ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25


    ตลับที่ ๑๓

    คนอื่นไม่มีทางรู้ได้เลย แม้แต่จิตของคนเอง ก็เกิด – ดับอย่างรวดเร็ว และกุศลและอกุศลก็สลับกัน แม้ในขณะที่กระทำกุศล โดยปกติในวันหนึ่งๆ อกุศลจิตย่อมเกิดมาก มีปัจจัยซึ่งเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ที่จะทำให้อกุศลจิตเกิด แม้ในขณะที่กระทำกุศล ถ้าปราศจากสติสัมปชัญญะ เมื่อไหร่ ขณะนั้นก็มีอกุศลเกิดสลับตามปกตูปนิสสยปัจจัยมากทีเดียว เพราะฉะนั้น ยากที่จะบอกได้ว่า ขณะไหนเป็นกุศลจิต ขณะไหนเป็นอกุศลจิต แต่การอบรมเจริญปัญญานี้ เพื่อดับอกุศล เพราะฉะนั้น ถ้าสติสัมปชัญญะไม่ระลึกรู้ลักษณะที่ต่างกันของกุศลจิตแกละอกุศลจิตแลัว จะดับอกุศลจิตไม่ได้

    แต่สติสัมปชัญญะที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมละเอียดขึ้น สามารถที่จะรู้ได้ว่า สภาพธรรมที่เป็นอกุศลต่างกับสภาพธรรมที่เป็นกุศล และปัญญาที่รู้เพิ่มขึ้น จะละอกุศลให้เบาบางลงได้ แต่ถ้าปัญญาไม่เกิด ก็ไม่สามารถที่จะละอกุศลได้

    โดยความละเอียด อกุศลที่ประกอบด้วยโสมนัสเวทนา เช่นโสมนัสเวทนาที่เกิดกับโลภมูลจิต เป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรมได้ ใช่ไหม บางท่านถือเอาสิ่งของๆ บุคคลอื่น โดยร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะสนุกสนาน ไม่เห็นเลยว่าเป็นโทษ เพราะฉะนั้น อกุศลกรรมซึ่งกระทำด้วยโสมนัสเวทนาเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอัพยากตธรรม คืออกุศลวิบากซึ่งประกอบด้วยอุเบกขาเวทนาได้

    เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นความละเอียดของปกตูปนิสสยปัจจัย ว่า ถ้ากล่าวโดยเวทนาแล้ว โสมนัสเวทนาก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอุเบกขาเวทนาได้ เพราะเหตุว่า อกุศลกรรมนั้น ได้กระทำลงไปด้วยโสมนัสเวทนา แต่กรรมซึ่งเป็นอกุศลนั้น เมื่อเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิบาก ซึ่งเกิดร่วมกับอุเบาขาเวทนาเพราะฉะนั้น โสมนัสเวทนาเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอุเบกขาเวทนาได้

    สำหรับความกว้างขวางของปกตูปนิสสยปัจจัย นอกจากกุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดกุศลได้ กุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอกุศลได้ กุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอัพยากตธรรมได้ และโดยนัยเดียวกัน อกุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอกุศลได้ อกุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดกุศลได้ และอกุศลก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอัพยากตธรรม คือวิบากจิตและกิริยาจิตได้

    นอกจากนั้นแล้ว อัพยากตธรรมเป็นปัจจัยให้เกิดอัพยากตธรรมได้ ซึ่งข้อความในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงสุขเวทนาทางกายได้แก่ สุขสหคตํ กายวิญญาณํ เป็นปัจจัยให้เกิด สุขเวทนาทางกายอีก หรือเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดทุกข์ทางกายโดยทั่วๆ ไป

    และสำหรับผู้ที่เป็นพระอริยอจ้า ก็เป็นปัจจัยให้เกิด ผลสมาบัติ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอริยบุคคล ก็หมดปัญหานั้นไป

    เพราะฉะนั้น สุขทางกาย เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทางกาย หรือทุกข์ทางกายแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกาย ซึ่งทุกคนมี ทั้งนามธรรมและรูปธรรม และสุข ทุกข์ทั้งหมด ก็ไม่พ้นจากรู้ทั้งหลาย ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง แต่ลองพิจารณาจริงๆ ว่า อะไรเป็นปัจจัยสำคัญจริงๆ ถ้าทางตาไม่เห็นเสีย แต่ทางกายไม่เดือนร้อน ไม่เป็นทุกข์ ก็ยังไม่ลำบาก ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ถึงแม้ว่ารสจะไม่อร่อยเป็นบางครั้งบางคราว แต่ถ้ากายยังแข็งแรงดี เป็นปกติดี ก็ยังไม่เดือดร้อน

    เพราะฉะนั้น กายซึ่งทุกคนมีอยู่ ย่อมเป็นที่ตั้งที่ปรารถนาจะให้เกิดสุขเวทนา เพราะฉะนั้น สุขเวทนาซึ่งเป็นอัพยากตธรรม เพราะเหตุว่า เป็นวิบากจิต ไม่ใช่กุศลจิต หรืออกุศลจิต ขณะใดที่รู้สึกสุขทางกาย ขณะนั้นเป็นวิบากจิต เมื่อมีความพอใจในสุขนั้น จึงเป็นปัจจัย คือปกตูปนิสสยปัจจัยให้สุขเวทนาทางกายเกิดอีก

    ชีวิตประจำวันจริงๆ เพียงแต่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงให้เห็นว่า สภาพธรรมใดเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย เพราะเหตุว่า ทุกท่านมีความห่วงใยในร่างกาย ต้องแข็งแรง สุขภาพ พลานามัยสมบูรณ์ ต้องประกอบด้วยสุขเวทนา พยายามทุกทางที่ จะไม่ให้กายนี้เป็นทุกข์เดือดร้อน

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นปัจจัย เป็นที่อาศัยที่มีกำลัง ซึ่งจะให้สุขเวทนา ซึ่งเป็นอัพยากตธรรมเกิดอีก หรือว่า ความรู้สึกที่เป็นสุขนั่นเอง เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดความรู้สึกที่เป็นทุกข์ทางกาย ก็ได้อีกเหมือนกัน เช่น ถ้าอากาศกำลังเย็นสบายดี ก็เป็นที่พอใจ แต่ถ้าความเย็นนั้น เพิ่มขึ้นอีกทีละน้อยๆ ๆ จนถึงเป็นทุกข์กายได้ไหม เย็นเกินไปเสียแล้ว อย่างผู้ที่ใช้เครื่องปรับอากาศ ถ้าอากาศเย็นสบาย สม่ำเสมอเป็นปกติ ก็รู้สึกเป็นสุขสบายทางกาย แต่ถ้าเย็นเกินไปสักนิดเดียว ก็เป็นปัจจัยให้ทุกขเวทนาเกิดแล้ว เพราะฉะนั้น สุขทางกายนั่นเอง ก็เป็นปกตปนิสสยปัจจัย ให้เกิดทุกข์ทางกายได้ ทุกอย่าง แม้แต่อาหารที่รับประทาน ก็เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทางกาย แต่ถ้ามากเกินไป ก็เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ทางกายได้

    อาหารอร่อยๆ ก็ต้องรับประทานให้พอดีๆ ใช่ไหม ถ้ารับประทานมากเกินไปสักหน่อยหนึ่ง เกิดการอึดอัด ปวดท้อง แน่น สุขเวทนานั้น ก็เป็นปกตปนิสสยปัจจัยให้เกิดทุกขเวทนาทางกายได้ หรือว่าทุกขเวทนาทางกาย ก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดสุขเวทนาทางกายได้ หรือทุกขเวทนาทางกายได้ รวมตลอดไปจนกระทั่งถึงอุตุ อากาศ ความเย็น หรือความร้อน ก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดสุขเวทนาทางกาย หรือทุกขเวทนาทางกาย

    เป็นความจริงๆ ไหม ร่างกายที่เกิดมาแล้ว เป็นที่ตั้งที่จะให้เกิดความสุข ที่เป็นที่ปรารถนา เพราะเหตุว่า ทุกคนย่อมกลัวทุกข์กาย เพราะฉะนั้น ก็จะต้องแสวงหาปกตูปนิสสยปัจจัย ที่จะให้เกิดสุขเวทนา โดยอุตุ ความร้อน ความหนาว ความเย็นที่สบาย หรือว่าโภชนะ อาหารซึ่งรับประทานแล้วสบาย หรือว่าเสนาสนะคือที่อยู่ ก็จะต้องเป็นที่อยู่ ที่จะให้เกิดสุขทางกายด้วย มิฉะนั้นแล้ว กายนี้ก็คงจะลำบาก เดือดร้อน ถ้าไม่มีเสนาสนะที่สดวกสบาย

    มีข้อสงสัยอะไรไหม สำหรับอุตุ โภชนะ เสนาสนะที่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอัพยากต คือสุข หรือทุกข์ทางกาย เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิตก็ได้ หรือเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลจิตก็ได้

    ท่านที่มีสุขเพรียบพร้อม ไม่มีทุกข์ พร้อมที่จะศึกษาธรรมได้ ความสุขนั้นก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยที่จะให้กุศลจิตเกิด

    บางท่านมีทุกข์ แต่ความทุกข์นั้นเอง ก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้กุศลจิตเกิด สนใจศึกษาธรรมก็ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นอุตุ หรือโภชนะ หรือเสนาสนะ จะเป็นความสุขกาย หรือความทุกข์กาย ก็เป็นปัจจัยให้เกิดได้ทั้งกุศลธรรมและอกุศลธรรม

    สำหรับบางท่าน ถึงแม้จะป่วยไข้ หรือว่าทุกข์กาย ก็ยังเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยที่จะให้เกิดกุศลจิตเกิด แต่ว่าสำหรับบางท่าน ถึงแม้ว่าจะสุขกาย ท่านก็เพลิดเพลินไป หรือเวลาที่ทุกข์กาย คือเจ็บไข้ได้ป่วย ท่านก็ไม่พร้อมอีกแล้ว ที่จะเกิดกุศล หรือศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม นั่นก็แล้วแต่ปัจจัยอื่นๆ ที่ได้สะสมมา คือกุศล และอกุศล

    มีข้อสงสัยอะไรไหม ถ้าไม่มีก็จะขอกล่าวถึง “บัญญัติ” เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดกุศล อกุศล และอัพยากตธรรม

    เริ่มตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นในวันหนึ่งๆ ให้ทราบว่า เป็นวิถีจิตซึ่งรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏทางหนึ่งทางใด คือทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ เวลาที่ภวังคจิตเกิดขึ้นสืบต่อ เป็นไป ไม่มีการรู้อารมณ์ใดๆ ในโลกนี้ทั้งสิ้น จะรู้ได้ในขณะที่เป็นลมหมดสติ หรือขณะที่นอนหลับ สนิท ไม่ฝัน อารมณ์ต่างๆ ในโลกนี้ไม่ปรากฏเลย ไม่เห็นสี สรรวัณณะของโลกนี้ ไม่ได้ยินเสียง ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่ได้คิดนึกเรื่องราวต่างๆ แต่ขณะใดก็ตาม ซึ่งตื่นขึ้น ขณะนั้นไม่ใช่ภวังคจิต เป็นวิถีจิตที่รู้อารมณ์ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ ในวันหนึ่งๆ ขอให้พิจารณาว่า ตื่นขึ้นอย่างมีสติสัมปชัญญะ หรือว่าตื่นขึ้นด้วยความหลงลืมสติ ตาทความเป็นจริง

    บุคคลที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน จนกระทั่งมีปกตูปนิสสยปัจจัยที่ตื่นพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ก็มี แล้วผู้ที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐานถึงขั้นนั้น ในวันหนึ่งๆ ก็ควรที่จะได้พิจารณาว่า ตื่นขึ้นด้วยความหลงลืมสติ ไม่ใช่ด้วยการมีสติ สำหรับผู้ที่ตื่นขึ้นอย่างมีสติ หรือด้วยสติสัมปชัญญะ จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เป็นปรมัตถธรรม แล้วแต่ว่า ขณะนั้น อาจจะเป็นเสียงหนึ่งเสียงใดก็ได้ แต่รู้ในลักษณะของเสียง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน สำหรับผู้ที่หลงลืมสติ ก็ตื่นขึ้น มีเสียงเป็นอารมณ์ได้ แต่ไม่รู้ลักษณะของเสียงว่า เป็นแต่เพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งปรากฏกับนามธรรม ซึ่งกำลังรู้เสียงในขณะนั้น

    สำหรับผู้ที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นปรมัตถธรรม ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล เพราะเหตุว่า มีสภาพรู้ซึ่งกำลังได้ยินเสียง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ตื่นพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ แม้เสียงปรากฏก็ไม่รู้ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นเราซึ่งกำลังได้ยินเสียง

    ชีวิตประจำวันจริงๆ ตื่นแล้วยังคงนอนต่อไปอีกเรื่อยๆ นานๆ ตลอดไปได้ไหม ตามความเป็นจริง ได้กี่วัน ท่านที่ตอบว่าได้ ได้กี่วัน ท่านที่ตื่นแล้ว นอนต่อไปอีกอเรื่อยๆ ได้ไหม เพราะอะไร มีเหตุ มีปัจจัยทั้งนั้น แม้แต่ท่านตื่นมาแล้ว จะทำอะไร ไม่พ้นจากปัจจัยทั้งนั้น นอนต่อไปเรื่อยๆ ไม่ได้ใช่ไหม เพราะอะไร

    เมื่อมีกาย ซึ่งเป็นรูปต่างๆ ซึ่ง เกิด – ดับประชุมรวมกันเป็นกาย ก็ย่อมเป็นที่รวมของทุกข์ โทษ ภัย ทุกประการ ตั้งแต่ความไม่สะอาด เพราะฉะนั้น จะนอนต่อไปอีกไม่ได้แร่นอน ใช่ไหม หิวก็นอนต่อไปไม่ได้ แต่ก่อนที่จะรับประทานอาหาร ก็จะต้องมีการบริหารร่างกาย ทำความสะอาดร่างกาย ขณะนั้นถ้าไม่มีอรรถบัญญัติ คือการรู้ความหมายของสภาพธรรมอื่นๆ ซึ่งเกื้อกูลแก่การบริหารรักษาร่างกาย ชีวิตย่อมดำรงต่อไปไม่ได้

    เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า จอกจากปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นสภาพธรรม ซึ่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนแล้ว ก็ยังจะต้องมีนามธรรม ซึ่งรู้อรรถ คือความหมาย ซึ่งเป็นบัญญัติของปรมัตถธรรมนั้นๆ ชีวิตจึงจะดำเนินต่อไปได้ เพราะฉะนั้น การรู้ความหมาย คืออรรถและบัญญัติต่างๆ จึงเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยที่จะทำให้เกิดกุศลจิต หรืออกุศลจิต

    บุคคลเป็นอรรถ เป็นความหมาย เป็นบัญญัติ หรือเป็นปรมัตถธรรม

    บุคคลต่างๆ เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้

    เป็นปัจจัยให้เกิดโลภะชอบบุคคลนี้

    เป็นปัจจัยให้เกิดโทสะ ไม่ชอบบุคคลนี้

    เป็นปัจจัยให้เกิดริษยา บุคคลนี้

    หรือว่า เป็นปัจจัยให้เกิดมัจฉริยะ ความตระหนี่เกิดขึ้น เมื่อเห็นบุคคลนี้ก็ได้

    หรือว่า เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิต เกิดเมตตา กรุณา หรือเกิดความเคารพนับถือ เกิดการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในบุคคลนั้นก็ได้

    เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ชีวิตประจำวันนี้ มีทั้งสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถ์ เกิดแล้วยังต้องมีขณะที่รู้อรรถหรือรู้ความหมายของปรมัตถธรรมนั้นๆ ชีวิตจึงจะดำเนินต่อไปได้

    เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญา ต้องรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ขณะใด อารมณ์ที่กำลังปรากฏ แป็นปรมัตถธรรม ขณะใดเป็นจิต ซึ่งมีอรรถ ความหมาย หรือบัญญัติ เป็นอารมณ์ เพื่อที่จะได้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ

    แต่ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ที่ยึดถือว่าเป็นคนนี้ เป็นอรรถ เป็นบัญญัติ เป็นการรู้ความหมายของสิ่งที่ปรากฏทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ถ้าไม่รู้อย่างนี้ ก็ยังคงยึดถือบุคคลว่าเป็นสภาพธรรมที่ยั่งยืน หรือเป็นตัวตน ไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา หรือทางหู หรือการกระทบสัมผัสทางกาย

    เพราะฉะนั้น อรรถบัญญัติต่างๆ ก็เป็นปกตูปนิสสปยัจจัย เป็นที่อาศัยที่มีกำลัง ที่ทำให้ชีวิตกดำรงอยู่ได้ ถ้าใครเกิดมาไม่รู้อรรถ ความหมายของสภาพธรรมที่ปรากฏ จะมีชีวิตอยู่ได้ไหม ลองคิดดู ไม่จำเป็นต้องใช้เสียง เวลาที่เข้าใจอรรถ คือความหมายของสิ่งที่ปรากฏ เพราะแม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ก็ยังมีชีวิตดำรงไปด้วยการกินอยู่หลับนอนได้ เพราะรู้อรรถ คือความหายของสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

    สำหรับร่างกาย ซึ่งเป็นที่ประชุมรวมกันของรูปต่างๆ ซึ่งมีแต่ทุกข์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์โทษภายใน ได้แก่ความไม่สม่ำเสมอกันของธาตุทั้ง ๔ ซึ่งทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ ซึ่งมีภัยจากความหิ้ว ความเมื่อย ความเจ็บปวด หรือความไม่สะอาดต่างๆ

    ภัยภายนอกซึ่งร่างกายนี้ ก็จะต้องระวัง ไม่ให้กระทบกับภัยภายนออก เช่น ภัยที่เกิดจากไฟ ไฟไหม้

    ภัยที่เกิดจากน้ำ น้ำท่วม

    ภัยที่เกิดจากโจรผู้ร้าย ศัตรู อุบัติเหตุ ต่างๆ เป็นต้น

    เพราะฉะนั้น ทุกท่านเกิดมาแล้ว ควรอบรมเจริญปัญญาที่สามารถรู้แจ้งสภาพธรรมทั้งหลาย ตามความเป็นจริง นับตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้น ควรจะเป็นอย่างนั้น และก็จะเป็นไปได้ ถ้าอบรมเจริญสติปัฏฐานบ่อยๆ เนืองๆ จนกระทั่งเป็นพละ คือเป็นกำลัง ไม่ว่าจะเป็นในขณะได้ วันหนึ่งๆ แม้ว่าหลายๆ วัน จะตื่นขึ้นพร้อมด้วยการหลงลืมสติเป็นส่วนใหญ่ แต่ควงจะมีสักวันหนึ่ง ซึ่งตื่นขึ้น พร้อมด้วนสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ทันที เพราะเหตุว่า ได้อบรมเจริญ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นย่อยๆ ในวันหนึ่ง ในเดือนหนึ่ง ในปีหนึ่ง ในภพหนึ่ง ในชาติหนึ่ง จนชิน

    แต่ก็จะเห็นได้ว่า ต้องเป็นชีวิตตามปกติ ตามะเหตุตามปัจจัย เพราะเหตุว่า แม้เมื่อตื่นขึ้น สภาพธรรมใดจะปรากฏ ก็เลือกไม่ได้ เพราะเหตุว่า เป็นไปตามอนันตรูปนิสสยปัจจัย และถ้าสติสัมปชัญญะเกิด จะรู้ได้จริงๆ ว่า สภาพธรรมที่ปรากฏสั้น และเล็กน้อยเหลือเกิน แม้แต่เพียงทวารเดียว เช่นทางหู ลองดูในขณะนี้ กี่เสียงแล้ว หรือไม่ได้ยินสักเสียงหนึ่ง ทางหู ลองดูใหม่ เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด มากกว่าหนึ่งเสียง เสียงหนึ่งเกิดแล้วก็หมดไป ลักษณะของอีกเสียงหนึ่งก็เกิดแล้วก็หมดไป ลักกษณะของอีกเสียงหนึ่ง ก็เกิดแล้วก็หมดไป ใครจะยังยั้งอนันตรูปนิสสยปัจจัย สภาพธรรมซึ่งเกิด – ดับสืบต่อตามปกติ ตามเหตุตามปัจจัย

    ลองอีกก็ได้ หลายเสียงไหม ทีละเสียงๆ ๆ อรรถบัญญัติยังไม่เข้า ถูกไหม เพราะเหตุว่า เพียงเสียงปรากฏ รู้ไหมว่าเสียงอะไรบ้าง หลายๆ เสียง ซึ่งปรากฏแล้ว ไม่จำเป็นต้องนึกถึงอรรถบัญญัติ แต่สามารถที่จะรู้ว่า ขณะนั้นเป็นแต่เพียง สภาพธรรมอย่างหนึ่งปรากฏแล้วก็หมดสิ้นไป ดับสิ้นไปอย่างรวดเร็ว แต่ต้องอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะทั้งของนามธรรม และรูปธรรม ไม่ใช่เพียงรู้ลักษณะของรูปธรรมอย่างเดียวหรือทางเดียว แต่จะเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า แม้แต่เพียงโสตทวารๆ เดียว สิ่งที่ปรากฏ ก็เป็นสภาพธรรมที่เล็กน้อยและสั้นมาก สิ่งที่ดับไปแล้ว ก็ดับไป แต่มีปัจจัยให้เสียงอื่นเกิดขึ้นปรากฏอีก ตามปกติตามความเป็นจริง

    เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ไปพยายามบังคับไม่ให้ได้ยินเสียง หรือว่าไม่ใช่ไปพยายามบังคับไม่ให้รู้อรรถ หรือความหมายของเสียงนั้น เพราะเหตุว่า กาที่ชีวิตจะดำรงอยู่ได้ในวันหนึ่งๆ นี้ จะต้องมีสภาพธรรมที่รู้อรรถ รู้ความหมายของสภาพปรมัตถธรรมนั้นด้วย มิฉะนั้นแล้ว ก็จะไม่รู้ว่า สิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นอะไร ทำให้ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้เลย ถ้าเป็นในลักษณะนั้น

    สำหรับปกตูปปนิสสยปัจจัย มีข้อสงสัยอะไรบ้างไหม

    ทรงเกียรติ ผมขอถาม คำว่า บัญญัติกับปรมัตถ์ บัญญัติ ตามที่เราเข้าใจ ก็หมายถึงชื่อต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ นาฬิกา ปรมัตถ์ เช่นรูปเสียง กลิ่น รส ก็เป็นชื่อ อยากจะถามอาจารย์ว่า ชื่อว่า รูป เสียง กลิ่น รส กับโต๊ะ เก้าอี้ ต่างกันอย่างไรครับ

    อ.จ. บัญญัติในสิ่งที่มีจริง และบัญญัติในสิ่งที่ไม่มีจริง เสียงมีจริง ถ้าไม่ใช้คำว่าเสียง รู้ไหมว่าหมายถึงอะไร ถ้าไม่ใช้คำว่ากลิ่น แม้ว่ากลิ่นมีจริง แต่ไม่ใช้คำที่จะเรียกสิ่งนั้น ก็ย่อมจะไม่รู้ว่าหมายถึงสิ่งนั้น เพราะถึงแม้ว่าจะมีจริง แต่เพื่อที่จะให้รู้ว่าหมายถึงสิ่งใด จึงต้องใช้เสียงบัญญัติขึ้น เพื่อที่จะให้รู้ความหมายทว่า หมายความถึงสิ่งนั้น เป็นสัททบัญญัติ

    ทรงเกียรติ พระอรหันต์เป็นของจริงหรือเป็นบัญญัติ

    อ.จ. คำเป็นสัททบัญญัติ แต่สภาพที่เป็นพระอรหันต์นั้นมีจริง เป็นปรมัตถ์

    สำหรับปกตูปนิสสยปัจจัยยังมีข้อสงสัยอะไรอีกไหม

    บางท่านที่เพรียบพร้อมด้วยความสุข ก็พร้อมที่จะศึกษาธรรม ก็เป็นปัจจัยให้กุศลกรรมเกิดขึ้น บางท่านที่เพรียบพร้อมด้วยความสุข เป็นปัจจัยให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น ก็เพลิดเพลินไปในความสุข เพราะฉะนั้น อัพยากตธรรมเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลธรรมหรืออกุศลธรรมได้

    บางท่านมีทุกขกายวิญญาณ ความเจ็บปวด ป่วยไข้ ไม่สบาย แต่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดกุศลก็ได้ เห็นว่า ชีวิตจะหมดสิ้นลงเมื่อไร ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ ได้ยินในขณะนี้ดับไป โสตทวารวิถีจิตดับไปหมดแล้ว จุติจิตเกิดก็ได้

    เพราะฉะนั้น ชีวิตไม่มีนิมิตร คือเครื่องหมายที่จะรู้ได้ว่า จะดับสิ้นจากโลกนี้เมื่อไร

    เพราะฉะนั้น แม้ว่า ทุกขกายวิญญาณ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดกุศลก็ได้

    ในพระไตรปิฎก จะยกเรื่องของทุกขกายวิญญาณและสุขกายวิญญาณ สำหรับอัพยากตธรรมเป็นปัจจัยให้เกิดอัพยากตธรรม หรือกุศลธรรมและอกุศลธรรม

    เพราะเหตุว่า กายเป็นสิ่งสำคัญซึ่งทุกท่านยึดถือ และปรารถนาที่จะให้มีสุข มิฉะนั้น แล้วการทุจริตต่างๆ ก็จะไม่มี ถ้าไม่มีความรักกายที่จะให้กายนี้มีสุข แต่เพราะเหตุว่า ต้องการความสุขกายในทุกประการ เมื่อไม่ได้ในทางสุจริต ก็มีปัจจัยที่จะให้ทำเกิดทุกจริตกรรมได้ เพราะเหตุว่า สุขกายวิญญาณเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย คือเป็นที่อาศัยที่มีกำลังที่จะทำให้เกิดทุจริตกรรมได้

    ยังมีข้อสงสัยอะไรอีกไหม

    สำหรับปกตูปนิสสยปัจจัย ถ้าจะนึกทบทวนว่า ปกตูปนิสสยปัจจัยคืออะไร ปกตูปนิสสยปัจจัยก็คือทุกอย่างที่เป็นที่อาศัยที่มีกำลังเป็นปกติ เป็นปัจจัยให้เกิดนามธรรม คือจิต เจตสิก


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 5
    24 ส.ค. 2565

    ซีดีแนะนำ