สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 030
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๓๐
วันจันทร์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ วันนี้ก็เป็นการศึกษาเรื่องของจิต เพราะว่าเรื่องของจิต อยางไรๆ ก็ไม่จบ เพราะว่าเป็นชีวิตจริงๆ ถ้าขณะใดที่ไม่มีจิตขณะนั้นก็คงจะต้องไม่มีเรื่องที่เราจะต้องกระทำอีกต่อไป สำหรับวันนี้ก็จะขอกล่าวถึงเรื่องกิจของจิตเพราะว่าขณะที่เราคิดว่าเราเห็น หรือเราทำอะไรต่างๆ ทุกวันทุกๆ ขณะ ความจริงก็คือจิตเกิดขึ้นแล้วทำกิจ ซึ่งกิจทั้งหมดของจิต มี ๑๔ กิจ ก็ไม่มากเลย เราคิดว่าเราทำโน่นทำนี่ทั้งวัน อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง แต่ว่าความจริงก็คือจิตเกิดขึ้นทำหนึ่งกิจใน ๑๔ กิจ สำหรับกิจแรกก็เป็นกิจที่สำคัญมาก เพราะเหตุว่าเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต จิตขณะแรกของชาตินี้ก็คือปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นจิตที่เกิดสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน ไม่มีการสิ้นสุดเลย จิตเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่สิ้นสุดในสังสารวัฎ แม้แต่จิตขณะสุดท้ายของชาติก่อน เมื่อยังมีปัจจัยที่จะทำให้เกิดขึ้นเพราะว่ายังไม่ใช่พระอรหันต์ก็จะต้องมีปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อไม่สิ้นสุด เพราะฉะนั้นชาตินี้ของเราที่เกิดก็เพื่อที่จะถึงจุติจิต ขณะจิตสุดท้ายซึ่งเมื่อดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยให้กรรมหนึ่งทำให้จิตเกิดขึ้นสืบต่อเป็นบุคคลใหม่ในชาติต่อไป เช่นเดียวกับชาตินี้เราก็เป็นบุคคลใหม่จากชาติก่อนซึ่งเราจะเคยเป็นใครอยู่ที่ไหนก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลย แต่ว่าเราสามารถที่จะรู้อดีตชาติก็คือในขณะนี้เองกำลังเป็นอดีตชาติของชาติหน้า
เพราะฉะนั้นเรากำลังอยู่ที่นี่ กำลังฟังพระธรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในชาติก่อนสำหรับชาติหน้าซึ่งเราสามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะนี้เป็นกุศลจิต และกำลังได้ฟังเรื่องของจิตซึ่งทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจคำของพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ว่าเป็นอนัตตา ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้ต้องเป็นอย่างนี้ มีการเกิดของจิตพร้อมเจตสิกพร้อมรูป และก็ดับไปทุกขณะสืบต่อไปเรื่อยๆ ปฏิสนธิจิตเป็นจิตที่มีความสำคัญ เพราะเหตุว่าเริ่มต้นของชาติของแต่ละชาติไป
สำหรับชาตินี้การที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นของแต่ละคนวิจิตรมากเพราะว่าไม่เหมือนกันเลย แม้ว่าเราจะเกิดเป็นมนุษย์ แล้วก็อยู่ในโลกเดียวกัน เห็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าการสะสมสืบต่อมาจนกระทั่งปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้จะประมวลทุกอย่างในชาตินี้ เริ่มจากการที่เมื่อมีชีวิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะ และก็ยังไม่สามารถที่จะรู้ว่าเราเป็นใครอยู่ที่ไหน แต่ต่อไปๆ ชีวิตก็จะเริ่มพัฒนาจนกระทั่งมีการเห็นมีการได้ยิน มีการได้กลิ่น มีการลิ้มรส มีการคิดนึกทุกอย่างในชีวิตประจำวันในวันนี้ และทุกๆ วัน เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะได้ทราบ ว่าเราไม่สามารถที่จะเลือกปฏิสนธิจิตได้เลย แต่ว่ากรรมที่เป็นกุศลก็จะทำให้กุศลวิบากทำกิจปฏิสนธิ ที่เห็นก็คือในชาตินี้ ที่เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผลของกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว และกุศลกรรมที่แต่ละคนทำมานี่ต่างกัน ความประณีตของจิตในขณะที่ทำกุศล ความเพียรในขณะที่ทำกุศล วิริยะคือความเพียรในขณะที่ทำกุศล ศรัทธาในขณะที่ทางกุศลก็ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นเราก็จะเกิดมาเหมือนกันไม่ได้ ทุกภพทุกชาติก็จะต้องเป็นไปตามปัจจัยที่ได้สะสมมา
สำหรับปฏิสนธิจิตเป็นกิจแรก ขณะนั้นก็เกิดเพราะกรรม จิตที่ทำกิจปฏิสนธิเป็นวิบากจิต คำว่าวิบากในภาษาธรรมหมายความถึงจิตที่เป็นผลของกรรมซึ่งรวมเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นเวลาพูดถึงจิตก็จะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง จิตเป็นกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมก็เป็นกุศล เมื่อจิตเป็นวิบากคือเป็นผลของกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทั้งหมดที่เกิดพร้อมกันก็เป็นวิบาก เพราะฉะนั้นจิตที่ทำกิจปฏิสนธิ กิจแรกกิจที่หนึ่ง คือปฏิสนธิกิจ เป็นวิบากจิต เพราะว่าขณะเกิด ไม่มีใครทำกุศล และอกุศลเลย แต่กุศล และอกุศลที่ได้ทำแล้ว ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมก็ทำให้กุศลวิบากปฏิสนธิในสุคติภูมิ ถ้าเป็นผลของอกุศลก็ทำให้วิบากจิตปฏิสนธิในอบายภูมิ เป็นความต่างกันของกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิต่างกัน เมื่อปฏิสนธิเกิดไม่ว่าจะในภพภูมิไหนๆ ทั้งสิ้น ไม่มีการรู้อารมณ์ใดๆ โลกนั้นไม่ปรากฏ ถ้าเกิดในนรกก็ยังไม่ปรากฏที่จะได้รับผลของกรรมทางกาย ถ้าเกิดเป็นเปรตก็ยังไม่มีการที่จะต้องทนทุกข์ทรมานด้วยความหิว หรือว่าเกิดเป็นมนุษย์ขณะแรกที่ปฏิสนธิจิตเกิดก็เป็นขณะที่โลกนี้ยังไม่ปรากฏเลยเพราะเหตุว่าไม่มีการรู้อารมณ์ทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ซึ่งต้องเป็นกิจอื่นๆ ของจิต ซึ่งจะตามมาภายหลัง แต่ว่าปฏิสนธิจิต ขณะที่ทำกิจปฏิสนธิเพียงทำกิจสืบต่อจากอดีตชาติภพชาติที่ผ่านมาจากจุติจิตของชาติก่อน เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้วกรรมก็ทำให้จิตเกิดสืบต่อเป็นวิบากจิตประเภทเดียวกัน เพราะว่าการให้ผลของกรรม ไม่ใช่ให้ผลเพียงขณะเดียว ให้ผลตั้งแต่เกิดแล้วก็ต่อไปจนกระทั่งแม้ในวันนี้ก็เป็นผลของกรรมครึ่งหนึ่ง ซึ่งต่อไปก็คงจะทราบว่าขณะไหนบ้างที่เป็นผลของกรรม เมื่อปฏิสนธิจิตดับแล้วกรรมก็ทำให้วิบากจิตเกิดสืบต่อเป็นวิบากประเภทเดียวกัน เพราะว่าเป็นผลของกรรมประเภทเดียวกัน และกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจะทำให้วิบากจิตประเภทเดียวกันเกิดสืบต่อดำรงภพชาติไปจนกว่าจะถึงจิตขณะสุดท้ายคือจุติจิต ทำกิจเคลื่อนพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ แต่ระหว่างที่ยังไม่ตาย จิตยังไม่ได้เกิดขึ้นทำจุติกิจ ก็จะต้องมีภวังค์คือจิตเกิดสืบต่อดำรงภพชาติ ขณะที่เป็นภวังค์ คือขณะที่โลกนี้ก็ไม่ปรากฏเหมือนขณะเดียวกับปฏิสนธิ เป็นจิตประเภทเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกัน แต่ทำกิจต่างกัน แม้ว่าเป็นผลของกรรมเดียวกัน เพียงเกิดต่างขณะ คือขณะแรกที่เกิดทำปฏิสนธิกิจ แต่ขณะที่ ๒ ไม่ได้ทำปฏิสนธิกิจแล้ว เพราะเหตุว่าได้ทำปฏิสนธิกิจสืบต่อจากภพก่อน เพราะฉะนั้นเวลาที่ปฏิสนธิจิต แม้ว่าจะเป็นจิตประเภทเดียวกันแต่ก็ทำกิจต่างกัน คือไม่ได้ทำกิจปฏิสนธิอีกเลยในชาตินั้น แต่ทำกิจภวังค์ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น ซึ่งในขณะที่เป็นภวังคจิต จิตทุกดวงทุกประเภทต้องมีอารมณ์เพราะเหตุว่าจิตเป็นสภาพรู้ ปฏิสนธิจิตก็มีอารมณ์แต่ไม่ปรากฏ เช่น ในขณะที่นอนหลับสนิทไม่มีใครรู้ว่าขณะนั้นรู้อะไร ไม่มีความรู้ใดๆ ทั้งสิ้น แต่จิตก็มี และจิตก็เกิดดับแล้วก็รู้อารมณ์ ภวังคจิตก็เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นในขณะที่เห็น ไม่ใช่ภวังคจิต ต้องทราบว่าจิตที่ทำปฏิสนธิกิจ และจิตที่ทำภวังคกิจไม่มีอารมณ์ของโลกนี้เลย แต่ว่ามีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จะจุติของชาติก่อนซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้เพราะว่าเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ เปลี่ยนจากบุคคลในชาติก่อน จึงไม่สามารถที่จะจำเรื่องราวความเป็นบุคคลในชาติก่อนได้เลย ถ้าจะรู้ก็รู้เพียงชาตินี้เราเกิดมาเป็นใครอยู่ที่ไหนทำอะไรก็เป็นโลกใหม่ ตามกิจหน้าที่ของจิต เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้วภวังคจิตเกิดสืบต่อ เราก็จะไม่พูดถึงว่าภพภูมิไหนไม่ว่าจะเป็นนรกเกิดมาเป็นตัวทันที เป็นโอปปาติกะกำเนิด หรือว่าเป็นเทพเป็นพรหมณ์ซึ่งก็เกิดมาก็รูปร่างสมบูรณ์ทันที หรือเกิดในไข่ หรือเกิดในครรภ์ เช่นมนุษย์ ก็จะไม่กล่าวถึงเพราะว่ากำลังจะกล่าวถึงเฉพาะกิจหน้าที่ของจิตซึ่ง กิจที่หนึ่งคือปฏิสนธิกิจ กิจที่ ๒ คือภวังคกิจ โลกไม่ปรากฏ ต่อไปกิจที่ ๓ คืออาวัชชนกิจ
อ.สุภีร์ ก่อนจะถึงอาวัชชนกิจก็ขอกล่าวถึงวิถีจิตก่อนเล็กน้อย เพราะเหตุไรจึงต้องกล่าวถึงวิถีจิตก่อน เพราะเหตุว่าการที่โลกนี้จะปรากฏว่าเป็นใครเป็นสิ่งใด ได้ยินเสียง เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาหรือกระทบสิ่งที่สัมผัสได้ทางกายเหล่านี้ ทั้งหมดนี้เป็นวิถีจิต คำว่าวิถีจิตนี้หมายถึงจิตที่ไม่ใช่ปฏิสนธิจิตภวังคจิต และจุติจิต ซึ่งหน้าที่การงานของจิตมีอยู่ ๑๔ อย่าง และท่านอาจารย์ได้กล่าวไปแล้ว๒ อย่าง ซึ่งมีจิตที่ทำกิจอยู่ ๓ กิจด้วยกันที่ไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้เลย คือปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และจุติกิจ ส่วนนอกจากนั้นแล้ว ๑๑ กิจของจิตทำหน้าที่รู้อารมณ์ของโลกนี้ ซึ่งเกิดในขณะที่เป็นวิถีจิต
ฉะนั้นคำว่าวิถีจิตก็คือจิตที่ไม่ใช่ปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ แต่เป็นจิตที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ของโลกนี้ ทำให้รู้ว่ามีสิ่งใดปรากฏทางตา ได้ยินเสียงทางหู แล้วก็คิดเรื่องราวต่างๆ มากมายเป็นคนนั้นคนนี้ แล้วก็เป็นบ้าน เป็นรถ เป็นอะไรต่างๆ ทำให้รู้ว่ามีเราอยู่ในโลกนี้ ฉะนั้นถ้าเราไปเกิดในภพภูมิอื่นก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่รู้ว่าเป็นอะไร เพราะเหตุว่าเมื่อวิถีจิตเกิดก็จะมีเห็น มีได้ยิน แล้วก็คิดนึกเรื่องราวต่างๆ ในภูมินั้นเหมือนกับในขณะนี้นั่นเอง ฉะนั้นเมื่อโลกนี้ปรากฏแสดงว่าเป็นวิถีจิตเพราะเหตุว่าถ้าไม่ใช่วิถีจิต จิตทำกิจ ๓ อย่างที่ไม่ใช่วิถีจิตก็คือปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ โลกนี้ไม่ปรากฏเลย ส่วนขณะที่จิตทำกิจ ๑๑ กิจนอกจากนั้นโลกนี้ปรากฏ รู้อารมณ์ของโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นทางหูบ้าง ทางตาบ้าง ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายหรือว่าทางใจคิดนึก วิถีจิตก็คือการที่จะรู้อารมณ์ของโลกนี้รู้ได้ ๖ ทาง เรียกว่าทวาร ทุกท่านก็คงจะคุ้นเคยกันดี คำว่าทวารก็คือทางที่จะรู้อารมณ์ของโลกนี้ มีอยู่ ๖ ทวารด้วยกัน ก็คือทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ
ฉะนั้นจิตที่ทำกิจทั้ง ๓ กิจ ก็คือ ปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ ไม่อาศัยทวารเลย ไม่มีทวาร ถ้าเกิดมีทวารก็เป็นวิถีจิต และสามารถรู้อารมณ์ของโลกนี้ได้ ฉะนั้นทางที่จะรู้อารมณ์ของโลกนี้เรียกว่าทวาร มีอยู่ ๖ ทวารด้วยกัน มีอยู่ ๖ ทางก็คือ ทางตาทางหนึ่ง ทางหูทางหนึ่ง ทางจมูกทางหนึ่ง ทางลิ้นทางหนึ่ง ทางกายทางหนึ่ง และทางใจที่คิดนึกอีกทางหนึ่ง โลกนี้จะปรากฏตามทางต่างๆ ใน ๖ ทางนี้ ซึ่งการเรียกวิถีจิตทั้ง ๖ ทางก็เรียกตามทวารต่างๆ ถ้าวิถีจิตที่เกิดทางตาก็เรียกว่าจักขุทวารวิถีจิต วิถีจิตทราบแล้วใช่ไหมทวารก็คือทางที่จะรู้อารมณ์ จักขุก็คือทางตาใช่ไหม จักขุทวารวิถีจิต ถ้าเป็นจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหูก็เป็นโสตทวารวิถีจิต ถ้าเป็นจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางจมูกก็เรียกว่าฆานทวารวิถีจิต ถ้าเป็นจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางลิ้น การลิ้มรสทางลิ้นก็เป็นชิวหาทวารวิถีจิต ถ้าเป็นจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางกายก็เป็นกายทวารวิถีจิต ถ้าเป็นจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางใจก็เรียกว่ามโนทวารวิถีจิต ฉะนั้นทวารวิถีจิตที่จะเป็นทางให้รู้อารมณ์ของโลกนี้มี ๖ ทางด้วยกันก็คือ ๑ จักขุทวารวิถีจิต ๒ โสตทวารวิถีจิต ๓ ฆานทวารวิถีจิต ๔ ชิวหาทวารวิถีจิต ๕ กายทวารวิถีจิต และ ๖ มโนทวารวิถีจิต ซึ่งเมื่อโลกนี้ปรากฏก็จะอยู่ใน ๖ วิถีจิตนี้ แล้วแต่ว่าทวารไหนเป็นทางรู้อารมณ์
ท่านอาจารย์ ก็คงจะต้องกล่าวถึงทวารด้วยว่าทวารคืออะไร เพราะว่าเมื่อครู่นี้เราก็กล่าวว่าทวารเป็นทางที่จิตจะรู้อารมณ์อื่นซึ่งไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์เพราะเหตุว่าปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ มีอารมณ์เดียวกับชาติก่อนซึ่งเราไม่สามารถที่จะรู้ได้ ไม่ใช่อารมณ์ของโลกนี้ เพราะฉะนั้นถ้าทวารนี้มี ๖ จริง แต่ ๕ ทวารเป็นรูป ๑ ทวารเป็นนาม เพราะเหตุว่าสภาพธรรมคือจิตเจตสิกเป็นนามธรรมไม่มีรูปร่างใดๆ เจือปนเลยทั้งสิ้น เป็นสภาพที่สามารถที่จะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ในขณะนั้น ส่วนรูปก็มีแต่รูปไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย เพราะฉะนั้นถ้ามีแต่นามธรรมล้วนๆ ไม่มีรูปเลยการเห็นก็มีไม่ได้ จะได้ยินก็ไม่ได้ จะได้กลิ่นก็ไม่ได้ จะลิ้มรสก็ไม่ได้ ไม่มีกายก็ไม่สามารถที่จะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีทั้งนามธรรม และรูปธรรม ทั้ง๒ อย่างเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย ในภพภูมิที่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะคือสิ่งที่สามารถรู้ได้ทางกาย จะต้องมีทั้งนามธรรม และรูปธรรมสำหรับสัตว์บุคคล ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็เป็นแต่เพียงรูปธรรมไม่มีนามธรรมใดๆ เลย แต่ถ้ามีนามธรรมในภพภูมินี้ต้องมีรูปหรือว่าอาศัยรูปหรือเกิดพร้อมกับรูป เช่น ในขณะปฏิสนธิ กรรมก็ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดพร้อมกับเจตสิกซึ่งเป็นวิบาก เป็นผลของกรรม และรูปซึ่งเกิดขึ้นเพราะกรรมด้วย รูปที่เกิดเพราะกรรมชื่อว่ากัมมชรูป "ช" แปลว่าเกิด เพราะฉะนั้นรูปที่เกิดเพราะกรรมไม่มีใครบันดาลให้เกิดได้นอกจากกรรมเท่านั้น รูปนั้นชื่อว่ากัมมชรูป
และมีรูปซึ่งเกิดจากจิต ขณะใดที่รูปเกิดจากจิต กรรมก็ไม่ได้ทำให้รูปนั้นเกิด แต่จิตเป็นสมุฏฐานให้รูปนั้นเกิด เช่น การยิ้ม การหัวเราะ การเดิน เป็นรูปที่เกิดจากจิต ถ้าไม่มีจิตจะเคลื่อนไหวได้ไหม ก็ไม่ได้ รูปก็คงทำอะไรไม่ได้เลยเหมือนรูปที่ปราศจากชีวิต
นอกจากนั้น ในร่างกายของเราก็ยังมีรูปที่เกิดจากอุตุ ความเย็น ความร้อน ซึ่งทำให้มีการที่ร่างกายเติบโตเจริญขึ้น แล้วก็มีรูปที่เกิดจากอาหาร นี่เป็นเหตุที่เราไม่สามารถจะอยู่ได้โดยปราศจากอาหาร ถ้ามีเพียงแต่รูปที่เกิดเพราะกรรมซึ่งเล็กน้อยมาก แต่ละกลุ่มแต่ละกลาปก็ไม่พอ มีรูปที่เกิดจากจิตก็ไม่พอ มีรูปที่เกิดจากอุตุก็ไม่พอ ยังต้องอาศัยรูปที่เกิดจากอาหารด้วย นี่เป็นเหตุที่เราต้องรับประทานอาหารบางคนก็วันละ ๓ มื้อ บางคนก็มากกว่านั้น หรือบางคนก็น้อยกว่านั้น รูปที่มีอยู่ที่ตัวทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าเป็นรูปที่เป็นทวารหรือเป็นทาง ๕ รูป คือจักขุปสาทรูปอยู่ที่กลางตา รูปนี้ไม่มีใครมองเห็นเลย ไม่ว่าจักษุแพทย์หรือใครก็ตามไม่สามารถที่จะเห็นรูปนี้ได้ เพราะว่าสิ่งที่สามารถจะเห็นได้มีอย่างเดียว เป็นรูปเดียวคือสิ่งที่กระทบตาแล้วปรากฏ เป็นสีสันวรรณะต่างๆ ขณะนี้เท่านั้น ที่เป็นรูปที่ปรากฏได้ทางตา รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป อีก ๒๗ รูป ไม่สามารถจะปรากฎทางตาได้เลย เช่น เสียงมี แต่เสียงไม่ได้ปรากฏทางตา ไม่มีใครเห็นรูปร่างหน้าตาของเสียงเลย แต่ว่ากระทบกับโสตปสาทซึ่งเป็นทวารก็ทำให้จิตเกิดขึ้นได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นแต่ละทวารก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะเป็นรูปพิเศษซึ่งเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าก็จะมีจักขุปสาท ใช้คำว่าปสาทเพราะว่าเป็นลักษณะของรูปที่ใสสามารถที่จะกระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตาถ้าเป็นจักขุปสาท เพราะฉะนั้นรูปที่จะสามารถกระทบกับรูปอื่นได้เป็นปสาทรูปทั้งหมด แต่ว่าเป็นสิ่งที่จะมองไม่เห็นเลย เช่น จักขุปสาทอยู่กลางตา ไม่มีใครเห็นเลย ถ้าเห็น เห็นอะไร เห็นสิ่งที่ปรากฏ แต่ไม่ใช่เห็นตัวปสาทรูป ถ้ากระทบสัมผัสก็กระทบสัมผัสสิ่งที่อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน แต่ไม่ได้กระทบสัมผัสกับปสาทรูป เพราะฉะนั้นรูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป รูปเดียวที่สามารถจะเห็นได้คือสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้เมื่อกระทบกับจักขุปสาท ถ้าหลับตาให้สนิทเลยรูปนี้ก็ไม่ปรากฏ แต่ทันทีที่ลืมตาจักขุปสาทก็เป็นทวารสำหรับให้จิตเห็นเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจิตเป็นสภาพที่รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏทางตาในขณะนี้
ประเด็นนี้ก็คงขอข้ามไป ยังไม่ไปอาวัชชนกิจซึ่งเป็นกิจที่ ๓ แต่ขอกล่าวถึงเรื่องปสาทรูปก่อนเพราะเหตุว่าจะได้เข้าใจกิจที่ ๓ ซึ่งเป็นจิตประเภทหนึ่งก่อนที่จะมีจิตเห็น จิตได้ยิน พวกนี้ ก็ควรที่จะได้รู้จักทวารว่าที่ตัวของเรา ร่างกายของเรานี่มีทวารกี่ทวาร ซึ่งเป็นรูปที่สามารถรับกระทบกับสิ่งต่างๆ เช่น ทางตา จักขุปสาทเป็นทวารสามารถกระทบสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วจิตเห็นก็เกิดขึ้นเห็น
อีหหนึ่งรูปที่หู ไม่ใช่ใบหูทั้งหมด แต่เฉพาะส่วนที่สามารถกระทบเสียง มองเห็นไหม ไม่เห็น เพราะว่าต้องยืนยันว่าที่เห็นได้เพียงรูปเดียว คือ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้เท่านั้น แต่รูปทั้งหมดอีก ๒๗ รูป ไม่สามารถที่จะเห็นได้เลย เพราะฉะนั้นโสตปสาททุกคนรู้ว่ามีเพราะว่ามีเสียงปรากฏ ถ้าเสียงไม่ปรากฏหมายความว่าบุคคลนั้นไม่มีโสตปสาท เช่น คนหูหนวก กรรมไม่ได้ทำให้โสตปสาทรูปเกิด เป็นเรื่องของกรรมทั้งหมดที่จะทำให้รูปที่เป็นทวารเหล่านี้เกิดขึ้น ถ้าคนนั้นจะเป็นคนที่หูหนวกก็คือว่ากรรมไม่ได้ทำให้โสตปสาทรูปเกิด เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าเสียงจะกระทบกับโสตปสาทรูปของคนอื่นที่เขามีกรรมทำให้โสตปสาทรูปเกิด คนอื่นได้ยิน แต่คนนั้นจะไม่ได้ยินเพราะเหตุว่าไม่มีโสตปสาทรูป
ทั้งหมดนี้คือธรรมที่เป็นอนัตตาซึ่งเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยตั้งแต่เกิดจนตาย ตรงกับคำว่าอนัตตาตั้งแต่ต้นจนตลอด นี่ก็ ๒ ทางแล้วที่ทุกคนกำลังมีในขณะนี้คือ จักขุปสาทกระทบกับสีสันวรรณะแสงสว่างที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ทำให้มีการเห็น ไม่ใช่คนตาบอด ก็สามารถเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา สำหรับรูปที่เป็นโสตปสาทกับรูปก็เป็นรูปที่อยู่กลางหูสามารถกระทบกับเสียงเท่านั้น จะกระทบรูปอื่นไม่ได้เลย
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 001
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 002
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 003
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 004
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 005
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 006
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 007
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 008
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 009
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 010
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 011
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 012
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 013
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 014
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 015
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 016
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 017
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 018
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 019
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 020
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 021
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 022
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 023
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 024
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 025
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 026
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 027
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 028
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 029
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 030
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 031
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 032
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 033
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 034
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 035
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 036
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 037
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 038
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 039
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 040
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 041
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 042
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 043
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 044
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 045
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 046
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 047
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 048
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 049
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 050
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 051
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 052
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 053
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 054
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 055
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 056
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 057
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 058
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 059
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 060