ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
ตลับที่ ๗
มีขณะใดบ้าง ซึ่งปรากฏลักษณะของโลภะ เพราะหลายท่านกล่าวว่า ท่านไม่มีโลภะ นั่นก็แสดงให้เห็นว่า แม้โลภะจะเกิด แม้โลภมูลจิตจะเกิด แต่ก็ไม่ใชจะปรากฏลักษณะสภาพของโลภะ หรือสภาพของความต้องการ แม้ว่าความต้องการนั้นจะเกิดอยู่เป็นประจำ
เพราะฉะนั้น ในขณะที่ฉันทะเป็นอธิบดี ก็ยังเห็นได้ว่า แต่ละท่านทำตามสิ่งที่ท่านพอใจ ท่านพอใจสิ่งใด ท่านก็ทำสิ่งนั้น ขณะนั้นฉันทะเป็นอธิบดี บางครั้งไม่ได้ทำด้วยความพอใจ แต่ประกอบด้วยวิริยะ ซึ่งต้องการให้กิจการงานนั้นสำเร็จ ในขณะนั้นวิริยเจตสิก ก็เป็นอธิปติ ในขณะใดที่ปัญญากระทำกิจของปัญญา เห็นชัดว่าเป็นการรู้ เป็นสภาพที่เข้าใจ ในขณะนั้น ปัญญาก็เป็นอธิบดี แต่ในขณะซึ่งโลภมูลจิต ซึ่งมีอยู่เป็นประจำ เป็นอธิปติปัจจัย จะเป็นในขณะไหน
ท่านที่เป็นนักค้นคว้า หรือว่านักวิทยาศาสตร์ หรือว่านายแพทย์ หรือศัลยแพทย์ ขณะที่กำลังทำการผ่าตัด จิตเป็นอะไร จะบอกได้ไหมว่า ไม่มีโลภะ จะกล่าวได้ไหมว่า ในขณะนั้นไม่เป็นโลภะ
นักเรียน (……..ไม่ได้ยิน……..) ไม่เป็น
อ.จ. กุศลจิตจะเกิดตลอดเวลา หรือว่ามีความสนใจ มีความตั้งใจ มีความเอาใจใส่ เพื่อที่จะให้กิจธุระนั้นสำเร็จ อย่าปนกัน ขณะจิตนี้ เกิด – ดับอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิคส์ หรือนักเคมี ก็ตามแต่ สนใจศึกษาในเรื่องนั้นๆ บางท่านอาจจะตลอดเวลาทีเดียว หลายชั่วโมง ขณะนั้นจะกล่าวได้ไหม ว่า ไม่เป็นโลภมูลจิต ไม่ได้
แต่ว่าถ้าจะมีใครกล่าวว่า ขณะนั้นไม่เป็นโลภมูลจิต ก็เพราะลักษณะของโลภเจตสิกไม่ปรากฏ ถูกไหม ไม่เป็นอธิปติปัจจัย เพราะเหตุว่า โลภเจตสิก ไม่เป็นอธิปติปัจจัย แต่ว่าโลภมูลจิตเป็นอธิปติปัจจัย ในขณะนั้นมีความต้องการที่จะให้สิ่งนั้นสำเร็จ หรือเป็นไปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาโบราณคดี หรือวิทยาศาสตร์ หรือการศึกษาด้านหนึ่งด้านใดก็ตาม หรือการกระทำกิจการงานด้านหนึ่งด้านใดก็ตาม เช่นบางท่านอาจจะไม่สนใจ เรื่องการทำอาหารเลย แต่เวลาที่มีใครกำลังทำอยู่ หรือชักชวนให้ทำ ก็อาจจะเกิดความต้องการที่จะทดลองดูว่า ตนเองสามารถจะกระทำได้ไหม ในขณะนั้นไม่ได้ปรากฏว่ามีโลภะ มีความพอใจอย่างหนักแน่นเลย เพียงแต่มีความต้องการที่จะพิสูจน์ หรือว่าทดลองว่า ตนเองสามารถจะกระทำได้ไหม ในขณะนั้น โลภมูลจิตเป็นจิตตาธิปติปัจจัย แต่ว่าลักษณะของโลภเจตสิกไม่ได้ปรากฏที่จะให้เห็นว่า เป็นโลภะ ซึ่งคนส่วนใหญ่กล่าวว่าไม่มีโลภะ เพราะเหตุว่า ลักษณะของโลภเจตสิกไม่เป็นอธิปติปัจจัย แต่ลักษณะของโลภมูลจิตเป็นอธิปติปัจจัยแน่นอน
นี่ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด ซึ่งจะต้องศึกษาโดยละเอียดจริงๆ และถ้าศึกษาโดยละเอียดจริงๆ จะยิ่งละเอียดกว่านี้มากทีเดียว นี่เป็นแต่เพียงการกล่าวถึงสภาพธรรม ซึ่งเป็นปัจจัย เพื่อที่จะให้เห็นว่า การที่จะเข้าใจสภาพธรรมถูกต้อง ต้องฟังโดยละเอียด พิจารณาโดยละเอียด และอบรมเจริญปัญญาโดยละเอียด จนกว่าจะประจักษ์จริงๆ ว่า สภาพธรรมที่เกิดปรากฏนั้นก็เพราะปัจจัยต่างๆ
ถ้าถามต่อไปอีก ว่า โลภเจตสิกเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม เพราะเหตุว่า อธิปติปัจจัยมี ๒ คือ สหชาตาธิปติปัจจัย และอารัมมณาธิปติปัจจัย อย่าลืม คำว่าอธิบดี อธิบดีในภาษาไทย ซึ่งใช้กันบ่อยๆ แต่ถ้าจะศึกษาธรรมแล้ว จะต้องเข้าใจชัด และตรง ถ้ากล่าวถึงอธิปติปัจจัย ต้องมีสภาพธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม ว่า สภาพธรรมชนิดใดเป็นอธิปติ ประเภทใด ถ้ากล่าวถึงสหชาตาธิปติปัจจัยแล้ว ได้แก่นามธรรมเท่านั้น ซึ่งได้แก่สภาพธรรม ๔ ประเภทคือ ฉันทเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ ชวนจิตซึ่งประกอบด้วยเหตุ ๒ หรือ เหตุ ๓ อีก ๑ และปัญญาเจตสิก อีก ๑ นั่นคือสหชาตาธิปติปัจจัย
โลภเจตสิก โทสเจตสิก เหล่านี้ ไม่ใช่สหชาตาธิปติปัจจัย แต่เมื่อกล่าวถึงจิต โลภมูลจิตเป็นสหชาตาธิปติปัจจัย และเมื่อกล่าวถึงอารัมมณาธิปติปัจจัย โลภมูลจิตหรือโลภเจตสิกก็ตาม เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ได้ ทุกคนนี้ ไม่ละเว้นที่จะชอบโลภะ ทราบจากการศึกษา และการฟัง ว่าเป็นโทษ เป็นอกุศล โดยขั้นการฟัง ชั่วครู่เดียว โลภมูลจิตเกิดแล้ว โลภเจตสิกเกิดแล้ว โลภมูลจิตก็เป็นอธิปติปัจจัยไปแล้ว และโลภะนี้ เป็นที่ต้องการจริงๆ มีใครบ้าง ซึ่งไม่ต้องการโลภะ อยากให้หมดไปเลยเสียวันนี้ ตามความเป็นจริง ขณะใดที่ยังต้องการอาหารรสอร่อย ขณะนั้น โลภะก็ยังหมดไม่ได้ ขณะใดที่ยังมีเยื่อใย ผูกพันในสัตว์ ในบุคคล ในวัตถุ สิ่งของต่างๆ ซึ่งเป็นเจ้าของอยู่ในขณะนั้น โลภมูลจิตเกิดแล้ว เป็นที่พอใจจริงๆ
เพราะฉะนั้น อารัมมณาธิปติปัจจัย ได้แก่สภาพธรรมที่ เป็นที่พอใจอย่างหนักแน่น เป็นที่ต้องการ หรือเป็นที่ประทับใจ ทำให้จิตเจตสิกไม่ละทิ้ง ทำให้ปรารถนาสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นโลภเจตสิก หรือโลภมูลจิต ก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย นี่โดยนัยของโลภมูลจิต และโลภเจตสิก ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ท่านผู้ฟังพิจารณา ถึงเจตสิกอื่นต่อไป เช่น ถามว่า โทสเจตสิก เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม ไม่พูดถึงเรื่องโลภะแล้ว ไม่พูดถึงเรื่องโลภเจตสิกแล้ว เปลี่ยนพูดถึงเรื่องโทสเจตสิก เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม ไม่ได้ เพราะเหตุว่า โลภเจตสิกก็เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยไม่ได้ โทสเจตสิกก็เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยไม่ได้ เพราะเหตุว่า ไม่ใช่ฉันทะเจตสิก ไม่ใช่วิริยเจตสิก ไม่ใช่ปัญญาเจตสิก และไม่ใช่จิต
ถ้าถามต่อไปอีกว่า โทสมูลจิตเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม ได้ เพราะเหตุว่า เป็นชวนจิต ซึ่งประกอบด้วยเหตุ ๒ เพราะเหตุว่า ทำให้เจตสิกอื่น และรูปเกิดขึ้น เป็นไป ตามกำลังของโทสมูลจิต
ถามต่อไปว่า โทสเจตสิกเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม หรือโทสมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม
ตอบ ได้
อ.จ. ได้ก็ผิด เพราะเหตุว่า อารัมมณาธิปติปัจจัยนี้ อย่าลืม เป็นอารมณ์ที่พอใจอย่างยิ่ง หนักแน่น เพราะฉะนั้น ก็เป็นอารมณ์ของโลภมูลจิต เป็นส่วนใหญ่ หรือกุศลจิตก็ได้
นี่เป็นความละเอียดของอารัมมณาธิปติปัจจัย
โทสมูลจิตไม่มีใครชอบ โทสเจตสิกก็เช่นเดียวกัน รวมทั้งบริวารของโทสมูลจิตด้วย ก็ไม่เป็นที่พอใจหนักแน่น เพราะฉะนั้น อารมณ์ที่เป็นที่พอใจหนักแน่นของโลภมูลจิต หรือของมหากุศลจิต ส่วนใหญ่ เช่นเวลาที่ท่านผู้ฟังพอใจในกุศล ปรารถนาที่จะทำกุศลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นพิเศษ ขณะนั้น มหากุศลนั้นก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยของกุศล บางท่านปรารถนาที่จะถวายผ้า ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ขณะนั้นเป็นกุศล ซึ่งหนักแน่น ซึ่งพอใจ ที่จะให้กระทำกุศลอย่างนั้น หรือบางท่านก็อาจต้องการที่จะถวายประทีป บูชาสังเวชนียสถาน ขณะนั้นก็กุศลเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย ทำให้เกิดกุศลก็ได้ หรือว่ากุศลนั้นเอง ก็ทำให้โลภมูลจิตเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะต้องพิจารณาโดยละเอียด
เพราะฉะนั้น เรื่องของอารัมมณาธิปติปัจจัย จึงควรที่จะได้ทราบโดยชัดเจน ซึ่งได้กล่าวถึงแล้วในคราวก่อน เพราะฉะนั้น ในคราวนี้ก็เป็นเพียงการทบทวน ให้พิจารณาซ้ำอีก เพื่อที่จะได้ไม่ลืมว่า สำหรับอารมณ์ ซึ่งไม่น่าปรารถนา ไม่น่ายินดีแล้ว ก็ไม่เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย เป็นอารัมมณปัจจัยได้ แต่ไม่ใช่อารัมมณาธิปติปัจจัย
สภาพธรรมที่จะเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย ก็จะต้องเป็นสภาพธรรม ซึ่งเป็นที่ยินดีพอใจ ได้แก่ จิตอื่นๆ นอกจากโทสมูลจิต ๒ ดวง โมหมูลจิต ๒ ดวง ทุกขกายวิญญาณจิต ๑ ดวง
เพราะฉะนั้น ที่ถามเมื่อกี้นี้ โทสมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม หรือโทสเจตสิกเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม
สำหรับอารัมมณาธิปติปัจจัยแล้ว จิตอื่นนอกจากโทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ และทุกขกายวิญญาณจิต ๑ เว้นจิต ๕ ดวงนี้แล้ว จิตอื่นๆ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ ไม่มีใครต้องการโทสมูลจิต โมหมูลจิต หรือทุกขกายวิญญาณจิต
เพราะฉะนั้น สำหรับอารัมมณาธิปติปัจจัย ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยให้โลภมูลจิตเกิด เป็นปัจจัยให้มหากุศลจิตเกิดก็ได้บ้าง ซึ่งท่านผู้ฟังก็จะพิจารณาได้ ในชีวิตประจำวันของท่าน ว่าขณะใดที่มีความปรารถนากุศลประเภทใด ขณะนั้น กุศลประเภทนั้น เป็นที่ต้องการเป็นพิเศษ จึงเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย
ในคราวก่อนที่กล่าวถึง อารัมมณาธิปติปัจจัย ก็ได้กล่าวถึงโลกุตตรกุศล ว่าเป็นปัจจัยแก่มหากุศลญาณสัมปยุตต์ และมหากิริยาญาณสัมปยุตต์ และสำหรับนิพพาน ก็เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรจิต ๘ ดวง และมหากุศลญาณสัมปยุตต์ และมหากิริยาญาณสัมปยุตต์
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิพพาน ยังไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ ก็ย่อมมีจิตบ้าง หรือเจตสิกบ้าง หรือรูปบ้างเป็นอารมณ์ ซึ่งก็ควรที่จะได้ทราบว่า ขณะใดเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยของกุศล หรือของอกุศล เพื่อที่จะได้ละอารัมมณาธิปติปัจจัยของอกุศล คือของโลภะให้น้อยลง
เพราะฉะนั้น ถามอีกครั้งหนึ่ง โทสเจตสิก (อย่าลืม ต้องฟังโดยละเอียด) โทสเจตสิกเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม โทสเจตสิกเป็นสหชาตธิปติปัจจัยไม่ได้ โทสมูลจิตเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม ได้ เพราะเหตุว่า เป็นชวนจิตที่ประกอบด้วยเหตุ ๒ นี้ เพียงจิต และเจตสิก ก็จะต้องเห็นความต่างกัน
โทสมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ไม่ได้
โทสเจตสิกเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ไม่ได้
โลภเจตสิกเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ได้
โลภมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ได้
เพราะฉะนั้น การศึกษาอภิธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด เพราะเหตุว่า อภิ หมายความว่า ละเอียด ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น อภิวินัย หรืออภิธรรม ก็เป็นธรรมส่วนที่ละเอียดจริงๆ เข้าใจด้วย คือฟังบ่อยๆ ทวนไปทวนมา ใจเย็นๆ ให้ค่อยๆ รู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ซึ่งมีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน
ถ้ามิฉะนั้น แล้ว ก็เป็นเรื่องซึ่งยากแก่การที่ จะรู้แจ้งลักษณะ ของสภาพธรรมแล้ว ไม่ยึดถือ ว่าเป็นตัวตน เพราะเหตุว่า สติอาจจะระลึกที่แข็ง ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ ที่จะรู้ว่าลักษณะที่แข็งเป็นสภาพธรรม ซึ่งไม่รู้อะไร เป็นรูป และลักษณะของสภาพที่กำลังรู้แข็ง ก็กำลังรู้ในแข็งที่กำลังปรากฏ ก็เป็นสิ่งซึ่งมีจริง เป็นนามธรรม แต่ก็ยังไม่ได้ละการยึดถือ ทั้งแข็ง และรู้แข็งว่า ไม่ใช่ตัวตน จนกว่า การสะสม การปรุงแต่ง ด้วยการเป็นพหูสูตร การเป็นผู้ฟัง จนกระทั่ง ค่อยๆ สะสมสืบต่อไป จนกว่าจะปรุงแต่งให้ปัญญาคมกล้า ที่จะดับกิเลส ไม่ยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ได้จริงๆ
สำหรับเรื่องของสหชาตาธิปติปัจจัย และอารัมมณาธิปติปัจจัย ก็คงจะเป็นเรื่องที่ท่านผู้ฟัง จะทบทวนเองต่อไปเรื่อยๆ เพราะเหตุว่า ได้ทราบแล้วว่า สหชาตาธิปติปัจจัยได้แก่อะไร และอารัมมณาธิปติปัจจัยได้แก่อะไร
ถ้ากล่าวถึงโมหเจตสิกอีกอย่างหนึ่ง ลองดู จะเป็นอย่างไร
โมหเจตสิกเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม พอได้หรือไม่ได้ ก็ต้องนึกถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เมื่อกล่าวถึงโมหเจตสิก ไม่ใช่ฉันทเจตสิก ไม่ใช่วิริยเจตสิก ไม่ใช่ชวนจิต ซึ่งประกอบด้วยเหตุ ๒ ถ้ากล่าวถึงเฉพาะโมหเจตสิกแล้ว ไม่ใช่สหชาตาธิปติปัจจัย
โมหมูลจิตเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม ไม่ได้
โมหมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ไม่ได้
ตั้งต้นใหม่ โมหเจตสิกเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม อันนี้ไม่ยาก เพราะเหตุว่า ไม่ใช่ฉันทเจตสิก ไม่ใช่วิริยเจตสิก ไม่ใช่ปัญญาเจตสิก และไม่ได้กล่าวถึงจิตด้วย เพราะฉะนั้น โมหเจตสิกไม่ใช่สหชาตาธิปติปัจจัย
โมหมูลจิตเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม ก็ไม่ได้อีก เพราะเหตุว่า ที่จะเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ ต้องเป็นชวนจิต ซึ่งประกอบด้วยเหตุ ๒ แต่เมื่อโมหมูลจิตประกอบด้วยโมหเหตุ เพียงเหตุเดียว จึงไม่ใช่โลภมูลจิต ไม่ใช่โทสมูลจิต เพราะฉะนั้น โมหมูลจิตไม่ใช่จิตตาธิปติปัจจัยด้วย
สำหรับปัจจัยที่ ๔ คืออนันตรปัจจัย และปัจจัยที่ ๕ คือสมนันตรปัจจัย ที่ได้กล่าวถึงในคราวก่อน คงจะไม่มีใครสังเกตปัจจัยนี้ได้
เพราะเหตุว่า ทุกขณะจิตที่เกิด และดับอย่างรวดเร็ว จิตที่เกิดและดับ เป็นอนันตรปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ก็ยาก ไม่เหมือนกับเห-ตุปัจจัย ซึ่งพอที่จะสังเกตได้ หรือว่าอธิปติปัจจัย ซึ่งพอที่จะรู้ได้ อารัมมณปัจจัย ก็กำลังปรากฏในขณะนี้ ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ แต่อนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย ไม่มีใครที่จะสังเกตรู้ได้ แต่ต้องอบรมเจริญปัญญา จนกว่าจะประจักษ์การเกิดขึ้น ดับไป ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
สำหรับอนันตรปัจจัย ยากแก่การที่จะประจักษ์ความเกิดขึ้น และดับไป ว่า เมื่อจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น และดับไป จิตดวงที่เกิดแล้วดับ เป็นอนันตรปัจจัย ให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้น ยากก็จริง แต่ว่า ชีวิตนี้ไม่ปรากฏเลยว่าขาดสาย ตั้งแต่เกิด คือตั้งแต่ปฏิสนธิ จนกระทั่งถึงในขณะนี้ และต่อไปจนกระทั่งถึงจุติ ก็ไม่ปรากฏว่าขาดสาย เรื่องเก่าๆ ตั้งแต่เด็ก น่าคิดไหม ว่าทำไมเกิดคิดขึ้นมาได้ ใช่ไหม ในวันหนึ่งๆ ใครจะกำลังคิดถึงเรื่องอะไร ทั้งๆ ที่ผ่านไปนานหลายปี หลายสิบปี แต่ก็ยังมีจิต ที่เกิดขึ้นทางมโนทวาร ทำให้คิดถึงเรื่องเก่าๆ ทั้งๆ ที่ดับไปหมดแล้ว เป็นเพราะการเกิด – ดับสืบต่อของจิตไม่ขาด ตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั้งถึงในขณะนี้ ทำให้จิตดวงต่อไป มีปัจจัยที่จะทำให้เกิด นึกถึงเรื่องต่างๆ ที่ผ่านไปแล้วได้ ซึ่งในขณะที่กำลังนึกถึง บางท่านอาจจะไม่เกิดระลึกเลยว่า เพราะปัจจัยอะไร หรือว่า ทำไมจึงเกิดนึกถึงเรื่องที่ผ่านไปนานแล้วได้ แต่นี่ก็เป็นชีวิตประจำวัน ที่ให้ทราบว่า แม้แต่การที่จิต จะเกิดคิดนึกเรื่องต่างๆ ก็เป็นเพราะเหตุว่า จิตเกิด – ดับ สืบต่อสะสมมาเรื่อยๆ โดยที่ไม่ขาดสายนั่นเอง
แต่ข้อที่ควรทราบ สำหรับอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย ไม่เป็นปัจจัยแก่รูป อนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย ได้แก่ จิตและเจตสิก ซึ่งเกิดขึ้น และเมื่อดับไป จึงเป็นปัจจัยให้จิต และเจตสิกดวงต่อไปเกิด เพราะจิตเกิดซ้อนกันไม่ได้ จิตจะเกิดขึ้นเพียงขณะเดียว พร้อมเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกัน ถ้าจิตแลเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกันนี้ ยังไม่ดับไป จิตดวงต่อไปจะเกิดไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้น จิตที่กำลังเกิดในขณะนี้ ต้องดับไปเสียก่อน จึงเป็นอนัน
ตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย ให้จิตและเจตสิกต่อไปเกิดขึ้น แต่รูปไม่เป็น
อนันตรปัจจัย เพราะเหตุว่ารูปทุกรูป ซึ่งกำลังเกิด – ดับอยู่ในขณะนี้ มีสมุฎฐาน คือธรรมที่ก่อตั้งให้เกิดขึ้น ๔ สมุฎฐาน แล้วแต่จะเกิดขึ้นเพราะสมุฎฐานใด คือ
รูปบางกลุ่มเกิดขึ้นเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน เรียกว่าจิตตชรูป
รูปบางกลุ่มเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน เรียกว่ากัมมชรูป
รูปบางกลุ่มเกิดขึ้นเพราะอุตุเป็นสมุฏฐาน เรียกว่าอุตุชรูป
รูปบางกลุ่มเกิดขึ้นเพราะอาหารเป็นสมุฏฐาน เรียกว่าอาหารชรูป
เพราะฉะนั้น รูปนี่มีสมุฏฐาน คือ ธรรมที่ก่อตั้งให้รูปเกิดขึ้นเพียง ๔ สมุฏฐาน แล้วแต่ว่ารูปนั้นจะเกิดขึ้นเพราะกรรม หรือรูปนั้นจะเกิดขึ้นเพราะจิต หรือรูปนั้นจะเกิดขึ้นเพราะอุตุ หรือรูปนั้นจะเกิดขึ้นเพราะอาหาร
แต่ว่ารูปไม่มีอนันตรปัจจัย หรือรูปไม่เป็นอนันตรปัจจัย ไม่ใช่ว่าเมื่อรูปนี้เกิดแล้ว ดับไป เป็นปัจจัยให้รูปอีกรูปหนึ่งเกิด ไม่ใช่ แต่รูปอีกรูปหนึ่งเกิด เพราะกรรมเป็นปัจจัยให้รูปนั้นเกิด หรือเพราะจิตเป็นปัจจัยให้รูปนั้นเกิด หรือเพราะอุตุเป็นปัจจัยให้รูปนั้นเกิด หรือเพราะอาหารเป็นปัจจัยให้รูปนั้นเกิด แต่รูปไม่เป็นอนันตรปัจจัย หรือสมนันตรปัจจัยให้รูปอื่นเกิด
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า สำหรับนามธรรม คือจิตและเจตสิกเท่านั้น ที่เป็นอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัยได้
มีท่านผู้ฟังมีข้อสงสัยอะไรบ้างไหม ในเรื่องนี้ ท่านผู้ฟังคงได้ยินคำว่า นิโรธสมาบัติ คือขณะที่พระอนาคามีบุคคล หรือพระอรหันต์ ผู้ได้บรรลุถึงอรูปฌานขั้นสูงสุด คือเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ในขณะนั้นจิตเป็นสภาพที่ละเอียดมาก และมีอารมณ์ที่ละเอียดมาก เพราะเหตุว่า อารมณ์ของจิตในขณะนั้น เป็นสัญญาอย่างละเอียด ของอากิญจัญญายตนจิต คืออรูปฌานที่ ๓ สัญญาในอรูปฌานที่ ๓ เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นสภาพที่ประณีต และละเอียดมาก
ถ้าพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ ผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนะ เข้านิโรธสมาบัติ หมายความว่าดับจิต และเจตสิก ไม่มีจิตและเจตสิกเกิดเลยชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งแล้วจะเป็นกำหนดกี่วัน แต่ว่าไม่เกิน ๗ วัน ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติ จะดับจิตและเจตสิกได้ไม่เกิด ๗ วัน ในขณะนั้นมีรูปซึ่งเกิดเพราะกรรม แม้ว่าไม่มีจิตเลย มีรูปซึ่งเกิดเพราะอุตุ มีรูปซึ่งในขณะนั้น เกิดเพราะสมุฏฐานอื่น แต่ไม่ใช่มีรูปซึ่งเกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน
นี่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า รูปไม่เป็นอนันตรปัจจัย เพราะเหตุว่า รูปที่ดับไปแล้ว ไม่ได้เป็นปัจจัยให้รูปอื่นเกิดต่อ แต่ที่รูปอื่นเกิดนั้น เพราะสมุฏฐานหนึ่งสมุฏฐานใด ได้แก่ มีจิตเป็นสมุฏฐาน หรือมีกรรม หรืออุตุ หรืออาหารเป็นสมุฏฐาน
มีข้อสงสัยอะไรบ้างไหม ในเรื่องของอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย ซึ่งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับวิถีจิต และวิถีมุตตจิต เพราะเหตุว่า เป็นการสืบต่อของจิตโดยไม่ขาดสาย ไม่มีระหว่างคั่น เมื่อจิตดวงหนึ่งดับไป ที่จะไม่ให้จิตดวงต่อไปเกิดต่อ ไม่ได้ เพราะจิตดวงก่อนเป็นอนันตรปัจจัย
สำหรับ ปัจจัยที่ ๖ คือ “สหชาตปัจจัย” ท่านผู้ฟังศึกษาเรื่องของปัจจัย โดยไม่ต้องรีบ แต่ว่า พิจารณา จนกระทั่งเข้าใจ และไม่ต้องท่อง แต่เมื่อเข้าใจแล้ว เวลาที่ได้ยินชื่อของปัจจัยต่างๆ ก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า ได้แก่สภาพธรรมอะไร
สำหรับ “สหชาตปัจจัย”
ธรรมใดย่อมเกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่าชาต (ชาตะ)
ธรรมที่เกิดพร้อมกัน ธรรมนั้นชื่อว่าสหชาต (สหชาตะ)
เพราะฉะนั้น สำหรับ สหชาตปัจจัย นี้ไม่ยากเลย หมายความถึง สภาพธรรมที่เป็นปัจจัย โดยเกิดพร้อมกันกับสภาพธรรม ที่ตนเองเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น คือปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรม ต้องเกิดพร้อมกันในอุปาทขณะ ถ้าท่านผู้ฟังจะสังเกตปัจจัยนี้ โดยชื่อ สหชาต หมายความถึง เกิดพร้อมกัน ไม่ได้พูดถึงดับพร้อมกัน ใช่ไหม
เพราะฉะนั้น สำหรับปัจจัยนี้ หมายความถึง
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50