ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
ตลับที่ ๒๔ ต่อ
ปัญญาก็เพิ่มขึ้นอีก จากการที่พิจารณาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ปัญญาที่จะถึงความสมบูรณ์ของปัจจยปริคหญาณ ต้องเพิ่มขึ้นจากเพียงรู้ว่าลักษณะนี้เป็นนามธรรม หรือว่าลักษณะนั้นเป็นรูปธรรม
เพราะว่าในขณะที่สติระลึกลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมนั่นเอง ย่อมสามารถรู้ถึงปัจจัยที่นามธรรมนั้นเกิดขึ้น เช่นก่อนที่จะเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ ต้องพิจารณาลักษณะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เมื่อเป็นนามรูปปริจเฉทญาณแล้ว ก็ประจักษ์ในลักษณะที่เป็นสภาพรู้ ธาตุรู้ โดยสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น เวลาที่หลังจากนั้นแล้ว สติระลึกลักษณะของนามธรรมที่เกิด ในขณะที่เกิดนี้ ก็ย่อมรู้ถึงปัจจัยของนามนั้นด้วย เช่นในขณะที่กำลังพิจารณาลักษณะของสภาพรู้ ขณะที่กำลังได้ยินนี้ ก็จะรู้ว่าลักษณะของธาตุรู้เสียงเกิดขึ้นเพราะเสียง ถ้าไม่มีเสียง ขณะนั้นจิตได้ยินไม่มี ลองพิจารณาแม้ในขั้นของการฟัง ซึ่งยังไม่ใช่ปัจจยปริคหญาณ ก็ยังสามารถที่จะพิจารณาเข้าใจได้ว่า ขณะใดที่เสียงไม่เกิด ไม่มีเสียงเกิด จิตได้ยินเกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่จิตได้ยินเกิด แล้วสติระลึกลักษณะที่กำลังได้ยินเสียง เป็นสภาพที่รู้ ในขณะที่เสียงปรากฏ ในขณะนั้นก็จะรู้ว่า เพราะเสียงเป็นปัจจัย จิตประเภทนี้จึงเกิด
เพื่อที่จะแยกลักษณะของจิตแต่ละประเภทออกจากกัน ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก ว่าเกิดขึ้นเพราะปัจจัยที่ต่างกัน ในขณะที่รู้สึกปวดหรือเมื่อย ซึ่งขณะนั้นสติปัฏฐานจะระลึกลักษณะของนามธรรมบ้าง ระลึกลักษณะของรูปธรรมบ้าง เพราะฉะนั้น เวลาที่ทุกขเวทนาเกิด ไม่ใช่ว่าขณะนั้นสติปัฏฐานจะไม่ระลึกลักษณะของรูปเลย เพราะเหตุว่า ทุกขเวทนาย่อมเกิดที่รูป เพราะฉะนั้น เวลาที่พิจารณาลักษณะของรูป แล้วมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น ขณะนั้นปัญญาก็รู้ว่า ทุกขเวทนานี้เกิดที่รูป นี่เป็นการระลึกรู้ลักษณะของปัจจัยของนามธรรมที่เกิดในขณะนั้น ซึ่งเป็นความที่ละเอียดขึ้น ที่จะทำให้เห็นว่า สภาพธรรมทั้งหมดนี้ต้องมีเหตุปัจจัยจึงเกิด เพราะฉะนั้น สำหรับปัจจยปริคหญาณ ละทิฏฐิคือความเห็ว่าไม่มีเหตุ และปราศจากเหตุอันควรแก่การเกิดขึ้นของสภาพธรรมนั้นๆ
มีข้อสงสัยในเรื่องนี้ไหม ก่อนที่จะถึงสังขารุเบกขาญาณ ซึ่งเป็นปัญญาเจตสิก แม้ปัจจัยปริคหญาณก็เป็นการประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ที่ปรากฏทีละอย่างทางมโนทวาร เพราะเหตุว่า วิปัสสนาญาณทุกญาณ จะต้องเป็นขณะหนึ่ง ช่วงหนึ่ง ซึ่งประจักษ์แจ้งสภาพธรรมที่ไม่มีโลก ไม่มีตัวตนที่รวมกันเหมือนอย่างขณะที่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ เพราะฉะนั้น เป็นการแทงตลอดลักษณะของสภาพธรรมทีละอย่าง
พระ เจริญพร ในขณะที่แทงตลอดสภาพธรรมทีละอย่าง เป็นวิปัสสนาญาณ หมายถึงสภาพที่เป็นลักษณะของรูปธรรมและนามธรมแยกขาดออกจากกัน
อ.สุ ทีละอย่างเจ้าค่ะ
พระ ทีละอย่าง ในขณะที่ทีละอย่าง ในขณะที่สภาพของรูปธรรมปรากฏ ในขณะนั้นจะต้องรู้สภาพของนามธรรมที่กำลังรูปรูปธรรมด้วยในขณะนั้น หรือว่าหลังจากนั้น สภาพธรรมที่ปรากฏขึ้นอีก อาจจะเป็นรูปธรรมดับไปแล้ว หลังจากนั้น ก็พิจารณาลักษณะของนามธรรม ซึ่งรูปธรรมนั้นดับไปหลายขณะมากมาย แล้วก็พิจารณาลักษณะของนามธรรมในขณะนั้นเป็นวิปัสสนาญาณหรือเปล่า
อ.สุ ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่ขณะที่ต้องพิจารณาเลย เป็นความสมบูรณ์ของปัญญา ซึ่งมีปัจจัยเกิดทางมโนทวาร ซึ่งจะปรากฏต่างกับขณะที่ทางมโนทวารและทางปัญจทวารกำลังปรากฏรวมกัน โดยสภาพของการเป็นกลุ่มเป็นก้อน แต่ว่าเมื่อสภาพธรรมที่เป็นวิปัสสนาญาณเกิดทางมโนทวาร จะไม่มีการรวมกันเลยสักอย่างเดียว เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นในขณะนั้นมีธาตุรู้ แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏให้รู้เท่านั้น ไม่มีการที่จะต้องพิจารณาอะไร เพราะเหตุว่าในขณะนั้นธาตุรู้ในขณะนั้น เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ เป็นตัวปัญญาที่กำลังประจักษ์ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ
พระ ในขณะนั้นแทลตลอดแล้วใช่ไหม
อ.สุ กำลังประจักษ์ ไม่ต้องพิจารณาเลย
พระ ประจักษ์โดยสภาพรู้ ไม่ใช่เรารู้
อ.สุ เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ เป็นตัวปัญญาที่ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่การรวมกันของสักกาย ที่จะต้องพิจารณาอย่างในขณะนี้ ถ้าในขณะนี้ ถ้าจะพิจารณาลักษณะของได้ยิน ก็อาจจะมีสิ่งอื่นปรากฏสลับ แต่ว่าเวลาที่เป็นวิปัสสนาญาณ จะไม่มีสิ่งที่ปรากฏสืบต่อกันจะกระทั่งเป็นสิ่งที่รวมกันเป็นอัตตา คือการปรากฏของมโนทวาร เจ้าค่ะ
พระ หมายถึงยังไง เป็นการปรากฏของมโนทวาร หมายถึงปัญญาในมโนทวารกำลังรู้สภาพของนามธรรม รูปธรรม
อ.สุ เจ้าค่ะ
พระ ส่วนวิปัสสนาญาณที่จะต้องเกิดในมโนทวาร หมายถึงขณะที่ปัญญาเกิดในมโนทวาร ตอนนั้น ในขณะนั้น สภาพของรูปธรรม นามธรรมต้องเกิดในมโนทวารด้วยหรือเปล่า
อ.สุ ปรากฏทางมโนทวาร เพราะเหตุว่า นามธรรมย่อมรู้ได้ทางมโนทวารเท่านั้น รู้ทางอื่นไม่ได้เลย นามธรรมทุกประเภทจะรู้ได้ จะปรากฏได้แก่มโนทวารวิถีจิตเท่านั้น และสำหรับรูป เมื่อรับรูปรูปทางแต่ละทวาร เช่นจักขุทวารเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ดับแล้ว มโนทวารวิถีจิตรับรู้ต่อ เมื่อเสียงปรากฏแก่โสตทวารวิถีจิตดับหมดแล้ว ภวังคจิตคั่นแล้ว มโนทวารรับรู้เสียงต่อ เพราะฉะนั้น เมื่อมโนทวารปรากฏ ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมแต่ละลักษณะที่ขาดตอนจริงๆ ที่ไม่ปะปนกันเลย จึงปรากฏได้
พระ ขณะที่ปัญญารู้ว่าเสียงกำลังปรากฏ ซึ่งไม่ใช่เรา ขณะนั้นก็ไม่มีรูปธรรมประกฏ สติก็ระลึกสภาพเสียง ที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ขณะนั้นเป็นมโนทวารหรือเปล่า ถ้าปัญญารู้ว่ารูปธรรมไม่ใช่เรา
อ.สุ เวลานี้มีมโนทวารวิถีมาก คั่นอยู่ระหว่างแต่ละปัญจทวารวิถี นี่เป็นความจริงใช่ไหมเจ้าคะ
พระ ใช่
อ.สุ แต่ว่าลักษณะของมโนทวารที่กำลังรู้สีนี้ปรากฏหรือเปล่า ขณะที่กำลังได้ยินเสียง โสตทวารวิถี โสตทวารวิถีจิตดับหมด ภวังคจิตคั่น มโนทวารวิถีจิตรู้เสียงต่อ และขณะนี้ที่มโนทวารวิถีที่กำลังรู้เสียง ปรากฏหรือยังว่าเป็นมโนทวารวิถี เวลานี้มีแต่จักขุทวารวิถี กับโสตทวารวิถีใช่ไหม ที่กำลังปรากฏจริงๆ ทั้งๆ ที่ ทุกคนรู้ว่า มีมโนทวารวิถีคั่นมาก แต่กำลังเห็นอยู่ตลอดเวลานี้ มโนทวารวิถีนี้อยู่ที่ไหน ถูกไหม แล้วมโนทวารวิถีในขณะนี้ รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็รู้เสียงที่ปรากฏทางหู แล้วก็ยังรู้เรื่อง รู้ความหมาย แล้วก็มีภวังค์คั่นด้วย นี่คือสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด สภาพธรรมตามความเป็นจริงไม่ปรากฏเลย
เพราะฉะนั้น ก็ดูเหมือนว่า เพียงเข้าใจว่ามีมโนทวารวิถีคั่น แต่ว่ามโนทวารวิถีไม่ได้ปรากฏ เพราะเหตุว่า ไม่ใช่วิปัสนาญาณ คือการปรากฏลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อตามความเป็นจริงแล้ว ต้องปรากฏทางมโนทวาร มากกว่าทางปัญจทวาร แต่ละทวาร เพราะเหตุว่า ลองคิดถึงอายุของรูป ๑๗ ขณะ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือเสียง ๑๗ ขณะ จิตนี้เร็วมากทีเดียว ขณะนี้รู้สึกเหมือนกับว่าเห็นด้วย และได้ยินด้วย ความจริงทางตาที่เห็นนี้ดับ แล้วมีภวังค์คั่น ก่อนที่จะได้ยินเสียง ก่อนที่จะรู้ความหมายเพราะฉะนั้น เวลาได้ยินเสียงแล้วก็คิดว่ารู้ความหมาย แล้วก็คิดว่าเห็นด้วย แล้วก็มีมโนทวารวิถีคั่น แล้วก็มีภวังค์คั่นนี้ ตามความเป็นจริงคืออย่างนั้น แต่ว่ามโนทวารวิถีไม่ปรากฏเลย
คำว่ามโนทวารวิถีก็เข้าใจแล้วใช่ไหม ว่าหมายความว่า รู้อารมณ์ทางใจ โดยไม่อาศัยทางตา ทางหู เพียงแต่ว่ารับอารมณ์นั้นสืบต่อจากทางตา ทางหู เพราะฉะนั้น มโนทวารวิถีนี้ต้องปรากฏ ตามความเป็นจริงแล้วต้องมากกว่าทางปัญจทวารวิถีแต่ละขณะ แต่ทวาร
พระ เพราะทางใจต้องรับ
อ.สุ แล้วทำไมไม่ปรากฏ เจ้าคะ ซึ่งถ้าสภาพธรรมปรากฏจริงๆ อะไรจะปรากฏ มโนทวารต้องปรากฏ เพราะฉะนั้น อย่างที่เคยเรียนถามว่า วันหนึ่งๆ ทุกคนรู้สึกว่าเหมือนกับอยู่ในโลกที่สว่าง แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้ว ควรจะอยู่ในโลกที่มือมากกว่าสว่างหรือเปล่า เพราะเหตุว่าในขณะที่กำลังได้ยิน ในขณะที่รู้เสียง เสียงกำลังปรากฏ ขณะนั้นสว่างหรือมืด
พระ มืด
อ.สุ ขณะที่กำลังกระทบแข็ง ที่กำลังปรากฏ กำลังรู้แข็ง สว่างหรือมืด
พระ มืด
อ.สุ มืด ขณะที่กำลังรู้กลิ่น กำลังได้กิล่น สว่างหรือมืด
พระ มืด ในฐานะที่ว่า ไม่ใช่ทางตา
อ.สุ ก้มืดไปหมด เหลือทวารเดียว คือจักขุทวารวิถีเท่านั้นที่สว่าง แต่ทำไมปรากฏเหมือนสว่างตลอด มือหายไปไหนหมด
พระ เพราะว่าปัญญาในขณะนั้นไม่ประจักษ์ในสภาพธรรม ลักษณะเดียวโดยไม่ปน
อ.สุ เพราะฉะนั้น ทางมโนทวารนี้ ถูกปัญจทวารนี้ปิดกั้นไว้ ใช่ไหมเจ้าคะ เพราะเหตุว่า การเกิดดัยสลับกันอย่างเร็ว เพราะฉะนั้น ถ้าสภาพธรรมปรากฏตามความเป็นจริง จะไม่สงสัยในลักษณะของมโนทวาร เพราะเหตุว่าสภาพที่เป็นนามธรรม จะปรากฏได้กับเฉพาะมาโนทวารวิถีจิตเท่านั้น จะปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ไม่ได้เลย การรู้ลักษณะของนามธรรม เพราะฉะนั้นในขณะนี้ ที่ว่าเป็นนามธรรม เป็นนามธาตุ เป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้ ไม่มีรูปใดๆ ปนเลย จะรู้ลักษณะของธาตุรู้ได้ทางมโนทวารเท่านั้น และในขณะนั้นที่รู้ ก็เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้น เป็นปัญญาที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ที่กำลังประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม โดยไม่ใช่ขั้นพิจารณา แต่เป็นขั้นที่เห็น ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ทีละอย่าง ตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่ แม้ว่าจะได้ฟังเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน ที่จะใช้คำ ก็ควรที่จะใช้ให้ถูกต้อง เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า ความเข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐานนี้ ไม่คลาดเคลื่อน เช่นไม่ควรใช้คำว่า ใช้สติ ซึ่งบางคนอาจจะได้ยินบ่อยๆ แล้วบางท่าน ท่านก็บอกว่า เป็นคำพูดที่ติดปากเท่านั้นเอง แต่ความจริงแล้ว การที่จะใช้คำพูดใดๆ ก็ตาม ย่อมแสดงถึงความเข้าใจว่า ยังมีข้อที่คลาดเคลื่อนหรือเปล่า เพราะเหตุว่าไม่มีใครที่จะใช้สติได้ เพียงแต่ว่าสามารถที่จะเกิดสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมขณะใด ขณะนั้นก็เป็นขณะที่มีสติ ส่วนขณะใดที่สติไม่เกิด ไม่ได้ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นก็หลงลืมสติ
แม้ว่าเป็นผู้ที่จะได้ยินได้ฟัง เรื่องของการเจริญสติปัฏฐานมามาก แล้วก็เป็นผู้ที่กำลังเริ่มอบรมเจริญสติปัฏฐานก็ตาม แต่การที่จะได้ฟังเรื่องของการเจริญสติปัฏฐานย่อยขึ้นนี้ ก็เป็นที่จะทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมพร้อมกับขณะที่สติระลึก ได้ละเอียดขึ้น เช่น ถ้าสังเกต จะรู้ได้ว่า ในขณะที่สติเกิด ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้น เป็นขณะที่เริ่มรู้ว่า ขณะที่คิดนึกในเรื่องราวต่างๆ ทั้งวันนั้น ไม่ใช่ในขณะที่มีสภาพปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์
นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งจะต้องพูดถึงบ่อยๆ เพราะเหตุว่าทุกคนคิดมากทีเดียว ทุกวัน แต่ว่าในขณะใดก็ตาม ที่กำลังคิดเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ นั้น ไม่ใช่มีลักษณะของปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ นี้ ก็จะตรวจสอบรู้จิตตนเอง ตามความเป็นจริงได้ว่า มีการู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมมากน้อยแค่ไหน เพราะเหตุว่า ขณะที่กำลังคิดขณะนั้นไม่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ และวันหนึ่งๆ ก็คิดมาก แม้ในขณะนี้เอง ก็เป็นการที่จะพิสูจน์ได้ว่า ในขณะนี้กำลังมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ หรือว่ากำลังคิดเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง
วันหนึ่งๆ บางเรื่องที่คิดก็สั้น บางเรื่องที่คิดก็ยาว และคิดวันก่อนก็ยังไม่จบ ก็ยังต่ออีก วันรุ่งขึ้นก็ยังคิดอีก และก็วันต่อๆ ไป เรื่องเดียวกันนั้น ก็ยังไม่จบอีก ก็อาจจะเป็นเร่องที่ไม่ยาว แต่เฉพาะในวันหนึ่ง แต่ว่ายาวต่อไปทั้งอาทิตย์ หรือว่ายาวต่อไปทั้งปีทั้งชาติ ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้จริงๆ ว่า ขณะใดที่สิตปัฏฐานไม่เกิด ขณะนั้นความคิดนึกนี้ จะปิดบังไม่ให้รู้ลักษณะของปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นในขณะนี้ ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานด้วย แล้วก็กำลังฟังเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน ย่อมจะมีโอกาส มีปัจจัยที่สติจะเกิดระลึกได้ ในขณะที่กำลังฟังนี้เอง ระลึกลักษณะของปรมัตถธรรม สลับกับความคิดนึกก็ได้ เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานนี้ เมื่อมีปัจจัยก็เกิดขึ้น ระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ แม้เพียงเล็กน้อย ก็รู้ว่าปรมัตถธรรมกำลังสลับกับความคิดนึก เช่นทางตาที่กำลังเห็น เป็นปรมัตถธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง สิ่งที่ปรากฏทางตา ก็เป็นปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้น ถ้าขณะใดที่เกิดระลึกศึกษาว่า ขณะนี้เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาเท่านั้น บางคนอาจจะรูสึกว่า หลับตาก็สบายดีเหมือนกัน เวลาที่ฟังพระธรรมนี้ เพราะเหตุว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องลืมตา แล้วก็มองดูสิ่งนั้นสิ่งนี้ ไม่ใช่ว่าให้มีเจตนาที่ให้หลับ เพื่อที่จะได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมชัดเจน ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ว่าการที่ใครจะพักสายตา แล้วก็ผังพระธรรม ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ อาจจะลืมและอาจจะหลับ สลับกัน เพราะฉะนั้นขณะใดที่เห็น ขณะนั้น ระลึกว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา และขณะที่ได้ยิน ก็เปลี่ยนจากลักษณะที่ปรากฏทางตา เป็นสภาพธรรมอีกชนิดหนึ่ง อีกทางหนึ่ง
เพราะฉะนั้นในขณะที่กำลังฟังนี้เอง สติปัฏฐานก็เกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จนกว่าระชัดจริงๆ ว่า สิ่งที่ปรากฏทาง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แล้วก็เกิด แล้วก็หมดไป ในขณะที่ได้ยินเสียง เป็นอีกขณะหนึ่ง อีกสภาพธรรมหนึ่ง เพราะฉะนั้น ในขณะนี้ ก็มีทั้งเห็น แล้วก็มีทั้งได้ยิน ก็พิจารณาได้ สติเกิดระลึกรู้สภพาธรรมที่กำลังปรากฏ สลับกัน ในขณะนี้ได้ ตามความเป็นจริง
แต่ว่าทุกคนก็จะต้องรู้ ขณะที่สติเกิด กับขณะที่หลงลืมสติ ว่าเป็นขณะที่ต่างกัน ขณะที่หลงลืมสติ จะไม่มีการสังเกตรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ขณะที่กำลังเป็นโลภะ ความไว จะทำให้ระลึกได้ว่า ขณะนั้นไม่ใช่ขณะที่กำลังสังเกตศึกษา รู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะที่เป็นโลภะ ขณะนั้น มีอะไรเป็นอารมณ์ เป็นปรมัตถธรรม หรือว่าเป็นบัญญัติอารมณ์ ขณะที่กำลังชอบสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็พอที่จะสังเกตได้ เพื่อที่จะคลายการยึดถือสิ่งที่ปรากฏ ด้วยการรู้แจ้งว่า อารมณ์ในขณะนั้นเป็นอะไร ที่กำลังชอบ ที่กำลังพอใจ หรือว่าขณะที่กำลังโกรธ ขุ่นเคืองใจ ไม่ชอบ ขณะนั้นรู้หรือเปล่าว่ากำลังโกรธบัญญัติ เพียงแต่นึกถึงชื่อของบางคน ก็อาจจะหงุดหงิด ขณะนั้นไม่มีปรมัตถธรรม ไม่มีคนจริงๆ ไม่มีอะไรเลย เป็นแต่เพียงเรื่องราวที่คิดขึ้น เกี่ยวกับการทรงจำว่า เป็นบุคคลนั้นบุคคลนี้ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้น ไม่ได้รู้ตัวเลยว่าโกรธบัญญัติ ไม่ได้มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์
หรือแม้แต่ในขณะที่กระทำทานกุศล ขณะใดที่สติไม่เกิด ไม่ระลึกรู้ลักษณะของ ปรมัตถธรรม ขณะนั้นก็มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ขณะที่วิรัติทุจริต หรือว่าขณะที่จิตสงบก็ตาม ขณะใดก็ตามที่สติไม่เกิด ไม่ระลึกลักษณะของปรมัตถธรรม ขณะนั้นก็มีบัญญัติเป็นอามรณ์ทั้งนั้น
เพราะฉะนั้นก็จะรู้ได้ว่าบัญญัติในวันหนึ่งๆ ปิดยังไม่ให้รู้ลักษณะของปรมัตถธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ขณะใดที่สติเกิดเท่านั้น ที่จะค่อยๆ เริ่มศึกษารู้ลักษณะของปรมัตถธรรมว่า ไม่ใช่บัญญัติ ที่เคยคิดเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ แต่ว่าเป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะที่จะต้องศึกษา สังเกต พิจารณา จนกว่าจะรู้ชัดในลักษณะของสภาพที่เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้น บ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง
เพราะฉะนั้น สติจำปรารภนาในที่ทั้งปวง ไม่ใช่เพียงแต่คำที่พูดกันบ่อยๆ แต่ว่าเป็นความจริงอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าสติเกิดขณะใด กั้นกระแสของอกุศลขณะนั้น เช่นกำลังเป็นโลภะ สนุกมาก การเล่นเกมกีฬาต่างๆ เพลิดเพลินทั้งวัน ถ้าสติเกิดระลึกขึ้นได้ ขณะนั้น เพียงนิดเดียว ขณะนั้นก็กั้นกระแส ที่จะรู้ว่าลักษณะที่เป็นกุศล ที่เป็นสติปัฏฐาน ที่รู้ว่าลักษณะนั้นไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่บุคคลนั้น ทำให้ไร้ความกังวลได้ มิฉะนั้นแล้ว เวลาเป็นอกุศล บางคนก็ยิ่งเป็นอกุศลหนักขึ้นไปอีก ใช่ไหม เพราะเหตุว่าไม่ชิบอกุศล ไม่อยากจะเป็นอกุศลอย่างนี้เลย แล้วก็รู้ตัวเองว่ามีอกุศลทั้งนั้นมากมาย กลุ้มใจ จะทำยังไง บางคนก็พยายามหาทางอื่น ที่จะไม่เป็นอกุศล แต่ก็ไม่ใช่หนทางที่จะดับกิเลส
แต่ว่าเวลาที่สติเกิด ไม่ว่าเป็นอกุศล ก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง นี้เป็นหนทางที่จะดับกิเลสได้ โดยการรู้ลักษณะของสภาพธรรม จนกว่าจะรู้ชัดจริงๆ ว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะว่าถ้าปัญญายังไม่เจริญ จนกระทั่งขั้น นามรูปปริจเฉทญาณ สภาพธรรมก็ยังปรากฏรวมกัน ไม่รู้ว่าเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏ เพียงขณะที่จิตรู้ แล้วก็ดับไป ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ลักษณะสภาพธรรมนั้นก็ปรากฏไม่ได้
กว่าที่จะแยกโลกทั้งหมด โลกใหญ่ๆ ที่มีคนเยอะๆ นี้ ออกเหลือเพียงตัวคนเดียว แล้วก็ยังแยกตัวคนเดียวออกไป จนเหลือขณะจิตเดียว จึงจะรู้ว่าเป็นอนัตตาจริงๆ มิฉะนั้นแล้ว ถึงจะพูดเรื่องอนัตตาเท่าไหร่ ก็ไม่มีทางที่จะประจักษ์จริงๆ สภาพที่เป็นอนัตตาที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ ต้องในขณะที่สภาพธรรมไม่รวมกัน จึงจะปรากฏว่าเป็นอนัตตาได้ ถ้ายังรวมกันอยู่ตราบใด ที่จะไม่เป็นอัตตานี่ เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าเมื่อรวมกันแล้ว ก็ต้องเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เช่นทางตา ที่กำลังเห็นนี้ พอคิดนึกเกิดขึ้น ก็เป็นสัตว์เป็นบุคคลทันที นี้ก็คือการสืบต่อรวมกันของนามธรรม ซึ่งแท้ที่จริง ขณะที่เห็นต้องดับไป แล้วจิตดวงต่อไปก็เกิดขึ้นๆ จนกว่ารู้รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางเป็นอะไร แต่เมื่อไม่สามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของนามธรรม แต่ละชนิดได้ ก็ยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏรวมกัน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน
ในคราวก่อน ก็ได้กล่าวถึงเรื่องของนามรูปปริจเฉทญาณ ไม่ทราบยังมีท่านผู้ฟังสงสัยอยู่หรือเปล่า การประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งประจักษ์ได้ ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ต้องเป็นผู้ตรง ตัตตรมัชฌัตตตา ทำให้เป็นผู้ตรง ในข้อปฏิบัติ ในเหตุในผล แล้วก็เห็นโทษของการไม่รู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง สติจึงจะระลึก เพื่อที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏจนกว่าจะประจักษ์แจ้ง มิฉะนั้นแล้ว ไม่มีทางที่จะดับกิเลส ใครที่เห็นโทษของกิเลส แล้วจะทำวิธีอื่น ให้ทราบได้ว่าไม่ใช่หนทาง นอกจากสติเกิดระลึกศึกษารู้ลักษณะของสภาพรรม จนกว่าจะปรากฏลักษณะที่เป็นอนัตตา
ถ้าจะดูตัวอย่างบุคคลในครั้งก่อนการตรัสรู้ จนถึงสมัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ ก็จะเห็นได้ว่า ท่านเหล่านั้น ก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีกิเลส แต่ก็ได้มีปัญญาที่สะสมมาด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อถึงโอกาสที่ปัญญาจะสมบูรณ์ ถึงขั้นที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ก็ย่อมสมารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ เพียงแต่ว่า ถ้าทุกคนจะคิดถึงประโยชน์ของการเกิดมา มีชีวิตเป็นมนุษย์ในขณะนี้ ซึ่งทุกคนย่อมมีทางเดินของชีวิต ซึ่งมี ๒ ทาง คือทางหนึ่ง เลือกที่จะหมุนเข้าให้จมลึกอยู่ในปลักของสังสารวัฎฎ์ต่อไป หรือว่าเลือกที่จะหมุนออกจากเกลียวของสังสารวัฎฎ์ ไปทีละเล็กทีละน้อย
เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ ต้องพิจารณาทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ โดยพิจารณาตนเองว่า การที่ยังมีความยึดมั่น ผูกพันในบุคคล ควรที่จะคลายเกลียวออก หรือว่าหมุนเกลียวเข้าไปอีก เพราะว่า ในภพหนึ่งชาติหนึ่ง ทุกคนต้องมีความผูกพัน มีความยึดมั่นในบุคคลต่างๆ โดยฐานะต่างๆ แต่ก็ควรที่จะได้พิจารณาว่า ควรที่จะละคลายหรือว่า ควรที่จะยึดมั่นให้มากขึ้น
หรือแม้แต่เรื่องของโทสะ ความโกรธ ก็เช่นเดียวกัน ถ้าท่านผู้ใดยังคงมีความโกรธในบุคคลใด ขณะนั้นเป็นอกุศล จะคลายเกลียวออก คือละคลายความโกรธ แล้วให้อภัย หรือว่าจะหมุนเกลียวของโทสะให้เพิ่มขึ้นมากขึ้นไปอีก ซึ่งวันหนึ่งๆ ถ้าจะหาเรื่องที่จะโกรธนี้ ไม่ยากเลย เช่นเดียวกับการที่จะหาวัตถุซึ่งเป็นที่พอใจ ก็ไม่ยาก ได้ยินอะไรนิด อะไรหน่อย โกรธก็ได้ แต่ถ้าจะพิจารณาหาเหตุผลว่า ผู้นั้นอาจจะพูดไปด้วยความไม่รู้ ด้วยการฟังผิวเผิน หรือว่าด้วยการเข้าใจผิด ขณะนั้นจิตใดก็จะสบายมากทีเดียว ไม่เดือดร้อน หมดเรื่อง จบเรื่องทุกอย่าง เพราะฉะนั้นทุกๆ ขณะในชีวิตนี้ เป็นขณะที่ควรจะได้พิจารณาถึงประโยชน์ ด้วยความเป็นผู้ตรง ที่จะรู้ว่ากุศลทั้งหลาย ย่อมเป็นประโยชน์กว่าอกุศล ทั้งนี้การเป็นผู้ตรงนี้ ก็เป็นลักษณะของตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
นั่นเป็นเรื่องของโลภะ โทสะ เพราะฉะนั้นขณะที่มีโมหะ คือขณะที่เห็น ก็ไม่รู้สภาพความจริงขิงนามธรรมและรูปธรรม ในขณะที่กำลังเห็น ในขณะนี้เอง หรือแม้ในขณะที่ได้ยินเดี๋ยวนี้ ไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ที่กำลังได้ยิน และเสียงที่ปรากฏ ขณะนี้จะคลายเกลียวของโมหะ โดยการอบรมเจริญปัญญา รู้ลักษณะของสภาพธรรม หรือกลับพอใจที่จะหมุนเกลียวของโมหะให้มากขึ้นอีก โดยละเลยการที่จะระลึกศึกษา ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ
จบ ปัจจัย ๒๔ ตลับที่ ๒๔
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50