สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 043
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๔๓
วันจันทร์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ จิตแต่ละประเภทจะทำกิจที่ไม่ใช่กิจของตนไม่ได้ อย่างวิบากจะไปทำกิจของกุศล และอกุศลไม่ได้ เพราะเหตุว่าวิบากเป็นผล เกิดขึ้นเพราะกุศลกรรม และอกุศลกรรมที่สะสมสืบต่อถึงกาละที่สมควรที่วิบากชนิดใดจะเกิดทางไหน วิบากชนิดนั้นก็เกิดทางนั้น เช่น ทางตาก็ต้องมีสิ่งที่เกิดขึ้นกระทบจักขุประสาท ถ้าเป็นวิบากทางหูก็ต้องมีเสียงเกิดขึ้นกระทบกับโสตประสาท จิตที่เป็นวิบากจึงเกิดขึ้นได้ยิน เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องซึ่งต้องศึกษาให้เข้าใจว่าจิตแต่ละขณะเป็นชาติอะไรแล้วก็ทำกิจของจิตชาตินั้นๆ ได้แค่ไหน กิริยาจิตสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็มี แต่ว่าทำกิจเพียงแค่อาวัชชนะหลังจากที่ภวังคุปัจเฉทะดับก่อนที่วิถีจิตอื่นๆ จะเกิด วิถีจิตแรกต้องเป็นอาวัชชนะ เพราะเพียงรู้สึกตัวจากการหลับสนิทเหมือนไม่รู้อะไร และเริ่มจะรู้นั่นคืออาวัชชนะกิจ ไม่ว่าจะเป็นทางห้าทวารหรือว่าจะเป็นทางใจก็ตาม อย่างทางตา ภวังคจิตแล้วจะเกิดเห็นขึ้นมาทันทีไม่ได้ ต้องมีวิถีจิตก่อนเกิดคือรู้เริ่มรู้สึกตัวทางทวารนั้นหรือว่าทางใจ พอจะคิดหลังจากที่เป็นภวังค์แล้ว เมื่อเป็นภวังค์ภวังค์อยู่ที่เราคิดได้ต้องทราบว่ามีอาวัชชนะจิตซึ่งเป็นวิถีจิตแรกทางมโนทวารชื่อว่ามโนทวาราวัชชนะจิต เกิดคิดก่อน แล้วจิตถึงจะเป็นกุศลหรืออกุศลตามสิ่งที่คิด ก็เป็นความละเอียด ซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมซึ่งหลากหลายมาก ทั้งวันทุกวัน และแต่ละคน เพราะฉะนั้นถ้าจะกล่าวถึงชีวิตต่างๆ ในโลกนี้กี่แสนกี่ล้านก็เห็นความน่าอัศจรรย์ของการสะสมของสภาพธรรมซึ่งก็จะไม่พ้นจากจิตที่เป็นวิบาก จิตที่เป็นกิริยา จิตที่เป็นกุศล และอกุศล วิบากเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว แต่กุศล และอกุศลเป็นเหตุใหม่ที่จะเป็นปัจจัยให้วิบากคือผลของกรรมเกิดต่อไปข้างหน้า เพราะฉะนั้นก็แยกได้ว่าขณะใดเป็นผลของกรรมในอดีต และขณะใดเป็นเหตุใหม่ที่จะให้เกิดผลของกรรมในอนาคตต่อไป การศึกษาธรรมต้องเป็นผู้ตรงจึงจะได้สาระจากพระธรรม ตรงขั้นแรกคือเรากล่าวว่าเรามีพระรัตนตรัยเป็นสรนะ ถ้าเช่นนั้นการมีพระรัตนตรัยเป็นสรนะเป็นที่พึ่งจริงๆ ก็คือว่า ต้องมีพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า รัตนะที่หนึ่งซึ่งทรงแสดงพระธรรมเป็นธรรมรัตนะ ถ้าไม่ศึกษาพระธรรมแล้วเราจะกล่าวว่าเราเป็นผู้ที่นับถือพระรัตนตรัยก็คงจะขาดไป ใช่ไหม และการนับถือพระพุทธเจ้าถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรมเราจะไม่รู้ความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย มีใครที่จะแสดงเรื่องสภาพธรรมโดยละเอียดทุกขณะจิต เพราะฉะนั้นถ้าไม่ศึกษาก็ไม่รู้จักพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอนว่าทรงมีพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณมากมายมหาศาล ถ้าศึกษาในพระไตรปิฎกในพระสูตร แม้บุคคลนั้นจะอยู่ไกลเสด็จไปหลายร้อยโยชน์เพื่อโปรดบุคคลนั้นให้เข้าใจธรรม เพราะเหตุว่าเขาสามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ได้ทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษาสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังในขณะนี้ก็ไม่มีโอกาสจะได้ยินได้ฟัง และแม้ว่าสิ่งนี้ได้สืบทอดมาถึง ๒๕๐๐ กว่าปี แต่ถ้าเราไม่ศึกษาก็จะมีแต่เพียงตัวหนังสือซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะเข้าใจความละเอียดความลึกซึ้งของสภาพธรรมได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นพุทธศาสนิกชนเป็นผู้ตรงมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ก็ต้องศึกษาพระธรรม และก็เป็นโอกาสทองจริงๆ ของแต่ละชาติ ซึ่งไม่ว่าเราจะเห็นอะไรซึ่งเป็นรัตนะ นำความปราบปลื้มใจมาให้ แต่รัตนะอื่นที่นำความปราบปลื้มใจมาให้ก็นำทุกข์มาให้ด้วยเมื่อสูญเสียสิ่งนั้น เมื่อได้มาก็ต้องทะนุบำรุงรักษาทะนุถนอมภาระมากมาย พอจากไปก็หมดสิ้นไปก็เป็นทุกข์อีก แต่สิ่งที่เป็นรัตนะจริงๆ หรือรัตนะอื่นใดก็คือความเห็นถูกความเข้าใจถูกในพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ ซึ่งจะทำให้สามารถอบรมเจริญปัญญาถึงการหมดกิเลสเป็นลำดับขั้นถึงความเป็นพระโสดาบันบุคคล ซึ่งมีความเห็นถูกว่าสภาพธรรมในขณะนี้ที่เป็นนามธรรมก็เป็นนามธรรมจริงๆ ที่เป็นรูปธรรมก็เป็นรูปธรรมเท่านั้น ถ้ามีความเข้าใจที่มั่นคงยิ่งขึ้น ก็ค่อยๆ ละความเป็นเราจนกว่าจะประจักษ์แจ้งในสภาพธรรมซึ่งสามารถที่จะถึงระดับของปัญญาที่ประจักษ์แจ้งได้จริงๆ จากขั้นการฟังแล้วพิจารณาแล้วก็เข้าใจขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ฟัง อาตมาขอถามว่า การที่ทำความซ้ำซากหรือว่าทำอกุศลกรรมซ้ำซากแล้วก็มีการเวียนว่ายตายเกิด ตามที่มีความเชื่อว่าจะมีการเกิดในชาติหน้าเพื่อรับความที่เป็นอกุศลกรรมหรือว่าไปสู่สุขติวินิบาตนรกในชาติหน้านั้น เป็นความจริงอย่างไรหรือไม่แล้วก็เมื่อเป็นจริงแล้วบุคคลที่ทำกรรมในชาตินี้ อกุศลกรรมในชาตินี้ กรรมนั้นจะสามารถทำให้เขาได้รับความทุกข์ในชาตินี้ได้สักกี่ครั้ง แล้วถ้าในชาติหน้าถ้าหากว่าเป็นกรรมจริงแล้วเขาก็จะได้รับผลของกรรมหรือว่าได้รับความทุกข์ในชาติหน้าสักกี่ครั้ง หรือว่าเกิดในทุคติสักกี่ชาติ
อาจารย์ เรื่องของกรรม และการรับผลของกรรมก็เป็นเรื่องของเหตุ และผลด้วย เพราะว่าเมื่อกระทำกรรมซึ่งเป็นเหตุแล้วก็ย่อมจะมีผล ซึ่งเป็นผลของกรรมก็ย่อมจะต้องสมควรแก่เหตุ แต่โดยทั่วไปแล้วเรามักจะเข้าใจว่าทำกรรมในชาตินี้เราจะต้องได้รับในชาตินี้ แต่จริงๆ แล้วการให้ผลของกรรมมิได้ให้ผลเพียงแต่ในชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้นเพราะว่าการรับผลของกรรมก็ยังจะต้องมีการรับผลนอกจากในชาตินี้แล้วก็มีการรับผลในชาติหน้า หรือไม่ก็ยังมีการรับผลในชาติต่อๆ ไปได้อีกตามสมควรแก่กรรม เพราะว่าในการสนทนากันมาถึงเรื่องของชวนจิตซึ่งเป็นจิตที่กระทำกุศลหรืออกุศลกรรมซึ่งเป็นเหตุซึ่งเป็นเรื่องรายละเอียดที่ว่าชวนจิตแต่ละขณะนั้น ขณะไหนจะให้ผลในชาตินี้ ขณะไหนจะให้ผลในชาติหน้า และขณะไหนจะให้ผลที่ต่อไปจากชาติหน้า และต่อๆ ไปอีก ก็เป็นเรื่องรายละเอียด ขอกล่าวโดยสั้นๆ ย่อย่อว่า ชวนจิตดวงที่หนึ่ง จะให้ผลในชาตินี้ที่เรียกว่าทิฏฐธรรมเวทนียกรรม แล้วก็ชวนจิตดวงที่ ๗ นั้นให้ผลในชาติหน้า ส่วนชวนจิตดวงที่ ๒ ถึง ๖ ก็ให้ผลต่อไปจากชาติหน้าคือชาติอื่นๆ ต่อไปอีก เพราะฉะนั้นการให้ผลของกรรมนั้นไม่ใช่ให้ผลเฉพาะในชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น และที่พระคุณเจ้าได้เรียนถามว่าการให้ผลของกรรม แล้วจะนำไปเกิดที่สุคติหรือทุคติต่างๆ นั้นก็เป็นการที่วิบากจิตเกิดขึ้นรับผลของกรรมก็จะเกิดขึ้นในภูมิต่างๆ ตามสมควรแก่กรรมว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ถ้าอกุศลกรรมทำกรรมที่ไม่ดีมาก็จะเป็นเหตุที่จะให้ไปปฏิสนธิในทุคติภูมิ ถ้าทำกุศลกรรมก็เป็นเหตุที่จะนำไปปฏิสนธิในสุคติภูมิ
ท่านอาจารย์ ขอเพิ่มเติมอีกนิดเดียว เพราะว่าขณะนี้มีเห็น เราก็ทราบว่าจักขุวิญญาณที่ทำกิจเห็นเกิดขึ้นเพียงหนึ่งขณะ แต่ชวนะซึ่งเป็นกุศล และอกุศลในการเกิดถึง ๗ เท่า ลองคิดถึงว่าการกระทำกรรมแต่ละครั้ง กว่ากรรมจะสำเร็จ เราต้องมีการคิดก่อน บางครั้งก็หลายวันใช่ไหม อย่างคนที่จะทำกุศลกรรมก็อาจจะคิดจะทำกุศลกรรมประเภทไหน ซื้อหาของสิ่งใด ถ้าจะทำอกุศลกรรมก็คิดอีก จะทำอกุศลกรรมอย่างไร เพราะฉะนั้นชวนจิตจะเกิดมากมายสักแค่ไหนเมื่อเทียบกับจิตเห็นหนึ่งขณะแต่ชวนะ ๗ เท่า ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล นี่เป็นเหตุที่เมื่อถึงการกระทำกรรมสำเร็จลงไปแล้วก็ย่อมมีการให้ผลได้ แล้วก็ยังจำแนกว่าใน ๗ ขณะจิตขณะไหนให้ผลในปัจจุบัน ขณะไหนให้ผลในชาติต่อไป และขณะไหนให้ผลในชาติข้างหน้าอีกยาวนานได้
วันจันทร์ที่ ๒๖/๐๘/๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ คราวก่อนก็เป็นเรื่องของกิจของจิต ซึ่งทำให้ได้เข้าใจขึ้นว่าเวลาที่เราคิดว่าเรากำลังทำกิจการงานหรือว่ามีชีวิตเป็นไปในวันหนึ่งวันหนึ่งว่าความจริงแล้วก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ใคร แต่เป็นจิต และเจตสิกซึ่งเกิดขึ้นทำกิจการงานตามลำดับเหมือนกัน ในคราวก่อนก็ได้พูดถึงเรื่องกิจของจิต ๑๔ กิจ จำนวนนี้ก็ฟังไว้ก่อน แล้วก็จะจำได้กี่กิจนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ให้ทราบว่าไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อย่างไรก็ตาม จิตเกิดขึ้นทำกิจการงาน ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นก็คงจดจำได้บ้างสำหรับกิจของจิต กิจที่หนึ่ง ปฏิสนธิกิจ สิ่งนี้ก็หมดไปแล้ว ชาติหนึ่งก็มีเพียงขณะเดียวเท่านั้น แล้วก็จุติกิจก็ยังไม่มาถึงซึ่งเป็นจิตขณะสุดท้าย แต่ระหว่างที่จุติจิตยังไม่เกิดก็จะมีจิตเกิดขึ้นทำกิจอย่างหนึ่งอย่างใด ในกี่กิจ เมื่อสักครู่นี้ปฏิสนธิกิจหมดไปแล้ว แล้วก็จุติกิจก็ยังไม่มาถึงทั้งหมดมี ๑๔ กิจ เพราะฉะนั้นระหว่างที่ยังไม่ถึงจุติกิจ จิตจะเกิดขึ้นทำกิจอย่างหนึ่ง อย่างใดในกี่กิจ ๑๒ กิจเท่านั้น ซึ่งภวังคกิจต้องมี เพราะว่าขณะใดก็ตามที่จะมีการเห็น มีการได้ยิน มีการได้กลิ่น มีการลิ้มรส มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส จะเกิดเห็นขึ้นมาทันทีไม่ได้ ทั้งหมดต้องเป็นภวังค์ก่อน เพราะฉะนั้นให้ทราบว่ามีภวังคจิตก่อนเห็น มีภวังคจิตก่อนได้ยิน มีภวังคจิตก่อนได้กลิ่น มีภวังคจิตก่อนลิ้มรส มีภวังคจิตก่อนที่จะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย มีภวังคจิตก่อนคิดนึก เพราะฉะนั้นก็เป็นกิจที่ทำหน้าที่ที่โลกนี้ไม่ปรากฏ ไม่ใช่วิถีจิตเพราะเหตุว่าไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรสเลย ขณะใดที่ไม่มีการเห็น ไม่มีการคิดนึกทั้งหมด จิตทำกิจภวังค์ เพราะฉะนั้นในขณะที่กำลังเห็น สำหรับจิตเห็นเป็นภวังคจิตหรือไม่ ไม่เป็น เพราะทำกิจเห็น ทำกิจเห็นแล้วจะทำภวังคกิจไม่ได้ จิตจะเกิดขึ้นทำกิจหนึ่งเท่านั้น จิตหนึ่งขณะจะทำสองกิจไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่จิตเกิดขึ้นเห็นขณะนั้นจะเป็นภวังค์ไม่ได้ ขณะที่กำลังทำกิจได้ยิน เป็นภวังค์ หรือไม่ ไม่เป็น ขณะคิดนึกก็ไม่เป็น ขณะที่โลภะเกิดขึ้นติดข้องในอารมณ์หรือว่าโทสะเกิดขึ้นไม่พอใจในอารมณ์ที่ปรากฏขณะนั้นเป็นภวังค์หรือไม่ ก็ไม่เป็น เพราะฉะนั้นเราก็จะมีความเข้าใจภวังค์กิจที่ถูกต้องคือไม่ใช่ว่าใครเห็นแล้วก็ไม่สนใจอะไรแล้วเราก็บอกว่าคนนั้นเป็นภวังค์ ความจริงแล้วถ้าขณะใดที่เห็นต้องละเอียดว่าขณะเห็นไม่ใช่ภวังคจิต ขณะได้ยินไม่ใช่ภวังคจิต ก่อนเห็นก่อนได้ยินต้องมีวิถีจิต เพราะเหตุว่าปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ไม่ใช่วิถีจิต ไม่ได้อาศัยทางหนึ่งทางใดเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะฉะนั้นไม่ใช่วิถีจิต นอกจากปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตแล้ว เป็นวิถีจิตทั้งหมด เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นชื่ออะไรต่อไปก็ทราบว่าถ้าจิตนั้นไม่ได้ทำกิจปฏิสนธิ ไม่ได้ทำกิจภวังค์ ไม่ได้ทำกิจจุติแล้วต้องเป็นวิถีจิต วิถีจิตคือจิตที่ต้องอาศัยทางหนึ่งทางใดเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ต่างจากภวังค์ เพราะเหตุว่าขณะที่เป็นภวังค์อยู่ อารมณ์ใดๆ ก็ไม่ปรากฏ แม้จะเกิดในโลกนี้ หรือโลกไหน อารมณ์ของโลกนั้นๆ ก็ไม่ปรากฏเลย ขณะที่ไม่เป็นภวังค์เท่านั้นที่อารมณ์ต่างๆ ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อารมณ์หรืออารัมนะในภาษาบาลี หรืออารัมพนะ หมายความถึงสิ่งที่จิตรู้ จิตรู้อะไรก็ตาม สิ่งที่ถูกจิตรู้เป็นอารมณ์ของจิต เพราะฉะนั้นในวันหนึ่ง วันหนึ่ง เวลาที่ศึกษาธรรมแล้วเราก็อาจจะเริ่มคิดพิจารณาว่าอะไรสำคัญในชีวิต วันนี้ผ่านมาแล้วมากมาย ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏสำคัญ สิ่งที่ไม่ปรากฏนี้สำคัญหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่สิ่งที่กำลังปรากฏสำคัญ เพราะฉะนั้นอารมณ์ที่ปรากฏซึ่งจิตกำลังรู้นี้ เป็นสิ่งที่ถ้าเราไม่พิจารณาเราจะไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วเราปรารถนา เราติดข้องในสิ่งที่ปรากฏทั้งหมด จิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ เมื่อจิตเป็นสภาพรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นความหมายของอารัมณะหรืออารมณ์ คือสิ่งที่เป็นที่ยินดีของจิต ไม่มีเรา แต่มีจิต และจิตนั้นยินดีในอารมณ์ มีไหมที่จิตจะไม่ยินดีในอารมณ์ ไม่ใช่วิสัย โทสะความไม่ชอบ ความขุ่นเคือง เกิดในอารมณ์ได้ แต่จิตล้วนๆ นี้ จิตจะต้องยินดีในอารมณ์เสมอ ไม่ว่าอารมณ์อะไรทั้งสิ้น เมื่อจิตเกิดจิตจะไม่ไปหาสิ่งอื่นเลยนอกจากจิตรู้สิ่งใดอารมณ์ที่จิตรู้เป็นที่ยินดีพอใจของจิต เพราะฉะนั้นเราจะเห็นความจริงว่าเวลาที่ทรงแสดงสภาพธรรมโดยละเอียด เช่น โดยปัจจัย อย่างเวลาที่เราไปฟังสวดงานศพ จะพูดถึงเรื่องปัจจัย เพราะเหตุว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะเกิดขึ้นจะเกิดขึ้นโดยไม่มีปัจจัยไม่ได้ คนที่ไม่รู้ก็บอกว่าเกิดขึ้นเอง แต่ว่าตามความจริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเกิด ต้องอาศัยปัจจัยทำให้เกิดขึ้น จิตก็มีปัจจัยเกิดขึ้น เจตสิกก็มีปัจจัยเกิดขึ้น รูปก็มีปัจจัยเกิดขึ้น เวลาที่ไปฟังงานสวดพระอภิธรรมศพ พระท่านก็จะสวดคำว่าอารมณนะปัจจัย เพราะเหตุว่าถ้าจิตไม่รู้อารมณ์นั้น ก็จะไม่มีความยินดี ไม่มีความต้องการในอารมณ์นั้น แต่เพราะเหตุว่าอารมณ์ใดก็ตามที่ปรากฏ ในวันนี้ลองพิสูจน์ดู ตั้งแต่เช้ามาจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นสิ่งที่สำคัญมากในชีวิตของเรา มีใครอยากจะทอดทิ้งอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้ไหม ยังไม่สามารถจะเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นยังไม่ใช่ขณะที่จะรู้สภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งคือ นิพพาน ตราบใดที่เราไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมแล้วก็ยังคงยินดีพอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นปกติธรรมดาอย่างนี้ ขณะนั้นจะไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นแม้นิพพานเป็นสิ่งที่มีจริง เป็นปรมัตธรรม แต่การที่จะต้องมีความเข้าใจถูกต้องในสภาพธรรม มีปัญญาที่รู้ว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นนามธรรม และรูปธรรมจะเป็นหนทางที่ทำให้สามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของนิพพานได้ จะเห็นว่าโดยมากถ้าขาดการศึกษาโดยละเอียด พอได้ยินคำว่านิพพานบางคนอาจจะต้องการ ไม่ทราบที่นี่มีใครต้องการที่นิพพานหรือว่ารู้นิพพานหรือยัง หรือว่าพอได้ยินก็น่าสนใจ
ผู้ฟัง โดยธรรมชาติของผู้ใฝ่ปัญญา สูงสุดที่แต่ละบุคคลต้องการคือ นิพพาน ทีนี้ถามว่าต้องการหรือไม่ ขอตอบว่าผมต้องการครับ
ท่านอาจารย์ ขอโทษ นิพพานคืออะไร ถ้ายังไม่รู้จริงๆ ควรจะต้องการหรือไม่ต้องการ เพราะยังไม่รู้จริงๆ
ผู้ฟัง อธิบายคือไม่มีทั้งจิต ไม่มีเจตสิก และไม่มีรูปด้วย
ท่านอาจารย์ แต่มีจิตซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นจะไม่มีจิตที่รู้นิพพานไม่ได้ ถ้าไม่มีจิตรู้นิพพาน นิพพานก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นขณะนี้จิตรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาคือกำลังเห็นว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกำลังปรากฏทางตา จิตได้ยินเสียงในขณะที่เสียงกำลังปรากฏกับจิตที่ได้ยิน เพราะฉะนั้นวันหนึ่งวันหนึ่งทั้งหมดนี้ก็มีแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา มีเสียง มีกลิ่น มีรส มีโผฏฐัพพะคือเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ที่สามารถจะรู้ทางกาย แล้วก็คิดในเรื่องราวของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แต่ไม่ใช่นิพพาน เพราะว่าจุดประสงค์ของการศึกษาธรรม ขณะนี้อาจจะไม่ทราบว่าเมื่อมีความเข้าใจธรรมขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ปัญญาเริ่มเกิด เริ่มเจริญ เริ่มเข้าใจความจริง ซึ่งเป็นอนัตตา เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม จนกว่าจะถึงขณะที่รู้แจ้งสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งคือนิพพาน แต่ว่ายังไม่ต้องรีบไปถึง เพราะว่ากำลังเริ่มต้นที่จะเข้าใจสภาพธรรมก่อน เพราะฉะนั้นจะรีบไปถึงหรือไม่
ผู้ฟัง ก็ไม่ได้รีป แต่เร็วก็ดี คืออย่างไร ถ้าหากว่านิพพานมีจิต
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ นิพพานมีจิต แต่ต้องมีจิตที่รู้นิพพานมิฉะนั้นนิพพานไม่ปรากฏ
ผู้ฟัง ถ้าหากว่ามีจิตรู้นิพพานแล้ว ก็คงจะไม่แตกต่างไปจากโลกเท่าไร
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เพราะเหตุว่าการรู้แจ้งอริยสัจธรรม คือมีนิพพานเป็นอารมณ์เท่านั้นที่สามารถที่จะดับกิเลสได้เป็นสมุทเฉท คือไม่เกิดอีกเลย วันนี้ที่จะพูดถึงเรื่องนี้ ก็เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ใครก็ตามที่ไม่ได้ศึกษาโดยที่เข้าใจจริงๆ ก็จะไม่สามารถที่จะปฏิบัติจนกระทั่งถึงนิพพานได้ เพราะว่าปัญญาต้องอบรม ตามระดับขั้น คือขั้นฟังก่อนให้เข้าใจ จนกระทั่งถึงขั้นที่สติสามารถที่จะถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ด้วยความเข้าใจที่ค่อยๆ เข้าใจถูกต้องตรงตามที่ได้ยินได้ฟังก่อน แล้วก็ละคลายความที่เคยพอใจในสิ่งที่เกิดดับ เพราะว่าได้ประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมตั้งแต่ได้ยินได้ฟังครั้งแรกว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งใดก็ตามที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นแล้วดับ ขณะนี้เอง แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นที่เป็นปัญญาที่ประจักษ์ก็จะถึงนิพพานไม่ได้ เพราะฉะนั้นการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ไม่ใช่ทำอย่างอื่น เพราะว่าบางคนมีความสงสัยในเรื่องของการปฏิบัติ ในเรื่องของการที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม แต่ว่าจะต้องเริ่มต้นจากการที่เข้าใจสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน แม้แต่วันนี้ทั้งวันก็คือจิตเจตสิกเกิดขึ้นทำกิจการงานต่างๆ นั่นเอง ขณะนี้ เพียงเท่านี้ สามารถจะรู้แจ้งนิพพานได้ไหม ไม่ได้ต้องฟังต่อไปอีก และก็เป็นความเข้าใจของแต่ละท่านเพิ่มขึ้นจนกระทั่งสามารถรู้จริงๆ ตามที่ได้ฟัง ขอเชิญคุณสุภีร์ทบทวนเรื่องกิจของจิตที่เหลือด้วย
อ.สุภีร์ อาจารย์ก็กล่าวไป ๓ กิตด้วยกันคือปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ ส่วนจิตที่เหลือ อีก ๑๑ กิจ อยู่ในวิถีจิตทั้งหมด แต่ว่าในชีวิตประจำวันของเรามีจิตที่เกิดขึ้นทำกิจ ๑๒ กิจด้วยกันแต่เกิดในวิถีจิต ๑๑ กิจ และไม่ได้เกิดในวิถีก็คือภวังคจิจ ซึ่งทำกิจภวังค์
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 001
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 002
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 003
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 004
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 005
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 006
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 007
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 008
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 009
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 010
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 011
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 012
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 013
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 014
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 015
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 016
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 017
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 018
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 019
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 020
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 021
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 022
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 023
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 024
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 025
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 026
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 027
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 028
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 029
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 030
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 031
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 032
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 033
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 034
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 035
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 036
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 037
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 038
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 039
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 040
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 041
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 042
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 043
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 044
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 045
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 046
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 047
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 048
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 049
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 050
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 051
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 052
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 053
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 054
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 055
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 056
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 057
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 058
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 059
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 060