ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
เป็นปุเรชาตปัจจัยแก่โสตวิญญาณจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย
ฆานายตนะ ได้แก่ฆานปสาทรูป เป็นฆานวัตถุ เป็นปุเรชาตปัจจัย แก่ฆานวิญญาณจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย
ชิวหายตนะ ได้แก่ชิวหาปสาทรูป เป็นชิวหาวัตถุเป็นปุเรชาตปัจจัย แก่ชิวหาวิญญาณจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย
กายายตนะ ได้แก่กายปสาทรูป เป็นกายวัตถุ เป็นปุเรชาตปัจจัย แก่กายวิญญาณจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย
รูปายตนะ ได้แก่รูปารมณ์ เป็นปุเรชาตปัจจัย แก่วิถีจิตทางจักขุทวาร คือจักขุทวารวิถีจิต
สัททายตนะ ได้แก่สัททารมณ์เป็นปุเรชาตปัจจัยแก่วิถีจิตทางโสตทวาร
ฆานายตนะ ได้แก่คันธารมณ์เป็นปุเรชาตปัจจัยแก่วิถีจิตทางฆานทวาร
รสายตนะ ได้แก่รสารมณ์เป็นปุเรชาตปัจจัยแก่วิถีจิตทางชิวหาทวาร
โผฏฐัพพายตนะได้แก่โผฏฐัพพารมณ์ เป็นปุเรชาตปัจจัยแก่วิถีจิตทางกายทวาร
และหทยวัตถุ เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย ในปวัตติกาล คือหลังจากปฏิสนธิ
ถ้าจะกล่าวโดยย่อ ก็ย่อ สำหรับปัจจัยแต่ละปัจจัย
สำหรับความหมายของฐีติขณะ คือสภาพธรรม ซึ่งเกิดและตั้งอยู่ยังไม่ดับไป ข้อความใน อภิธัมมัตถวิถาวินี ปริจเฉทที่ ๘ อธิบายว่า
ความเกิดขึ้น ชื่อว่า “อุปาทะ” ได้แก่ การกลับได้ตัวตน
ความสลาย ชื่อว่า “ภังคะ” ได้แก่ ความพินาศแห่งรูปที่มีอยู่
ความเป็นไป บ่ายหน้าสู่ความสลาย ในระหว่างความเกิด และความสลายทั้งสอง ชื่อว่า “ฐีติ”
นี่คือความหมายของ อุปาทะ ฐีติ ภังคะ
ความเกิดขึ้น ชื่อว่า “อุปาทะ” ได้แก่การกลับได้ตัวตน “ไม่มีแล้วก็มี” อย่างธาตุแข็ง หรือเสียง เกิดมีขึ้น เป็นตัวตนขึ้น คือเป็นสภาพของเสียง นั่นคือ “อุปาทะ” การเกิดขึ้น หรือขณะที่เกิด
สำหรับ ความสลาย ชื่อว่า “ภังคะ” ได้แก่ความพินาศของรูปที่มีอยู่ รูปใดก็ตาม ซึ่งเกิดแล้ว ความสลายไปของรูปนั้น คือ “ภังคะ”
สำหรับ “ฐีติ” คือความเป็นไป บ่ายหน้าสู่ความสลาย ในระหว่างความเกิด และความสลายทั้งสอง ชื่อว่า “ฐีติ”
มีข้อสงสัยอะไรบ้างไหม สำหรับ “ปุเรชาตปปัจจัย” รูปธรรมเป็นปัจจัยแก่นามธรรม นามธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยแก่รูปธรรมได้ไหม ได้ โดยปัจจัยอะไร ปัจฉา แปลว่า หลัง
เพราะฉะนั้น จิตสั่งจะไม่มีเลย โดยประการใดๆ ทั้งปวง เพราะเหตุว่า รูปซึ่งเกิดเพราะกรรม มีกรรมเป็นสมุฏฐาน แม้ว่าจะกำลังนอนหลับอยู่ เวลาที่จิตเกิดขึ้นขณะหนึ่ง กรรมเป็นสมุฏฐานให้กัมมชรูปเกิดขึ้นในอุปาทขณะ ในฐีติขณะ ในภังคขณะ ทุกๆ ขณะไป ไม่มีใครยับยั้งได้เลย จิตตชรูปเกิดขึ้นพร้อมอุปาทขณะของจิต ทันทีที่จิตเกิด รูปที่เกิดเพราะจิตก็เกิด
อุตุชรูป เวลาที่ปฏิสนธิจิตเกิด ขณะอุปาทขณะ รูปนั้นจะไม่เป็นปัจจัยให้เกิดรูปใดๆ ทั้งสิ้น แต่ในฐีติขณะ ขณะนั้นอุตุชรูปเกิด คือรูปที่เกิดเพราะอุตุ จะเกิดในทุกฐีติขณะ
อาหารชรูป ก็เกิดตามควร ขณะที่โอชะแผ่ซ่านไป ตั้งแต่เริ่มอยู่ในครรภ์ของมารดา เพราะฉะนั้น จะมีความคิด หรือความเข้าใจได้ไหม ว่าจิตสิ่ง ถ้าตรวจสอบตามปัจจัยทั้งหมด จะได้แก่ปัจจัยอะไร นี่เป็นเหตุที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยละเอียดทุกประการ แม้กาลของการเป็นปัจจัย ว่าถ้ารูปเป็นปัจจัยแก่นามธรรมแล้ว ต้องเป็นโดยปุเรชาตปัจจัย คือรูปนั้นต้องเกิดก่อนแล้วยังไม่ดับ เมื่อรูปนั้นยังตั้งอยู่ เป็นฐีติขณะเท่านั้น ที่สามารถเป็นปัจจัยให้นามธรรมเกิดได้
มีข้อสงสัยในปุเรชาตปัจจัยไหม
ถ้าพิจารณาแล้ว จะทำให้เข้าใจสภาพธรรมโดยละเอียดว่า ธรรมที่เป็นปุเรชาตปัจจัย ได้แก่รูปธรรมเท่านั้น เป็นปัจจัยให้นามธรรมเกิดขึ้น โดยที่รูปนั้นต้องเกิดก่อนนามธรรม และรูปนั้นยังไม่ดับไป จึงจะเป็นปัจจัยให้นามธรรมเกิดได้
เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า รูปที่กายของแต่ละบุคคลมีมากมายหลายกลุ่ม หลายกลาปะ หรือในภาษไทยใช้คำว่า หลายกลาป รูปเกิดขึ้นเพราะจิตเป็นสมุฏฐานก็มี แต่ว่ารูปนั้นต้องเกิดพร้อมกับจิต รูปที่เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐานก็มี รูปที่เกิดเพราะอุตุ ความเย็น ความร้อนเป็นสมุฏฐานก็มี รูปที่เกิดเพราะอาหารเป็นสมุฏฐานก็มี รูปที่จะเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นนั้น ต้องเป็นรูปซึ่งเกิดก่อนจิตนั้น และยังไม่ดับไป
เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่า ขณะนี้ ซึ่งทุกท่านกำลังนั่งอยู่นี้ รูปทุกกลุ่ม หรือทุกกลาป จะเป็นปุเรชาตปัจจัย ให้จิตเกิดขึ้น ถูกไหม
หทยรูป เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิจิตได้ไหม ได้
หทยรูป เป็นปุเรชาตปัจจัยแก่ปฏิสนธิจิตได้ไหม นี่คือคำถามที่เป็นคู่ เพื่อที่จะให้เข้าใจโดยไม่ลืม คือ
คำถามที่ ๑ ถามโดยกว้างทั่วไปว่า หทยรูปเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิจิตได้ไหม ได้
คำถามที่ ๒ หทยรูปเป็นปุเรชาตปัจจัยแก่ปฏิสนธิจิตได้ไหม เจาะจงเลยว่าปฏิสนธิจิต แล้วเจาะจงด้วยว่าเป็นปุเรชาตปัจจัย
ในคำถามที่ ๒ ว่า หทยรูปเป็นปุเรชาตปัจจัยแก่ปฏิสนธิจิตได้ไหม ไม่ได้ เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่า หทยรูปในขณะปฏิสนธิ เกิดพร้อมปฏิสนธิจิตในอุปาทขณะเท่านั้น ที่เป็นข้อยกเว้นว่ามีขณะเดียว ที่รูปเป็นปัจจัยให้อุปาทขณะได้ ไม่ต้องเป็นปัจจัยในฐีติขณะ คือไม่เป็นปุเรชาตปัจจัย เฉพาะในขณะปฏิสนธิเท่านั้น
ถามต่อไป
ถาม หทยวัตถุที่เกิดหลังปฏิสนธิจิต เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัยหรือเปล่า
ตอบ ตอบง่ายๆ ตามเหตุผล คือ เป็น
ถามอีกข้อหนึ่ง ในอรูปภูมิ มีวัตถุปุเรชาตปัจจัยไหม
อ.จ. อรูปๆ อรูปภูมิ มีความหมายว่าอะไร อรูปภูมิเป็นภูมิที่มีแต่นามขันธ์ ๔ ไม่มีรูปใดๆ เลยสักรูปเดียว แต่ปุเรชาตปัจจัย คือรูปธรรมซึ่งเกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่นามธรรม
เพราะฉะนั้น ในอรูปภูมิ มีวัตถุปุเรชาตปัจจัยไหม
ตอบ ไม่มี
พอเข้าใจเรื่องของขันธ์ ๕ ต้องเข้าใจตลอดไปจนถึงภูมิซึ่งมีขันธ์ ๔ อรูปภูมิด้วย เพราะเหตุว่า ในภูมินั้น นามธรรมเกิดขึ้น โดยไม่อาศัยรูปใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่ปฏิสนธิจิต ในขณะที่เกิดในอรูปภูมิ อรูปฌานกุศล เป็นปัจจัยให้อรูปวิบากจิตและเจตสิกปฏิสนธิในอรูปภูมิ โดยไม่ต้องอาศัยรูป มิฉะนั้น ก็จะต้องเป็นขันธ์ ๕ อีกแล้ว แต่ว่าในภูมินั้น มีแต่ขันธ์ ๔ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะกล่าวถึงรูปเป็นปัจจัยใดๆ ก็ตาม แม้ปุเรชาตปัจจัย หรือวัตถุปุเรชาตปัจจัย ในอรูปภูมิก็ไม่มี เพราะเหตุว่า ไม่ต้องอาศัยรูปเป็นปัจจัย
มีข้อสงสัยอะไร ในเรื่องปุเรชาตปัจจัยอีกไหม
รูปต้องเกิดก่อน อย่าลืม จึงจะเป็นปัจจัยแก่นามธรรม ไม่ใช่นามธรรมสั่งรูปให้เกิดขึ้น แต่ที่รูปเป็นปัจจัย จะเป็นปัจจัยโดยการเกิดก่อน นอกจากในขณะปฏิสนธิเท่านั้น และรูปแต่ละรูปก็เกิดเพราะสมุฏฐานของตนๆ ตามสมุฏฐานนั้นๆ ถ้ารูปใดไม่ปรากฏลักษณะของรูปนั้น แม้มีก็เหมือนไม่มี เพราะเหตุว่า ดับไปอย่างรวดเร็วที่สุด จึงไม่ควรที่จะยึดถือรูปว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล หรือยังคิดว่า ยังมีรูปส่วนนั้น ส่วนนี้ อยู่ตรงนั้นตรงนี้
มีจริงเมื่อไหร่ ชั่วขณะที่เกิด แล้วลองคิดดูว่า การมีจริง ชั่วขณะที่เกิดนี้ สั้นและเล็กน้อยแค่ไหน เพียงแค่ ๑๗ ขณะของจิต ถ้าจะคิดถึงกายปสาทรูป ส่วนที่ไม่กระทบสัมผัส ไม่ปรากฏ กายปสาทรูปนั้นก็เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย แน่นอนว่าต้องเกิดแล้ว แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น เมื่อสติไม่ได้ระลึกรู้ รูปนั้นเกิดนิดหนึ่ง เป็นของจริง ชั่วขณะที่สั้นมาก แล้วก็ดับ เมื่อดับแล้ว ก็ไม่มีที่จะมารู้ความจริงว่าเป็นรูปอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงมีก็เสมือนไม่มี ทุกรูปที่ไม่ปรากฏ
การรู้อย่างนี้ จะทำให้ค่อยๆ คลายการยึดถือรูปที่เคยยึดถือว่าเป็นร่างกายของเราได้ เพราะเหตุว่า ตามความเป็นจริงแล้ว เกิด – ดับเร็วที่สุด ไม่ปรากฏ ก็คือหมดแล้ว ไม่ปรากฏ ก็คือ มีจริงชั่วขณะที่เกิดเล็กน้อย แล้วก็ไม่ปรากฏเลย แล้วก็ดับไป มีจริงชั่วขณะเล็กน้อยที่เกิด แล้วไม่ปรากฏ แล้วดับ ใครจะไปรู้ได้ จะมีค่าอะไร จะมีความหมายอะไร หรือว่า จะมีความสำคัญอะไร ในเมื่อดับไปเสียแล้ว
สำหรับปุเรชาตปัจจัย มีข้อสงสัยอะไรอีกไหม
สำหรับปัจจัยที่คู่กับ “ปุเรชาตปัจจัย” คือ “ปัจฉาชาตปัจจัย”
ปัจฉา หมายความถึง หลัง หรือภายหลัง
ชาต แปลว่า เกิด
เพราะฉะนั้น ปัจฉาชาตปัจจัย คือสภาพธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยโดยเกิดภายหลัง สภาพธรรมที่เป็นปัจจยุปบันน ซึ่งได้แก่นามธรรม คือจิตและเจตสิกที่เกิดหลังๆ แม้จะเกิดหลังรูปซึ่งเกิดก่อน แต่ว่าจิตซึ่งเกิดหลังๆ ก็เป็นปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยแก่รูปนั้น โดยการอุปถัมภ์รูปนั้น แต่ว่าโดยการเกิดภายหลังรูปนั้น เพราะเหตุว่า ปัจจัยมี ๒ อย่าง คือปัจจัยที่ทำให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้น สภาพธรรมที่เกิดเพราะปัจจัยนั้นชื่อว่า “ปัจจยุปบันน”
เพราะฉะนั้น ปัจจัย ทำให้ ปัจจยุปบันน เกิดขึ้น อย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่ง คือ ปัจจัยไม่ได้ทำให้ปัจจุยปบันนเกิด แต่ “อุปถัมภ์” ปัจจยุปบันน
เพราะฉะนั้น รูปที่ร่างกาย ซึ่งเกิดก่อน แล้วจิตดวงหลังๆ ซึ่งเกิด ทุกดวงเป็นปัจจัย โดยอุปถัมภ์รูปนั้น โดยที่รูปนั้นเกิดก่อนจิต เพราะฉะนั้น จึงเป็นปัจจัยแก่รูปที่เกิดก่อน โดยเป็นปัจฉาชาตปัจจัย
นี่คือชีวิตประจำวัน ในวันหนึ่งๆ รูปกับนาม ที่ร่างกายนี้ ไม่ได้แยกกัน รูปใดมีสมุฏฐานใดเป็นปัจจัยทำให้เกิดขึ้น ก็เกิด แต่เพราะเหตุว่า มีจิตเกิดที่ร่างกายนั้นด้วย สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดภายหลัง แม้ว่าจะเกิดภายหลังรูป ก็อุปถัมภ์รูปนั้น ให้เป็นรูปที่ทรงอยู่ ตั้งอยู่ มีชีวิตอยู่ โดยเกิดภายหลังรูปนั้น คือเป็นปัจฉาชาตปัจจัย
มีข้อสงสัยสำหรับปัจฉาชาตปัจจัยไหม ถ้าโดยละเอียดก็จะทราบได้ว่า จิตที่ไม่เป็นปัจฉาชาตปัจจัยนั้น ได้แก่ปฏิสนธิจิตทุกดวง และอรูปวิบาก ซึ่งทำกิจปฏิสนธิในอรูปภูมิ ๔ ดวง
ปฏิสนธิจิตเกิดพร้อมกับ รูปในขณะที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตในขณะนั้น ไม่ได้เกิดภายหลังรูป จึงไม่เป็นปัจฉาชาตปัจจัย แต่รูปซึ่งเกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต แล้งยังไม่ดับ จิตต่อๆ มาซึ่งเกิด ทุกดวงอุปถัมภ์รูปทุกรูปซึ่งเกิดก่อน และยังไม่ดับ
นี่เป็นการไม่แยกกัน ของนามธรรมและรูปธรรม ในภูมิซึ่งมีขันธ์ ๕ ถึงแม้ว่านามธรรมเป็นอย่างหนึ่ง รูปธรรมเป็นอย่างหนึ่ง แต่เพราะเกิดในที่ๆ เดียวกัน คือในรูปร่างกายเดียวกัน ก็เป็นปัจจัยโดยอุปถัมภ์ แม้ว่านามธรรมที่เกิดภายหลัง ก็อุปถัมภ์รูปที่เกิดก่อน
สำหรับปัจฉาชาตปัจจัย ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่า จิตสั่งไม่ได้ เพราะเหตุว่า รูปต้องเกิดก่อน และจิตที่เกิดภายหลัง อุปถัมภ์รูปนั้นเท่านั้น มีข้อสงสัยในเรื่องนี้ไหม
นักเรียน กระผมสงสัยปัจฉาชาตปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย พอจะจับหลักได้ว่า มีวัตถุรูป หรืออารมณ์ที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยให้เกิดจิต แต่ปัจฉาชาตปัจจัย นี่หมายความว่า จิตที่เกิดทีหลังรูป
อ.จ. ไม่ได้เป็นปัจจัยให้รูปเกิด แต่เพียงอุปถัมภ์รูปที่เกิดก่อน เป็นอุปถัมภกปัจจัย ไม่ใช่ชนกปัจจัย
นักเรียน เพราะฉะนั้น ปัจฉาชาตปัจจัย ก็หมายถึงนามธรรมล้วนๆ
อ.จ. นามธรรมซึ่งอุปถัมภ์รูปธรรมซึ่งเกิดก่อน
นี่ก็แสดงให้เห็นความชัดเจน ในเรื่องที่ไม่ควรเข้าใจว่าจิตสั่ง เพราะเหตุว่า รูปต้องเกิดก่อน และจิตเกิดภายหลัง อุปถัมภ์รูปนั้น เพราะเหตุว่า เกิดร่วมกันในร่างกายเดียวกัน
ไม่ทราบท่านผู้ฟังสงสัยอะไร ในเรื่องของปัจจัยที่ได้ศึกษามาแล้วในคราวก่อนๆ เป็นเรื่องของปัจฉาชาตปัจจัย ซึ่งหมายความถึงนามธรรมที่เกิดภายหลัง อุปถัมภ์รูปธรรมซึ่งเกิดก่อน แล้วยังไม่ดับไป เพราะเหตุว่า รูปธรรมที่เกิดร่วมกันกับนามธรรมในร่างกายของสิ่งที่มีชีวิต คือในร่างกายของสัตว์ บุคคลต่างๆ นั้น เพราะเหตุว่า รูปธรรมนั้นเกิดร่วมกันกับนามธรรม และรูปธรรมเป็นปัจจัยแก่นามธรรม โดยที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วยังไม่ดับไป แล้วเป็นอายตนะ เป็นที่ประชุม เป็นที่ต่อ เป็นที่อาศัยเกิดของจิต หรือว่าเป็นรูป ซึ่งจิตกำลังรู้รูปนั้นเป็นอารมณ์ อย่างหนึ่ง
แต่สำหรับนามธรรม จะเห็นได้ว่า ในขณะที่จิตกำลังเกิดในขณะนี้ แล้วก็มีรูปซึ่งเกิดก่อน แล้วยังไม่ดับไปด้วย เพราะฉะนั้น นามธรรมคือจิตในขณะนี้ ซึ่งเกิดแล้ว มีรูปซึ่งเกิดก่อน แล้วยังไม่ดับไป นามธรรมจะมีความสัมพันธ์ หรือจะเป็นปัจจัยแก่รูปโดยสถานใด เพราะเหตุว่า นามธรรมคือจิตและเจตสิกในขณะนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่จิตและเจตสิก ประเภทที่ทำให้เกิดรูป แต่ก็เป็นปัจจัย โดยอุปถัมภ์รูปที่เกิดก่อน และยังไม่ดับไป นี่คือความหมายของ “ปัจฉาชาตปัจจัย”
เพราะเหตุว่า เป็นการแสดงให้รู้ว่า นามธรรมและรูปธรรมซึ่งกำลังเกิด แล้วยังไม่ดับไปนั้น เกื้อกูล เป็นปัจจัย และอุปถัมภ์กันอย่างไร
ข้อความในอัฏฐสาลินี “รูปกัณฑ์” ที่ว่ามีจิต ๑๖ ดวง ที่ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดรูป เพราะฉะนั้น ย่อมไม่เป็นปัจจัยให้เกิดอิริยาบถ ย่อมไม่เป็นปัจจัยให้เกิดกายวิญญัติและวจีวิญญัติ
จิต ๑๖ ดวงก็คือ ปฏิสนธิจิตทุกดวง ทุกภูมิ
จุติจิตของพระอรหันต์
ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง
คือ จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นกุศลจิต ๑ และอกุศลจิต ๑ ดวง
โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นกุศลจิต ๑ และ อกุศลจิต ๑ ดวง
ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นกุศลจิต ๑ และอกุศลจิต ๑ ดวง
ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็นกุศลจิต ๑ และอกุศลจิต ๑ ดวง
กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกุศลจิต ๑ และอกุศลจิต ๑ ดวง
จิต ๑๐ ดวงนี้ เป็นจิตซึ่งมีกำลังอ่อน ไม่เป็นปัจจัยให้รูปเกิด เพราะฉะนั้น ก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดอิริยาบถ หรือไม่เป็นปัจจัยให้เกิดกายวิญญัติ วจีวิญญัติ
นอกจากนั้นก็มีอรูปวิบากจิต อีก ๔ ดวง ซึ่งทำกิจปฏิสนธิในอรูปพรหมภูมิ ไม่เป็นปัจจัยให้รูปเกิด เพราะเหตุว่า เป็นการเกิดในอรูปพรหม
เว้นจิต ๑๖ ดวงนี้แล้ว จิตอื่นแม้ว่าจะเป็นปัจจัยให้รูปเกิดจริง แต่จิตบางประเภท ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดอิริยาบถ หรือกายวิญญัติ และวจีวิญญัติเกิดขึ้น
ซึ่งท่านผู้ฟังก็น่าจะคิดว่า เป็นในขณะไหน ซึ่งจิตสามารถเป็นปัจจัยให้รูปเกิด แต่ไม่เป็นปัจจัยให้อิริยาบถ หรือกายวิญญัติและวจีวิญญัติเกิด ได้แก่จิตประเภท “วิบากจิต”
นอกจากวิบากจิต ยังมีจิตประเภทอื่นอีก ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงโดยละเอียด เพียงแต่จะให้ทราบว่า นอกจากจิต ๑๖ ดวง ซึ่งไม่เป็นปัจจัยให้รูปเกิด จิตอื่นแม้เป็นปัจจัยให้รูปเกิด ก็ไม่เป็นปัจจัยให้อิริยาบถ หรือวจีวิญญัตนั้น ได้แก่ขณะที่กำลังเป็น “ภวังคจิต” เป็นต้น เช่นในขณะที่กำลังนอนหลับสนิท จิตซึ่งไม่ใช่ปฏิสนธิจิต ไม่ใช่ทวิปัญจวิญญาณจิตแล้ว เป็นปัจจัยให้รูปเกิดได้ แต่ในขณะนั้น ที่กำลังนอนหลับสนิท ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดอิริยาบถ กายวิญญัติ หรือวจีวิญญัติ
เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า นามธรรมบางประเภท เป็นปัจจัยให้เกิดรูป แต่ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดอิริยาบถ ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดกายวิญญัติ
สำหรับทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง ซึ่งเป็นจิตที่มีกำลังอ่อน และไม่เป็นปัจจัยให้เกิดรูป เป็นปัจฉาชาตปัจจัยหรือเปล่า
การศึกษาธรรม ต้องค่อยๆ พิจารณาไปโดยละเอียดจริงๆ ถ้าทราบว่า ปัจฉาชาตปัจจัย คือนามธรรมซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง เป็นปัจจัยโดยอุปถัมภ์รูปธรรมซึ่งเกิดก่อน เพราะฉะนั้น ถึงแม้ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง ไม่เป็นปัจจัยให้รูปเกิดขึ้นก็จริง แต่เป็นปัจฉาชาตปัจจัย คืออุปถัมภ์รูปธรรมซึ่งเกิดก่อนหรือเปล่า เป็น
เพราะฉะนั้น ชั่วแต่ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดเท่านั้น ซึ่งนามธรรมไม่เป็นปัจจัยแก่รูปธรรมโดยปัจฉาชาตปัจจัย เพราะเหตุว่า รูปธรรมและนามธรรมเกิดพร้อมกัน แต่หลังจากขณะปฏิสนธิแล้ว รูปธรรมเกิดแล้ว แล้วก็ตั้งอยู่ถึงอายุของจิตเกิด – ดับไป ๑๗ ขณะ รูปๆ หนึ่งจึงดับ เพราะฉะนั้น ในขณะซึ่งปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว รูปที่เกิดในขณะที่ปฏิสนธิจิตก็ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้น ปฐมภวังค์ซึ่งเกิดภายหลัง ก็เป็นปัจฉาชาตปัจจัย คืออุปถัมภ์รูปซึ่งเกิดก่อน แล้วยังไม่ดับ เพราะฉะนั้น ทุกท่านที่กำลังนั่งอยู่ในที่นี้ นามธรรมคือจิตและเจตสิกของท่าน ซึ่งเกิดในขณะนี้ เป็นปัจฉาชาตปัจจัย คืออุปถัมภ์รูปธรรมซึ่งเกิดก่อนแล้วยังไม่ดับ เพราะเหตุว่า เป็นนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งเกิดเนื่องกัน และอุปถัมภ์เป็นปัจจัย สัมพันธ์กัน
สำหรับจิตประเภทที่เป็นฌานจิต มหัคคตจิต ไม่ว่าจะเป็นอรูปฌานกุศล หรือรูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล หรือเป็นมัคคจิต ผลจิต สำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ หรือว่าเป็นรูปาวจรกิริยาจิต หรืออรูปาวจรกิริยาจิต สำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้ว ในขณะที่เป็นฌานจิต ก็ดี หรือในขณะที่โลกุตตรจิตก็ดี ในขณะนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดรูป และอุปถัมภ์อิริยาบถ แต่ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญัติรูป
เพราะฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญความสงบ มีความชำนาญมาก และฌานจิตจะเกิดขณะไหนก็ได้ เช่นท่านพระสารีบุตร ในขณะที่ถวายอยู่งานพัด ฌานจิตของท่านเกิดสลับกับกามาวจรจิต ที่ทำให้เกิดอิริยาบถ คือการถวายอยู่งานพัดในขณะนั้น และฌานจิตซึ่งเกิดคั่น ก็อุปถัมภ์อิริยาบถนั้น ให้เป็นไปอย่างนั้นได้โดยตลอด
สำหรับจิตอื่นๆ เช่นอกุศลจิต ๑๒ ดวง มหากุศลจิต ๘ ดวง สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ และมหากิริยาจิต สำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันต์ จิตเหล่านี้เป็นต้น เป็นปัจจัยให้รูปเกิดด้วย เป็นปัจจัยให้อิริยาบถเกิดด้วย เป็นปัจจัยให้วิญญัติรูปเกิดด้วยได้ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า จิตแต่ละประเภท ก็เป็นปัจจัยให้รูปแต่ละรูป หรือว่าอาการของรูปแต่ละอาการเกิดขึ้นได้
มีข้อสงสัยอะไร ในเรื่องของปัจฉาชาตปัจจัยไหม
ทรงเกียรติ ผมสงสัยที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงท่านพระสารีบุตรว่า ขณะที่ถวายอยู่งานพัดนั้น กามาวจรจิตของท่านเกิดสลับกับฌานจิต ขณะที่ฌานจิตเกิด จะทำงานพัดได้หรือครับ
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50