ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
ตลับที่ ๑๖
หรือในสติปัฏฐาน ให้ทราบว่าอกุศลจิตเกิดแล้ว แต่แม้กระนั้น ก็ไม่มีใครทราบว่า ในขณะที่เห็นแล้วอกุศลจิตเกิดแล้ว เพราะฉะนั้น อกุศลจิตจะมากสักเท่าไร เพราะเหตุว่า ถึงแม้ว่าจะเกิดแล้ว ก็ยังไม่รู้ว่าเกิดแล้ว เห็น รู้แต่เวลาเป็นอกุศล ไม่รู้ว่า ทางปัญจทวาร เมื่อจักขุวิญญาณจิตดับ สัมปฏิจฉนจิตดับ สันตีรณจิตดับ โวฏฐัพพนจิตดับ อกุศลเกิดแล้ว
ทรงเกียรติ ยังมีปัญหา เรื่องที่อาจารย์ได้กล่าวว่า ชวนจิตมี ๗ ขณะ
อ.จ. สำหรับกามชวนะ
ทรงเกียรติ สำหรับฌานลาภีบุคคล บางครั้งท่านเข้าสมาบัติ ฌานจิตเกิดนับไม่ถ้วน ไม่มีระหว่างคั่น
อ.จ. ขณะนั้นเป็นอัปปนาชวนะ ไม่ใช่กามชวนะ
ทรงเกียรติ ก็เป็นชวนะเหมือนกัน
อ.จ. ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ต้องแยกไปอีก และสำหรับกามชวนะเอง ในขณะที่ใกล้จะจุติ ใกล้จะสิ้นชีวิต ก็ไม่ถึง ๗ ขณะ
เพราะฉะนั้น ธรรมที่ได้ฟังในเบื้องต้น ก็เป็นธรรมขั้นต้น ที่กล่าวถึงโดยทั่วๆ ไป แต่ถ้าศึกษาโดยละเอียดแล้ว ก็ต้องละเอียดขึ้นไปอีกเรื่อยๆ
ทรงเกียรติ อัปปนาชวนะยังเป็นอาเสวนปัจจัยด้วยหรือเปล่า
อ.จ. กุศลจิตทุกดวงเป็นอาเสวนปัจจัย เว้นดวงสุดท้าย
อกุศลจิตทุกดวงเป็นอาเสวนปัจจัย เว้นดวงสุดท้าย
ถ้ากุศลจิตเกิด ๗ ขณะ
กุศลจิตดวงที่ ๑ เป็นอาเสวนปัจจัยให้กุศลจิตดวงที่ ๒
กุศลจิตดวงที่ ๒ เป็นอาเสวนปัจจัยให้กุศลจิตดวงที่ ๓
กุศลจิตดวงที่ ๓ เป็นอาเสวนปัจจัยให้กุศลจิตดวงที่ ๔
กุศลจิตดวงที่ ๔ เป็นอาเสวนปัจจัยให้กุศลจิตดวงที่ ๕
กุศลจิตดวงที่ ๕ เป็นอาเสวนปัจจัยให้กุศลจิตดวงที่ ๖
กุศลจิตดวงที่ ๖ เป็นอาเสวนปัจจัยให้กุศลจิตดวงที่ ๗
แต่กุศลจิตดวงที่ ๗ ไม่เป็นอาเสวนปัจจัย
สำหรับกามชวนวิถี ซึ่งมีเพียง ๗ ขณะเท่านั้น
ขอถามบ้าง กุศลจิตเป็นอาเสวนปัจจัยให้แก่อกุศลจิตได้ไหม
ตอบ ไม่ได้
อ.จ. โดยเป็นอาเสวนปัจจัย ไม่ได้ แต่จะเป็นปัจจัยให้แก่อกุศลจิตได้โดยปัจจัยอะไร
ทรงเกียรติ โดยปกตูปนิสสยปัจจัยก็ได้
อ.จ. โดยอุปนิสสยปัจจัยได้ โดยปกตูปนิสสยปัจจัยได้ นี่เป็นเรื่องละเอียดที่จะเห็นสภาพของจิตของแต่ละท่าน ของแต่ละบุคคล
เวลาที่พิจารณาเป็นสภาพธรรม ลืมชื่อของบุคคลนั้นได้เลย ใช่ไหม เขาเคยชื่ออะไร ก็ไม่ทราบ ไม่ได้สนใจ แต่ขณะนี้กำลังเป็นโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต หรือว่ากำลังเป็นเจตสิกประเภทนั้นๆ ที่ทำให้เกิดรูป หรือการกระทำทางกาย ทางวาจาอย่างนั้น คนนั้นชื่ออะไร อาจจะไม่รู้จัก แต่เห็นอาการของมานะ เห็นอาการของโลภะ เห็นอาการของโทสะ ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม เป็นธรรมที่มีจริง
เพราะฉะนั้น เรื่องของปัจจัย ก็เป็นเรื่องที่จะต้องเข้าโดยละเอียด ว่ากุศลเป็นอาเสวนปัจจัย แก่อกุศลไม่ได้ และอกุศลก็เป็นอาเสวนปัจจัยแก่กุศลไม่ได้ กุศลเป็นอาเสวนปัจจัยแก่กุศล เพราะเหตุว่า กุศลขณะแรกที่เกิด มีกำลังสามารถทำให้จิตที่เป็นกุศลดวงต่อๆ ไปเกิดขึ้นได้ โดยคล่องแคล่วว่องไว เพราะอาเสวนปัจจัย แต่กุศลจะเกิดต่อจากกุศลอย่างคล่องแคล่วว่องไวถึงอย่างนั้น ในวิถีเดียวกัน ในชวนะเดียวกัน เป็นไปไม่ได้
เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นฝ่ายทางอกุศลจิต อกุศลจิตดวงที่ ๑ เป็นสภาพที่มีกำลัง ทำให้อกุศลจิตดวงต่อไปเกิดขึ้นได้โดยคล่องแคล่วว่องไว ไม่ต้องรีรอ แต่ไม่สามารถเป็นปัจจัยให้กุศลจิตเกิด ต่อจากอกุศลจิตโดยรวดเร็วคล่องแคล่วว่องไวอย่างนั้นได้ ในวิถีจิตเดียวกัน
นี่คือสภาพธรรมที่เป็นอาเสวนปัจจัย สามารถที่จะทำให้จิตชาติเดียวกัน ประเภทเดียวกัน ประกอบด้วยเวทนาอย่างเดียวกัน เกิดขึ้นโดยคล่องแคล่วว่องไวได้
ขอถามต่อไปอีกข้อหนึ่ง
ถาม ทำไมกุศลจิตหรืออกุศลจิตไม่เป็นอาเสวนปัจจัยแก่วิบากจิต
ในคราวก่อนทราบแล้วว่า วิบากจิตทั้งหมดไม่เป็นอาเสวนปัจจัย เพราะฉะนั้น เวลาที่ชวนจิต ๗ ขณะเกิด ชวนะดวงที่ ๗ ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้ตทาลัมพนะ ซึ่งเป็นวิบากจิตเกิดต่อ ทำไมชวนจิตดวงสุดท้าย ไม่เป็นอาเสวนปัจจัยให้วิบากจิต ซึ่งเป็นตทาลัมพนะ
ตอบ เพราะเหตุว่า ตทาลัมพนะรู้อารมณ์เดียวกับชวนจิตดวงสุดท้ายเหมือนกัน แต่เพราะโดยชาติต่างกัน ที่วิบากจิตทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย ซึ่งกุศลและอกุศลไม่ได้เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น ในขณะใดก็ตาม จิตที่เป็นวิบากเกิดขึ้น ให้ทราบว่า กรรมที่ได้กระทำแล้ว เป็นปัจจัย ไม่มีใครผันแปรลักษณะสภาพของวิบากที่จะให้เป็นอย่างอื่นได้ เพราะเหตุว่า ย่อมเป็นไปตามกรรม
เพราะฉะนั้น แม้ตทาลัมพนะจะเกิดต่อจากกุศลชวนะ หรืออกุศลชวนะ ดวงที่ ๗ ก็ตาม ตทาลัมพนะเป็นวิบากจิต ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกรรม
ในอรรถกถา ใช้คำว่า “ซัดไป” หรือใช้คำว่า “ซัดมา” ก็ได้ คือกรรมนั้นเป็นปัจจัยทำให้วิบากนั้นเกิด
เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้เกิดขึ้นเพราะอาเสวนปัจจัยของชวนจิตดวงสุดทาย เพราะเหตุว่า ชวนจิตดวงสุดท้าย ไม่เป็นอาเสวนปัจจัยให้เแก่จิตดวงต่อไป
ยังมีข้อสงสัยอื่นๆ อีกไหม
ในคราวก่อนเป็นเรื่องของ “อาเสวนปัจจัย” ข้อที่ควรพิจารณา ก็คือว่า อาเสวนปัจจัยต่างกับ “อนันตรปัจจัย” อย่างไร
เพราะเหตุว่า อนันตรปัจจัย หมายถึงจิตและเจตสิก ซึ่งเกิดแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิตและเจตสิกขณะต่อไปเกิดขึ้น
สำหรับอาเสวนปัจจัยหมายถึงเฉพาะ จิตที่เป็นชวนวิถี คือว่าเป็นกุศล อกุศล หรือว่าเป็นกิริยาจิต ขณะที่ ๑ เป็นอาเสวนปัจจัย เมื่อดับไปแล้ว ทำให้จิตประเภทนั้น คือจิตชาตินั้นเอง เกิดขึ้น เช่นถ้าชวนจิตดวงที่ ๑ เป็นโลภมูลจิต ที่เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา เป็นอสังขาริก ดับไป เป็นอาเสวนปัจจัยทำให้เป็นโลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา เป็นอสังขาริกขณะต่อไปเกิดขึ้น จนกระทั่งถึงโลภมูลจิตขณะที่ ๗ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา เป็นอสังขาริก จิตดวงนั้นไม่มี หรือไม่เป็นอาเสวนปัจจัย เพราะเหตุว่าไม่สามารถจะทำให้โลภมูลจิตเกิดซ้ำอีก เป็นขณะที่ ๘ ได้
เพราะฉะนั้น ความต่างกันของอนันตรปัจจัย และอาเสวนปัจจัย ก็คือ
สำหรับ “อนันตรปัจจัย” นั้น เป็นปัจจัยเพียงให้จิตและเจตสิกขณะต่อไปเกิดขึ้น เมื่อวิบากจิตดับไปแล้ว กิริยาจิตก็เกิดต่อไปได้ หรือว่า เมื่อกุศลจิตดับไปแล้ว วิบากจิตก็เกิดต่อได้
แต่สำหรับ “อาเสวนปัจจัย” นั้น เป็นปัจจัยให้จิตประเภทเดียวกัน ชาติเดียวกัน ประกอบด้วยเวทนาอย่างเดียวกัน เกิดขึ้นซ้ำ โดยที่ว่า จิตชาติอื่น หรือจิตประเภทอื่น เกิดต่อไม่ได้
สำหรับ โลกุตตรกุศลจิต ไม่เป็นอาเสวนปัจจัย เพราะเหตุว่า เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว แล้วดับกิเลสเป็นสมุจเฉท ไม่เป็นปัจจัย ให้โลกุตตรกุศลจิต คือโสตาปัตติมัคคจิตเกิดซ้ำอีกถึง ๒ ขณะ ๓ ขณะ เหมือนโลกียกุศล เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ต้องเว้นสำหรับโลกุตตรกุศล
มีข้อสงสัยอะไรไหมในเรื่องนี้ สำหรับอาเสวนปัจจัย ความต่างกันของอาเสวนปัจจัยและอนันตรปัจจัย เพราะเหตุว่า บางปัจจัยจะรู้สึกว่า คล้ายคลึงกัน แต่ว่าเป็นปัจจัยที่ต่างกัน เพราะเหตุว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นอนันตรปัจจัย แต่ไม่เป็นอาเสวนปัจจัยได้
โลภมูลจิตเป็นอนันตรปัจจัยหรือเปล่า เป็น เมื่อดับไปแล้ว ต้องมีจิตและเจตสิกขณะต่อไปเกิด
โลภมูลจิตเป็นอาเสวนปัจจัยหรือเปล่า โลภมูลจิตดวงที่ ๑ - ดวงที่ ๖ ในชวนวิถี เดียวกัน เป็นอาเสวนปัจจัย แต่โลภมูลจิตขณะที่ ๗ ในชวนวิถีนั้น ไม่เป็นอาเสวนปัจัย
มีข้อสงสัยอะไรไหมในเรื่องของอาเสวนปัจจัย สภาพธรรมซึ่งกำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ในขณะนี้เอง หลังจากเห็น จะต้องมีชวนวิถี มีอาเสวนปัจจัย หลังจากที่ได้ยินกุศลจิตเกิดเป็นอาเสวนปัจจัย เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่เกิด – ดับตามปกติ ในชีวิตประจำวัน แต่ที่จะเห็นว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ก็โดยอาศัยการฟัง การพิจารณา จนสามารถที่จะเข้าใจในอรรถที่เป็นอนัตตา สภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน พร้อมที่จะปรุงแต่งปัญญา ให้ละการยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏ ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ในขณะที่สติกำลังระลึก ที่ลักษณะของนามธรรม หรือรูปธรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ที่กำลังปรากฏในขณะนี้
ถ้าไม่มีข้อสงสัยในเรื่องของอาเสวนปัจจัย วันนี้เป็นเรื่องของปัจจัยที่ ๑๓ คือ “กัมมปัจจัย” คำว่า “กัมม” เป็นคำที่ชินหู แต่แม้กระนั้น เรื่องของ”กัมม” และเรื่อง “ผลของกรรม” ก็เป็นปัญหา ไม่เฉพาะแต่ในยุคนี้ แม้ในยุคก่อนๆ และในยุคต่อๆ ไป เพราะเหตุว่า บางท่านก็มีความเห็นว่า การกระทำทั้งหลาย ไม่ให้ผล อกุศลกรรมไม่ให้ผล หรือว่ากุศลกรรมไม่ให้ผล
ที่เข้าใจกันอย่างนี้ ก็เพราะเหตุว่า ยังไม่ได้ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยละเอียด ให้เข้าใจโดยถ่องแท้ว่า ที่ชื่อว่า “กัมม” หรือว่าสภาพที่เป็นกัมม ได้แก่ปรมัตถธรรมอะไร
เพราะเหตุว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตร ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นปรากฏ เป็นไป ก็ได้แก่ ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิตปรมัตถ์ ๑ เจตสิกปรมัตถ์ ๑ รูปปรมัตถ์ ๑ นิพพานปรมัตถ์ ๑
สำหรับรูปปรมัตถ์ เป็นกรรมหรือเปล่าคะ ไม่เป็นนะคะ เพราะเหตุว่า รูปไม่ใช่สภาพรู้ เมื่อรูปไม่ใช่กรรม ก็ต้องมีเหตุผลด้วยว่า เพราะอะไร รูปจึงไม่เป็นกรรม หรือว่ารูปจึงไม่ใช่กรรม เพราะเหตุว่า รูปไม่ใช่สภาพรู้
ตั้งแต่ศรีษะตลอดเท้า รูปธรรมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น จักขุปสาทต่างๆ ก็ไม่เห็นอะไร โสตปสาท ก็ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย เป็นรูปชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถรับประทบ เฉพาะเสียง และเวลาที่เสียงปรากฏ ก็เพราะเหตุว่า มีนามธรรมคือจิตและเจตสิกเกิดขึ้น รู้เสียงที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น รูปทั้งหมดไม่ใช่กรรม เพราะเหตุว่ารูปไม่ใช่สภาพรู้ ไม่ใช่นามธรรม บางท่านอาจจะสงสัยว่า ถ้าไม่มีรูป กรรมจะมีได้ไหม แต่ถึงกระนั้นก็ตาม รูปก็ไม่ใช่กรรม เพราะเหตุว่า รูปไม่ใช่สภาพรู้
จิตปรมัตถ์เป็นกรรมหรือเปล่าคะ จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้ จิตเป็นสังขารธรรม ขณะใดที่จิตเกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมเกิดร่วมด้วย แล้วแต่จะเป็นจิตประเภทใด จะมีเจตสิกเกิดร่วมกับจิตนั้นกี่ประเภท แต่จิตเป็นเพียงเป็นใหญ่ในการรู้
ในขณะที่เห็น จิตเห็น แต่เวลาที่รู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ไม่ใช่จิต เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง คือเวทนาเจตสิก ในขณะที่เห็น และจำได้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นอะไร สภาพที่จำก็ไม่ใช่จิต เป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง คือสัญญาเจตสิก
เพราะฉะนั้น จิตไม่ใช่กรรม ถ้ากล่าวโดยกว้าง อาจจะกล่าวได้ว่า จิตใดที่เป็นกุศล หรือจิตใดที่เป็นอกุศล ทำให้เกิดการกระทำที่เป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรม จิตและเจตสิที่เกิดร่วมกันเป็นจิตตุปปาท เป็นกรรม แต่ถ้ากล่าวโดยเจาะจงแล้ว จิตซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ ไม่ใช่ตัวกรรม ไม่ใช่สภาพที่กระทำกรรม แต่ว่าเจตสิกดวงหนึ่งในเจตสิก ๕๒ ดวง ซึ่งได้แก่เจตนาเจตสิก เป็นกรรม เพราะเหตุว่า เจตนาเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะจงใจ ตั้งใจ ขวนขวาย หรือมุ่งหวัง คือจัดสรรให้ธรรมที่สัมปยุตกับตน เป็นไปในอารมณ์
ซึ่งข้อความใน อภิธัมมัฏฐวิภาวินีฎีกา ปริเฉทที่ ๒ แสดงลักษระของเจตนาเจตสิก มีข้อความว่า
สภาพธรรมที่ชื่อว่า “เจตนา” เพราะอรรถว่า มุ่งหวัง คือจัดสรรให้ธรรม ซึ่งสัมปยุตกับตน เป็นไปในอารมณ์ หรือถึงความขวนขวายในการปรุงแต่ง สิ่งที่เป็นสังขตธรรม
ไม่ว่าท่านผู้ฟังจะคิกนึก จงใจ ตั้งใจ ที่จะกระทำอะไร ไม่ว่าจะทางกาย หรือทางวาจา ขณะนั้นให้ทราบว่า เป็นสภาพของเจตนาเจตสิกที่จงใจ ตั้งใจ ขวนขวาย ในการปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขต เพราะเหตุว่า ไม่สามารถที่จะปรุงแต่งนิพพานได้ เพราะเหตุว่า นิพพานเป็นสภาพธรรมที่ไม่เกิด
ในตอนต้นๆ ท่านผู้ฟังก็ได้ทราบแล้วว่า สำหรับเจตสิก ๕๒ ดวง มีเจตสิก ๗ ดวง ซึ่งเป็นสัพพจิตตสาธารณะเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกับจิตทุกดวง จึงชื่อว่าสัพพจิตตสาธารณเจตสิก เจตนาเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณะเจตสิก คือเกิดกับจิตทุกดวง ไม่ว่าจิตนั้นจะเป็นกุศลหรืออกุศล หรือวิบากหรือกิริยา
เพราะฉะนั้น โดยชาติของเจตนา ซึ่งท่านผู้ฟังเคยเข้าใจเพียงในลักษณะที่ว่าเป็นกุศลเจตสิก หรือว่าเป็นอกุศลเจตสิก แต่ตามความเป็นจริงแล้ว เพราะเหตุว่า เจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง เพราะฉะนั้น ลักษณะสภาพของเจตนาเจตสิก โดยชาติมีทั้ง ๔ ชาติ คือ เจตนาที่เป็นอกุศล ก็มี
เจตนาที่เป็นกุศล ก็มี
เจตนาที่เป็นวิบาก ก็มี
เจตนาที่เป็นกิริยา คือไม่ใช่กุศล, อกุศล, วิบากก็มี
ถูกต้องไหมคะ ตามเหตุผล ในเมื่อเจตนาเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง เพราะฉะนั้น เจตนาเจตสิก ก็ต้องมีครบทั้ง ๔ ชาติ คือที่เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นวิบากก็มี เป็นกิริยาก็มี
เพราะฉะนั้น ไม่ได้มีแต่กุศลเจตสิก หรืออกุศลเจตสิกเท่านั้น ไม่ว่าจิตใดจะเกิดขึ้นที่ไหน ในภูมิไหน หรือทำกิจอะไร เมื่อเป็นวิบากเกิดขึ้น เพราะเหตุว่า ในที่นั้นจะต้องมีเจตนาเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก เกิดร่วมด้วยทุกครั้ง
ถ้ากล่าวโดยขันธ์ เจตนาเจตสิกเป็นขันธ์อะไร ขันธ์มี ๕ คือ
รูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑
“รูปขันธ์” ได้แก่ รูปทุกรูป ทุกประเภท เป็นรูปขันธ์
“เวทนาขันธ์” ได้แก่ ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก ดีใจ เป็นโสมนัส เสียใจเป็นโทมนัส หรืออทุกขมสุข หรืออุเบกขา เฉยๆ ก็เป็นเวทนาขันธ์
เพราะฉะนั้น เจตนาที่นอกจากเวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิกแล้ว เป็นสังขารขันธ์
เพราะฉะนั้น เจตนาเจตสิกเป็นขันธ์อะไร เป็นสังขารขันธ์ เป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งยิ่งกว่าสังขารขันธ์อื่น
เพราะฉะนั้น ในปฏิจจสมุปบาท จึงแสดงว่า
อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร หมายความถึง
ปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาเจตสิกซึ่งเกิดกับกุศลจิตที่เป็นกามาวจรกุศล และรูปาวจรกุศล
อปุญญาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาเจตสิกซึ่งเกิดกับอกุศลจิต
อเนญชาภิสังขาร ได้แก่ เจตนาเจตสิกซึ่งเกิดกับอรูปาวจรกุศล ๔ ดวง
เพราะฉะนั้น สำหรับปุญญาภิสังขารนั้น รวมกามาวจรกุศล และรูปาวจรกุศลทั้งสอง เพราะเหตุว่า ยังเป็นกุศลที่เป็นไปในรูป ไม่ว่จะเป็นกามาวจรกุศล หรือรูปวจรกุศล ก้เป็นปุญญาภิสังขาร
เมื่อจัดโดยขันธ์ เจตนาเป็นสังขารขันธ์ พระผู้มีพระภาค เมื่อทรงจำแนกสังขารขันธ์ ตรัสว่าชื่อว่า “สังขาร” เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งสิ่งที่เป็น “สังขตะ”
ทรงแสดงไว้ด้วยว่า คำว่า จักขุสัมผัสสชาเจตนา ดังนี้เป็นต้น
ในสุตตันตภาชนีย ในวิภังคปกรณ์ เพราะเป็นประธานในการปรุงแต่ง
เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังก็จะสังเกตลักษณะสภาพของเจตนาเจตสิก ซึ่งเป็นกรรม เป็นปัจจัย เป็นกัมมปัจจัยได้ว่า เจตนานั้น มีการมุ่งหวัง คือเป็นสภาพลักษณะที่จงใจ หรือตั้งใจเป็นลักษณะซึ่งมีข้อความอุปมาว่า
เหมือนกับลูกมือผู้เป็นหัวหน้า หรือว่าผู้ที่เป็นนายช่างไม้ใหญ่ เป็นต้น ย่อมยังกิจของตน และกิจของคนอื่นให้สำเร็จ
คือเป็นสภาพธรรมที่ถึงความขวนขวายในการปรุงแต่งสิ่งที่เป็นสังขตะ
ท่านผู้ฟังคงจะพิจารณาเปรียบเทียบได้ ลักษรุของเหตุปัจจัย สภาพธรรมที่เป็นเหตุ ได้แก่ โลภเจตสิกเป็นเหตุให้เกิดพอใจ ยินดี ต้องการ แต่โลภเจตสิกไม่ใช่เจตนาเจตสิก แต่เมื่อมีความยินดี พอใจ มีความต้องการเกิดขึ้น ในขณะนั้นมีสภาพที่ขวนขวาย จงใจ หรือตั้งใจ รวมอยู่ด้วย
แต่ว่า ถ้ากล่าวถึงเจตนาเจตสิกซึ่งเป็นกรรม เป็นสภาพธรรมที่ขวนขวายในการปรุงแต่ง จึงเป็นกัมมปัจจัย ก็จะเห็นได้ว่า เพราะเจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ทุกประเภท ทุกชาติ ทุกภูมิ
เพราะฉะนั้น สำหรับกัมมปัจจัย จำแนกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือเป็น
สหชาตกัมมปัจจัย ๑, นานักขณิกกัมมปัจจัย ๑
สำหรับ “สหชาตกัมมปัจจัย” ได้แก่ เจตนาเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกับจิตทุกดวง โดยเจตนาเจตสิกเป็นปัจจัย และจิตและเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย ในขณะเดียวกัน เป็นปัจจยุปบันน
หมายความว่า ในจิตดวงหนึ่งที่มีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เมื่อเจตนาเจตสิกเป็นกัมมปัจจัย จิตและเจตสิกอื่นที่เกิดร่วมดับเจตนานั้น ก็เป็นปัจจยุปบันน คือเป็นสภาพธรรมี่เกิดเพราะกัมมปัจจัยนั้น นอกจากนั้น รูปก็เป็นปัจจยุปบันนด้วย เพราะเหตุว่า ขณะใดที่จิตและเจตสิกเกิด ย่อมมีจิตตชรูปเกิดร่วมด้วย มิฉะนั้นแล้ว การกระทำกุศลกรรมและอกุศลกรรม ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ที่มีการกระทำที่เป็นกุศลกรรมบ้าง หรือว่าอกุศลกรรมบ้าง ก็เพราะเหตุว่า เจตนาเจตสิก เกิดร่วมกับจิตและเจตสิกในขณะนั้น เป็นปัจจัยให้รูป ซึ่งเกิดเพราะจิตในขณะนั้น กระทำกายกรรม หรือวจีกรรม ที่เป็นกุศลหรืออกุศล
สำหรับ สหชาตกัมมปัจจัย มีข้อสงสัยอะไรไหมคะ
ได้แก่ เจตนาเจตสิกซึ่งเป็นกัมมปัจจัยเกิดพร้อมกับปัจจยุปบันนธรรม คือเกิดพร้อมกับจิตและเจตสิกอื่นๆ ซึ่งเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นชาติกุศล, อกุศล, วิบาก, กิริยาก็ตาม เพราะฉะนั้น สหชาตกัมมปัจจัยได้แก่ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิต ๘๙ ดวง และเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมกันในขณะนั้น และรูปที่เกิดขึ้นเพราะจิตและเจตสิกในขณะนั้น ซึ่งก็ต้องเกิดเพราะเจตนาที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้น เป็นกัมมปัจจัยด้วย
ถาม ผมสงสัยว่า ทำไมสหชาตกัมมปัจจัย รูปเจาะจงเฉพาะจิตตชรูปแลกัมมชรูป เป็นปัจจยุปบันน ซึ่งเป็นผลของสหชาตกัมมปัจจัย แต่รูปเวลาเกิดขึ้นพร้อมกัน กัมมัชชรูป, จิตตชรูป, อุตุชรูป, อาหารชรูป
อ. สุจินต์ อย่าลืมนะคะ ปัจจัยนี้ใช้คำว่า กัมมปัจจัย อย่าทิ้งความหมายค่ะ เวลาที่จะศึกษาสภาพธรรมใดๆ ก็ตาม
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50