แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 668
ครั้งที่ ๖๖๘
ขอกล่าวถึงวันหนึ่งที่ได้ไปนมัสการพระนารทะ เป็นวันเสาร์ที่ ๙ เมษายน ซึ่งเป็นวันปิดสัมมนา วันนั้นเป็นวันว่าง เพราะฉะนั้น ตอนบ่ายก็ไปนมัสการท่าน พระนารทะที่วชิราราม ท่านพระนารทะเป็นพระที่สอนพระอภิธรรมและวิปัสสนา และ เขียนตำราไว้มาก ซึ่งชาวต่างประเทศทุกคนที่ศึกษาพระอภิธรรมและสนใจตำรับตำราของชาวศรีลังกา ทุกคนจะต้องรู้จักและได้เคยอ่าน
วันที่ไปนมัสการท่าน ท่านปรารภว่า ชาวศรีลังกาเข้าใจว่า คณะที่มาไม่สนใจศึกษาพระอภิธรรมและวิปัสสนา นี่เป็นเสียงของชาวบ้านบางคน เพราะว่าพวกที่ไปฟัง เป็นของธรรมดาแน่นอนที่สุดที่ว่า เคยสนใจศึกษาธรรมแบบศึกษาตามครูอาจารย์ และมีความรักครูอาจารย์ด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าได้ยินได้ฟังอะไรที่ผิดไปจากที่เคยได้ยินได้ฟังจากครูอาจารย์ ย่อมไม่เป็นที่พอใจ เพราะฉะนั้น เสียงจึงไปสู่ท่านพระนารทะว่า คณะที่มานี้ไม่สนใจสนับสนุนการศึกษาพระอภิธรรมและวิปัสสนา
จึงกราบเรียนท่านพระนารทะว่า สนใจที่จะส่งเสริมการศึกษาอภิธรรมในชีวิตประจำวันจริงๆ เช่น ในขณะนี้ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เป็นอเหตุกจิต เป็นวิบากจิต เกิดขึ้นได้อย่างไร กำลังได้ยินเดี๋ยวนี้ ที่กล่าวไว้ในอภิธรรมว่าเป็นอเหตุกจิต เป็น โสตวิญญาณ ขณะที่กำลังได้ยินขณะนี้เป็นอเหตุกจิต ไม่ประกอบด้วยเหตุ ยังไม่มี โลภะ โทสะ โมหะเกิดร่วมด้วย ขณะที่ได้ยินนี้เป็นเพียงวิบาก และสำหรับเรื่องวิปัสสนา ก็เป็นเรื่องการสนับสนุนวิปัสสนาที่ถูกต้อง
กราบเรียนท่านอย่างนี้ว่า สำหรับการศึกษาปริยัติ อภิธรรม ก็ไม่สนใจที่จะให้เพียงศึกษาโดยการอ่าน แต่ว่าเน้นหลักที่ความเข้าใจพระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน เมื่ออ่านแล้ว ก็ศึกษาพระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน สำหรับวิปัสสนาก็เช่นเดียวกัน คือ ไม่ส่งเสริมหรือสนับสนุนวิปัสสนาที่ผิด สนับสนุนแต่การปฏิบัติที่ถูก ซึ่งก็ได้เรียนชี้แจงให้ท่านทราบ เพราะท่านเป็นพระผู้ใหญ่มาก มีชื่อเสียงโด่งดังมากทีเดียวของชาวศรีลังกา ถ้าไปที่ศรีลังกา ทุกคนต้องบอกว่า ให้ไปนมัสการ ให้ไปฟังธรรม ให้อ่านหนังสือของท่าน
เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ไป ไม่เคยที่จะไม่ไปนมัสการท่านพระนารทะ สำหรับคราวนี้ก็เหมือนกัน แต่ว่าไปช้า เพราะว่าไม่ว่าง คราวก่อนๆ ไปเร็ว เพราะว่าเป็นรายการที่ไปเอง ไม่ใช่เป็นรายการที่รับเชิญ ถ้าเป็นรายการที่รับเชิญ ก็ต้องทำตามเจ้าของบ้านว่า เขาให้ทำอะไรบ้าง
เมื่อมีวันว่างในวันนี้ ก็ไปนมัสการในวันนี้ และก่อนที่จะนมัสการลาท่าน ก็ได้กราบเรียนถามท่านว่า เท่าที่ได้กราบเรียนท่านไปแล้ว ท่านเห็นว่าคณะของเราไม่สนใจพระอภิธรรมและไม่ส่งเสริมวิปัสสนาจริงหรือไม่ ท่านก็บอกว่า ไม่จริงหรอก เป็นผู้ที่สนใจส่งเสริมการศึกษาพระอภิธรรมและวิปัสสนา แต่ว่าคงจะมีการเข้าใจผิดกัน ซึ่งเป็นของที่แน่นอนเรื่องเข้าใจผิด ท่านบอกว่า ชาวศรีลังกาเขารู้ธรรมแล้ว เขาศึกษาแล้ว เขาเข้าใจแล้ว
นี่ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้น ตามจดหมายของท่านเจตนันทะที่เขียนถึงคุณโจนาธานจึงได้พูดถึงคณะของเราว่า มีขันติ ความอดทน และมีความกล้าหาญ
เรื่องกล้าหาญ นี่ต้องเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าเพื่อประโยชน์ของคนฟัง สิ่งใดที่ถูก ก็กล่าวถึงสิ่งที่ถูก สิ่งใดที่ผิดไม่ประกอบด้วยเหตุผล ก็จำเป็นต้องชี้แจงให้เห็นว่า สิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยเหตุผล ส่วนใครจะเกลียดจะชัง จะเลื่อมใส หรือจะไม่เลื่อมใสนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้เลย แต่ว่าเป็นเรื่องที่ธรรมต้องเป็นธรรมด้วย
เพราะฉะนั้น แม้แต่ในตอนหลังก็ยังต้องพูดกับคุณวชิราว่า สำหรับเรื่องธรรม ถูกก็ต้องเป็นถูก ผิดก็ต้องเป็นผิด เพราะว่าชาวลังกาเองรักเคารพในครูอาจารย์ของเขา เป็นเรื่องธรรมดา แต่ว่าความเข้าใจธรรม เขาควรจะเทียบส่วนว่า ความเข้าใจธรรมเป็นเรื่องความเข้าใจธรรม ส่วนความรักเคารพครูอาจารย์ก็เป็นเรื่องรักเคารพครูอาจารย์ ต้องแยกกัน ไม่ใช่รักเคารพครูอาจารย์จนกระทั่งทำให้ไม่สามารถจะเห็น หรือไม่สามารถที่จะเข้าใจธรรมได้
ทุกท่านมีสิทธิ์และมีความคิดเห็นของตนเองตามการสะสมมา ท่านเป็น พระผู้ใหญ่ที่ศึกษาธรรม ท่านจะมีความคิดเห็นประการใดก็เป็นส่วนที่ท่านได้ศึกษาและได้สะสมมา ไม่ได้มีจิตอคติ หรือไร้ความเมตตาต่อท่านเลย มีความเคารพท่านในฐานะที่ท่านเป็นพระภิกษุ ที่ท่านศึกษาธรรม แต่ส่วนความเห็นของท่านจะเป็นอย่างไร ตรงตามพระธรรมวินัยที่ได้ศึกษามาอย่างไร ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของท่านที่ท่านจะวินิจฉัย ไม่มีการที่เราจะไปทำอะไรได้ ลบหลู่ไม่ได้ อกุศลจิตก็ไม่ควรจะเกิดด้วยประการใดๆ ทั้งปวง เรื่องของท่านก็เป็นเรื่องของท่าน ถ้ามีโอกาสเมื่อไรที่จะได้สนทนากับท่าน ก็จะสนทนากับท่านตามตรง แล้วแต่โอกาส
ถ. (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. เป็นเรื่องธรรมดา เมืองไทยอย่างไร ศรีลังกาก็อย่างนั้น ประเทศอื่นๆ ก็เหมือนกันอย่างนั้น คือ เรื่องธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดและสุขุมลุ่มลึกจริงๆ
เวลาที่ฟังธรรม ต้องเคารพในธรรม ในเหตุในผล อย่าเอาบุคคลขึ้นมาปิดกั้นการที่จะเข้าใจธรรมว่า คนนี้กำลังพูดในสิ่งที่ตรงกันข้ามในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา หรือว่าผู้ที่เป็นที่เคารพ เป็นครูอาจารย์
ตอนที่จะกลับจากโคลัมโบก็ปรากฏว่า มีปฏิกิริยาย่อยๆ เพราะว่าชาวโคลัมโบรักเคารพครูอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ฟังธรรม ไม่ทราบจะตัดสินอย่างไร ลำบากใจแล้ว และได้ยินได้ฟังมาว่า ชาวศรีลังกาไม่พอใจที่ชาวศรีลังกาคนหนึ่งกล่าวว่า อาจารย์ของตนนั้นผิดพลาดเสียแล้ว
แสดงให้เห็นว่า ธรรมที่เป็นแนวที่ตรงไป ถ้าคนนั้นเป็นคนที่เคารพในธรรม จริงๆ จะไม่กระทบกระเทือน คือ ไม่เกิดอกุศล ครูอาจารย์ที่จะต้องเคารพ ก็เคารพในฐานะครูอาจารย์ แต่สูงที่สุดคือเหตุผลในพระธรรมวินัย ซึ่งจะต้องศึกษา และปฏิบัติให้ตรง ต้องเคารพในพระธรรมยิ่งกว่าสิ่งอื่น แต่ไม่ใช่ว่าจะขาดการเคารพส่วนตัวใน ครูอาจารย์
ธรรมเป็นเรื่องจริง เรื่องตรง ซึ่งต้องตรงต่อธรรม ส่วนปฏิกิริยาจะเป็นอย่างไร มีผลมากน้อยแค่ไหน ก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ แต่ถ้าทำอย่างนุ่มนวล ด้วยความคุ้นเคยสนิทสนม เป็นที่รักใคร่ ก็ย่อมจะผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เพราะว่าคนเราถ้าชอบอัธยาศัยกัน หรือว่ามีความเข้าใจกันในเรื่องอื่น ก็ย่อมจะน้อมนำที่จะรับฟังมากกว่า
เพราะฉะนั้น การประพฤติ ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ได้ผลมากหรือได้ผลน้อยในการเผยแพร่พระธรรม ซึ่งจะต้องคำนึงถึงประเพณีและวัฒนธรรมของเขาด้วย ดังนั้น ก็เป็นการยาก
ถ้าถามว่า สรุปผลได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ก็เป็นเรื่องที่ว่า ชาวศรีลังกาก็ได้ยินได้ฟังการศึกษาพระอภิธรรมในอีกลักษณะหนึ่ง คือ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งตรงกับในพระไตรปิฎก และแม้แต่การปฏิบัติการเจริญสติปัฏฐาน ก็เป็นการอบรมเพิ่มพูนปัญญาตามที่ได้ทรงแสดงไว้ แต่ว่าจะมีใครเข้าใจได้มากน้อยเท่าไร ก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดถึงจำนวนของผู้มีปัญญากับจำนวนของผู้รักเคารพในครูอาจารย์ และจำนวนของผู้ที่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นใหม่ๆ หรือแนวใหม่
เพราะฉะนั้น ก็เหมือนกัน ไม่ว่าที่นี่ หรือที่โน่น หรือที่ไหน
สำหรับการสนทนาธรรมส่วนใหญ่กับพระภิกษุที่โน่น คือ ท่านธัมมธโร และท่านเจตนันทะและท่านสามเณรสุนทโร ส่วนใหญ่ที่ไปคราวนี้เป็นเรื่องสมถะกับวิปัสสนา ซึ่งท่านรู้สึกปลาบปลื้มใจที่ท่านได้แง่คิดใหม่ๆ ทำให้เข้าใจละเอียดขึ้นในสมถะและในวิปัสสนา
เพราะว่าส่วนใหญ่แล้ว ถ้าคนพูดว่าวิปัสสนา แต่ปรากฏว่าข้อปฏิบัติไม่ตรงตามมหาสติปัฏฐาน เขาก็จะกล่าวว่า ไม่ใช่วิปัสสนาแต่เป็นสมถะ ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่แม้สมถะ
ชาวศรีลังกาเองที่นิยมมาก คือ อานาปานสติ ทั่วโลกไม่ได้คำนึงถึงว่า เป็นอารมณ์ที่ละเอียดมากสำหรับมหาบุรุษ ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อานาปานสติละเอียดที่สุด เพราะฉะนั้น เวลาที่ต้องการเพียงจะให้จิตจดจ้องที่ลมหายใจ สงบหรือ
ความต้องการมีอยู่ขณะใด ขณะนั้นไม่สงบ จะสงบได้อย่างไร เพราะกำลังต้องการ และเวลาที่จดจ้องมากขึ้นๆ ก็เข้าใจว่าตัวเองเป็นสมาธิ แต่เมื่อคนอื่นมาหา หรือมาขัดข้องไม่ให้ทำสมาธิต่อไป ก็เกิดความไม่พอใจ นั่นหรือคือสงบ นั่นหรือคือการเจริญความสงบ ขณะที่ความไม่พอใจปรากฏก็รู้แล้วว่า ไม่สงบ
และเวลาที่มีปรากฏการณ์ประหลาด ดูเหมือนลอยขึ้นไป ตกลงมา มีตัวออกไปข้างนอกมานั่งจ้องรูปที่กำลังนั่งอยู่ ก็เกิดแต่ความสงสัยว่า นี่อะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ขณะที่สงสัยนั้นหรือคือความสงบ ไม่มีลักษณะของความสงบตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด แต่ก็เข้าใจว่าตัวเองเจริญสมถภาวนา
ถ้าไม่อบรมเจริญความสงบในชีวิตประจำวัน จะไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้สงบได้นาน ขณะที่ประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ สงบได้ไหม ไม่ได้ นั่นไม่ใช่ความสงบ ไม่รู้ลักษณะของความสงบ แต่คนที่อบรมเจริญความสงบจริงๆ จะเป็นเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรืออารมณ์ของสมถะอื่นใดก็ตาม เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ ก็สงบ เพราะรู้ลักษณะของความสงบว่า ไม่ใช่ขณะที่เป็นโลภะ หรือขณะที่เป็นโทสะ นั่นก็อย่างหนึ่ง เวลาประสบกับสิ่งที่พอใจ สงบไหม เมื่อไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะที่ชัดเจนของความสงบ และไปทำเพียงสมาธิ ขณะนั้นไม่ได้มีความสงบในจิตใจเลย
ถ้าเป็นความสงบจริงๆ ประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจก็สงบได้ เวลาประสบกับสิ่งที่พอใจก็สงบได้ ถ้าจะเจริญสมถภาวนา ต้องมหากุศลญาณสัมปยุตต์เท่านั้น ทานสามารถจะกระทำได้ด้วยมหากุศลญาณวิปปยุตต์ ไม่ประกอบด้วยปัญญา ศีลก็สามารถที่จะรักษาได้ด้วยมหากุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา แต่ถ้าจะเจริญความสงบให้ยิ่งขึ้น แต่ไม่รู้ลักษณะของความสงบ ไม่ประกอบด้วยปัญญาในขั้นต้น ก็ไม่สามารถที่จะเจริญความสงบได้
เพราะฉะนั้น เวลาประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจจึงเป็นโทสะ ไม่สงบ เวลาประสบกับสิ่งที่พอใจจึงเป็นโลภะ ไม่สงบ แต่ผู้ที่อบรมเจริญความสงบจริงๆ เข้าใจลักษณะของขันติ ความอดทน เวลาประสบกับสิ่งที่ไม่พอใจ ความอดทนอยู่ที่ไหน ถ้าความอดทนอยู่ที่นั่น กุศลจิตเกิดที่นั่น สงบ ไม่เป็นโทสะ เวลาประสบกับสิ่งที่พอใจ ขันติ ความอดทนอยู่ที่ไหน อดทนที่จะไม่เกิดโลภะ ที่จะไม่พอใจในสิ่งที่น่าพอใจ นั่นคือความสงบ
เวลาที่ให้ทานเป็นกุศลจิต สงบจากโลภะ จากโทสะ จึงให้ได้ ไม่มีความติดข้องในวัตถุนั้นจึงสละได้ ไม่มีความโกรธในบุคคลผู้รับจึงให้บุคคลนั้นได้ ถ้าเข้าใจลักษณะสภาพของจิตที่สงบในขณะที่ให้ทาน จาคานุสสติ เป็นสมถภาวนา ระลึกถึงความสงบจากกิเลส
เพราะฉะนั้น อารมณ์ของสมถภาวนา ไม่ใช่ทานานุสติ แต่เป็นจาคานุสติ เพราะถ้าเพียงการระลึกถึงทาน บางครั้งไม่สงบ เพราะว่าเกิดเสียดาย มีไหม ให้ทานไปแล้ว นึกขึ้นมาแล้วเสียดาย แทนที่จิตจะสงบผ่องใสที่สามารถสละสิ่งนั้นให้บุคคลอื่นได้ หรือสละเพื่อประโยชน์สุขได้ แต่ถ้าเป็นจาคานุสติ จะประกอบด้วยปัญญาที่ระลึกถึงสภาพความสงบของจิต และคุณของจาคะ คือ ความสามารถที่จะสละโลภะ โทสะ จิตขณะนั้นจึงสงบได้ เพราะว่าระลึกถึงสภาพของจิตที่เป็นกุศล ด้วยเหตุนี้การระลึกถึงทานที่เป็นอนุสติซึ่งจะทำให้จิตสงบ จึงไม่ใช่ทานานุสติ แต่เป็นจาคานุสติ
เรื่องของความสงบเป็นเรื่องละเอียดมาก ซึ่งเมื่อคนฟัง ฟังแล้วทราบได้ว่า แสนยาก แม้แต่จะสงบ ไม่ต้องให้เกิดปัญญาที่จะละกิเลสเป็นสมุจเฉท เพียงกุศลขั้นที่จะให้สงบ ก็ต้องเข้าใจจริงๆ มิฉะนั้นแล้ว ก็ไม่ใช่การเจริญความสงบเลย ซึ่งผลก็คือ ปรากฏลักษณะความประหลาดอัศจรรย์ ก็ตื่นเต้น และไม่เข้าใจว่า เกิดลอยขึ้นไปได้อย่างไร มานั่งจ้องตัวเองได้อย่างไร ขณะที่เต็มไปด้วยความสงสัยนั้น หาใช่ความสงบไม่
เพราะฉะนั้น เรื่องของสมถภาวนา อย่าได้พูดว่า ถ้าใครปฏิบัติวิปัสสนาผิด ก็จะเป็นสมถะ เพราะแม้สมถะก็ไม่ใช่
ถ. การถามปัญหาของของชาวศรีลังกา ถามเรื่องปริยัติ หรือเรื่องการปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่
สุ. ทั้ง ๒ อย่าง ปริยัติก็มี ปฏิบัติก็มี ตั้งแต่ขั้นศีลธรรม เรื่อยไปจนกระทั่งถึงขั้นปฏิบัติ
ถ. ชาวศรีลังกาเข้าใจเรื่องปริยัติถูกต้องดีหรือเปล่า และเรื่องการปฏิบัติเขาเข้าใจถูกต้องดีหรือเปล่า
สุ. สำหรับความรู้ทางตำรับตำรา ชาวลังกาเก่งมากทีเดียว หนังสือที่ชาวลังกาค้นคว้าและจัดพิมพ์เขียนขึ้น เป็นหนังสือที่แสดงถึงการศึกษา การค้นคว้าทางตำรับตำรา ทางวิชาการจริงๆ แต่ว่าในการไปครั้งนี้ จะสังเกตได้จากการที่เมื่อได้ตอบปัญหาธรรม ปรากฏว่าชาวลังกาเข้าใจว่าสูงมาก เหมือนกับขณะนี้ที่ได้ฟังเรื่องของ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แม้แต่ทางวิทยุบางคนก็บอกว่า สูงมาก ลืมคิดว่าเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏตามปกติตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน
การศึกษาพระอภิธรรมที่จะให้ได้ผลจริงๆ ต้องเป็นความเข้าใจในพระอภิธรรม ไม่ใช่เป็นแต่เพียงจำได้ว่า จิตมีกี่ดวง แบ่งเป็นประเภทเท่าไร ประกอบด้วยเจตสิกอะไรบ้าง ถ้าเป็นอย่างนั้น อภิธรรมก็อยู่เพียงในหนังสือ เป็นตำรับตำราเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ในการตอบปัญหาที่ประเทศศรีลังกา จะน้อมไปถึงสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติตามความเป็นจริง เพราะนั่นเป็นอภิธรรมจริงๆ เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน และสามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ จนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์แจ้งในสภาพที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาได้ แต่ว่าในขั้นต้นนั้นจะต้องเข้าใจลักษณะของสติขั้น สติปัฏฐานเสียก่อน เพราะถ้าไม่มีความเข้าใจลักษณะของสติขั้นสติปัฏฐาน ความเข้าใจอภิธรรมก็ไม่ละเอียด และก็ไม่เข้าใจด้วยว่า แท้ที่จริงแล้วสภาพธรรมที่เป็นอภิธรรม หมายความถึงขณะนี้ที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นอภิธรรม เพราะไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน และเมื่อ ชาวศรีลังกาได้ศึกษาพระอภิธรรมในแนวใหม่อย่างนี้ ก็กล่าวว่าสูงมาก
ถ. เมื่อชาวศรีลังกากล่าวว่า เป็นธรรมที่สูงมาก ก็แสดงว่าการไปครั้งนี้ของอาจารย์เป็นความพอใจของชาวศรีลังกา แต่ความเข้าใจของเขาจะมากน้อยแค่ไหน
สุ. ที่กล่าวว่าสูงมากก็ต้องตามระดับขั้นด้วย เพราะว่าท่านที่ไม่พอใจที่จะขึ้นถึงธรรมขั้นสูงก็กล่าวว่าสูงไป ส่วนท่านที่มีความพอใจที่ได้รับฟังธรรมที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนและเป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจสภาพธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น ท่านเหล่านั้นก็พอใจ
เพราะฉะนั้น ก็แสดงถึงอัธยาศัยที่ต่างกัน คือ สำหรับท่านที่พอใจธรรมขั้นศีลธรรมเบื้องต้นก็รู้สึกว่าสูงไป แต่สำหรับท่านที่ต้องการเข้าใจสภาพธรรมให้ชัดเจนลึกซึ้งขึ้นก็พอใจ
ถ. ที่ชาวศรีลังกาศึกษาธรรมมาก เขาหนักไปในปิฎกไหน พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก หรือว่าพระอภิธรรมปิฎก
สุ. เท่าที่อ่านรู้สึกว่า เป็นพระอภิธรรมปิฎกกับพระสุตตันตปิฎก เพราะว่า พระวินัยปิฎกก็อาจจะมีแจ่มแจ้งอยู่ในพระวินัยปิฎกแล้วโดยตลอด และเป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นการศึกษาโดยตรงของพระภิกษุสงฆ์มากกว่าข้อประพฤติปฏิบัติของฆราวาส เพราะฉะนั้น หนังสือส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของพระสูตรกับพระอภิธรรม นอกจากนั้นก็ยังเป็นประวัติต่างๆ ที่เขาศึกษาค้นคว้ามามากทีเดียว นับว่าเป็นผู้ที่สนใจจริงๆ แต่ว่าไม่ได้เจริญสติปัฏฐานเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ธรรมที่ได้ศึกษานั้นก็เป็นทางวิชาการที่เป็นด้านความรู้ทางตำรับตำราเท่านั้น
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๖๑ – ๖๗๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 661
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 662
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 663
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 664
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 665
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 666
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 667
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 668
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 669
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 670
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 671
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 672
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 673
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 674
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 675
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 676
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 677
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 678
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 679
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 680
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 681
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 682
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 683
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 684
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 685
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 686
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 687
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 688
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 689
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 690
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 691
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 692
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 693
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 694
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 695
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 696
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 697
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 698
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 699
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 700
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 701
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 702
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 703
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 704
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 705
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 706
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 707
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 708
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 709
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 710
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 711
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 712
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 713
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 714
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 715
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 716
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 717
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 718
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 719
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 720