ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
ตลับที่ ๒๓
ที่จะทำให้โลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์อย่างนั้นเกิดอีก ถ้าไม่กล่าวถึงโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ คือเกิดร่วมด้วยกับความเห็นผิด จะเห็นได้จากชีวิตประจำวันจริงๆ ว่า แต่ละท่านนี้ ที่มีความพอใจ หรือว่ามีอัธยาศัยต่างๆ กันไป ในสิ่งที่เห็นทางตา ในเสียงที่ได้ยินทางหู ในกลิ่นต่างๆ ในรสต่างๆ ในเสื้อผ้า ในวัตถุ ในเครื่องใช้ ในเรื่องราวต่างๆ ที่สนใจ ที่สนุกสนาน แม้แต่การเล่น ก็จะเห็นได้ว่า เพราะได้เคยพอใจอย่างนั้น เคยสะสมมาอย่างนั้น เคยทำอย่างนั้นมาแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นที่อาศัยที่มีกำลัง โดยปกติที่ได้เคยกระทำสะสมไว้แล้ว
ซึ่งสำหรับเรื่องในอดีตที่เป็นเรื่องชาดกนี้ จะเห็นได้ว่าการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงชาดก ก็เพราะเหตุว่า ได้เกิดการกระทำ และเหตุการณ์นั้นๆ ขึ้น ที่พระวิหารเชตวันบ้าง ที่กรุงสาวัตถีบ้าง ที่เมื่องพาราณสีบ้าง เมื่อมีเหตุการณ์นั้นๆ หรือการกระทำของบุคคลนั้นๆ เกิดขึ้น เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทำไมแต่ละบุคคลนั้น จึงกระทำสิ่งนั้นๆ ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อได้ไปเฝ้าแล้ว ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาค พระองค์จึงได้ทรงแสดงชาดก คือเหตุการณ์ซึ่งได้เคยเกิดขึ้น อย่างนั้นๆ มาแล้ว แก่บุคคลนั้นๆ ในอดีต เพราะฉะนั้น แต่ละท่านก็ลองพิจารณาตนเอง จะคิด จะพูด จะทำ จะชอบ จะไม่ชอบ สิ่งหนึ่งสิ่งใดนี้ ไม่ใช่เฉพาะชาตินี้ชาติเดียว แต่ว่าต้องเคยคิด เคยทำ เคยพูด เคยชอบ เคยไม่ชอบ อย่างนั้นๆ มาแล้วอดีต จนกระทั่งเป็นปัจจัยทำให้เกิดคิด พูด หรือทำในขณะนี้ เป็นอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยกุศลจิต หรืออกุศลจิตประเภทใดก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า โดยปตูปนิสสยปัจจัย
ข้อความในอรรถกถา มหานิบาต มโหสถชาดกที่ ๕ มโหสถทูลพระเจ้าวิดทหราชว่า คนพาลเห็นโลกนี้เป็นปกติ ไม่เห็นโลกหน้าเป็นปกติ
เพียงสั้นๆ นี้ แต่ก็เป็นชีวิตประจำวันของทุกคนที่ว่า ที่ทุกคนโลภต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในชีวิตประจำวัน ก็เพราะเห็นความสำคัญในโลกนี้เท่านั้น ถ้าต้องการลาภ ต้องการยศ ต้องการสรรเสริญ ต้องการสักการะ จะติดตามไปถึงโลกหน้าได้ไหม ลาภที่ปรารถนานักในชาตินี้ แม้แต่ยศ แม้แต่สรรเสริญ ไม่สามารจะติดตามไปได้เลย แต่ทำไมจึงติดในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสักการะ เพราะเหตุว่า คนพาลเห็นโลกนี้เป็นปกติ คือคิดถึงเฉพาะโลกนี้ ทีกำลังเป็นอยู่เท่านั้น จนกระทั่งสามารถที่จะกระทำทุจริตต่างๆ หรืออาการที่เป็นไปเพราะอกุศลจิตต่างๆ ด้วยโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง เพราะว่าไม่เห็นโลกหน้าเป็นปกติ ถ้ามีมานะ มีความสำคัญตน ในโลกนี้ ในชาตินี้ ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสักการะ ชาติหน้า ลองคิดดูว่า จะหนาแน่นขึ้นอีกเท่าไหร่ ที่จะเป็นผู้ติด ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสักการะ ยากแก่การที่จะสละ ที่จะคลาย เพราะเหตุว่า ในชาตินี้ไม่ยอมคลาย ความติดในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสักการะ เพราะฉะนั้น แต่ละขณะซึ่งเกิดขึ้นเป็นอกุศล แล้วดับไป ก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ที่จะทำให้อกุศลจิตนั้นๆ เกิด ในอนาคตข้างหน้า เพราะฉะนั้น โลภมูลจิตที่เกิด เพียงชั่วขณะนิดเดียว เป็นอุปนิสสยปัจจัย ที่จะทำให้เกิดอกุศลธรรมข้างหน้าอีก
สำหรับปัจจัยต่อไป โดยอาเสวนปัจจัย คือโดยการเป็นปัจจัยให้จิตประเภทเดียวกัน ที่เป็นกุศล อกุศล หรือกิริยาเกิดขึ้น กระทำชวนกิจ โดยเสพคุ้นอารมณ์ เกิดซ้ำในวิถีเดียวกัน นั่นคืออาเสวนปัจจัย เพราะฉะนั้น วิบากจิตทั้งหมด ไม่เป็นอาเสวนปัจจัย แต่สำหรับโลภมูลจิตขณะที่ ๑ เป็นอาเสวนปัจจัย แต่ไม่เป็นอาเสวนปัจจยุปบันน ชวนจิตดวงที่ ๒ เป็นปัจจยุปบันนของชวนจิตขณะที่ ๑ และก็เป็นอาเสวนปัจจัยของชวนจิตดวงที่ ๓ ต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงชวนจิตดวงที่ ๖ เป็นปัจจยุปปันนของชวนจิตดวงที่ ๕ เป็นอาเวนปัจจัยให้ชวนจิตดวงที่ ๗ แต่ชวนจิตดวงที่ ๗ เป็นอาเสวนปัจจยุปบันนของชวนจิตดวงที่ ๖ แต่ไม่เป็นอาเสวนปัจจัย เพราะเหตุว่าหลังจากนั้นแล้ว กุศลหรืออกุศลหรือกิริยาจิตไม่เกิด แต่ต้องเป็นภวังค์ หรือตทาลัมพน ซึ่งเป็นวิบาก
มีข้อสงสัยในเรื่องนี้ไหม อาเสวนปัจจัยได้แก่จิตที่ทำชวนกิจ เพราะฉะนั้นวิบากจิตทั้งหมดไม่เป็นอาเสวนปัจจัย
ปัจจัยที่ ๗ โดยอนันตรปัจจัย คือเป็นปัจจัยโดยให้จิต และเจตสิกขณะต่อไปเกิดสืบต่อ เมื่อจิตนั้น และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยดับไป ไม่มีระหว่างคั่นเลย การเกิดดับสืบต่อของจิต และเจตสิก เพราะเหตุว่า จิตทุกดวง และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เป็นอันนตรปัจจัย หมายความว่า ทำให้ขณะต่อไปเกิดขึ้น เมื่อจิต และเจตสิกขณะนั้นดับไป สำหรับอนันตรปัจจัย ก็เป็นปัจจัยได้เฉพาะนามธรรมเท่านั้น เวลานี้มีใคร มีอำนาจเป็นตัวตน ที่จะไม่ให้จิตในขณะนี้เป็นอนันตรปัจจัยได้ไหม ไม่มีทางเลย ใครที่บอกว่าไม่อยากเกิด ไม่สามารถที่จะทำให้จิตเจตสิกไม่เกิดได้ ถ้าจิตเจตสิกนั้นยังเป็นอนันตรปัจจัย เพราะฉะนั้น มีจิตขณะเดียว ที่ไม่เป็นอนันตรปัจจัย คือจิตไหน จุติจิตของพระอรหันต์เท่านั้น ซึ่งเมื่อจุตจิตของพระอรหันต์ดับแล้ว จะไม่มีจิตอื่นเกิดสืบต่อเลย
ถาม จุติจิตของบุคคลที่จะไปเกิดเป็นอสัญญสัตตาพรหมนี้ เป็นอนันตรปัจจัย แก่ปฏิสนธิจิตของคนนั้น ที่ปฏิสนธิ หลังจากที่ตายจากการเป็นอสัญญสัตตาพรหมหรือเปล่า
อ.สุ ถูกต้อง
ถาม และจิตของพระอรหันต์ ก่อนที่จะเข้านิโรธสมาบัติ ก็เป็นอนันตรปัจจัยเช่นเดียวกัน แก่จิตขณะแรกที่ออกจากสมาบัติ
อ.สุ ถูกต้อง ถ้าไม่เป็นอนันตรปัจจัย จะไม่มีจิตเกิดแน่ๆ หลังจากนั้นใช่ไหม
ถาม ครับ แต่อนันตรปัจจัยนี้ เป็นปัจจัยโดยที่ทำให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้นทันที โดยไม่มีระหว่างคั่น แต่นี่ระหว่างตั้งเยอะแน่ะครับ อาจารย์
อ.สุ หมายความว่า ที่ไม่มีเกิดขึ้น ด้วยกำลังของฌาน ยกเว้นเป็นพิเศษ
ใครอยากจะทำอย่างนั้นก็ได้ คือธรรมเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถจะกระทำได้จริงๆ ถ้าเหตุสมควรแก่ผล แต่ไม่ใช่ว่าหลอกตัวเอง ทั้งๆ ที่ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ ก็คิดว่าเป็นนิโรธสมาบัติ อันนั้นเป็นความเข้าใจผิด เป็นความเห็นผิด แต่ถ้าต้องการจะกระทำ ก็ย่อมได้ แต่เหตุต้องสมควรแก่ผล
ถาม คนที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ หมายความว่าจะต้องได้ฌานโลกีย์ คืออรูป
อ.สุ ผู้ที่จะเข้านิโรธสมาบัติ คือขณะที่ดับจิต เจตสิก ไม่มีนามธรรมเกิดเลยได้ ผู้นั้นต้องเป็นพระอนาคามีบุคคล หรือพระอรหันต์ ที่ได้อรูปฌานขั้นสูงที่สุด เพราะฉะนั้นสำหรับพระโสดาบัน พระสกทาคามี ก็ไม่สามารถที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ถ้าเป็นผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นสูงสุด คือถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แต่เป็นปุถุชน หรือเป็นพระโสดาบัน หรือเป็นพระสกทาคามี ก็เข้าไม่ได้
ถาม คือหมายความว่า จะต้องมีสมถพละ และวิปัสสนาพละควบคู่กันไป
อ.สุ ถูกต้อง
ปัจจัยต่อไป คือสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยให้จิต และเจตสิกขณะต่อไปเกิดสืบต่อ โดยไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี คือตามลำดับ จะเห็นได้ว่าไม่ก้าวก่ายสับสน เป็นไปตามสภาพของปัจจัยนั้น เช่นเมื่อปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับไป ก็เป็นปัจจัยให้ภวังคจิตเกิด และเมื่อโลภมูลจิตขณะที่ ๑ เกิดแล้วดับไป ก็เป็นปัจจัยให้โลภมูลจิตขณะที่ ๒ เกิด จนกระทั่งถึงขณะที่ ๗ และเมื่อโลถมูลจิตขณะที่๗ ดับไป ก็เป็นปัจจัยให้ภวังคจิตเกิดหรือว่าตทาลัมพณจิตเกิด แล้วแต่สภาพของอารมณ์ที่ปรากฏในขณะนั้น
ปัจจัยที่ ๙ คือ โดยปัจฉาชาตปัจจัย เห็นไหมว่า โลภมูลจิตดวงเดียว เจตสิกเกิด ๑๙ ดวง แล้วก็เป็นปัจจัย ถึง ๒๒ ปัจจัย ขาดเพียง ๒ ปัจจัยเท่านั้น ในประเภทของปัจจัยใหญ่ๆ ๒๔ ปัจจัย สำหรับปัจจัยที่ ๙ คือ โดยปัจฉาชาตปัจจัย โลภมูลจิตเป็นปัจฉาชาตปัจจัย คือ เป็นปัจจัยโดยอุปถัมภ์รูป ที่เกิดก่อน และยังไม่ดับไป ในขณะนี้ จิตทุกดวงซึ่งเกิดที่รูป ก็อุปถัมภ์รูป ซึ่งเกิดก่อนแล้วยังไม่ดับ อยู่ด้วยกันก็ช่วยเหลือกัน อุปถัมภ์กัน แยกจากกันไม่ได้
ปัจจัยที่ ๑๐ คือ โดยกัมมปัจจัย ในอกุศลจิตดวงที่ ๑ คือโสมนัสสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกัง มีกัมมปัจจัย คือเจตนาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตดวงนี้ เป็นสหชาตกัมมปัจจัยแก่จิต และเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย และเป็นนานักขณิกกัมปัจจัย แก่อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง ที่จะเกิดข้างหน้า
เวลาที่อกุศลวิบากจิตเกิด ให้ทราบว่าใครก็ไม่สามารถที่จะทำให้อกุศลวิบากจิตนั้นๆ เกิดได้ นอกจากกัมมปัจจัย ที่ได้กระทำแล้วในอดีต เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ถ้าเกิดเจ็บป่วยทางกาย มีความทุกข์เกิดขึ้น ในขณะนั้น เพราะกรรมของตนเอง อย่าลืม ไม่ใช่เพราะบุคคลอื่นทำให้ ถ้าไม่เคยกระทำอกุศลกรรมมาเลยในอดีต จะไม่มีปัจจัยที่จะทำให้อกุศลวิบาก ๗ ดวงเกิดขึ้น แต่เพราะเหตุว่า อกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้วนั่นเอง ดับไปแล้วก็จริง แต่ก็เป็นปัจจัยที่จะให้อกุศลวิบากจิต ๗ ดวงเกิด
ซึ่งอกุศลวิบากจิต ๗ ดวง ก็คงจะทราบแล้ว ได้แก่จักขุวิญญาณ ๑ โสตวิญญาณ ๑ ฆานวิญญาณ ๑ ชิวหาวิญญาณ ๑ กายวิญญาณ ๑ สัมปฏิจฉันน ๑ สันตีรณ ๑ อยากทิ้งไปใช่ไหม ๗ ดวงนี้ ไม่อยากมีเลย แต่ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่า ธรรมซึ่งจะทำให้อกุศลวิบากจิต ๗ ดวงนี้มี ได้กระทำไว้แล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อมีโอกาสซึ่งจะให้ผลเมื่อไหร่ ก็เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยที่จะทำให้อกุศลวิบากจิต ๗ ดวงนี้เกิดขึ้น
แน่ในหรือยังว่า วิบากแต่ละขณะของแต่ละบุคคล เกิดเพราะกรรมของตนเอง ไม่ใช่เพราะบุคคลอื่นกระทำให้ ไม่โกรธคนอื่น ไม่โกรธแน่ๆ ยังไม่ยอมที่จะหมดไปใช่ไหม ยังคิดว่าเป็นคนอื่นอยู่นั้นเองที่ทำให้
ถาม ไม่ได้ครับ คือก็ต้องมีบ้าง เพราะเหตุว่า อย่างบางครั้ง เราเดินไปเตะโต๊ะ แทนที่จะโกรธตัวเอง ไปโทษโต๊ะ ว่าโต๊ะว่างซุ่มซ่าม คือก็ต้องมีบ้าง เพราะยังขัดเกลาได้น้อยมาก อันนี้ยอมรับครับ แล้วก็อย่างบางที ขึ้นรถถูกเขาเหยียบเท้า ก็โกรธคนเหยียบ หาว่าซุ่มซ่ามไม่ดู แต่ที่จริงเป็นวิบากของเราเอง ทางกายปสาทเท่านั้นเอง
อ.สุ ถ้ารู้ว่าเป็นวิบากของตนเองนี้ จะไม่โกรธคนอื่นเลยใช่ไหม แม้แต่โจรที่มาเลื่อยขา แขน
ถาม มิได้ครับ ยังไม่ถึงขั้นนั้นครับ
อ.สุ แต่ความจริงเป็นอย่างนั้นนี่ ทำไมจึงไม่ให้สภาพธรรมที่เกิดในขณะนั้นพิสูจน์ความจริง
ถาม คือความจริงเป็นอย่างนั้นจริง แต่ทว่ายังทำใจไม่ได้ เป็นแต่เพียงว่าศึกษา แล้วก็ไม่ใช่ว่าพอวันอาทิตย์นี่ก็มาทีจะมาฟังธรรม มาฟังบรรยาย คือมาศึกษาเพื่อให้ทราบว่าอะไรเป็นอะไร ใช่ไหมครับ แล้วก็อะไรที่พอจะขัดเกล่าได้ ก็ขัดเกล่าได้เป็นอย่างๆ ไม่ใช่ว่าจะขัดเกลาวันนี้ทั้งหมดเลย ทั้ง ๖ ทวาร ก็เป็นไปไม่ได้ใช่ไหมครับ
อ.สุ แต่ธรรมที่ได้ยินได้ฟัง มีสัญญาความจำที่มั่นคงในเหตุในผล โดยเฉพาะเวลาที่อกุศลวิบากเกิด ซึ่งไม่มีใครชอบเลย อกุศลวิบาก เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะได้รู้ตามความเป็นจริงว่า อกุศลวิบากทุกขณะที่เกิด เป็นผลของการกระทำของตนเอง แล้วจิตใจก็จะผ่องใส แล้วก็เป็นกุศล เพราะเหตุว่า ถ้ายังมีอกุศลต่อไป ใครจะเป็นผู้ที่จะได้รับอกุศลวิบากข้างหน้าต่อไปอีก ก็ตนเองอีก ก็ไม่พ้นจากอกุศลกรรม และอกุศลจิต ถ้าสะสมไว้ ก็ต้องเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลจิตวิบาก เมื่อไม่ปรารถนาอกุศลวิบาก ทางเดียวที่จะน้อยลงคือกุศลจิตเกิดมากๆ
ขอทบทวนโลภมูลจิตดวงที่ ๑ โดยนัยของปัจจัยต่อไป โดยเหตุปัจจัย จะไม่ทบทวนตามลำดับของปัจจัยจริงๆ แต่จะขอทบทวนสลับไป
โดยเหตุปัจจัย ก็เป็นปัจจัยที่ ๑๑ ของการทบทวน ซึ่งความจริงแล้วเหตุปัจจัย เป็นปัจจัยที่ ๑ โลภมูลจิตดวงที่ ๑ มีสภาพธรรมที่เป็นเหตุปัจจัย เกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ คือโมหเจตสิก เป็นโมหเหตุ ๑ โลภเจตสิกเป็นโลภเหตุ ๑ สำหรับจิตใดที่เกิดร่วมกับเหตุเจตสิก จิตนั้นชื่อว่าสเหตุกทั้งจิต และเจตสิก สำหรับโลภมูลจิต มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ เพราะฉะนั้น จึงเป็นสเหตุกที่เป็นทวิเหตุก
สำหรับโลภมูลจิตที่เป็นเหตุปัจจัย ไม่ใช่โลภมูลจิต แต่เป็นโมหเจตสิก และโลภเจตสิก ซึ่งเกิดกับโลภมูลจิตเป็นเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ปัจจยุปบันนธรรมคือโลภมูลจิต และเจตสิกอื่น ซึ่งไม่ใช่เหตุ ซึ่งเกิดร่วมด้วยเป็นเหตุปัจจยุปบันน
โมหเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิตเป็นสเหตุกหรือ ว่าเป็นอเหตุก สเหตุก เพราะเหตุว่าโมหเจตสิกนั้นเกิดร่วมด้วยกับโลภเจตสิก
โลภเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ เป็นสเหตุกหรือว่าเป็นอเหตุก สเหตุก เพราะเหตุว่าเกิดร่วมกับโมหเจตสิก
ผัสสเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ เป็นสเหตุก หรือ อเหตุก เป็นสเหตุก เป็นเอกเหตุก หรือว่าเป็นทวิเหตุก สำหรับผัสสเจตสิกเป็นทวิเหตุก เพราะเหตุว่า ผัสสเจตสิกนั้นเกิดร่วมกับโมหเจตสิก และโลภเจตสิก ซึ่งเป็นเหตุ ๒ เหตุ เพราะฉะนั้น ผัสสเจตสิก เป็นทวิเหตุก เช่นเดียวกับโลภมูลจิต
เวทนาเจตสิก ที่เกิดกับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ เป็นอเหตุกหรือสเหตุก สเหตุก เป็นเอกเหตุก หรือว่าเป็นทวิเหตุก ทวิเหตุก
เวลาที่โลภมูลจิตดวงที่ ๑ เกิด เป็นปัจจัยให้เจตสิกเกิดร่วมด้วยกับรูป แต่เมื่อกล่าวโดยเหตุปัจจัย ไม่ใช่จิต แต่ต้องเป็นโมหเจตสิก และโลภเจตสิกซึ่งเป็นเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ปัจจยุปบันนของเหตุปัจจัย ๒ เหตุนี้ ก็คือเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย และโลภมูลจิต และจิตตชรูป
เวลาที่กล่าวถึงจิตตชรูป ไม่ได้หมายความว่ารูปนั้นเกิดเพราะจิตประเภทเดียว แต่ต้องเกิดเพราะจิต และเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกัน เป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น เวลาที่โลภมูลจิตเกิดขึ้น อย่าลืมว่านอกจากเจตสิกจะเกิดร่วมกันแล้ว ก็ยังมีรูปเกิดร่วมด้วย รูปของโลภมูลจิต ดีไหม รูปของโลภมูลจิตหรือว่ารูปที่เกิดเพราะโลภมูลจิตเป็นปัจจัย ดีหรือไม่ดี โลภมูลจิตเป็นอกุศล เพราะฉะนั้นจิตตชรูปคือรูปซึ่งเกิดเพราะโลภมูลจิต จะเป็นรูปที่ดีหรือว่าไม่ดี เป็นอิฏฐารมณ์ หรือเป็นอนิฏฐารมณ์ “ดี” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า เป็นกุศลหรืออกุศล เพราะเหตุว่ารูปเป็นกุศลหรืออกุศลไม่ได้
เวลาที่โลภมูลจิตเกิดขึ้น แล้วก็โลภมูลจิตดวงที่ ๑ เป็นโสมนัสสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกกัง เวลาที่มองดูการกระทำของบุคคลที่มีความเห็นผิด มีการกระทำทางกายต่างๆ มีการกราบไหว้สิ่งที่เคารพ ซึ่งด้วยความเห็นผิด ไม่ใช่ด้วยความเห็นถูก อาจจะมีวาจาที่กล่าวสรรเสริญสิ่งที่เคารพด้วยความเห็นผิด ไม่ใช่ด้วยความเห็นถูก ในขณะเหล่านั้นทั้งหมดเป็นอะไร เป็นจิตตชรูปที่เกิดเพราะความเห็นผิด เพราะฉะนั้น การกราบไหว้ ดูเพียงภายนอกนี้ ดีหรือไม่ดี แต่ถ้าไหว้ผิด กราบผิด ด้วยความเห็นผิด ดีหรือไม่ดี เพราะฉะนั้นก็จะมองเห็นได้ว่า อาการภายนอกย่อมเกิดจากจิต ซึ่งยากที่จะรู้ได้ แม้การกราบไหว้ ถ้าเป็นการกราบไหว้ด้วยจิตที่ผ่องใส ด้วยปัญญาหรือว่าด้วยความเห็นถูก อันนั้นก็เป็นผลของกุศลจิต แต่ถ้ากราบไหว้ สรรเสริญในสิ่งที่ผิด อันนั้นก็เป็นผลของอกุศลจิต
ประวิทย์ แล้วคนอื่นที่ได้ยินในขณะนั้น สมมติว่าเป็นการสรรเสริญคนที่ผิด โสตวิญญาณของคนที่ได้ยิน จะเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก
อ.สุ ควรจะต้องเป็นอะไร
ประวิทย์ อกุศลวิบาก
สำหรับโดยเหตุปัจจัย มีข้อสงสัยอะไรอีกไหม
ต่อไปโดยอารัมมณปัจจัย การทบทวนนี้จะทบทวนโดยย่อๆ เท่านั้นเอง โลภมูลจิตดวงที่ ๑ คือโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกกัง โสมนัสสหคตัง เป็นอารัมมณปัจจัยได้ไหม ได้ เพราะเหตุว่า สภาพธรรมทุกอย่าง สามารถที่จะเป็นอารมณ์ได้ แม้โลภมูลจิตก็เป็นอารมณ์ได้ อย่างท่านที่เคยบอกว่า เคยเห็นผิด เคยเข้าใจผิด เคยกราบไหว้ผิด ในขณะนั้น ก็เป็นการระลึกถึงโลภมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคสัมปยุตต์
โลภมูลจิตเป็นอารมณ์ของอกุศลจิตได้ เป็นอารมณ์ของกุศลจิตได้ไหม ได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า โลภมูลจิตซึ่งเป็นอนัตตา ไม่มีใครสามารถจะบังคับบัญชาได้ เมื่อมีเหตุปัจจัย ก็เกิดขึ้นเป็นอกุศล เป็นจิตที่ยินดีพอใจในความเห็นผิด แต่แม้กระนั้นกุศลจิตก็ยังมีโลภมูลจิตที่มีความเห็นผิดนั้นเป็นอารมณ์ได้
สติปัฏฐานสามารถจะเกิดระลึกได้ หรือว่าสามารถที่จะพิจารณาเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นโลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด การที่รู้อย่างนั้น ก็เป็นมหากุศล ในขณะนั้น มีโลภมูลจิต ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ เป็นอารมณ์
วันหนึ่งๆ ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด จะไม่ทราบเลยว่า มีอะไรเป็นอารมณ์บ้าง ทุกคนคิดหลายเรื่อง เคยคิดถึงเรื่องที่สนุกสนาน ขณะนั้นก็เป็นสภาพของจิตซึ่งเป็นโลภะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นในขณะนั้น ก็โลภมูลจิตเป็นอารมณ์ได้ หรือเวลาที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเป็นโลภะ ขณะนั้นเป็นสติปัฏฐาน ย่อมสามารถจะรู้ได้ว่าขณะนั้น มีลักษณะของโลภมูลจิตเป็นอารมณ์ แต่ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิดนี้ ก็ยากที่จะรู้ว่า วันหนึ่งๆ มีอะไรเป็นอารมณ์บ้าง
สำหรับอารัมมณปัจจัยนี้ ก็ไม่มีอะไรน่าสงสัย ต่อไป โดยอธิปติปัจจัย อธิปติมี ๒ อย่าง คือสหชาตาธิปติปัจจัย ๑ อารัมมณาธิปติปัจจัย ๑
สหชาตาธิปติหมายความถึง นามธรรม ได้แก่ ฉันทะ ๑ หรือวิริยะ ๑ หรือจิตตะ ๑ หรือวิมังสาคือปัญญา ๑ เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในหมู่ของสหชาตธรรมซึ่งเกิดร่วมกัน เพราะเหตุว่า เวลาที่จิตขณะเกิดขึ้น ต้องประกอบด้วยสหชาตธรรม คือเจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมเกิดร่วมด้วย และในบรรดาสหชาตธรรมหรือสัมปยุตตธรรม ซึ่งเกิดร่วมกันนั้น สภาพธรรมใดเป็นใหญ่ในขณะนั้น จะต้องเป็นสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใดใน ๔ คือ เพราะฉันทะเป็นใหญ่ หรือว่าวิริยะเป็นใหญ่ หรือจิตเป็นใหญ่ หรือว่าวิมังสาคือปัญญาเป็นใหญ่
แต่สำหรับโลภมูลจิต ไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ในขณะที่โลภมูลจิตเกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ แล้วแต่ว่าจะมีฉันทะเป็นอธิบดี หรือว่ามีวิริยะเป็นอธิบดี หรือมีจิตเป็นอธิบดี แต่ว่าจะไม่มีวิมังสาคือปัญญา เพราะเหตุว่าปัญญาเป็นโสภณธรรม พอที่จะสังเกตได้ไหม โลภะในวันหนึ่งๆ ซึ่งมีมากเหลือเกิน ไม่มีใครจะกล่าวได้ว่าวันนี้ไม่มีโลภะ แต่ว่าโลภะมาก ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แต่ถ้าจะเริ่มพิจารณาลักษณะของโลภะที่เกิด จะเป็นประโยชน์มาก ที่จะสามารถรู้ได้ว่า ในขณะที่โลภะนั้นกำลังเกิดขึ้นปรากฏ มีฉันทะ หรือวิริยะ หรือจิตตะเป็นอธิบดี ซึ่งคนอื่นไม่สมารถที่จะบอกได้เลย นอกจาสติที่ระลึกสภาพของธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น
พอที่จะมีตัวอย่างไหม สำหรับท่านผู้ฟังเองว่า ขณะไหนมีฉันทะเป็นอธิบดี ขณะไหนมีวิริยะเป็นอธิบดี หรือว่าขณะไหนมีจิตเป็นอธิบดี
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50