ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
ตลับที่ ๑๗
จิต 89 ดวง นานักขณิกกัมมปัจจัยได้แก่เจตนาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตและอกุศลจิต
สำหรับกุศลที่เป็นโลกุตตรกุศล
ข้อความในอรรถกถาแสดงว่า เป็น “อนันตรกัมมปัจจัย” ได้แก่เจตนาเจตสิกซึ่งเกิดกับโลกุตตรกุศลจิต ๔ ดวง คือโสตาปัตติมัคคจิต ๑ สกทาคามิมัคคจิต ๑ อนาคามิมัคคจิต ๑ อรหัตตมัคคจิต ๑ เป็นปัจจัยใหัผลจิต คือโลกุตตรวิบากจิตเกิดสืบต่อทันที โดยไม่มีระหว่างคั่น เพราะฉะนั้น จึงเป็นอนันตรกัมปัจจัย
อนันตร คือ ไม่ระหว่างคั่น
เพราะฉะนั้น เป็นกัมม ที่ทำให้ผล วิบากเกิดขึ้น โดยไม่มีระหว่างคั่น
เมื่อโสตาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป จิตอื่นจะเกิดต่อไม่ได้เลย นอกจากโสตาปัตติมัคคผลจิต
เมื่อสกทาคามิมัคคจิตเกิดขึ้นแล้วดับ จิตอื่นจะเกิดต่อไม่ได้เลย นอกจากสกทาคามิผลจิต
เมื่ออนาคามิมัคคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป จิตอื่นจะเกิดต่อไม่ได้เลย นอกจากอนาคามิผลจิต
เมื่ออรหัตตมัคคจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป จิตอื่นจะเกิดต่อไม่ได้เลย นอกจากอรหัตตผลจิต
เพราะฉะนั้น จึงเป็นอนันตรกัมมปัจจัย เป็นกรรม ซึ่งให้ผลทันทีที่กรรมนั้นดับไป โดยที่ไม่มีจิตอื่นๆ จะเกิดแทรกคั่นได้เลย เป็นการได้รับผลในปัจจุบันชาติ ของโลกุตตรกุศล
เมื่อโลกุตตรกุศลเกิดขึ้นในชาติไหน โลกุตตรวิบากซึ้งเป็นผล เกิดสืบต่อทันทีในชาตินั้นไม่มีระหว่างคั่น ไม่เหมือนกุศลอื่นนะคะ กุศลอื่นอาจจะให้ผลในชาตินั้น แต่ไม่ใช่ต่อกันทันที ไม่ว่าทานกุศล หรือศีลกุศล หรือสมถภาวนา ฌานจิต จะเป็น รูปาวจรฌาน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตตุถฌาน หรือปัญจมฌานก็ตาม หรืออรูปฌานกุศลก็ไม่สามารถที่จะให้ผลติดกัน สืบต่อกันทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น เหมือนโลกุตตรกุศล เพราะเหตุว่า ผู้ที่ทำกุศลที่จะทำให้เกิดเป็นเทวดา ในสวรรค์ชั้นหนึ่งชั้นใด กรรมนั้นจะให้ผล ต่อเมื่อจุติจิตในชาติที่ได้กระทำกรรมนั้น ดับไปเสียก่อน ถ้าเป็นมนุษย์ทำกุศลกรรมที่จะทำให้เกิดในสวรรค์ชั้นหนึ่งชั้นใด จุติจิตต้องดับเสียก่อน แล้วกรรมนั้นจึงจะเป็นปัจจัย ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นในสวรรค์ชั้นหนึ่งชั้นใดได้
หรือว่าสำหรับรูปาวจรจิต ซึ่งเป็นฌานจิต ฌานหนึ่งฌานใด ไม่เสื่อม เกิดขึ้นก่อนจุติจิต เมื่อจุติจิตดับ จึงเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิต เกิดขึ้นในพรหมโลก ภูมิหนึ่งภูมิใดได้ เพราะฉะนั้น ก็ยังมีจิตอื่น ซึ่งคั่นระหว่างกุศลจิต ซึ่งเป็นเหตุ เป็นกัมมปัจจัย และวิบากจิตซึ่งเป็นผล ถ้าเป็นโลกียกุศล แต่ถ้าเป็นโลกุตตรกุศลแล้ว ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิ เพราะฉะนั้น โลกุตตรวิบากจิตจึงเกิดสืบต่อจากโลกุตตรกุศลจิตทันที โดยไม่มีระหว่างคั่น มีนิพพานเป็นอารมณ์ เช่นเดียวกับโลกุตตรกุศลจิต แต่เป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน คือโลกุตตรกุศลจิต เป็นจิตที่ดับกิเลส แต่โลกุตตรวิบากจิตคือผลจิต เป็นจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ โดยดับกิเลสแล้ว
เพราะฉะนั้น ก็จะได้ทราบว่า สำหรับโลกุตตรกุศลจิต ประเภทเดียวเท่านั้น ที่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ให้ผลทำให้โลกุตตรวิบากจิต เกิดสืบต่อทันทีโดยไม่มีจิตอื่นเกิดคั่น ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า หรือว่า ไม่ต้องรอถึงชาติต่อไปเลย ทันทีที่โสตาปัตติมัคคจิตดับ โสตาปัตติผลจิตเกิดต่อ มีนิพพานเป็นอารมณ์ เช่นเดียวกับโสตาปัตติมัคคจิต
ถ้าเป็นสกทาคามิมัคคจิตดับไป เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยให้สกทาคมิผลจิตเกิดสืบต่อทันที อนาคามิมัคคจิตและอรหัตตมัคคจิตก็โดยนัยเดียวกัน
เพราะฉะนั้น สำหรับโสตาปัตติมัคคจิต สกทาคามิมัคคจิต อนาคามิมัคคจิต อรหัตตมัคคจิต เป็นอกาลิโก คือเป็นกุศลกรรมที่ให้ผลทันทีเมื่อกุศลกรรมนั้นดับไป
โสตาปัตติมัคคจิตทำให้เกิดปฏิสนธิได้ไหมคะ ไม่ได้ เพราะเหตุว่า มัคคจิตดับภพชาติ ไม่ใช่เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิ พระโสดาบันบุคคจยังเกิดอีกใช่ไหมคะ เพราะเหตุว่า ยังไม่ใช่พระอรหันต์ แต่การเกิดของพระโสดาบันนั้น ต้องเป็นผลของกรรมหนึ่งกรรมใด แล้วแต่ว่าจะเป็นกามาวจรกุศลกรรม หรือว่าจะเป็นรูปาวจรกุศลกรรม หรือเป็นอรุปาวจรกุศลกรรม แต่ไม่ใช่เพราะโสตาปัตติมัคคจิต ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด
โสตาปัตติมัคคจิตทำให้เพียงโสตาปัตติผลจิตเกิดสืบต่อทันที แล้วก็ไม่มีการให้ผลอีกเลย นอกจากผู้ที่ได้ฌาน สามารถที่โสตาปัตติผลจิตเกิด ซึ่งเป็นผลสมาบัติ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ฌานแล้ว เมื่อโสตาปัตติมัคคจิตดับไป เป็นปัจจัยให้โสตาปัตติผลจิตเกิดสืบต่อ ๒ หรือ ๓ ขณะ แล้วก็ไม่เกิดอีก แต่โสตาปัตติผลจิต ยังมีโอกาสเกิดอีกได้ แต่โสตาปัตติผลจิตยังมีโอกาสเกิดอีกได้ แต่โสตาปัตติมัคคจิตไม่มีโอกาสจะเกิดอีกเลย เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท และไม่ต้องดับกิเลสนั้นซ้ำอีก
เพราะฉะนั้น โสตาปัตติมัคคจิต เกิด ๑ ขณะ
สกทาคามิมัคคจิต เกิด ๑ ขณะ
อนาคามิมัคคจิต เกิด ๑ ขณะ
อรหัตตมัคคจิต เกิด ๑ ขณะ แล้วไม่เกิดอีกนะคะ
ถาม ขอถามทบทวนเรื่องของปัจจัย เป็นเรื่องที่ถ้าถามทบทวนแล้ว อาจจะทำให้ไม่ลืม สำหรับเจตนาเจตสิกที่เป็นกัมมปัจจัยมี ๒ อย่างคือ สหชาตกัมมปัจจัย ๑ และนานักขณิกกกัมมปัจจัย ๑
ถามว่า เจตนาเจตสิกในโสตาปัตติมัคคจิต เป็นสหชาตกัมมปัจจัยหรือเปล่า มี ๒ อย่างเท่านั้น
เจตนาเจตสิกเป็นกัมมปัจจัยที่จะต้องจำตามลำดับ คือว่า
กรรมคือเจตนาเจตสิก แต่มี ๒ อย่างคือ
สหชาตกัมมปัจจัย หมายความถึงเจตนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับปัจจยุปบันน คือจิตและเจตสิกอื่นๆ นี่ ๑ ประเภท
และนานักขณิกกัมมปัจจัย คือเจตนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตที่ดับไปก่อน แล้วจึงเป็นปัจจัยให้ปัจจยุปบันนคือวิบากจิตและเจตสิกเกิดในภายหลัง
ถ้าจำ ๒ อย่างนี้ได้
ถามว่า เจตนาเจตสิกในโสตาปัตติมัคคจิต เป็นสหชาตกัมมปัจจัยหรือเปล่า เป็น
แก่อะไร
เจตนาเจตสิกในโสตาปัตติมัคคจิต เป็นสหชาตกัมมปัจจัยแก่โสตาปัตติมัคคจิต และเจตสิอื่นๆ ซึ่งเกิดดับกับโสตาปัตติมัคคจิต
ถาม เจตนาเจตสิกในโสตาปัตติมัคคจิตเป็นปัจจัยแก่รูปด้วยหรือเปล่า เมื่อกี้เป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิก
ถามต่อไปว่า โสตาปัตติมัคคจิตเป็นสหชาตกัมมปัจจัยแก่รูปด้วยหรือเปล่า เป็น เพราะเหตุว่าเว่าทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวงเท่านั้น อย่าลืมว่า ซึ่งไม่เป็นสมุฏฐานให้เกิดรูป เพราะฉะนั้น เจตนาเจตสิกในโสตาปัตติมัคคจิตเป็นสหชาตกัมมปัจจัยแก่รูปได้
ถาม แก่รูปอะไร แก่จิตตชรูปค่ะ ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เท่านั้น ที่โสตาปัตติมัคคจิตจะเกิดได้ ถึงในภูมิซึ่งมีขันธ์ ๔ ในอรูปพรหมภูมิ ไม่มีรูปเลยสักรูปเดียว มีแต่นามขันธ์เท่านั้นเกิด อรูปพรหมไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่มีรูปใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น การที่จะดับกิเลส จะดับได้อย่างไร ในเมื่อผู้ที่จะดับกิเลสได้ ก่อนกิเลสดับ ต้องมีความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นประจำกันทุกคน มีใครไหมคะ ที่จะไม่มีความยินดีพอใจ ในรูปที่ปรากฏทางตา ในเสียงที่ปรากฏทางหู ในกลิ่นที่ปรากฏทางจมูก ในรสที่ปรากฏทางลิ่น ในโผฏฐัพพะที่ปรากฏทางกาย ถ้ายังไม่สามารถที่จะรู้สภาพธรรมคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตามปกติ ตามความเป็นจริง จะกับความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฐัพพะ ย่อมเป็นไปไม่ได้
เพราะเหตุว่า ไม่ได้รู้ความจริงว่ารูปที่ปรากฏทางตา เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ใดๆ เลย ในรูปที่ปรากฏทางตา เสียงก็โดยนัยเดียวกัน กลิ่น รส โผฎฐัพพะ โดยนัยเดียวกัน
เพราะฉะนั้น ถ้าจะเว้น คือไม่รู้ความจริงของรูป ซึ่งเกิด – ดับ ในขณะนี้ รูปทุกรูปกำลังเกิด – ดับ ไม่ว่าจะเป็นรูปทางตา เสียงทางหู กลิ่นทางจมูก รสทางลิ้น โผฏฐัพพะทางกาย คิดนึกทางใจ ที่จะปรากฏสภาพธรรม ของสัขารธรรม เกิดแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วที่สุด
เพราะฉะนั้น ถ้ายังไม่ประจักษ์แจ้ง การเกิด – ดับ ของรูป แล้วจะสามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคล ดับกิเลสที่ยึดถือสภาพธรรมเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนได้ เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทไม่เกิดอีกเลย ย่อมเป็นไปไม่ได้ ในอรูปพรหมภูมิ ไม่มีพระโสตาปัตติมัคคจิต แต่ผู้ใดก็ตามที่เกิดในภูมิที่มีขันธ์ ๕ บรรลุความเป็นพระโสดาบันบุคคลแล้ว อบรมเจริญฌานต่อ จนกระทั่งบรรลุถึงอรูปฌาน และถ้าอรูปฌานนั้นไม่เสื่อม ก่อนที่จะจุติ อรูปฌานหนึ่งอรูปฌานใดใน ๔ ขั้น เกิดขั้น จะเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิในอรูปพรหมภูมิ ไม่มีรูปเลยก็จริง แต่บุคคลนั้นเป็นพระโสดาบันบุคคลแล้ว เพราะเหตุว่า ดับกิเลสหมดเป็นสมุจเฉท
เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงสกทาคามิมัคคจิต อนาคามิมัคคจิต อรหัตตมัคคจิต กล่าวถึงเจตนาซึ่งเป็นสหชาตกัมมปัจจัย ในอรหัตตมัคคจิต ว่าเป็นปัจจัยแก่รูปหรือเปล่า คำตอบเปลี่ยนแล้วใช่ไหมคะ เป็นก็ได้ ไม่เป็นก็ได้
เป็นปัจจัยแก่รูป ในภูมิที่มีขันธ์ ๕
ไม่เป็นปัจจัยแก่รูป ในภูมิที่มัขันธ์ ๔
แต่สำหรับโสตาปัตติมัคคจติแล้ว ไม่ได้ค่ะ
การที่ใครก็ตามจะดับกิเลสเป็นสมุจเฉท โดยไม่ประจักษ์แจ้งการเกิด – ดับของรูปธรรม เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่า ถ้ายังไม่ประจักษ์การเกิด – ดับของรูปธรรม ย่อมยึดถือรูปธรรมนั้นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล
เพราะฉะนั้น ถ้าศึกษาโดยละเอียด คำถามก็จะแยกๆ ๆ ออกได้ และคำตอบก็ต่างๆ กันไป ตามเหตุ
ถาม ขอถามต่อไปอีกนะคะ เรื่องของกัมมปัจจัยว่าเจตนาเจตสิกในโสตาปัตติมัคคจิตเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยหรือเปล่า
อย่าลืมนะคะ กัมมปัจจัยมี ๒ อย่าง
สหชาตกัมมปัจจัย ๑ ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต และกิริยาจิต
สำหรับกัมมปัจจัยอีกประเภทหนึ่ง คือนานักขณิกกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตและอกุศลจิตเท่านั้น ซึ่งเมื่อกุศลจิตและอกุศลจิตนั้นดับไปแล้ว เจตนาซึ่งเป็นกัมมปัจจัยในกุศลจิตและอกุศลจิตนั้น เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย เพราะเหตุว่า ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นภายหลัง ไม่ใช่เกิดพร้อมเหมือนอย่างที่เป็นสหชาตกัมมปัจจัย
เพราะฉะนั้น เมื่อได้ทราบเรื่องของโลกุตตรกุศลจิตแล้ว ขอถามว่า เจตนาเจตสิกในโสตาปัตติมัคคจิตเป็นนานักขณิกกัปมมปัจจัยหรือเปล่า เป็น เพราะอะไรคะ เพราะทำให้โสตาปัตติผลจิตเกิด
อ.สุจินต์ ถูกต้องค่ะ ต้องมีเหตุผลนะคะ เจตนาเจตสิกในโสตาปัตตมัคคจิตเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย เพราะเหตุว่า ทำให้ โสตาปัตติผลจิตเกิดในภายหลัง ที่โสตาปัตติมัคคจิตดับไป เป็นปัจจัยให้รูปเกิดขึ้นหรือเปล่าคะ เจตนาเจตสิกในโสตาปัตติมัคคจิตเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยให้เกิดรูปหรือเปล่า เปลี่ยนคำถามนิดเดียว
คือเปลี่ยนคำถามว่า เจตนาเจตสิกในโสตาปัตติมัคคจิตเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยให้เกิดรูปหรือเปล่า ไม่เป็น เพราะเหตุว่า กุศลจิตและอกุศลจิตที่เป็นกามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต คือเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยให้ผลเกิดขึ้นภายหลัง ผลของทาน, ศีล เป็นต้นที่เป็นกามาวจรกุศล กุศลนั้นดับไปแล้ว เป็นปัจจัยทำให้ปฏิสนธิ ซึ่งเป็นวิบากเกิดพร้อมกับเจตสิกและรูป ซึ่งเป็นกัมมชรูป เป็นผลของกุศลกรรม คือทานและศีล เป็นกามาวจรภูมิ
หรือว่ารูปฌาน ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้รูปาวจรวิบาก ปฏิสนธิในรูปพรหมภูมิ พร้อมกับกัมมชรูป ซึ่งทำให้เป็นพรหมบุคคล
แต่สำหรับโสตาปัตติมัคคจิตดับแล้ว เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ที่ทำให้โสตาปัตติผลจิตเกิด เป็นวิบาก แต่ไม่ได้ทำให้กัมมชรูปเกิด ถูกไหมคะ ยังไม่ได้ทำให้เปลี่ยนความเป็นบุคคลอะไรเลย และโสตาปัจจิมัคคจิต ไม่ได้เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิใดๆ เกิด เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นปัจจัยให้กัมมชรูปเกิด
บุคคลหนึ่งอบรมเจริญสติปัฏฐาน วิปัสสนาญาณเกิดตามลำดับขั้น โสตาปัตติมัคคจิตเกิด ยังเป็นบุคคลนั้นอยู่ ไม่เปลี่ยนรูปร่างกายอะไรเลย ใช่ไหมคะ
ในโสตาปัตติมัคคจิตเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ทำให้โสตาปัตติผลจิตเกิด แต่ไม่ได้ทำให้กัมมชรูปเกิด กัมมชรูปของคนซึ่งเป็นพระโสดาบัน ในขณะที่บรรลุมัคคผล ในขณะนั้นมีกัมมชรูป ซึ่งเกิดเพราะกุศลกรรมในอดีต ซึ่งเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดเป็นบุคคลนั้น และยังคงทำให้ความเป็นบุคคลนั้นดำรงอยู่เรื่อยไป จนกว่าจะถึงจุติ แต่โสตาปัตติมัคคจิตไม่ได้เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ให้กัมมชรูปเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะถึงจุติ แต่โสตาปัตติมัคคจิต ไม่ได้เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยให้กัมมชรูปเกิด
ถามต่อไปว่า เจตนาเจตสิกในโสตาปัตติมัคคจิต เป็นสหชาตกัมมปัจจัยแก่รูปหรือเปล่า เป็น แก่จิตตชรูป
ทีนี้ กรรมในปัจจุบันที่ดับไปแล้ว จะเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยให้รูปเกิดได้ไหม ในชาตินี้
ตอบ ไม่ได้
อ.สุจินต์ แน่ใจหรือคะ คิดดีๆ นะคะ เดี๋ยวจะคิดถึงเฉพาะปฏิสนธิจิต หลังจากปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ปฏิสนธิจิตดับ ปฐมภวังค์เกิด ตลอดไปจนกระทั่งถึงจุติจิต ชื่อว่าปวัตติกาล
เพราะฉะนั้น ในชีวิตหนึ่ง ในชาติหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ กาล คือ
ขณะที่ปฏิสนธิเกิด ขณะนั้นเป็น “ปฏิสนธิกาล”
เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว จิตทุกดวง ซึ่งเกิด – ดับสืบต่อ จนกระทั่งถึงจุติจิต เป็น “ปวัตติกาล”
เพราะฉะนั้น คำถามมีว่า
เจตนาเจตสิกที่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ให้ผลในชาตินี้ได้ไหม ได้
อ.สุจินต์ เปิดตำราดูแล้วหรือคะ ได้หรือไม่ได้คะ ต้องได้ซีคะ ไม่ได้ได้ยังไงคะ
เพราะฉะนั้น การให้ผลของกรรม ให้ผลในปัจจุบันชาติ ก็มี ๑
ให้ผลในชาติหน้า ก็มี ๑
ประวิทย์ กัมมชรูปเกิดนอกตัวไม่ได้ ใช่ไหมครับ
อ.สุจินต์ เกิดที่ไหน นอกตัว
ประวิทย์ ผมเคยได้ยิน ไม่ทราบว่าที่ไหน พระราชาที่มีบุญมากๆ ทรัพย์สินจะเกิด ขุมทอง ขุมเงิน จะเกิดในแผ่นดิน
อ.สุจินต์ เป็นอุตุชรูป เกิดเพราะกรรม แต่ไม่ใช่กัมมชรูป
ประวิทย์ แล้วเมื่อกี้ที่อาจารย์ว่า เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ให้ผลในปัจจุบันชาติได้ ขอให้ยกตัวอย่างซิครับ
อ.สุจินต์ โรคที่เกิดเพราะกรรมมีไหมคะ โรคบางโรค ถึงจะรักษาก็ไม่หาย ถ้าโรคนั้นเกิดขึ้น เพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน เพราะฉะนั้น ตอนเกิดมายังไม่มีโรคนั้นก็ได้ และหลังจากนั้นแล้ว จะมีโรคนั้นเกิดขึ้นก็ได้ เพราะเหตุว่า การให้ผลของกรรม อาจจะให้ผลในชาตินี้ก็ได้ ถ้าไม่ให้ผลในชาตินี้ กรรมนั้นจะให้ผลในชาติหน้าก็ได้ หรือไม่ให้ผลในชาติหน้า จะให้ผลในชาติหลังๆ ต่อจากชาตินั้นไปก็ได้ แล้วแต่ประเภทของกรรม
สำหรับ กัมมปัจจัย ยังมีข้อสงสัยอะไรอีกบ้างไหมคะ
มี ๒ อย่างนะคะ
สหชาตกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูป และจิต และเจตสิกอื่นๆ ซึ่งเกิดพร้อมกับเจตนาเจตสิกนั้น ถ้าเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย แล้วเจตนาเจตสิกเกิดกับกุศลจิตหรืออกุศลจิต ซึ่งดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้วิบากจิต และรูป คือกัมมชรูปเกิดในภายหลัง ขณะนี้มีจิตตรูป ซึ่งเกิดเพราะกุศลจิต และอกุศลจิต แต่ต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสหชาตกัมมปัจจัย อย่าลืม
ในเรื่องของ “กัมมปัจจัย” ไม่ใช่ขณะอื่น อย่าลืมค่ะ ขณะนี้เอง ไม่ว่าจะศึกษาเรื่องของปัจจัย ก็ให้ทราบว่า ในขณะนี้ กำลังเป็นกัมมปัจจัย ทุกขณะที่จิตเกิด เป็นสหชาตกัมมปัจจัย ถ้ากุศลจิตหรืออกุศลจิตเกิด เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ที่จะทำให้วิบากจิตและเจตสิกและกัมมชรูปเกิดในภายหลัง
ถ้าอกุศลกรรมได้กระทำสำเร็จลงไปแล้ว เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ทำให้อกุศลวิบาก ทำกิจปฏิสนธิในอบายภูมิ พร้อมทั้งกัมมชรูป ไม่ใช่บุคคลนี้อีดต่อไปเสียแล้ว แล้วแต่กัมมชรูปนั้นจะเกิดในนรก หรือเป็นเปรต เป็นอสุรกาย หรือว่าเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพราะเหตุว่า กรรมซึ่งเป็นเหตุ ซึ่งเกิดในขณะนี้ เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย
เพราะฉะนัน ก็มีทั้งสหชาตกัมมปัจจัย และนานักขณิกกัมมปัจจัย
มีข้อสงสัยอะไรอีกไหมคะ ในเรื่องของกัมมปัจจัย
ปัจจัยที่คู่กับ “กัมมปัจจัย” คือ “วิปากปัจจัย” ภาษาไทยใช้คำว่า “วิบาก” แต่ภาษบาลี คือ “วิปาก”
หมายความถึง นามขันธ์ได้แก่จิตและเจตสิกซึ่งเกิดขึ้น เป็นผลของกุศลกรรมและอกุศลกรรม เพราะฉะนั้นต้องแยกเหตุและผล กุศลกรรมและอกุศลกรรม หรือเจตนาในกุศลและอกุศลเป็นเหตุ ทำให้เกิดนามธรรม คือจิตและเจตสิก ซึ่งเป็นวิบากในภายหลัง หลังจากที่กุศลกรรมและอกุศลกรรมดับไปแล้ว
ขณะนี้มีวิบากจิตไหมคะ ถ้าสติระลึกตลอดเวลาไม่พ้นเลย ทางตากำลังเห็น ทางหูกำลังได้ยิน ทางจมูกกำลังได้กลิ่น ทางลิ้นกำลังลิ้มรส ทางกายที่กระทบสัมผัส วันหนึ่งๆ ไม่พ้นไปจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้น ไม่พ้นไปจากวิบาก เพียงแต่ไม่ทราบว่า
ขณะที่เห็นในขณะนี้ เป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม
ขณะที่ได้ยิน เป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม
ขณะที่ได้กลิ่น เป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม
ขณะที่ลิ้มรส เป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม
ขณะที่กระทบสัมผัสทางกาย เป็นผลของกรรม
สำหรับสภาพธรรม ซึ่งเป็นกุศลธรรม ได้แก่จิตและเจตสิกที่เป็นกุศลกรรมเกิดร่วมกัน สภาพธรรมซึ่งเป็นอกุศลธรรม ก็ได้แก่จิตและเจตสิกที่เป็นอกุศลกรรมเกิดร่วมกัน ฉันใด จิตและเจตสิกที่เป็นวิบาก ก็เกิดร่วมกัน โดยอาศัยกันเกิดขึ้น เป็น “วิปากปัจจัย” ซึ่งกันและกัน
เพราะฉะนั้น วิปากปัจจัย ได้แก่วิบากจิตและเจตสิก ทำไมจึงเป็นปัจจัย ทำไมจึงเป็นวิปากปัจจัย เพราะเหตุว่า จิตจะเกิดโดยไม่อาศัยเจตสิกไม่ได้ และเจตสิกจะเกิดโดยไม่อาศัยจิตไม่ได้ เพราะจิตและเจตสิกต่างเป็นวิปาก ซึ่งเป็นผลของกรรมด้วยกัน เพราะฉะนั้น เมื่อจิตและเจตสิกซึ่งเป็นวิบาก อาศัยกันเกิดขึ้น จิตที่เป็นวิบาก เป็นวิปากปัจจัย แก่เจตสิกที่เป็นวิบาก และเจตสิกซึ่งเป็นวิบาก ก็เป็นวิปากปัจจัยแก่จิต ซึ่งเป็นวิบาก คืออาศัยกันเกิดขึ้น โดยต่างเป็นวิบากด้วยกัน จึงเกิดร่วมกัน
เพราะฉะนั้น ก็ได้แก่
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50