ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
ตลับที่ ๑๕
ทรงเกียรติ จะยังทำงานพัดได้หรือครับ
อ.จ. การเกิด – ดับชองจิต เป็นไปอย่างรวดเร็วมากทีเดียว เพราะฉะนั้น ฌานจิตเกิดสลับกับกามาวจรจิตได้ โดยที่มีภวังคจิตคั่น เหมือนอย่างในขณะนี้ จิตเห็นเกิดทางจักขุทวารวิถีจิต แล้วก็มีจิตซึ่งเป็นไปรู้อารมณ์เดียวกับจิตเห็นหลายขณะ แล้วก็ดับ จิตเป็นภวังค์คั่น แล้วมโนทวารวิถีจิตรับรู้อารมณ์ ต่อจากจักขุทวารวิถีจิตหลายขณะทีเดียว หลายวาระ แล้วก็มีภวังคจิตคั่น แล้วก็มีจิตที่ได้ยินเสียง หลายขณะ เป็นโสตทวารวิถี ดับไป เมื่อเสียงดับ แล้วมีภวังค์คั่นหลายขณะ แล้วมโนทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้น รู้เสียงที่ได้ยิน ต่อจากทางโสตทวารวิถี แล้วก็มีภวังคจิตคั่นหลายวาระ แต่ขณะนี้ เสมือนกับว่าไม่มีอะไรคั่นเลย เพราะฉะนั้น ฌานจิตกับกามาวจรจิต ก็ย่อมเกิดสลับกันได้ เสมือนว่า ไม่มีอะไรคั่นเลย
ทรงเกียรติ ตามปกติ ฌานจิตเกิดแล้ว ต้องฟังอะไรไม่รู้เรื่องใช่ไหมครับ
อ.จ. ขณะที่เป็นภวังค์ ในขณะนี้ คั่นอยู่ ระหว่างทางตาที่เห็น กับทางหู โสตทวารวิถีจิตซึ่งได้ยิน และท่านผู้ฟังขณะที่กำลังเห็น ฟังรู้เรื่องไหม ในเมื่อทางจักขุทวารวิถี ต้องไม่ได้ยินเสียง แล้วท่านผู้ฟังก็มีจักขุทวารวิถีเกิด ตั้งแต่ปัญจทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณจิต สัมปฏิฉนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต ชวนจิต ๗ ขณะ ตทาลัมพนจิต ๒ ขณะ แล้วยังเป็นภวังคจิตคั่น แล้วมโนทวารวิถีจิตก็ยังเกิดขึ้น รู้สิ่งที่ปรากฏทางตาต่อ โดยที่มโนทวาราวัชชนจิตเกิดแล้วดับไป ชวนจิตเกิดต่อ แล้วภวังคจิตเกิดคั่น ก่อนที่จะถึงโสตทวารวิถี แต่ท่านผู้ฟังที่กำลังเห็นในขณะนี้ ก็ฟังรู้เรื่องใช่ไหม ไม่ใช่ว่าฟังไม่รู้เรื่อง
สำหรับปัจฉาชาตปัจจัย ให้ทราบว่า ปัจจัยธรรมได้แก่ จิต ๘๕ ดวง เว้นอรูปาวจรวิบากจิต ๔ ดวง และรวมถึง เว้นปฏิสนธิจิตทั้งหมด ที่เกิดหลังๆ ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ และต้องหมายรวมทั้งเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกับจิตนั้นๆ ด้วย เป็นปัจจัยธรรม
สำหรับปัจจยุปบันนธรรม ซึ่งได้แก่รูป ซึ่งจิตเป็นปัจจัยอุปถัมภ์นั้น ก็ได้แก่ รูปทุกรูปที่เกิดเพราะทุกสมุฏฐาน คือไม่ว่าจะเป็นรูปที่เกิดจากจิต หรือรูปที่เกิดจากกรรม หรือรูปที่เกิดจากอุตุ หรือรูปที่เกิดจากอาหาร ไม่ว่าจะเป็นรูปกลุ่มใดๆ ก็ตาม เกิดจากสมุฏฐานใดๆ ก็ตาม ซึ่งเกิดก่อน แล้วก็ยังไม่ดับไป เวลาที่จิตภายหลังเกิดขึ้น จะเป็นปัจจัยแก่รูปนั้น โดยอุปถัมภ์รูปนั้น โดยเป็นปัจฉาชาตปัจจัย
ในขณะนี้เอง ถ้าจะนึกถึงความเป็นปัจจัย การอาศัยกันของนามธรรมและรูปธรรม ก็คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงกาล การเป็นปัจจัย ว่า
ถ้ารูปเป็นปัจจัยแก่นามธรรมแล้ว รูปนั้นต้องเกิดก่อน แล้วยังไม่ดับ จึงจะเป็น “ปุเรชาตปัจจัย” แต่ถ้านามธรรมซึ่งเกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแล้ว เป็นปัจจัยโดย “ปัจฉาชาตปัจจัย” เพราะเหตุว่า แม้นามธรรมนั้น จะเกิดภายหลังที่รูปนั้นเกิดแล้วก็จริง แต่นามธรรมนั้นก็ยังอุปถัมภ์รูปที่เกิดก่อน
ข้อที่ควรพิจารณา ซึ่งก็มีแสดงไว้ในพระไตรปิฎก และในอรรถกถา แต่ท่านผู้ฟังก็สามารถที่จะพิจารณาเองได้ คือ
ในอสัญญสัตตาพรหมภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่มีแต่รูป ไม่มีนามธรรมเกิดเลยในภูมินั้น มีปัจฉาชาตปัจจัยไหม
ในอสัญญสัตตาพรหมภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่มีแต่รูป ไม่มีนามธรรมเลย ในภูมินั้น ไม่มี “ปุเรชาตปัจจัย” และไม่มี “ปัจฉาชาตปัจจัย” เพราะเหตุว่า มีแต่เฉพาะรูปธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้น หรือท่านที่เข้าใจในเรื่องของ “นิโรธสมาบัติ” คือพระอนาคามีบุคคล และพระอรหันต์ ซึ่งสามารถจะบรรลุคุณธรรมถึง อรูปฌานขั้นสูงสุด คือเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สามารถที่จะดับจิตและเจตสิกได้ไม่เกิน ๗ วัน
เพราะฉะนั้น ระหว่างนั้น รูปซึ่งเกิดจากกรรมก็มี ไม่มีใครไปยับยั้งรูปซึ่งเกิดจากกรรม ไม่ให้เกิดได้ เพราะเหตุว่า กรรมเป็นสมุฏฐานให้รูปนั้นเกิด แต่รูปซึ่งเกิดจากจิตไม่มีเลย เพราะเหตุว่า ในขณะนั้น จิตไม่เกิด รูปที่เกิดจากอุตุ มี อาหาร มี ในขณะนั้น ก็ไม่มีปัจฉาชาตปัจจัย เพราะเหตุว่า ปัจฉาชาตปัจจัยได้แก่ จิตและเจตสิกที่เกิดภายหลัง อุปถัมภ์รูปซึ่งเกิดก่อน
อย่าลืมว่า นามธรรมและรูปธรรมนี้ เป็นสภาพซึ่งกำลังเกิด – ดับอย่างเร็วที่สุด
สำหรับปัจฉาชาตปัจจัย ที่จะเป็นปัจจัยแก่รูป ต้องเป็นปัจจัยเฉพาะในฐีติขณะของรูปเท่านั้น ไม่เป็นปัจจัยในอุปาทขณะด้วย
มีข้อสงสัยอะไรในเรื่องของปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัยไหม
ทรงเกียรติ ปุเรชาตปัจจัย เป็นรูปธรรมที่เกิดก่อนนามธรรม รูปธรรมทั้งหมดมี ๒๘ รูป รูปทั้ง ๒๘ เป็นปุเรชาตปัจจัยทั้งหมดหรือเปล่าครับ
อ.จ. ไม่เป็น เฉพาะรูปซึ่งเป็นปัจจัยให้นามธรรมเกิดขึ้น เฉพาะรูปซึ่งเป็นปัจจัย โดยเป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกเท่านั้น รูปที่ดับไปแล้ว ไม่ไดเป็นปัจจัยแก่จิตเลย เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นปุเรชาตปัจจัย แต่รูปใดก็ตาม ซึ่งเป็นปัจจัย โดยเป็นที่อาศัยเกิดของจิต รูปนั้นเป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย หรือว่ารูปใดก็ตามซึ่งเกิดแล้วยังไม่ดับ เป็นปัจจัยให้จิตรู้รูปซึ่งกำลังปรากฏเป็นอารมณ์ ขณะนั้นเป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย
แต่รูปอื่นๆ ซึ่งไม่เป็นปัจจัยให้จิตเกิด หรือรูปอื่นๆ ซึ่งเกิด – ดับอยู่ โดยไม่เป็นอารมณ์ของจิต รูปเหล่านั้นทั้งหมด ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย ปุเรชาตปัจจัยเฉพาะรูปซึ่งเป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย เป็นที่อาศัยให้เกิดจิต หรือว่าเป็นอารัมมณปุเรชาตปัจจัย คือจิตกำลังรู้รูปนั้น
ทรงเกียรติ ผมยังมีความสงสัยว่า อารัมมณปุเรชาตปัจจัย ท่านหมายเฉพาะสัมมสนรูป ๑๘ ก็อสัมมสนรูปอีก ๑๐ นั้น ก็เป็นอารมณ์ได้นี่ครับ ทำไมเป็นปุเรชาตปัจจัยไม่ได้
อ.จ. ไม่ใช่โดยเกิดก่อน เพราะเหตุว่า รูปเหล่านั้นไม่ได้มีสภาวลักษณะของตนแยกออกไปเกิดก่อนต่างหากจากนิปผันนรูป ๑๘ แต่เป็นรูปที่อาศัยเกิดกับมหาภูตรูป หรือนิปผันนรูป ๑๘ โดยเป็นอาการ หรือวิการของนิปผันนรูป ไม่ใช่ว่ามีลักษณะสภาวะของตนต่างหากไป แยกเกิดออกกมาได้ เป็นอารมณ์ได้ก็จริง แต่เป็นอารมณ์ ไม่ใช่โดยที่สภาวลักษณะแยกออกไปเกิดก่อนต่างหาก แต่เมื่อเป็นรูปที่อาศัยเกิด เป็นลักษณะวิการของนิปผันนรูปนั่นเอง ไม่ใช่แยกออกจากนิปผันนรูป เพราะฉะนั้น ในกาลที่กล่าวถึง หมายความถึงการเกิดจริงๆ ไม่ใช่หมายถึงเฉพาะลักษณะ หรืออาการที่วิการของรูป รูปอ่อน รูปแข็งที่ตัว ซึ่งไม่เป็นอารมณ์ รูปนั้นดับไปแล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ใช่อารัมมณปุเรชาตปัจจัย หรือว่าหทยวัตถุ ซึ่งปกติเป็นที่เกิดของจิต แต่หทยวัตถุรูปใด ไม่เป็นที่ตั้ง ที่เกิด ที่อาศัยของจิต หทยวัตถุนั้น ก็ไม่ใช่วัตถุปุเรชาตปัจจัย เป็นแต่เพียงหทยรูปเท่านั้นเอง
ในขณะที่จักขุวิญญาณกำลังเห็น จักขุวิญญาณเกิดที่จักขุปสาทรูป ซึ่งเป็นจักขวายตนะ คือเป็นรูปซึ่งเกิดขึ้นแล้วยังไม่ดับไป และกระทบกับรูปารมณ์ เป็นปัจจัยให้จักขุวิญญาณจิตเกิดขึ้นเห็น ในขณะนั้น หทยวัตถุก็มี แต่เมื่อหทยวัตถุไม่เป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณจิต เพราะฉะนั้น หทยวัตถุในขณะนั้น ก็ไม่ใช่วัตถุปุเรชาตปัจจัยของจิต
เพราะฉะนั้น รูปเกิด – ดับมากามาย บางรูปเท่านั้นที่เป็นปัจจัยให้เกิดจิต เพราะฉะนั้น เฉพาะรูปใดซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดจิต รูปนั้นเป็นอายตนะหนึ่งอายตนะใด แล้วขณะนั้นเป็นปุเรชาตปัจจัย แต่ว่ารูปใด ซึ่งไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิตเลย รูปนั้นจะเกิดขึ้นเพราะกรรม จะเกิดขึ้นเพราะอุตุ จะเกิดขึ้นเพราะอาหาร ประการใดๆ ก็ตาม รูปนั้นเกิดตามสมุฏฐานนั้น แล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า ชีวิตนี้น้อย เพราะเหตุว่า เพียงชั่วขณะจิตที่เกิด แล้วก็ดับเท่านั้นเอง แต่ละขณะ
“ อาเสวนปัจจัย “
ยังมีข้อสงสัยใน “ปุเรชาตปัจจัย” กับ “ปัจฉาชาตปัจจัย” ไหม ถ้าไม่มีก็ควรที่จะพิจารณาว่า พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงปัจจัยอะไร ต่อจากปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย
สำหรับปัจจัยต่อไป ที่ทรงแสดง คือ “อาเสวนปัจจัย”
ซึ่งมีความหมายว่า คำว่า “อาเสวนะ” แปลว่า เสพบ่อยๆ คือเสพอารมณ์บ่อยๆ ซึ่งก็ได้แก่ ขวนจิตซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นอาเสวนปัจจัย แก่ขวนจิตซึ่งเกิดหลังๆ เว้นวิบากจิต
ซึ่งก็ควรที่จะได้พิจารณา ในขณะที่นามธรรม และรูปธรรมกำลังเป็นปัจจัยในขณะนี้ สืบต่อจากความเข้าใจปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย ว่าช่วงไหน ตอนไหนของการเป็นปัจจัย ของนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งรูปตั้งอยู่เพียง ๑๗ ขณะ แล้วเป็นปัจจัยนั้น จะเป็นตอนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างไร
“อาเสวนปัจจัย” ซึ่งได้แก่ “ชวนจิต” ที่เกิดก่อนๆ เป็นอาเสวนปัจจัยแก่ ชวนจิตที่เกิดหลังๆ
สำหรับชวนจิตนั้นก็ได้แก่ กุศลจิต อกุศลจิต สำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ และกิริยาจิต สำหรับพระอรหันต์
เพราะฉะนั้น อาเสวนปัจจัย ได้แก่ กุศลจิต อกุศลจิต หรือกิริยาจิต ที่ทำให้ปัจจยุปบันน คือจิตที่เกิดต่อ ซึ่งเป็นจิตชาติเดียวกัน เสพอารมณ์ที่ตนเสพแล้วนั้น ซ้ำอีก เพราะฉะนั้น ก็แสดงถึง ขณะที่ชวนจิต ๗ ขณะ เกิด – ดับสืบต่อกัน และเสพอารมณ์ซ้ำกัน โดยต้องเป็นจิตประเภทเดียว คือเป็นชาติเดียวกัน
เพราะฉะนั้น การที่จะเข้าใจเรื่องของ “อาเสวนปัจจัย” ก็จะขอทบทวน ขณะที่วิถีจิตจะเกิด โดยปัจจัยที่ได้ศึกษาไปแล้ว ก่อนที่วิถีจิต ซึ่งเป็นชวนจิตจะเกิด มีวิถีจิตซึ่งเกิดก่อนชวนจิตหรือเปล่า นี่เป็นการทบทวน
ชวนจิตคือกุศลจิต อกุศลจิต หรือกิริยาจิตของพระอรหันต์ เป็นชวนจิต เป็นวิถีจิต แต่ก็มีวิถีจิตเกิดก่อนชวนจิต เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะถึงวิถีจิตซึ่งเป็นชวนจิต ก็มีวิถีจิต ซึ่งเกิดก่อน และก่อนวิถีจิต มีจิตอะไรเกิดก่อน “วิถีมุตตจิต” คือภวังคจิต ต้องเกิดก่อนวิถีจิต
ถาม ในภูมิซึ่งมีขันธ์ ๕ ภวังคจิตอาศัยรูปเกิดขึ้นหรือเปล่า
ทุกท่านกำลังมีภวังคจิตคั่น ระหว่างการเห็น การได้ยิน การคิดนึก การรู้อารมณ์ต่างๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
เพราะฉะนั้น ก็ให้ทราบว่าในขณะนี้ ภวังคจิตที่เกิดในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ต้องอาศัยรูปเกิดหรือเปล่า จะเกิดขึ้นโดยไม่อาศัยรูปไม่ได้เลย จิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ แล้ว ต้องอาศัยรูปเกิด
ถาม ภวังจิตเกิดที่ไหน อาศัยรูปอะไร
ตอบ เกิดที่หทยวัตถุ ที่เกิดก่อน แล้วยังไม่ดับไป อย่าลืม
โดย “หทยรูป” เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย แก่ภวังคจิต แม้แต่ภวังคจิตที่กำลังเกิดในขณะนี้ ก็ต้องอาศัยรูป แต่ต้องเป็นรูปที่เป็นหทยวัตถุ ไม่ใช่รูปอื่น และหทยรูปนั้นต้องเป็นรูปที่เกิดก่อนภวังคจิตนั้น แล้วยังตั้งอยู่ คือยังไม่ดับไป
ถาม ภวังคจิตที่เกิดในขณะนี้ เป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุที่เกิดก่อนหรือเปล่า
เวลานี้มีภวังคจิตกับหทยวัตถุ คือหทยรูป
ถ้าจะให้เข้าใจโดยปัจจัย
ภวังคจิตต้องเกิดโดยอาศัยหทยรูป เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัยแก่ภวังคจิต
ถามว่า ภวังคจิตเป็นปัจจัยแก่หทยรูป ที่ตนอาศัยเกิดขึ้นหรือเปล่า โดยปัจจัยอะไร
ตอบ ปัจฉาชาตปัจจัย
นี่คือขณะนี้เอง ไม่ยากเลย ถ้าเข้าใจจิตดวงไหน ก็ให้รู้ว่าจิตดวงนั้น ต้องอาศัยรูปเกิดขึ้น แล้วสำหรับในภูมิซึ่งมีขันธ์ ๕ เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง จิตอื่นทั้งหมด ต้องเกิดที่หทยวัตถุ
เพราะฉะนั้น หทยวัตถุเป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัยแก่ภวังคจิต และภวังคจิตเป็นปัจฉาชาตปัจจัยแก่วัถตุปุเรชาตปัจจัย หรือหทยรูปซึ่งเกิดก่อนแล้วยังไม่ดับไป นี่คือยังไม่ใช่วิถีจิต กำลังนอนหลับสนิท ก็จะต้องมีภวังคจิต อาศัยหทยวัตถุรูป ซึ่งเกิดขึ้นแล้วยังไม่ดับเป็นปัจจัย และในขณะเดียวกัน ภวังคจิตซึ่งเกิด ก็เป็นปัจฉาชาตปัจจัยแก่รูปทั้งหมด ไม่ใช่แต่เฉพาะแก่หทยรูปเท่านั้น ไม่ว่ารูปนั้นจะเกิดจากสมุฏฐานใดทั้งสิ้นก็ตาม เมื่อเป็นรูปซึ่งเกิดแล้วยังไม่ดับ จิตที่เกิดในขณะนั้น เป็นปัจฉาชาตปัจจัย อุปถัมภ์รูปซึ่งเกิดขึ้นแล้วยังไม่ดับไป
ท่านผู้ฟัง ซึ่งพึ่งเริ่มฟัง หรือเริ่มศึกษา อย่าพึ่งท้อใจ ที่จะคิดว่า ยุ่งยากมากเรื่อง รูปธรรมแต่ละรูป นามธรรมแต่ละประเภท อาศัยกันและกันเกิดขึ้น แท้ที่จริงก็ไม่มีอะไรมากเลย เพราะเหตุว่า เมื่อกล่าวถึงรูป ซึ่งเป็นวัตถุ คือที่เกิดของจิตแล้ว มีเพียง ๖ รูปเท่านั้นจริงๆ คือมี
จักขุปสาทรูป ๑ รูป เฉพาะรูปซึ่งเกิดแล้วยังไม่ดับ ซึ่งเป็นอายตนะ เป็นที่ประชุม ที่ต่อ เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุวิญญาณ คือจิตที่กำลังเห็นในขณะนี้เอง จิตเห็นมี ๒ ดวง เป็นกุศลวิบากจิต ๑ ดวง ที่เป็นอกุศลวิบากจิต ๑ ดวง
นอกจากนั้น ก็มี
โสตปสาทรูป ๑ เป็นที่เกิดของโสตวิญญาณจิต ๒ ดวง
ฆานปสาทรูป ๑ เป็นที่เกิดของฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง
ชิวหาปสาทรูป ๑ เป็นที่เกิดของชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง
กายปสาทรูป ๑ เป็นที่เกิดของกายวิญญาณจิต ๒ ดวง
สำหรับทวารทั้ง ๕ คือ ตา ๑, หู ๑, จมูก ๑, ลิ้น ๑, กาย ๑ ปสาทรูปแต่ละรูปนี้ เป็นที่เกิดของจิตซึ่งเห็น, จิตที่ได้ยิน, จิตที่ได้กลิ่น, จิตซึ่งลิ้มรส, และจิตที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นที่เกิดของจิต ๑๐ ดวงนี้ นอกจานั้นแล้ว ก็มี
หทยรูป ซึ่งเป็นที่เกิดของจิตอื่นทั้งหมด ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ นอกจากทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง ไม่ยุ่งยากอะไรเลยใช่ไหม ๖ รูปเท่านั้นเอง แต่จะต้องพิจารณา แล้วต้องเข้าใจโดยละเอียดขึ้น เพื่อที่จะได้ไม่ยึดถือรูปและนาม ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน
เพราะฉะนั้น ขอทบทวนเรื่องของปัจจัย ที่ได้ศึกษาแล้วว่า วิถีมุตตจิต ซึ่งไม่ใช่วิถีจิต ได้แก่ภวังคจิต ซึ่งภวังค์ใดมีอารมณ์ภายนอกกระทบ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ภวังค์นั้นชื่อว่า “อตีตภวังค์” เพื่อให้รู้ว่ารูปเกิดขณะไหน และกระทบขณะไหน
ขณะที่กำลังนอนหลับ มีเสียงกระทบโสตปสาท เป็นอตีตภวังค์ไหม อตีตภวังค์ เสียงมีสิทธิกระทบกับโสตปสาทไหม หรือเสียงไม่มีสิทธิ มี กระทบได้ไหม ได้ เมื่อกระทบปสาทแล้ว เมื่อเสียงกระทบกับโสตปสาทรูปแล้ว กระทบกับภวังคจิตด้วยได้ไหม ได้
เพราะฉะนั้น ก็อาจจะเป็นอตีตภวังค์ๆ หรืออาจจะมีภวังคจลนะเกิด แต่ถ้าวิถีจิตไม่เกิด ขณะนั้นก็มีแต่ภวังคจิต ซึ่งไม่ใช่จิตใดๆ ซึ่งรู้อารมณ์ที่กระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะเหตุว่า ถ้าเป็นภวังคจิตแล้ว ไม่รู้อารมณ์ใดๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นอตีตภวังค์ หรือภวังคจลนะ หรือภวังคุปัจเฉทะ ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ แล้ว ขณะที่กำลังนอนหลับสนิท แล้วภวังคจิตเกิด ขณะนั้น จิตเหล่านั้นเกิดที่หทยวัตถุ เพราะเหตุว่า รูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิต มีเพียง ๖ รูป ได้แก่ จักขุวัตถุ ๑, โสตวัตถุ ๑, ฆานวัตถุ ๑, ชิวหาวัตถุ ๑, กายวัตถุ ๑, และหทยวัตถุ ๑
เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่รู้ว่า จิตประเภทใดเกิด ก็ควรที่จะได้ทราบด้วยว่า จิตดวงนั้น ประเภทนั้น เกิดที่ไหน เพราะฉะนั้น ทราบแล้วว่า ภวังคจิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นอตีตภวังค์ หรือภวังคจลนะ หรือภวังคุปัจเฉทะ เกิดที่หทยวัตถุ
ภวังคจิตของสัตว์เดรัจฉานเกิดที่ไหน ไม่ว่าจะเป็นช้าง ม้า นก หนู มด ภวังคจิตเกิดที่หทยวัตถุ ไม่มีข้อยกเว้นเลย ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ แล้ว รูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิต มีเพียง ๖ รูป และถ้าไม่ใช่ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง จิตอื่นทั้งหมด ต้องเกิดที่หทยวัตถุ เพราะฉะนั้น เมื่อเริ่มที่จะเป็นวิถีจิต คือ เมื่อ
อตีตภวังค์ดับไป (อตีตภวังค์เกิดที่หทยวัตถุ) ภวังคุปัจเฉทะเกิดต่อ (ภวังคจลนะเกิดที่หทยวัตถุ) ภวังคุปัจเฉทะเกิดต่อ (ภวังคุปัจเฉทะเกิดที่หทยวัตถุ)
วิถีจิตดวงที่ ๑ ในทวารหนึ่งทวารใด ของทวารทั้ง ๕ คือไม่ว่าจะเป็นทางจักขุทวาร ทางโสตทวาร ทางฆานทวาร ทางชิวหาทวาร ทางกายทวาร ก็ตาม ต้องเป็น ปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นจิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบกับทวาร จิตดวงนี้เกิดที่ไหน ที่หทยวัตถุ หทยวัตถุเป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัยของปัญจทวาราวัชนจิต ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นปัจฉาชาตปัจจัยของหทยวัตถุ และรูปอื่นทั้งหมด ซึ่งเกิดแล้วยังไม่ดับ เพราะเหตุว่า นามธรรมที่เป็นปัจฉาชาตปัจจัย ต้องเป็นปัจจัยเฉพาะแก่รูป ในฐีติขณะของรูปเท่านั้น
ถาม ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นอาเสวนปัจจัยหรือเปล่า
อาเสวนปัจจัย คือชวนจิตที่เกิดก่อนๆ เป็นอาเสวนปัจจัยแก่ชวนจิตที่เกิดหลังๆ เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิต ซึ่งเป็นวิถีจิตดวงที่ ๑ เป็นอาเสวนหรือเปล่า ไม่เป็น เพราะอะไร ทำไมถึงไม่เป็น เพราะอะไร
ตอบ เพราะเหตุว่า ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวเท่านั้น จะไม่เกิดขึ้น ๒ - ๓ ขณะเลย
สำหรับวิถีจิตที่ ๒
วิถีจิตดวงที่ ๒ ถ้าเป็นทางจักขุทวาร ได้แก่ จักขุวิญญาณจิต เกิดที่ไหน จักขุวัตถุ ไม่ใช่หทยวัตถุแล้ว เห็นไหม สำหรับจักขุวิญญาณจิตในขณะนี้ กำลังเกิด – ดับที่จักขุปสาทรูป เพราะฉะนั้น ที่จักขุปสาทรูป ในขณะที่เห็นนี้ มีจักขุวิญญาณจิตและเจตสิกเกิดร่วมด้วย เกิดพร้อมกัน ที่จักขุปสาทรูปนั่นเอง ไม่รู้เลยใช่ไหม ว่าที่จักขุปสาทรูป เป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณจิต และเจตสิกซึ่งเกิดร่วมด้วย
สำหรับทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โดยนัยเดียวกัน
ถาม ขอถามแทรกนิดหนึ่งว่า จักขุวิญญาณจิตที่เป็นอกุศลวิบากเกิดที่ไหน เกิดที่จักขุวัตถุ โดยปัจจัยอะไร
ตอบ จักขุวัตถุ เป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย และจักขุวิญญาณเป็นปัจฉาชาตปัจจัย
ถาม จักขุวิญญาณจิตที่เป็นกุศลวิบาก เป็นผลของกุศล เห็นสิ่งที่ดี เกิดที่ไหน
ตอบ เกิดที่จักขุวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นอกุศลวิบาก หรือกุศลวิบาก ก็ต้องเกิดที่จักขุวัตถุนั่นเอง
ถาม จักขุวิญญาณจิตเป็นปุเรชาตปัจจัยหรือเปล่า
ตอบ ไม่เป็น เพราะเหตุว่า ปุเรชาตปัจจัยต้องเป็นรูปธรรมที่เกิดก่อน แล้วยังไม่ดับ จึงจะเป็นปัจจัยแก่นามธรรม เพราะฉะนั้น จักขุวิญญาณจิตจะไม่เป็นปุเรชาตปัจจัยเลย เพราะเหตุว่า เป็นนามธรรม
ถาม จักขุวิญญาณจิตเป็นปัจฉาชาตปัจจัยหรือเปล่า เป็น
ถาม จักขุวิญญาณจิตเป็นปัจฉาชาตปัจจัยแก่รูปอะไร
ตอบ แก่รูปทุกรูปที่เกิดจากทุกสมุฏฐานซึ่งยังไม่ดับ
ถาม จักขุวิญญาณจิตเป็นอาเสวนปัจจัยหรือเปล่า
ตอบ ไม่เป็น
ถาม เพราะอะไร
ตอบ เพราะจักขุวิญญาณเกิดขึ้นขณะเดียว
ถาม มีเหตุผลอื่นอีกไหม นอกจากนี้
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50