ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
คือจิต เจตสิกในชีวิตประจำวัน ทุกภพทุกชาติ แม้ในชาติก่อนๆ และในชาติปัจจุบัน และในชาติอนาคตต่อไปด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่า ชีวิตประจำวันของแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย แต่ที่ชีวิตของแต่ละคนจะต่างกันไปตามเหตุการณ์ แต่ละอย่างในแต่ละวันนั้น ไม่ว่าจะเป็นในครั้งอดีตเนิ่นนานมาแล้วก็ไม่เหมือนกัน ก็ต่างกันอย่างนี้ เช่นอดีตประวัติของพระเถระ พระเถรีอรหันต์ทั้งหลาย หรือแม้แต่อุบาสก อุบาสิกาที่มีชีวิตปรากฏในพระไตรปิฎก หรือนอกพระไตรปิฎก คือที่ไม่ได้แสดง ไม่ได้กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก แม้ในสมัยก่อนนั้นอีก คือในสมัยของชาดก เรื่องราวต่างๆ ในอดีต ในพระชาติต่างๆ ที่พระผู้มีพระภาคทางแสดง หรือแม้ในชาติปัจจุบัน ที่พระผู้มีพระภาพทรงตรัสรู้ หรือแม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านมาจนกระทั่งถึงในสมัยปัจจุบันนี้ เหตุการณ์ต่างๆ ก็ยังคงต่างกันไปตามปัจจัยของแต่ละคนที่สะสมมาแล้วเกิดขึ้นเป็นไปอย่างนั้น ในชีวิตประจำวัน
ขอให้คิดดูในวันหนึ่งๆ ก็ได้ ขณะที่อยู่ที่บ้าน บ้านก็มีหลายคนแน่ ไม่ใช่มีคนเดียว เพียงครอบครัวเดียว คือบ้านเดียว จะอยู่ใกล้กัน คืออยู่ในบ้านเดียวกันแท้ๆ จิตใจของแต่ละคนในขณะนั้นเหมือนกันหรือเปล่า ที่อยู่ก็ไม่เหมือนกัน บางคนขณะนั้น อาจจะอยู่ในครัว อีกคนหนึ่งกำลังอ่านหนังสือ อีกคนหนึ่งอาจจะทำสวน เพราะฉะนั้น แม้แต่ในสถานที่เดียวกันใกล้ชิดกัน เหตุการณ์ของแต่ละคนที่เกิดขึ้นในชีวิตก็ต่างกัน และจิตใจซึ่งกำลังคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ของแต่ละคน ก็ยิ่งต่างกันไป ตามความวิจิตรของทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีกำลัง ที่ทำให้นามธรรม คือจิตและเจตสิกเกิดขึ้น เป็นไปในขณะนั้น เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
เรียกว่าเป็นชีวิตปกติประจำวันธรรมดาจริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่แวดล้อม เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่มีกำลังตามปกติของสภาพธรรมนั้นๆ ที่จะทำให้นามธรรม คือจิตและเจตสิกเกิดขึ้นเป็นไปในแต่ละขณะ ไม่ว่าจะเป็นวิบากจิตจะเกิดขึ้นได้ เพาะเหตุว่า กรรมนั้นๆ มีกำลังจึงทำให้วิบากจิตประเภทนั้นๆ เกิดขึ้นทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย และเมื่อวิบากจิตเกิดขึ้น เห็นสิ่งต่างๆ หรือได้ยินสิ่งต่างๆ แล้ว แม้กุศลหรืออกุศล ไม่ว่าจะเป็นโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิตก็ตาม ที่เกิดขึ้น ก็เป็นเพราะปกตูปนิสสยปัจจัย โลภเจตสิกประเภทนั้นๆ โทสเจตสิกประเภทนั้นๆ หรือกุศลสัทธาประเภทนั้นๆ กุศลกรรมที่เป็นทานบ้าง เป็นศีลบ้าง ประเภทนั้นๆ เคยสะสมมาเป็นปกติ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเลย แต่เมื่อมีกำลัง ก็ทำให้กุศลธรรมหรืออกุศลธรรมนั้นๆ เกิดขึ้นเป็นไป
ถ้าท่านผู้ฟังจะพิจารณาชีวิตในวันหนึ่งๆ และได้เข้าใจเรื่องของปกตูปนิสสยปัจจัยแล้ว ก็จะเห็นความสำคัญของนามธรรม ซึ่งเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ เพราะแม้ว่ารูปจะสำคัญ โดยเป็นปัจจัยต่างๆ ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ถ้าไม่มีรูปเป็นปัจจัยแล้ว นามธรรมก็เกิดไม่ได้ แต่แม้ว่ารูปจะสำคัญโดยเป็นปัจจัยต่างๆ แต่ที่รูปจะสำคัญได้นั้น เพราะเหตุว่า มีนามธรรมที่รู้รูปนั้น ถ้าไม่มีนามธรรมเลย ถึงรูปจะเป็นอย่างไร ก็ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเดือดร้อน ถ้าในทะเลมีพายุ แต่ไม่มีใครอยู่กลางทะเล ไม่มีการรู้ความปั่นป่วนของพายุกลางทะเล ก็ไม่ต้องมีทุกข์อะไร หรือแม้แต่ร่างกายของทุกท่าน ต้องมีการบริโภคอาหาร เพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ แต่ว่าความสำคัญอยู่ในขณะไหน ในขณะที่สุขหรือทุกข์ปรากฏทางกาย ลองพิจารณาดู ถ้าไม่หิว และชีวิตสามารถจะดำรงอยู่ได้ เป็นไปได้โดยไม่ต้องรับประทานอาหาร อาหารซึ่งเป็นรูป จะมีความจำเป็นอะไรไหม ถ้าไม่หิว และถ้าร่างกายสามารถจะดำรงอยู่ได้ โดยไม่ต้องรับประทานอาหาร อาหารก็ไม่มีความสำคัญอะไร เลย แต่ที่อาหารสำคัญก็เพราะเหตุว่า อาหารประกอบด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คือมหาภูตรูป ๔ และประกอบด้วย สี กลิ่น รส โอชะ โอชะเป็นอาหารูป คือเป็นรูป ซึ่งจะทำให้รูปอื่นเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ความสำคัญของอาหารซึ่งรับประทาน หรือบริโภคประจำวันนี้ เฉพาะโอชารูปเท่านั้น ซึ่งเป็นอาหารรูป แต่ว่าอย่างอื่น สี กลิ่น รส ก็เป็นรูป ซึ่งปรากฏทางตา ทางจมูก ทางลิ้น และแม้ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็เป็นส่วนสำคัญที่บำบัดความหิว เมื่อกำลังบริโภคอยู่ก็เป็นอาหารใหม่ เมื่อย่อยหมดแล้ว ก็เป็นอาหารเก่า แต่แสดงให้เห็นว่า ไม่สามารถที่จะบริโภคเพียงรูป ซึ่งเป็นอาหาร คือโอชะ แต่ต้องบริโภคทั้งหมด คือทั้งธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม สิ กลิ่น รส ซึ่งโอชะรวมอยู่ด้วยในที่นั้น
ขณะที่บริโภคอาหาร รสกระทบลิ้น มีการลิ้มรส ขณะนั้นเป็นจิต ซึ่งลิ้มรส ทางทวารหนึ่ง คือทางชิวหาทวาร และเมื่อบริโภคอื่นแล้ว ความหิวหายไป ก็ต้องหยุดที่จะบริโภค บริโภคต่อไปไม่ได้ และในขณะต่อไป ใครจะสนใจ หรือไม่สนใจว่า รูปจะย่อยไป จะเป็นประโยชน์แก่ร่างกายอย่างไรบ้าง ก็หมดเรื่องที่จะต้องเดือดร้อน เพราะเหตุว่า ความเดือดร้อนมีอยู่ในขณะที่กายเป็นทุกข์ เพราะความหิว
แต่เมื่อบริโภคอาหารแล้ว ความหิวหมดไปแล้ว มีใครติดตามไปคิดถึงความสำคัญของรูปบ้างไหม ในวันหนึ่งๆ หรือว่าเมื่ออื่นแล้ว ก็ไม่ต้องคิดถึง ไม่ว่าจะเป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรือว่าเป็นอาหาร หรือว่ากำลังเป็นอาหารใหม่ ซึ่งกำลังย่อย หรือว่าเป็นอาหารเก่า
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า ความสำคัญของรูปที่มีได้ เพราะเหตุว่า รูปเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสุข หรือทุกข์ทางกาย ถ้าไม่มีนามธรรม ซึ่งรู้อารมณ์ หรือรู้รูป จะไม่เดือดร้อน ใครจะผ่าตัดหัวใจออก แต่ไม่รู้สึก จะเดือดร้อนไหม หัวใจซึ่งคิดว่าสำคัญมาก แต่เพียงนามธรรมไม่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ หรือไม่รู้ลักษณะของรูป ไม่เดือดร้อน เพราะกาย ก็ไม่เดือดร้อนอะไร ใครจะผ่าตัดหัวใจออกำปอย่างไร ก็ไม่เป็นอะไรทั้งสิ้น ถ้าขณะนั้นนามธรรมไม่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่เป็นสุขเป็นทุกข์ทางกาย
เพราะฉะนั้น การศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ วิชาการต่างๆ ซึ่งทุกท่านคิดว่ามีความสำคัญมาก เป็นปัจจัยซึ่งสำคัญปัจจัยหนึ่ง ก็ควรที่จะได้รู้ความจริงว่า เป็นเพียงการรู้เรื่องรู้อรรถบัญญัติ ของรูปต่างๆ แต่ไม่ใช่การรู้ลักษณะของรูปที่ปรากฏจริงๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพาะฉะนั้น ก็ไม่สามารถที่จะทำให้รู้ลักษณะของรูธรรมและนามธรรม ตามความเป็นจริงได้ ในขณะทีเพียงรู้อรรถบัญญัติ คือรู้เรื่องรูป วิชาการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือวิทยาศาสตร์สาขาใดๆ ก็เป็นเพียงการรู้อรรถบัญญัติของรูป แต่ไม่ใช่การรู้ลักษณะของรูปตามความเป็นจริง
ในพระไตรปิฎก ก็มีเรื่องปอด หัวใจ ตับ ม้าม เลือด แต่ว่าลักษณะที่แท้จริง คือรูปที่ปรากฏ แต่ละทาง รูปที่ปรากฏทางตา ก็เป็นสิ่งที่สามารถจะปรากฏเป็นสีสรรวัณณะต่างๆ ได้ รูปที่ปรกกฎทางหู ก็เป็นเสียงต่างๆ รูปที่ปรากฏทางจมูก ก็เป็นกลิ่น รูปที่ปรากฏทางลิ้น ก็เป็นรส รูปที่ปรากฏทางกาย ก็เป็นเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว
เพราะฉะนั้น ใครรู้การเต้นของหัวใจ ถ้าขณะนั้นนึกถึงเรื่องการสูบฉีดโลหิตของหัวใจ หรือว่าการเต้นของชีพจร ในขณะนั้น ก็เป็นผู้ที่รู้เรื่องอรรถบัญญัติของรูป แต่ว่าขณะใด ที่ผู้ใดรู้ลักษณะที่เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ของรูปที่ปรากฏที่กาย ในขณะนั้น คือผู้นั้น เป็นผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ที่จะรู้ว่า สภาพลักษณะที่แท้จริงของรูปที่ปรากฏที่กาย ก็มีเพียงลักษณะที่เย็น หรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ซึ่งอรรถบัญญัติก็อาจจะเป็นส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ เป็นสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นอาหาร หรือวัตถุสิ่งต่างๆ ได้ แต่ว่าลักษณะของรูปทุกรูป ที่ปรากฏที่กาย ก็คือ เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า รูปทั้งหมด เวลาที่เป็นปกตูปนิสสยัปจจัยแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องของร่างกาย ว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้รูปนั้นเป็นปัจจัยให้นามธรรมเกิดเป็นสุข หรือเป็นทุกข์ทางกาย ซึ่งทุกท่านก็จะเห็นได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญจริงๆ แต่ถ้าเป็นอรรถบัญญัติแล้ว ก็คิดถึงอาหารต่างๆ บุคคลต่างๆ หรือเสนาสนะต่างๆ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
มีข้อสงสัยอะไรบ้างไหม ในเรื่องนี้ สำหรับข้อสำคัญที่ควรเข้าใจของกตูปนิสสยปัจจัย ประการที่ ๑ ทุกอย่าง คือ จิต เจตสิก รูป แม้บัญญัติ คืออรรถบัญญัติเป็นต้น เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แต่นาธรรม คือจิตและเจตสิกเท่านั้น ไม่เป็นปัจจัยแก่รูป
และการเป็นปัจจัยนี้ ท่านผู้ฟังคิดถึงปัจจุบันชาติว่า ไม่ว่าจะเป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรมก็ตาม ที่เกิดขึ้น เป็นโลภมูลจิต โทสมูลจิต ประเภทต่างๆ นั้น ก็เพราะปกตูปนิสสยปัจจัย ไดแก่ จิต เจตสิกที่เคยเกิดแล้วในอดีต เป็นปัจจัยให้จิตและเจตสิกประเภทนั้นๆ เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่อย่างลืมว่า จิตและเจตสิก ซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปในปัจจุบัน คือในชาตินี้ ก็ไม่ได้สูญหายไปไหน ก็ยังคงสะสมสืบต่อเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย คือจะเป็นปัจจัยที่มีกำลังเป็นปกติ ที่จะทำให้จิตและเจตสิกประเภทนั้นๆ เกิดขึ้นอีกในอนาคตนั่นเอง
เพราะฉะนั้น ชาตินี้ ส่วนใหญ่ อุปนิสสยที่มีกำลังเป็นอย่างไร ก็จะสืบต่อติดตามสะสมไป เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ที่จะทำให้เกิดสภาพธรรมที่มีกำลัง เป็นปกติที่จะเกิดต่อไปในอนาคต อย่างนั้นๆ ซึ่งท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า แม้ในปัจจุบันชาตินี้เอง ท่านผู้ฟังสะสมอุปนิสสัยใหม่ๆ บ้างไหม ชีวิตส่วนตัว ประจำวันของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนย่อมทราบ แต่ก่อนนี้เคยเป็นอย่างไร แต่ในภายหลัง หรือว่าในวัยหลับ ก็เริ่มสั่งสมอุปนิสัยปัจจัยใหม่ได้ การศึกษาทั้งหมดตั้งแต่เด็กจนโต จะเห็นได้ว่า เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ที่จะทำให้จิตและเจตสิกหลังๆ เกิดขึ้น ท่านผู้ฟังศึกษาวิชาการเรื่องอะไร ความคิดของท่านในขณะนั้น ก็จะเกิดขึ้น น้อมไปสู่เรื่องนั้นๆ ที่เคยศึกษา ไม่ว่าท่านจะศึกษาวิชาการทหาร การแพทย์ การค้าธุรกิจต่างๆ แต่ละคน ก็มีอุปนิสสยปัจจัย คือปกตูปนิสสยปัจจัยที่ได้เคยเกิดแล้ว ที่ได้เคยศึกษาแล้วนั่นเอง เป็นปัจจัยทำให้ในขณะนี้เกิด คิดในเรื่องนั้นๆ ขึ้น หรือในทางธรรม ท่านที่ไม่เคยสวดมนต์เลย ก็เริ่มท่อง เริ่มสวด จนในที่สุดก็คล่อง หรือชำนาญ นั่นก็เป็นเพราะปกตูปนิยยปัจจัย อาศัยการสะสมในปัจจุบันชาตินี่เอง ทีละเล็ก ทีละน้อย จนในที่สุด ก็เป็นความชำนาญ เป็นปัจจัยที่มีกำลังเป็นปกติ กระทำให้จิตและเจตสิกเกิดขึ้นได้
มีข้อสงสัยอะไรไหมในเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ยาก ปกตูปนิสสยปัจจัย เพราะเหตุว่า เป็นชีวิตประจำวัน สำหรับข้อสำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรเข้าใจของปกตูปนิสสยปัจจัย คือ
ประการที่ ๒ คือ ความต่างกันของเหตุปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัย
สำหรับเหตุปัจจัย ต้องเป็นสหชาตปัจจัย คือปัจจัย และปัจจยุปบันน ต้องเกิดร่วมกันพร้อมกัน
เพราะฉะนั้น ในขณะที่จิตเกิดขึ้น ขณะนี้ประกอบด้วยเหตุอะไร ประกอบด้วย อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ เป็นมหากุศลที่ประกอบด้วยปัญญา
หรือว่าเป็นอกุศลประเภทโลภมูลจิต ไม่มีทางจะรู้ได้เลย รู้แต่ชื่อเท่านั้น ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด จะไม่รู้จักตัวจริง คือสภาพธรรมซึ่งมีลักษณะนั้นๆ ว่าสภาพธรรมที่เป็นโลภะมีลักษณะอย่างหนึ่ง สภาพธรรมที่เป็นอโลภะ ตรงกันข้ามกัน มีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง หรือสภาพที่เป็นโทสะมีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง สภาพธรรมที่เป็นอโทสะที่ตรงกันข้ามกัน มีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้น สำหรับจิตซึ่งเป็นโลภะบ้าง หรือโทสะบ้าง เป็นโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต หรือมกหากุศลจิตก็ตาม ก็เพราะเหตุ คือเจตสิกนั้นๆ ที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย เช่น เมื่อจิตประกอบด้วยโลภะ เจตสิกคือโลภะเป็นเหตุปัจจัย เกิดพร้อมกับจิตใด จิตนั้นจะเป็นสภาพธรรมอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นไปตามกำลังของโลภะ คือเป็นสภาพธรรมที่พอใจ และติดในอารมณ์นั้น และเหตุปัจจัย คือโลภเจตสิกนั้น ต้องดับพร้อมกับจิตนั้น
แต่สำหรับปกตูปนิสสยปัจจัย ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเหตุว่า ปกตูปนิสสยปัจจัยจะไม่เกิดร่วมกับปัจจยุปบันน ไม่ใช่สหชาตปัจจัย ซึ่งถ้าไม่กล่าวถึงตัวอย่าง ก็อาจจะมองไม่เห็นชัด แต่ลองคิดดูตามธรรมดาว่า ทุกท่านเห็นสิ่งเดียว แต่เพราะอะไร คนหนึ่งจึงเกิดโลภมูลจิต อีกคนหนึ่งเกิดโทสมูลจิต ต่างกันได้ จิตนั้นประกอยด้วยเห-ตุปัจจัย คนหนึ่งประกอบด้วยโลภเจตสิกเป็นโลภมูลจิต ส่วนอีกคนหนึ่งประกอบด้วยโทสเจตสิก เป็นโทสมูลจิต แม้ว่าจะเห็นสิ่งเดียวกัน เพราะอะไร เพราะปกตูปนิสสยปัจจัย คือการสั่งสมของคนที่เกิดโลภมูลจิต เคยชอบ เคยพอใจ เคยยินดีในอารมณ์นั้น แต่อีกคนหนึ่ง ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไม่ติดในอารมณ์นั้น
บางคนชอบร้อน บางคนชอบหนาว อยู่ในห้องเดียวกัน ก็ลำบากแล้วใช่ไหม คนหนึ่งก็จะเปิดหน้าต่าง อีกคนหนึ่งก็จะปิดหน้าต่าง เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยทั้งสิ้น แต่สภาพของจิตในขณะนั้น สติสัมปชัญญะที่ระลึก จะรู้ว่าเป็นโลภมูลจิตหรือเป็นโทสมูลจิต แต่ที่จิตในขณะนั้นจะเป็นโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต เพราะปกตูปนิสสยปัจจัย แต่ตัวจิต ซึ่งเป็นโลภมูลจิตประกอบด้วยเห-ตุปัจจัย คือถ้าประกอบด้วยโลภะ เป็นเหตุ ก็เป็นโลภมูลจิต ถ้าประกอบด้วยโทสะ เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย ก็เป็นโทสมูลจิต แต่ที่จิตในขณะนั้น จะเป็นโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต นั้น เพราะปกตูปนิสสยปัจจัย แต่ตัวจิตซึ่งเป็นโลภมูลจิต ประกอบด้วยเห-ตุปัจจัย คือถ้าประกอบด้วยโลภะเป็นเหตุ ก็เป็นโลภมูลจิต แต่ที่จิตจะเป็นโลภมูลจิตหรือโทสมูลจิตนั้น แล้วแต่ปกตูปนิสสยปัจจัย
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นความต่างกันของเหตุปัจจัยและปกตูปนิสสยปัจจัยว่า
สำหรับเห-ตุปัจจัยนั้น ต้องเป็นสหชาตปัจจัย คือปัจจัยและปัจจยุปบันนเกิดร่วมกันและดับพร้อมกัน
ส่วนปกตูปนิสสยปัจจัยเป็นปัจจัยที่สะสมปรุงแต่ง จนมีกำลังให้เหตุปัจจัยนันๆ เกิดกับจิตในขณะนั้นๆ แม้แต่การตื่นนอน สังเกตได้หรือเปล่า ว่า เพราะปกตูปนิสสยปัจจัย ท่านที่ตื่นเป็นเวลาเสมอๆ บางท่านอาจจะตื่นตี ๕ หรือบางท่านอาจจะตื่น ๖ โมงเช้า เป็นประจำ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่ปกตูปนิสสยปัจจัย การที่เคยตื่นบ่อยขึ้นๆ จนกระทั่งมีกำลังเป็นปกติ ก็สามารถที่จะทำให้ตื่นขึ้นตามเวลา เพราะเหตุว่า การเกิดขึ้นบ่อยๆ นั้นเอง เป็นปัจจัยที่มีกำลัง
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ควรเข้าใจ ของปกตูปนิสสยัจจัย คือ โลกุตตรธรรมไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่อกุศล ปกตูปนิสสยัจจัย เป็นปัจจัยที่กว้างขวางมาก ดังที่ได้กล่าวถึงแล้วว่า กุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยเกิดกุศลก็ได้ กุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอกุศลก็ได้ กุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอัพยากตธรรมก็ได้
สำหรับกุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอกุศล ต้องหมายถึงเฉพาะโลกียกุศลเท่านั้น โลกุตตรธรรม โลกุตตรกุศล หรือโลกุตตรวิบาก ไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิดอกุศลธรรมเลย
แต่ว่าโลกุตตรธรราเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่กุศลทั้งหมด การอบรมเจริญกุศลทุกประการ เพื่อที่จะให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม คือมัคคจิตเกิดขึ้น ดับกิเลส เป็นนสมุจเฉท ตามลำดับขั้นของมัคคจิต จะเห็นได้ ว่า ต้องอาศัยการอบรม การเจริญภาวนา สั่งสมกุศลทั้งหลาย ระลึกรู้ลักษณะของสาภาพธรรมตามปกติ ตามความเป็นจริง จนกระทั่งโสตาปัตติมัคคจิตเกิด ไม่ใช่เป็นเวลาน้อยๆ เลย แล้วเมื่อโสตาปัตติมัคคจิต ซึ่งสมามารถดับกิเลสได้ เกิดขึ้นดับไปแล้ว โสตาปัตติผลจิตเกิด โลกุตตรธรรมคือโสตาปัตติมัคคจิต ก็ดี โสตาปัตติผลจิตก็ดี ไม่เป็นปัจจัยให้อกุศลจิตเกิดเลย แต่จะเป็นปัจจัยให้กุศลทั้งหลายเกิดได้ ไม่ว่าจะเป็นทาน หือว่าศีล หรือเป็นความสงบของจิต หรือเป็นกุศลขั้นต่อๆ ไป
เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะได้ทราบว่า ในข้อที่ว่า กุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ อกุศลนั้น หมายเฉพาะโลกียกุศลเท่านั้น ไม่หมายถึงโลกุตตรกุศล
ข้อความในอรรถกถาปัญจปกรณ์ ปัฏฐานปกรณ์ วรรณนา แห่งปัญหาวาระวิภังค์ มีข้อความว่า
ส่วนโลกุตตรกุศล เป็นธรรมระงับ ประณีต สูงสุด กำจัดอกุศลได้เด็ดขาด ฉะนั้น จึงไม่เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อกุศล เหมือนพระจันทร์ ไม่เป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งความมืด
ก็เป็นตัวอย่างซึ่งเห็นได้ชัด สำหรับโลกุตตรธรรม ไม่เป็นปัจจัยแก่อกุศล แต่โลกียธรมยังเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยของอกุศลได้
สำหรับปกตูปนิสสยปัจจัย ยังมีข้อสงสัยอะไรบ้างไหม
ธงชัย. โลกียกุศลเปป็นปัจจัยแก่อกุศลจิตอย่างไรครับ ขอให้ยกตัวอย่าง
อ.จ. ทำกุศลแล้วเกิดโลภะ ความปรารถนาในผลของกุศลก็ได้ เช่นบางท่านปรารถนาผลที่เป็นมนุษย์สมบัติ หรือสวรรค์สมบัติ เป็นเหตุให้เกิดความยินดี พอใจในผลของกุศลได้ หรือบางคนทำกุศลแล้ว เกิดความสำคัญตน มีมานะว่าได้กระทำกุศลที่ประณีต หรือที่คนอื่นไม่สามารถกระทำได้
ปกตูปนิสสยปัจจัย ยังมีข้อสงสัยอีกไหม เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ถ้าสงสัยว่าทำไมจึงเกิดอกุศลอย่างนี้ๆ ๆ ซึ่งไม่น่าจะเกิดเลย ถ้าเข้าใจเรื่องของปกตูปนิสสยปัจจัยแล้ว จะหมดสงสัย เป็นธรรมดาเสียแล้ว เป็นปกติที่จะต้องเกิด เพราะเหตุว่า เคยกระทำอกุศลนั้นๆ จนกระทั่งมีกำลัง เป็นปัจจัยที่จะทำให้อกุศลประเภทนั้นๆ เกิด อีกได้
ธงชัย ขอให้อาจารย์ยกตัวอย่าง อัพยากตเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่กุศล และอัพยากตเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ อกุศล
อ.จ. รูปไม่ใช่จิตและเจตสิก รูปไม่ใช่กุศลหรืออกุศล เพราะฉะนั้น รูปก็เป็นปัจจัยให้เกุศลจิตหรืออกุศลจิตเกิดได้
ธงชัย ถ้าจิตที่ไม่เป็นกุศลและอกุศลล่ะครับ
อ.จ. วิบากจิต ก็เหมือนกัน อย่างเช่นความสุขทางกาย เวลาสุขทางกายเกิดขึ้น ก็ติดพอใจที่จะให้สุขทางกายนั้นๆ เกิดอีก เวลาทุกข์ทางกายเกิด ก็ไม่ปรารถนาให้ทุกข์ทางกายนั้นเกิดอีก มีการที่จะเยียวยารักษาโดยวิธีต่างๆ ท่านที่ชอบพัดลม ท่านจะเปิดพัดลมไหม เวลาเปิดพัดลมแล้วเย็นดี เป็นปัจจัยให้สุขเวทนาทางกายเกิดเย็นดีอีกไหม
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50