ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
ถาม มีเหตุผลอื่นอีกไหม นอกจากนี้ที่จักขุวิญญาณไม่เป็นอาเสวนปัจจัย
ตอบ เพราะเป็นวิบากจิต
“อาเสวนปัจจัย” ทั้งหมดได้แก่ กุศลจิตหรืออกุศลจิต สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ และได้แก่กิริยาจิตของพระอรหันต์ โดยที่จิตและเจตสิกที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยให้จิตชาติเดียวกันเกิด เสพอารมณ์นั้นซ้ำอีก จากอารมณ์ที่ตนเสพแล้ว คือรู้อารมณ์เดียวกัน
ตอบ เพราะฉะนั้น สำหรับจักขุวิญญาณที่ไม่เป็นอาเสวนปัจจัย เพราะเหตุว่า นอกจากเกิดขึ้นขณะเดียวกันแล้ว ก็ยังเป็นวิบากจิตด้วย
วิถีจิตทางปัญจทวาร ดวงที่ ๓ ที่จักขุวิญญาณจิต หรือทวิปัญจวิญญาณจิตดับไปแล้ว ได้แก่ “สัมปฏิจฉนจิต” สัมปฏิจฉนจิตเป็นชาติอะไร นี่ไม่ได้พูดถึงสิ่งที่ห่างไกลเลย พูดถึงสิ่งที่กำลังเกิด – ดับสืบต่อกัน ในขณะเห็น ในขณะได้ยิน ในขณะต่างๆ เหล่านี้เอง
ถาม เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะได้ทราบความละเอียด และไม่ลืม เพราะเหตุว่า เป็นการทบทวนว่า สัมปฏิจฉนจิตเป็นชาติอะไร
ตอบ เป็นชาติวิบาก
เพราะฉะนั้น ถ้าศึกษาธรรม โดยไม่ได้ศึกษาเรื่องของจิตประเภทต่างๆ โดยนัยของชาติต่างๆ ภูมิต่างๆ ไม่มีโอกาสที่จะเข้าใจพระธรรมได้โดยตลอด เพราะฉะนั้น เรื่องของชาติ เป็นสิ่งที่ลืมไม่ได้ หรือว่าเรื่องของภูมิของจิต ก็เป็สิ่งที่ลืมไม่ได้ เช่นสัมปฏิจฉนจิตเป็นชาติวิบาก เกิดที่ไหน
ถาม สัมปฏิจฉนจิตเกิดที่ไหน
ตอบ เกิดที่หทยวัตถุ
ถาม สัมปฏิจฉนจิตเป็นปุเรชาตปัจจัยหรือเปล่า
ตอบ ไม่เป็น
ถาม เป็นปัจฉาชาตปัจจัยหรือเปล่า เป็น
ถาม เป็นอาเสวนปัจจัยหรือเปล่า ไม่เป็น
ถาม เพราะอะไร เพราะเกิดขึ้นขณะเดียว
ถาม และเพราะอะไรอีก และเพราะเป็นวิบากจิต
ก็เป็นเรื่องที่ซ้ำ และทบทวนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่ต้องท่อง แต่สามารถที่จะเข้าใจได้ตลอดทั้งวิถีจิตทางปัญจทวาร
วิถีจิตทางปัญจทวาร ดวงที่ ๔ ที่เกิดต่อจากสัมปฏิจฉนะ คือ สันตีรณจิต เป็นจิตที่พิจารณาอารมณ์ ที่ปัญจวิญญาณจิตรู้ แล้วสัมปฏิจฉนจิตรับต่อ เพราะฉะนั้น สันตีรณจิตก็เกิดขึ้นพิจารณาอารมณ์นั้นต่อ
ถาม สันตีรณจิตเป็นชาติอะไร เป็นชาติวิบาก
ถาม สันตีรณจิตเกิดที่ไหน หทยวัตถุ
ถาม เป็นปุเรชาตปัจจัยหรือเปล่า ไม่เป็น
ถาม เป็นปัจฉาชาตปัจจัยหรือเปล่า เป็น
ถาม เป็นอาเสวนปัจจัยหรือเปล่า ไม่เป็น
ถาม เพราะอะไร เพราะเกิดขึ้นขณะเดียว และ
ถาม และเพราะอะไรอีก เพราะเป็นวิบากจิต
อย่างนี้จะลืมไหม เพียงแต่เรื่องที่ได้ฟังในตอนต้นเท่านั้นเอง เรื่องนี้ ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย ต่อไปจนกระทั่งถึงอาเสวนปัจจัย
วิถีจิตทางปัญจทวาร ดวงที่ ๕ เมื่อสันตีรณจิตดับไปแล้ว เมื่อสันตีรณจิตดับไปแล้ว “โวฏฐัพพนจิต” เกิดขึ้นกระทำกิจมนสิการ เพื่อกุศลจิต หรืออกุศลจิตจะเกิดต่อ
ถาม โวฏฐัพพนจิตเป็นชาติอะไร กิริยาจิต อย่าลืมว่าชาติของจิตคือการเกิดขึ้น ของจิตดวงหนึ่งๆ จะต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด คือจะต้องเป็นชาติหนึ่งชาติใดใน ๔ ชาติ ได้แก่ เป็นอกุศลชาติ ๑ เป็นกุศลชาติ ๑ เป็นวิบากชาติ ๑ ซึ่งเป็นผลของอกุศลและกุศล ชาติ ๑ เป็นกิริยาชาติ ๑
เพราะฉะนั้น จิตทั้งหมดทุกประเภท ต้องเกิดขึ้นเป็นชาติหนึ่งชาติใด โดยที่จะต้องรู้ว่า จิตนี้เป็นชาติอกุศล หรือว่าจิตนี้เป็นชาติกุศล หรือว่าจิตนี้เป็นชาติวิบาก ซึ่งเป็นผล ไม่ใช่ตัวเหตุ คือไม่ใช่กุศล หรืออกุศล แต่ว่าเป็นผลของกุศล หรืออกุศล จึงเป็นจิตที่เป็นชาติวิบาก
และสำหรับจิตที่ไม่ใช่กุศล หรืออกุศล และไม่ใช่วิบาก จิตนั้นเป็นกิริยา
สำหรับวิถีจิตทางปัญจทวาร นอกจากปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นชาติกิริยาแล้ว โวฏฐัพพนจิตก็เป็นชาติกิริยา
ถาม โวฏฐัพพนจิตเกิดที่ไหน เกิดที่หทยวัตถุ
ถาม เป็นปุเรชาตปัจจัยหรือเปล่า ไม่เป็น
ถาม เป็นปัจฉาชาตปัจจัยหรือเปล่า เป็น
ถาม เป็นอาเสวนปัจจัยหรือเปล่า ไม่เป็น
ถาม เพราะอะไร เป็นชาติกิริยา ไม่ใช่ชาติวิบาก เพราะฉะนั้น มีเหตุผลอะไรที่ว่า โวฏฐัพพนจิตไม่เป็นอาเสวนปัจจัย
ตอบว่า เพราะไม่ใช่ชวนจิต ได้ไหม ไม่ได้ทำชวนกิจ แต่ทำโวฏฐัพพนกิจ และไม่ได้เกิดซ้ำกันถึง ๔ - ๕ ขณะ หรือ ๔ - ๕ ดวง อย่างมากที่โวฏฐัพพนจิตจะเกิด ก็ ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้งได้ คือ ๒ ขณะ หรือ ๓ ขณะ แต่ไม่ถึง ๔ ขณะ หรือ ๕ ขณะ ไม่มียกเว้น เนื่องจากอารมณ์ที่ปรากฏ บางทีเกิดก่อนวิถีจิตมาก เพราะฉะนั้น ก็เป็นอารมณ์ที่ใกล้จะดับ เพราะฉะนั้น จะไม่เป็นปัจจัยที่จะทำให้ชวนจิตเกิดได้ แต่เป็นปัจจัยให้โวฏฐัพพนจิตเกิดได้ ๑ ครั้ง หรือ ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้ง แต่ว่าไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล
เพราะฉะนั้น ก็ไม่ได้กระทำชวนกิจ เพียงแต่ทำโวฏฐัพพนกิจ แล้วก็ดับ จึงไม่ใช่อาเสวนปัจจัย อย่าลืมว่า อาเสวนปัจจัย ต้องได้แก่กุศลจิต หรืออกุศลจิต สำหรับปุถุชน และสำหรับพระอรหันต์ก็เป็นกิริยาจิต ซึ่งทำให้ปัจจยุปบันน คือจิตที่เกิดต่อ ซึ่งต้องเป็นจิตชาติเดียวกัน เสพอารมณ์ที่ตนเสพแล้วนั้นซ้ำอีก
สำหรับวิถีจิตทางปัญจทวารขณะต่อไป ได้แก่ “ชวนจิต” ซึ่งเป็นวิถีจิตขณะที่ ๖ - ๑๒ เพราะเหตุว่า ตามปกติ ชวนจิตจะเกิด – ดับ ซ้ำ สืบต่อกันถึง ๗ ขณะ หรือ ๗ ครั้ง สำหรับชวนจิต ซึ่งสามารถจะเกิด – ดับ สืบต่อเสพอารมณ์ ซ้ำกันถึง ๗ ครั้ง ก็ได้แก่
อกุศลจิต ๑๒ ดวง ซึ่งได้แก่ โลภมูลจิต ๘ ดวง โทสมูลจิต ๒ ดวง โมหมูลจิต ๒ ดวง
นอกจากนั้น ก็ได้แก่
มหากุศลจิต ๘ ดวง ในขณะที่เป็นกุศลชวนจิต ซึ่งเป็นกุศล จะเกิด – ดับสืบต่อ เสพอารมณ์เดียวกัน ซ้ำกัน ๗ ขณะ
และถ้าเป็นพระอรหันต์ ก็เป็น
มหากิริยาจิต ๘ ดวง เพราะเหตุว่า พระอรหันต์ไม่มีอกุศลจิต หรือไม่มีกุศลจิตแล้ว
นอกจากนั้น ก็มี
หสิตุปปาทจิตอีก ๑ ซึ่งเป็นจิตที่ทำให้เกิดการแย้มยิ้ม พอเห็นไรฟันของพระอรหันต์
รวมเป็นกามชวนะ ๒๙ ดวง ที่จะเกิดทางปัญจทวารได้
ขอทบทวนอีกที
สำหรับจิตซึ่งเป็นชวนจิต ทำชวนกิจทางปัญจทวาร มีทั้งหมด ๒๙ ดวง คือ
อกุศลจิต ๑๒ ดวง
มหากุศลจิต ๘ ดวง สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์
มหากิริยาจิต ๘ ดวง และ
หสิตุปปาท ๑ ดวง สำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันต์
รวมกามชวนจิต คือจิตที่เป็นไปรู้อารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
กามชวนะทั้งหมดมี ๒๙ ดวง
ในขณะที่มีการเห็น ยังไม่ถึงมโนทวาร เพียงแต่ทางปัญจทวารวิถี จิตซึ่งเป็นชวนจิต กระทำชวนกิจ มี ๒๙ ดวง
ถาม เวลานี้ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ จะมีชวนจิตเกิดได้กี่ดวง ท่านยังไม่ใช่พระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จิตของท่าน ขณะที่เห็นครั้งหนึ่ง ได้ยินครั้งหนึ่ง จะมีจิตที่ทำชวนจิตได้ มีกี่ดวง
ตอบ ๒๐ ดวง คืออกุศลจิต ๑๒ ดวง หรือกุศลจิต ๘ ดวง ทีละอย่าง ทีละประเภท ไม่ใช่พร้อมๆ กัน
ถ้าโลภมูลจิต ที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา เกิดพร้อมกับความเห็นผิด เกิดโดยไม่มีการชักชวน ไม่มีการชักจูง เป็นโลภมูลจิตดวงที่ ๑ ประเภทที่ ๑ เกิดขึ้นเป็นชวนจิตดวงที่ ๑ ดับไป เป็นอาเสวนปัจจัยทำให้โลภมูลจิตประเภทเดียวกัน คือเกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา เกิดร่วมกับความเห็นผิด และเป็นอสังขาริก เกิดโดยไม่อาศัยการชักจูงขณะที่ ๒ เกิดขึ้น โดยจิตดวงที่ ๑ นี้ เป็นอาเสวนปัจจัย เมื่อเสพอารมณ์ หรือว่ารู้อารมณ์นั้น โดยทำชวนกิจแล้ว ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยทำให้โลภมูลจิตประเภทเดียวกัน เกิดสืบต่อ กระทำชวนกิจอีก
สำหรับชวนจิต ไม่ว่าจะเป็นอกุศลจิต หรือกุศลจิต หรือมหากิริยาจิตของพระอรหันต์ หรือหสิตุปปาทจิตของพระอรหันต์ เกิดที่ไหน
อกุศลจิตเกิดที่ไหน หทยวัตถุ
มหากุศลจิตเกิดที่ไหน หทยวัตถุ
มหากิริยาจิตเกิดที่ไหน หทยวัตถุ
หสิตุปปาทจิตเกิดที่ไหน หทยวัตถุ
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่แล้ว จิตเกิดที่หทยวัตถุ จะเปลี่ยนที่เกิด ก็แต่เฉพาะในขณะที่ทำกิจเห็น กระทำทัสสนกิจ เป็นจักขุวิญญาณจิต เพียงขณะเดียว ทางทวารตา หรือว่า ถ้าเป็นทางหู ก็เฉพาะโสตวิญญาณจิต ซึ่งเกิดขึ้น กระทำกิจได้ยินเสียง ขณะที่ได้ยิน ขณะเดียวเท่านั้น ที่ทำสวนกิจ ที่เกิดขึ้นที่โสตปสาท
นอกจากนั้นแล้ว ทันทีที่จักขุวิญญาณจิต เกิดที่จักขุปสาท ดับไป โสตวิญญาณจิตเกิดที่โสตปสาท ดับไป จิตอื่นที่เกิดต่อ เปลี่ยนที่เกิดแล้ว คือเกิดที่หทยวัตถุ หรือก่อนนั้น เวลาที่เป็นวิถีมุตตจิต จิตนั้นก็เกิดที่หทยวัตถุ หรือเวลาที่วิถีจิตขณะที่ ๑ เกิด
ปัญจทวาราวัชชนจิต ก็เกิดที่ หทยวัตถุ เฉพาะเวลาที่
จักขุวิญญาณจิต เกิดที่จักขุวัตถุ
โสตวิญญาณจิต เกิดที่โสตวัตถุ
ฆานวิญญาณจิต เกิดที่ฆานวัตถุ
ชิวหาวิญญาณจิต เกิดที่ชิวหาวัตถุ
กายวิญญาณจิต เกิดที่กายวัตถุ
ชั่วขณะนั้นเท่านั้น ซึ่งปสาทเป็นวัตถุ คือเป็นที่เกิดของจิต ๑ ใน ๑๐ ดวง นอกจากนั้นแล้ว จิตต่อๆ ไป ก็เกิดที่หทยวัตถุ โดยหทยวัตถุเป็นปุเรชาตปัจจัย แก่กุศลจิต, อกุศลจิต หรือกิริยาจิต หรือหสิตุปปาทจิตของพระอรหันต์
อกุศลจิตเป็นปัจฉาชาตปัจจัยหรือเปล่า เป็น
จิตทุกดวง นอกจากปฏิสนธิจิตแล้ว เป็นปัจฉาชาตปัจจัย แม้ว่าจะเกิดภายหลังรูป ก็อุปถัมภ์รูป
อกุศลจิตเป็นอาเสวนปัจจัยหรือเปล่า เป็น แต่อย่าลืม ต้องจำกัดว่า
ชวนจิตขณะที่ ๑ เป็นอาเสวนปัจจัย ชวนจิตขณะที่ ๒ เป็นปัจจยุปบันน
ชวนจิตขณะที่ ๒ เป็นอาเสวนปัจจัย ชวนจิตขณะที่ ๓ เป็นปัจจยุปบันน
ชวนจิตขณะที่ ๓ เป็นอาเสวนปัจจัย ชวนจิตขณะที่ ๔ เป็นปัจจยุปบันน
ชวนจิตขณะที่ ๔ เป็นอาเสวนปัจจัย ชวนจิตขณะที่ ๕ เป็นปัจจยุปบันน
ชวนจิตขณะที่ ๕ เป็นอาเสวนปัจจัย ชวนจิตขณะที่ ๖ เป็นปัจจยุปบันน
ชวนจิตขณะที่ ๖ เป็นอาเสวนปัจจัย ชวนจิตขณะที่ ๗ เป็นปัจจยุปบันน
ชวนจิตขณะที่ ๗ เป็นอาเสวนปัจจัยหรือเปล่า ไม่เป็น
ตทาลัมพนจิตเป็นชาติอะไร เป็นชาติวิบาก
อาเสวนปัจจัยได้แก่กุศลจิต อกุศลจิต กิริยาจิต อย่าลืม เว้นวิบากจิตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นรูปวาจรวิบาก, อรูปาวจรวิบาก โลกุตตรวิบาก หรือกามาวจรวิบาก ไม่เป็นอาเสวนปัจจัย
เพราะฉะนั้น ชวนจิตดวงที่ ๗ เป็นอาเสวนปัจจัยหรือเปล่า ถ้าเป็น ต้องมีชวนจิตขณะที่ ๘ ถูกไหม แต่ชวนจิตดวงที่ ๘ ไม่มีเลย
เมื่อชวนจิตดวงที่ ๗ ดับไป แต่อารมณ์ยังไม่ดับ เป็นปัจจัยทำให้ตทาลัมพนจิต ซึ่งเป็นวิบากจิตเกิดขึ้น วิบากจิตทั้งหมดมีกรรมเป็นปัจจัย ทำให้เกิด เพราะฉะนั้น ตทาลัมพนจิตซึ่งเป็นวิบากจิตเกิดขึ้น รู้อารมณ์ต่อจากชวนจิต แต่ชวนจิตดวงที่ ๗ ไม่ได้เป็นอาเสวนปัจจัยให้กับตทาลัมพนจิต เพราะเหตุว่า ตทาลัมพนจิตเป็นวิบากจิต
ถาม ตทาลัมพนจิตเกิดที่ไหน หทยวัตถุ ตอบไม่ยากเลย
ไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทไหน ชื่ออะไรก็ตาม จะเคยได้ยินมาก่อน หรือไม่เคยได้ยินมาก็ตาม ถ้าไม่ใช่ จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง
โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง
ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง
ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง
กายวิญญาณจิต ๒ ดวง แล้ว
ต้องเกิดที่หทยวัตถุทั้งหมด ในภูมิที่มีขันธ์ ๕
ตทาลัมพนจิตเป็นปัจฉาชาตปัจจัยหรือเปล่า เป็น ง่ายมาก คือจิตทุกดวง นอกจากปฏิสนธิจิตแล้ว เป็นปัจฉาชาตปัจจัยแก่รูปซึ่งเกิดก่อนทั้งนั้น
ถาม ตทาลัมพนจิตเป็นอาเสวนปัจจัยหรือเปล่า ไม่เป็น
ถาม เพราะอะไร เพราะเป็นวิบากจิต
หลังจากตทาลัมพนจิตดับไปแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ โดยอนันตรปัจจัย ภวังคจิตเกิด ไม่มีใครยับยั้งได้ จะไม่ให้ภวังคจิตเกิดได้ไหม ถ้าตทาลัมพนจิตดับไปแล้ว จะไม่ให้ภวังคจิตเกิดได้ไหม ถ้าไม่มีภวังคจิตเกิดคั่น จิตที่เกิดต่อเป็นอะไร
เวลาที่วิถีจิตทางปัญจทวารดับหมด โดยตทาลัมพนจิตก็ดับ รูปซึ่งเกิดตั้งแต่อตีตภวังค์ คือทันทีที่เกิด ก็กระทบกับปสาท และกระทบกับอตีตภวังค์ มาดับพร้อมกับการดับของตทาลัมพนะ เพราะเหตุว่า ตั้งแต่อตีตภวังค์จนถึงตทาลัมพนจิต จิตเกิด – ดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น รูปนั้นก็ดับเป็นอดีต เมื่อรูปนั้นดับไปแล้ว จิตต้องเป็นภวังค์ แต่ถ้าภวังคจิตไม่เกิด จะเป็นอะไร จุติจิตเกิด
เพราะฉะนั้น เวลานี้ เพียงไม่มีจุติจิตเกิด ก็ต้องเป็นภวังคจิตเกิดต่อ แล้วคั่นอยู่หลายขณะ ก่อนที่มโนทวารวิถีจิตจะเกิดขึ้น รู้อารมณ์ต่อจากทางตา ซึ่งกำลังเห็น ทุกครั้งที่วิถีจิตทางทวารหนึ่งทวารใดเกิดขึ้น รู้อารมณ์ที่ปรากฏ ทางทวารนั้นๆ ดับไปแล้ว ภวังคจิตต้องเกิดคั่น ไม่อย่างนั้นจะทำอย่างไร รูปดับไปแล้ว ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ถ้าภวังคจิตไม่เกิด จุติจิตต้องเกิด แต่เพราะเหตุว่า จุติจิตยังไม่เกิด จิตดวงต่อไปทำภวังคกิจ ดำรงภพชาตินั้นอยู่ ก่อนที่วิถีจิต่อไปจะเกิด และเมื่อวิถีจิตทางปัญจทวาร ดับไปแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นแล้ว วิถีจิตอื่นจะเกิดต่อทันทีไม่ได้ นอกจากมโนทวารวิถีจิต จะให้โสตทวารวิถีเกิดขึ้นได้ยินเสียง ต่อจากภวังคจิตซึ่งคั่นจักขุทวารวิถีจิต ซึ่งดับไปแล้ว ไม่ได้ ถ้าเป็นทางตา เมื่อจักขุทวารวิถีจิตดับไปแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นแล้วหลายขณะ การรู้อารมณ์ทางตา ซึ่งดับไป เป็นปัจจัยให้ภวังคจลนะไหว ซึ่งเมื่อภวังคจลนจิตดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้ภวังคุปัจเฉทเกิดขึ้น เป็นกระแสภวังค์ดวงสุดท้าย แล้วก็ดับไป เมื่อภวังคุปัจเฉทดับไปแล้ว มโนทวาราวัชชนจิต คือจิตที่รำพึงถึงอารมณ์ทางใจเกิดขึ้น รำพึงถึงอารมณ์ ที่ทางจักขุทวารวิถี ซึ่งดับไปก่อน รู้
เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าทางตาจะเห็นอะไร ท่านคิดถึงสิ่งที่เห็นทางตา ถูกไหม นึกถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าเห็นเทปนี้ นึกถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏทางตา เห็นคน ก็นึกถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ว่าสิ่งนั้น จะปรากฏทางตา ดับไปแล้ว มีภวังคจิตคั่นแล้ว มโนทวารวิถีต้องเกิดต่อ รู้อารมณ์เดียวกับที่ปรากฏทางตาซ้ำอีก ก่อนที่มโนทวารวิถีจิตนั้น เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตดับไปแล้ว เพราะเหตุว่า ไม่ใช่รูปกระทบจักขุปสาท ไม่ใช่เสียงกระทบโสตปสาท เพราะฉะนั้น สำหรับทางใจ ที่เป็นมโนทวาร มีวิถีจิตเกิด
คือ มโนทวราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตแรก รำพึงถึงอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดก็แล้วแต่ ว่ามโนทวาราวิถีทวารนั้นจะเกิดต่อจากวิถีไหนของปัญจทวาร เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้ชวนจิตเกิดทันที แล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลจิตหรือจะเป็นอกุศลจิต สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ และสำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันต์ ก็เป็นกิริยาจิต ไม่ใช่กุศลจิตและอกุศลจิตอีกต่อไป
เป็นความจริงไหม ที่ว่า มโนทวารวิถี หลังจากที่ภวังคจิตเกิดคั่น กับปัญจทวารวิถีหนึ่งวิถีใดแล้ว จะรู้อารมณ์ที่ทางปัญจทวารวิถีรู้ก่อน ซ้ำอีก
ทางหูได้ยินเสียงอะไร ทางโสตทวารวิถีจิต ดับไปหมดแล้ว เสียงนั้นก็ดับแล้ว ภวังคจิตก็เกิดคั่น แต่มโนทวารวิถีจะเกิดต่อ โดยรำพึงถึงเสียงที่ทางโสตทวารวิถีพึ่งได้ยินแล้วดับไป นี่เป็นเหตุที่ได้ยินคำไหน ก็นึกถึงความหมายของคำนั้น ใช่ไหม เพราะเหตุว่า มโนทวารวิถีจะต้องเกิดต่อจากทางปัญจทวารวิถี วิถีหนึ่งวิถีใดก็ตาม ทุกครั้งที่ทางปัญจทวารวิถีดับไป
ถ้าโสตทวารวิถีจิตได้ยินเสียงอะไรดับไป หมดแล้วทางโสตทวารวิถี ภวังคจิตเกิดคั่นแล้ว มโนทวารวิถีก็เกิดต่อ โดยมีเสียงที่ทางโสตทวารวิถีพึ่งได้ยินนั่นเอง เป็นอารมณ์ ก่อนที่จะรู้ว่าเสียงที่ได้ยิน มีความหมายว่าอะไร
เพราะฉะนั้น สำหรับทางมโนทวารวิถี มีวิถีจิตเกิดน้อยกว่าทางปัญจทวารวิถี เพราะเหตุว่า ทางปัญจทวารวิถีมีปัญจทวาราวัชชนจิตเกิด รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบ ทางทวารหนึ่งทวารใดใน ๕ ทวาร ปัญจทวาราวัชชนจิตจะไม่เกิดทางมโนทวารวิถีเลย
สำหรับทางปัญจทวารวิถี นอกจากจะมีปัญจทวาราวัชชนจิต ก็ยังมีจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณ แล้วแต่ว่าจะเป็นทางทวารไหน หลังจากนั้นก็มี สัมปฏิจฉนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต ชวนจิต ตทาลัมพนจิต
แต่สำหรับทางมโนทวาวิถี ปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่สามารถที่จะเกิดทางมโนทวารได้ เป็นจิตคนละดวง เพราะฉะนั้น จิตที่รำพึงถึงอารมณ์ทางมโนทวารเป็นวิถีแรก จึงเป็นมโนทวาราวัชชนจิต เป็นวิถีจิตดวงแรก ทำอาวัชชนกิจ
ถาม มโนทวาราวัชชนจิตเป็นชาติอะไร ชาติกิริยา
ถาม เกิดที่ไหน หทยวัตถุ
ตอนนี้ง่ายมาก ถ้าจะถามซ้ำต่อไปจนกระทั่งถึง
ถาม เป็นอาเสวนปัจจัยหรือเปล่า ไม่เป็น
ถาม เพราะเหตุใด
ตอบ เวลาที่ทำอาวัชชนกิจ มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ทางมโนทวาร ไม่ต้องเกิดขึ้นหลายครั้ง
ท่านผู้ฟังนั่งๆ อยู่ ถึงแม้จะไม่ได้เห็นอะไร ไม่ได้ยินอะไร ไม่ได้กลิ่นอะไร ไม่ได้ลิ้มรสอะไร ไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสอะไร คิดนึกอยู่เสมอโดยที่ไม่รู้ตัว เวลาถามว่ากำลังคิดอะไร ยากที่จะตอบใช่ไหม บางทีก็ตอบไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าในขณะที่ตอบไม่ได้นี้ ไม่ได้คิด เพราะเหตุว่า ถ้ากล่าวถึงสภาพที่คิด คือวิตกเจตสิก หรือขณะที่จิตคิด จะมีการคิดแม้ว่าไม่ได้คิดเป็นคำ วิตกเจตสิกเกิดพร้อมกับสัมปฏิจฉนจิต และจิตอื่นๆ ที่ต่อจากนั้น เว้นไม่เกิดกับ
ทวิปัญจวิญญาณจิตเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ก็ให้เห็นสภาพของวิตกเจตสิก ซึ่งมีลักษณะตรึก หรือจรดในอารมณ์ เพราะฉะนั้นมโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งเป็นวิถีจิตแรกทางมโนทวาร ไม่เกิดหลายครั้ง เมื่อมโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งเกิดขึ้นขณะเดียวแล้วดับ ชวนจิตเกิดต่อทันที คือเป็นกุศล หรืออกุศล สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชน และเป็นกิริยาจิต สำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันต์ โดยไม่ต้องมีจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ไม่ต้องมีสัมปฏิจฉนจิต ไม่ต้องมีสันตีรณจิต ไม่ต้องมีโวฎฐัพพนจิต ก็เป็นกุศล หรืออกุศล แล้วแต่ว่ามโนทวาราวัชนจิตจะมนสิการ ให้วิถีจิตใดเกิดต่อ คือจะเป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชน รวดเร็วไหม ทั้งทางปัญจทวาร และมโนทวาร ที่กุศลจิตรึกุศลจิตจะเกิด
ทางปัญจทวาร ในขณะที่เห็น และรูปยังไม่ดับ พอถึงชวนจิต จะต้องเป็นกุศลหรืออกุศลอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ให้เห็นสภาพของโมหะ ความไม่รู้ ว่าแม้อกุศลจิตเกิดแล้ว ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอกุศล ทุกขณะที่เห็นแล้ว หลงลืมสติ จะเป็นกุศลจิตได้ไหม ไม่ได้ ขณะที่เห็น แล้วสติไม่ได้ระลึกเป็นไปในทาน จะเป็นกุศลได้ไหม ก็ไม่ได้อีก ถ้าขณะนั้นกุศลจิตไม่เกิด ระลึกเป็นไปในทาน ในศีล ในสมถะ คือความสงบ หรือในสติปัฏฐาน
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50