ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
ตลับที่ ๒๒
เกิดขึ้นได้กลิ่น จิตที่อาศัยลิ้นเกิดขึ้นลิ้มรส จิตที่อาศัยกายรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส นอกจากนั้นทางใจ ก็ยังรู้เรื่องราวของอารมณ์ต่างๆ ที่กำลังปรากฏ เพาะฉะนั้น สติปัฏฐาน สามรถที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละทวารตามความเป็นจริง
ถ้าไม่ระลึกทางตาในขณะนี้ อาจจะระลึกทางใจก็ได้ หรือไม่ระลึกทางหูที่เสียงกำลังปรากฏ หรือว่าจิตกำลังรู้เสียง แต่ว่าระลึกทางใจในขณะที่นึกถึงคำ หรือความหมายของเสียงที่ได้ยินก็ได้ หรือแม้แต่ในขณะที่คิดนึกเรื่องราวต่างๆ จิตก็สามรถที่จะมีสติเกิดร่วมด้วย ระลึกรู้ลักษณะของสภาพที่กำลังปรากฏ ทุกขณะนั้นอายุสั้นมาก เล็กน้อยมา ถ้าสติเกิดระลึกได้จริงๆ
เช่นในขณะที่กำลังเห็นในขณะนี้ ได้ยินต้องมีด้วยแน่ๆ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นถ้าเห็นความรวดเร็วของการที่จิตเกิดขึ้นทางตาเห็น ดับไป ภวังคจิตเกิดคั่น มโนทวารวิถีจิตเกิดต่อ ภวังคจิตเกิดคั่น และจิตได้ยินเกิดขึ้นได้ยินเสียง ดับไป ภวังคจิตเกิดคั่น แล้วจิตก็เห็นอีกทางตา เพราะฉะนั้นในขณะที่ดูเหมือนว่าเห็นไม่ได้ดับไปเลย ก็แสดงให้เห็นการเกิดดับทีละขณะอย่างรวดเร็วของจิต จากทวารหนึ่งไปสู่อีกทวารหนึ่ง โดยที่มีภวังค์คั่น ทุกๆ วาระของทวาริกจิต
เพราะฉะนั้นสติจึงสามารถที่จะเกิดเมื่อไหร่ก็ได้ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นทางตาที่กำลังเห็น หรือทางกายที่กำลังกระทบสัมผัส ทางใจที่กำลังคิดนึก ทางหูที่กำลังได้ยินเสียง เป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพียงแต่ให้ทราบว่า สภาพธรรมแต่ละอย่างที่ปรากฏนี้ เล็กน้อยจริงๆ อายุสั้นมาก ปรากฏเพียงเล็กน้อยแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
สำหรับการอบรมเจริญปัญญา ถ้าไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ โดยอาศัยอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ย่อมไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏในชีวิตประจำวันตามปกติได้
ข้อความใน มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหาเวทัลสูตร
ณ พระวิหารเชตวัน ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ได้ไปหาท่านพระสารีบุตร และสนทนาธรรมกัน ซึ่งข้อความในมหาเวทัลสูตรมีว่า
ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการคือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกัน และกัน เมื่ออินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน และธรรมอะไร รับรู้วิสัยอันเป็นโคจร แห่งอินทรีย์เหล่านั้น
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าท่านผู้ฟังจะศึกษาข้อความตอนใดในพระไตรปิฎกนี้ จะไม่พ้นจากสภาพนามธรรม และรูปธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่ว่าในสมัยไหนทั้งสิ้น ในอดีตกาลล่วงเลยมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกี่โกฏิกัปป์ หรือว่าในขณะนี้ หรือต่อไปในอนาคตกาล ก็จะมีเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นทางให้อารมณ์ต่างๆ ปรากฏ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการที่จะรู้สัจจธรรรมคือความจริง ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะต้องสอบถาม แล้วก็สนทนาธรรมกัน ในเรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั่นเอง
แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ก็ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือจักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน คือหมายความว่า มีอารมณ์ต่างกัน บางครั้งจะใช้คำว่าวิสยะ หรือวิสัย บางครั้งก็จะใช้คำว่า โคจระ หรือโคจร หมายความถึงอารมณ์ของจักขุนทรีย์ อารมณ์ของโสตินทรีย์เป็นต้น มีโคจรต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกัน และกัน
คือตานี้ ไม่มีทางที่จะได้ยิน หูก็ไม่มีทางที่จะเห็น จมูกก็ไม่มีทางที่จะรับกระทบโผฏฐัพพะ เพราะว่าสิ่งเดียวซึ่งจะกระทบกับจักขุปสาท เป็นวิสัยของจักขุปสาท เป็นโคจรของจักขุปสาทได้ คือสีสันวรรณะต่างๆ ที่กำลังปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น อินทรีย์ทั้ง ๕ นี้ จึงมีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัยอันเป็นโคจรของกัน และกัน
คำถามต่อไปมีว่า เมื่ออินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ธรรมอะไรรับรู้วิสัยอันเป็นโคจรแห่งอินทรีย์เหล่านี้
เพราะฉะนั้นก็เป็นปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน ที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ที่สงสัยกันหนักหนาว่า เวลาเจริญสติปัฏฐานแล้วนี้ ทางใจรู้อารมณ์อะไร ก็ไม่พ้นจากอารมณ์ที่รู้ต่อจากทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายนั่นเอง
ธรรมเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ พิจารณา และตรวจสอบได้ เพราะฉะนั้น ในวันหนึ่งๆ ลองคิดพิจารณาว่า ใจนี้รู้อะไรบ้าง คิดอะไรบ้าง ย่อมไม่พ้นจากรู้ และคิดถึงเรื่องของอารมณ์ที่เห็นทางตา ได้ยินทางหู ได้ยินเสียง แต่ว่าคิดได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประเทศหนึ่งประเทศใด ส่วนหนึ่งส่วนใดของโลก บุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ก็ยังคิดได้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าทางหูนี้จะได้ยินแต่เสียง แต่ทางใจนี้ก็สามารถที่จะคิดเรื่องต่างๆ ที่ได้ยินทางหู มากมายหลายเรื่อง เพราะฉะนั้น สำหรับอินทรีย์ ๖ นี้ ก็เป็นสิ่งที่จะต้องรู้แจ้ง มิฉะนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถจะดับกิเลสได้
ซึ่งเมื่อได้กล่าวถึงเรื่องของปัจจัยต่างๆ มาตลอด จนกระทั่งถึงอินทริยะปัจจัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ ๑๖ ก็ได้กล่าวถึงเรื่องของจิต เพราะเหตุว่า ถ้าไม่กล่าวถึงเรื่องของจิต ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจเรื่องของปัจจัยต่อไป คือ ฌานปัจจัย ปัจจัยที่ ๑๗ และมัคคปัจจัย ปัจจัยที่ ๑๘ ได้
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า สำหรับสภาพธรรมที่เป็นฌานปัจจัย โดยองค์ธรรมแล้ว ได้แก่ วิตกเจตสิก ๑ วิจารเจตสิก ๑ ปีติเจตสิก ๑ โสมนัสเวทนา ๑ โทมนัสเวทนา ๑ อุเบกขาเวทนา ๑ เอกัคคตาเจตสิก ๑ ถ้ากล่าวโดยองค์ธรรม ได้แก่เจตสิก ๕ แต่ถ้าแยกประเภทแล้ว เป็น ๗ ที่เป็นฌานปัจจัย สำหรับเจตสิกที่เป็นฌานปัจจัย ได้แก่วิตกเจตสิกเป็นสำคัญ
เรื่องของสภาพธรรมเป็นเรื่องที่ยากแก่การที่จะประจักษ์แจ้ง หรือว่าเข้าใจโดยละเอียด แต่เป็นเรื่องซึ่งสามารถที่จะฟัง แล้วก็พิจารณาในเหตุผล แล้วก็พยายามที่จะเข้าใจในสภาพธรรม ซึ่งเป็นที่อาศัยของผลที่เกิดขึ้น เพราะเหตุว่า เรื่องของปัจจัยนี้ หมายถึงสภาพธรรมซึ่งเป็นที่อาศัยของผลที่เกิดขึ้น ถ้าไม่มีสภาพธรรมนี้ ผลที่จะอาศัยเกิดก็ไม่มีที่อาศัยเกิด แต่เพราะเหตุว่ามีปัจจัย ซึ่งเป็นสภาพธรรม เป็นที่อาศัยของผล ผลนั้นจึงเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น จิตใดซึ่งมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตนั้นก็มีกำลังเพิ่มจากการที่จะมีเพียงเจตสิก ๗ ดวงเกิด ด้วยเหตุนี้ อุเบกขาสันตีรณะ เมื่อประกอบด้วยวิตกเจตสิก จึงสามารถทำกิจปฏิสนธิได้ เพราะเหตุว่า อกุศลวิบากมีเพียง ๗ ดวงเท่านั้น แล้วก็เพิ่มกำลังขึ้น ตามกิจหน้าที่ของจิตนั้นๆ ด้วย
เพราะฉะนั้นที่ได้ยินคำว่าฌาน ก็ไม่ควรที่จะเข้าใจว่า หมายถึงแต่เฉพาะรูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิต แต่ต้องหมายความถึง เจตสิกที่เป็นฌานปัจจัย ที่ตรึก จรด เพ่ง เผาอารมณ์ ลักษณะของวิตกเจตสิกนี้ ใครจะรู้ได้ เวลานี้กำลังเกิดอยู่ เมื่อจักขุวิญญาณจิต ซึ่งประกอบด้วยเจตสิก ๗ ดวง ดับไปแล้ว สัมปฏิจฉนจิตเกิดต่อ สันตีรณจิตเกิดต่อ มีวิตกเจตสิกเกิดกับสัมปฏิจฉนจิต สันตีรณจิต แต่ลักษณะของวิตกเจตสิกไม่ได้ปรากฏเลย แต่เพราะเหตุว่าเป็นสภาพที่จรดในอารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงมีกำลังที่จะเป็นปัจจัยในขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ถ้าเป็นอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ขณะนั้นก็ประกอบด้วยวิตกเจตสิก ซึ่งจรดในอารมณ์ที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นในขณะนั้น
สำหรับฌานปัจจัย ไม่มีปัญหาอะไรมาก เพียงแต่ว่าได้แก่สภาพธรรมที่เป็นองค์ฌาน ๗ ได้แก่วิตกเจตสิก ๑ วิจารเจตสิก ๑ ปีติเจตสิก ๑ โสมนัสเวทนา ๑ โทมนัสเวทนา ๑ อุเบกขาเวทนา ๑ และเอกัคคตาเจตสิก ๑ นี่คือฌานปัจจัย เพราะฉะนั้น เวลาที่ต้องการอบรมเจริญความสงบ จะขาดสภาพธรรมที่เป็นองค์ฌานเหล่านี้ไม่ได้เลย คือจะต้องมีวิตัก วิจาร ปีติ และเมื่อเป็นการเจริญความสงบ เวทนาก็ต้องประกอบด้วยโสมนัส สำหรับฌานที่ ๑ จนถึงฌานที่ ๔ โดย และสำหรับปัญจกนัย คือฌานที่ ๕ ก็เป็นอุเบกขาเวทนา และต้องประกอบด้วยเอกัคคตาเจตสิก เพราะเหตุว่า สภาพธรรม ๕ นี้ เป็นปฏิปักษ์กับนิวรณธรรม ๕
แต่ว่าถึงแม้จะไม่ได้เจริญฌาน วิตกเจตสิกเกิดขึ้นขณะใด ก็เป็นฌานปัจจัย ในขณะนั้น เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิต ในอบายภูมิคืออุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก มีฌานปัจจัย เพราะเหตุว่า วิตกเจตสิกเป็นฌานปัจจัยแก่ปฏิสนธิจิต และกัมมัชรูปที่เกิดพร้อมกันในขณะนั้น ในขณะปฏิสนธิต้องมีฌานปัจจัย เพราะเหตุว่าทำกิจปฏิสนธิ
เพราะฉะนั้น แม้ว่า ในฌานปัจจัยที่ได้กล่าวถึงในคราวก่อนว่า สภาพธรรมที่เป็นฌาน คือสภาพธรรมที่เพ่งอารมณ์ หรือเผาปฏิปักษ์ธรรม มี ๗ คือ วิตก ๑ เป็นวิตกเจตสิก วิจารเจตสิก ปีติเจตสิก โสมนัสเวทนา ๑ โทมนัสเวทนา ๑ อุเบกขาเวทนา ๑ เอกัคคตาเจตสิก ๑ รวม ๗ นี้เป็นฌานปัจจัย เวทนาก็เป็นฌานปัจจัย เพราะเหตุว่า เวลาที่เวทนาเกิดนี้รู้สึกยังไง สำคัญไหม โทมนัสเกิดนี้ ไม่พอใจเลย เดือดร้อน เผาความสุขทั้งหมดที่มี จะมีทรัพย์สมบัติมากมายสักเท่าไรก็ตาม ไม่ช่วยให้ความรู้สึกนั้นเป็นสุขได้ ขณะที่โทมนัสเวทนาเกิด
เพราะฉะนั้น ลักษณะสภาพของโทมนัสเวทนาเป็นฌานปัจจัย ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม เวลาที่โทมนัสเวทนาเกิด ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเผา ขณะนั้นเป็นฌาน เป็นฌานปัจจัย ทำให้จิตซึ่งเกิดร่วมด้วยนี้ มีสภาพที่โทมนัส ไม่เป็นสุข เผาไหม้ เดือดร้อน
ถ้าเป็นโสมนัสเวทนาก็ตรงกันข้าม เวลาที่โสมนัสเวทนาเกิด เผาสภาพธรรมที่ตรงกันข้ากับโสมนัสเวทนา กำลังเป็นทุกข์ พอมีข่าวที่เป็นสุข โสมนัสเวทนาเกิดขึ้น หมดแล้วทุกข์ที่กำลังเป็นอยู่ก็หมดไป เพราะฉะนั้นเรื่องของเจตสิกนี้ ก็เป็นเรื่องที่เกิดกับจิต แล้วก็เป็นเรื่องละเอียด ที่จะทำให้จิตแต่ละประเภท มีกิจการงานหน้าที่ต่างๆ กัน แม้แต่สันตีรณะที่เป็นอกุศลวิบาก ซึ่งประกอบด้วยเจตสิกมากกว่าเพียง ๗ ดวง คือประกอบด้วยวิตกเจตสิก วิจารเจตสิกซึ่งเป็นฌานปัจจัย จึงทำให้ทำกิจปฏิสนธิได้
ยังมีข้อสงสัยอะไรอีกบ้างไหม ในเรื่องของปฏิสนธิ
ถ้าเข้าใจในเรื่องของปฏิสนธิแล้ว ขอกล่าวถึงมัคคปัจจัยเพียงนิดเดียว เพราะเหตุว่า เรื่องของฌานปัจจัยกับเรื่องของมัคคปัจจัยนั้นคู่กัน ท่านผู้ฟังได้ยินคำว่ามรรคบ่อยๆ ใช่ไหม สัมมามรรคมีเท่าไร ๘ ตอบได้คล่อง มิจฉามรรคล่ะ ๘ เหมือนกัน สภาพธรรมที่เป็นมรรคมี ๑๒ เมื่อกล่าวรวมทั้งสัมมามรรค และมิจฉามรรค คือสัมมามรรค ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ๑ คือ สัมมาทิฏฐิ วิตกเจตสิก ๑ คือสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ วิริยเจตสิก ๑ สติเจตสิก ๑ สมาธิ ๑ เจตสิกอื่นนอกจากนี้ ไม่ใช่มรรค แต่จะสังเกตได้ว่า วิตักเจตสิกเป็นทั่งฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย
เพราะฉะนั้นสำหรับสภาพธรรมที่เป็นมรรคหรือมัคคปัจจัย ก็คือสภาพธรรมที่นำไปสู่สุคติ ทุกคติหรือนิพพาน ถ้าปัญญาเกิดขึ้น กุศลจิตเกิด นำไปสู่อะไร สุคติ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่เป็นมรรค ไม่ใช่สภาพธรรมที่เป็นฌานปัจจัย แม้ว่าจะเป็นเจตสิกเดียวกัน แต่ความสามารถในการเป็นปัจจัยนั้นแยกกัน เช่นวิตกเจตสิก เป็นทั้งฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย แต่ว่าวิจารเจตสิกซึ่งเกิดกับวิตกเจตสิกเป็นฌานปัจจัย แต่ไม่ใช่มัคคปัจจัย
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ที่เรากล่าวถึงมรรคบ่อยๆ จะต้องรู้ด้วยว่าทำไมเจตสิกแต่ละประเภทนั้นจึงเป็นมรรค เช่นปัญญาเจตสิก เป็นมรรคแน่นอน ใช่ไหม เป็นทางนำไปสู่สุคติ ปัญญาเจตสิกซึ่งเป็นสัมมามรรค จะไม่นำไปสู่ทุคติเลย วิตกเจตสิกซึ่งเป็นสัมมาสังกัปปะ การตรึก การดำริในทางที่เป็นกุศล ก็นำไปสู่สุคติ ถ้าเกิดคิดในทางที่เป็นอกุศล ก็นำไปสู่ทุคติ เพราะฉะนั้นลักษณะของวิตกเจตสิกนี้เป็นสภาพที่จรดในอารมณ์ แล้วก็เพิ่มกำลังขั้น แล้วก็ถ้าเป็นทางมโนทวาร ก็เป็นการจรดหรือตรึกในอารมณ์ แล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าเป็นทางฝ่ายกุศล ถ้าเป็นสัมมาสังกัปปะ ก็เป็นมรรค คือเป็นทางที่นำไปสู่สุคติ
สัมมาวาจา คำพูดสำคัญไหม พูดดีเป็นกุศล ประกอบด้วยเจตนาที่เป็นกุศลขณะใด ขณะนั้นก็เป็นสุคติ คือเป็นทางที่จะนำไปสู่สุคติด้วย กุศลเองก็จัดว่าเป็นสุคติ เพราะเหตุว่า เป็นทางที่จะนำไปสู่สุคติ สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ โดยนัยเดียวกัน รวมทั้งสัมมาวายาโม คือวิริยะ และสติ สมาธิ ซึ่งเป็นมรรคมีองค์ ๘ ทั้งหมดเป็นสัมมามรรค
ทางฝ่ายมิจฉามรรค ก็มีมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด นำไปสู่ทุคติแน่ จะไม่นำไปสู่สุคติเลย มิจฉาสังกัปปะ การดำริผิด เมื่อมีความเห็นผิด การดำริก็ต้องผิดด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อมีความเห็นผิด มีการดำริผิด มิจฉาวายามะ ความพยายามผิดก็ต้องมี และพร้อมกันนั้น ก็ต้องมีมิจฉาสมาธิเกิดร่วมด้วย
เพราะฉะนั้น ทางฝ่ายองค์ธรรมของมัคคปัจจัยมี ๑๒ คือ ปัญญาเจตสิก ๑ วิตกเจตสิก ซึ่งเป็นสัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายาโม คือวิริยะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ ทางฝ่ายที่เป็นมจิฉามรรค เป็นทางที่จะนำไปสู่ทุคตมี ๔ คือ มิจฉาทิฏฐิ ๑ มิจฉาสังกัปปะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑
กลัวไหม มิจฉาสมาธิ หรือว่าถ้าเป็นสมาธิ ก็อยากจะเป็น ไม่คิดว่าจะเป็นมิจฉาหรือสัมมา แต่ว่าอย่าลืมว่า ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิแล้ว เป็นทางนำไปสู่ทุคติ ไม่ใช่เป็นทางนำไปสู่สุคติ
สำหรับมัคคปัจจัย ก็จะไม่เกิดกับอเหตุกจิต
สำหรับฌานปัจจัยนี้ คู่กันกับมัคคปัจจัย
มรรคคือทาง เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่าสภาพธรรมที่เป็นทาง ได้แก่ปรมัตถธรรมอะไรบ้าง เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท แต่สำหรับเจตสิกซึ่งเป็นองค์มรรคมีเพียง ๑๒ คือ ปัญญาเจตสิก ๑ วิตกเจตสิก ๑ สัมมาวาจาเจตสิก ๑ สัมมากัมมันตะเจตสิก ๑ สัมมาอาชีวเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ สติเจตสิก ๑ สมาธิเจตสิก ๑ ที่เป็นสัมมาเป็นฝ่ายกุศลมี ๘ ตามที่ท่านผู้ฟังก็ได้ยินบ่อยๆ ว่ามรรคมีองค์ ๘
สำหรับทางฝ่ายอกุศลมี ๔ คือ มิจฉาทิฏฐิ ๑ มิจฉาสังกัปปะ ซึ่งได้แก่วิตกเจตสิก ๑ มิจฉาวายามะ ก็ได้แก่วิริยเจตสิก ๑ และมิจฉาสมาธิ ๑ ไม่มีเจตนาเจตสิกเลยใช่ไหม เจตนาเจตสิกไม่ใช่มรรค แต่เจตนาเจตสิกเป็นกัมมปัจจัย คือเป็นสภาพธรรมที่ขวนขวาย ที่กระทำกิจให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น เจตนานั่นเอง เป็นสภาพที่กระทำ คือเป็นตัวกระทำกิจต่างๆ แต่ว่าการที่เจตนาจะเกิดขึ้นกระทำกิจให้สำเร็จลงไปแต่ละครั้ง ทางกาย หรือทางวาจา หรือทางใจนั้น ต้องอาศัยมรรค ต้องเกิดกับมรรค เช่นปัญญาเจตสิกเกิดขึ้น ก็จะมีเจตนาที่เป็นกุศล ที่กระทำกรรมต่างๆ โดยปัญญานั่นเอง เป็นทางให้กรรมนั้นเกิดขึ้น
สำหรับคนที่ไม่มีปัญญา หรือว่าไม่ได้สะสมอบรมความสนใจในการที่จะเจริญปัญญา แม้ว่ากุศลจิตจะเกิด ก็ไม่มีทางที่จะทำให้กุศลนั้นเป็นไปในทางปัญญาได้ เพราะฉะนั้นในขณะที่ปัญญาเกิดขึ้น จะเป็นทางให้กรรมที่เป็นกายกรรมบ้าง วจีกรรมบ้าง มโนกรรมบ้างเป็นกุศลเกิดขึ้น ในทางของปัญญา เพราะเหตุว่าตัวปัญญาเป็นทาง แต่เจตนาเป็นผู้กระทำ ซึ่งการกระทำนั้นต้องแล้วแต่ทาง เหมือนกับการที่จะไปสู่ที่หนึ่งที่ใดนี้ มีผู้ที่จะไป แต่ก็จะต้องมีหนทางที่จะไปด้วย ไม่ใช่ว่ามีแต่ผู้จะไป โดยไม่มีหนทาง ที่จะไป เพราะฉะนั้นผู้ที่จะไปนั้นคือกรรม แต่หนทางที่ไปนั้นคือมรรค ที่จะให้กรรมนั้นสำเร็จเป็นฝ่ายกุศล หรือว่าเป็นฝ่ายอกุศล
เพราะฉะนั้น สำหรับเจตสิกซึ่งเป็นสัมมามรรค มี ๘ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก วิตกเจตสิก สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมัตเจตสิก สัมมาอาชีวเจตสิก วิริยเจตสิก สติเจตสิก และสมาธิหรือเอกัคคตาเจตสิก ซึ่งไม่มีเจตนาเจตสิกเลยสำหรับมัคคปัจจัย
วิตกเจตสิกเป็นได้ทั้งสัมมาสังกัปปะหรือมิจฉาสังกัปปะ เพราะเหตุว่า เป็นสภาพที่จรดในอารมณ์ หรือเป็นสภาพที่ตรึก หรือคิดอารมณ์ต่างๆ จะสังเกตได้ว่าถ้ากุศลจิตเกิด การดำริ การตรึก การคิดนี้ เป็นไปทางฝ่ายกุศล แต่ขณะใดที่อกุศลจิตเกิดขึ้น การตรึก การคิดนั้นตรงกันข้าม เช่นคิดเรื่องโกรธนี้ จะต้องโกรธ ขณะนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่มีฉันทะที่จะโกรธ เพราะฉะนั้นในขณะนั้นก็ต้องเป็นมิจฉาสังกัปปะ แต่บางเวลาอาจจะเห็นโทษของความโกรธ และเห็นว่าความโกรธไม่มีประโยชน์เลย
ในวันหนึ่งๆ เคยเป็นอย่างนี้บ้างไหม ที่จะเห็นโทษของความโกรธ เห็นโทษของอกุศล ในขณะนั้นก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นสัมมาสังกัปปะ คือวิตกเจตสิก ซึ่งเป็นกุศลเกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะฉะนั้น การคิดหรือว่าสภาพของวิตกเจตสิกนี้ ก็เป็นทางของกรรม คือถ้าเป็นสัมมาสังกัปปะ ก็เป็นทางของกุศลกรรม ถ้าเป็นมิจฉาสังกัปปะ ก็เป็นทางของอกุศลกรรม
สำหรับสัมมาวาจาเป็นเจตสิก ซึ่งเป็นโสภณเจตสิก วิรัติวจีทุจริต นี่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าทางฝ่ายอกุศล จะมีคำว่ามิจฉาวาจาได้ แต่ไม่มีมิจฉาวาจาเจตสิก แสดงให้เห็นชีวิตประจำวัน
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50