ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
ได้แก่
เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑
สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑
ถ้ากล่าวโดยนัยของขันธ์ ๕ นามขันธ์ ๔ เป็นวิปากปัจจัย คือ
ถ้ายกเวทนาขันธ์ ๑ เป็นวิปากปัจจัยแก่สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่เป็นวิบาก ซึ่งเกิดร่วมกัน
ถ้ายกสัญญาขันธ์ ๑ เป็นวิปากปัจจัยแก่สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่เป็นวิบาก ซึ่งเกิดร่วมกัน
ถ้ายกสังขารขันธ์ ๑ เป็นวิปากปัจจัยแก่เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่เป็นวิบาก ซึ่งเกิดร่วมกัน
ถ้ายกวิญญาณขันธ์ ๑ เป็นวิปากปัจจัยแก่เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ที่เป็นวิปาก ซึ่งเกิดร่วมกัน
ก็ไม่มีปัญหาอะไรเลย เรื่องของวิปากปัจจัย เป็นเรื่องซึ่งไม่ยาก ถ้าทราบว่า จิตใดเป็นวิบาก ที่สำคัญที่สุดก็คือว่า ธรรมทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ ในชีวิตประจำวัน
ถ้ามิฉะนั้นแล้ว จะไม่มีประโยชน์เลย ไม่ว่าจะศึกษาพระไตรปิฎก หรืออรรถกถามากมายสักเพียงไรก็ตาม แต่ถ้าไม่สามารถที่ให้ความรู้ที่เกิดจากการศึกษานั้น เป็นสิ่งซึ่งสามารถจะพิสูจน์ หรือประพฤติปฏิบัติตามได้แล้ว การศึกษาพระไตรปิฎก ย่อมไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะได้ทราบว่า วิบาก วิปากปัจจัย ในชีวิตประจำวัน สามารถจะรู้ได้ไหม
ตามความเป็นจริงทราบแล้วว่า วิบากจิตในขณะเห็น กำลังเห็นนี้ เป็นสภาพนามธรรม เป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้ เป็นวิบาก จักขุปสาทเป็นกัมมชรูป เป็นรูปซึ่งเกิดจากรรมเป็นสมุฏฐาน แต่ไม่ใช่วิบาก เพราะเหตุว่า จักขุปสาทไม่เห็น เพราะฉะนั้น จึงไม่สามารถที่จะเป็นวิบาก เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังเห็น เป็นวิบาก สามารถที่จะรู้หรือพิสูจน์ได้ไหมคะ ในวิปากปัจจัย หรือวิบาก ซึ่งกำลังปรากฏ เมื่อไรคะ เดี๋ยวนี้หรือคะ เมื่อไรอีก ขณะนี้โดยฟัง พอไหมคะ ทราบว่า กำลังเห็นเป็นวิบาก เป็นผลของกรรม ไม่พอค่ะ นี่เป็นการฟัง แล้วก็เป็นการพิจารณา เป็นการรู้ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงประจักษ์แจ้ง
เพราะฉะนั้น เพียงรู้ว่ากำลังเห็นเป็นวิบากยังไม่พอ ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ แต่ที่จะรู้ว่าเป็นวิบากจริงๆ คือในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง จึงจะเห็นสภาพที่เป็นวิบาก เป็นผลของกรรม ในขณะที่กำลังเห็น ในขณะที่กำลังได้ยิน ในขณะที่กำลังได้กลิ่น ในขณะที่กำลังลิ้มรส ในขณะที่กำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย
วันนี้นะคะ วิบากจิตไม่น้อยเลย ใช่ไหมคะ ทั้งวัน ทราบบ้างไหมคะ ว่าเป็นวิยาก เพราะฉะนั้น เหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ดูเป็นเรื่องที่ยาว ถ้าจะมีการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด การทำบุญเลี้ยงพระ การตระเตรียมอาหาร การศึกษา การไปเที่ยว การพักผ่อนหย่อนใจ ทุกอย่างนี้ ดูเหมือนกับเป็นเหตุการณ์ที่เป็นช่วงเวลาที่ยาวมาก แต่การที่จะรู้ว่าเป็นวิบาก จะรู้ในขณะไหน ทำกุศล เป็นกุศลกรรมนะคะ ในขณะที่กำลังทำกุศล อย่าลืมนะคะ ในขณะที่กำลังทำกุศล มีวิบากไหมคะ ต้องมีนะคะ รู้ได้อย่างไรล่ะคะ กำลังทำกุศล ก็เห็น ก็ได้ยิน ก็ได้กลิ่น ก็ได้ลิ้มรส ก็รู้สิ่งที่กำลังกระทบสัมผัสในขณะนั้น
เพราะฉะนั้น ในขณะที่เห็น เป็นวิบาก
ในขณะที่ได้ยิน เป็นวิบาก
ในขณะที่ได้กลิ่นเป็นวิบาก
ในขณะที่ลิ้มรส เป็นวิบาก
ในขณะที่กระทบสัมผัส เป็นวิบาก
ในขณะที่กำลังทำกุศล มีวิบาก คนละขณะกับกุศล
เพราะเหตุว่า จิตประเภทใดเป็นกุศล จิตนั้นไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่กิริยา ไม่ใช่อกุศล
จิตประเภทใดเป็นอกุศล จิตนั้นไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่กิริยา ไม่ใช่กุศล
จิตเกิดขึ้นขณะหนึ่ง เป็นชาติหนึ่ง เกิดเป็นกุศล ก็เป็นกุศล จะเป็นกุศลและอกุศล รวมกันไม่ได้ จิตเกิดขึ้นขณะหนึ่ง เป็นกุศล เป็นวิบากเกิดร่วมด้วย ในขณะนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังทำกุศลวิบาก ก็มี แต่ในขณะที่เป็นวิบาก กำลังเห็น ในขณะที่กำลังทำกุศล วิบากที่เห็นในขณะนั้น เป็นผลของกุศลที่กำลังทำหรือเปล่า ไม่ใช่ นี่ค่ะแสดงให้เห็นว่า นานักขณิกกัมมปัจจัย กรรมที่ได้กระทำสำเร็จแล้ว ให้ผลต่างขณะ คือไม่ใช่ให้ผลในขณะที่กำลังทำทันที
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่จะทราบว่าเป็นวิบาก ต้องในขณะไหนคะ ถ้าจะกล่าวว่า ในขณะเห็น ในขณะได้ยิน ในขณะได้กลิ่น ในขณะลิ้มรส ในขณะที่กระทบสัมผัสทางกาย เหมือนตำราเลย คือศึกษาอย่างนี้ ก็บอกว่าอย่างนี้ กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เป็นวิบาก แต่ที่จะรู้ว่าเป็นวิบากจริงๆ เมื่อสติปัฏฐานเกิด ระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ จะรู้ได้เลยว่า ไม่มีใครเป็นตัวตน ที่สามารถจะบังคับบัญชาสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขณะหนึ่งขณะใด ได้เลย
ได้ยินเกิดขึ้น ไม่ใช่บังคับไม่ให้ได้ยิน เพราะเหตุว่า บางท่านเข้าใจว่า การที่จะรู้อริยสัจจธรรม โดยไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กำลังกระทบสัมผัส ไม่รู้สภาพที่คิดนึก
ได้สนทนากับท่านผู้หนึ่ง ท่านบอกว่า ท่านเป็นผู้ที่สนใจในการปฏิบัติ ได้เรียนถามท่านว่า เวลาท่านปฏิบัติ ท่านทำอย่างไร
ท่านก็บอกว่า ไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยิน ไม่ให้ได้กลิ่น ไม่ให้ได้ลิ้มรส ไม่ให้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่ให้คิดนึก เรียนถามท่านว่า แล้วให้รู้อะไร ในเมื่อไม่รู้สิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งกำลังปรากฏ แล้วถ้าสติระลึกจะรู้ทันทีว่าเป็นอนัตตาทั้งหมด
การได้ยินเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เป็นวิบาก เพราะเหตุว่า บังคับไม่ได้ มีปัจจัยที่จะเกิดขึ้นได้ยิน ก็ต้องได้ยินเสียงที่กำลังปรากฏ
มีเหตุปัจจัยที่จะให้ได้กลิ่น สิ่งที่กำลังปรากฏ การได้กลิ่นเกิดขึ้น จะไม่ให้ได้กลิ่น สิ่งนั้นเป็นไปไม่ได้เลย
นี่จึงจะแสดงว่า เข้าใจสภาพซึ่งเป็นอนัตตา ซึ่งมีลักษณะปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นอริยสัจจธรรม เป็นสัจจธรรม เพราเหตุว่า เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ถ้าใช้ภาษาบาลีว่า สัจจธรรมดูเหมือนอยู่ในตำรา แต่สัจจธรรมเมื่อเป็นภาษไทย ตามลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น แล้วปัญญารู้สภาพธรรมนั้นตามความเป็นจริง จึงจะรู้ว่า ขณะใดเป็นวิบาก ขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล
อย่างท่านที่ทำกุศล แล้วก็มีอกุศลเกิดแทรกเสียจนลักษณะของกุศลเกือบไม่ปรากฏ เช่นในขณะที่ให้แล้ว โกรธไม่พอใจ บางท่านกล่าวเลยว่า ไม่รู้เลยว่า ขณะนั้นเป็นกุศล เพราะเหตุว่าสภาพของจิตที่ผ่องใสไม่ปรากฏ มีแต่ลักษณะที่โกรธ กระด้างในขณะนั้น เพราะเหตุว่าลักษณะของโทสะเกิดสลับ จนกระทั่งมีลักษณะของโทสะปรากฏ มากกว่าลักษณะของกุศล ซึ่งเป็นช่วงขณะที่สั้นมาก แต่สติสามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของอกุศล ว่าสภาพนั้นเป็นอกุศล และสติปัฏฐานก็สามารถจะระลึกรู้ลักษณะสภาพของกุศลจิตซึ่งผ่องใส ปราศจากสภาพที่หยาบกระด้าง ในขณะนั้นได้ ว่าขณะนั้นเป็นลักษณะของกุศลฉันใด
เวลาที่สติระลึกรู้สภาพของสภาพธรรมที่ปรากฏ เป็นสภาพรู้ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย ก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นวิบากไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล
เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงทั้งหมด สามารถที่จะพิสูจน์ได้ในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ถ้าไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ในชีวิตประจำวัน การศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ๔๕ พรรษาจะไม่มีประโยชน์เลย และปริยัติ ต้องตรงกับปฏิบัติ ท่านผู้ใดก็ตามที่ท่านสนใจในการปฏิบัติ แต่ท่านไม่มีความรู้ คือว่าไม่ได้ศึกษาเรื่องของสภาพธรรมที่เป็นอนัตตาเสียก่อน ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ผลของการปฏิบัติ ไม่ตรงกับปริยัติ อย่างท่านที่ได้สนทนากัน ท่านบอกว่าการปฏิบัติของท่าน คือไม่ให้รู้อะไร ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ สัจจธรรมอยู่ที่ไหนล่ะคะในขณะนั้น อะไรเป็นสัจจธรรม และสิ่งที่เป็นของจริงในขณะนี้ เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดงโดยละเอียด เพื่อที่จะให้ผู้ที่ศึกษาได้อบรมเจริญปัญญาให้รู้สภาพธรรมที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
ถ้าสติไม่ระลึกรู้ในขณะที่กำลังเห็น ปัญญาย่อมไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นนามธรรมและเป็นรูปธรรมซึ่งเกิด – ดับ
เพราะฉะนั้น แม้แต่เรื่องของวิปากปัจจัยหรือกัมมปัจจัย ก็เป็นสิ่งซึ่งเมื่อได้ศึกษาแล้ว สามารถที่จะอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้และทรงแสดง เพื่อที่จะได้ประจักษ์ในสภาพที่เป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ซึ่งทุกท่านต้องเป็นผู้ที่ตรง วันนี้ ขณะนี้ สามารถที่จะรู้ว่าขณะใดเป็นวิบาก ขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล ต้องเป็นผู้ตรงนะคะ
ถ้ายังไม่รู้ในวันนี้ ก็ต้องอบรมเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นหนทางเดียวไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งสามารถจะรู้ได้
ยังมีข้อสงสัยอะไรอีกไหมคะ ในเรื่องของ “วิปากปัจจัย” หรือในเรื่องของสติปัฏฐาน อย่าเป็นวิปากปัจจัยหรือวิบากแต่ในตำรา ขณะที่กำลังกระทบสัมผัส สติระลึกรู้ว่าเป็นวิบาก มีใครอยากจะรู้สิ่งที่แข็งบ้างไหมคะ เพียงแข็งนี้ปรากฏอยู่เรื่อยๆ มีใครอยากจะรู้แข็งบ้างไหมคะ อยากหรือไม่อยากคะ เพียงแข็งเท่านั้นเอง อยากจะรู้ไหมคะ ลักษณะที่แข็ง ที่กระทบที่กาย แต่ว่าอยากหรือไม่อยาก เมื่อมีปัจจัยที่รู้แข็งจะเกิด รู้แข็งก็กำลังรู้แข็ง นี่คือวิปากปัจจัย
ถ้าเกิดในอรูปพรหม ไม่ต้องรู้แข็ง ไม่มีรูปใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ต้องเห็น ไม่ต้องได้ยิน ไม่ต้องได้กลิ่น ไม่ต้องลิ้มรส ไม่ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เพราะเหตุว่าไม่มีรูปใดๆ แต่ว่า “วิปากปัจจัย” ยังมีจิตและเจตสิกซึ่งเป็นวิบาก ซึ่งเป็นผลของกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้แล้ว
ยังมีข้อสงสัยอะไรอีกไหมคะ อย่าลืมวิบากนะคะ ขณะนี้น่ะค่ะ และเหตุการณ์ทั้งหลาย ถ้าย่อลงมาแล้วก็คือวิบาก ซึ่งเกิดอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น กำลังกระทำกุศลกรรม ก็มีวิบาก คือต้องมีการเห็นวันยังค่ำ ต้องมีการได้ยินอยู่เรื่อยๆ ต้องมีการได้กลิ่นอยู่เรื่อยๆ ต้องมีการลิ้มรสอยู่เรื่อยๆ ต้องมีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่ให้ทราบว่าวิบากไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล
ทรงเกียรติ วิบากเป็นจิตและเจตสิกที่ทำให้เห็น ให้ได้ยอน แต่โภคสมบัติที่จะพังทำลายไป ไม่เกี่ยวกับจิตและเจตสิก แต่โภคสมบัติที่มีค่า ที่เสียหายนั้น จะเป็นวิบากด้วยหรือเปล่าครับ
อ.สุจินต์ ท่านผู้ฟังอย่าลืม เหตุการณ์ทุกอย่างที่ดูยาว เป็นโภคสมบัติ เป็นทรัพย์สมบัติ และสูญหายไป จะเป็นวิบากหรือเปล่า
ถ้าย่อลงมาทุกขณะจิต อย่าลืม การที่จะรู้สภาพธรรมที่เป็นวิบาก คือขณะที่เห็น ขณะที่ได้ยิน ขณะที่ได้กลิ่น ขณะที่ลิ้มรส ขณะที่กระทบสัมผัสเท่านั้น เป็นวิบาก ส่วนเรื่องยาวๆ อย่างนั้น เอามาย่อยออกเสีย จึงจะรู้ว่า ขณะใดเป็นวิบาก
ขณะที่กำลังฟังเรื่องเมื่อกี้นี้ คือเรื่องทรัพย์สมบัติพินาศไป ถ้าจะรู้วิบากคือเมื่อไรคะ สติระลึกที่แข็ง นั่นแหละค่ะวิบาก
ขณะที่ได้ยิน กำลังได้ยินเรื่องนี้ ขณะที่ระลึกรู้ลักษณะที่ได้ยิน ได้ยินเป็นวิบาก เช่นเดียวกับแข็ง มีใครอยากจะรู้แข็งบ้าง เพียงแข็ง แต่ก็ต้องรู้แข็ง เมื่อมีปัจจัยที่จะให้สภาพที่รู้แข็งเกิด รู้แข็งขณะนั้นฉันใด เมื่อมีปัจจัยที่จะให้จิตได้ยิน เกิดขึ้นได้ยิน จิตได้ยินก็เกิดขึ้นเป็นวิบาก
ท่านที่มีสมบัติมาก สมบัติของท่านตามความเป็นจริง เกิด – ดับอยู่ตลอดเวลา มีก็เสมือนไม่มี ถ้าขณะนั้นไม่ปรากฏ สมมติว่าท่านนั่งอยู่ในที่นี้ เป็นผู้ที่มีสมบัติมาก เข้าใจว่าเป็นผู้ที่มีสมบัติมาก เข้าใจว่าสมบัติยังอยู่ กลับไปบ้านไฟไหม้หมด ระหว่างที่ท่านกำลังนั่งอยู่ที่นี่ เข้าใจว่า ยังมีสมบัติอยู่ใช่ไหมคะ นั่นคือความเข้าใจ แต่ตามความเป็นจริง คือแล้วแต่สภาพธรรมใดปรากฏทางตา หรือทางหู หรือทางลิ้น หรือทางกาย ขณะใด เป็นวิบากขณะนั้น
เพราะฉะนั้น สิ่งที่มี แต่ไม่ปรากฏ จึงมีก็เสมือนไม่มี ซึ่งความจริงแล้ว อาจจะไม่มีเลยจริงๆ ก็ได้นะคะ โดยอัคคีภัย อุทกภัย น้ำท่วม หรือสิ้นชีวิตลงทันที สมบัติจะไม่เป็นของบุคคลนั้นอีกต่อไปก็ได้ เพราะฉะนั้น ที่เข้าใจว่ามีนี้ เป็นความคิดค่ะ แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ต้องขณะที่กำลังเห็น จึงจะชื่อว่าเป็นวิบาก
ท่านที่มีเครื่องประดับที่สวยงาม เป็นสมบัติของใคร เป็นสมบัติของจักขุวิญญาณที่เห็น เป็นกุศลวิบากของใครคะ ในเมื่อจักขุวิญญาณเห็นแล้วดับทันที ทุกคนหมด จักขุวิญญาณเป็นแต่เพียงธาตุรู้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อกระทบกับสิ่งที่ปรากฏ ขณะนี้จะมีจักขุวิญณาณจิตกี่ดวงก็ตาม ถ้าเห็นสิ่งซึ่งเป็นผลของกุศล จักขุวิญญาณนั้นเป็นกุศลวิบากชั่วขณะที่เห็นแล้วดับ แต่ไม่ได้เห็นสิ่งซึ่งเป็นผลของกุศล จักขุวิญญาณนั้นเป็นกุศลวิบากชั่วขณะที่เห็นแล้วดับ แต่ไม่ได้เห็นสิ่งนั้นอยู่เรื่อยๆ ประเดี๋ยวเห็นสิ่งอื่น ซึ่งเป็นอกุศลวิบากแล้ว
เพราะฉะนั้น สมบัติทั้งหลายนี้ เป็นสมบัติของจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ชั่วขณะที่ปรากฏ ตามความเป็นจริง แต่ส่วนใครจะคิดว่า ท่านมีเงินมากมายมหาศาล มีสมบัติมหาศาลอยู่ในความคิดนะคะ ซึ่งขณะใดที่ไม่ปรากฏ มีก็เสมือนไม่มี
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า วันหนึ่งๆ นอกจากมีสภาพปรมัตถธรรม ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้ว ก็ยังมีการนึกคิดเรื่องราวของปรมัตถธรรมที่ปรากฏทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้างอยู่เรื่อยๆ และเป็นขณะที่ยาวมาก เรื่องต่างๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ถ้าสติไม่เกิด จะไม่มีทางรู้เลยว่า ขณะนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นแต่เพียงนามธรรมและรูปธรรมซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย
วันนี้ในขณะนี้เป็นอย่างนี้ เมื่อวานก็คงจะคล้ายๆ อย่างนี้ คือเต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ ซึ่งถ้าปรมัตถธรรมคือนามธรรมและรูปธรรมไม่เกิด คือไม่มีการเห็นเลย ไม่มีการได้ยินเลย ไม่มีการได้กลิ่นเลย ไม่มีการลิ้มรส ไม่มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเรื่องราวต่างๆ ย่อมมีไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทุกเรื่องของทุกวัน ย่อมมาจากแหล่ง คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่อย่าลืมว่าต้องแยกกัน โดยสติระลึกและศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่ต่างกัน ระหว่างสภาพที่เป็นวิบากและสภาพที่เป็นกุศลและอกุศล
เพราะเหตุว่า บางท่าน เวลาที่มีเรื่องที่เดือดร้อน เช่นเกิดอุบัติเหตุ หรือมีโจรภัย ไฟไหม้ มีการที่จะต้องสูญเสียทรัพย์ บางท่านใช้คำว่าเป็นกรรม แต่ผู้ที่เข้าใจสภาพธรรมแล้ว ต้องทราบว่า คำนั้นหมายความถึงกรรมในอดีต ที่ได้กระทำแล้วของตนเอง แต่ขณะใดก็ตามที่กำลังเห็น ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง รู้สภาพธรรมที่ปรากฏที่กายบ้าง ขณะนั้นเท่านั้นเป็นวิบาก
เพราะฉะนั้น ถ้าท่านผู้หนึ่งผู้ใด ในชีวิตประจำวันมีภัยมาถึงตัว โดยการศึกษาเรื่องของวิบาก และเรื่องของกรรม พอที่จะทราบได้ไหมคะว่า ขณะไหนเป็นวิบาก และขณะไหนเป็นกรรม และการรู้อย่างนี้ย่อมจะทำให้มั่นคงในกุศลกรรม โดยไม่หวั่นไหว เพราะรู้ว่า ภัยใดๆ ก็ตาม ที่จะเกิดปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ย่อมเป็นผลของอดีตกรรมของตนเอง เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย บางท่านก็ถามว่า ขณะที่เจ็บไข้ได้ป่วย ขณะนั้นเป็นผลของอกุศลกรรม เป็นวิบากใช่ไหม ถูกต้องนะคะ แต่อย่าลืมว่า ไม่ใช่แต่ในเฉพาะขณะที่เจ็บป่วย เห็นขณะใดต้องทราบว่า เป็นผลของอดีตกรรม
เพราะฉะนั้น ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เช้าจนถึงขณะนี้ ก็เป็นผลของอดีตกรรม ที่ได้กระทำแล้ว ส่วนกรรมคือหลังจากที่วิบากจิตดับไปแล้ว กุศลจิตหรืออกุศลจิตที่เกิดต่อ ยังไม่ได้ให้ผลทันที โดยไม่มีระหว่างคั่น แต่ต้องอาศัยปัจจัยอื่น เมื่อพร้อมที่จะให้ผลเมื่อไร ก็ได้รับผลทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าท่านผู้ฟังจะฟังเรื่องอะไรก็ตาม ที่กำลังได้ยินในขณะนี้ หรือว่าที่จะได้ยินต่อไป ก็ให้ทราบว่า ถ้าสติระลึก จะรู้ว่าขณะที่ได้ยินเป็นวิบาก ส่วนจิตซึ่งกำลังรู้เรื่อง อาจจะเป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง และนอกจากจะรู้ว่าเป็นวิบากหรือเป็นกรรม ก็ยังจะต้องรู้ว่าสภาพธรรมนั้น ในขณะนั้นไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
เพราะฉะนั้น บางท่านเมื่อได้ฟังเรื่องของกรรม เรื่องของวิบาก เวลาที่มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นกับท่าน สติก็อาจจะระลึกได้ ว่านี่เป็นผลของกรรมของตนในอดีต จึงมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส มีการู้สิ่งที่กระทบสัมผัส อย่างนั้นๆ แต่ว่าถ้าไม่ใช่สติปัฏฐานแล้ว วิบากนั้นก็ยังคงเป็นเรา เป็นผู้ที่เห็น เป็นผู้ที่ได้ยินเป็นต้น จนกว่าจะศึกษารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏแล้ว ต้องเป็นในขณะนี้จริงๆ ว่าลักษณะที่เป็นวิบากต้องไม่ใช่ตัวตน จึงเป็นวิบาก เป็นสภาพนามธรรม เป็นสภาพรู้ ที่กำลังเห็นหรือกำลังได้ยิน เพราะฉะนั้น ในขณะที่ฟังนี้เอง สติปัฏฐานสามารถที่จะรู้วิบากจริงๆ คือกำลังเห็นในขณะนี้ เป็นสภาพรู้ กำลังได้ยินในขณะนี้ ก็เป็นสภาพรู้ เพราะเหตุว่าไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่ให้ได้ยินเสียงที่กำลังได้ยิน ในขณะนี้ได้ เพราะฉะนั้นการที่จะรู้จริงๆ ว่าพระผู้มีพระภาคทรงมีพระคุรนานัปการ ก็โดยการที่สติเกิดขึ้น และรู้ตามความเป็นจริงว่า พระธรรมที่ทรงแสดงนั้น เป็นความจริง สามารถที่จะพิสูจน์ได้ และในวันหนึ่งๆ นี้ มีวิบากนับไม่ถ้วน เพราะเหตุว่า เห็นตลอดเวลา ได้ยินด้วย ได้กลิ่นด้วย ลิ้มรสด้วย รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกายด้วย แล้วก็มีกุศลจิตและอกุศลจิตเกิดต่อจากวิบาก ไม่ใช่แต่เฉพาะในชาตินี้ ซึ่งยังไม่ค่อยจะได้พิจารณาว่ามีวิบากอะไรบ้าง และมีกุศลกรรม อกุศลกรรมอะไรบ้าง
เพราะฉะนั้น ย้อนถอยหลังไป ทุกท่านก็คงจะต้องเคยเกิดกันมานับชาติไม่ถ้วน ถ้าจะถอยไปจนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ประมาณสัก ๒๕๐๐ กว่าปี ที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ ทรงแสดงพระธรรมและทรงดับขันธปรินิพพาน แต่ละท่านก็ต้องเคยเกิดกันมาแล้ว ในชาติต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งถ้าจะย้อนไปเพียง ๒๕๐๐ กว่าปีก็ไม่มากชาติเท่ากับกัปป์ๆ หรือแสนโกฏิกัปป์ คือก็คงจะมีสัก ๒๐๐ - ๓๐๐ ชาติ แล้วแต่ว่าในชาติหนึ่งๆ นั้น จะมีอายุมากน้อยเท่าไร เพราะฉะนั้น บุคคลในครั้งที่พระผู้มีพระภาคพึ่งจะปรินิพพาน ก็จะต้องเจริญสติปัฏฐาน ตามยุคตามสมัย ตามกาลตามเหตุการณ์ ซึ่งเกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลในที่นี้ ไม่สามารถที่จะย้อนระลึกถึงอดีตชาติได้ว่าเคยเกิดที่ไหน เคยฟังพระธรรม หรือว่าสติเคยระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมในเหตุการณ์ไหนบ้างก็จริงนะคะ แต่การศึกษาเรื่องราวในอดีต ซึ่งทุกท่านก็จะต้องเคยเป็นชาติหนึ่งชาติใดของท่าน ไม่ว่าจะเป็นชาติไหน แต่สำหรับผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา มีเหตุปัจจัยคืออุปนิสสยปัจจัยที่ได้สั่งสมมา ทำให้มีความสนใจที่จะศึกษาพระธรรม ก็คงจะเคยได้ยินได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงในอดีตมาแล้ว
จบ เทปปัจจัย ๒๔ ตลับที่ ๑๗
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50