แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 755
ครั้งที่ ๗๕๕
ผู้ฟัง เมื่อลูกชายผมถูกรถชนตาย ลูกสาวไปหาทนายเรียกค่าเสียหายได้มาห้าหมื่นบาท เงินห้าหมื่นบาทนี้เป็นชีวิตของลูก ก็อยากจะสร้างวัตถุถาวรเพื่อเป็นประโยชน์แก่พระศาสนา ผมจึงเลือกวัดที่จะสร้างถาวรวัตถุ ผมพยายามเลือกวัดที่มีทั้งการปฏิบัติธรรมและศึกษาธรรมด้วย มีพระรูปหนึ่งท่านแนะนำว่า วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง มีพระอาจารย์ชาวพม่า ชื่อธัมมานันทมหาเถระ เป็นผู้สอนธรรมได้ดีมาก และสอนละเอียดมาก ผมก็เอาเงินนี้ไปสร้างกุฏิได้ ๓ หลัง เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ท่านก็เขียนจดหมายมาให้ผมไปฉลองกุฏิ ผมก็ขึ้นไปฉลอง พบท่านธัมมธโร (Alan Driver) และท่านพระศุภกร (กัลยาณมิตร) อยู่ที่กุฏิที่ผมสร้าง ผมดีใจมาก เพราะรู้จักพระทั้งสองรูปนี้ดีว่า ท่านเข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐานอย่างถูกต้อง และท่านได้มาอนุเคราะห์อยู่ในกุฏิที่ผมสร้าง ทำให้ผมเกิดปีติยินดีมากเหลือเกิน
สุ เป็นเรื่องบังเอิญที่น่าอนุโมทนาอย่างยิ่ง ซึ่งก็สมความปรารถนาของผู้ที่ตั้งใจจะสร้างกุฏิสำหรับผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม และท่านธัมมธโรก็ได้อยู่กุฏิที่ท่านผู้นี้สร้างไว้ เข้าใจว่าเคยพบท่านก่อนแล้วใช่ไหม ก็เป็นการพบกันของคณะนักศึกษาธรรมที่จังหวัดลำปาง
สำหรับท่านธัมมธโรภิกขุซึ่งเป็นชาวออสเตรเลีย มีความรู้มากในปริยัติและ ในการเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งขณะนี้ท่านกำลังศึกษาภาษาบาลี
เพื่อที่จะให้ท่านผู้ฟังได้อนุโมทนา เกิดศรัทธาเห็นประโยชน์ของการศึกษาธรรมที่ชาวต่างประเทศที่ได้มาศึกษาที่เมืองไทย ดิฉันขอกราบอาราธนาท่านธัมมธโร เพื่อที่ว่าถ้าท่านผู้ฟังใคร่ที่จะทราบเรื่องเกี่ยวกับการเผยแพร่พระศาสนาที่ประเทศศรีลังกาก็ดี หรือที่ประเทศออสเตรเลีย หรือว่าการเจริญสติปัฏฐาน ก็ขอเชิญท่านผู้ฟังถามได้ ขออาราธนาเจ้าค่ะ
ธัม. เรื่องการพูดภาษาไทย อาตมาไม่ค่อยถนัดเท่าไร ถ้าพูดไม่ถูก ก็ขออภัย
ถ. ท่านเป็นฝรั่งชาวออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา มีเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้ท่านหันมาสนใจในคำสอนของพระพุทธศาสนา และมีเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้ท่านบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วย
ธัม. ในตอนแรก ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาโดยชื่อก็จริง แต่นับถือความจริง หมายความว่า พอได้มีโอกาสฟังเรื่องความจริงซึ่งเป็นเรื่องพุทธศาสนา ก็นับถือทันที เพราะเป็นเรื่องจริง เรื่องตรง เรื่องที่มีประโยชน์มากในชีวิตประจำวัน
ถ. ท่านไปเผยแพร่พุทธศาสนาที่ศรีลังกานานเท่าไร เขาสนใจพุทธศาสนามากไหม และการสนใจของเขาต่างกันหรือเหมือนกันกับของคนไทย
ธัม. ปีกว่า ชาวศรีลังกาสนใจพุทธศาสนาพอสมควร ซึ่งการสนใจของชาวศรีลังกาและของคนไทยก็เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง
รู้สึกว่าคนไทยกับคนศรีลังกาเป็นชาวพุทธด้วยกัน ก็เป็นคนที่มีเมตตา รู้คุณของการให้ทาน เป็นต้น แน่นอนที่สุด เป็นช่วยบุคคลอื่นด้วย แต่สำหรับภาวนา ก็ลำบาก เพราะถ้าไม่มีโอกาสฟังเรื่องการเจริญภาวนาที่ถูกต้อง ที่ละเอียด และต้องฟังบ่อยด้วย ก็ยากที่จะเจริญได้ และทั้งสองประเทศเท่าที่ทราบ ไม่ค่อยได้มีโอกาสฟังมากเท่าไร
ที่ต่างกัน คือ ชาวศรีลังกายังไม่มีโทรทัศน์ รู้สึกว่าข้อนี้สำคัญมาก เห็นว่ามีเวลาที่จะอยู่ด้วยกัน เข้าวัดบ่อยๆ อาจจะไปหาพระบ้าง อาจจะไปสวดมนต์บ้าง ไปทำวัตรต่อหน้าเจดีย์ ไปกราบไหว้ต้นโพธิ์ และบางคนก็ใช้เวลาในการศึกษาธรรม เก่งในภาษาบาลี ชาวบ้านมีเวลาและมีศรัทธาที่จะเรียนด้วย และบางทีชอบนั่งสนทนาธรรมกันเป็นหลายๆ ชม แต่ที่เมืองไทยรู้สึกว่า ศรัทธาไปคนละทาง คือ อาจจะสร้างวัดมากกว่า อย่างนี้ต่างกัน ชาวลังกาชอบศึกษา คนไทยชอบสร้าง คือ คนศรีลังกาขาดปัจจัยที่จะสร้างวัด คนไทยขาดเวลาที่จะศึกษาธรรม
ถ. ที่ท่านอยู่ศรีลังกาปีกว่า อยากจะทราบว่า มีลูกศิษย์มากน้อยอย่างไร
ธัม. คนที่ฟังเรื่องการเจริญสติปัฏฐานเป็นปกติในชีวิตประจำวัน และเกิดปัญญาเข้าใจ สนใจมากขึ้น รู้สึกว่าที่สนใจจริงๆ มีราวๆ ๓๐ กว่าคน ที่เข้าใจว่ามีประโยชน์ เป็นเรื่องที่ควรฟังอีกต่อไปถ้ามีโอกาส
บางคนฟังครั้งหนึ่ง สองครั้ง และไม่สนใจที่จะฟังอีก ก็มีมาก หรือว่าบางทีเข้าใจผิดไปเลย บางทีไม่ใส่ใจฟัง คือ ฟังเพื่อจะจับผิดก็ได้ วิธีฟังธรรมมีหลายๆ อย่าง
คนที่ฟังเพื่อเรียน เพื่อเข้าใจ และเกิดปัญญาเข้าใจได้บ้าง และเห็นประโยชน์อยากจะฟังต่อไป ปฏิบัติตามที่เข้าใจ ก็มี ๓๐ กว่าคน ซึ่งในจำนวนนี้ บางคนเข้าใจมากก็มี บางคนเข้าใจบ้างนิดหน่อยก็มี แต่ศรัทธาที่จะฟังต่อไป มี
ถ. อุปนิสัยของคนศรีลังกากับคนไทยต่างกันไหม เช่น ชอบการศึกษามากกว่า หรือชอบการปฏิบัติมากกว่า
ธัม. คนที่ชอบปฏิบัติจริงๆ ก็ต้องเข้าใจถูกต้องเสียก่อน ต้องศึกษาถูกต้องเสียก่อน ไม่อย่างนั้นอาจจะชอบปฏิบัติ แต่ชอบปฏิบัติถูก หรือชอบปฏิบัติผิด เพราะบางคนชอบปฏิบัติมาก แต่ปฏิบัติอย่างไร ต้องศึกษาถูกต้องเสียก่อน
ถ. คนที่จะเจริญสมถภาวนา ก่อนอื่นจะต้องมีความรู้อะไรบ้าง
ธัม. ก็จำเป็นทีเดียวที่จะต้องเข้าใจลักษณะของความสงบว่า ต่างกับจิตที่ไม่สงบอย่างไร เพราะว่าสมถะ หมายถึงความสงบ สงบจากโลภะ โทสะ โมหะ สงบจากกิเลส ไม่ใช่สงบจากกิเลสอย่างหยาบๆ อย่างเดียว แต่สงบจากกิเลสทั้งหยาบ ทั้งกลาง แต่ถ้ายังไม่เข้าใจว่า ตัวเองยังมีกิเลสอย่างกลางและอย่างละเอียด ก็ยากที่จะรู้ลักษณะของความสงบ จะปนกันเรื่อย
ถ. เมื่อรู้ลักษณะของความสงบแล้ว จะปฏิบัติอย่างไรต่อไป
ธัม. ก็แล้วแต่ ทุกคนไม่เหมือนกัน วิธีที่จะเกิดกุศลจิตก็มีหลายวิธี ที่จะคิด ดีๆ เพราะว่าความจริงสมถะก็คล้ายๆ กับว่า คิดดี ในขณะที่คิดดีเป็นกุศลจิต จิตสงบในขณะนั้น บางคนสะสมมาที่จะคิดดีได้เนื่องจากเห็นซากศพก็ได้ แต่บางคนเห็นซากศพก็เกิดโทสมูลจิตง่ายที่สุด สำหรับคนนั้นซากศพไม่ช่วยให้จิตสงบเลย เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ซึ่งต้องใช้เวลา
และเมื่อเข้าใจละเอียดดีแล้ว จิตสงบบ้าง แต่จะละกิเลสได้อย่างไร
ถ. ข้อนี้ยังไม่ได้ถาม
ธัม. ทำไมไม่ถาม
ถ. ก็ถามเป็นขั้นตอน ตอนนี้ถามเรื่องการปฏิบัติสมถภาวนา และจะถามวิปัสสนาภาวนาต่อไป
ธัม. คุณโยม อาตมาเห็นใจ เรื่องสมถะเป็นเรื่องสำคัญ เรื่องละเอียด น่าฟังด้วย แต่วันนี้วันเดียวที่อาตมาจะพูด และจะไม่พูดตลอดจนหมดเวลาด้วย เห็นว่า มีโยมสงสัย มีคำถามเกี่ยวกับสติปัฏฐาน คือ อาตมาติดในเรื่องสติปัฏฐาน เพราะถ้าอาตมาไม่เจอเรื่องนี้ อาตมาคงสึกไปนานแล้ว และอะไรที่จะเกิดต่อ ไม่รู้ เพราะว่า ถ้าไม่เจริญสติปัฏฐานไม่รู้ตัวเอง ไม่รู้ตัวเองก็ทำอะไรก็ได้
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๕๑ – ๗๖๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 721
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 722
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 723
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 724
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 725
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 726
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 727
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 728
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 729
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 730
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 731
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 732
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 733
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 734
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 735
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 736
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 737
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 738
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 739
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 740
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 741
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 742
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 743
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 744
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 745
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 746
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 747
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 748
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 749
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 750
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 751
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 752
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 753
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 754
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 755
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 756
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 757
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 758
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 759
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 760
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 761
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 762
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 763
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 764
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 765
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 766
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 767
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 768
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 769
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 770
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 771
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 772
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 773
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 774
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 775
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 776
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 777
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 778
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 779
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 780