ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50
อุทยัพพยญาณ เป็นพลววิปัสสนา เมื่อไหร่จะเกิดหรือว่าทำอย่างไรถึงจะเกิด หรือว่ามีเหตุอะไรที่จะทำให้เกิด แต่ก็เป็นปัญญาที่จะต้อง หลังจากที่พิจารณารู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมทั่วทั้ง ๖ ทวาร คือไม่ว่าทางตา สติก็สามารถที่จะเกิดระลึกรู้เป็นปกติ หรือว่าจะระลึก รู้ลักษณะของนามธรรมที่รู้ในสิ่งที่กำลังระลึกรู้เป็นปกติ หรือว่าจะระลึกรู้ลักษณะของนามธรรม ที่รู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ว่ากำลังเป็นบุคคลนั้นบุคคลนี้ ก็รู้ในลักษณะของนามธรรมในขณะนั้น ว่าเป็นแต่เพียงธาตุรู้ สามารถที่แยกลักษณะของปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถีอกจากกันได้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่เคยพิจารณาเลยว่า ทางตาขณะนี้กำลังแปลสี ก็แยกไม่ออกใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็จะต้องมีการที่ฟัง แล้วพิจารณา แล้วอบรมเจริญปัญญา โดยไม่คำนึงถึงอุทยัพพยญาณเลย จนกว่าเหตุจะสมควรเมื่อไหร่ แต่ลองคิดดูว่าอุทยัพพญาณนั้นคืออะไร อุทยัพพยญาณ คือปัญญาที่สามารถจะประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไปของนามธรรม และรูปธรรม ที่กำลังเป็นปัจจุบัน ทีละอย่าง
สำหรับสมสนญาณ ประจักษ์ลักษณะที่เกิดดับสืบต่อกัน ของนามธรรมและรูปธรรม เพราะฉะนั้น มีความเข้าใจชัดในสภาพธรรมที่เป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต เพราะเหตุว่า เกิดแล้วดับๆ ๆ เพราะฉะนั้นก็รู้ว่าอดีตคือสิ่งที่ดับแล้ว ปัจจุบันคือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วิส่งที่เกิดต่อ ที่เป็นอนาคต ก็เป็นปัจจุบันอีก แล้วก็สิ่งที่เป็นปัจจุบันนั้น ก็เป็นอดีตอีก เพราะเหตุว่า เกิดดับสืบต่อกัน แต่ว่าวิปัสสนาญาณที่ ๓ คือสมสนญาณนั้น เป็นการประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไป สืบต่อของนามธรรมและรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ตามปกติที่เร็วทีเดียว ด้วยเหตุนี้ ปัญญาในขณะนั้นจึงไม่ละเอียดพอ ที่จะละคลายหรือว่าเห็นโทษ ของการเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรม เพราะเหตุว่า การเกิดขึ้นสืบต่อ สภาพธรรมที่ดับไปนั้นเร็ว จนกระทั่งปิดบังโทษของการดับไป หรือการเกิดดับของนามและรูปที่ดับไปแล้ว
ถ้าขณะนี้ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับๆ ๆ จะเห็นโทษของการเกิดดับไหม ในเมื่อเกิดดับ ก็เกิดอีก แล้วก็ดับอีก แล้วก็เกิดอีก แล้วก็ดับอีกๆ จะเห็นโทษไหม ในเมื่อเกิดใหม่ มีสภาพธรรมใหม่ ยังเป็นความอบอุ่นใจว่า ยังเหลืออยู่ หรือว่ายังมีอยู่ ยังไม่ได้ปราศไปโดยสิ้นเชิง ถ้าจะคิดถึงในขั้นของการพิจารณา เมื่อวานนี้หมดแล้ว น่าใจหาบ แต่ก็ไม่ใจหาย เพราะว่าวันนี้ก็ยังมีใช่ไหม หรือว่าได้ยิน ขณะเมื่อกี้นี้ ก็ดับไปแล้ว ก็น่าใจหายจริงๆ ในขณะที่กำลังได้ยินนี้ ก็ยึดถือว่าเป็นเราแท้ๆ ที่กำลังได้ยิน แต่ได้ยินเมื่อกี้นี้ ที่ว่าเป็นเราก็ดับหมดไปแล้ว ไม่เห็นมีใครใจหาย หรือว่าเดือดร้อน หรือว่าละคลาย หรือว่าเห็นโทษ เพราะเหตุว่า ความเกิดใหม่อย่างรวดเร็ว สืบต่อการดับไป หรือการเกิดดับ ของนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดแล้ว ปิดบังไม่ให้เห็นโทษของการเกิดขึ้นและดับไป เพราะฉะนั้น ก็ยังไม่ละคลาย เพราะเหตุว่ายังไม่เห็นโทษของการเกิดดับ ให้ชัดยิ่งกว่านั้น
เพราะฉะนั้นปัญญาจะต้องสมบูรณ์ถึงขั้นต่อไป ที่สามารถจะแทงตลอดการเกิดขึ้นและดับไป ของนามธรรมและรูปธรรม แต่ละประเภทชัดเจนยิ่งขึ้น ในขณะที่กำลังเป็นปัจุบัน ทีละอย่าง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเร็วมาก กับการที่สังเกตละเอียดขึ้น พิจารณาละเอียดขึ้น ประจักษ์ลักษณะที่เกิดแล้วดับไป ชัดขึ้น ทีละอย่าง
นี่คือความต่างกันของตรุณวิปัสสนาและพลววิปัสสนา
ก็เป็นสภาพธรรมในขณะนี้ทั้งหมด แล้วก็ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขึ้น ก็จะต้องเป็นรู้ที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับขั้น จนกว่าจะถึงการที่จะคมกล้าขึ้นเรื่อยๆ แต่ว่าจะต้องมีเหตุที่จะทำให้คมกล้าขึ้น
ไม่ทราบท่านผู้ฟังมีข้อสงสัยอะไรบางหรือเปล่า ในเรื่องของพลววิปัสสนา ถ้าจะเปรียบเทียบ ก็เหมือนกับว่า จะต้องระดมกำลังของปัญญาทั้งหมด ไม่ว่าในอดีต ที่เคยฟังมาแล้วเท่าไหร่ เป็นพหูสูตมาแล้วมากน้อยเท่าไหร่ เคยได้ยินแม้แต้สภาพธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง สติระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็ค่อยๆ พิจารณาไป ไม่ว่าจะในเรื่องของพระสูตร หรือพระวินัย หรือของพระอภิธรรม ธรรมทุกอย่างจะเป็นสังขารขันธ์ ที่จะปรุงแต่ง ทำให้ปัญญาสมบูรณ์ถึงขั้นที่จะถึงพลววิปัสนา เพราะเหตุว่าเป็นความสมบูรณ์ของตีรณปริญญา ซึ่งเป็นการพิจารณา
ถาม ตอนพลววิปัสสนาเกิดนี้ อุทยัพพยญาณเกิดนี้ ก็คงจะมีกำลังมาก แล้วก็คงจะเกิดติดต่อกัน หรือว่าไม่แน่ แล้วแต่
อ.สุ ไม่แน่ เพราะเหตุว่าแต่ละบุคล ไม่เหมือนกันเลย สำหรับบางท่าน เมื่อนามรูปปริจเฉทญาณเกิดแล้ว ปัจจยปริคหญาณ และสมสนญาณต่อได้ทันที และสำหรับบางท่าน ก็อาจจะต่อไปจนกระทั่งถึงพลววิปัสสนา อุทยัพพยญาณ บางท่านก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ แต่ว่าผู้ที่ช้า ต้องทั้งฟัง ทั้งศึกษา ทั้งอบรม ทั้งพิจารณา ทั้งสนทนา ทั้งไตร่ตรอง ทุกสิ่งทุกประการ แล้วก็ค่อยๆ เขยิบไป ก้าวไปทีละขั้นๆ
ถาม ตอนเป็นอุทยัพพยญาณ แล้วนี้ กระผมก็เข้าใจว่าคงจะมีกำลังมากแล้ว
อ.สุ เป็นพลววิปัสสนาขั้นที่ ๑
ถาม ก็เปรียบเหมือนกับว่า …..
อ.สุ ก็ยังต้องมีปัญญาขั้นที่คมกล้ากว่านั้นขึ้นไปอีก เพราะนี่เพิ่งจะเป็นวิปัสสนาญาณขั้นที่ ๔ เท่านั้นเอง
ถาม เหมือนนายขมังธนู ที่ว่ายิงเร็ว ยิงแม่น ที่ว่าสามารถที่จะยังได้เร็ว แล้วก็ยิงได้แม่นด้วย คือคล้ายๆ กับว่า รูปธรรมอะไรจะเกิด เมื่ออุทยัพพยญาณเกิดแล้ว ก็คงจะมีกำลัง สามารถที่จะรู้ รู้ได้ติดๆ ต่อๆ กันไปเรื่อย โดยไม่ขาดสาย
อ.สุ ผู้ที่เป็นเนยบุคคล ต้องพากเพียรมากเหลือเกิน สำหรับวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น
ถาม ถึงจะเกิดแล้ว ก็ยังต้อง …..
อ.สุ แน่นอน
ถาม ไม่ใช่เกิด …..
อ.สุ ไม่ใช่ผู้ที่เป็นอุคติตัญญู หรือวิปันจิตัญญู
ถาม กระผมนึกว่า ถ้าพอพลววิปัสสนาเกิดแล้วนี้ จะมีกำลัง สามารถที่จะเกิดติดต่อกันไปได้ ในระละเวลาไม่นาน
อ.สุ ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็ไม่ต่างกัน
เพราะฉะนั้น อย่าหวัง ใครที่ไปคิดว่านั่งๆ นิ่งๆ แล้วก็จะประจักษ์เกิดๆ ดับๆ ปัญญาไม่รู้อะไรเลย แต่นี่เป็นปัญญาจริงๆ แล้วก็เป็นความสมบูรณ์ของตีรณปริญญา ซึ่งพิจารณาความเกิดขึ้นและดับไป ของนามธรรมและรูปธรรม จนกว่าจะประจักษ์แจ้ง ตามปกติ ในขณะนี้เอง
เพราะฉะนั้นทุกคนที่จะต้องอบรมเจริญปัญญา จนกว่าจะถึงนี้ ก็จะต้องพิจารณาชีวิตตามปกติของตนเอง ในแต่ละวัน ข้ามไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นการู้แจ้งนามธรรม และรูปธรรม ในชีวิตประจำวันตามปกติ แล้วก็จะต้องมีการละคลายการยึดถือนามธรรมและรูปธรรมลงเรื่อยๆ ไม่ใช่ยิ่งรู้ยิ่งอยากได้ นั่นไม่ใช่ลักษณะของปัญญา เพราะเหตุว่าถ้าเป็นปัญญาแล้ว ยิ่งรู้ยิ่งละ
เช่นถ้ารู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยทั้งนั้น จะวิตกกังวลเดือดร้อน ห่วงใยไหม ในเมื่อประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่า ทุกขณะจิตนี้ สภาพธรรมต้องมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น แม้แต่เพียงการได้ยินนี้ ก็ต้องมีปัจจัยจึงเกิด การเห็นก็มีปัจจัยจึงเกิด เพราะฉะนั้น เรื่องลาภยศ สรรเสริญ สุข ไม่ต้องคิดแล้ว เพราะเหตุว่า เพียงการเห็นก็ยังต้องมีปัจจัยจึงเกิด การได้ยินก็ต้องมีปัจจัยจึงเกิด การได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส การคิดนึก ความสุข ความทุกข์แต่ละอย่าง การพูด การกระทำใดๆ ทุกอย่าง ล้วนมีเหตุปัจจัยที่จะเกิด ถ้ารู้อย่างนี้ แล้วก็สติปัฏฐานจะไอคอยจดจ้องอยู่ที่นามใดรูปใดไหม หรือว่ายิ่งละ แล้วก็ไม่ต้องจดจ้องเลย เพราะเหตุว่ามีนามธรรมและรูปธรรมอยู่ทุกขณะ ปรากฏ แล้วแต่ว่า สติจะระลึกศึกษารู้ลักษณะของนามธรรมและรูปนั้นหรือไม่ ไม่ต้องไปดิ้นรนขวนขวาย แสวงหานามธรรมและรูปธรรมอะไรเลย ทุกอย่างเกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งนั้น
แม้ว่าแต่ละท่านจะยังไม่ถึงนามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคหญาณ สมสนญาณ แต่ก็ควรที่จะศึกษาพิจารณาให้เข้าใจเรื่องของวิปัสนาญาณ พอที่จะไม่เข้าใจผิด เพราะเหตุว่า การที่จะหลงผิด เข้าใจผิด ในข้อปฏิบัติ จนกระทั่งสำคัญว่าได้บรรลุธรรมแต่ละขั้นนี้ เป็นสิ่งที่มีได้ เท่าที่เคยได้ฟัง ส่วนมากมักจะกล่าวว่า ต้องทำให้จิตนิ่งเป็นสมาธิเสียก่อน แล้วปัญญาจึงจะได้สามารถรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้นได้ บางท่านก็กล่าวว่า สามารถที่จะประจักษ์การเกิดดับ ของสภาพธรรมได้ เพราะเหตุว่าจิตในขณะนั้นสงบสิ่ง ใส เพราะฉะนั้นสามารถจะรู้ชัดในการเกิดดับของนามธรรมและรูปธรรม แต่ว่าถ้าคิดอย่างนั้น จะข้ามวิปัสสนาญาณขั้นต้นทั้งหมด คือข้ามนามรูปปริจเฉทญาณ ข้ามปัจจยปริคหญาณ ข้ามสมสนญาณ ไปถึงอุทยัพพยญาณ ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่แม้กระนั้น ก็ยังมีผู้ที่เข้าใจผิดได้ เพราะเหตุว่าไม่ได้พิจารณาให้ละเอียดว่า การที่ปัญญาจะเกิดขึ้น ไม่ใช่เพียงให้จิตนิ่งสงบ แต่ว่าไม่เคยศึกษา ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
มีท่านผู้ฟังท่านหนึ่ง ตอนแรกท่านก็เข้าใจว่าท่านถึงอุทยัพพยญาณ เพราะว่าท่านพิจารณาว่า เสียงนี้กับ คิดนึกนี้ก็ดับ แล้วก็คิดนึกก็ไม่ใช่รูปธรรมแน่ ก็เป็นลักษณะของนามธรรมที่คิดนึก แล้วเวลาที่คิด ท่านก็รู้ว่าคิดเรื่องนี้ หมดแล้วก็คิดเรื่องอื่นต่อ แล้วเวลาที่เสียงปรากฏ เสียงนั้นก็ดับไป เพราะฉะนั้นนามธรรมที่ได้ยินก็ดับด้วย ต่อเมื่อท่านได้ฟัง แล้วก็ได้พิจารณาธรรมละเอียดขึ้นๆ ในขณะนี้ ท่านก็มีความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยที่ว่า ท่านกล่าวว่า ท่านเพิ่งจะเข้าใจว่า ที่ท่านปฏิบัติ แล้วคิดว่า ท่านรู้การเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมกับรูปธรรมนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นแต่เพียงคิด
นี่คือสิ่งที่จะต้องพิจารณาให้ละเอียดจริงๆ ว่าขณะที่คิดเรื่องของนามธรรมและรูปธรรม ไม่ใช่ขณะที่สัมมาสติกำลังระลึกลักษณะ ต้องมีลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมปรากฏ ให้ศึกษาให้เข้าใจ ให้รู้ชัดว่า ไม่ใช่ตัวตนอย่างไร เพราะเหตุว่าจุดประสงค์ของการศึกษาพระอภิธรรม ทุกท่านก็ทราบแล้ว เพ่อละความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน
นี่คือจุดประสงค์ของการศึกษา เพื่อละหรือดับความเห็นผิด ที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้นไม่มีผม ไม่มีขน ไม่มีเล็บ ไม่มีฟัง ไม่มีหนัง ไม่มีปิด ไม่มีกระดูก ไม่มีทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรเหลือเลย จึงจะสามารถประจักษ์แจ้งได้ว่า ดับ หรือละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมไม่ได้ปรากฏรวมกัน แต่จะต้องปรากฏเพียงทีละลักษณะ และในขณะที่สภาพธรรมปรากฏทีละลักษณะ สำหรับผู้ที่ทำสมาธิกับผู้ที่อบรมเจริญปัญญา ต่างกัน เพราเหตุว่าสำหรับผู้ที่ทำสมาธิ จิตจดจ้องอยู่ที่ลักษณะหนึ่งลักษณะใด ในขณะนั้น ก็เข้าใจว่าไม่มีอย่างอื่นเลย มีแต่สิ่งที่กำลังปรากฏ แต่ว่าปัญญาไม่ได้รู้เลยว่า ในขณะนั้นไม่ใช่เรา ลักษณะของสภาพรู้ ธาตุรู้ อาการรู้ ไม่ใช่ลักษณะของรูป เพราะฉะนั้นปัญญาต้องสามารถที่จะรู้ได้ว่า ตลอดชีวิตนี้ มีแต่นามธรรมและรูปธรรม ซึ่งเมื่อสติเกิดเมื่อไหร่ จะระลึกแล้วก็ศึกษา ที่จะรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น
ถ้าไม่เริ่มต้นอย่างนี้ แล้วก็คิดว่าทำจิตให้สงบ ให้ใสแล้ว ก็จะประจักษ์การเกิดดับของนามธรรมและรูปธรรม เป็นไปไม่ได้ สำหรับผู้ที่เคยทำจิตให้สงบแล้ว แต่ปัญญาก็ยังคงไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมในขณะนั้น ซึ่งต่างกับขณะที่เป็นการศึกษาเพื่อที่จะบรรลุถึงอุทยัพพยญาณ ซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณท่ ๔ ซึ่งในขณะนั้น ปัญญาสามารถที่จะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ทั่วทั้ง ๖ ทาง ถ้าไม่ทั่วทั้ง ๖ ทาง จะไม่ถึงอุทยัพพยญาณ และการที่ปัญญาจะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทั่วทั้ง ๖ ทางนี้ ย่อมสามารถที่จะเห็นว่า นามธรรมนี้เกิดแล้วก็ดับ รูปธรมทนี้เกิดแล้วก็ดับ ไม่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ลักษณะที่ต่างกันจริงๆ ของทั้ง ๖ ทวารปรากฏ แล้วก็เปลี่ยน เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป ขณะนั้น สตินี้ไม่ได้ทิ้งการที่จะพิจารณาสภาพลักษณะที่เป็นนามธรรมเท่านั้น รูปธรรมเท่านั้น เพราะเหตุว่าพิจารณาทั่วแล้วจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเห็นแล้ว ได้ยินเกิด ก็รู้ว่าเพียงชั่วขณะเล็กน้อย สั้นที่สุด
ซึ่งทุกคนนี้ พร้อมที่จะประจักษ์การเกิดดับอย่างสั้นที่สุด เร็วที่สุดหรือยัง จะมีความรู้สึกว่าเป็นยังไง ว้าเหว่สักแค่ไหน ไม่มีอะไรเหลือ ไม่มีจริงๆ มีแต่ลักษณะของสภาพธรรมอย่างเดียวที่เกิดแล้วก็ดับ เวลานี้ ถ้าจะคิดถึงชาติหนึ่ง ซึ่งเกิดแล้วก็ตาย ก็ยังรู้สึกว่า ถ้าตายไปนี้ ก็คงจะน่าเศร้าใจ หมดสภาพความเป็นบุคคลนี้ เสียดายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างที่ผูกพัน โดยสภาพของเพื่อนฝูง มิตรสหาย บุคล ครอบครัว ญาติสนิท ต่างๆ ยังทรัพย์สมบัติ สิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เคยพอใจ ในบ้านนี้ บางทีมีสมบัติหลายอย่าง ซึ่งเป็นที่พอใจอย่างมาก อาจจะเป็นของเก่า มีราคามาก แล้วก็ผูกพันไว้
เพราะฉะนั้น ถ้าจะต้องจาก พลัดพรากจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็รู้สึกว่าน่าเศร้าใจ แต่ว่านั่นเป็นขณะที่ยาวไกลมาก จากชาติหนึ่งที่เกิดมา จนถึงขณะที่จะจากไป แต่ว่าถ้าเป็นการประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ด้วยปัญญาที่เป็นอุทยัพพยญาณ ซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณที่ ๔ เป็นพลววิปัสสนา เป็นวิปัสนาที่มีกำลัง แล้วล่ะก็ จะเห็นได้ว่า การดับ การจาก การพลัดพราก สั้นกว่านั้นมาก แล้วก็เร็วกว่านั้นด้วย เพราะเหตุว่า สภาพธรรมที่เพียงเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้น ก็จะทำให้สามารถที่จะค่อยๆ ละคลายการยึดถือสภาพธรรมลงไปอีก แต่ว่าก่อนที่จะถึงอทุยัพพยญาณ ทุกคนนี้ ก็ต้องฟังพระธรรมต่อไป พิจารณาต่อไป เพื่อที่จุดประสงค์ คือละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เพราะฉะนั้น ต้องไม่มีอะไรๆ ทั้งสิ้น ข้อนี้ลืมไม่ได้เลย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ปอด กระดูก ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เคยมี ต้องไม่มี แล้วก็มีแต่สภาพธรรมซึ่งเกิดแล้วดับ เมื่อนั้นจึงจะสามรถบรรลุถึงปัญญาที่จะดับกิเลสได้จริงๆ แต่ถ้าไม่ใช่ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ก็จะทำให้สำคัญว่าบรรลุ เมื่อไม่บรรลุเลย หรือว่าอาจจะเข้าใจว่าเจริญสติปัฏฐาน เมื่อไม่ได้เจริญสติปัฏฐานเลย นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากทีเดียว เพราะเหตุว่า เหตุกับผลต้องตรงกัน
ข้อความในวิภังคปกรณ์ ขุททกวัตถุวิภังค์ ข้อ ๓๙๙ มีข้อความว่า
ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษเป็นไฉน (ถ้าไม่มีข้อปฏิบัติผิด ข้อความนี้จะไม่มีในพระไตรปิฎก แต่ที่มีข้อความนี้ในพระไตรปิฎก ก็ต้องแสดงว่า มีผู้ที่สำคัญผิดว่า ได้บรรลุธรรมวิเศษ เพราะฉะนั้น คำอธิบายมีว่า) ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษเป็นไฉน ความสำคัญว่าถึงแล้วในธรรมที่ตนยังไม่ถึง ความสำคัญว่าทำกิจแล้ว ในกิจที่ตนยังไม่ได้ทำ ความสำคัญว่าบรรลุแล้ว ในธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ ความสำคัญว่าได้ทำให้แจ้งแล้ว ในธรรมที่ตนยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ
ซึ่งปัญญานี้ เป็นสภาพธรรมที่ละกิเลส ค่อยๆ ละ ขจัดกิเลสไปตามลำดับเป็นขั้นๆ แต่จะเห็นได้ว่า ถ้าเป็นการปฏิบัติผิด การเข้าใจผิด การบรรลุผิดแล้ว ไม่ได้ละกิเลสเลย เพราะเหตุว่า มีความถือตัวว่าได้บรรลุ มีกิริยาที่ถือตัว มีสภาพที่ถือตัว มีการยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จะต้องการเป็นดุจธง ลักษณะเช่นว่านี้ เรียกว่าความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้บรรลุธรรมวิเศษจริงๆ จะต้องมีลักษณะอาการที่ตรงกันข้าม ใช่ไหม ไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย เพราะเหตุว่า ตัวตนก็ไม่มี รู้อยู่แล้วว่าไม่มี มีแต่สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป ทุกๆ ขณะ
ทุกคนได้ยินเหมือนกันหมดในขณะนี้ สภาพได้ยินเป็นสภาพที่มีจริง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป จะเป็นของใคร เมื่อไม่มีตัวตนเลย ขณะที่เห็น ขณะที่ได้ยิน ขณะที่ได้กลิ่น ขณะที่ลิ้มรส ขณะที่คิดนึก แล้วจะมีความสำคัญตน มีอาการถือตัว สภาพที่ถือตัว เทิดตน เชิดชูตนดุจธง ต้องการเป็นดุจธรง ได้ยังไง นี่ก็เป็นสิ่งซึ่ง ทุกท่านนี้ก็พอที่จะรู้ลักษณะ และกิจของปัญญาได้จริงๆ ว่า เป็นสภาพธรรมที่รู้ชัด แทงตลอด ในสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน แล้วก็ละคลายกิเลส ตาลำดับขั้นด้วย
ไม่ทราบในตอนนี้ท่านผู้ฟังมีข้อสงสัยอะไรบ้างไหม ไม่ทราบท่านผู้ฟังท่านอื่นยังมีข้อสงสัยไหม
ทุกๆ ขณะนี้ พยายามที่จะเข้าใจลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน แล้วก็สติเกิดรละก เพื่อที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ทีละอย่างเพิ่มขึ้น ให้ถูก ให้ตรง แม้ว่าจะเป็นการอบรมเจริญปัญญาอย่างเบาบาง เพราะเหตุว่าปัญญาไม่สามารถที่จะเจริญทันที ให้เห็นชัด แต่ว่าทุกๆ ขณะ ที่ทุกท่านกำลังฟังพระธรรม ไม่สูญหาย แล้วก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเมื่อสติเริ่มเกิดระลึก วันหนึ่งก็จะต้องเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ เมื่อเป็นนามรูปปริจเฉทญาณแล้ว ก็จะไม่เข้าใจผิดในเรื่องวิปัสสนาญาณ
ขณะใดที่ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ ก็รู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่วิปัสสนาญาณ เมื่อใดเหตุสมควรแก่ผลเมื่อไหร่ วิปัสสนาญาณขั้นต่อไป ก็ปรากฏโดยสภาพความเป็นอนัตตา ซึ่งประจักษ์ชัด โดยที่ไม้องเทียบเคียง ไม่ต้องพิจารณา เพราะเหตุว่าเป็นการแทงตลอด แต่ว่าผู้นั้นจะรู้เอง ว่าถ้าไม่อาศัยการฟังเรื่อยๆ แล้วก็การพิจารณา และการที่สติจะระลึกรู้ วิปัสสนาญาณขั้นต่อไป ก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ที่กลังผังทุกขณะ ก็คือการสะสม การอบรม เพื่อที่ผลคือนามรูปปริจเฉทญาณจะเกิดขึ้นในวันหนึ่ง และเมื่อนามรูปปริจเฉทญาณเกิดขึ้นแล้ว วิปัสสนาญาณขั้นอื่นๆ ก็จะเกิด แต่ว่าต้องอาศัยความพากเพียร เพราะเหตุว่าไม่ใช่อุคฆติตัญญูบุคคล และไม่ใช่วิปัญจิตัญญูบุคคล
ทุกคนจะรู้จักตัวเอง ตามความเป็นจรแง แล้วก็จะรู้ด้วยว่า วิปัสสนาญาณ ไม่ใช่จะเกิดขึ้นโดยง่าย หรือว่าไม่ใช่จะเกิดขึ้นโดยความต้องการ แต่จะเกิดโดยความเป็นอนัตตา ต้องเมื่อเหตุสมควรแก่ผล เพราะผู้นั้นจะต้องมีความมั่นคง ในการรู้ลักษณะที่เป็นธาตุรู้ และลักษณะที่ไม่ใช่ธาตุรู้จริงๆ โดยที่ไม่ใช่เป็นเพียงขั้นคิดนึก เพราะฉะนั้น ก็จะต้องพิจารณาชีวิตของแต่ละท่าน ในทุกชาติว่าเป็นปกติประจำวัน เพราะเหตุว่าฝืนไม่ได้
ทุกคนในที่นี้ ถ้าถามดู ก็คงอยากจะให้สติเกิด บ่อยๆ เนืองๆ แล้วก็ให้ติดต่อกันด้วย แล้วก็ให้สามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมได้ทั้ง ๖ ทวารด้วย ถามดู ก็จะต้องมีความประสงค์ มีความต้องการอย่างนี้ แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีปัญญาจริงๆ ก็จะรู้ว่า ธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาจากเหตุ เพราะฉะนั้น หนทางเดียวก็คือว่า ชีวิตประจำวันควรเป็นอย่างไร ก็คือการที่จะต้องรู้จิตตนเอง แล้วก็อบรมเจริญกุศลทุกประการ จนกว่าจะถึงปัญญาที่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้
แม้แต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นหนทางที่จะดำเนินสู่ความบริสุทธิ์ หมดจดจากกิเลส ก็เป็นชีวิตประจำวันนี้เอง คือเริ่มจากศีลนิทเทส แล้วก็สมาธินิทเทส แล้วก็ปัญญานิทเทส คือถ้าปรากศจากความเข้าใจเรื่องศีล การที่จะประพฤติปฏิบัติ ดำรงชีวิตในชาติหนึ่งๆ ก็ย่อมไม่มีทางที่จะอบรมเจริญปัญญา รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ เพราะฉะนั้น แม้แต่เรื่องของศีล ซึ่งเป็นทางประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ก็จะเป็นกาดำเนินไป พร้อมกับการอบรมเจริญปัญญา ด้วยการฟังและการประพฤติปฏิบัติ
เพราะฉะนั้น สุตมยปัญญา หรือสุตตมายญาณ ได้แก่ปัญญาที่เกิดจากการฟัง แล้วเข้าใจ นี่สำคัญที่สุด ฟังแล้วเข้าใจก่อน เมื่อฟังแล้ว เข้าใจแล้ว ขั้นต่อไป ซึ่งเกื้อกูลกัน ก็เป็นศีลมยญาณ เข้าใจอย่างไร ก็ย่อมประพฤติปฏิบัติอย่างนั้น ถ้าเข้าใจว่ากุศลเป็นอย่างไร ก็เจริญกุศลเพิ่มขึ้นๆ เพราะเหตุว่ารู้ว่าสิ่งใดเป็นกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล และเมื่อเข้าใจ เรื่องของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็เป็นภาวนามยญาณ
นี่คือชีวิตประจำวันจริงๆ ที่ต้องประกอบกันทั่ง ๓ ญาณ
จบ ปัจจัย ๒๔ ตลับที่ ๒๕
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 01
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 02
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 03
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 04
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 05
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 06
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 07
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 08
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 09
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 10
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 11
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 12
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 13
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 14
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 15
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 16
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 17
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 18
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 19
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 20
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 21
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 22
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 23
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 24
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 25
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 26
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 27
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 28
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 29
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 30
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 31
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 32
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 33
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 34
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 35
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 36
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 37
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 38
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 39
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 40
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 41
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 42
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 43
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 44
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 45
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 46
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 47
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 48
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 49
- ปัฎฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ 50