สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 037
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๓๗
วันจันทร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ ที่มีเรื่องต่างๆ ก็เพราะจิตคิด แต่ถ้าจิตไม่คิดเรื่องใดๆ ก็ไม่มี
เพราะฉะนั้นต้องทราบว่าจิตที่ไม่ใช่ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต เป็นอะไร เป็นวิถีจิต แต่ถ้าเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ไม่ใช่วิถีจิต ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ แล้วเวลาที่ไปพบคำภาษาบาลีก็สามารถที่จะเข้าใจความหมายนั้นได้ เช่นทวารวิมุตติ ก็หมายความว่าไม่ต้องอาศัยทวาร ปราศจากทวาร จิตนั้นก็สามารถที่จะเกิดได้ รู้อารมณ์ได้ และเวลาที่ได้ยินคำว่าวิถีจิต ต่อไปนี้ก็ทราบเลยว่าหมายความถึงจิตที่ไม่ใช่ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต
แล้วถ้าพูดถึงกิริยาจิต ก็รู้จักอีกใช่ไหม จิตมี ๔ ชาติ กุศลจิต ได้ยินบ่อยๆ อกุศลจิต ได้ยินเหมือนกัน วิบากจิตซึ่งเป็นผลก็ได้ยินแล้ว และกิริยาจิตก็ได้ยินด้วย กิริยาจิตคือจิตที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก เป็นจิตที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของวาระนั้นๆ ที่จะต้องเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ มีกิริยาจิตด้วย แต่ไม่ใช่กิริยาจิตอย่างของพระอรหันต์ นี่คือความต่างกัน แต่เป็นกิริยาจิตซึ่งเพียงเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ก่อนที่จะมีวิถีจิตอื่นๆ เกิดขึ้น กิริยาจิต ๒ ขณะนี้ เป็นวิถีจิตแรก ถ้าเราจำคำว่า จิตที่ไม่ใช่วิถีจิต และก็จำวิถีจิตแรกได้ก็ไม่ยากเลย แล้วก็ไม่ลืมด้วยใช่ไหม เพราะเหตุว่าจิตที่ไม่ใช่วิถีจิตคือภวังค์ และวิถีจิตแรกทาง ๕ ทาง ก็คือปัญจทวาราวัชชนจิต ถ้าทางใจก็มโนทวาราวัชชนจิต
เพราะฉะนั้นขอทวนมโนทวารก็เป็นจิตใช่ไหม มโนทวาราวัชชนะก็เป็นจิตใช่ไหม มโนทวารกับมโนทวาราวัชชนะ ต่างกัน หรือเหมือนกัน ต่างกัน เพราะมโนทวารคือภวังคุปัจเฉทะ ภวังค์ดวงสุดท้ายขณะสุดท้าย ส่วนปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นวิถีจิตแรกซึ่งเกิดต่อกัน พอภวังคุปัจเฉทะดับ ปัญจทวาราวัชชนจิตต้องเกิดต่อ หรือถ้าเป็นทางใจ เมื่อภวังคุปัจเฉทะดับมโนทวาราวัชชนจิตเกิดต่อ ในขณะนี้เอง เป็นอย่างนี้ ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม จะจำได้ หรือจำไม่ได้ จะเรียกชื่อไม่ถูกหรือจำชื่อไม่ถูก แต่สภาพธรรมก็ต้องเป็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจชีวิตละเอียดขึ้น ก็จะเห็นว่าทุกอย่าง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น จิตที่จะต้องเกิดดับสืบต่อเป็นลำดับอย่างนี้ ก็เป็นจิตนิยาม เป็นธรรมเนียมของจิตที่จะต้องเป็นอย่างนี้โดยปัจจัยแต่ละปัจจัยซึ่งมีอยู่ในจิตแต่ละชนิด จิตที่เกิดขึ้นนี้เป็นปัจจัยหลายปัจจัย ที่ว่าธรรมทั้งหลายนี้เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ต่อไปก็จะค่อยๆ ทราบว่าเป็นปัจจัยอะไรบ้าง ขณะที่เป็นภวังค์ แล้วก็กำลังจะรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดซึ่งจะต้องเป็นวิถีจิต เพราะเหตุว่าภวังค์ไม่ใช่วิถีจิต
วิถีจิตแรกทางปัญจทวารคืออะไร คือ ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นชาติกิริยา เวลาที่พูดถึงจิต ขอให้จำเรื่องชาติไปด้วย จะได้ไม่สับสน ระหว่างกุศล อกุศล วิบาก กิริยา ถ้าเป็นการคิดนึก เวลาที่ภวังคุปัจเฉทะดับแล้ว วิถีจิตแรกคืออะไร มโนทวาราวัชชนจิต
อ.ประเชิญ เรื่องของความเป็นไปของชีวิต ก็เป็นความเป็นไปของนามธรรม ความเป็นไปของจิต เป็นความเป็นไปของนามธรรม ซึ่งก็เป็นเรื่องราวของชีวิตของทุกท่าน ไม่ใช่เรื่องอื่นไกล บางท่านอาจจะท้อว่ามีชื่อมาก จริงๆ ก็ค่อยๆ จำที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวแล้ว ค่อยๆ จำ ค่อยๆ เรียนรู้ ก็จะค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กละน้อย เพราะว่าเป็นเรื่องราวของตัวเราเอง แล้วก็ตัวของทุกท่านที่มีอยู่ที่ดำเนินไป ซึ่งก็เรียกว่าเป็นการแยกแยะนามธรรม ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถที่จะทำได้เลย นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นสามารถจะแยกแยะว่านามธรรมแต่ละประเภทเป็นอะไรบ้าง มีหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งในวิชาการแขนงอื่นก็จะต้องขยายหรือว่าจำแนกในเรื่องของรูปธรรมเท่านั้นเอง แต่ว่าพระผู้มีพระภาคสามารถที่จะจำแนกได้ทั้งนามธรรม และรูปธรรม โดยระยะต่างๆ โดยนัยของชาติการเกิดขึ้น และนัยของวิถีจิต แบ่งเป็นจิตที่เป็นไปได้โดยไม่ต้องอาศัยทวาร เรียกว่าจิตที่ไม่ต้องอาศัยวิถี วิถีวิมุตติ คือไม่ใช่วิถี และจิตที่เป็นไปในวิถี ตั้งแต่การเกิดขึ้นหลังจากที่ปฏิสนธิแล้ว ก็จะมีอาวัชชนะ เป็นการรำพึงการนึกถึงอารมณ์ ต่อจากนั้นก็เป็นปัญจวิญญาณ ซึ่งเป็นความเป็นไปของจิตของแต่ละขณะในชีวิตประจำวันของเรา ก็เป็นไปแบบนี้ตลอดเลย ซึ่งก็จะทำให้เราได้เข้าใจว่า นี่คือความเป็นไปของจิต และเจตสิกที่เกิดร่วมกันเกิดขึ้นทำหน้าที่ ทำกิจการงาน ก็จะทำให้เห็นว่าทั้งหมดเป็นอนัตตาจริงๆ ไม่มีตัวเรา ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ อยู่ในนามธรรม และรูปธรรมนั้นเลย ซึ่งก็จะทำให้เราได้รู้ความจริงที่เป็นของจริงๆ ที่ทรงแสดงไว้ ก็จะให้เห็นว่าเป็นจริงอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งตอนแรกเราก็จะไม่ได้รู้ตัวจริงของความเป็นไปของจิตเช่นนั้น แต่ว่าเราก็จะค่อยๆ รู้ชื่อไปก่อน แล้ววิถีจิตบางประเภทก็จะรู้ได้ในชีวิตประจำวันของเราได้ ซึ่งก็จะมีการได้กล่าวในลำดับต่อไป
ซึ่งการที่จิตเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้นตั้งแต่อาวัชชนะที่เป็นวิถีจิต ปัญจวิญญาณ แล้วสัมปฏิจฉันนะ เป็นการเกิดขึ้นของจิตประเภทหนึ่งที่เป็นธรรมดา และเป็นธรรมชาติของจิตเช่นนั้นเอง เป็นจิตนิยาม เป็นนิยามของจิตนิยามนี้ก็คือเป็นธรรมดา เป็นความเป็นไปเช่นนั้นเองของจิตที่จะเกิดขึ้นทำกิจ ไม่มีใครที่จะมาจำแนกหรือว่าแบ่งหน้าที่ของจิตให้เกิดขึ้นว่า ให้จิตดวงนี้ทำหน้าที่เห็น จิตดวงนี้ทำหน้าที่อาวัชชนะ ไม่มีใครมาแบ่งหรือจำแนก แต่ว่าจิตนี้เกิดขึ้นตามนิยามของจิต ที่เรียกว่าจิตนิยามเป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติของจิตเหล่านั้น
ต่อจากสัมปฏิจฉันนะแล้ว ก็จะเป็นสันตีรณะซึ่งเป็นจิตอีกประเภทหนึ่งที่เป็นวิบากจิต นอกจากมีการรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายที่เป็นปัญจวิญญาณแล้ว ก็จะมีสัมปฏิจฉันนะรับต่อก็เป็นวิบากเช่นเดียวกัน เป็นชาติวิบากซึ่งก็จะไม่มีการที่จะบังคับได้เลย เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้นก็เกิด และต่อจากสัมปฏิจฉันนะ จะเป็นสันตีรณะ
อ.สุภีร์ โดยศัพท์ สันตีรณะ แปลว่า พิจารณา หรือไต่สวน เป็นจิตที่เป็นชาติวิบาก ที่ต่อมาจากปัญจวิญญาณ และสัมปฏิจฉันนะ ผลของกรรม ซึ่งเป็นวิบากก็จะมีทั้งส่วนที่เป็นกุศล และอกุศล ฉะนั้นสัมปฏิจฉันนจิตก็ดี สันตีรณจิตก็ดี ก็จะมีทั้งส่วนที่เป็นกุศล และอกุศล เพราะเหตุว่าเป็นชาติวิบาก
ในวิถีจิตนี้ โดยตามปกติแล้วชาติวิบากก็จะเกิดเรียงกันก่อนเช่นนี้ ๓ วิถี ก็คือปัญจวิญญาณนี้ก็เป็นชาติวิบาก สัมปฏิจฉันนะก็เป็นชาติวิบาก สันตีรณะก็เป็นชาติวิบาก ทว่าโดยคำแปล สัมปฏิจฉันนะแปลว่ารับ คือรับอารมณ์ต่อมาจากปัญจวิญญาณ สันตีรณะแปลว่าไต่สวน หรือพิจารณาอารมณ์ต่อมาจากสัมปฏิจฉันนะ ว่าด้วยคำแปล แต่ถ้าว่าโดยลักษณะก็คือเป็นจิตที่เป็นชาติวิบากที่เกิดสืบต่อกันมาในวิถีจิตนั่นเอง
ทางปัญจทวารวิถีนี้ ตามปกติแล้วจะมีวิถีย่อยๆ อยู่ ๗ วิถี ได้กล่าวไปแล้ว ๔ วิถี คือ ที่ ๑อาวัชชนวิถี ที่ ๒ ปัญจวิญญาณวิถี ที่ ๓ สัมปฏิฉันนวิถี และที่ ๔ คือสันตีรณวิถี
ท่านอาจารย์ ก็คงจะต้องค่อยๆ คิด ว่าขณะนี้มีปัญจทวาราวัชชนจิตหรือไม่ เดี๋ยวก็ไปอยู่ในตำราหมด หรือว่าอยู่ที่คำต่างๆ แต่ความจริงก็คือในขณะนี้เอง ขณะนี้มีภวังค์หรือไม่ มี มีภวังคจลนะไหม มีอตีตภวังค์ไหม ย้อนไปหน่อย และมีอตีตภวังค์ มีภวังคจลนะ แล้วก็ต่อจากภวังคจลนะมีอะไร ภวังคุปัจเฉทะ ต่อจากภวังคุปัจเฉทะเป็นอะไร ปัญจทวาราวัชชนะ ต่อจากปัญจทวาราวัชชนะ ถ้าเป็นทางตาเป็นอะไร จักขุวิญญาณ ฟังแล้วก็สามารถที่จะเข้าใจชีวิตจริงๆ ขณะนี้ แล้วก็มาเรียกชื่อใช่ไหม
แต่ว่าความละเอียดก็คือว่าเราลองคิดดู เป็นภวังค์ ไม่รู้ไม่เห็นอะไรหมดเลยทั้งสิ้น แล้วอยู่ๆ ก็เห็น โดยที่ว่าจริงๆ แล้วเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามีปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดก่อน แต่ว่าขณะนี้เราสามารถที่จะรู้ว่าเห็นใช่ไหม แต่ถ้าละเอียดจริงๆ ก็คือว่าต้องมีปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนจักขุวิญญาณที่เห็น จักขุวิญญาณที่เห็น สั้นมากเล็กน้อยมากเลย เวลานี้ใครจะคิดว่าจักขุวิญญาณเพียงแค่เห็นนิดเดียว คิดไม่ออกเลยใช่ไหม เพราะว่าเห็นอยู่ตั้งนาน แล้วก็เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วก็คิดด้วยเรื่องสิ่งนั้นสิ่งนี้
แต่ว่าตามความเป็นจริงจิตมีอายุที่สั้นมาก จิตทุกขณะเกิดดับเร็วมาก แต่ว่าจิตหนึ่งขณะแม้ว่าจะสั้นน้อยมากอย่างไรก็ตาม ก็จะมีขณะย่อย ๓ ขณะคืออุปาทขณะ เกิด ฐีติขณะ ที่ยังไม่ดับ ภังคขณะคือขณะที่ดับ เพราะว่าขณะที่เกิดไม่ใช่ขณะที่ดับ และขณะที่เกิด เป็นฐีติขณะที่ตั้งอยู่ ส่วนฐีติขณะก็บ่ายหน้าไปสู่การดับ
เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าต้องเป็นผู้ที่ตรัสรู้จริงๆ จึงสามารถที่จะแสดงลักษณะสภาพของจิตได้โดยละเอียดมาก
เพราะฉะนั้นจิตทุกขณะเกิดดับเร็วมาก ในขณะที่คิดว่ากำลังเห็นติดต่อกันอย่างนี้ ไม่ทราบว่าวิถีจิตเกิดมากน้อยเท่าไรนับไม่ถ้วน แต่ถ้าเราจะเข้าใจตามลำดับ จักขุวิญญาณขณะนี้ เห็น ขณะสั้นนิดเดียวดับแล้ว ยังไม่ทันรู้เลยว่าเห็นอะไรใช่ไหม เพราะว่าจิตที่เห็น ทำหน้าที่เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่ทำหน้าที่คิดนึกถึงรูปร่างสัณฐานจนกระทั่งรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร และสามารถที่จะเรียกชื่อของสิ่งนั้นได้
เพราะฉะนั้นเราก็จะมาถึงจิตแต่ละขณะ ซึ่งเกิดขึ้นทำกิจเฉพาะอย่าง อย่างสั้นมาก และเร็วมาก
เพราะฉะนั้นสำหรับจักขุวิญญาณ เห็นอย่างเดียว แค่เห็น ลองคิดถึง แค่เห็น ขณะนี้เพียงเห็น แค่เห็น นั่นคือลักษณะของจักขุวิญญาณ แต่ก็ช้ามากๆ เลยเพราะเหตุว่าในขณะที่เราคิดว่าเราเพียงแค่เห็น จิตเกิดดับไม่ทราบว่าเท่าไหร่ เพราะเหตุว่าเมื่อจิตเห็นซึ่งสั้นมากดับไปแล้ว วิบากจิตเกิดต่อ ตอนนี้กำลังเป็นช่วงของการรับผลของกรรม เพราะเหตุว่ากรรมไม่ได้ทำให้เพียงแค่จักขุวิญญาณเกิด จักขุวิญญาณนี้เป็นชาติวิบาก ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นชาติอะไร กิริยา ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นชาติกิริยาเพราะเหตุว่าสิ่งที่กระทบนี้ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ ปัญจทวาราวัชชนะสามารถที่จะรู้ได้ ทั้งอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ของกุศลวิบาก และอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ของอกุศลวิบาก
เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ใช่วิบากจิต แต่เป็นชาติกิริยา ถ้าจิตใดที่เป็นวิบากก็ต้องตามประเภทของจิตนั้น เช่นถ้าเป็นเสียงที่น่าพอใจ วิบากชนิดไหนเกิด กุศลวิบากเกิด ถ้าเป็นเสียงที่ไม่น่าพอใจ อกุศลวิบากเกิด อย่างเสียงดังๆ อย่างที่กล่าวถึงเมื่อครู่นี้เป็นผลของอกุศลกรรมที่ทำให้ต้องได้ยินเสียงนั้น เพราะฉะนั้นจิตที่ได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจนั้นก็เป็นอกุศลวิบาก
เพราะฉะนั้นถ้าเป็นวิบาก ก็จะต้องเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก แต่ถ้าเป็นกิริยาสามารถที่จะรู้อารมณ์ได้ ทั้งที่เป็นอารมณ์ที่ดี และอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ เป็นอารมณ์ที่น่าพอใจเป็นอิฏฐารมณ์ และอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเป็นอนิฏฐารมณ์ กิริยาจิตก็สามารถที่จะรู้ได้
เพราะฉะนั้นปัญจทวาราวัชชนจิตรู้อารมณ์ได้ทั้งอารมณ์ที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ แต่ถ้าเป็นเสียงที่ไม่ดี กุศลวิบากจะเกิดขึ้นรู้เสียงนั้นได้ไหม เสียงที่ไม่น่าพอใจกุศลวิบากจะเกิดขึ้นรู้เสียงนั้นได้ไหม ไม่ได้ ต้องเป็นกุศลวิบาก
เพราะฉะนั้นเมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตดับ เราจะมาพูดถึงอารมณ์ว่าสิ่งที่กระทบนั้นเป็นอารมณ์ที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ
ผู้ฟัง มีคำถามการตัดสินว่าเป็นกุศลวิบาก อกุศลวิบาก คือเป็นเสียงที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจนี้ เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติอย่างนั้นใช่ไหม ไม่มีตัวแบ่งแยกว่าเวลามีเสียงไม่ดีเกิดขึ้น เอาตัวนี้รับอารมณ์ เสียงที่ดีเกิดขึ้นตัวนี้รับอารมณ์ เท่านั้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ก็คงจะเป็นปัญหา สองคำถามคือจะตัดสินได้อย่างไรว่าอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ที่ดีหรืออารมณ์ที่ไม่ดีอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งก็คือใครจะเป็นผู้ที่ทำให้กุศลวิบากเกิดขึ้นรับผลที่ดี หรืออกุศลวิบากเกิดขึ้นเห็นหรือรับสิ่งที่ไม่ดีใช่ไหม เป็นอย่างนี้หรือไม่
กรรมยุติธรรมที่สุด ไม่ต้องห่วงไม่ต้องกลัว ผู้พิพากษาจะตัดสินว่าอย่างไร แต่ว่ากรรมทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นเมื่อถึงกาลที่ควร อย่างคนที่ไม่ใช่ผลของกรรมที่จะทำให้ได้ยินเสียงที่น่าตกใจน่ากลัว คนนั้นก็ไม่ได้ยิน นอนหลับสนิทไปเลยก็ได้ แต่ว่าถ้าถึงกาลที่อกุศลกรรมให้ผล จะให้อกุศลวิบากเกิดขึ้น รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดที่ไม่ดี ใครก็ยับยั้งไม่ได้ ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ เราอาจจะใช้คำว่าในพริบตาเดียว แต่ความจริงนี้ ก็เพราะเหตุว่ามีกรรมเป็นปัจจัยที่ทำให้วิบากจิตเกิด ถ้าเป็นผู้ที่มั่นคงมั่นใจในเรื่องกรรม และวิบาก เพราะว่าจริงๆ แล้วพุทธศาสนิกชนก็คือผู้ที่มีความเข้าใจถูก มีความเห็นถูก มั่นคงในเรื่องกรรม และผลของกรรม ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องอย่างนี้ และทราบว่าขณะไหนเป็นวิบากคือเป็นผลของกรรม ก็จะรู้ได้เลยมีปัจจัยเกิดแล้วเพราะกรรมที่จะรู้สิ่งที่ดี หรือว่ามีปัจจัยเกิดแล้วเพราะอกุศลกรรมที่จะรู้สิ่งที่ไม่ดี เป็นเรื่องของกรรมที่จะทำให้วิบากจิตนั้นๆ เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นๆ
เพราะฉะนั้นเมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้ว ถ้าเป็นอารมณ์ที่ไม่ดีเช่น เสียงก็ตาม สีก็ตามกลิ่นก็ตาม รสก็ตาม อกุศลวิบากจิตต้องเกิด แต่ว่าสั้นมาก จิตทุกขณะนี้สั้นมาก เห็นนิดเดียวเพียงได้ยินนิดเดียว ได้กลิ่นนิดเดียว ยังไม่รู้เลยว่ากลิ่นอะไร ลิ้มรสก็นิดเดียว ชอบหรือยัง ยัง ยังชอบไม่ได้ เพราะเหตุว่าจิตจะต้องเกิดขึ้นสืบต่อทำกิจก่อนที่จะเกิดเป็นกุศล และอกุศล คือกรรมนี้ทำให้วิบากจิตเกิดสืบต่อ หลังจากที่จักขุวิญญาณจิตดับแล้ว กุศลหรืออกุศล ชอบ หรือไม่ชอบ จะยังเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเหตุว่าขณะนั้นเพียงเห็น เราจะชอบหรือไม่ชอบได้อย่างไร ใช่ไหม ก็ต้องมีสัมปฏิจฉันนจิตซึ่งเป็นวิบากจิต
ถ้าใช้คำว่าวิบากหมายความว่ากรรมทำให้จักขุวิญญาณเกิด กรรมทำให้สัมปฏิจฉันนจิตเกิด สืบต่อจากจักขุวิญญาณ เพราะเหตุว่าเพียงเห็นดับไป จิตขณะต่อไปต้องรับคือรู้อารมณ์นั้นต่อจากจิตเห็น จิตที่อาศัยจักขุทวารจะต้องรู้สิ่งเดียวกัน เพราะว่ารูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เวลาที่กระทบกับอตีตภวังค์รูปยังไม่ดับ เวลาที่เป็นภวังคจลนะขณะที่๒ รูปก็ยังไม่ดับ เป็นภวังคุปัจเฉทะขณะที่ ๓ รูปก็ยังไม่ดับ อตีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ รูปยังไม่ดับใช่ไหม ภวังค์รู้รูปนั้นหรือไม่ ไม่รู้ ถูกต้อง เพราะเหตุว่าภวังค์จะรู้อารมณ์อื่นใดไม่ได้ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะชื่อว่าอตีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะก็จะรู้อารมณ์ใหม่ไม่ได้เลย ต้องเป็นวิถีจิตเท่านั้น
เพราะฉะนั้นวิถีจิตแรกคือปัญจทวาราวัชชนะเป็นชาติกิริยา เพียงรู้ แต่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ใช่วิบากจิต ดับไปแล้ว แต่จักขุวิญญาณเริ่มเป็นวิบากรับผลของกรรม ทุกคนอยากเห็นดีๆ ทั้งนั้นเลยใช่ไหม แต่บางกาลก็เห็นไม่ดี อยากได้ยินเสียงเพราะๆ เสียงดีๆ บางกาลก็ได้ยินเสียงที่ไม่ดี นี่คือผลของกรรม
เพราะฉะนั้นกรรมทำให้จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณเกิด แล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก สั้นมากนิดเดียวแล้วก็ดับ
เพราะฉะนั้นกรรมก็ทำให้สัมปฏิจฉันนจิตคือจิตซึ่งเกิดต่อจากวิญญาณ ๕ ทำหน้าที่รู้อารมณ์เดียวกันต่อ ใช้คำว่ารับก็ได้ สัมปฏิจฉันนะโดยศัพท์ก็คือรับต่อจากจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณ นิดเดียว สั้นนิดเดียวแล้วก็ดับ ๒วิบากแล้วใช่ไหม ซึ่งกรรมทำให้เกิดขึ้น ถ้ากรรมทำให้เกิดเพียงจักขุวิญญาณก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าเป็นอะไร แต่กรรมก็ทำให้สัมปฏิจฉันนะเกิดต่อรับต่อ มีหน้าที่แค่นั้นเอง เพียงรู้ต่อจากวิญญาณทั้ง ๕ แล้วก็ดับ จิตที่เกิดต่อวิบากจิต ภาษาบาลีใช้คำว่าสันตีรณะ ภาษาไทยเราใช้คำว่าพิจารณา ฯ
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 001
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 002
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 003
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 004
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 005
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 006
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 007
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 008
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 009
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 010
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 011
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 012
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 013
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 014
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 015
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 016
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 017
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 018
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 019
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 020
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 021
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 022
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 023
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 024
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 025
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 026
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 027
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 028
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 029
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 030
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 031
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 032
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 033
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 034
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 035
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 036
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 037
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 038
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 039
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 040
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 041
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 042
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 043
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 044
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 045
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 046
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 047
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 048
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 049
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 050
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 051
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 052
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 053
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 054
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 055
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 056
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 057
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 058
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 059
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 060