สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 048
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๔๘
วันจันทร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๕
อ.ประเชิญ ซึ่งในการที่เราจะเรียนรู้เรื่องของจิต ความหมายของกุศลที่เราเคยได้สนทนาในเรื่องของจิตที่สะสมสันดานของตนเราเคยทราบแล้วว่า ทั้งกุศล และอกุศล และกริยาก็จะเป็นจิตที่สะสมสันดาน ส่วนวิบากไม่ได้สะสม ในชาติทั้งกุศล และอกุศลเราก็คงจะเคยถูกญาติพี่น้อง หรือถูกเพื่อนๆ ถามก็ได้ว่ากุศลคืออะไร เพราะว่าบางท่านก็เคยไปวัด หรือไปร่วมงานบุญต่างๆ ก็อาจจะเคยถูกถามว่าไปทำบุญไปทำกุศลๆ เป็นอย่างไร ซึ่งโดยความหมายกุศลก็คือเป็นจิตที่ไม่มีโรคคือไม่มีกิเลสเป็นจิตที่ดีงามเป็นจิตที่ฉลาดไม่มีโทษที่ควรติเตียน และมีสุขเป็นวิบาก นี่คือกุศลซึ่งเป็นจิตที่ควรแก่การอมรมให้มากขึ้นๆ เพราะว่ากุศลเหล่านี้ก็จะเป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้ได้เพิ่มความรู้เป็นปัญญา ที่จะค่อยๆ ละอกุศลทั้งหลาย เพราะว่าสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออกุศลก็คือกุศลนั่นเอง ที่จะ ค่อยๆ บรรเทา ค่อยๆ ตัด ค่อยๆ ละในสิ่งที่ไม่ดีงาม
ผู้ฟัง คนอายุมากทั้งนั้นไปวัดเพื่อทำบุญๆ ในที่นี้ทำได้หรือเปล่า ทำอย่างไร อะไรคือบุญ
อ.ประเชิญ เรียนเชิญคุณสุภีร์อธิบายคำว่าบุญซึ่งเป็นภาษาบาลีจะมาจากอะไร และก็ความหมายจริงๆ หมายถึงอะไรครับทำได้ หรือไม่ครับ
อ.สุภีร์ คำว่าบุญนี้มาจากภาษาบาลีว่าปุญญะ หมายถึงชำระสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากจิตสันดาน เพราะเหตุว่าในชวนะของเรามี ๒ อย่างคือไม่เป็นกุศล ก็เป็นอกุศล เมื่อใดก็ตามที่เป็นบุญก็คือเป็นฝ่ายที่เป็นกุศลจึงเรียกว่าปุญญะ หมายถึงการชำระสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากจิตสันดาน ก็คือความดีหรือกุศลจิตเกิดขึ้นมาแทนนั่นเอง การกระทำต่างๆ ที่ออกมาทางกายทางวาจานี้ด้วยอำนาจของชวนจิตในชวนวิถีนั่นเอง
ฉะนั้นในชีวิตประจำวันของทุกๆ ท่านการแสดงออกทางกายทางวาจาจะออกมาจากจิต ๒๐ ประเภทก็คือมหากุศล ๘ ประเภท อกุศล ๑๒ ประเภท อาจจะออกมาจากอกุศลโลภะมูลจิต ๘ หรือโทสะมูลจิต ๒ อาจจะโกรธใครแล้วก็แสดงกิริยาอาการออกมาหรือว่าพูดวาจาออกมา ถ้าเป็นการแสดงกิริยาอาการออกมาอย่างนั้นการพูดด้วยความโกรธอย่างนั้นคำพูดเหล่านั้นก็เกิดมาจากจิตที่เรียกว่าโทสะมูลจิต เพราะเหตุว่าการที่เราจะเคลื่อนไหวร่างกายต่างๆ ได้ และทำกิจการหรือว่าทำกิริยาอาการต่างๆ ได้พูดคำพูดต่างๆ ได้นี้ในชวนจิตเท่านั้น และชวนจิตของบุคคลผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์มีจิตอยู่ ๒ ชาติเท่านั้นก็คือชาติกุศล และชาติอกุศล
สำหรับเราทั่วไปเป็นผู้ที่อยู่ในขั้นที่เป็นกามาวจรภูมิ จิตที่ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะเหล่านี้ เป็นจิตขั้นกามาวจรภูมิ กุศลที่สามารถเกิดได้ในกามาวจรภูมิมี ๘ ประเภทเรียกว่ามหากุศลมีอยู่ ๘ ประเภท ส่วนอกุศลมี ๑๒ ก็คือโลภะมูลจิต ๘ โทสะมูลจิต ๒ และโมหมูลจิตอีก ๒ ส่วนรายละเอียดเราคงจะได้ค่อยๆ สนทนาไปเรื่อยๆ แต่ให้ทราบไว้ก่อนว่าการที่จะทำอะไรออกมาทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ในชีวิตประจำวัน ด้วยจิต ๒๐ ประเภท อาการที่เป็นกุศลที่เกิดมาจากมหากุศล ๘ ประเภทท่านเรียกว่าบุญยกิริยาวัตถุ ที่ตั้งของการกระทำบุญ บุญยกิริยาหมายถึงการกระทำบุญ วัตถุคือที่ตั้ง บุญยกิริยาวัตถุแปลว่าที่ตั้งของการกระทำบุญหรือการกระทำบุญ แล้วจะเป็นที่ตั้งให้ได้กุศลวิบากต่อไปในอนาคต
ที่เรียกว่าบุญยกิริยาวัตถุเพราะว่าจริงๆ แล้วก็มาจากมหากุศลทั้ง ๘ นั้นเองแต่ว่ามหากุศลทั้ง ๘ ทำให้เกิดอาการทางกายทางวาจาที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นกิริยาอาการที่เป็นบุญขึ้นมา คำว่าบุญเป็นสิ่งที่ชำระมลทินหรือกิเลสในจิตสันดาน บุญยกิริยาวัตถุมีอยู่ ๑๐ ประเภท โดยย่อคือ ๓ ประเภท ได้แก่ ทาน ศีล และภาวนา ทุกท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมกล่าวว่ากุศลที่เกิดในกามาวจรจิตว่าเป็นมหากุศล เพราะว่ากุศลในขั้นกามาวจรมีเหตุให้เกิดกุศลมากมาย ทานก็ได้ ศีลก็ได้ ฟังพระธรรมก็ได้พิจารณาธรรมก็ได้ หรือเจริญสมถะ และวิปัสสนาก็ได้ ฉะนั้นกุศลในกามาวจรในชีวิตประจำวันของเราเป็นกุศลได้มากมายหลายทาง อาจจะเมตตากรุณากับคนอื่น อันนี้ก็เป็นกุศล อาจจะช่วยเหลือคนอื่นด้วยความเห็นอกเห็นใจ อยากให้เขาพ้นจากสิ่งที่ลำบากที่ยังเป็นอยู่ ช่วยเด็กถือของบนรถเมล์ หรือลุกให้คนอื่นนั่งบนรถเมล์อะไรอย่างนี้กุศลจิตเกิด
ฉะนั้นกุศลในกามาวจรภูมิเกิดได้มากมายหลายอย่างมากมายหลายวิธี จึงเรียกว่ามหากุศล คำว่ามหาแปลว่ามาก หรือว่าหลายๆ วิธีการ มหากุศลก็คือกุศลที่สามารถเกิดได้หลายๆ วิธีการหลายๆ อย่างซึ่งย่อๆ ก็คือมีทานศีล และภาวนา แต่ทานนี้ก็มีหลายอย่างมีการให้สิ่งของกับบุคคลอื่น มีการให้อภัย มีการอนุโมทนาบุญของคนอื่นมีการให้ส่วนบุญที่ตัวเองได้ทำแล้วก็มี ศีลก็มีหลายอย่างเหมือนกัน ภาวนาก็มีหลายอย่างเช่นเดียวกัน ไม่เหมือนกุศลขั้นที่เป็นรูปาวจรภูมิ อรูปาววจรภูมิกับขั้นโลกุตระภูมิ ถ้าเป็นกุศลขั้นที่เป็นรูปาวจรภูมิจะเรียกว่ารูปาวจรกุศล ถ้าเป็นกุศลที่เป็นอรูปาวจรภูมิเรียกว่าอรูปาวจรกุศล ถ้าเป็นกุศลขั้นโลกุตรภูมิเรียกว่าโลกุตระกุศล จะไม่มีชื่อว่ามหากุศลเลย เพราะเหตุว่ากุศลที่เกิดในภูมิทั้ง ๓ ข้างบนก็คือรูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตรภูมิ มีอารมณ์เฉพาะอย่างๆ เท่านั้น ถ้าเป็นกุศลขั้นรูปาวจรกุศลก็ด้วยอำนาจของการเจริญสมถภาวนาที่มีรูปเป็นอารมณ์เท่านั้น ถ้าเป็นอรูปาวจรกุศลก็ด้วยอำนาจการเจริญอบรมสมณะภาวนาที่มีอรูปเป็นอารมณ์เท่านั้น ถ้าเป็นโลกุตรกุศลก็เป็นกุศลขั้นที่พ้นจากโลกมีนิพพานเป็นอารมณ์เท่านั้น จึงมีความแตกต่างกันในระหว่างมหากุศล รูปาวจรวจรกุศล อรูปวจรกุศล และโลกุตรกุศล
แต่ที่ท่านผู้ฟังถามเรื่องบุญ ว่าโดยสภาพธรรมแล้วคือกุศลจิตที่เป็นบุญเกิดในชวนจิตทำให้กระทำกิริยาอาการทางกาย ทางวาจา ออกมาเป็นที่ตั้งของการกระทำบุญเรียกว่าบุญยกิริยาวัตถุ
อ.กฤษณา คุณสุภีร์ก็ได้กรุณาตอบคำถามของคุณวิจิตรที่เกี่ยวกับเรื่องของการทำบุญ เพราะฉะนั้นจะทำบุญได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องของสภาพธรรมที่เป็นกุศลจิตเกิดขึ้นกระทำกิจหน้าที่ของกุศลจิตนั้นๆ โดยที่มีบุญยกิริยาวัตถุคือที่ตั้งของการทำบุญ เพราะฉะนั้นที่บอกว่าไปวัดไปทำบุญหรือทำบาป เพราะถ้ากุศลจิตเกิดขึ้นเป็นกุศลก็เป็นบุญ แต่ถ้าไปวัดอกุศลจิตเกิดขึ้นอาจจะเห็นอะไรที่ไม่ดีไม่ชอบใจ และโทสะเกิดขึ้นอย่างนั้นไปวัด แต่ไม่ได้ทำบุญในขณะที่อกุศลจิตเกิดใช่ไหม
เพราะฉะนั้นไปวัดไปทำบุญก็ทำบุญได้ตั้งหลายอย่าง เพราะว่าบุญยกริยาวัตถุคือที่ตั้งของการทำบุญนี้มีตั้ง ๑๐ อย่าง ไปวัดนี้อาจจะไปให้ทานถวายอาหารพระ หรือไปรักษาศีลก็ได้ หรือไปฟังธรรมด้วยซึ่งก็เป็นประการต่างๆ ของบุญยกิริยาวัตถุ
ผู้ฟัง ปุญญัง กับ ทานะ ต่างกันยังไง
อ.สุภีร์ คำว่าบุญนี้หมายถึงการชำระกิเลสออกไปจากจิตตสันดาน หมายถึงกุศลจิตทั้งหมดเลยเรียกว่า บุญ หรือปุญญะ ถ้าเป็นการทำบุญก็คือการกระทำอะไรต่างๆ หรือการพูดอะไรต่างๆ ที่ออกมาด้วยกุศลจิตทั้งหมดเป็นบุญ
แต่ทานหมายถึงการให้ๆ หลายอย่าง อาจจะให้วัตถุหรือให้อภัย หรือให้ธรรมก็ได้เป็นการให้สิ่งหนึ่งใดสิ่งหนึ่งออกไป ความต่างกันก็คือทานนั้นจะแคบกว่าบุญ เพราะบุญนี้หมายถึงกุศลจิตนั่นเองการกระทำใดๆ ก็ตามที่ออกมาทางกายทางวาจาด้วยกุศลจิตเป็นบุญทั้งหมด เป็นกิริยาอาการที่เป็นบุญทั้งหมด แม้แต่ไม่ออกมาทางกายทางวาจา ก็เป็นบุญทางใจด้วย
ผู้ฟัง เราจะสังเกตอย่างไร สภาวะอย่างไรจึงเป็นบุญ ให้สังเกตุที่สภาวะตรงนั้น ไม่ใช่สังเกตที่วัตถุใช่ไหม
อ.สุภีร์ ไม่ใช่สังเกตที่กิริยาอาการ สังเกตที่จิตเป็นกุศล หรือเปล่า อาจจะทำท่ายื่นเงินให้เหมือนกันเลยระหว่างทำบุญ กับซื้อของยื่นให้เหมือนกัน แต่ซื้อของนี้กุศลอาจจะเกิดลำบากหน่อยเพราะว่าอยากได้ของอยู่ แต่การยื่นเงินหรือว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้กับบุคคลที่เขาต้องการด้วยการที่จะสละให้ก็เป็นอาการยื่นนั่นเองแต่ยื่นด้วยกุศลจิต การกระทำที่ออกมาทางกายทางวาจาออกมาด้วยจิต ๒๐ ประเภท คือ อกุศล ๑๒ และกุศล ๘ เมื่อใดก็ตามที่ออกมาด้วยกุศลจิตเป็นบุญ เมื่อใดก็ตามที่ออกมาด้วยอกุศลก็เป็นบาป
ผู้ฟัง ในสภาวะของบุญหรือทาน สังเกตที่เวทนาหรือสังเกตที่โสมนัสหรือเกิดปีติอะไรอย่างนี้เป็นต้น หรืออย่างไร สภาวะตรงนี้ต่างหาก
อ.สุภีร์ ก็ค่อยๆ ศึกษาความละเอียดเพิ่มเติมขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเหตุว่ากุศลจิต และอกุศลจิตมีเจตสิกที่เกิดในจิตนั้นแตกต่างกันออกไป อย่างถ้าเราจะสังเกตที่เวทนาก็สามารถสังเกตแยกได้ชัดเจนเฉพาะโทมนัสเวทนาเท่านั้น เพราะว่าโทมนัสเวทนาเกิดได้กับจิต ๒ ประเภทเท่านั้นก็คือโทสะมูลจิต ๒ ประเภทซึ่งเป็นฝ่ายอกุศล เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ หรือว่านอนคนเดียวกลัวผี โทสะมูลจิตทั้งนั้น ก็คือเป็นอกุศลนั่นเอง เมื่อใดก็ตามที่เดินเข้าไปในบ้านในครัวแล้วเห็นอะไรไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ไม่ค่อยชอบใจเท่าไหร่ อย่างนี้ทั้งหมด ความไม่ชอบใจทั้งหมดเป็นลักษณะอาการปรากฏของโทมนัสเวทนาซึ่งเกิดกับโทสะมูลจิต ๒ ประเภท ถ้าสังเกตที่เวทนาสามารถสังเกตได้เฉพาะจิตนี้เท่านั้น แต่จิตอื่นๆ ต้องอาศัยเจตสิกอื่นๆ เป็นเครื่องช่วยในการพิจารณาว่าขณะใดเป็นกุศล เป็นอกุศล เพราะเหตุว่าถ้าเราจะสังเกตที่โสมนัสเวทนาความปลาบปลื้มใจ หรือความปีติยินดี มหากุศลทั้ง ๘ ก็มีจิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนาด้วย ๔ ประเภท โลภะมูลจิต ๘ ประเภทก็มีโสมนัสเวทนาเกิด ๔ ประเภทเช่นเดียวกัน
ฉะนั้นถ้าเราบอกว่าจะใช้โสมนัสเวทนานี้เป็นตัวเปรียบเทียบอาจจะเป็นโลภะมูลจิตก็ได้ หรืออาจจะเป็นมหากุศลก็ได้แล้วแต่ จึงต้องค่อยๆ ศึกษารายละเอียดลงไปว่ามีเจตสิกหรือว่ามีลักษณะที่ต่างกันเพิ่มเติมอะไรบ้างเพื่อว่าจะสามารถสังเกตได้ในชีวิตประจำวัน แต่ถ้ากล่าวโดยย่อๆ ลักษณะของอกุศลจะเป็นสภาพธรรมที่หนัก และไม่สบาย ถึงจะเกิดพร้อมกับโสมนัส แต่ว่าเป็นโสมนัสที่หนักไม่เบาสบาย ถ้าทุกท่านสังเกตุถ้าเราทำอะไรสักอย่างที่เราชอบด้วยความติดในเรื่องนั้นๆ โสมนัสเกิดร่วมกับโลภมูลจิตรู้สึกรื่นเริงใจก็จริง แต่ว่าติดไปด้วยใช่ไหม ไม่ได้เบาสบายเลย โสมนัสเกิดแล้วก็หนักด้วย
แต่ถ้าเป็นฝ่ายกุศลสมมติให้อะไรใครไปแล้ว หรือว่าฟังธรรมแล้วเข้าใจรู้สึกปลื้มปิติใช่ไหม โสมนัสเกิดแล้วก็เบาสบายไม่เหมือนกันเลย ฉะนั้นจะมีเจตสิกที่นอกจากโสมนัสที่เป็นตัวที่จะชี้บ่งให้สังเกตุได้ในชีวิตประจำวัน ถึงจะยังไม่สามารถที่จะมีกุศลอกุศลปรากฏได้จริงๆ ในชีวิตประจำวันแต่จากการสังเกตที่ได้ศึกษามาก็สามารถสังเกตได้เช่นเดียวกัน
ผู้ฟัง ย้อนกลับไปถึงเรื่องทานผมเข้าใจว่าทานอย่างไรถึงจะมีปัญญา แล้วก็ทานอย่างไรถึงจะเรียกว่าทานนี้ไม่มีปัญญา แล้วผลของทานทั้ง ๒ ประเภทนี้จะให้วิบากต่างกันอย่างไร
อ.ประเชิญ ขออนุญาตเสริมตรงคุณสุภีร์เมื่อสักครู่คือในเรื่องของบุญตรงนี้ก่อนเพราะว่าจริงๆ แล้วก็เป็นสิ่งที่สังเกตได้ยาก เพราะบางครั้งโลภะปลื้มปีติสบายใจก็อาจจะเข้าใจว่าเป็นบุญก็ได้ ซึ่งในพระสูตรพระผู้มีภูมิภาคทรงแสดงว่าสิ่งใดที่ทำไปแล้วไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง นั่นแหละคือบุญ นั่นแหละคือความดี ซึ่งก็จะตรงกับอรรถความหมายที่ในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่าบุญ และกุศลมีอรรถที่มีความสุข เป็นวิบากไม่มีโทษที่ควรติเตียนก็เป็นธรรมที่ดีงาม และเป็นธรรมที่ฉลาด และไม่มีโรคคือโรคทางใจที่เป็นราคะโทสะ โมหะ อันนี้คือบุญ หรือความดีทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี ถ้านึกถึงทีไรก็ไม่มีความเดือดร้อนไม่มากินแหนงใจภายหลังว่าไม่น่าทำ หรือว่าไม่น่าพูด หรือว่าไม่น่าคิดเช่นนั้น นี่คือสิ่งที่เป็นบุญ ซึ่งแม้ในภพชาติต่อไปก็ยังอำนวยผลที่เป็นสุข นั่นแหละคือบุญ ซึ่งเมื่อสักครู่นี้คุณสุภีร์ และพี่กฤษณาก็ได้กล่าวว่าบุญนี้ก็สามารถที่จะเป็นไปได้ทั้งเรื่องของทานศีล และภาวนา
ผู้ถามได้ถามเรื่องของทานที่จะประกอบด้วยปัญญา ซึ่งตรงนี้แล้วก็อาจจะพูดโดยคร่าวๆ ได้ว่าผู้ที่มีปัญญาให้ทาน เช่น พระโพธิสัตว์ทั้งหลายท่านให้ทานแล้วท่านไม่หวังผล คือให้แล้วให้จริงๆ เสียสละจริงๆ ไม่ได้หวังผลที่จะไปใช้ในภพหน้าหรือจะหวังร่ำรวย (เพราะการหวังผลเป็นกุศลที่ไม่ได้ประกอบด้วยญาณะคือปัญญา) แต่ว่าผู้ใดที่เชื่อกรรม และผลของกรรมให้ทานโดยไม่หวังภพชาติ ไม่ได้หวังที่จะได้รับอานิสงส์ต่างๆ ให้ไปโดยรู้เหตุผลคือรู้ว่าทานให้แล้วมีผลแน่นอนแล้วก็รู้ว่าทรัพย์สมบัติในโลกนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนคือเป็นของที่ไม่เที่ยงเป็นของที่ประจำโลก แต่ตัวเราก็เป็นผู้ที่เหมือนกับมาเที่ยวชั่วคราวเท่านั้นเอง คือบางท่านมาเที่ยวในโลกนี้ก็ ๑๐ ปีบางท่าน ๒๐ ปีบางท่านก็ ๕๐ปี ๖๐ ปีบางท่านเกินร้อยปีก็มี เพราะฉะนั้นผู้ที่มีปัญญาก็จะทราบว่าทรัพย์สมบัติในโลกนี้ก็เป็นเพียงของที่จะใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง เหมือนกับเราเดินทางไปตรงศาลาใดศาลาหนึ่ง ของใช้ในที่นั้นเราก็ใช้เพียงชั่วคราว แล้วอีกหน่อยก็ต้องเดินทางต่อไป แต่ว่าของใช้เหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลนั้นก็คือต้องเอามาใช้ใช่ไหม เช่นเงินทองทรัพย์สมบัติท่านกล่าวว่าถ้าไม่ใช่แล้วก็จะเป็นเหมือนกับทรัพย์สมบัติของคนที่ตายแล้วคือ คนที่ตายในเมืองไทยเราก็จะถูกตราสังข์ใช่ไหมก็มัดมือแล้วก็เอาไปนอนไว้ในโลงที่คับแคบเล็กน้อยเท่านั้นเอง คนที่ตายไปแล้วไม่สามารถที่จะมาจำแนกแจกว่าเอาเงินในบัญชีตรงนี้จะให้ลูกคนนี้ หรือว่าจะเอาไปทำบุญ หรือจะเอาไปให้ลูกหลานคนไหนที่จะเป็นทุนในการศึกษาอะไรต่างๆ ไม่สามารถที่จะมาจำแนกได้เลย
เพราะฉะนั้นผู้ที่ฉลาด คือผู้ที่เห็นว่าเป็นของที่ไม่แน่นอนไม่ยั่งยืนท่านก็จะเอาจำแนกแจกทานเพื่อจะเป็นทุนรอนในการที่จะใช้ชีวิตในภพหน้า และเป็นการที่จะขัดเกลากิเลส เพราะว่าคนเราวันๆ ก็คิดที่จะเอา จะได้ ใช่ไหม แต่ว่าการที่จะค่อยๆ ขัดเกลาความตระหนี่ และความอยากได้ซึ่งกิเลสที่อยู่ภายในใจจะเอาออกก็คงจะลำบาก แต่ว่าเราก็จะค่อยๆ เอาออกโดยการเอาของที่อยู่นอกกายค่อยๆ ออกไป เช่นนี้ก็เป็นผู้ที่รู้ความจริงว่าทรัพย์สมบัติทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ตัวเราก็ไม่เที่ยงจะต้องอยู่ในโลกนี้อีกไม่นาน ซึ่งตัวอย่างพระโพธิสัตว์ทั้งหลายท่านก็ได้ทำมาแล้ว ซึ่งพระโพธิสัตว์ก็เป็นผู้ที่ประกอบด้วยปัญญา การกระทำการของท่านก็เป็นทานที่ประกอบด้วยปัญญา
ผู้ฟัง อาจารย์สุภีร์ได้กล่าวว่า การเห็นก็เห็นด้วยตาทีละข้าง เพราะฉะนั้นได้ยินก็คงหูทีละข้าง จมูกคงทีละข้าง ดิฉันแปลกใจตรงที่เป็นรสๆ รู้หลายรส และตรงที่ลิ้นจะมีเฉพาะไหมว่าตรงไหนจะรู้รสอะไร
อ.สุภีร์ รู้ได้ทีละรส เหมือนกับถูกต้องกระทบสัมผัสทางกายเช่นเดียวกัน ถูกต้องกระทบสัมผัสได้ทีละอย่างเท่านั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ใช่ไหม รู้อารมณ์ได้ทีละอารมณ์ ฉะนั้นรสถ้าหลายรสแล้วก็หลายอารมณ์แล้วใช่ไหมต้องรู้หลายคราวมากแล้ว
ผู้ฟัง แต่จะมีเฉพาะที่หรือเปล่าที่ลิ้นที่ว่าส่วนไหนจะรู้หวาน ส่วนไหนจะรู้เค็มอะไรประเภทนั้น รู้ทีละขณะก็จริง
อ.สุภีร์ ไม่ใช่อย่างนั้น ที่ส่วนไหนรู้หวาน ส่วนไหนรู้เค็มอะไรอย่างนี้ ไม่ใช่อย่างนั้น จิตชื่อว่าวิญญาณ เพราะว่าเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์ ถ้าชิวหาวิญญาณเกิดรู้แจ้งได้ทุกรส ไม่ต้องรอบอกว่า เกิดข้างขวาลิ้นแล้วจะได้รสนั้น เกิด ข้างซ้ายลิ้นมแล้วจะได้รสนั้น เกิดตรงกลางแล้วจะได้อีกรสหนึ่ง อย่างนี้ไม่ใช่ เพราะเหตุว่าชิวหาวิญญาณเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น ฉะนั้นไม่ว่ารสจะละเอียดขนาดไหนจะประหลาดจนพูดไม่ถูก ชิวหาวิญญาณสามารถรู้แจ้งได้ไม่ว่าจะเกิดตรงไหน แต่ที่เกิดของเขาก็คือที่ลิ้น
ผู้ฟัง สรุปว่าไม่มีความต่างใช่ไหม เป็นที่จิตที่จะรู้ ไม่เฉพาะที่
อ.สุภีร์ เป็นเรื่องของจิต
ผู้ฟัง อาจารย์บอกว่าชิวหาวิญญาณนั้นคือตัวนามใช่ไหม แล้วเป็นไปได้ไหมว่า ตัวรูป คือชิวหาปสาทมีคุณสมบัติแตกต่างกันตามที่ตั้ง ดังนั้นรสจะคล้ายๆ ว่าชิวหาวิญญาณเกิดแน่นอน แล้วก็ต้องรู้ทุกรส เช่นนี้เห็นด้วยกับอาจารย์โดยตรงเลย แต่ที่ตั้งของลิ้นหรือว่าชิวหาปสาทอยู่ต่างๆ กัน เพราะตามทางการแพทย์รู้สึกว่าจะบอก และเคยสังเกตเวลาเผ็ดๆ หรือขมๆ ก็จะลองเลี่ยงดู แล้วรู้สึกว่ามันก็จะขมน้อยกว่าหรือว่าเผ็ดน้อยกว่า
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 001
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 002
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 003
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 004
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 005
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 006
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 007
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 008
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 009
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 010
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 011
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 012
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 013
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 014
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 015
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 016
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 017
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 018
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 019
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 020
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 021
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 022
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 023
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 024
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 025
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 026
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 027
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 028
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 029
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 030
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 031
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 032
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 033
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 034
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 035
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 036
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 037
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 038
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 039
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 040
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 041
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 042
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 043
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 044
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 045
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 046
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 047
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 048
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 049
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 050
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 051
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 052
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 053
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 054
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 055
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 056
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 057
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 058
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 059
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 060