สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 038
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๓๘
วันจันทร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ ถ้ากรรมทำให้เกิดเพียงจักขุวิญญาณ ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าเป็นอะไร แต่กรรมก็ทำให้ สัมปฏิจฉันนะเกิดต่อรับต่อ มีหน้าที่แค่นั้นเอง เพียงรู้ต่อจากวิญญาณทั้ง ๕ แล้วก็ดับ จิตที่เกิดต่อเป็นวิบากจิต ภาษาบาลีใช้คำว่าสันตีรณะ ภาษาไทยเราใช้คำว่าพิจารณา แต่ลองคิดถึงจิต ๑ ขณะที่แสนเร็ว หลังจากที่จักขุวิญญาณเห็น สัมปฏิจฉันนจิต รับ สันตีรณะ พิจารณาต่อ สั้นเท่ากันหมด จักขุวิญญาณอายุสั้นแค่ไหน สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ ก็สั้นแค่นั้น ไม่ใช่พิจารณาอย่างผู้พิพากษายาวๆ หรืออย่างเราคิด แต่ว่าแค่นิดเดียวที่จะรู้ว่าอารมณ์นั้น เป็นอะไร แล้วหลังจากนั้นกุศลจิต และอกุศลจิต จะชอบหรือไม่ชอบ จะเป็นกุศล และอกุศล ก็ยังเกิดทันทีไม่ได้ ต้องมีกิริยาจิตเกิดก่อน ที่ทำกิจเป็นบาทเฉพาะที่จะให้จิตต่อไป เกิดเป็นกุศล หรืออกุศลตามการสะสม
เพราะฉะนั้นการที่เราเห็น แล้วเราจะเป็นกุศล และอกุศล ตามการสะสมแต่ละชาติที่สะสมมา แต่ละขณะ ถ้าเราเป็นคนที่มีเมตตา เราเห็นสิ่งที่คนอื่นเขาอาจจะรังเกียจ แต่ว่าการสะสมเมตตาก็ทำให้หลังจากที่เห็นแล้วนี้ กุศลจิตเกิดได้ แต่ว่าก่อนที่กุศลจิตจะเกิด เปลี่ยนชาติจากวิบากจิตจะเป็นกุศลจิต ต้องมีกิริยาจิตเกิดก่อน เพราะว่าเป็นวิบาก จะเป็นกุศลทันทีไม่ได้ และกิริยาจิตนั้นทำหน้าที่โวฏฐัพพนะกิจ อีกกิจหนึ่ง ก่อนที่กุศลจิต และอกุศลจิตเกิด เพราะฉะนั้นถ้าเรียงลำดับของจิตที่เราได้กล่าวถึง เชิญคุณสุภีร์นับตั้งแต่ต้น
อ.สุภีร์ กิจของจิตมี ๑๔ กิจ ได้กล่าวไปแล้ว ตอนนี้จะนับเรียงตามกิจหน้าที่การงานไปเรื่อยๆ แต่จุติจิต หรือว่าจุติกิจ ได้กล่าวไปแล้ว แต่ว่านับเป็นจิตสุดท้ายเพราะเหตุว่าเป็นกิจครั้งสุดท้ายจริงๆ เป็นกิจที่ ๑๔ อันเอาไว้ตอนหลัง
กิจที่ ๑ ปฏิสนธิกิจ กิจที่ ๒ ภวังคกิจ กิจที่ ๓ อาวัชชนกิจ กิจที่๔ ทัสสนกิจ กิจเห็น กิจที่ ๕ สวนกิจ กิจได้ยิน กิจที่ ๖ ฆายนกิจ กิจได้กลิ่น กิจที่ ๗ สายนกิจ กิจลิ้มรส กิจที่ ๘ ก็คือผุสสนกิจ กิจที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย กิจที่ ๙ สัมปฏิจฉันนกิจ กิจที่ ๑๐ สันตีรณกิจ ที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงไปอีกกิจหนึ่งเมื่อสักครู่ ก็คือกิจที่ ๑๑ โวฏฐัพพนะกิจ ซึ่งเป็นกิริยาจิต ที่ทำกิจโวฏฐัพพนะ
โวฏฐัพพนะ แปลตามตัวก็แปลว่ากระทำทาง แต่ที่ได้บอกไปแล้วว่าจริงๆ แล้วก็คืออายุของจิตนี้สั้นมาก ก็คือ เป็นจิตที่เป็นชาติกิริยาที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีกุศลหรืออกุศลเกิดขึ้นตามการสะสมนั่นเอง เพราะว่าวิถีก่อนหน้านั้นทั้ง ๓ วิถี เป็นชาติวิบาก ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นกุศล และอกุศล ก็มีกิริยาจิตมากระทำโวฏฐัพพนกิจ เป็นกิจที่ ๑๑
อ.ประเชิญ ทุกท่านก็คงจะเพลินไปกับหน้าที่ของจิต ที่ท่านอาจารย์ได้มีวิธีที่จะทำให้เราไม่เบื่อ ซึ่งก็เป็นการเรียนรู้เรื่องของตัวเราเองที่จะค่อยๆ ละคลายความยึดมั่นถือมั่น ที่เคยยึดถืออยู่ ก็จะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งก็จะต้องใช้เวลาทั้งนั้น เพราะว่าวิชาการทางโลกก็ยังที่เราได้ทราบแม้แต่อนุบาล ก็ยังมีตั้งหลายอนุบาล ประถมก็มีหลายประถม มัธยมก็ยังเรียงลำดับขึ้นมาปริญญาก็ยังมีทั้งตรีโทเอก ซึ่งการศึกษาในเรื่องของพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน เราก็จะค่อยๆ ที่จะเรียนรู้เรื่องชื่อของสภาพธรรมที่มีจริงที่เกิดขึ้นอยู่ ก็จะค่อยๆ ที่จะรู้ในเรื่องของสิ่งที่มีจริงนี้ ถึงแม้ว่ายังไม่รู้ตัวจริง ซึ่งตัวจริงที่เราจะรู้ได้จริงๆ ที่มีอยู่จริงๆ ก็จะเป็นหน้าที่ของจิต หรือว่ากิจของจิตลำดับต่อไป เรียกว่าชวนะ ซึ่งเป็นกิจที่สำคัญ เป็นจิตที่เป็นบุญเป็นบาป ทั้งโลภ โกรธ หลง เป็นเมตตา เป็นกรุณา ริษยา อะไรต่างๆ จิตสำคัญตัวนี้ก็คือชวนจิตหรือว่าชวนกิจ เป็นหน้าที่ของจิต ไม่ใช่ตัวเราเลย เป็นหน้าที่ของจิตที่เกิดขึ้นทำจิตชวนะ ชวนะ ก็คือแล่น แล่นไปอย่างเร็ว ซึ่งหลายท่านก็แปลว่าเสพอารมณ์ คุณสุภีร์ แยกศัพท์ได้ไหม ชวนะ
อ.สุภีร์ ชวนะ นี้แปลว่าแล่นไป อย่างเร็วในการรู้อารมณ์ หรือว่าในจิตประเภทเดียวกันที่เกิด เพราะเหตุว่าตามปกติแล้ว ชวนะ จะเกิด ๗ ขณะต่อกันไป จิตประเภทเดียวกันนั้นเอง ถ้าเป็นกุศลก็เป็นกุศลประเภทเดียวกัน ถ้าเป็นอกุศลก็เป็นอกุศลประเภทเดียวกัน ถ้าบางท่านบอกว่าเสพอารมณ์นี้ต้องแปลมาจากคำว่าอาเสวนะ เพราะเหตุว่าในช่วงชวนจิต มีอาเสวนปัจจัย คำว่าอเสวนาปัจจัยก็คือจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลประเภทเดียวกันแล้วเกิดสืบต่อกันไป เป็นการเสพคุ้นลักษณะของกุศล และอกุศล เรียกว่าการเสพอารมณ์ ซึ่งที่คุณประเชิญได้กล่าวเมื่อสักครู่แปลมาจากคำว่าอาเสวนะ แต่ถ้าเป็น ชวนกิจ ชวนะ แปลว่าแล่นไปเฉยๆ
ท่านอาจารย์ ก็จะทบทวนอยู่ที่กิจเหล่านี้ก่อน เพราะเหตุว่าเป็นชื่อใหม่ๆ ก็ลองคิดดูว่าถ้ากรรมทำให้เพียงแต่เห็น สั้นๆ แล้วสัมปฏิจฉันนจิตก็เกิดรับต่อ ก็สั้นๆ อีก สันตีรณะก็เกิดพิจารณาก็นิดเดียวสั้นๆ จะมีประโยชน์อะไร ในเมื่อไม่มีจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อ
เพราะว่าจริงๆ แล้วการที่สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ทาง ๕ ทวาร ซึ่งเป็นรูป เป็นเสียง เป็นกลิ่น เป็นรส เป็นโผฏฐัพพะคือสิ่งที่สามารถจะปรากฏทางกายได้ ก็เพื่อให้จิตสามารถที่จะรู้อารมณ์นั้นต่อไปอีก ไม่ใช่เพียงแค่เห็น แล้วก็เป็นสัมปฏิจฉันนะ แล้วก็เป็นสันตีรณะ หมดหน้าที่ของวิบาก คือวิบากเพียงแค่กรรมทำให้เห็น และทำให้สัมปฏิจฉันนจิตเกิด ทำให้สันตีรณะเกิดเท่านี้เอง เป็นหน้าที่ของวิบาก ต่อจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของจิตที่เป็นกิริยาจิตที่เป็นโวฏฐัพพนะซึ่งเป็นกิจที่ ๑๑ ที่เปลี่ยนจากวิบากไปสู่จิตที่ไม่ใช่วิบาก โดยที่ว่าโวฏฐัพพนะขณะนี้ก็เป็นกิริยาจิตที่เกิดขึ้น กระทำทาง หรือว่าเป็นบาทเฉพาะที่จะให้จิตที่เป็นกุศล และอกุศลเกิดสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์
เพราะเหตุว่าตามธรรมดาเมื่อเห็นแล้วนี้ วิถีจิตไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น ยังต่อไปถึงว่ามีความชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่เห็น เวลาที่ได้ยินเสียงหนึ่งเสียงใด ก็ต้องไปถึงการมีความชอบ หรือไม่ชอบในเสียงที่ได้ยิน เวลาที่ได้กลิ่นแม้ว่าจะเร็วแสนเร็ว ขณะนั้นก็จะมีความรู้สึกพอใจ หรือไม่พอใจในกลิ่นนั้น เวลาลิ้มรสก็เช่นเดียวกัน หรือแม้กายนี้ ยากที่จะสังเกต แต่ว่ากายที่มีการรู้สิ่งที่กระทบเย็นบ้าง ร้อนบ้าง อ่อนบ้าง แข็งบ้าง ตึงบ้าง ไหวบ้าง ก็เป็นเหตุให้เกิดสุข และทุกข์ แม้ว่าจะเล็กน้อยสักเท่าไหร่ก็ตาม แต่เมื่อกายเป็นรูปที่หยาบกระทบกับสิ่งที่หยาบก็ทำให้ความรู้สึกในขณะนั้น เป็นสุข หรือเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้นวิถีจิต สำหรับทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เริ่มตั้งแต่ ปัญจทวาราวัชชนะ และก็ต่อจากนั้นก็เป็นจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส นี่ก็เป็นกิจแต่ละกิจของจิตซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะแต่ละทาง สัมปฏิฉันนจิต รับต่อ สันตีรณจิต พิจารณา ต่อจากนั้นโวฏฐัพพนจิตก็เกิดขึ้นเพื่อหลังจากที่โวฏฐัพพนจิตดับไปแล้ว การสะสมก็จะเป็นปัจจัยทำให้กุศลจิตเกิดหรืออกุศลจิตเกิด บังคับได้ไหม ถ้าบังคับได้ ทุกคนก็ไม่มีอกุศลเลย เพราะว่ารู้สึกว่าทุกคนก็คงไม่อยากให้จิตเป็นอกุศล แต่กุศลวันหนึ่งๆ กับอกุศล อะไรเกิดบ่อยกว่ากัน แล้วทำอย่างไร ก็คือต้องเพิ่มกุศลโดยการฟังพระธรรมให้เข้าใจขึ้น ไม่ใช่เราสามารถที่จะไปเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้ ไม่มีใคร ทั้งๆ ที่อยากจะเป็นคนดี แต่ถ้าไม่มีปัญญา ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงจะดีได้อย่างไร ด้วยความไม่รู้ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ยกตัวอย่างขณะที่เราเห็นไม่ดี
ท่านอาจารย์ หมายความว่าความเห็นสิ่งที่ไม่ดี
ผู้ฟัง เสร็จแล้ว จะเป็นโวฏฐัพพนะที่ดีได้ไหม
ท่านอาจารย์ โวฏฐัพพนะเป็นกิริยาจิตเกิดต่อจากสันตีรณะ แล้วโวฏฐัพพนะไม่ได้ทำหน้าที่ที่จะไปบังคับบัญชาอะไรได้เลย เพียงแต่ว่าถึงวาระที่โวฏฐัพพนจิตจะเกิด ทำกิจกระทำทางให้กุศลจิต หรืออกุศลจิตเกิดต่อ คือเป็นบาทเฉพาะ ที่ต่อจากนั้นแล้วจิตอื่นเกิดไม่ได้ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ต้องเป็นกุศลหรืออกุศล มิเช่นนั้นแล้วพอเห็นแล้วก็ไม่เป็นอะไรเลย เป็นอย่างนั้นหรือไม่ เห็นแล้วเราอาจจะไม่รู้เลยว่าหลังจากที่จักขุวิญญาณที่เห็นดับต้องมีสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ เรารู้แต่เพียงว่าเห็นแล้วชอบไม่ชอบทันที แต่ความจริงก่อนที่จะถึงวาระของกุศลจิตหรืออกุศลจิต ก็จะต้องเกิดตามลำดับ คือหลังจากจักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ ซึ่งเป็นวิบาก ก็จะต้องมีการเปลี่ยนจากวิบาก เป็นอีกชาติหนึ่ง คือเป็นกุศลหรืออกุศลสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ แล้วก็เป็นกิริยาสำหรับพระอรหันต์
เพราะฉะนั้นจิตนี้ ถ้าคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ เวลาที่โวฏฐัพพนจิตดับจะให้กิริยาจิตอย่างพระอรหันต์เกิดได้ไหม ไม่ได้ และคนที่สะสมอกุศลมามากมากอย่างคนขี้โกรธ เห็นอะไรก็หงุดหงิด แล้วก็ไม่ชอบไปหมดเลย แม้แต่สิ่งซึ่งน่าพอใจก็ไม่ดี แล้วจะให้จิตของเขาไม่เป็นอย่างนั้นได้ไหม โวฏฐัพพนะจะไปทำอะไรได้ เพียงแต่ว่าถึงกาลที่จะทำให้จิตที่เกิดต่อไป เป็นชาติกุศลหรืออกุศลสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ และสำหรับพระอรหันต์หมดกิเลสแล้ว เวลาที่โวฏฐัพพนะดับไป จะยังคงให้กุศลจิตหรืออกุศลจิตเกิดได้ไหม ก็ไม่ได้
ผู้ฟัง เวลาทานข้าวอร่อย แล้วเคี้ยวไปเจอพริกซึ่งเผ็ด กับบางคนก็ไม่ดี แต่บางคนนี้เคี้ยวอาหารได้เจอพริก ก็อร่อยชื่นชม อย่างนี้ก็ดีได้สำหรับบางคน ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยของแต่ละบุคคลใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นบางคนก็ชอบแม้ในสิ่งที่ไม่ดีก็ได้ ซึ่งต่อไปเราก็คงจะกล่าวถึง แต่ตอนนี้เรากำลังกล่าวถึงเรื่องของวิถีจิต และกิจของจิตด้วย ซึ่งพอถึงโวฏฐัพพนกิจเป็นกิจที่ ๑๑ และชวนกิจเป็นกิจที่ ๑๒ แต่เวลาที่โวฏฐัพพนะดับไปแล้วก็ต้องเป็นไปตามการสะสม ซึ่งแต่ละคนก็จะบังคับบัญชาไม่ได้เลย อาจจะคิดว่าเป็นเราทำได้ แต่ความจริงขณะที่คิดไม่ใช่ขณะที่เป็นอย่างนั้น ถ้าขณะที่จะเป็นกุศลก็คือเมื่อมีปัจจัยให้กุศลจิตเกิดก็เป็นกุศล ถ้ามีปัจจัยให้อกุศลจิตเกิดก็เป็นอกุศล อาจจะคิดว่าเราทำ แต่คิดคือคิด ไม่ใช่กุศล และอกุศลที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แล้วแต่ว่าคิดขณะนั้น จะเป็นคิดด้วยกุศล หรือจะเป็นคิดด้วยอกุศลก็ได้
เพราะเหตุว่าบางคนอยากให้กุศลจิตเกิด กำลังอยากเป็นกุศลหรือไม่ ไม่ใช่ เป็นอกุศล แล้วเวลาที่เกิดกุศลขึ้นขณะนั้นมีเหตุปัจจัยที่จะให้เป็นกุศล กุศลก็เกิด แต่ไม่ใช่อยากเป็นกุศล ตัวอยาก และขณะที่อยาก ไม่ใช่กุศล เป็นอกุศลจิต ในขณะที่เป็นกุศลนั้นเมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นถ้าเราเข้าใจความหมายของอนัตตา สภาพธรรมทั้งหมดนี้ มีปัจจัยปรุงแต่งก็เกิด เกิดแล้วไปไหน ดับไปเลย ไม่เหลือสักขณะเดียว ไม่มีอะไรที่เหลือเลย ไม่ว่าจะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม แต่ความติดความพอใจเพราะความไม่รู้ก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าเมื่อไหร่ เมื่อโวฏฐัพพนจิตดับ ตอนนี้จะรู้จักตัวเองว่าสะสมอะไรมามากน้อยแค่ไหน สะสมอกุศลมามากหรือว่าสะสมกุศลมามาก สะสมปัญญามามากหรือว่าสะสมอวิชชามามาก นี่ก็เป็นเรื่องที่ทุกคนเริ่มรู้จักตัวเอง
รู้จักตัวเองคือรู้จักธรรม รู้จักโลก เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีธรรม โลกก็ไม่มี ไม่ว่าจะเป็นโลกไหนก็ตาม ทั้งหมดก็เป็นธรรม ซึ่งมี ๒ อย่างคือนามธรรม และรูปธรรม เพราะสำหรับที่เป็นบุคคลเป็นสัตว์โลกนี้ ก็มีทั้งนามธรรม และรูปธรรม สำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ บางภูมิก็มีขันธ์ ๑ บางภูมิก็มีขันธ์ ๔ ก็เป็นเรื่องละเอียดต่อไป
แต่วันนี้เราก็ได้ทราบเรื่องกิจของจิต จนกระทั่งถึง กุศลจิต และอกุศลจิต ซึ่งทำชวนกิจ เป็นกุศลก็จริงเป็นอกุศลก็จริง แต่ทำชวนกิจ ชื่อใหม่มาอีกแล้วใช่ไหม เมื่อสักครู่นี้ก็มี อาวัชชนกิจ และกิจทั้ง ๕ และสัมปฏิจฉันนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ ตอนนี้ก็มาถึงอีกกิจ ๑ แต่จะขอกล่าวถึงว่าจิตอะไรทำกิจนี้ คือกุศลจิต หรืออกุศลจิต ทำกิจนี้ เพราะเหตุว่าจิตอื่นๆ เช่นจักขุวิญญาณจิตเห็น ทำกิจเห็นขณะเดียว สัมปฏิจฉันนกิจรับต่อขณะเดียว สันตีรณะทำกิจพิจารณาเร็วมาก ชั่วขณะเดียว โวฏฐัพพนะเกิดขึ้นทำกิจขณะเดียว แต่ละขณะที่เป็นวิถีจิตตั้งแต่ปัญจทวาราวัชชนจิต ทำ ๑ ขณะเท่านั้นเอง แต่พอถึงกุศลจิต และอกุศลจิต ทำ ๗ ขณะ ใช้คำว่าแล่นไปในอารมณ์ เพราะเหตุว่าจิตอื่นได้ทำกิจอื่น ไม่มีเหลือแล้ว เพราะฉะนั้นที่เหลือก็คือว่าชอบหรือไม่ชอบในอารมณ์ที่ปรากฏ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศลในอารมณ์ที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นเวลาที่เรามีความรู้สึกต่อสิ่งที่กำลังปรากฏ เราจะรู้สึกเมื่อจิตนั้นทำชวนกิจ คือชอบเราก็รู้สึกได้ แต่สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ จะไม่รู้เลย แต่พอถึงชอบรู้ได้ พอถึงไม่ชอบที่เป็นอกุศลที่เป็นโทสมูลจิตก็รู้อีก เวลาที่เป็นกุศลก็รู้อีก เพราะเหตุว่าจิตที่ทำชวนกิจ อารมณ์ยังเหลืออยู่ เพราะว่าอารมณ์หนึ่ง หรือรูปๆ หนึ่งที่เกิดนี้ จะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ นับตั้งแต่อตีตภวังค์หนึ่งขณะ ภวังคจลนะหนึ่งขณะ ภวังคุปัจเฉทะหนึ่งขณะ ๓ ขณะแล้วใช่ไหม ต่อจากนั้นเป็นอะไร ปัญจทวาราวัชชนะ๔ จิตเห็น จิตได้ยิน พวกนี้เป็น ๕ แล้วก็สัมปฏิจฉันนะเป็น ๖ สันตีรณะเป็น ๗ โวฏฐัพพนะเป็น ๘ แล้วก็เหลืออีกเท่าไร รูปมีอายุ ๑๗ ขณะจิต หมดไป ๘ เหลืออีกเท่าไร เหลืออีก ๙ ขณะ
เพราะฉะนั้นกุศล และอกุศลจิต แล่นไปในอารมณ์นั้น ๗ ขณะ ติดต่อกัน จึงชื่อว่าทำชวนกิจ และการที่เราจะรู้อารมณ์จริงๆ จะรู้ตรง ชวนะ เพราะว่าไม่สามารถที่จะเข้าใจขณะที่เป็นสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ ปัญจทวาราวัชชนะ อะไรพวกนั้นได้ สำหรับปกติ ชวนะจะเกิดดับสืบต่อ ๗ ขณะ แล่นไปในอารมณ์นั้น แล่นนี้ไม่ใช่วิ่งแบบเร็วกว่าจิตอื่นๆ แต่ว่าหมายความว่าเกิดดับสืบต่อถึง ๗ ครั้งในเมื่อจิตอื่นเกิดทีละหนึ่งขณะเท่านั้นเอง
ใครไม่มีกุศลจิตบ้าง มีไหมคนที่ไม่มีกุศลจิต แน่ใจใช่ไหม มากหรือน้อย แต่ก็คงมี กับมารดาบิดา กับเพื่อนฝูง หรือว่าเพื่อนร่วมงาน หรืออะไรก็แล้วแต่ ใครไม่มีอกุศลจิต ที่นี่ไม่มีใช่ไหม แต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีทั้งกุศลจิต และอกุศลจิต มิฉะนั้นแล้วก็ยังต้องมีการเกิด เพราะเหตุว่ากุศลก็เป็นเหตุที่จะให้เกิดกุศลวิบาก อกุศลก็เป็นเหตุที่จะให้เกิดอกุศลวิบาก แต่ว่าเมื่อเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสหมด ต้องดับทั้งกุศล และอกุศล ไม่ใช่ดับแต่เฉพาะอกุศล และยังเหลือกุศล ไม่ได้ แต่ว่าถ้าเป็นพระอริยบุคคลระดับอื่นที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ก็เป็นกุศล และอกุศลจนกว่าจะดับกิเลสหมด ถึงจะชวนจิตเป็นกิริยาได้
เพราะฉะนั้นก็ทราบได้เลย จิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศล หรือจิตที่เป็นกิริยาของพระอรหันต์ทำชวนกิจ มีข้อสงสัยอะไรบ้างไหม
ผู้ฟัง ถ้าเกิดมโนทวาราวัชชนจิตแล้ว จะมีปัญจวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะไหม
ท่านอาจารย์ ไม่มี เพราะเหตุว่าสำหรับทางใจ ไม่มีการรู้อารมณ์ที่เป็น สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ กระทบ แต่ว่าสามารถที่จะรับต่อจากทางปัญจทวาร ก็คงจะเป็นเรื่องละเอียดต่อไป แต่ให้ทราบว่าเมื่อมโนทวาราวัชชนจิตดับแล้ว กุศลจิตหรืออกุศลจิตเกิดสืบต่อจากมโนทวาราวัชชนะทันที
ผู้ฟัง บางครั้งก็กล่าวว่าเป็นภวังค์ แต่บางครั้งก็กล่าวว่ามีอตีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังค์คุปัจเฉทะ ตรงนี้ต่างกันอย่างไร
อ.ประเชิญ ในการจำแนกจิตตามวิถีจิต ท่านต้องการที่จะให้ทราบว่า อายุของรูปนี้ มี ๑๗ ขณะจิต เพราะว่ารูปนี้ระดับรวดเร็วมากเลย แต่ว่าสิ่งที่เกิดดับรวดเร็วยิ่งกว่ารูปก็คือจิต เพราะฉะนั้นจิตเป็นเครื่องวัดว่าแต่ละขณะของรูปนั้นมี ๑๗ ขณะของจิต แล้วจิตที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวิถี ก็จะมีการกระทบอารมณ์แต่ละทวารนี้ เพราะฉะนั้นท่านจึงจำแนกว่า ก่อนที่วิถีจิตจะเกิดขึ้นก็จะเป็นจิตประเภทหนึ่งที่เรียกว่าภวังค์ เป็นจิตอย่างหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ที่จะดำรงภพชาติ ก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นเห็น หรือได้ยิน หรือได้กลิ่น รู้รส ถูกต้องสัมผัสนี้ ก็จะต้องเปลี่ยนจากที่กำลังเป็นภวังค์อยู่นั้นโดยการที่จะนับว่าอายุของรูปตั้งแต่เกิดขึ้นครั้งแรกก็จะเป็นอตีตภวังค์ เป็นภวังค์เดิมก่อน
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 001
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 002
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 003
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 004
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 005
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 006
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 007
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 008
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 009
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 010
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 011
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 012
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 013
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 014
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 015
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 016
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 017
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 018
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 019
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 020
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 021
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 022
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 023
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 024
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 025
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 026
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 027
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 028
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 029
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 030
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 031
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 032
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 033
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 034
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 035
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 036
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 037
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 038
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 039
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 040
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 041
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 042
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 043
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 044
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 045
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 046
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 047
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 048
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 049
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 050
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 051
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 052
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 053
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 054
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 055
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 056
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 057
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 058
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 059
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 060