สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 049
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๔๙
วันจันทร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๔๕
ผู้ฟัง ชิวหาวิญญาณคือตัวนามใช่ไหม เป็นไปได้ไหมว่า ตัวรูปชิวหาปสาทมีคุณสมบัติแตกต่างกันตามที่ตั้ง ดังนั้นจะคล้ายๆ ว่าชิวหาวิญญาณเกิดแน่นอนแล้วต้องรู้ทุกรส ประเด็นนี้เห็นด้วยกับอาจารย์โดยตรงเลย ที่ตั้งของลิ้นหรือว่าชิวหาประสาทอยู่ต่างๆ กันเพราะตามทางการแพทย์รู้สึกจะบอก แล้วก็เคยสังเกตเวลาเผ็ดๆ หรือขมๆ ก็จะลองเลี่ยงดู แล้วรู้สึกว่าจะขมน้อยกว่า หรือว่าเผ็ดน้อยกว่า อาจารย์พูดถึงวิญญาณชิวหาวิญญาณอย่างนั้นเห็นด้วยกับอาจารย์ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่จะถามถึงว่าคุณสมบัติของรูป
อ.สุภีร์ ชิวหาปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม รูปที่เกิดจากกรรมคุณภาพอาจจะไม่ดีก็ได้ ถ้าเราสังเกตง่ายๆ ก็คือเกี่ยวกับทางตา ทางหู จะสังเกตง่ายกว่า อย่างตอนหนุ่มๆ มองเห็นได้ชัดเจน พอแก่ตัวลงก็ชักจะมองเห็นไม่ค่อยจะชัดแล้วอย่างนี้ แต่จักขุวิญญาณรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏทางตาเหมือนเดิม แต่ว่าสถานที่เกิดหรือวัตถุที่เกิดคุณภาพไม่ดีก็ทำให้เหมือนกับว่าไม่ค่อยเหมือนเดิมแต่ว่าจักขุวิญญาณรู้แจ้งอารมณ์เหมือนเดิม
ผู้ฟัง ก็คือรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา
อ.สุภีร์ เหมือนกันกับทางลิ้น ชิวหาวิญญาณรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏทางลิ้น ฉะนั้นไม่ต้องไปเลี่ยงว่าอะไร
ผู้ฟัง เอาไปวางตรงไหนเพื่อเลี่ยงรส
อ.สุภีร์ เพราะเหตุว่าชิวหาวิญญาณนี้เป็นวิบากจิตๆ เลี่ยงไม่ได้ แล้วก็เกินประมาณที่จะคิดสิ่งหนึ่งที่ไม่พึงคิดก็คือกรรม วิบาก ผลของกรรม ชิวหาวิญญาณก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ไม่พึงคิดว่าจะไปอยู่ตรงไหนข้างไหน เพราะว่าเป็นวิบากจิตเป็นผลของกรรม และก็รูปซึ่งเป็นที่เกิดของชิวหาวิญญาณคือชิวหาปสาทรูปก็เป็นรูปที่เกิดจากกรรมเช่นเดียวกัน
ผู้ฟัง ดังนั้นถ้าในบางครั้งเราทานของเผ็ดแต่ตอนนั้นกรรมยังไม่มาส่งผลก็อาจจะไม่รู้สึกเผ็ดมาก ก็ขอถามข้ที่ ๒ คือย้อนกลับไปถึงเรื่องการทำบุญ มีความรู้สึกว่าเวลาเราทำบุญแล้วเราไม่ได้อยากได้อะไร เราก็จัดเตรียมข้าวของขณะที่ทำไป เราก็แค่จับซอง จับสิ่งของมาใส่ซอง แล้วรู้สึกว่าเราก็ไม่ได้ต้องการอะไร รู้สึกว่ามันก็เป็นเพียงแค่กิจกรรมหนึ่ง
อ.สุภีร์ บางท่านอาจจะบอกว่าทำอะไรด้วยความไม่ต้องการอะไรอย่างนี้ใช่ไหมคำว่าไม่ต้องการนี่ไม่ต้องการด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้องเท่านั้นเป็นปัญญาเป็นความเข้าใจถูก ที่บอกว่าไม่ต้องการสิ่งใด เป็นความเข้าใจถูก ไม่ใช่ว่าไม่ต้องการเพราะว่านึกอะไรไม่ออก ถ้าไม่ต้องการด้วยนึกอะไรไม่ออก หรือว่าเบลอๆ ไปอย่างนั้นก็คือเป็นอกุศลชนิดหนึ่งนั่นเอง ที่เราเรียกว่าโมหมูลจิต ก็คือนึกอะไรไม่ออก หรือว่าเป็นอกุศลประเภทอื่นก็ได้
การทำกุศล และบอกว่าไม่ต้องการอะไรคำว่าไม่ต้องการในที่นี้หมายถึงเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องกรรม และผลของกรรม ในเรื่องของการค่อยๆ สละไปค่อยๆ สละไป การรู้ว่าถ้ายังสละยากอยู่อย่างนี้ หรือยังไม่เริ่มให้ตั้งแต่วันนี้ ต่อไปก็จะค่อยๆ ยากขึ้นๆ ๆ ไปเรื่อยๆ เป็นความเข้าใจถูกว่าถ้าสะสมอกุศลชนิดนี้ สะสมความต้องการความยึดติดสิ่งเหล่านี้ แม้แต่สิ่งเหล่านี้เล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่สามารถที่จะให้ได้ สิ่งใหญ่ๆ ต่อๆ ไปจะให้ได้อย่างไร
หรือในชาตินี้เกิดมาได้ฟังพระธรรมแล้วยังไม่สามารถที่จะให้อะไรใครได้เลย ถ้าชาติถัดไปเกิดในภพภูมิอื่น แล้วไม่ได้ยินได้ฟังพระธรรมเลย จะสามารถให้ได้หรือไม่ เป็นความเข้าใจถูก
ผู้ฟัง ถ้าเราไม่ได้ต้องการอะไรเพื่อตัวเรา แต่เรามีความต้องการให้คนอื่นมีความสุข เพราะเรามีความรู้สึกว่าเขาก็คงจะสุขเช่นเราที่ได้ใช้ของสิ่งนั้น ที่ความรู้สึกว่าเขาก็คงจะสุขเช่นเรา หรือว่าอยากให้เขามีความสุข อย่างนี้เป็นโลภะใช่ไหม
อ.สุภีร์ ก็ตอนอยากให้เขามีความสุขก็เป็นตอนหนึ่ง ตอนให้ก็เป็นอีกตอนหนึ่ง สภาพธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลก็ได้ เราเห็นคนที่เขาเศร้าสร้อยมีความทุกข์เราสงสารเขาใช่ไหม สงสารนี้เป็นโทมมนัสเวทนา เป็นโทสะมูลจิต แต่โทสะมูลจิตนั้นสามารถเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลก็ได้ อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลก็ได้
หรือในทางตรงกันข้าม กุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลก็ได้ สภาพธรรมไม่มีใครที่จะสามารถบังคับบัญชาอะไรได้เลย แล้วแต่สภาพธรรมใดจะเกิด แล้วเราก็รู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น
ตามที่ท่านผู้ฟังได้ถามว่าอยากให้คนอื่นมีความสุขเพราะว่าเขาจะได้เหมือนเราใช่ไหม เราทราบแล้วว่าไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ไม่มีเขาไม่มีเรา ถ้าเกิดการเปรียบเทียบระหว่างเรากับเขา เรามีความสุข แล้วคนอื่นควรจะมีความสุขด้วย อย่างนี้ก็เป็นลักษณะของมานะนั่นเอง เป็นการเปรียบเทียบ มานะเป็นอกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลก็ได้ ฉะนั้นลักษณะของสภาพธรรมเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็ว ก็เป็นความเข้าใจเพิ่มขึ้นนั่นเองที่จะทราบว่า ขณะไหนเป็นกุศลจริงๆ ขณะไหนเป็นความคิดผิด นึกว่าเป็นกุศล แต่ว่าเป็นอกุศล
ผู้ฟัง ถ้าเป็นฉันทะจะได้ไหม
อ.สุภีร์ ก็ต้องค่อยๆ ศึกษาละเอียดลงไป เพราะเหตุว่าฉันทะเจตสิกความพอใจในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดกับกุศลก็ได้เกิดกับอกุศลก็ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องค่อยๆ ศึกษาไปเรื่อยๆ ว่าลักษณะของสภาพธรรมชนิดใดเกิดกับจิตได้บ้าง อย่างเช่นที่ได้กล่าวไปแล้วเรื่องโทมนัสเวทนาสามารถเกิดร่วมด้วยได้กับโทสะมูลจิต ๒ ประเภทเท่านั้นเอง ฉะนั้นถ้าความรู้สึกไม่สบายใจเกิดขึ้นเรารู้แน่นอนเลยนี้เป็นอกุศลเพราะเหตุว่าเป็นโทมนัสเวทนา แต่คำว่าฉันทะเป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง เป็นความพอใจที่จะกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งสามารถเกิดกับกุศลก็ได้ สามารถเกิดกับอกุศลก็ได้ ฉะนั้นก็ต้องค่อยๆ ศึกษาละเอียดเพิ่มเติมขึ้นไปอีก
ผู้ฟัง ในการทำทานได้มีคำพูดบอกว่าเจตนาก่อนทำ เจตนาขณะทำ เจตนาหลังทำ เมื่อระลึกถึงแล้วกุศลก็เกิดขึ้นใน ๓ ขณะอย่างหนึ่งนี่คือหลักธรรมหัวข้อธรรม ในข้อเท็จจริงอีกข้อหนึ่งคือพระโพธิสัตว์ขณะที่ท่านทำทานนั้นท่านก็หวังโพธิญาณ ในข้อเท็จจริงในหลักธรรมข้อนี้จะสงเคราะห์อย่างไรที่คำอธิบายเบื้องต้นว่าไม่หวังอะไร ขอคำอธิบาย
อ.กฤษณา ในการกระทำทานก็เป็นกุศลจิตที่เกิดขึ้นซึ่งก็ต้องมีเจตนาเจตสิกประกอบร่วมด้วย เพราะว่าเจตนาเจตสิกนั้นเป็นเจตสิกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับจิตทุกประเภท เพราะฉะนั้นเมื่อกุศลจิตเกิดขึ้นย่อมมีเจตนาเจตสิกเกิดขึ้นด้วยเป็นไปในทานซึ่งก็มีทั้ง ๓ กาล คือ ก่อนทำ กำลังทำ และหลังทำ เจตนาเจตสิกเป็นกรรม ในเมื่อเป็นไปในทานก็เป็นกุศลกรรม เพราะฉะนั้นจึงเป็นกัมมปัจจัย ในการที่กระทำบุญทำกุศลแต่ละครั้ง ก็ได้กล่าวไปแล้วว่าถ้าประกอบด้วยปัญญาก็จะเป็นทานหรือว่าเป็นบุญที่เป็นไปด้วยปัญญา คือปัญญาที่รู้ หรือเชื่อในเรื่องกรรม และผลของกรรม ซึ่งต่างกับการทำบุญหรือทำกุศลหรือทำทานที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาที่หวังอยากจะได้โน่นอยากได้นี่ อยากจะได้สิ่งตอบแทน สำหรับพระโพธิสัตว์ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาท่านหวังโพธิญาณคือการตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งก็เป็นเรื่องที่เป็นไปในกุศล จุดประสงค์ของท่านสูงสุดคือการที่ดับกิเลสหมดสิ้นเป็นสมุทเฉทแล้วเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่การที่จะหวังด้วยโลภะที่ยังอยู่ในสังสารวัฎอีกต่อไป การกระทำทานของท่านแต่ละครั้งเป็นไปด้วยจุดประสงค์ที่หวังโพธิญาณประกอบด้วยปัญญา คุณเผชิญมีอะไรจะเพิ่มเติมหรือไม่เกี่ยวกับการทำทานของพระโพธิสัตว์
อ.ประเชิญ ก็ต้องเข้าใจคำว่าโพธิญาณ เป็นเรื่องของการตรัสรู้ เป็นผู้ที่จะตรัสรู้อย่างนั้นได้ก็ต้องมีบารมีเป็นคุณธรรมเป็นสิ่งที่เกื้อกูลที่จะทำให้ตรัสรู้ ซึ่งโพธิญาณเมื่อได้แล้ว ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะต้องติด ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องทำให้หมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฎ แต่เมื่อได้แล้วก็เป็นการตัดวัฏสงสารออกจากวัฏสงสาร แล้วยังช่วยให้สัตว์โลกทั้งหลายที่อยู่ในข่ายพยานก็พ้นจากวัฏสงสารได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ควรจะใช้คำว่าฉันทะสำหรับพระโพธิสัตว์ ไม่ใช่ความหวังที่เป็นโลภะ ปรารถนาโพธิญานปรารถนาด้วยฉันทะ และต้องมีปัญญาด้วยไม่ใช่ว่าจะเป็นความหวังทั่วไปเหมือนกับปุถุชนทั่วไป
อ.กฤษณา เราก็ได้สนทนากันในเรื่องของกุศลจิตซึ่งเป็นกุศลธรรมซึ่งก็เป็นสภาพธรรมที่ดีงามไม่มีโทษเป็นเหตุที่จะให้เกิดผลคือกุศลวิบาก ก็เป็นเรื่องของจิตที่เป็นชาติกุศล
ต่อไปก็จะพูดถึงเรื่องชาติอกุศลซึ่งเป็นอกุศลจิตซึ่งเป็นจิตที่ไม่ดีงาม เพราะว่าอกุศลจิตเกิดขึ้นนั้นประกอบกับเจตสิกฝ่ายไม่ดีงาม ที่เรียกว่าอกุศลเจตสิก ซึ่งเจตสิกที่เป็นอกุศลเจตสิกนั้นเกิดประกอบกับจิตใดก็ทำให้จิตนั้นเศร้าหมองไม่ดีงามไปด้วย เพราะฉะนั้นอกุศลจิตซึ่งประกอบกับอกุศลเจตสิก จึงเป็นจิตที่เศร้าหมองไม่บริสุทธิ์จึงเป็นจิตที่ไม่ดีงามเป็นสภาพธรรมที่เป็นโทษเป็นสภาพธรรมที่เป็นเหตุที่จะให้เกิดผลเป็นทุกข์คืออกุศลวิบากจิตต่างๆ ซึ่งอกุศลจิตนั้นก็มี ๑๒ ประเภทที่คุณสุภีร์ได้กล่าวไปตอนต้นแล้ว มีโลภะมูลจิตเป็นจิตที่มีโลภะเจตสิกเป็นมูลเป็นราก ๘ ประเภท โทสะมูลจิต ๒ ประเภท และโมหมูลจิตอีก ๒ ประเภทก็เป็นอกุศลจิตเป็นจิตที่ไม่ดีงามซึ่งเป็นชาติอกุศล
อ.ประเชิญ สำหรับกุศล อกุศล และกิริยา เป็นสิ่งสะสมเป็นอุปนิสัย ลองสังเกตุดูว่าในวันหนึ่งๆ ถ้าเราคิดอะไรสักอย่าง แล้วต่อไปความคิดลักษณะนี้ก็จะกลับมาอีก ทั้งๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจที่จะคิดสิ่งเหล่านั้น หรือว่าเคยกระทำอะไรก็ตามความเคยชินอะไรต่างๆ ที่เคยทำ การกระทำเหล่านั้นความคิดเหล่านั้นก็จะกลับมาเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมพระองค์ก็จะแสดงในเรื่องของชาดกด้วยก็จะเป็นเรื่องการสะสมของแต่ละคนพระองค์ก็จะสรุปอยู่เสมอว่าในการกระทำของแต่ละท่านที่มีในภพนี้ชาตินี้แม้ในชาติก่อนๆ ก็ทำมาแล้ว ในภาษาธรรมเรียกว่าอุปนิสยปัจจัย เป็นการสะสมที่เป็นอุปนิสัย ในโรหินีชาดกเราก็จะเห็นการกระทำของนางทาสีคนหนึ่งซึ่งเป็นนางทาสีในบ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นผู้ที่ในยุคนี้ก็คงจะคิดไม่ถึงว่าคนที่โง่เขลาแล้วก็ทำอะไรที่ไม่ยั้งคิดก็จะมีด้วยเกิดที่พระนครสาวัตถี
เรื่องราวในครั้งพุทธกาลทรงปรารภทาสีของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเรื่องก็มีอยู่ดังนี้ นางทาสีมีมารดาเป็นคนที่แก่เฒ่า ในวันหนึ่งๆ มารดาของนางทาสีก็นอนอยู่ที่โรงกระเดื่อง คือสมัยก่อนไม่มีโรงสีก็จะนอนที่โรงสำหรับตำข้าวมารดานอนอยู่พวกแมลงวันก็มารุมตอมมารดาของนางทาสีนี้ แล้วก็กัดด้วยแมลงวันตัวใหญ่เวลาใช้ปากจิ้มๆ ที่ผิวหนังก็จะเจ็บ มารดาของนางทาสีก็เลยบอกกับลูกสาวว่า แม่หนู แมลงวันรุมตอมกัดแม่ เจ้าจงไล่ มันไปทางคุณแม่ก็บอกให้ไล่ที นางก็รับคำว่า ดีละ ฉันจะไล่มัน แล้วก็เงื้อสาก คือในโรงกระเดื่องนี้ก็คงจะคว้าได้สาก ก็เป็นสากใหญ่ คิดอยู่ในใจว่า เราจะตีแมลงวันที่รุมตอมตัวของคุณแม่ให้ตาย ก็เหวี่ยงสากที่ตำข้าวไปเต็มเหนี่ยว ถูกมารดาตายคาที่เลย ไล่แมงวันแต่ว่าเอาของที่ใหญ่ เพราะฉะนั้นก็ทำให้มารดาถึงแก่ความตายเมื่อมารดาตายแล้วก็ร้องไห้คร่ำครวญ คนทั้งหลายก็ได้บอกเรื่องราวนั้นกับเศรษฐี เศรษฐีได้ทำสรีระกิจร่างนั้นแล้ว และก็ได้กราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคก็ได้กล่าวว่า มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่นางทาสีคนนี้ประหารมารดาของตนให้ตายด้วยสากตำข้าว แม้ในชาติก่อนเขาก็ได้ทำอย่างนี้เหมือนกัน ทำอะไรที่ไม่มีการยั้งคิด แล้วก็ด้วยอุบายที่ไม่ฉลาด ซึ่งก็ทรงเล่าเรื่องในอดีตว่านางทาสีคนนี้ก็ได้ทำมารดาให้ถึงแก่กรรมเช่นเดียวกัน ซึ่งในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ก็เป็นบัณฑิตได้เห็นเหตุการณ์นั้น ได้กล่าวคาถาว่า ศัตรูเป็นคนมีปัญญา ดีกว่าผู้ที่อนุเคราะห์แต่เป็นคนโง่ ไม่ประเสริฐเลย เป็นคาถาที่เตือนใจที่ดีมากเลย ถึงแม้ว่าคนที่เราคิดว่าเขาเป็นศัตรู แต่เป็นคนที่ฉลาดคำพูด และการกระทำของเขาก็ยังจะเป็นประโยชน์ต่อเราได้ แต่ผู้ที่เป็นมิตรก็ดีเป็นคนที่อยู่รอบข้างของเราเป็นคนโง่ ทำอะไรที่เหมือนกับนางทาสีนี้ จะไล่แมลงวันแต่ว่าใช้สากตำข้าวตีแมลงวันจนคุณแม่ตาย ก็เป็นการกระทำที่เขาเคยทำแบบนี้ในชาตินี้ก็ทำเหมือนกัน เพราะฉะนั้นคนที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ หรือประพฤติผิดในกาม เคยกระทำมาในชาติก่อนๆ ในชาตินี้ก็ยังคิดทำอยู่ หรือว่าเป็นคนที่มีเมตตา เป็นคนที่ให้ทานเป็นประจำ ในชาตินี้ก็กระทำเหมือนในชาติก่อนๆ
ผู้ฟัง อุปนิสสยปัจจัยของนางทาสีที่ทำให้รู้สึกว่าเป็นคนที่ทำอะไรไม่ได้คิดหน้าคิดหลัง ดิฉันอยากทราบว่าความเกี่ยวเนื่องระหว่างเหตุปัจจัยกับอุปนิสัยปัจจัยมีมากน้อยแค่ไหน
อ.กฤษณา พูดถึงเรื่องของจิตที่เกิดขึ้นแล้วในตัวอย่างนี้เป็นเรื่องตัวอย่างของอกุศลจิต ซึ่งอกุศลจิตเกิดขึ้นก็มีเหตุปัจจัยคือธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ เมื่อพูดถึงเหตุปัจจัยเราก็จะต้องทราบก่อนว่า เห-ตุ หรือเหตุมีอะไรบ้าง ก็มี ๖ เหตุคือ โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุ อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ และอโมหะเหตุ ซึ่งทั้ง ๖ นี้เป็นเจตสิก ๖ ประเภท ๖ ชนิด ๓ ประเภทแรกคือโลภะเหตุได้แก่โลภะเจตสิก โทสะเหตุก็ได้แก่โทสะเจตสิก โมหะเหตุก็ได้แก่โมหะเจตสิก อโลภะเหตุก็ได้แก่อโลภะเจตสิก อโทสะเหตุก็ได้แก่อโทสะเจตสิก และอโมหะเหตุได้แก่ปัญญาเจตสิก ๓ เหตุแรกคือโลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุนั้นเป็นอกุศลเหตุประกอบกับอกุศลจิต เรากำลังพูดถึงอกุศลจิตที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นในขณะที่โลภะมูลจิตเกิดขึ้นก็จะประกอบด้วยโลภะเหตุกับโมหะเหตุ โทสะมูลจิตเกิดขึ้นก็จะมีโทสะเหตุกับโมหะเหตุแล้วก็โมหะมูลจิตเกิดขึ้นก็มีโมหะเหตุ ซึ่งในการเกิดขึ้นของจิตที่เป็นอกุศลจิต อกุศลจิตนี้ก็ทำหน้าที่ชวนกิจคือแล่นไปในอารมณ์ และจิตที่ทำหน้าที่ชวนกิจสั่งสมสันดานด้วยสามารถชวนวิถี การสั่งสมสันดานด้วยสามารถชวนวิถีเราได้เรียนเรื่องของชวนวิถีมาแล้วในครั้งก่อนๆ พูดถึงเรื่องวิถีจิตตั้งแต่อาวัชนวิถีเรื่อยมาจนถึงชวนวิถี ซึ่งชวนวิถีเกิดขึ้นทำชวนกิจเกิดขึ้นซ้ำกัน ๗ ขณะในเวลาที่ปกติ
ขอกล่าวถึงการสั่งสมสันดานของชวนจิตชวนวิถีสั่งสมสันดานอบ่างไร ได้กล่าวแล้วว่าเมื่อชวนจิตขณะแรกเกิดขึ้นแล้วก็เป็นปัจจัยให้ชวนจิตดวงต่อๆ ไปเกิดขึ้นเพราะว่าชวนจิตเกิดขึ้น ๗ ขณะติดต่อกันทำชวนกิจ เมื่อชวนจิตขณะแรกเกิดขึ้นเป็นปัจจัยให้ชวนจิตขณะที่ ๒ เกิดต่อ ชวนจิตขณะที่ ๒ ก็เป็นปัจจัยให้ชวนจิตขณะที่ ๓ เกิดต่อ ชวนจิตขณะที่ ๓,๔,๕,๖ ก็เช่นเดียวกันเป็นปัจจัยให้ชวนจิตดวงหลังๆ เกิดต่อกัน การที่ชวนจิตเกิดดับสืบต่อเป็นปัจจัยแก่กันนี้ก็ด้วยอำนาจของปัจจัยอย่างหนึ่งคืออาเสวนปัจจัย หมายถึงธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพบ่อยๆ คำว่าปัจจัยในที่นี้หมายถึงธรรมที่ช่วยอุปการะให้ผลธรรมเกิดขึ้น อาเสวนก็หมายถึงเสพบ่อยๆ เสพในที่นี้คือเสพอารมณ์นั่นเอง เพราะฉะนั้นอาเสวนปัจจัยเป็นธรรมที่ช่วยอุปการะโดยการที่เสพอารมณ์บ่อยๆ นั่นเอง ซึ่งธรรมที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์บ่อยๆ นี้ก็ได้แก่ชวนจิต ชวนจิตที่จะเป็นอาเสวนะปัจจัยได้นั้นจะต้องเป็นโลกียะชวนเท่านั้น ซึ่งเกิดซ้ำกัน ที่ตามปกติแล้ว ๗ ครั้ง ขณะที่มรรคจิตเกิดๆ ขึ้นเพียงขณะเดียวก็ไม่ทำหน้าที่เป็นอาเสวนปัจจัย ผลจิตก็เกิดขึ้น ๓ ขณะก็ไม่เป็นอาเสวนะปัจจัย ธรรมที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์บ่อยๆ คือชวนจิตนั้นจะต้องเป็นโลกียชวนะเท่านั้น และจิตที่ทำชวนกิจต้องเป็นชวนจิตที่มีชาติเดียวกันคือ ถ้าเป็นอกุศลชาติก็ต้องเป็นอกุศลชาติเหมือนกันทั้ง ๗ ขณะ ถ้าเป็นกุศลจิตคือเป็นกุศลชาติก็จะต้องเป็นกุศลจิต ๗ ขณะ จิตที่ทำชวนกิจตรงนี้ และทำหน้าที่เป็นธรรมที่ช่วยอุปการะโดยเป็นอาเสวนปัจจัยนี้จะต้องไม่ใช่จิตชาติวิบากเพราะว่าวิบากจิตนั้นไม่สั่งสมสันดาน
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 001
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 002
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 003
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 004
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 005
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 006
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 007
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 008
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 009
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 010
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 011
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 012
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 013
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 014
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 015
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 016
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 017
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 018
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 019
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 020
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 021
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 022
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 023
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 024
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 025
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 026
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 027
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 028
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 029
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 030
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 031
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 032
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 033
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 034
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 035
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 036
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 037
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 038
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 039
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 040
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 041
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 042
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 043
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 044
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 045
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 046
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 047
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 048
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 049
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 050
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 051
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 052
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 053
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 054
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 055
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 056
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 057
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 058
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 059
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 060