สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 028
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๒๘
วันจันทร์ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๕
อ.อรรณพ ธรรมชาติของอกุศลชแม้เล็กน้อยก็มีโทษคือนำไปสู่ที่ต่ำนำไปสู่อบาย เหมือนกับเศษหิน แม้ว่าจะเล็กน้อยอย่างไร เมื่อทิ้งลงในน้ำ ไม่มีเรือ หรือไม่มีวัตถุใดจะรองรับก็จะจมดิ่งลง เพราะฉะนั้นอกุศลกรรมแม้เล็กน้อยก็นำไปสู่ที่ต่ำคืออบายภูมิถ้าหากได้เหตุปัจจัยที่อกุศลกรรมนั้นจะให้ผลนำเกิด แต่ถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็เช่นกัน บางคนทำอกุศลกรรม ช่วยชีวิตดูว่าหนักหนาเหลือเกิน แต่กุศลกรรมที่ได้ทำไว้อาจจะเป็นกุศลกรรมใกล้ตาย หรือว่ากุศลกรรมหนึ่งกุศลกรรมใดมีโอกาสให้ผลส่งผลให้ปฏิสนธิในสุคติภูมิก็ได้ เหมือนกับเรือสามารถที่จะรองรับหินอิฐซึ่งเหมือนอกุศล ไว้ได้ถ้ากุศลกรรมนั้นให้ผล อกุศลกรรมที่ทำไว้มากดูเหมือนว่าจะไม่ให้ผล เพราะว่ากุศลกรรมนั้นค้ำจุนป้องกันต้านทานให้ไปสู่อบาย แต่อกุศลที่ทำไว้แล้วก็ไม่หายไปไหน พร้อมที่จะให้ผลได้ เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของความวิจิตรของกรรมที่จะให้ผลคือวิบากซึ่งในที่นี้ท่านอาจารย์กล่าวถึงปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นจิตขณะแรกที่ทุกคนต้องมี เมื่อย้อนไปในอดีตหลาย ๑๐ ปีที่ผ่านมา ก็จะต้องมีปฏิสนจิตแน่นอนก็ต้องเป็นผลของกุศลกรรมที่ทำไว้แล้วในอดีต
ท่านอาจารย์ ฟังมาก็น่ากลัว แต่ทุกคนจะกลัวการเกิดในอบายภูมิคือนายภูมิต่ำซึ่งเกิดในนรก หรือว่าเกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสูรกาย เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นก็ควรจะกลัวอกุศล ซึ่งเป็นเหตุที่จะให้กระทำอกุศลกรรม มิฉะนั้นแล้วเราก็คิดว่าเรากลัวแต่ผลของอกุศลกรรม แต่เราไม่คิดถึงเหตุที่จะทำให้เกิดอกุศลกรรมเลย เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะได้ทราบว่าจริงๆ แล้วเราควรจะมีปัญญามีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเหตุกับผล ถ้าเป็นอกุศลกรรมเกิดจากอกุศลผลก็คืออกุศลวิบาก คำว่าวิบากเป็นภาษาบาลี หมายความถึงผลของกรรมแต่ภาษาบาลีจริงๆ จะใช้คำว่า "วิปากะ" แต่คนไทยเราก็เรียกสั้นๆ ว่า "วิบาก" เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผลของกุศล อย่างไรก็ต้องเป็นเหตุให้กุศลวิบากเกิด และกุศลวิบากก็ไม่ใช่อื่นไกลจากจิต และเจตสิกนั่นเอง เพราะฉะนั้นเมื่อจิตเจตสิกเป็นเหตุได้กระทำแล้วดับไปแล้ว แต่การเกิดดับสืบต่อยังคงสะสมกรรมซึ่งจะทำให้เกิดวิบาก ขณะแรกของชาตินี้ก็คือปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมหนึ่งที่ได้ทำแล้ว และต่อจากนั้นก็เป็นกิจที่ ๒ คือภวังกิจ ทั้ง ๒ ขณะหรือทั้ง ๒ กิจนี้ โลกนี้ไม่ปรากฏเลย มืดยิ่งกว่ามืด ใช่ไหม ขณะนั้นไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น เช่นขณะที่นอนหลับสนิท จะไม่มีความรู้สึกตัวไม่รู้ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหนเพราะว่าขณะนั้นเป็นจิตที่ทำภวังคกิจ แต่ว่าจะเป็นภวังคกิจไปตลอดเป็นไปไม่ได้เลย กรรมจะไม่ทำให้แค่เกิด ถ้าสมมติว่าเกิดในนรกก็มีปฏิสนธิจิตขณะแรกดับไปเป็นภวังคจิตยังไม่มีการได้รับผลของกรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กายเลย นั่นจะเป็นผลของกรรมจริงๆ ไม่ได้เพียงแค่ให้เกิดแล้วก็ให้ดำรงภพชาติ เพราะฉะนั้นกรรมจะต้องให้ผลมากกว่านั้น
ในกามภูมิซึ่งเป็นสุคติภูมิ ๗ แล้วก็อบายภูมิ ๔ สุคติก็คือสวรรค์ ๖ ชั้น และมนุษย์หนึ่ง เป็นภูมิที่เป็นไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ยังเป็นภูมิขั้นต้นขั้นต่ำ ยังไม่สูงถึงขั้นรูปพรหมภูมิ หรืออรูปพรหมภูมิ เพราะฉะนั้นเราพอที่จะรู้อนาคตชาติไหมว่าเราจะเกิดที่ไหน ใน ๑๑ ภูมิ ไม่ถึงรูปพรหม และอรูปพรหม เพราะว่าเรายังมีความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะเป็นคำรวมของสิ่งที่ปรากฏทางกายได้ ๓ รูป คือ รูปที่เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว สามารถที่จะรู้ได้ทางกาย รวม ๓ รูป เป็นมหาภูตรูป ๓ ที่ปรากฏทางกายได้ก็รวมเรียกว่าโผฏฐัพพารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ทางกาย เรายังติดข้องในสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มาก เวลาที่ทำอกุศลก็เป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใช่ไหม ต้องการอะไรในชีวิต ไม่เกินนี้ มีขณะไหนสักขณะที่ไม่อยากจะได้รูปดีๆ เสียงเพราะๆ กลิ่นหอมๆ รสอร่อย สิ่งที่กระทบสัมผัสสบาย เราติดข้องอย่างมากเลย เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาที่กระทำกรรมไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรม หรืออกุศลกรรม ก็ยังเนื่องกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เพราะฉะนั้นการเกิดของเราก็จะเกิดในหนึ่งใน ๑๑ ภูมิ ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมก็เป็นมนุษย์แล้วก็เกิดในสวรรค์ ๖ ชั้น และถ้าเกิดในภูมิต่ำก็หนึ่งใน ๔ ซึ่งเรามองเห็นอยู่อย่างเดียว คือ สัตว์เดรัจฉาน ซึ่งเป็นผลของอกุศลกรรม
เวลาที่ปฏิสนธิจิตเกิดมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วก็มีรูปที่เกิดจากกรรม ทำให้เวลาที่รูปซึ่งเกิดดับ และก็มีรูปที่เกิดจากกรรมเกิดจากจิต เกิดจากอุตุ เกิดจากอาหาร เกิดสืบต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งทำให้เรามีรูปร่างหน้าตาต่างกันตามกรรมด้วย กรรมก็เป็นส่วนที่ทำให้รูปร่างหน้าตาของเราจำแนกออกไป เหมือนกับสัตว์แต่ละชนิด สัตว์แต่ละชนิดก็มีรูปร่างของสัตว์แต่ละอย่าง ทั้งๆ ที่ตอนเกิดก็คือมีปฏิสนธิจิตกับเจตสิกซึ่งมองไม่เห็น และมีกลุ่มของรูปแค่ ๓ กลุ่มถ้าเกิดในครรภ์ กรรมชรูปคือรูปซึ่งเกิดจากกรรม จำแนกให้เป็นสัตว์ประเภทต่างๆ รูปร่างต่างๆ แม้เป็นมนุษย์ก็ยังมีรูปร่างหน้าตาต่างกัน และเวลาที่กรรมอื่นซึ่งไม่ใช่กรรมที่ทำให้เกิดแต่ก็ตามอุปถัมภ์หรือเบียดเบียนได้ เพราะฉะนั้นในชีวิตของเราที่เกิดมาแล้ว เมื่อศึกษาเข้าใจแล้วจะรู้ว่าไม่พ้นจากกรรม และไม่พ้นจากผลของกรรมที่ได้กระทำมาแล้วด้วย เพราะว่าหลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับไปภวังคจิตเกิดสืบต่อ ถึงกาละที่จะต้องรับผลของกรรมก็จะทำให้มีการเห็น มีการได้ยิน มีการได้กลิ่น มีการลิ้มรส มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส วันนี้ทั้งวันก็เป็นอย่างนี้ คือเห็น ขณะใดถ้าเข้าใจธรรมก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นจิตที่เป็นผลของกรรมทำให้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ต่างๆ เวลาที่ได้ยินเสียงก็เป็นผลของกรรม เวลาที่ถูกประทุษร้ายเป็นผลของกรรมหรือเปล่า เป็นผลของกรรมแน่นอน เพราะเหตุว่าถ้าไม่ใช่กาละที่กรรมจะให้ผล สิ่งนั้นก็เกิดขึ้นไม่ได้ แต่ถึงกาละที่กรรมจะให้ผล ใครก็จะไปเปลี่ยนแปลงกาละที่กรรมนั้นจะให้ผล จะเป็นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางหนึ่งทางใดไม่ได้เลย ต้องเป็นไปตามกรรม เพราะฉะนั้นก็เท่านี้เอง เกิดมาเพราะกรรมแล้วก็เป็นผลของกรรม แต่ว่าหลังจากที่เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ก็จะเป็นเหตุใหม่คือกิเลสเริ่มเกิดขึ้นที่จะเป็นสังสารวัฏฏ์ต่อไป คือมีความโลภ หรือความโกรธ หรือความหลงเป็นกุศลบ้างเป็นอกุศลบ้างเกิดกระทำกรรมต่อไปอีก ก็จะวนเวียนอยู่ในกิเลสเป็นเหตุให้กระทำกรรม กรรมเป็นปัจจัยให้เกิดวิบาก เมื่อวิบากเกิดก็ยังไม่สิ้นกิเลส ยังมีกิเลสอยู่ เพราะว่ากิเลสยังไม่ดับ เพราะฉะนั้นก็จะเป็นอย่างนี้ไปทุกชาติ
ผู้ฟัง ขอคำอธิบายว่าภวังคมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่
ท่านอาจารย์ เจตสิกที่กล่าวไปแล้ว ก็มีเวทนาเจตสิกเป็นสภาพความรู้สึกซึ่งต้องเกิดกับจิตทุกขณะ ผัสสะเจตสิก ขณะนี้ผัสสะเกิดไม่เว้นเลย ผัสสะเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ เวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ เพราะฉะนั้นก็มีจิต และเจตสิกซึ่งเกิดขึ้นทำกิจการงานร่วมกัน ขณะที่นอนหลับสนิทมีผัสสะเจตสิกไหม ผัสสะคือเจตสิกซึ่งกระทบอารมณ์ ผัสสะเจตสิกกระทบอารมณ์อะไรจิต และเจตสิกทั้งหมดที่เกิดร่วมกันก็รู้อารมณ์นั้น เปลี่ยนหรือแยกอารมณ์ไม่ได้ จิตที่ไม่ใช่วิถีจิตคือไม่ได้เกิดขึ้นเป็นไปรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะมี ๓ กิจ คือ ๑ ขณะปฏิสนธิทำปฏิสนธิกิจ ขณะนั้นไม่ใช่วิถีจิต ไม่ได้อาศัยทวารหนึ่งทวารใด ทางหนึ่งทางใดเกิดขึ้นเป็นไปในอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ๑ ขณะแล้วที่ไม่ใช่วิถีจิต กิจต่อไปคือภวังคกิจก็ไม่ใช่วิถีจิต และอีกขณะหนึ่งคือขณะสุดท้ายของชาตินี้คือจุติจิตก็ไม่ใช่วิถีจิต
เพราะฉะนั้นถ้าจะแบ่งจิตประเภทต่างๆ ซึ่งหลากหลายมากตั้งแต่เกิดจนตาย มีจิตนับไม่ถ้วนหลายชนิด เดี๋ยวเป็นกุศล เดี๋ยวเป็นอกุศล เดี๋ยวเป็นวิบากทั้งหลาย ก็แบ่งได้อีกอย่างหนึ่งคือแบ่งจิตเป็น ๒ ประเภทใหญ่คือจิตที่เป็นวิถีจิตกับจิตที่ไม่เป็นวิถีจิต ถ้าเป็นวิถีจิต ต้องรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด จะทางตาขณะนี้ก็เป็นวิถีจิตไม่ใช่ภวังค์ ขณะที่เห็นไม่ใช่ภวังค์ ขณะที่ได้ยินก็ไม่ใช่ภวังค์ ขณะที่ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก เหล่านี้ไม่ใช่ภวังจิต
ผู้ฟัง จิตที่ไม่ใช่วิถีนี้จะมีเจตสิกเกิดด้วยหรือ
ท่านอาจารย์ ต้องตายตัว คือเปลี่ยนแปลงไม่ได้คือจิตจะเกิดที่ไหนต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง มีเท่าไหร่
ท่านอาจารย์ เจตสิกมีทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท แต่กล่าวถึงพอให้ทราบว่าไม่ใช่จิตแต่เป็นเจตสิก ความหยาบกระด้างความโกรธความขุ่นใจเป็นจิตหรือเจตสิก
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ ถ้าเราจะกล่าวถึงเรื่องเจตสิกแล้วจะกล่าวถึงเจตสิกซึ่งไม่ปรากฏรู้ไม่ได้ก่อนก็ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้เพียงแต่จำชื่อ แต่อย่างความรู้สึกทุกคนมี สัตว์เดรัจฉานมีความรู้สึกไหม นก แมว ช้างขณะใดที่จิตเกิด ผัสสะเจตสิกเป็นเจตสิกที่กระทบอารมณ์ใด จิตรู้อารมณ์นั้น และเจตสิกทั้งหมดที่เกิดร่วมกับจิตนั้นก็รู้อารมณ์เดียวกันแยกกันไม่ได้เลย เพราะว่าเจตสิกเป็นสภาพที่เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิตเกิดที่รูป เพราะฉะนั้นเจตสิก และจิตเกิดที่รูปเดียวกัน ดับที่รูปเดียวกันด้วย
วันหนึ่งๆ ถ้าอยากจะทราบว่ามีเจตสิกอะไรบ้าง รู้เองได้ไหม ผัสสะเจตสิกเมื่อครู่เป็นสภาพธรรมหนึ่งซึ่งต้องกระทบอารมณ์ทุกครั้ง ผัสสะเจตสิกเกิดไม่หยุดเลยเช่นเดียวกับจิต จิตเกิดดับไม่หยุดฉันใด เกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ ผัสสะเพราะกระทบอารมณ์อยู่เรื่อยๆ ทุกขณะที่จิตเกิด เนิ่นนานมาแล้ว ถ้าเป็นคนก็คงจะเหนื่อย ไม่เคยหยุดเลย คงจะต้องหลับคงจะต้องทำอะไร แต่นี่เป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดขึ้นทำหน้าที่ตามเหตุตามปัจจัย ซึ่งใครก็จะบังคับบัญชาไม่ได้เลย เมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะเกิดเพราะจิตเกิดเจตสิกทั้งหลายต้องเกิดด้วย ผัสสะเป็นเจตสิกที่กระทบอารมณ์ใด จิต และเจตสิกที่เกิดร่วมกันก็รู้อารมณ์นั้น เมื่อผัสสะกระทบจิตเกิดจะไม่ให้มีความรู้สึกในอารมณ์ที่ปรากฏได้หรือไม่ ขณะนี้รู้สึกอย่างไร
ผู้ฟัง อุเบกขา
ท่านอาจารย์ เฉยๆ อย่างไรก็ต้องตอบ จะเฉยๆ จะดีใจหรือว่าจะเสียใจหรือว่าจะสุขหรือจะทุกข์ก็ต้องตอบ เพราะว่าต้องมี ถ้าบอกว่าเฉยๆ ก็เฉยๆ เป็นเวทนาเจตสิก ถ้าบอกว่าไม่สบายรู้สึกจะเมื่อยขณะนั้นก็เป็นเวทนาเจตสิก ถ้าขณะที่รู้สึกขุ่นใจ ไม่ชอบความรู้สึกขุ่นใจ เป็นทุกมนัสหรือโทมนัส หมายความว่าขณะนั้นจิตเสียไม่เหมือนปกติ ขณะนั้นก็เป็นความไม่สบายใจก็ต้องเป็นความรู้สึก เพราะฉะนั้นจะพ้นจากความรู้สึกได้ไหม ไม่ได้ เรื่องไม่รู้เป็นเรื่องหนึ่ง เรื่องศึกษาตามความเป็นจริงที่มีผู้รู้ที่ตรัสรู้เป็นเรื่องที่เราจะค่อยๆ พิสูจน์ได้ แม้แต่ขณะนี้จะถามว่ารู้สึกอย่างไร ตอบว่าเฉยๆ ก็เป็นลักษณะของความรู้สึกแล้วเป็นเวทนาเจตสิก เพราะฉะนั้นจะกล่าวว่าจิตเกิดขึ้น และไม่มีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยเป็นไปไม่ได้ ขณะนี้พูดมา ๒ เจตสิกแล้วใช่ไหม คือผัสสะกับเวทนา จะมีเจตสิกอะไรอีกไหมวันนี้ทั้งวัน จะมีเพียง ๒ เจตสิกไม่ได้ ต้องมีมากกว่านั้น สัญญาเจตสิก ขอทบทวนตอนต้นๆ ที่เคยกล่าวถึง สัญญาเจตสิกเป็นสภาพจำหมายรู้สิ่งที่ปรากฏ ที่จำทุกสิ่งทุกอย่างได้ ไม่ใช่จิตจำ จิตนี้ไม่ทำอะไรเลยนอกจากเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ และก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยทำหน้าที่ของเจตสิกนั้นๆ ตามลักษณะของเจตสิกนั้นๆ โดยจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน. เพราะเหตุว่าถ้าจิตไม่รู้แจ้งอารมณ์ เจตสิกนั้นจะกระทำหน้าที่ของเจตสิกนั้นได้ไหมเช่น จะจำ จำอะไรถ้าขณะนั้นจิตไม่รู้แจ้ง แม้ว่าสัญญาเจตสิกก็รู้อารมณ์ แต่รู้โดยจำ แม้แต่นามธรรม ๒ อย่างคือจิต และเจตสิก ก็ไม่มีใครที่สามารถที่จะกล่าวถึงลักษณะที่แท้จริงได้ถ้าไม่ใช่การตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คงไม่มีใครสงสัยเรื่องจิตกับเจตสิก ซึ่งเจตสิกวันนี้มี ๓ คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา คงจะมีผู้ที่อยากทราบว่ามีเจตสิกเท่าไหร่ ก็คงจะไม่กล่าวทั้งหมด ๕๒ เพราะว่าเราก็คงจะกล่าวถึงตามลำดับเพราะว่าลำดับแรกก็จะเป็นการกล่าวเรื่องของจิตก่อน ขอเชิญอ.อรรณพพูดถึงเจตสิกอื่นที่พอจะรู้ได้ในชีวิตประจำวันด้วย
อ.อรรณพ เจตสิกมีถึง ๕๒ ประเภท แต่เจตสิกที่เกิดขึ้นบางเจตสิกก็มีความละเอียดมาก จนไม่มีโอกาสที่จะรู้ลักษณะของเจตสิกนั้นๆ อย่างเช่นผัสสเจตสิกเป็นสภาพที่กระทบกับอารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ แล้วก็ชักนำมาซึ่งการรู้อารมณ์ของสภาพธรรมที่เกิดประกอบกันในขณะนั้น เราไม่มีโอกาสที่จะรู้ได้เลยในระดับของปัญญาเล็กน้อยที่ยังไม่ได้อบรมให้เจริญ ถ้าเป็นตามที่ท่านอาจารย์กล่าวไปแล้วอย่างเช่นสภาพของความรู้สึก แม้ว่าเราจะยังไม่ได้รู้โดยลักษณะโดยสภาพของความรู้สึกนั้นว่าเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แต่ว่าเราพอที่จะตรึกนึกคิดเทียบเคียงได้ว่าสภาพของเวทนา คือ ความรู้สึกต้องมี เพราะทุกคนเคยเก็บปวด ดีใจเสียใจ หรือแม้กระทั่งเฉยๆ ฉะนั้นเราพอจะเทียบเคียงได้แต่ไม่ใช่ด้วยการที่รู้ในลักษณะของเวทนานั้น แต่เวทนาเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ อาจจะเข้าใจยาก จริงๆ ก็เป็นสภาพที่รู้สึกซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถที่จะรู้ได้สำหรับผู้ที่อบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ในลักษณะของเวทนาที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ซึ่งในขณะที่มีการระลึกรู้ลักษณะของเวทนาขณะนั้นก็รู้ว่าเป็นเพียงสภาพธรรม ก็ไถ่ถอนความเคยยึดว่าเป็นเราที่เจ็บเป็นเราที่ปวด ย้อนไปเมื่อตอนต้นรายการ ที่ท่านอาจารย์ได้สนทนาความต่างของนามธรรม รูปธรรม ถ้าเราไม่มีโอกาสได้ฟังพระธรรมตรงนี้เลย เราจะคิดว่าเจ็บขาใช่ไหม มือเราเจ็บ แต่จริงๆ แล้วขามือต่างๆ ก็ประกอบด้วยรูป ซึ่งรูปเป็นสภาพที่ไม่รู้อารมณ์ เพราะฉะนั้นขา และมือนี่จะเจ็บไม่ได้แต่ต้องมีสภาพของนามธรรมอย่างหนึ่ง คือเวทนาที่เกิดประกอบกับจิตในขณะนั้น จิตในขณะนั้นอาจจะเป็นจิตที่เป็นโทสะมูลจิต คือจิตที่เป็นสภาพที่ขุ่นข้องด้วยความเจ็บปวดที่มีเวทนานั้นประกอบ เวทนาเป็นใหญ่ในการรู้สึก เจตสิกที่สำคัญที่จะทำให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงก็คือปัญญาเจตสิก ปัญญาเจตสิกก็มีหลายระดับ เมื่อปัญญาอบรมเจริญขึ้นก็รู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมรูปธรรม แล้วค่อยๆ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์คือจิตแล้วก็เจตสิกแต่ละชนิดๆ ตามสมควรกับปัญญาในระดับนั้นๆ
อ.สุภีร์ เจตสิกนั้นมีกำลังก็สามารถรู้ได้ในชีวิตประจำวัน ทุกท่านคงเคยต้องการสิ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่งใช่ไหม ความอยากได้นั้นเป็นลักษณะของเจตสิกชนิดหนึ่งเรียกว่าโลภเจตสิก เป็นความต้องการหรือติดข้องในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บางครั้งก็มีสิ่งของที่เราไม่ได้ติด ก็คือสามารถที่จะให้คนอื่นได้ หรือว่าเสื้อผ้าอาจจะเก่าไปหน่อยไม่ติดแล้วสามารถให้คนอื่นได้ การไม่ติดอย่างนั้นก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่งเรียกว่าอโลภเจตสิก เคยโกรธไหม ถ้าโกรธก็เป็นเจตสิกประเภทหนึ่งเรียกว่าโทสเจตสิก โดยในทางตรงกันข้ามกับความโกรธมีความรู้สึกเป็นมิตรกับบุคคลอื่นๆ เวลาเดินไปบนถนนก็ตามหรือว่าที่ไหนก็ตามพร้อมที่จะช่วยเหลือ นี่ก็เป็นเจตสิกเช่นเดียวกัน เราอาจจะคุ้นชื่อว่าเมตตาใช่ไหมแต่ว่าก็เป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่าอโทสเจตสิก ทุกท่านเดินไปบนถนนอาจมีขอทานอยู่บนสะพานลอย สามารถที่จะให้อะไรได้อันนี้เป็นเจตสิกอีกเช่นเดียวกันที่สามารถมีกำลังให้ทำเช่นนี้ได้ ไม่ใช่เราที่ทำ เป็นกำลังของกรุณาเจตสิก อย่างนี้ก็พอจะทราบได้ไหม บางท่านก็อาจจะทำบ่อย บางท่านก็อาจจะนานๆ ทีก็ได้ ก็เห็นว่าในชีวิตประจำวันเราก็คงจะเคยเดินไปบนถนนอาจจะมีความรู้สึกเป็นมิตรกับคนอื่น อย่างนี้ก็เป็นเจตสิกนั่นเอง อาจจะให้อะไรใครนี้ก็เป็นกำลังของเจตสิกนั่นเอง ทุกท่านเวลาอยู่ในที่ทำงานเราอาจจะมีความรู้มากพอสมควร เคยมีมานะไหมว่าตัวเองรู้สึกว่าจะเด่นกว่าคนอื่น รู้สึกว่าว่าจะเก่งกว่าคนอื่นนี่ก็เป็นเจตสิก ไม่ใช่เรา เป็นเจตสิกฝ่ายที่ไม่ดีเรียกว่ามานะเจตสิก คือเป็นความรู้สึกที่เหมือนกับว่าตัวเองมีความรู้มากกว่าคนอื่น มีความดีมากกว่าคนอื่น คนอื่นรู้สึกจะด้อยกว่ามีการเปรียบเทียบอย่างนี้เป็นต้น หรือว่ามีการเปรียบเทียบอะไรเล็กๆ น้อยๆ เสื้อผ้าสวยกว่าอะไรอย่างนี้ เป็นลักษณะของมานะเจตสิก ที่เกิดขึ้นทำหน้าที่ ช่วงนี้เป็นการขึ้นเงินเดือนสำหรับบุคคลที่ทำงานกินเงินเดือนธรรมดา ถ้าเพื่อนร่วมงานได้เงินเดือนขึ้นดีใจกับเขาไหม ถ้าดีใจกับเขาก็เป็นเจตสิกนั่นเองที่กระทำหน้าที่ ก็เป็นมุทิตาเจตสิก ยินดีกับคนอื่น ถ้าไม่ยินดีกับเขา รู้สึกริษยาเขาก็เป็นเจตสิกนั่นเอง เป็นอิสสาเจตสิก
ฉะนั้นในชีวิตประจำวันนี้ก็มีจิตเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ และเจตสิกก็รู้อารมณ์เดียวกับจิตนั้นแต่ว่ากระทำกิจการงานแตกต่างไปจากจิต นี้ก็กล่าวชื่อของเจตสิกหลายเจตสิกด้วยกัน ในชีวิตประจำวันซึ่งจริงๆ มี ๕๒ ประเภท ในที่นี้ก็กล่าวเพียงเท่านี้ก่อน
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 001
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 002
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 003
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 004
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 005
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 006
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 007
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 008
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 009
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 010
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 011
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 012
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 013
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 014
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 015
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 016
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 017
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 018
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 019
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 020
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 021
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 022
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 023
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 024
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 025
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 026
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 027
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 028
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 029
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 030
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 031
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 032
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 033
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 034
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 035
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 036
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 037
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 038
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 039
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 040
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 041
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 042
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 043
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 044
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 045
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 046
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 047
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 048
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 049
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 050
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 051
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 052
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 053
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 054
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 055
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 056
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 057
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 058
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 059
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 060