ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
ซึ่งเป็นรูปธรรม สำหรับอินทรีย์ ๒๒ ที่แสดงไว้ โดยลำดับคือ
๑. จักขุนทรีย์ ๒. โสตินทรีย์ ๓. ฆานินทรีย์ ๔. ชิวหินทรีย์ ๕. กายินทรีย์ ๖. อิตถินทรีย์ ๗. ปุริสินทรีย์ ๘. ชีวิตินทรีย์
ซึ่งสำหรับชีวิตริทรีย์รวมทั้งชีวิตรูป และชีวิตนาม แต่ผู้ฟังจะเห็นได้ว่าการแสดงเรื่องอินทรีย์ แสดงโดยลำดับจริงๆ คือ ตั้งแต่ทางตาซึ่งปรากฏอยู่เป็นประจำ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ปรากฏอยู่เป็นประจำ
สำหรับอินทรีย์ต่อไป เป็นนามธรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการรู้ ตามลำดับเพิ่มขึ้นคือ
๙. มนินทรีย์ ได้แก่จิตทั้งหมดทุกดวง
๑๐. สุขินทรีย์ ความรู้สึกเป็นสุข
๑๑. ทุกขขินทรีย์ ความรู้สึกเป็นทุกข์ทางกาย
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ความรู้สึกเป็นสุขทางใจ
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ความรู้สึกเป็นทุกข์ทางใจ
๑๔. อุเบกขินทรีย์ ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์
แสดงให้เห็นว่าเป็นลำดับโดยการที่ เมื่อมีชีวิตนามเกิดขึ้น ย่อมมีจิตเกิดขึ้น และเมื่อมีจิตเกิดขึ้นแล้ว ที่จะไม่มีความรู้สึกเกิด ไม่มี เพราะฉะนั้นการที่ทุกท่านมีจิตเกิดขึ้น ท่านปรารถนา แสวงหา และติดอย่างยิ่งในสุขเวทนา ด้วยเหตุนี้ สุขเวทนาจึงเป็นอินทรีย์ที่ ๑๐
๑๑. ทุกขขินทรีย์ ความรู้สึกเป็นทุกข์ทางกาย
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ความรู้สึกเป็นสุขทางใจ
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ความรู้สึกเป็นทุกข์ทางใจ
๑๔. อุเบกขินทรีย์ ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์
ต่อจากชีวิตประจำวันซึ่งมีทั้งรูปธรรมนามธรรม และสภาพของเวทนาทั้ง ๕ ซึ่งเป็นอินทรีย์แล้ว ก็เป็น
๑๕. สัทธินทรีย์ สภาพธรรมที่เป็นใหญ่ ในการที่จะให้สัมปยุตตธรรมทั้งหลายมีสภาพที่ผ่องใส ปราศจากอกุศล นั้นเป็นลักษณะของศรัทธา ซึ่งเป็นสัทธินทรีย์
วันหนึ่งๆ ไม่ค่อยจะรู้สึกว่าจิตเศร้าหมอง ในลักษณะที่ว่าไม่ใช่ความรู้สึกเศร้าเป็นทุกข์ แต่เศร้าหมองในที่นี้คือไม่เป็นกุศล สิ่งที่สกปรกเรียกว่าเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส ไม่สะอาด นั่นคือลักษณะของอกุศลจิต เพราะฉะนั้นการแสดงอินทรีย์โดยลำดับ หลังจากที่ได้แสดงดเรื่องของรูปธรรมที่เป็นอินทรีย์ และนามธรรมซึ่งเป็นอินทรีย์ในชีวิตประจำวันแล้ว ก็ได้แสดงเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาซึ่งเป็นอินทรีย์ ๕ ได้แก่
๑๕. สัทธินทรีย์ ๑๖. วิริยินทรีย์ ๑๗. สตินทรีย์
๑๘. สมาธินทรีย์ ๑๙. ปัญญินทรีย์
ที่จะให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ถึงอินทรีย์อีก ๓ อินทรีย์ คือ
๒๐. อนัญญปัญญสามีตินทรีย์ ได้แก่ปัญญาที่รู้แจ้งอริยสัจธรรมที่เกิดกับโสตปฏิมัคคจิต ซึ่งอินทรีย์อันนี้จะไม่เกิดเป็นไปได้ ถ้าไม่มีการอบรมอินทรีย์ ๕ เพราะฉะนั้นผลของการอบรมเจริญอินทรีย์ ๕ จะทำให้น้อมไปสู่การละสัญโยชน์ การที่จะให้สัปยุตตธรรมคือธรรมที่เกิดร่วมด้วย บ่ายหน้าต่อการที่จะละสังโยชน์ ๓ บรรลุถึงการดับกิเลสขั้นโสตาปัตติมัคคจิต เมื่อโสตาปัตติมรรคจิตเกิดแล้ว
๒๑. อัญญินทรีย์ ได้แก่ปัญญาเจตสิก ซึ่งเกิดกับโสตาปัติผลจิต ตลอดไปจนกระทั่งถึงอรหัตมัคคจิต เป็นการที่รู้สภาพของนิพพาน รู้แจ้งอริยสัจธรรม ตามที่โสตาปัตติมัคคจิตรู้แล้วนั่นเอง แต่ว่าสภาพมัคคจิตแต่ละมรรค ก็ดับกิเลสพิ่มขึ้น ตามลำดับขั้นของมรรคนั้นๆ จนถึงอินทรีย์สุดท้ายคือ
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ ได้แก่ปัญญาเจตสิก ซึ่งเกิดกับอรหัตตผลจิต เพราะเมื่อบรรลุอัญญาตาวินทรีย์นี่แล้ว ก็ถึงความเบาใจอย่างยอดเยี่ยม คือไม่มีกิจอื่นที่ต้องกระทำอีกแล้ว
เพราะฉะนั้นการแสดงถึงอินทรีย์ ก็แสดงถึงสภาพที่เป็นใหญ่ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไปของรูปธรรมและนามธรรม และตลอดไปจนถึงสภาพของธรรมที่เป็นกุศลในการเจริญปัญญาที่จะให้บรรลุถึงอินทรีย์ขั้นสูงยิ่งขึ้น
แต่สำหรับสัทธินทรีย์ เป็นใหญ่ในการให้สัมปยุตตธรรมมีสภาพที่ผ่องใส เป็นกุศล
วิริยินทรีย์ เป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ นี่คือความต่างกัน ของอินทรีย์ ๕
สำหรับสตินทรีย์ เป็นใหญ่ในการระลึกที่จะเป็นกุศล เพราะเหตุว่าสติเป็นโสภณเจตสิก ไม่ใช่อกุศลเจตสิก
สมาธินทรีย์ เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้
และปัญญินทรีย์ ต้องเป็นใหญ่ในความเห็นถูก ในความเข้าใจถูก ที่ทำให้สามารถพ้นจากความเข้าใจผิดได้
นี่ก็ไป็นการแสดงอินทรีย์โดยสังเขปก่อน เพื่อที่จะได้ให้ท่านผู้ฟังได้ทราบความหมายของคำว่าอินทรีย์ หรือสภาพธรรมที่เป็นอินทรีย์ว่าเป็นชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่มีปรากฏเป็นนามธรรมและรูปธรรมแต่ละประเภท ซึ่งจะต้องแตกย่อยออกไป ไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน จึงจะสามารถประจักษ์ลักษณะสภาพธรรมที่เป็นอินทรีย์ ตามความเป็นจริงได้
สำหรับอินทรีย์ ๒๒ เป็นรูป ๗ เป็นนาม ๑๔ เป็นนามและรูป ๑
ซึ่งอินทรีย์ ๒๒ ก็ขอทวนอีกครั้ง ว่า
๑. จักขุนทรีย์ เป็นรูป ๒. โสตินทรีย์ เป็นรูป ๓. ฆานินทรีย์ เป็นรูป ๔. ชิวหินทรีย์ เป็นรูป ๕. กายินทรีย์ เป็นรูป ๖. อิตถินทรีย์ เป็นรูป ๗. ปุริสินทรีย์ เป็นรูป ๘. ชีวิตินทริยะ เป็นรูปชีวิตตินทริย ๑ เป็นนามชีวิตตินทริยะ ๑
เพราะฉะนั้นถ้ากล่าวโดยอินทรีย์ ๒๒ เป็นรูป ๗ เป็นนาม ๑๔ เป็นนามและรูป ๑ ซึ่งข้อความที่แสดงว่า ความต่างกัน ของชีวิติทรีย์ ซึ่งจำแนกเป็นนามและรูป มีข้อความในอรรถกาถาที่แสดงว่า เฉพาะชีวิติทริยะเท่านั้นที่ต่างกัน
ซึ่งข้อความในสัมโมหวิโนทนี อรรถกาถา พระวิภังคปกรณ์ วินิจฉัย อินทริยะโดยลำดับ และโดยความต่างกันและไม่ต่างกัน
ในอินทรีย์ ๒๒ ทราบแล้วนะคะว่าได้แก่นามธรรมและรูปธรรมนั่นเอง แต่บางนามธรรมก็ไม่ใช่อินทริยะ บางรูปธรรมก็ไม่ใช่อินทรีย์
เพราะฉะนั้นในอินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นรูปมี ๗ ที่เป็นนามมี ๑๔ ที่เป็นนามและรูป ๑ ที่ย้ำบ่อยๆ เพื่อที่จะให้ท่านผู้ฟัง ได้จำจำนวนแล้วประกอบกับความเข้าใจด้วย ซึ่งไม่ยาก ถ้าทราบว่าอินทรีย์ ๒๒ เป็นรูป ๗ เป็นนาม ๑๔ คือ ๒ เท่าของรูป
อินทรีย์ ๒๒ เป็นรูป ๗ เป็นนาม ๑๔ เพราะฉะนั้นก็ป็นนามและรูป ๑
แต่ถ้ากล่าวโดยรูป ๒๘ รูปที่เป็นอินทรีย์มี ๘ นี่คือความที่ต่างกัน
เมื่อกล่าวโดยอินทรีย์ ๒๒ อินทรีย์ที่เป็นรูปมี ๗ เป็นนาม ๒ เท่าคือเป็น ๑๔ และเป็นนามและรูป ๑
แต่ถ้ากล่าวโดยรูป ๒๘ รูปที่เป็นอินทรีย์มี ๘รูป เพราะเหตุว่า นอกจากจักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อิตถินทรีย์ ๑ ปุริสินทรีย์ ๑ แล้วก็ชีวิตตินทรีย์ ๑ รวมเป็น ๘ ถ้ากล่าวโดยนัยของรูป ๒๘ รูปที่เป็นอินทรีย์มี ๘ รูป
ถ้ากล่าวโดยนัยของอินทรีย์ อินทรีย์ที่เป็นรูปมี ๗ ที่เป็นนามมี ๑๔ และที่เป็นนามและรูปมี ๑
ซึ่งก็ของทวนข้อความในสัมโมหวิโนทนี อรรถกาถา พระวิภังคปกรณ์ที่วินิจฉัย การที่ผู้มีพระภาคทรงแสดงอินทรีย์ ๒๒ โดยลำดับ และโดยความต่างกันและไม่ต่างกัน ซึ่งมีข้อความว่า แม้ลำดับในข้อว่า โดยลำดับนี้ ก็ได้แก่ลำดับแห่งเทศนานั่นเอง เพราะเหตุว่าบางท่านก็อาจสงสัยว่า ทำไมอินทรีย์นั้นก่อน ทำไมอินทรีย์นั้นเป็นที่ ๒ ทำไมอินทรีย์นั้นเป็นที่ ๓ แต่ข้อความในอรรถกาถาแสดงว่า โดยลำดับนี้ก็ได้แก่ ลำดับแห่งเทศนานั่นเอง ในข้อนั้นพึงทราบอธิบายดังนี้
ด้วยการกำหนดรู้ธรรมที่เป็นภายใน จึงจะได้บรรลุอริยภูมิได้ ข้อความทั้งหมด ถ้าท่านผู้ฟังพิจารณาจริงๆ ให้เข้าใจในอรรถ จะเกื้อกูลต่อการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ถ้าไม่พิจารณาลักษณะของอินทริยะ ไม่เป็นหนทางที่จะให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะเหตุว่าอินทริยได้แก่ จักขุนทรีย์ ทางตาที่กำลังเห็น มีสภาพธรรมที่ปรากฏ และถ้าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริงว่า สภาพธรรมใดเป็นรูปธรรม สภาพธรรมใดเป็นนามธรรม ก็ย่อมไม่สามารที่จะละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้
เพราะฉะนั้น ถ้ามีท่านผู้ใดที่คิดจะไม่พิจารณา จักขุนทรีย์ หรือสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ก็ทราบได้ว่า ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม
เพราะแม้ข้อความในอรรถกาถา ที่แสดงการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอินทริยโดยลำดับ ก็มีข้อความว่า ด้วยการกำหนดรู้ธรรมที่เป็นภายใน จึงจะได้บรรลุอริยภูมิได้ ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคจึงแสดงจักขุนทรีย์เป็นต้น อันนับเนื่องด้วยภาวะของตนก่อน ควรจะต้องพิจารณาอรรถนี้
จักขุนทรีย์อันนับเนื่องด้วยภาวะของตนก่อน หมายความว่าอะไร ทุกท่าน ก่อนที่จะได้ฟังพระธรรม มีตัวตนไหมคะ แล้วก็มีการเห็น เพราะฉะนั้นจักขุนทรีย์ก็เป็นอินทรีย์อันนับเนื่องด้วยภาวะของตน มีตัวตนที่เห็นเป็นเราที่เห็น ใช่หรือไม่ใช่ ในขณะที่เห็น แท้ที่จริงแล้วเป็นจักขุนทรีย์ แต่ก็เป็นสภาพธรรมที่นับเนื่องด้วยภาวะของตน ถ้าไม่มีการเห็น โลกนี้ไม่ปรากฏ แต่เมื่อโลกนี้ปรากฏแล้ว เป็นเราเห็น สิ่งที่เป็นของเราด้วย เพราะฉะนั้นตัวตน ไม่พ้นจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นอินทริยะ เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ที่จะทำให้โลกปรากฏทางตา ที่เห็นเป็นสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม เป็นดอกไม้ เป็นพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นศิลปะ เป็นพระพุทธรูป เป็นวิชาการต่างๆ จิตรกรรมต่างๆ ล้วนมาจากการเห็นทั้งสิ้น และการเห็นนั้นก็เป็นอินทรีย์อันนับเนื่องด้วยภาวะของตน ทุกคนที่เห็น มีใครบ้างไหมที่ไม่คิดว่าเป็นเราเห็น เป็นตัวตน เป็นภาวะของตน เป็นสภาพหนึ่งของตัวตนที่เห็น
เพราะฉะนั้นการที่จะดับการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงจักขุนทริยะเป็นอินทรีย์ที่ ๑และต่อจากนั้นก็เป็นโสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์
ก็ภาวะของตนนั้น อาศัยธรรมอันใด จึงนับได้ว่าหญิงหรือชาย ทรวดทรงแสดงว่าธรรมนั้น ได้แก่ภาวะของตนนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอิตถินทรีย์ และปุริสสินทรีย์ไว้ ต่อจากจักขุนทรีย์เป็นต้น ท่านผู้ฟังเกิดมาแล้ว รู้ตัวใช่ไหมคะ ว่าเป็นหญิงหรือชาย
เพราะฉะนั้นก็ต้องอาศัยจักขุนทรีย์ ทางหูก็ต้องฟังเสียงเป็นหญิงหรือเป็นชาย เป็นโสตินทรีย์ เพราะฉะนั้นต่อจากอินทรีย์ ๕ ที่จะรู้ภาวะของตน ด้วยอาศัยธรรมอันใด จึงนับได้ ว่าหญิงหรือชาย เพื่อทรงแสดงว่าธรรมนั้นได้แก่ภาวะของตนนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงอิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ไว้ ต่อจากจักขุนทรีย์เป็นต้น
ให้ทราบว่าที่เคยยึดถือตัวเองว่าเป็นหญิงหรือชาย ก็เพราะเหตุว่า เป็นเพราะภาวะรูปซึ่งเป็นอิตถีภาวะ หรือปุริสภาวะนั่นเอง
ต่อจากนั้น อินทรีย์ที่ ๘ ได้แก่ชีวิตินทริยะ เพื่อให้ทราบว่าภาวะของตนทั้ง ๒ อย่างนั้น มีความเป็นอยู่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตินทริยะ พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงชีวิตินทริยะไว้ในลำดับต่อจากอิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ ที่ยังเป็นหญิงเป็นชายอยู่นี่เพราะเหตุว่ามีรูปซึ่งเป็นชีวิตินทรีย์อุปถัมภ์รูปซึ่งเกิดเพราะกรรม ให้เป็นรูปที่ทรงชีวิต ดำรงชีวิตอยู่ตราบเท่าที่กรรมทำให้ชาตินี้เป็นหญิง ก็เพราะเหตุว่าชีวิตินทริยะ อุปถัมภ์ภาวะรูปนั้นให้ดำรงสภาพของความเป็นหญิงอยู่ หรือว่าผู้ที่เป็นชายในชาตินี้ ที่ยังคงเป็นชายต่อไปอยู่ทุกวัน ยังไม่หมดสิ้นภาวะของความเป็นชาย ก็เพราะชีวิตินทริยะรูป เป็นรูปซึ่งเกิดเพราะกรรม อุปถัมภ์รูปอื่นทั้งหลายซึ่งเกิดเพราะกรรม ให้ดำรงสภาพความเป็นรูปนั้นๆ อยู่
ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้ทราบว่า ภาวะของตนทั้ง ๒ อย่างนั้น มีความเป็นอยู่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตินทริยะ พระผู้มีพระจึงทรงแสดงชีวิตินทริยะไว้ในลำดับต่อจากอิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์ นั้น นี่เป็นอินทรีย์ที่ ๘
ขอทวนอีกครั้งว่า จักขุนทรีย์เป็นรูป ๑
๒. โสตินทรีย์เป็นรูป ๓. ฆานินทรีย์เป็นรูป ๔. ชิวหินทรีย์เป็นรูป ๕.กายินทรีย์เป็นรูป ๖. อิถินทรีย์เป็นรูป ๗.ปุริสินทรีย์เป็นรูป ๘. ชีวิตินทริยะเป็นรูป ๑ คือรูปชีวิตินทริยะ เป็นนาม ๑ คือนามชีวิตินทริยะ ได้แก่ชีวิตินทริยะเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตทุกดวง
สำหรับนามชีวิตินทรีย์ คือนอกจากชีวิตินทริยะเจตสิกแล้ว อินทรีย์ที่ ๙ คือมนินทรีย์ ๑๐. สุขินทรีย์ ได้แก่สุขเวทนา
๑๑. ทุกขินทรีย์ ได้แก่ทุกขเวทนา
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ได้แก่โสมนัสเวทนา
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ได้แก่โทมนัสเวทนา
๑๔. อุเบกขินทรีย์ ได้แก่อุเบขาเวทนา
๑๕. สัทธินทรีย์ ได้แก่ศรัทธาเจตสิก
๑๖. วิริยินทรีย์ ได้แก่วิริยเจตสิก
๑๗. สตินทรีย์ ได้แก่สติเจตสิก
๑๘. สมาธินทรีย์ ได้แก่เอกกัคคตาเจตสิก
๑๙. ปัญญินทรีย์ ได้แก่ปัญญาเจตสิก
๒๐. อนัญญาตัญญัตสามีตินทรีย์ ได้แก่ปัญญาเจตสิกซึ่งเกิดกับโสตปัตติมัคคจิต ๑ ดวง
๒๑. อัญญินทรีย์ ได้แก่ปัญญาเจตสิกซึ่งเกิดกับโสตาปัตติผล สกทาคามีมัคคจิต สกทาคามิมัคคผล อนาคามีมัคคจิต อนาคามิมัคคผล และอรหัตมัคคจิต
อินทรีย์ที่ ๒๒ คือ อัญญาตาวินทรีย์ ได้แก่ปัญญาเจตสิกซึ่งเกิดกับอรหัตตผลจิต ดวงเดียว นี่ก็แสดงให้เห็นความละเอียด ความต่างกัน แม้ของปัญญา ว่าโดยทั่วไปแล้ว ปัญญาที่ไม่เกิดร่วมกับโสตาปัตติมัคจิตเป็นปัญญิทรีย์ แล้วสำหรับอนัญญาตัญญัตสามีตินทรีย์ ซึ่งเกิดกับโสตาปัตติมัคจิตขณะเดียว ก็ไม่ใช่อัญญินทรีย์ซึ่งเป็นปัญญาซึ่งเกิดกับโสตปัตติผลจิต ตลอดไปจนกระทั่งถึงอรหัตมัคคจิต และอัญญาตาวินทรีย์ ก็ได้แก่ปัญญาที่เกิดกับอรหัตตผลจิตเท่านั้น ไม่เกิดกับโลกุตตรจิตอื่นๆ
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ตราบใดที่ยังมีนามชีวิตินทริยะ คือชีวิตเจตสิก ก็มีนามธรรมอื่นๆ เช่น อินทรีย์ที่ ๙ มนินทรีย์ ที่ใจหรือจิตเป็นใหญ่เป็นมนินทรีย์ ก็เพราะเหตุว่าเป็นที่ตั้ง ที่เกิดของนามธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีจิต เจตสิกอื่นๆ ก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นสภาพของจิตจึงเป็นใหญ่ เป็นอินทรีย์ เป็นมนินทรีย์ แล้วถ้าท่านผู้ฟังสังเกตุต่อๆ ไป จะเห็นได้ว่า เมื่อกล่าวโดยปรมัตถ์ธรรม ทรงใช้พยัญชนะว่าจิตปรมัตถ์ แต่ในบางครั้งจะใช้คำว่า มโน หรือถ้าเป็นอินทรีย์ ก็จะใช้คำว่ามนินทรีย์ เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับทวารอื่น เช่น จักขุนทรีย์ เป็นจักขุทวาร โสตินทรีย์ เป็นโสตทวาร
แต่นอกจากนั้น จิตนั่นเอง แต่ว่าเมื่อรู้แจ้งอารมณ์ ซึ่งเป็นธาตุที่รู้แจ้งอารมณ์ ทางหนึ่งทางใดในทวารหนึ่งทวารใด ก็ใช้คำว่าวิญญาณ เช่นจักขุวิญญาณจิต
โลภมูลจิต ไม่ใช่จิตเห็น เพราะฉะนั้นไม่ใช่สภาพที่รู้แจ้งรูปารมณ์ซึ่งกำลังปรากฏให้เห็นทางตา ในขณะนี้ ในขณะที่รูปารมณ์กำลังปรากฏทางตา จิตซึ่งรู้แจ้งคือเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ทรงใช้พยัญชนะว่าจักขุวิญญาณ เพื่อให้รู้ว่าเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ทางทวารไหน
ถ้าเสียงที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ปรากฏเพราะจิตประเภทหนึ่งกำลังได้ยิน คือรู้แจ้งเสียงซึ่งกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นจึงใช้คำว่าโสตวิญญาณจิต นี่ก็เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ถ้าท่านผู้ฟังสังเกตุ ก็จะได้เหตุผลว่า เพราะเหตุใดจึงใช้จิตปรมัตถ์ เพราะเหตุว่าหมายถึงจิตทุกชนิด ทุกประเภทเป็นสภาพรู้ แต่ที่ใช้คำว่าวิญญาณ เพราะเหตุว่า เป็นสภาพที่รู้แจ้งทางทวาร เช่นทางตา จิตที่เห็นเป็นจักขุวิญญาณ
เมื่อมี ๖ ทวาร เวลาที่จะใช้คำที่มีความหมายของจิต ที่เนื่องกับทวาร ก็ใช้คำว่ามโน เช่นมโนทวาร หรือมโนวิญญาณธาตุ เป็นต้น
ข้อความมีต่อไปว่า ตราบใดที่ชีวิตินทริยะยังเป็นไปได้อยู่ ในขณะนี้ อย่าลืมนะคะนามธรรมและรูปธรรมที่เป็นอินทรีย์ทั้งนั้นที่กำลังกล่าวถึงโดยลำดับ ตราบนั้น ความเสวยอารมณ์คือเวทนา ความรู้สึกเหล่านี้ก็ไม่มีการหยุดยั้ง คือ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา เป็นสุขินทรีย์ ทุกข์เวทนาเป็นทุกขินทรีย์ โสมนัสเวทนาเป็นโสมนัสสินทรีย์ โทมสัมเวทนาเป็นโทมนัสสินทรีย์ อุเบกขาเวทนาเป็นอุเบกขินทรีย์ ซึ่งท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า ชีวิตนี้ที่สำคัญมาก ก็เพราะเวทนาเกิดขึ้นเป็นไปในอารมณ์นั้น ถ้าเห็นเฉยๆ เท่านั้นเอง ไม่ประกอบด้วยความรู้สึกใดๆ เลย ก็คงจะไม่ต้องเดือดร้อน
แต่ว่า ไม่ว่าจะเห็นรูปทางตา หรือว่าได้ยินเสียงทางหู ถ้าเกิดสุขเวทนาขึ้น เป็นความรู้สึกที่เป็นสุข เนื่องจากการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ถ้าไม่กล่าวโดยอินทรีย์ ๕ หมายความถึงรวมทั้งทางใจด้วย ความรู้สึกที่เป็นสุขนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นใหญ่จริงๆ ครอบคลุมสหชาตธรรมอื่นๆ ไม่ให้ปรากฏเลย ปรากฏเฉพาะความรู้สึกซึ่งเป็นสุข จริงไหม เวลาสุข ผัสสะปรากฏไหม เจตนาปรากฏไหม มนสิการเจตสิกปรากฏไหม ลักษณะของสหชาตธรรมคือเจตสิกอื่นๆ ปรากฏไหม ไม่ปรากฏเลย มีแต่ความสุข ถึงกับบางท่านก็กล่าวว่าสุขหนอ สุขหนอ หรือว่าวันนี้ช่างเป็นสุข เป็นสุขจริงๆ นั่นก็เป็นเพราะเหตุว่าลักษณะของสุขเวทนานั้นเป็นอินทริยะ เป็นใหญ่ในการรู้สึก ซึ่งทำให้สภาพของสหชาตธรรมอื่นๆ เป็นไปกับความรู้สึกเป็นสุขนั้น
ตรงกันข้ามกับสุขคือทุกข์ เป็นใหญ่อีกเหมือนกัน ถ้าโดยนัยของอินทรีย์ ๕ ซึ่งแยกกายและใจ เวลาทุกขเวทนาเกิดขึ้น ปวด เจ็บ ทนไม่ไหว ลืมหมดสภาพธรรมอื่น จะเกิดสุขคละเคล้าขึ้นมาได้ไหมว่า เรามีสมบัติมากมายเท่านั้น เท่านี้ ในขณะซึ่งทุกข์เวทนากำลังเป็นใหญ่ในขณะนั้น ลักษณะของสภาพที่ปวด เจ็บ ทุกข์ทรมาน คลอบคลุมสหชาตธรรมอื่นๆ เพราะเหตุว่า ลักษณะของทุกขเวทนาเป็นอินทริยะ เป็นทุกขินทรีย์
ฉันใด โสมนัสเวทนา ความรู็สึกดีใจ โทมนัสเวทนา ความรู้สึกเศร้า เสียใจ อุเบกขาเวทนา ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ ก็เป็นอินทริยะ ตามลักษณะของความรู้สึกนั้นๆ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทางแสดงลำดับของเวทนาต่างๆ ต่อจากชีวิติทริยะ ซึ่งเป็นนามธรรมและมนินทรีย์ว่า
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50