ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
ตลับที่ ๙
โลภเจตสิกเกิดพร้อมกับโลภมูลจิต เกิดพร้อมกับผัสสเจตสิก เกิดพร้อมกับเวทนา สัญญาเจตสิกต่างๆ แต่ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องอื่น เมื่อจะกล่าวถึงสภาพธรรมที่เป็นเหตุ ก็จะต้องกล่าวเฉพาะโลภเจตสิกเท่านั้น แม้ว่า สภาพธรรมอื่นจะเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย เกิดพร้อมกัน อาศัยกันก็จริง เมื่อกล่าวถึงเฉพาะเห-ตุปัจจัยแล้ว โลภะเป็นเห-ตุปัจจัย สภาพธรรมอื่น ซึ่งเกิดพร้อมกันในขณะนั้นต้อง เป็นปัจจยุปบันน
เพราะฉะนั้น โลภเจตสิกเป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูปหรือเปล่า โลภเจตสิกเป็นปัจจัยให้เกิดโลภมูลจิต และเจตสิกทุกดวง ซึ่งเกิดกับโลภมูลจิต ต้องเว้นโลภเจตสิก เพราะเหตุว่า ยกโลภเจตสิกเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น โลภมูลจิต และเจตสิกอื่น ซึ่งเกิดกับโลภมูลจิต เป็นปัจจยุปบันน และจิตตชรูปก็เป็นปัจจยุปบันน เกิดขึ้นเพราะโลภะเหตุเป็นปัจจัย โดยเห-ตุปัจจัย ถ้าไม่กล่าวถึงโดยเห-ตุปัจจัย
ผัสสเจตสิกเป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูปหรือเปล่า ต้องเป็น คือจิตและเจตสิกเกิดร่วมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เดียวกัน ทั้งจิตและเจตสิก เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป แต่น่ารำคาญไหม ถ้าจะพูด จิต เจตสิก จิตตชรูป เจตสิกชรูป ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ข้อความทั้งหมดในพระไตรปิฎก จะใช้คำว่า จิตตุปปาท ขณะที่จิตเกิดขึ้น ขณะ หนึ่งๆ ไม่ใช่มีแต่จิตเท่านั้น เพราะฉะนั้น จิตตุปปาท รวม ทั้งจิตและเจตสิกทุกดวง เป็นทั้งสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
เพราะฉะนั้น เจตสิก ก็เป็นปัจจัยให้จิตตชรูปเกิดร่วมด้วย เพราะเหตุว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คำอีกคำหนึ่ง ให้ยาวเกินไป เพราะเมื่อใช้คำว่า “จิตตุปปาท” แล้ว ก็รวมจิตและเจตสิกด้วย
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูปไหม เป็น อย่าลืม จิตและเจตสิกทุกดวง ซึ่งเกิดพร้อมกันนั้น เป็นปัจจัยให้จิตตชรูปเกิด
ท่านผู้ฟังได้ยินคำว่าจิตตชรูปบ่อยๆ และได้เคยกล่าวถึงเรื่องของรูป ๒๘ รูปมาแล้ว เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะได้ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง เฉพาะรูปซึ่งเกิดเพราะจิต ซึ่งชื่อว่า “จิตตชรูป” ว่า ในรูป ๒๘ รูป รูปอะไรบ้าง ที่เป็นจิตตชรูป อะไรบ้าง สภาพธรรรมที่เป็นจิตตชรูป ที่ทราบแล้ว คือ รูปที่เป็นใหญ่ ที่เป็นประธาน ๔ รูป มหาภูรูป ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ขณะนี้กำลังเกิด ทุกคนที่มีกาย ที่ร่างกายของทุกคน มีจิตตชรูปเกิด เพราะจิตเกิดขณะใด เป็นปัจจัยให้จิตตชรูปเกิดพร้อมกัน ในอุปาทขณะ เว้นจิต ๑๔ ดวง คือ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ อรูปาวจรวิบาก ๔ ซึ่งไม่ต้องกล่าวถึงเลย ไม่มีใครถึง ในภูมินี้ ในขณะนี้
ปฏิสนธิจิตก็ดับไปแล้ว จุติจิตของพระอรหันต์ ก็ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึง สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ เพราะฉะนั้น สำหรับทุกท่านในขณะนี้ ทันทีที่อุปาทขณะ จิตเกิดขึ้น จิตตชรูปเกิดแล้ว คือ มหาภูตรูป ๔ คือธาตุด้น ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และในกลุ่มที่เล็กที่สุด ก็จะต้องมีรูปอีก ๔ รูป ซึ่งเป็นอุปาทายรูป อาศัยเกิดกับมหาภูตรูปนั้น คือ สี ๑ รูป กลิ่น ๑ รูป รส ๑ รูป โอชา ๑ รูป รวมเป็น ๘ รูป ซึ่งไม่แยกจากกันเลย ไม่ว่ารูปนั้นจะเล็กละเอียดสักเท่าไรก็ตาม
เพราะฉะนั้น รูป ๘ รูป ซึ่งไม่แยกจากกันเลยนี้ ชื่อว่า “อวินิพโภครูป” คือ รูปซึ่งไม่สามารถที่จะแยกกันได้ ๘ รูป ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของรูป ซึ่งเกิดเพราะอะไรก็ตาม จะปราศจากรูป ๘ รูป นี้ไม่ได้ รูปที่เกิดเพราะกรรม กลุ่มของรูปซึ่งเกิดเพราะกรรม ก็จะต้องมี ๘ รูปนี้ กลุ่มของรูปซึ่งเกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน ก็จะต้องมี ๘ รูปนี้ กลุ่มของรูปซึ่งเกิดเพราะอุตุ ก็จะต้องมี ๘ รูปนี้ กลุ่มของรูปซึ่งเกิดเพราะอาหารเป็นสมุฏฐาน ก็จะต้องมี ๘ รูปนี้
นี่คือรูปซึ่งเกิดเพราะจิต ๘ รูป นอกจากนั้น วิการรูป ๓ คือลักษณะที่เบา ที่อ่อน ที่ควรแก่การงาน เป็นรูปอีก ๓ รูป ซึ่งเป็นลักษณะที่วิการ ของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ถ้าไม่มีวิการรูป ๓ ทุกท่านก็ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้เลย ทุกท่านมีรูป ๘ รูป คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม สี กลิ่น รส โอชา
รูปที่เกิดเพราะอุตุ เช่น ต้นไม่ใบหญ้า โต๊ะ เก้าอี้ ทั้งหลาย ก็มีรูป ๘ รูปนี้ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม สี กลิ่น รส โอชา
แต่รูปอื่น ซึ่งปราศจากจิต ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้ นอกจากจะถูก
ลมพัดไป มีรูปอื่น ทำให้รูปนั้นเคลื่อนไหว แต่ว่า สำหรับสัตว์ บุคคล ซึ่งมีจิต จะมีวิการรูป ซึ่งเป็นรูปที่เบา ๑ รูป รูปที่อ่อน ๑ รูป รูปที่ควรแก่การงาน ๑ รูป ในกลุ่มของรูป ซึ่งเกิดเพราะจิต ที่เป็นสมุฏฐาน ให้เกิดการเคลื่อนไหว เพราะฉะนั้น รูป ๓ รูป เกิดขึ้นเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน ทำให้มีลักษณะที่เบา ที่อ่อน ที่ควรแก่การงาน ทำได้สารพัด จะทำกิริยาอาการอย่างไรก็ได้ จะรำ จะเต้น จะร้อง ได้ทุกอย่าง เพราะเหตุว่า มีรูป ซึ่งเบา ซึ่งอ่อน ซึ่งควรแก่การงาน ซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน
สัททรูป เสียง เป็นรูปซึ่งเกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน อีก ๑ รูป แต่เสียง อยู่ดีๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะเหตุว่า จิตคิดคำต่างๆ ได้ เป็นสภาพของเจตสิก ๒ ดวง คือ วิตกเจตสิก และวิจารเจตสิก ซึ่งไม่แยกจากกัน เจตสิกคู่นี้ ถ้าวิตกเจตสิกเกิด ก็เป็นสหชาตปัจจัย ให้วิจารเจตสิกเกิดด้วย นอกจากขณะที่เป็นทุติยฌาน แต่ว่าขณะอื่นแล้ว วิตกเจตสิก และวิจารเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดพร้อมกัน ทำให้ตรึก จรด คิดถึงสิ่งต่างๆ แล้วแต่แต่สภาพของจิตในขณะนั้นว่า จะเป็นวิถีจิตอะไร
เสียงอย่างนี้ วิตก วิจาร คิดหรือเปล่า เสียงที่ผ่านไปเมื่อกี้นี้ ไม่มี จะรู้หรือว่าเสียงอะไร ถ้าศึกษาต่อไปถึงว่า เจตสิกอะไรจะเกิดกับจิตอะไร ขณะไหน หลังจากที่โสตวิญญาณจิตดับ สัมปฏิจฉนจิตเกิด ขณะนั้นประกอบด้วยวิตก วิจารเจตสิก จิตที่ไม่ประกอบด้วยวิตกเจตสิก วิจารเจตสิก ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวงเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วยเจตสิกเพียง ๗ ดวง ขณะที่เป็นเห็นเพียงขณะเดียว มีเจตสิกน้อยที่สุด คือเพียง ๗ ดวงเท่านั้น ซึ่งก็คงจะเคยกล่าวถึงแล้วว่า ได้แก่
ผัสสเจตสิก ๑ เวทนาเจตสิก ๑ สัญญาเจตสิก ๑ เจตนาเจตสิก ๑ เอกัคคตาเจตสิก ๑ ชีวิตตินทรียเจตสิก ๑ มนสิการเจตสิก ๑
เป็นสภาพที่เป็นนามธรรมแต่ละลักษณะ มีกิจการงานแต่ละอย่าง ซึ่งเกิดพร้อมจิต เป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย หลังจากที่จักขุวิญญาณดับไปแล้ว หรือโสตวิญญาณดับไปแล้ว หรือฆานวิญญาณดับไปแล้ว หรือชิวหาวิญญาณดับไปแล้ว หรือกายวิญญาณดับไปแล้ว จิตต่อจากนั้น คือสัมปฏิจฉนจิต เกิดพร้อมกับวิตกเจตสิก เพราะฉะนั้น ที่จะไม่ให้ตรึก หรือจรดในอารมณ์ ซึ่งทางตาเห็น ทางหูได้ยิน ทางจมูกได้กลิ่น ทางลิ้นลิ้มรส ทางกายกระทบสัมผัส เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่จะไม่ทราบขั้นต่างๆ ของวิตกเจตสิก ว่าบางขณะเป็นลักษณะที่จรดในอารมณ์ บางขณะเป็นลักษณะที่ตรึกในอารมณ์ เช่นในขณะที่กำลังคิดเรื่องต่างๆ ขณะนั้น วิตกเจตสิก ก็เป็นสภาพธรรมที่คิดเรื่องนั้น
เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่าไม่มีวิตกเจตสิกม่ได้ เพราะเหตุว่า วิตกเจตสิก เกิดกับจิตอื่นทั้งหมด เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง เพราะฉะนั้น ในขณะที่คิด ยังไม่ได้พูด ยังไม่ได้มีเสียงออกมาใช่ไหม แต่เหมือนกับเสียงไหม ที่คิดน่ะ ลองคิดซิ ว่าขณะที่คิดนั้น เหมือนกับเสียงไหม นึกถึงเสียง สัญญาเจตสิกจำเสียง ท่านที่ศึกษาหลายๆ ภาษา ก็แล้วแต่สัญญาในขณะนั้น จำสียงภาษาอะไร ก็นึกถึงเสียงนั้นๆ ในใจ ยังไม่มีเสียงเกิดขึ้น แต่ว่าวิตกและวิจารนั้น เป็นวจีสังขาร เป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งคำ หรือเสียง
เพราะะนั้น เมื่อเวลาที่จะมีเสียงเกิดขึ้น จะปราศจากวิญญัติรูปไม่ได้ คือวจีวิญญัติรูป เป็นรูปซึ่งทำให้เกิดเสียงขึ้น อย่าลืม วิญญัติรูปไม่ใช่เสียง แต่เป็นรูปที่ทำให้เสียงเกิดขึ้น โดยมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นจิตตชรูป เพื่อที่จะได้ทราบว่า ที่ใช้คำว่าจิตตชรูป จิตตชรูป ในรูป ๒๘ นั้น ได้แก่อะไรบ้าง ได้แก่ มหาภูตรูป ๔
อุปาทายรูป ๔ เป็นอวินิพโภครูป ๘
วิการรูป ๓
กายวิญญัติรูป ๑
วจีวิญญัติรูป ๑ อีก ๒
สัททรูป คือเสียง ๑ เป็น ๑๔
อีกรูปหนึ่ง คือ อากาสรูป ๑
ทั้งหมดรวมเป็นจิตตชรูป ๑๕ รูป ในรูป ๒๘ รูป
รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานมี ๑๕ รูป
ท่านผู้ฟังมีข้อสงสัยอะไรบ้างหรือเปล่า ในเรื่องของจิตตชรูป
ทรงเกียรติ อยากจะถามอีกว่า กายวิญญัติ ถ้าเรานั่งเฉยๆ อย่างนี้ แล้วไม่ได้พูดจาอะไร ไม่ได้ขยับเขยื่อนอะไร วิญญัติรูปทั้ง ๒ นี้ มีหรือเหล่าครับ
อ.จ. มีจิตที่ปรารถนาจะให้รูปนั้นเป็นอาการอย่างนั้นหรือเปล่า
ทรง.ก. ไม่มีครับ บางทีทุกคนนั่งฟังธรรมอยู่นี่ ไม่ได้แสดงอาการกิริยาอาการอย่างไร ขณะนั้น วิญญัติรูปทั้ง ๒ มีบ้างไหม
อ.จ. ไม่เกิด ท่านผู้ฟังอาจจะยังไม่ชินกับคำว่าวิญญัติรูป ได้แก่ กายวิญญัติรูป ๑ วจีวิญญัติรูป ๑
กายวิญญัติรูป ได้แก่รูป ซึ่งเกิดเพราะจิต ต้องการให้รูปนั้น มีความหมายตามความต้องการของจิต ทุกท่านใช้กายแสดงความหมาย เพราะเหตุว่า จิตเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง ไม่มีลักษณะปรากฏ ที่จะให้ใครรู้ความหมายได้เลย แต่กายสามารถที่จะมีอาการ หรือมีลักษณะที่จะทำให้คนอื่นเข้าใจความหมายได้ ซึ่งความหมายที่จะเกิดนั้น เกิดเพราะจิตต้องการให้รูปนั้นมีความหมายอย่างนั้น บางท่านอยากจะแสดงให้คนอื่นเห็นว่าโกรธ หน้าตาก็ต้องบึ้งตึงใช่ไหม ขณะนั้น ที่หน้าจะปรากฏอาการบึ้งตึงขึ้นมาได้ ก็เพราะจิตเป็นสมุฏฐานให้กายวิญญัติรูป เกิดขึ้นเป็นไปตามความหมาย ที่จิตต้องการในขณะนั้น ถ้าอยากจะให้คนอื่นสนใจ หรืออยากจะเรียกคนอื่น แต่ใช้สายตาแทนเสียง ขณะนั้นก็เป็นกายวิญญัติรูป หรือว่า อาการของกายซึ่งจะทำให้คนอื่นสามารถเข้าใจได้ หรือเข้าใจกันได้ เป็นสัญญาณต่างๆ เช่นการกวักมือ ก็เป็นกายวิญญัติรูป
สำหรับ วจีวิญญัติรูป เป็นรูปซึ่งทำให้เกิดเสียง เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่เสียง ซึ่งเป็นคำเกิดขึ้น ขณะนั้น จะมีแต่เสียง โดยไม่มีวจีวิญญัติรูปไม่ได้ เพราะเหตุว่า วจีวิญญัติรูป เป็นรูปที่ทำให้เกิดเสียง เป็นคำๆ หรือว่าเป็นเสียง ซึ่งเกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะฉะนั้น ในขณะที่คุยกัน ให้ทราบได้ทันทีว่า ขณะนั้น มีวจีวิญญัติรูป และเสียง ซึ่งเกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน
ทั้งหมดก็เป็นจิตตชรูป ๑๕ รูปในรูป ๒๘
สำหรับกัมมชรูป ก็ได้ทราบแล้ว ในขณะปฏิสนธิจิต มีกัมมชรูปเกิดพร้อมกัน เพราะเหตุว่า ปฏิสนธิจิตเป็นสหชาตปัจจัย ให้เกิดกัมมชรูป แล้วแต่ว่าจะเป็นกี่กลาป ในภูมิไหน เช่นการเกิดในครรภ์ ก็จะมีกัมมชรูปเกิด ๓ กลุ่ม หรือ ๓ กลาป สำหรับกัมมชรูปทั้งหมด คือรูปซึ่งเกิดเพราะกรรม ใน ๒๘ รูป ซึ่งเป็นกัมมชรูป มี ๑๘ รูป คือ
อวินิพโภครูป ๘ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม สี กลิ่น รส โอชา
และชีวิตินทรียรูป ๑ หรือที่เรียกว่า ชีวิตรูป
สำหรับในกลุ่มที่เป็นกัมมชกลาป คือกลุ่มของรูป ซึ่งเกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน จะต้องมีรูปเกิดร่วมด้วย อย่างน้อยที่สุด ๙ รูป ที่เป็นอย่างนี้ ก็เพราะเหตุว่า กลุ่มใดก็ตามซึ่งกรรมเป็นสมุฏฐานให้เกิด จะมีชีวิตินทรียรูป หรือชีวิตรูป อีก ๑ รูปเกิดร่วมด้วยในกลุ่มนั้น ทำให้รูปนั้นเป็นรูปที่ทรงชีวิต มีชีวิตต่างกับรูปอื่น ซึ่งไม่ได้เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน เพราะฉะนั้นก็ ๙ รูปแล้ว สำหรับกัมมชรูป นอกจากนั้นก็มี
จักขุปสาทรูป ๑ เป็น ๑๐
โสตปสาทรูป ๑ เป็น ๑๑
ฆานปสาทรูป ๑ เป็น ๑๒
ชิวหาปสาทรูป ๑ เป็น ๑๓
กายปสาทรูป ๑ เป็น ๑๔
หทยวัตถุรูป ๑ เป็น ๑๕
ปุริสภาวรูป ๑ เป็น ๑๖
อิตถีภาวรูป ๑ เป็น ๑๗
อากาสรูป ๑ เป็น ๑๘
ถ้าไม่ใช่กลุ่มที่มีจักขุปสาท หรือโสตปสาท หรือฆานปสาท หรือชิวหาปสาท หรือกายปสาท หทย หรือภาวะ ก็มีเพียง ๙ รูปเท่านั้น แต่ถ้ามีจักขุปสาท ก็เพิ่มอีก ๑ ในกลาปนั้น หรือกลุ่มนั้น ก็เป็น ๑๐ รูป
ทุกคนมีรูปพวกนี้ทั้งหมดใช่ไหม ๒๗ รูป ไม่ใช่ ๒๘ แล้วแต่ว่าจะเป็นเพศใด
มีข้อสงสัยอะไรบ้างไหม ในเรื่องปัจจัยทั้งหมดที่ได้กล่าวถึงแล้ว ๗ ปัจจัย ขอทบทวนทั่วๆ ไปอีกเล็กน้อย เพื่อความเข้าใจชัดเจนขึ้น
ต่อจากเห-ตุปัจจัย ก็เป็นอธิปติปัจจัยอีกแล้ว
ในคราวก่อน ได้กล่าวถึง โลภเหตุ โทสเหตุ ว่าเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ หรือไม่ได้ อย่าลืมว่า กล่าวถึงปัจจัย
โลภเจตสิก เป็นสหชาตปัจจัยของจิต และเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมด้วย
แต่โลภเจตสิก เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม ไม่ได้
เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม เพราะเหตุว่า อธิปติปัจจัยมี ๒ เมื่อเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยไม่ได้ เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ได้แน่นอน อย่าลืมว่า ทุกคนชอบโลภะ ปรารถนาโลภะ หวังโลภะ เพราะฉะนั้น สภาพของโลภะ เป็นสภาพ ซึ่งพอใจอย่างยิ่ง จึงเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้
โลภมูลจิต เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม เมื่อกี้กล่าวถึงโลภเจตสิก ตอนนี้กล่าวถึงโลภมูลจิต
โลภมูลจิต เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ได้
เพราะฉะนั้น สำหรับโมหเจตสิก อย่าลืม โมหเหตุเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม ไม่ได้
โมหมูลจิต เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม ไม่ได้
เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม
อย่าลืม อารัมมณาธิปติเว้นโทสมูลจิต ๒ ดวง
โมหมูลจิต ๒ ดวง
ทุกขกายวิญญาณจิต ๑ ดวง
เพราะเหตุว่า ไม่มีใครปรารถนาโทสมูลจิต โมหมูลจิต และทุกขกายวิญญาณจิต ถ้ากล่าวโดยนัยของอารัมมณาธิปติปัจจัย
เพราะฉะนั้น โมหเหตุ คือโมหเจตสิกเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ไหม
สหชาตาธิปติไม่ยาก เพราะเหตุว่า ได้แก่ ฉันทะเจตสิก วิริยเจตสิก ปัญญาเจตสิก และชวนจิต ๕๒ ดวง เว้น โมหมูลจิต ๒ และหสิตุปปาท ๑ คือเว้น ชวนจิตซึ่งไม่ประกอบด้วยเหตุ หรือที่ประกอบด้วยเหตุเดียว ที่จะมีกำลังเป็นสหชาตาธิปติปัจจัย ต้องประกอบด้วยอย่างน้อย ๒ เหตุ
นี่คือการที่จะพยายามเข้าใจ และทบทวน เพื่อการที่จะจำไปในตัว โดยที่จะไม่ลืม เพราะเหตุว่า คงจะต้องลืมกันบ้าง แต่ถ้าทบทวนบ่อยๆ ก็คงไม่ลืม
เพราะฉะนั้น ถ้าถามโดยนัยของอารัมมณาธิปติ ไม่ใช่สหชาตาธิปติแล้ว
โมหมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม
โมหมูลจิตใครอยากได้ อย่าลืม โมหมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยไม่ได้
โมหเจตสิกเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยไม่ได้
เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม
ต้องคิดกันอีกแล้วใช่ไหม ความละเอียด เรื่องของปัจจัย เป็นเรื่องที่ละเอียดอย่างนี้
ทุกคนมีโลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต แล้วทุกคนก็กล่าวว่า แล้วแต่เหตุปัจจัย แล้วแต่เหตุปัจจัย แต่ว่า เหตุปัจจัยอะไร เช่น
โมหเจตสิกเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ไหม
โมหเจตสิกในโมหมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยไม่ได้
โมหเจตสิกในโลภมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้ ถูกไหม อย่าลืม สหชาตปัจจัย จิตและเจตสิกเกิดร่วมกัน เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย
โมหเจตสิกเกิดกับอกุศลจิตทุกดวง เพราะฉะนั้น ในขณะที่
โมหเจตสิกเกิดกับโมหมูลจิต เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยไม่ได้
โมหมูลจิตก็เป็นอารัมมณธิปติปัจจัยไม่ได้
โมหเจตสิกก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยไม่ได้
แต่โลภมูลจิตทุกคนชอบ โมหเจตสิกเกิดกับโลภมูลจิตเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้
เพราะฉะนั้น เจตสิกทุกดวงที่เกิดกับโลภมูลจิต แม้โมหเจตสิกก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้
ขอให้เกิดกับโลภะเถอะ ไม่อยากจะรู้หรอกอริยสัจจธรรมน่ะ ใช่ไหม ทิ้งไว้ก่อน รอได้ เพราะเหตุว่า กำลังเป็นโลภะ โมหะก็ไม่เป็นไร ถูกไหม กำลังชอบ กำลังเพลิน
เพราะฉะนั้น โมหเจตสิกในโลภมูลจิต จึงเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย กำลังสนุกๆ จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเอาไหม ชวนกันไปรู้แจ้งอริยสัจจธรรมในขณะนี้ล่ะ ขณะที่กำลังสนุกๆ รอไว้ก่อน กำลังสนุก
เพราะฉะนั้น โมหเจตสิกซึ่งเกิดกับโลภมูลจิต จึงเป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยได้
แต่โมหเจตสิก ซึ่งเกิดกับโมหมูลจิต เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยไม่ได้
ไม่ต้องรีบร้อนที่จะให้จบปัจจัยโดยเร็ว เพราะเหตุว่า ที่จริงแล้วนี่ก็ไม่ช้า ๗ ปัจจัยแล้ว ปัจจัยทั้งหมด ก็มีเพียง ๒๔ ปัจจัย และปัจจัยแต่ละปัจจัย ก็เป็นสภาพธรรมที่คุ้นเคย ชินหู เพียงแต่ความละเอียด เป็นเรื่องที่จะต้องเข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรม แต่ละอย่างจริงๆ ว่า สภาพธรรม เช่น โมหเจตสิก ถ้าเกิดตามลำพังตนเอง ในโมหมูลจิตแล้ว ไม่มีกำลังอะไร ไม่รู้อารมณ์ ไม่ติดในอารมณ์ เพราะเหตุว่า ขณะนั้น โลภเจตสิกไม่ได้เกิดด้วย เพราะฉะนั้น ไม่เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย
ก็เป็นเรื่องนามธรรมและรูปธรรมเท่านั้นเอง ใช่ไหม ซึ่งเกิด – ดับเป็นปกติ ในชีวิตประจำวัน ไม่ทราบว่าท่านผู้ฟัง มีข้อสงสัยอะไรบ้างหรือเปล่า
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50