ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47


    ตลับที่ ๒๔

    โดยละเอียดมาก คือบางครั้งทรงแสดงโดยปัจจัย ว่าสภาพธรรมใดเป็นปัจจัย บางครั้งทรงยกปัจจยุปบันนธรรม คือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เป็นผลเกิดจากปัจจัยใด

    เพราะฉะนั้น ก็สามารถที่จะทรงแสดงโดยนัยต่างๆ คือนอกจากจะทรงแสดงโดยนัยของปัจจัย ยังทรงแสดงโดยนัยของปัจยุปบัน และนอกจากนั้น ยังทรงแสดงโดย นปัจจัย ต่างๆ เช่นเกตุปัจจัย ได้แก่เจตสิกซึ่งเป็นเหตุ ๖ คืออกุศลเจตสิก ๓ ได้แก่ โลภเจตสิก ๑ โทสเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑ และโสภณเจตสิก ๓ คือ ผัสสเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ อโมหเจตสิก ๑ นอกจากนั้นแล้ว เมื่อสภาพธรรมใดเป็นปัจจัย สภาพธรรมนั้นเป็นปัจจัย โดยเป็น นเหตุปัจจัย เช่นผัสสเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิต ไม่ใช่โลภเจตสิก ไม่ใช่โทสเจตสิก ไม่ใช่โมหเจตสิก ไม่ใช่อโลภเจตสิก ไม่ใช่อโทสเจตสิก ไม่ใช่อโมหเจตสิก ผัสสเป็นปัจจัย ในโลภมูลจิต โดย นเหตุปัจจัย

    ทรงแสดงไว้โดยละเอียด เพื่อที่จะให้ไม่คลาดเคลื่อน แล้วก็ให้เข้าใจชัดเจนจริงๆ แต่ก็ต้องอาศัยการพิจารณาที่ละเอียดขึ้นๆ ๆ

    ซึ่งก็จะขอกล่าวทบทวน โดยนัยของปัจจัย ๒๔ เพียงเล็กน้อย เพื่อที่จะให้ท่านผู้ฟังไม่ลืม เรื่องของปัจจัย ๒๔ คือ

    ปัจจัยที่ ๑ เหตุปัจจัย ได้แก่เจตสิก ๖ ดวง นอกจากนั้นแล้ว เจตสิกอื่นซึ่งเกิดกับจิต เช่นผัสสะที่ได้กล่าวถึงแล้ว หรือเวทนาเจตสิก ซึ่งเกิดกับโลภมูลจิตเป็นปัจจัย ไม่ใช่ว่าไม่เป็นปัจจัย แต่ว่าเป็นปัจจัยโดยเป็น นเหตุปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๒ คืออารัมมณปัจจัย อารัมมณปัจจัยคือสภาพธรรมที่เป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิก ที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้น ปัจจยุปบันนธรรมของอารัมมณปัจจัย คือจิตและเจตสิกเท่านั้น เพราะฉะนั้น รูปทุกรูปจึงไม่ใช่เกิดขึ้นโดยอารัมณปัจจัย แต่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยอื่น ซึ่งเป็น นอารัมมณปัจจัย

    สำหรับปัจจัยอื่นๆ ก็โดยนัยเดียวกัน คือปัจจัยที่ ๓ อธิปติปัจจัย ได้แก่สภาพธรรม ๔ อย่าง คือฉันทเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ และวิมังสเจตสิก ชวนจิต ๕๒ เว้น โมหมูลจิต ๒ และหสิตุปาทจิต ๑ เพราะเหตุว่า อธิปติมี ๔ คือฉันทาธิปติ วิริยาธิปติ จิต และวิมังสาธิปติ สำหรับจิตที่จะมีฉันทะและวิริยะเป็นอธิบดี ได้นี้ ต้องประกอบด้วยเหตุ ๒ ขึ้นไป จึงจะเป็นจิตที่จะมีกำลังพอที่ฉันทะหรือวิริยะ จะเป็นอธิบดีได้ ถ้าเป็นจิตที่ประกอบด้วย เหตุเดียว ก็ไม่มีกำลัง เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถที่จะมีสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดเป็นอธิบดี

    สำหรับอธิปติปัจจัยได้แก่สภาพธรรม ๑ ใน ๔ เป็นหัวหน้าเป็นอธิบดี ในบรรดาสหชาตธรรมที่เกิดร่วมกัน คือบางขณะ ฉันทะเป็นอธิบดี บางขณะวิริยะเป็นอธิบดี บางขณะจิตเป็นอธิบดี บางขณะวิมังสะเป็นอธิบดี แต่ว่าสภาพธรรมอื่นก็เป็นปัจจัยด้วย ไม่ใช่ไม่เป็นปัจจัย แต่เมื่อสภาพธรรมอื่นไม่ใช่อธิบดี เพราะฉะนั้นสภาพธรรมอื่น ซึ่งเป็นปัจจัยนั้น จึงเป็นปัจจัยโดย นอธิปติปัจจัย ผัสสะที่เกิดร่วมกัน ก็เป็น นอธิปติปัจจัย คืออะไรก็ตามที่ไม่ใช่ฉันทะ ไม่ใช่วิริยะ ไม่ใช่วิมังสะ ไม่ใช่ชวนจิต ๕๒ สภาพธรรมนั้นก็เป็นปัจจัย แต่ว่าเป็น นอธิปติปัจจัย

    เพื่อจะทบทวนให้ไม่ลืมเรื่องของปัจจัยเท่านั้นเอง ที่ได้กล่าวถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่ปัจจัยแต่ละอย่างนั้น

    ปัจจัยที่ ๔ คืออนันตรปัจจัย จิตทุกดวงเป็นอนันตรปัจจัย เว้นจุติจิตของพระอรหันต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ถ้าเป็นจุติจิตของบุคคลซึ่งไม่ใช่พระอรหันต์แล้ว เป็นอนันตรปัจจัยให้ปฏิสนธิเกิดสืบต่อทันที แต่สำหรับจุติจิตของพระอรหันต์ ไม่เป็นอนันตรปัจจัยใหปฏิสนธิจิตเกิดต่ออีกเลย เพราะฉะนั้น สำหรับจุติจิตของพระอรหันต์เท่านั้น ที่ไม่เป็นอนันตรปัจจัย เพราะฉะนั้น อนันตรปัจจัย หมายความถึง จิตและเจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมเท่านั้น ที่เป็นอนันตรปัจจัย รูปไม่เป็นอนันตรปัจจัยเลย เพระเหตุว่า รูปเกิดเพราะกรรม ถึงแม้ว่ารูปที่เกิดเพราะกรรมรูปหนึ่งดับไปแล้ว แต่กรรมก็ยังเป็นปัจจัยให้รูปอื่นเกิดต่อ ตามกำลังของกรรมหรือว่าจิตแต่ละดวง เว้นทิวปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวง ทันทีที่จิตเกิด ก็เป็นสมุฏฐานให้รูปเกิด เพราะฉะนั้น การดับไปของรูปก่อน ไม่ได้เป็น อนันตรปัจจัยให้รูปต่อไปเกิด เพราะเหตุว่ารูปแต่ละรูป ก็ย่อมเกิดพราะสมุฏฐานของตนของตน เพราะฉะนั้น สำหรับ นอนันตรปัจจัย คือสภาพธรรมที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย ก็ได้แก่รูปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยในขณะไหนก็ตาม เป็นปัจจัยโดย นอนันตรปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๕ คือ สมนันตรปัจจัย ถ้าเข้าใจความหมายของอนันตรปัจจัย ก็เข้าใจความหมายของสมนันตรปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น สำหรับ นสมนันตรปัจจัย ก็ได้แก่รูปทั้งหมดด้วย ไม่เป็นปัจจัยโดยเป็นสมนันตรปัจจัย แต่รูปเป็นปัจจัย โดย นสมนันตรปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๖ คือสหชาตปัจจัย สภาพธรรมที่เป็นปัจจัยเกิดร่วมกับปัจจยุปบันน เพราะฉะนั้น ถาขณะใดที่สภาพธรรมใดเป็นปัจจัย ไม่เกิดร่วมกับปัจจยุปบันน ขณะนั้น ก็เป็นโดย นสหชาตปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๗ คือ อัญญมัญญปัจจัย เป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกันด้วย และต้องอาศัยซึ่งกันและกัน โดยต่างก็ต้องอาศัยกัน เพราะฉะนั้นสภาพธรรมใดซึ่งไม่เป็นอย่างนี้ ก็เป็น นอัญญมัญญปัจจัย เช่นรูปที่เกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐาน ไม่ใช่อัญญมัญญปัจัย เพราะว่า ถ้าเป็นอัญญมัญญปัจจัย หมายความว่า จิตติ้งเกิดเพราะรูปนั้นด้วย แต่เมื่อรูปนั้นเกิดเพราะจิต แต่จิตไม่ได้เกิดเพราะรูปซึ่งจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะฉะนั้นรูปซึ่งเกิดเพราะเจติเป็นสมุฏฐาน จึงไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย เมื่อไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย ก็เป็นปัจจจัยโดย นอัญญมัญญปัจจัย

    สำหรับปัจจัยที่ ๘ คือ นิสสยปัจจัย ได้อก่สภาพธรรมที่เป็นที่อาศัยของปัจจยุปบันนธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าสภาพธรรมใดไม่ได้เป็นที่อาศัยของปัจจยุปบันนธรรมนั้น ก็เป็นปัจจัยโดย นนิสสยปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๙ คือ อุปนิสสยปัจจัย นี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะอุปนิสสย ก็เป็นโดย นอุปปนิสสยปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๑๐ คือ ปุเรชาตปัจจัย ได้แก่รูปซึ่งเกิดก่อน แล้วยังไม่ดับ เป็นปัจจัยแก่จิต โดยปุเรชาตปัจจัย เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกไม่ใช่รูป แต่ว่าเป็นปัจจัย ซึ่งกันและกันได้ โดย นปุเรชาตปัจจัย คือเป็นปัจจัยโดยไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๑๑ ปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ จิตทุกดวงอุปการะแก่รูปซึ่งเกิดก่อน โดยที่จิตนั้นเกิดภายหลัง เพราะฉะนั้น สำหรับปัจฉาชาตปัจจัย ก็คือจิตและเจตสิกซึ่งเกิดโดยไม่ได้อาศัยปัจฉาชาตปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๑๒ อาเสวนปัจจัย อาเสวนปัจจัยหมายความถึงสภาพธรรมที่เป็นปัจจัย โดยให้สภาพธรรมประเภทเดียวกันนี้เกิดขึ้น กระทำกิจซึ่งในขณะที่เป็นชวนวิถี นอกจากนั้นแล้ว จะไม่ใช่อาเสวนปัจจัย เพราะฉะนั้น สำหรับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ เป็นอาเสวนปัจจัย เพราะเมื่อโลภมูลจิตดวงที่ ๑ เป็นอาเสวนปัจจัย ให้โลภมูลจิตขณะที่ ๒ เกิดต่อ จะเป็นจิตประเภทอื่นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ชวนวิถีจิตจะต้องเกิดดับซ้ำกันถึง ๗ ขณะ ตามปกติ เพราะฉะนั้น นอาเสวนปัจจัยได้แก่ขณะไหน โลภมูลจิตปฐมชวน คือขณะแรก จิตดวงนั้นเกิดขึ้นโดย นอาเสวนปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๑๓ คือ กัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาเจตสิก เพราะฉะนั้น เจตสิกอื่นซึ่งเป็นปัจจัยในขณะนั้น เป็นโดยนกัมมปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๑๔ คือ วปากปัจจัย เวลาที่กุศลจิต และกุศลเจตสิกเกิด กุศลจิตอาศัยกุศลเจตสิกเป็นปัจจัย กุศลเจตสิกอาศัยกุศลจิตเป็นปัจจัย โดย นวิปากปัจจัย คือไม่ใช่โดยเป็นวิปากปัจจัยนั่นเอง กิริยาจิตล่ะ เวลาที่กิริยาจิตเกิด เจตสิกซึ่งเกิดร่วมก้วยก็เป็นกิริยาเจตสิก โดย นวิปากปัจจัย คือเวลาที่ไม่ใช่วิบากแล้ว เป็นปัจจัยโดยอย่างอื่น ก็ต้องเป็นโดย นวิปากปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๑๕ คืออาหารปัจจัย โต๊ะ เก้าอี้ มีอาหารปัจจัยไหม ไม่มี แต่ก็มีปัจจัยที่ทำให้รูปภายนอกเกิดขึ้น โดย นอาหารปัจจัย นี่ก็โดยคร่าวๆ แต่ให้ทราบถึงความต่างกันของรูปซึ่งเกิดเพราะอาหาร และรูปซึ่งไม่ได้เกิดเพราะรูปอาหาร เช่นรูปภายนอกนี้ ไม่ต้องกิน ไม่ต้องดื่ม ไม่ต้องเคี้ยว แต่ก็เกิดดับ โดย นอาหารปัจจัย ถ้ากล่าวโดยอาหารที่เป็นรูป

    ปัจจัยที่ ๑๖ คืออินทรียปัจจัย ได้แก่รูปที่ไม่ได้อาศัยอิทรีย์หนึ้งอิทรีย์ใด

    ปัจจัยที่ ๑๗ คือฌานปัจจัย สภาพธรรมที่เป็นองค์ฌานมี ๗ คือวิตกเจตสิก ๑ วิจารเจตสิก ๑ ปีติเจตสิก ๑ สุขเวทนาหรือโสมนัสเวทนานั่นเอง ๑ และเอกัคคตา ๑ นอกจากนั้นก็ยังมีเวทนาอีก ๒ ที่เป็นฌานปัจจัย คืออุเบกขาเวทนา ๑ และโทมนัสเวทนา ๑ เพราะฉะนั้น จิตใดที่ไม่ประกอบด้วยวิตกเจตสิก จิตนั้นไม่ได้เกิดเพราะฌานปัจจัย จิตใดไม่ได้เกิดเพราะฌานปัจจัยบ้าง ขณะนี้มีจิตซึ่งไม่ได้เกิดเพราะฌานปัจจัย ขณะนี้จิตใดไม่ได้เกิดเพราะวิตกเจตสิก วิจารเจตสิก ไม่ได้เกิดเพราะฌานปัจจัยเลย ไม่ได้เป็นผลของฌานปัจจัย จิตใด ทวิปัญจวิญญาณจิต จิตเห็นในขณะนี้ จิตได้ยินในขณะนี้ ไม่ได้เกิดเพราะฌานปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๑๘ คือมัคคปัจจัย สภาพธรรมใดซึ่งไม่ได้เกิดเพราะมัคคปัจจัย สภาพธรรมนั้นก็เกิดเพราะ นมัคคปัจจัย ได้แก่อเหตุกจิตท้ง ๑๘ รวมจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวัญญาณ สัมปฏิจฉน สันตีรณ โวฏฐัพพนะ ปัญจทวาราวัชชนะ หสิตุปาท จิขุวิญญาณในขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่มัคคปัจจัย และไม่ได้เกิดเพราะมัคคปัจจัย ไม่ใช่เป็นผลของมัคคปัจจัย เพราะเหตุว่าเป็นวิปากปัจจัย จักขุวิญญาณทำอะไรบ้าง นอกจากเห็น ทำกุศลได้ไหม เห็นได้อย่างเดียว ในขณะที่ทำกุศลใดๆ ก็ตาม ในขณะนั้น ไม่ใช่จักขุวิญญาณ ไม่ใช่โสตวิญญาณ ไม่ใช่วิบากจิตเลย เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นกุศล ก็ต้องเป็นกุศลจิตและกุศลเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกัน

    ปัจจัยต่อไปคือปัจจัยที่ ๑๙ สัมปยุตตปัจจัย ได้แก่นามธรรมซึ่งเกิดร่วมกัน เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้น นสัมปยุตตปัจจัย ได้แก่อะไร รูปทั้งหมดไม่เป็นสัมปยุตตธรรม เพราะฉะนั้น รูปทั้งหมด ถ้าจะเป็นปัจจัย ก็โดย นสัมปยุตตปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๒๐ วิปยุตตปัจจัย ได้แก่นามธรรมที่เกิดเพราะรูป หรือรูปซึ่งเกิดเพราะนามธรรมนั้น เป็นวิปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้น เวลาที่จิตเกิดเพราะเจตสิกเป็นปัจจัย และเจตสิกเกิดเพราะจิตเป็นปัจจัย จึงเป็นปัจจัยโดย นวิปยุตตปัจจัย คือเป็นปัจจัยโดยไม่ใช่เป็นวิปยุตตปัจจัย มหาภูตรูปเป็นปัจจัยให้อุปาทายรูปเกิดได้โดยวิปยุตตปัจจัยได้ไหม วิปยุตตปัจจัยคือนามธรรมเป็นปัจจัยแก่รูปธรรม หรือรูปธรรมเป็นปัจจัยแก่นามธรรม เพราะฉะนั้นในขณะที่นามธรรมเป็นปัจจัยแก่นามธรรม ต้องเป็นโดย นวิปยุตตปัจจัย หรือในขณะที่รูปธรรมเป็นปัจจัยแก่รูปธรรม ขณะนั้นก็ต้องเป็นโดย นวิปยุตตปัจจัย ต้องขณะใดที่รูปเป็นปัจจัยแก่นาม หรือนามเป็นปัจจัยแก่รูป จึงจะเป็นวิปยุตตปัจจัย แต่ถ้ารูปเป็นปัจจัยแก่รูป ไม่ใช่โดยวิปยุตตปัจจัย จึงเป็น นวิปยุตตปัจจัย หรือในขณะที่นามเป็นปัจจัยแก่นาม ไม่ใช่เป็นปัจจัยโดยวิปยุตตปัจจัย ก็ต้องเป็นโดย นวิปยุตตปัจจัย

    ปัจจัยต่อไปคือ ปัจจัยที่ ๒๑ อัตถิปัจจัย และสภาพธรรมใดที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย สภาพธรรมนั้นก็เป็นปัจจัยโดย โนอัตถิปัจจัย คือไม่ใช่อัตถิปัจจัย

    ปัจจัยที่ ๒๒ คือนัตถิปัจจัย ซึ่งถ้าไม่ใช่โดยนัตถิปัจจัย ก็โดยโนนัตถิปัจจัย

    สำหรับวิคตปัจจัย ก็โดยนัยเดียวกันว่า ถ้าไม่ใช่โดยวิคตปัจจัย ก็เป็นปัจจัยโดยโนวิคตปัจจัย

    สภาพธรรมนี้มีจริงๆ เพียงแต่ว่าต้องคิดเท่านั้นเองว่า สภาพธรรมใดเกิดโดย โนวิคตปัจจัย หรือโดยโนัตถิปัจจัย

    สำหรับปัจจัยที่ ๒๔ คืออวิคตปัจจัย เมื่อไม่ใช่อวิคตปัจจัย ก็เป็นปัจจัยโดยโนอวิคตปัจจัย

    นอกจากนั้น พระผู้มีพระภาคยังแสดงโดยละเอียด เช่นแสดงโดยธรรมเป็นคู่ขึ้นไปอีก เช่น นเหุตปัจจัยนอารัมณปัจจัย ซึ่งถ้าเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องปัจจัย ก็จะค่อยๆ พยายามศึกษาไปทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะเข้าใจความละเอียดขึ้น เพราะเหตุว่า เรื่องของปัจจัยนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เพราะเหตุว่าเป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกันก็จริง ดับพร้อมกันไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็การที่จะเกิดมาเกื้อกูลเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันนั้น ก็จะต้องอาศัยสภาพธรรมหมายอย่าง แล้วก็ต่างเป็นปัจจัยโดยปัจจัยต่างๆ กันด้วย

    สำหรับการละอกุศลธรรมนี้ มี ๕ คือ๑.ตทังคปหาน ๒.วิขัมภนปหาน ๓.สมุจเฉทปหาน ๔.ปฏิปัทสัทธิปหาน ๕.นิสสนณปหาน

    ไม่ใช่ว่าจะดับกิเลสกันได้ง่ายๆ เลย แต่ว่าจะต้องเป็นไปตามลำดับ ขั้น

    สำหรับปหานที่ ๑ คือตทังคปหาน ได้แก่การละกิเลสได้ด้วยองค์นั้นๆ ซึ่งได้แก่วิปัสสนาญาณ ตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ จนถึงโคตรภูญาณ นี้เป็นตทังคปหาน เพราะเหตุว่าไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้เด็ดขาดเป็นสมุจเฉท เพราะเหตุว่าไม่ใช่มัคคจิต ไม่ใช่โลกุตตรจิต เพราะฉะนั้น การที่พูดถึงโสภณสาธารณเจตสิก ซึ่งได้กล่าวมาตามลำดับ มาจนกระทั่งถึงตัตตรมัชฌัตตตา ว่าได้แก่สภาพธรรมขณะใดบ้าง แม้แต่ตัตตรมัชฌัตตตาที่เป็นสังขารุเบกขาญาณ ก็จะต้องทราบเรื่องของตัตตรมัชฌัตตตาตมลำดับ ตั้งแต่เป็นผู้ที่ตรงในเรื่องของการฟังพระธรรม ในเรื่องของการปฏิบัติธรรม จนกระทั่งใจเรื่องของวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น กว่าจะถึงสังขารุเบกขาญาณ

    เพราะฉะนั้น พระธรรมมีมาก และการที่จะกล่าวถึงพระธรรมไปลอยๆ โดยที่ไม่กล่าวถึงเหตุที่จะให้บรรลุถึงธรรมนั้นๆ ก็ย่อมไม่สามารถที่จะเข้าใจได้จริงๆ แต่ว่าการที่จะกล่าวถึงธรรม ก็ต้องกล่าวถึงธรรมตั้งแต่ขึ้นเจริญสติปัฏฐานไป จนกระทั่งถึงความสมบูรณ์ของปัญญา ที่เป็นวิปัสสนาญาน แต่ละขั้นซึ่งเป็นตทังคปหาน ให้ทราบว่า การที่จะดับกิเลสได้ แม้เพียงชั่วขณะ ซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณ ก็จะต้องอาศัยการอบรมที่สมควรแก่วิปัสสนาญาณนั้นๆ คือต้องเป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน

    สำหรับนามรูปปริจเฉทญาณ ซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณที่ ๑ เป็นความสมบูร์ของปัญญาที่เกิดจากการระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม มีความรู้จริงๆ มั่นคง ว่าลักษณะนี้เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ เป็นเพียงธาตุรู้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน

    ขณะที่สติปัฏฐานเกิดระลึกลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม และค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ พิจารณา ค่อยๆ สังเกต ค่อยๆ อบรมไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้หวัง และก็โดยไม่ได้คอยว่า ขณะนี้จะเป็นวิปัสสสนาญาณหรือยัง จะเป็นการรู้ชัดนามธรรม จะเป็นการรู้ชัดรูปธรรมหรือยัง ถ้าถึงความสมบูรณ์ของปัญญาเมื่อไหร่ นามรูปปริจเฉทญาณ ซึ่งได้แก่มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต เกิดขึ้นทางมโนทวาร ประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม โดยสภาพที่แยกขาดจากกัน ขณะนั้นละสักกายทิฏฐิได้ แต่ว่าเป็นเพียงตทังคปหาน

    เพราะเหตุว่าขณะนั้นนามธรรมและรูปธรรม ไม่ได้ปรากฏโดยสภาพที่ยังเป็นเรา ยังเป็นตัวตน ยังเป็นก้อน ยังเป็นแท่ง แต่ว่านามธรรมและรูปธรรม ปรากฏโดยสภาพที่ไม่มีโลก ไม่มีเรา ไม่มีตัวตน มีแต่ลักษณะของสภาพนั้นๆ ทีละอย่าง ที่ปรากฏทางมโนทวาร เพราะฉะนั้นจึงละสักกายทิฏฐิ ที่เคยยึดถือสภาพธรรมที่ประชุมรวมกัน เพราะเหตุว่าไม่เคยประจักษ์แจ้งเลยว่า สภาพธรรมที่เคยประชุมรวมกันนี้ แท้ที่จริงแล้วสามารถที่จะปรากฏเพียงทีละอย่าง โดยไม่มีอย่างอื่นเลยทั้งสิ้น ไม่มีแม้แต่ที่จะให้เหลื่อความทรงจำว่า ยังมีตัวตนที่ร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า เพราะเหตุว่า ในขณะนั้นไม่ปรากฏ มีแต่ว่าขณะนั้น ลักษณะของสภาพนามธรรมใดเกิด ปัญญารู้ชัดทางมโนทวาร ลักษณะของรูปธรรมใดเกิดขึ้นปรากฏ มโนทวารก็รู้ชัดในลักษณะที่เป็นรูปธรรมนั้น ไม่มีสภาพธรรมอื่นปะปนเลย ด้วยเหตุนี้จึงสามารถที่จะละสักกายทิฏฐิได้ เป็นตทังคปหาน

    ซึ่งในขณะนี้เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ปรากฏรวมกันทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ สลับกันอย่างเร็ว ทำให้ปรากฏเป็นสภาพธรรมที่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จึงไม่ใช่วิปัสสนาญาณ เพราะฉะนั้น ก่อนวิปัสสนาญาณจะเกิด ก็ยังมีอัตตสัญญา แต่เวลาที่สภาพธรรมปรากฏ โดยความเป็นอนัตตาแล้ว ขณะนั้นอนัตตสัญญาจึงเริ่มที่จะเจริญขึ้นได้ แต่ว่าหลังจากที่นามรูปปริจเฉทญาณดับแล้ว โลกก็รวมกันเหมือนเดิม ปรากฏการเกิดดับสิบต่อสลับกันอย่างเดิม เพราะเหตุว่าชั่วขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณเท่านั้น ที่เป็นตทังคปหาน

    เพราะฉะนั้น ก็จะต้องระลึกถึงอนัตตสัญญาที่เคยประจักษ์แจ้งในนามรูปปริจเฉทนั้น โดยน้อมพิจารณาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยต่อไปอีก เพราะเหตุว่าถ้าไม่ระลึกถึงอนัตตสัญญาที่เคยประจักษ์แจ้งแล้ว ในนามรูปปริจเฉทญาณ อัตตสัญญาที่เคยสะสมพอกพูนมาเนิ่นนานในสังสารวัฎฎ์ ก็ไม่หมดสิ้นไปได้เพียงชั่วขณะที่นามรูปปริจเฉทญาณเกิด ก็จะต้องอบรมเจริญปัญญาต่อไป

    จนกว่าจะถึงวิปัสสนาญาณที่ ๒ คือปัจจปริคหญาณ เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังที่ถามว่า ถ้ารู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม แล้วอย่างไรต่อไป เพียงนิดหน่อย ยังไม่ใช่นามรูปปริจเฉทญาณ ก็จะต้องตนกว่าจะถึงนารูปปริจเฉทญาณเสียก่อน และเมื่อถึงนามรูปปริจเฉทญาณแล้วก็ไม่ใช่ทำอย่างอื่น สติปัฏฐานก็ยังเหมือนเดิม คือเป็นสภาพที่ระลึกได้ พิจารณาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏทีละอย่าง แต่ว่ายังมีอนัตตสัญญา คือความจำได้ ในสภาพที่ไม่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ซึ่งก่อนวิปัสสนาญาณจะเกิด ยังไม่มีอนัตตสัญญานี้ เพราะฉะนั้น เมื่อได้ประจักษ์แจ้งอนัตตสัญญา จากนามรูปปริจเฉทญาณแล้ว ก็พิจารณาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม โดยน้อมระลึกถึงอนัตตสัญญาที่เคยประจักษ์แจ้ง

    สำหรับปัจจปริคหญาณ ก็เป็นสภาพธรรมที่ละทิฏฐิคือความเห็นว่าไม่มีเหตุ และปราศจากเหตุอันควรแก่การเกิดขึ้น ของสภาพธรรมนั้นๆ ปัญญาก็เพิ่มขึ้นอีก


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 5
    25 ส.ค. 2565

    ซีดีแนะนำ