แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 705
ครั้งที่ ๗๐๕
สุ. ทุกท่านทราบข่าวการสิ้นชีวิตของบุคคลที่ท่านรู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม ขณะนั้นไม่ต้องจำกัดว่ากัมมัฏฐานหมวดไหน มรณานุสสติหรือมรณสติได้ไหม แต่ระลึกทันทีถึงความตายซึ่งต้องมีกับทุกคน เขาตายได้ เราก็ตายได้ แล้วแต่ว่าใครจะตายเมื่อไร วันไหน ถ้าเป็นมรณสติในขณะนั้นไม่ต้องเลือกว่า จะเจริญแบบสมถะหรือว่าเจริญแบบวิปัสสนา เพราะถ้าเป็นแบบสมถะก็ต้องไปอ่านรายละเอียดว่าให้ระลึกอย่างไรจิตจึงจะสงบ ซึ่งความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ไม่ต้องเสียเวลาไปมากมายก่อนที่จะให้จิตสงบ ถ้าระลึกถูกในขณะนั้นก็สงบแล้ว แม้แต่การระลึกถึงความตาย ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นกับตน
โลภะทั้งหลาย ความยินดี ความพอใจ ความติดในรูปสมบัติ ในทรัพย์สมบัติ ในบริวารสมบัติ ในลาภ ในสักการะ ในยศ ในความรู้ ในทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต จะต้องพลัดพรากจากไปโดยเด็ดขาดในวันหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเมื่อไรก็ได้ ถ้าขณะนั้นเกิดระลึกอย่างนี้ ก็เป็นความสงบของจิตที่เกิดขึ้นชั่วขณะ แม้ไม่มากแต่ถ้าระลึกได้บ่อยๆ เนืองๆ ก็จะมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปกับลาภสักการะ ชื่อเสียง ยศ สรรเสริญ สุขใดๆ ทั้งสิ้น ก็เพิ่มความสงบขึ้น
เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญสมถภาวนา ไม่ใช่ว่าจะต้องแสวงหาวิธีการและดำเนินไปตามขั้นตอนอย่างที่ท่านอ่าน แต่ท่านจะต้องรู้ลักษณะสภาพของจิตในขณะนั้นว่า สติระลึกและเป็นไปในความสงบจากโลภะ โทสะ โมหะในขณะนั้นๆ โดยไม่ต้องคิดว่าจะต้องไปพบอสุภะเสียก่อน เพียงแต่มรณสติ ข่าวการสิ้นชีวิตของบุคคลต่างๆ ที่มีอยู่เป็นปกติประจำวัน ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความสงบได้
ถ้าท่านได้ข่าวของญาติมิตรที่สิ้นชีวิตไป แม้ยังไม่ได้พบกับอสุภะนั้น ก็สงบได้แล้วจากมรณสติ และเวลาที่ไปพบกับอสุภะนั้นก็ไม่ต้องคิดว่า จะเจริญวิปัสสนาดีหรือสมถะดี เพราะไม่มีใครสามารถที่จะไปตระเตรียม สภาพธรรมทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยตามความเป็นจริง เวลาที่สติไม่เกิด ไม่อยากจะพบอสุภะเลย เห็นแล้วก็กลัว ซึ่งส่วนมากก็กลัว และอสุภะที่แสดงเป็นอสุภกัมมัฏฐานก็น่ากลัว เพราะฉะนั้น ไม่มีใครอยากจะประสบกับอสุภะถึงขั้นนั้น
ถ. มีผู้ปฏิบัติธรรมด้วยกันมาสนทนาถึงเรื่องการปฏิบัติอสุภกัมมัฏฐานว่า จะเจริญอย่างไรตามแนวทางของวิปัสสนา ดิฉันจึงมาเรียนถามอาจารย์
สุ. การอบรมเจริญสติปัฏฐาน คือ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติตามความเป็นจริง เห็นอสุภะแล้วน้อมมาสู่ตนอย่างไร โดยนัยของ สติปัฏฐาน สภาพธรรมที่ปรากฏ เป็นเพียงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นที่อสุภะหรือที่เรา ก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เหลือแต่เพียงสภาพธรรมที่เพียงปรากฏทางตา ซึ่งเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่สภาพเห็น นั่นโดยนัยของวิปัสสนา
ถ. จะประสบอะไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้เกิดสลดสังเวช หรือว่าขณะที่เราไปในงานศพ เราพบเขาร้องไห้ หรือมีคนหัวเราะ …
สุ. เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง ที่เป็นสติปัฏฐาน ไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะทางตา แต่ระลึกรู้ลักษณะของเวทนา ความรู้สึกในขณะนั้นได้ ระลึกรู้ลักษณะของจิตในขณะนั้นได้ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลายที่ปรากฏในขณะนั้นได้ไม่จำกัด การเจริญสติปัฏฐานกว้างขวางมาก
ถ. เหมือนกับขณะที่เราไปในงานที่เศร้าโศกอย่างนั้น แต่ได้พบกับมิตรสหายที่ไม่ได้พบกันมานาน ก็รู้สึกดีใจ
สุ. สติปัฏฐานจะต้องระรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติตามความเป็นจริง จึงจะเห็นความไม่แน่นอน ความไม่เที่ยงแม้ของเวทนาที่เป็นความรู้สึก บางท่านอาจจะต้องจัดการกับอสุภะ คือ รดน้ำศพ หรือว่าอาบน้ำศพ หรือว่าแต่งตัวศพ ซึ่งสติระลึกรู้ได้ ไม่พ้นจากเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ถ้ากระทบสัมผัสอสุภะ
รูปของอสุภะไม่สามารถรู้อะไรได้เลย เพราะเป็นแต่เพียงสภาพอ่อน แข็ง เย็น ร้อนเท่านั้น ฉันใด รูปร่างกายของท่านซึ่งยังไม่เป็นอสุภะก็เช่นเดียวกัน คือ ไม่ใช่สภาพรู้ เป็นแต่เพียงลักษณะของสภาพธรรมที่เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปใดๆ ทั้งสิ้น รูปของอสุภะไม่สามารถจะเป็นสภาพรู้ได้ฉันใด รูปที่กำลังปรากฏ ที่อ่อน ที่แข็ง ที่เย็น ที่ร้อน ที่กายของท่าน ก็ไม่สามารถที่จะเป็นสภาพรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดได้เลยฉันนั้น เพราะว่าเป็นเพียงลักษณะของรูปธรรม และปัญญาสามารถแทงตลอดในความเสมอกันของรูปธรรมซึ่งเป็นเพียงรูปธรรม ไม่ว่าที่อสุภะ หรือที่ท่าน ก็เป็นลักษณะของรูปธรรม คือ ไม่ใช่สภาพรู้
ถ. คือ ระลึกรู้ที่ทางทวารทั้ง ๖
สุ. ไม่พ้นจากทวารทั้ง ๖
ถ. ผมฟังแล้วรู้สึกว่า ไม่ใช่เฉพาะอสุภะหรืออะไร แต่เป็นทุกอย่าง ซึ่งปกติก็เป็นรูปปรมัตถ์ เป็นนามปรมัตถ์อยู่ทุกลมหายใจทางทวารทั้ง ๖ ถ้าไม่เคยฝึกการเจริญสติปัฏฐานก็ไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็กลายเป็นตัวตน เกิดความยุ่งยากต่างๆ นานา ที่จริงแล้วเป็นสติปัฏฐานอยู่ทุกลมหายใจ ไม่เว้นเลย ผมรู้สึกอย่างนั้น ทุกวันนี้ก็ต้องฟัง ต้องศึกษา ต้องมาฟังเรื่อยๆ เพื่อฝึกให้รู้
ขอถามอาจารย์ว่า ขณะที่จิตรู้สึกว่าสงบ แต่สติไม่ได้เกิด ขณะนั้นเป็นกุศลหรือไม่ จะเป็นสติปัฏฐานหรือเปล่า
สุ. ต้องถาม ถ้าไม่ใช่สติปัฏฐานก็ต้องถามคนอื่น เพราะฉะนั้น ขอให้เป็นความรู้ของตนเองที่จะรู้ลักษณะของสภาพจิตในขณะนั้น ถ้าบอกในขณะนี้ก็ไม่สามารถที่จะไปตามรู้ได้ เพราะว่าดับไปหมดแล้ว
ถ. ผมรู้สึกว่า กุศลหลายๆ อย่าง เช่น เราช่วยเหลือผู้อื่น เราช่วยโดยที่จิตเป็นกุศลจริงๆ มีเมตตาผู้อื่น เกิดกุศลโสมนัส ซึ่งเห็นชัดกว่ากุศลที่เป็นการเจริญ อานาปานสติ ที่รู้สึกว่ามีความสงบ แต่ไม่ใช่ลักษณะของปีติเหมือนอย่างที่เผื่อแผ่หรือช่วยเหลือคนอื่น และเมื่อสงบแล้ว ไม่นานเท่าไรก็เกิดถีนมิทธะ ง่วง
สุ. น่าคิดที่ว่า สงบจะเป็นกุศลหรือเปล่า เข้าใจว่าสงบ แต่ความจริงขอให้เปรียบเทียบสภาพของกุศลจิตกับขณะนั้น และพยายามตัดสินว่า ขณะนั้นเป็นกุศลหรือไม่ใช่ อาจจะคิดว่าเป็นกุศลเพราะเข้าใจว่าสงบ แต่ความจริงไม่ได้สงบ เพราะว่ามีความต้องการ
ถ. ผมก็บอกแล้วว่า เมตตาหรือความเป็นเพื่อนนั้น สติระลึกได้ชัดกว่า แต่ขณะที่เพียรให้สงบ และมีความสงบเกิดขึ้นเป็นบางครั้งบางคราว ซึ่งก็ไม่ทราบว่า เป็นกุศลหรือเปล่า เพราะสติไม่ได้เกิดจริงๆ
สุ. ก็น่าคิด แต่ที่ถูกคือ ขณะนั้นไม่ควรจะเป็นกุศลเลย ซึ่งถ้าเป็นสมถภาวนา ก็ต้องเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา แต่ถ้าขณะนั้นปัญญาไม่เกิดที่จะรู้ลักษณะที่เป็นความสงบ ขณะนั้นต้องไม่ใช่ความสงบ
เพราะฉะนั้น อย่าถือความรู้สึกขณะนั้นที่เป็นอุเบกขาเวทนาว่าเป็นกุศล ซึ่งหลายท่านเข้าใจว่า ถ้าโลภะไม่ปรากฏ โทสะไม่ปรากฏ เป็นความรู้สึกเฉยๆ ก็ควรจะเป็นกุศล เพราะว่าขณะนั้นไม่มีโลภะไม่มีโทสะ แต่โมหะยังมี เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา เพราะไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ถ. ไม่ใช่รู้สึกเฉยๆ ธรรมดา แต่ความเฉยนี้เกิดจากการเจริญอานาปานสติ
สุ. ถ้าเพิ่งใช้คำว่า อานาปานสติ เพราะการเจริญอานาปานสติจริงๆ ต้องเป็นความรู้ที่ละเอียดมาก จึงจะเป็นอานาปานสติได้
ถ. เข้าใจ แต่โดยบัญญัติต้องพูดอย่างนั้น เป็นการประคับประคองจิต
สุ. ขณะนั้นต้องการ ต้องเป็นโลภะ ไม่ใช่ความสงบ
ถ. ผู้ที่เจริญสมถะ มีปัญญารู้ว่าขณะนั้นเป็นความสงบที่แท้จริง ปัญญาอย่างนั้นเป็นอย่างไร
สุ. ก็ต้องเจริญสมถะ ความสงบที่ประกอบด้วยปัญญา เมื่อยังไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ยังไม่ใช่สมถภาวนาแน่นอน ต้องเข้าใจ เรื่องของอานาปานสติก็ดี เรื่องของสมถภาวนาทั้งหมดก็ดี เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เป็นเรื่องที่จะต้องรู้ลักษณะของสภาพความสงบโดยแท้จริง จึงจะเจริญได้ ถ้ายังมีความปรารถนา ยังมีความต้องการที่จะจดจ้อง ขณะนั้นไม่ใช่ความสงบ
เมื่อตั้งต้นด้วยความไม่สงบ ก็จะต้องต่อไปด้วยความไม่สงบ ซึ่งเป็นอกุศล และผลก็คือ อกุศลธรรมจะปรากฏเป็นความง่วงบ้าง เป็นอะไรๆ บ้าง
ถ. ผมขอคำแนะนำ เบื้องต้นในการเจริญอานาปานสติที่ถูกต้อง เป็นอย่างไร
สุ. ปัญญาเกิดในขณะที่ระลึกรู้ลักษณะของลม
ถ. ที่เจริญ ก็ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ทีนี้สติปัฏฐานไม่เกิด
สุ. ปัญญาที่กล่าวถึงนี้ ไม่ได้หมายถึงสติปัฏฐาน แต่ปัญญาขั้นสมถะต้องเกิดพร้อมในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของลม
ถ. ขณะที่ลมกระทบระหว่างช่องจมูก หรือบนริมฝีปากบ้าง ก็ระลึกตรงนั้น
สุ. ระลึกตรงนั้นแล้วสงบอย่างไร ต้องมีหนทางหรือวิธี และมีลักษณะของความสงบด้วย
ถ. ขณะนั้นประคับประคองจิต
สุ. กำลังประคับประคอง เป็นลักษณะของโลภะ ไม่ใช่ลักษณะของความสงบ
ถ. อยู่ในลักษณะที่เพียรไม่ให้จิตไป
สุ. เพียรด้วยโลภะได้ แต่ไม่สงบ
ถ. เวลาคิดอะไรฟุ้งซ่านไป
สุ. ไม่สงบเลย
ถ. ประคับประคองจิตให้อยู่ในจุดนี้ เพียรที่สุด พยายามที่สุด
สุ. การประคับประคอง ไม่ใช่ปัญญา
ถ. ปัญญาที่จะให้รู้สมถะนี้ ผมไม่ค่อยรู้เลย
สุ. เมื่อไม่ได้ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ลักษณะของความสงบซึ่งจะเกิดได้ด้วยการระลึกรู้ลมหายใจที่ปรากฏ ปัญญาจึงไม่เจริญ ความสงบจึงไม่เจริญ แต่เจริญโลภะ คือ ต้องการ และประคับประคองต่อไปเรื่อยๆ ปรากฏเป็นความกระสับกระส่าย กระวนกระวาย หรือมิฉะนั้นก็เป็นการไม่รู้สึกตัว เพราะเป็นผลของโลภะและโมหะ
การเจริญสมถภาวนา ต้องมีปัญญาที่รู้ลักษณะของความสงบ ไม่ใช่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมว่าไม่ใช่ตัวตน
ถ. ความสงบขั้นทานก็มีตั้งหลายขั้น ธรรมดาที่เราเพิ่งเริ่มต้น อย่างอ่อนๆ ก็ยังตัดสินใจไม่ถูก
สุ. เพราะฉะนั้น ไปเจริญโลภะ ต่อเมื่อใดรู้หนทางรู้วิธีว่า ความสงบเกิดพร้อมกับสติที่ระลึกรู้ลมหายใจในลักษณะของความสงบแล้ว ความสงบจึงจะเจริญได้ ต้องเป็นเรื่องที่ละเอียดไปถึงลักษณะของสภาพความสงบขณะที่ระลึกรู้ลมหายใจ
ถ. ระลึกรู้ลมหายใจ ขณะนั้นก็ใช้ความเพียรอย่างนั้นอยู่แล้ว
สุ. พูดถึงความเพียรตลอดเวลา ดิฉันพูดถึงความสงบกับปัญญา เพราะฉะนั้น เป็นคนละเรื่อง และที่เจริญมาแล้วก็ไม่ใช่สมถภาวนา เพราะไปทำความเพียรด้วยความต้องการ ไม่ใช่ด้วยปัญญาที่รู้ในลักษณะของความสงบและเจริญความสงบขึ้น ที่ฟังมานี่ ก็ต้องแยกแล้วว่าต่างกัน ข้อปฏิบัติผิดกัน ผลก็ต้องผิดกัน อย่าเข้าใจว่า พอระลึกก็สงบ เป็นไปไม่ได้ ความสงบจะต้องพร้อมปัญญา
ถ. ผมก็บอกแล้วว่า ความสงบมีหลายขั้น
สุ. กำลังต้องการนี่สงบไหม กำลังเพียรประคับประคองให้อยู่ที่ลมหายใจ ในขณะนั้นจะสงบได้อย่างไร
ถ. ขณะนั้นก็เพียรปฏิบัติอยู่ ถ้าหากว่าเราไม่เพียรอยู่จุดนี้แล้ว เราจะเพียรอย่างไร
สุ. เจริญความเพียร หรือเจริญความสงบที่ประกอบด้วยปัญญาที่รู้ลักษณะของความสงบ
ถ. ปัญญากับความสงบ
สุ. ถ้ายังไม่ได้ฟังเรื่องปัญญาขั้นสมถภาวนา ก็เจริญสมถภาวนาไม่ได้ เหมือนกับการที่ไม่รู้ว่า ปัญญาที่เป็นวิปัสสนาภาวนานั้นรู้อะไร ถ้ายังไม่รู้ว่าปัญญาที่เป็นวิปัสสนาภาวนาที่เกิดพร้อมสติปัฏฐานนั้นรู้อะไร ก็ไม่สามารถที่จะเจริญสติปัฏฐานได้ฉันใด ถ้ายังไม่รู้ว่าปัญญาที่เกิดพร้อมความสงบในขณะที่ระลึกรู้ลมหายใจเป็นอย่างไร ก็ย่อมไม่สามารถที่จะเจริญสมถภาวนาที่เป็นอานาปานสติได้ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งไปทำอะไรโดยไม่รู้ เพราะว่าไม่ได้ศึกษาก่อน ไม่ได้รู้ความต่างกันของสภาพธรรมแต่ละขั้น ความสงบมีลักษณะอย่างไรก็ไม่รู้ แต่ก็เข้าใจว่าไปเจริญความสงบ ซึ่งความจริงแล้วตลอดเวลาไม่สงบเลย เพราะฉะนั้น ผลก็คือ ความฟุ้งซ่าน หรือความไม่รู้สึกตัว
ถ. ข้อนี้ผมไม่เถียง เพราะจากประสบการณ์ การเจริญสติปัฏฐานต้องเป็นเช่นนั้นจริงๆ ฉะนั้น สมถะก็ต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ปัญญาขั้นการฟังถ้าไม่สมบูรณ์ การปฏิบัติก็เละ ผมยอมรับ จุดแรกสำคัญที่สุด คือ ต้องฟังให้เกิดปัญญาก่อน การปฏิบัติจึงจะเป็นไปได้
สุ. เพราะฉะนั้น ที่กล่าวกันว่า ถ้าข้อปฏิบัติใดไม่ใช่การเจริญวิปัสสนา ข้อปฏิบัตินั้นก็เป็นเพียงสมถะ ที่กล่าวอย่างนั้นไม่ถูกต้อง เพราะแม้สมถะก็ไม่ใช่ สมาธิเกิดกับจิตทุกดวง เกิดกับอกุศลจิตก็ได้ เกิดกับกุศลจิตก็ได้
ถ. (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. แน่นอน ขณะนั้นกำลังต้องการอย่างมาก ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นลักษณะของความต้องการ เป็นความไม่สงบ เป็นความกระสับกระส่ายแล้ว
เวลาที่ท่านอยู่ในป่า มีความพอใจในความสงบของป่า ขณะนั้นเป็นกุศลหรือ เป็นอกุศล แค่นี้ท่านก็ต้องเทียบแล้ว เพื่อจะเจริญให้ถูก เพียงแต่ความพอใจเท่านั้นก็เป็นความกระสับกระส่ายของจิตแล้วโดยไม่รู้ตัวว่า ขณะนั้นจิตกระสับกระส่าย ไม่ใช่สงบ แต่เข้าใจว่าสงบมาก ซึ่งแท้จริงแล้วขณะที่เกิดความพอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้น จะเป็นความพอใจเวลาที่เห็นดอกไม้สวยๆ หรือพอใจในต้นไม้ใหญ่ๆ ในความสงบของป่า ในขณะนั้นที่พอใจ เป็นโลภมูลจิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่สงบ ขณะที่พอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่าคิดว่าสงบ เป็นความกระสับกระส่ายแล้ว ไม่ใช่ความสงบ เพราะฉะนั้น ก็ไปเจริญความกระสับกระส่ายกันยิ่งขึ้น เพราะเข้าใจว่าเป็นความสงบ
เวลาที่ให้ทาน จิตสงบไหม ขณะนั้นต้องสงบ แต่เพราะไม่เคยรู้เลยว่า ขณะที่ให้จิตผ่องใสเป็นกุศล สงบจากโลภะ โทสะ โมหะ จึงไม่ได้เจริญสมถภาวนาที่เป็น จาคานุสสติ เพราะว่าไม่เคยสังเกต ไม่เคยสำเหนียกรู้ลักษณะของสภาพที่สงบในขณะที่ให้ทาน แต่ถ้าเป็นการให้โดยลักษณะอื่น เช่น ให้แล้วหวังผล หรือว่าให้ตอบแทนบุคคลอื่นซึ่งให้ท่าน หรือว่าจะเป็นการให้ด้วยลักษณะใดๆ ก็ตาม ซึ่งไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้รับ ขณะนั้นจะเป็นจาคานุสสติไม่ได้ หรือว่าให้แล้วเสียดาย คิดขึ้นมาอีกก็เสียดาย อย่างนั้นจะเป็นการเจริญความสงบไม่ได้ เป็นจาคานุสสติไม่ได้
เพราะฉะนั้น การเจริญความสงบที่เป็นสมถภาวนา จะต้องเป็นไปกับปัญญา การอบรมภาวนาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนา จะต้องเป็นไปกับปัญญา ถ้าปราศจากปัญญาแล้ว ไม่สามารถที่จะเจริญความสงบให้ยิ่งขึ้น หรือไม่สามารถที่จะเจริญปัญญาให้ยิ่งขึ้นได้
ถ. ฟังดูแล้ว เป็นเรื่องใหญ่จริงๆ
สุ. เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันมานาน เช่นเดียวกับการที่เข้าใจเรื่องวิปัสสนาผิดผู้ที่เข้าใจเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน ก็เจริญสติปัฏฐาน แม้ว่าจะมีความสงบของจิตขั้นทาน ขั้นศีล แต่ว่ายังไม่ถึงขั้นที่เป็นสมถภาวนาที่จะอบรมให้ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องสงบจริงๆ ไม่ใช่เรื่องไม่สงบที่จะต้องการพากเพียรประคับประคองด้วยโลภะ และก็กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๗๐๑ – ๗๑๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 661
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 662
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 663
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 664
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 665
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 666
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 667
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 668
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 669
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 670
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 671
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 672
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 673
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 674
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 675
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 676
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 677
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 678
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 679
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 680
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 681
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 682
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 683
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 684
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 685
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 686
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 687
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 688
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 689
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 690
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 691
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 692
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 693
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 694
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 695
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 696
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 697
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 698
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 699
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 700
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 701
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 702
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 703
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 704
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 705
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 706
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 707
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 708
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 709
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 710
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 711
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 712
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 713
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 714
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 715
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 716
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 717
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 718
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 719
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 720