอน จึงไม่สำเร็จการนอน ฯ
นี่เป็นปฏิสันถาร การต้อนรับของผู้ทรงธรรม คือ คำนึงถึงบุคคลผู้เป็นอาคันตุกะ หรือผู้ซึ่งท่านไปหา
ข้อ ๖๔๗
ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ท่านพระสัพพกามีลุกขึ้นกล่าวกะท่านพระเรวตะว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก
ท่านที่เป็นพระเถระ โดยมากไปมาหาสู่กันก็จะต้องทราบอัธยาศัยกันว่า ผู้ที่ไปหาก็คงจะมีฉันทะ มีอัธยาศัย มีอุปนิสัยในการเจริญธรรมเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น เมื่อท่านพระเรวตะไม่นอน ท่านพระสัพพกามีท่านก็ไม่นอน ท่านพระสัพพกามีท่านก็ถามท่านพระเรวตะว่า ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก
ท่านพระเรวตะตอบว่า
ท่านเจ้าข้า บัดนี้ ผมอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมโดยมาก
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า
ได้ยินว่า บัดนี้ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมตื้นๆ โดยมากวิหารธรรมตื้นๆ นี้ คือเมตตา
ท่านพระเรวตะกล่าวว่า
ท่านเจ้าข้า แม้เมื่อก่อนครั้งผมเป็นคฤหัสถ์ ได้อบรมเมตตามา เพราะฉะนั้น ถึงบัดนี้ ผมก็อยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมโดยมาก และผมได้บรรลุพระอรหัตมานานแล้ว ท่านเจ้าข้า ก็บัดนี้พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า
ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ฉันอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมโดยมาก
ท่านพระเรวตะกล่าวว่า
ท่านเจ้าข้า ได้ยินว่า บัดนี้พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมของพระมหาบุรุษโดยมากวิหารธรรมของพระมหาบุรุษนี้ คือ สุญญตสมาบัติ
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า
ท่านผู้เจริญ แม้เมื่อก่อนครั้งฉันเป็นคฤหัสถ์ ได้อบรมสุญญตสมาบัติมาแล้ว เพราะฉะนั้น บัดนี้ ฉันจึงอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ สุญญตสมาบัติ และฉันได้บรรลุพระอรหัตมานานแล้ว ฯ
ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ถึงการสะสมที่เป็นอุปนิสัยปัจจัย แม้ท่านพระเรวตะและท่านพระสัพพกามี ก่อนที่ท่านจะได้บรรลุคุณธรรมเป็นพระอรหันต์ หรือว่าก่อนที่ท่านจะได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านก็อบรมเจริญธรรมตามอัธยาศัยที่ท่านได้สะสมมา คือ ท่านพระเรวตะท่านก็ได้สะสมเมตตา ท่านก็เจริญเมตตาพรหมวิหาร ท่านพระสัพพกามีท่านก็อยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรม สุญญตะ หรือสุญญตา เป็นอีกคำหนึ่งซึ่งหมายความถึงอนัตตา
ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า แม้เมื่อครั้งที่เป็นคฤหัสถ์ เคยเจริญเมตตา เวลาที่ท่านอุปสมบทและบรรลุอรหัตแล้ว ท่านก็มีปัจจัยที่จิตจะน้อมไปที่จะเป็นอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรม เพราะฉะนั้น ท่านผู้ใดเคยสะสมอุปนิสัยอย่างไรมา แม้ว่าจะบรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยเจ้า หรือว่าถึงความเป็นอรหัตแล้ว ท่านก็อยู่ด้วยธรรมที่ท่านเคยสะสมมาเป็นส่วนมาก
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๕๔๑ – ๕๕๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 541
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 542
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 543
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 544
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 545
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 546
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 547
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 548
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 549
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 550
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 551
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 552
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 553
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 554
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 555
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 556
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 557
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 558
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 559
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 560
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 561
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 562
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 563
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 564
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 565
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 566
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 567
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 568
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 569
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 570
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 571
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 572
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 573
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 574
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 575
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 576
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 577
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 578
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 579
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 580
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 581
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 582
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 583
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 584
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 585
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 586
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 587
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 588
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 589
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 590
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 591
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 592
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 593
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 594
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 595
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 596
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 597
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 598
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 599
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 600