สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 054
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๕๔
วันจันทร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๕
อ.กฤษณา สภาพธรรมต่างๆ เหล่านี้ที่เป็นจิต ไม่ว่าจะเป็นสเหตุกจิต หรืออเหตุกจิตเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์ คือรู้ลักษณะต่างๆ ของอารมณ์ต่างๆ ซึ่งลักษณะของจิตประการหนึ่งก็คือเป็นธรรมชาติที่รู้แจ้งอารมณ์ คือ รู้ลักษณะต่างๆ ของอารมณ์ต่างๆ นั่นเอง และลักษณะของจิตอีกประการหนึ่งที่ได้สนทนากันมาหลายครั้งแล้ว ก็คือธรรมชาติของจิตนั้นสั่งสมสันดานตนด้วยสามารถชวนวิถี หมายถึงในขณะที่เป็นชวนวิถีจิตในขณะนั้น ชวนจิตก็สั่งสมสันดานด้วยความสามารถที่เป็นชวนวิถี ซึ่งจิตที่จะทำหน้าที่ชวนกิจคือชวนวิถีจิตนี้ เป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต หรือ กิริยาจิตสำหรับอรหันต์
ผู้ฟัง เรียนถามว่าขณะที่พระอรหันต์ท่านยิ้มโดยที่ไม่มีเหตุที่เรียกว่าหสิตุปปาทจิต เป็นขณะอะไรบ้างสำหรับพระอรหันต์
อ.ประเชิญ สำหรับเราเวลาจะยิ้มก็เพราะได้รูปที่ดี ได้ของดีๆ ก็ดีใจ ยิ้ม หรือได้ยินเสียงที่ดี ได้กลิ่นที่ดี หรือถูกต้องสัมผัสที่ดีก็จะทำให้มีการดีใจ มีการยิ้มแย้ม แต่ผู้ที่ไม่มีกิเลสแล้วอย่างพระอรหันต์ ท่านก็จะไม่มีเหมือนกับพวกเรา คือ ท่านเห็นสิ่งที่ดี ได้ยินสิ่งที่ดี ได้กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัสดี ท่านไม่ยิ้ม แต่เมื่อเวลาท่านจะยิ้ม ไม่ยิ้มเหมือนกับพวกเรา คือในพระสูตรท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ดี พระผู้มีพระภาคก็ดี จะยิ้มก็ด้วยมีเหตุคือ บางครั้งถ้าท่านเห็นเปรต เห็นสัตว์ที่เป็นสัตว์อบายภูมิ อย่างเช่นครั้งหนึ่งท่านได้ลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ท่านก็เห็นเปรต มีรูปร่างใหญ่โต เป็นเปรตที่เป็นเปรตโครงกระดูกลอยอยู่ในอากาศ แล้วก็มีกามีแร้ง รุมจิกรุมทึ้งท่านก็แย้มขึ้น เหตุที่ท่านแย้มท่านก็คิดว่าพระญาณของพระภูมิภาค ที่ได้ทรงแสดงเรื่องของกรรม และวิบากก็มีจริง และผู้ที่มีได้กระทำกรรมมา ก็ทำให้ได้รับวิบากที่มีวิจิตรต่างๆ กันส่วนหนึ่ง แล้วท่านก็ได้มีความคิดอีกว่าตัวท่านเป็นผู้ที่ได้ดับกิเลสทั้งหมดแล้ว ท่านก็จะไม่ต้องเกิดอีก เพราะฉะนั้นท่านก็ได้แย้ม เพราะเหตุว่าท่านไม่ต้องกลับมาเป็นผู้ที่เป็นเปรตคือได้อัตภาพที่น่ากลัว หรือว่าพระอรหันต์ ท่านเห็นพวกที่มีกิเลสทั้งหลายเช่นปุถุชน มีการยื้อแย่งในเรื่องของลาภสักการะก็ดี ในเรื่องของโลกธรรมทั้งหลาย ยื้อแย่งกันโดยไม่คิดถึงความน่าเกลียดอะไรทั้งหลาย บางครั้งถึงขั้นมีปากเสียงถึงขั้นที่จะต้องทำร้ายกัน นี่คือการกระทำของผู้ที่มีกิเลส พระอรหันต์ท่านก็ได้พบอย่างนั้นก็แย้ม แย้มโดยคิดว่าตัวท่านไม่เป็นอย่างนี้อีก ไม่ต้องกลับมาเป็นอย่างอีก
พระอรหันต์จะไม่มีการหัวเราะเสียงดัง หรือว่ามีการหัวเราะจนร่างกายโยกโคลงเลย ท่านมีเพียงแค่แย้มเล็กน้อยเท่านั้นเอง ส่วนผู้ที่มีกิเลสก็ยังแย้มก็ดี ยิ้มหน้าบาน และก็หัวเราะเสียงดังก็มี บางท่านก็ถึงขั้นตีท้อง กลิ้งไปก็มี คือขำมากๆ กลิ้งเพราะว่าทนไม่ได้ นั่งไม่อยู่เลยเพราะว่าขำมากๆ พระอรหันต์ท่านไม่เป็นเช่นนั้น ถึงแม้จะมีเรื่องตลกขบขันแค่ไหน ท่านไม่หัวเราะอย่างพวกเรา เพราะฉะนั้นภาวะของผู้ที่หมดกิเลสแล้วจึงต่างจากผู้ที่มีกิเลส คือสภาพจิตภายในก็ต่างกันอย่างนี้ คือเหตุที่จะทำให้มีการหัวเราะเสียงดัง อาการที่น่าเกลียดทั้งหลาย ท่านไม่มีอย่างนั้น เพราะว่าเหตุท่านไม่มี ผลอย่างนั้นท่านจึงไม่มี
อ.กฤษณา ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ เช่น ปุถุชนทั่วไปนี้ก็ยิ้มหรือหัวเราะด้วยจิตที่มีเหตุ และส่วนใหญ่ก็จะเป็นอกุศลจิตในเวลาที่ชอบใจอะไรก็ยิ้ม หรือหัวเราะด้วยโลภมูลจิต ซึ่งก็เป็นสเหตุกจิตที่มีโลภเหตุ มีโมหเหตุ เกิดร่วมด้วย แต่สำหรับพระอรหันต์นั้นท่านยิ้มด้วยจิตที่ไม่มีเหตุประกอบรวมด้วย จิตนั้นเรียกว่า หสิตุปปาทจิต ซึ่งเป็นอเหตุกจิต
ลักษณะของจิตคือรู้แจ้งอารมณ์ และอีกประการหนึ่ง ก็คือลักษณะของจิตนั้นเป็นธรรมชาติที่สั่งสมสันดานตนด้วยสามารถชวนวิถี คือ ขณะที่ชวนวิถีเกิดขึ้นก็จะทำชวนกิจ ในขณะที่เป็นชวนกิจนั่นเองก็จะสั่งสมสันดานของตนไม่ว่าจะเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิตสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ หรือเป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์ ทำหน้าที่ชวนกิจ และสามารถที่จะสั่งสมสันดานได้ในขณะนั้น
ต่อมาประการที่ ๓ ลักษณะของจิตก็คือ ธรรมชาติของจิตนั้น กรรม กิเลส สั่งสมวิบาก
อ.สุภีร์ กรรมเป็นเจตนาเจตสิก เป็นตัวกรรม ซึ่งกรรมที่จะเป็นไปในวัฏฏะ ที่เป็นกิเลส กรรม สั่งสมวิบาก ก็คือเป็นเจตนาที่เป็นไปในกุศล และอกุศล ซึ่งเกิดในชวนจิตกระทำชวนกิจ ฉะนั้นกรรมที่เป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรม ทำกิจเดียวเท่านั้นใน ๑๔ กิจ ก็คือกระทำชวนกิจ ก็คือเป็นเจตนาที่เกิดในกุศล และอกุศลในชวนะนั่นเอง เป็นกรรม
กรรมมีหลายประเภท ซึ่งกรรมที่ทำให้วนเวียนอยู่ ให้ได้รับผลต่างๆ เรียกว่าอภิสังขาร คำว่า “อภิสังขาร” หมายถึงสภาพธรรมที่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง หมายถึงกรรมที่ปรุงแต่งผลของตน เป็นกรรมปรุงแต่งให้เกิดวิบาก เช่น ปฏิสนธิจิต ให้เกิดจักขุวิญญาณซึ่งเป็นวิบากจิต ให้เกิดโสตวิญญาณซึ่งเป็นวิบากจิต ให้เกิดฆานวิญญาณซึ่งเป็นวิบากจิต ให้เกิดชิวหาวิญญาณ หรือให้เกิดกายวิญญาณซึ่งเป็นวิบากจิต กิเลส กรรม และวิบาก เป็นวัฏฏะ ๓ มีกิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ “วัฏฏะ”แปลว่าการวนเวียน “สังสาระ” คือการเกิดดับสืบต่อกันของจิต เจตสิก รูป ซึ่งจิต เจตสิก รูป ก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง เป็นการเกิดดับสืบต่อกันของขันธ์ ๕
จิต เจตสิก รูป ทางตาก็เป็นส่วนหนึ่งของสังสารวัฏฏ์ เห็นครั้งหนึ่งจิต เจตสิก รูป หรือขันธ์ ๕ ก็ครบแล้ว สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นรูปขันธ์ ที่เกิดของจักขุวิญญาณคือจักขุปสาทรูปก็เป็นรูปขันธ์ จิตเห็นคือจักขุวิญญาณเป็นวิญญาณขันธ์ เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิกต้องเกิดกับจิตทุกประเภท และสัญญาเจตสิก เวทนาเจตสิกที่เกิดกับจักขุวิญญาณก็เป็นเวทนาขันธ์ และสัญญาขันธ์ และเจตสิกอื่นๆ ที่ประกอบร่วมด้วยอีกก็เป็นสังขารขันธ์
ฉะนั้นการเห็นครั้งหนึ่งก็ครบแล้ว ๕ ขันธ์ วนเวียนไปแล้วเป็นส่วนหนึ่งของสังสารวัฏฏ์ ก็เป็นการวนเวียนสืบต่อกันของขันธ์ ๕ หรือจิต เจตสิก รูปนั่นเอง ทางตาเห็นแล้ว ก็วนเวียนไปทางใจ คิดก็ครบขันธ์ ๕ เช่นกัน ได้ยินก็ครบขันธ์ ๕ คิดเรื่องที่ได้ยินก็ครบขันธ์ ๕ ก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ เหมือนทุกๆ วัน ขณะนี้ก็เหมือนทุกๆ วันใช่ไหม วนเวียนอยู่ตรงนี้ เรียกว่าสังสารวัฏฏ์ ซึ่งมีทั้งกิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ และวิปากวัฏฏ์
เพราะเหตุที่บุคคลมีกิเลส จึงมีการกระทำกรรม คือ กุศลกรรมบ้างอกุศลกรรมบ้าง ส่วนบุคคลผู้ไม่มีกิเลสเลย ในชวนจิตเป็นชาติกิริยา คือพระอรหันต์จะมีกิริยาจิตเกิดขึ้น ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศลเลย สำหรับบุคคลที่ยังมีกิเลสอยู่ ในชวนจิตที่กระทำชวนกิจก็เป็นกุศลหรืออกุศล ซึ่งกุศลหรืออกุศลนี้เอง เรียกว่าอภิสังขารที่จะปรุงแต่งให้วิบากจิตเกิดขึ้น ก็เป็นการวนเวียนต่อไป คือเพราะมีกิเลสแล้วทำกรรม กุศลกรรมบ้างอกุศลกรรมบ้าง ด้วยผลของกุศลกรรม และอกุศลกรรมก็ให้เกิด ให้เห็น ให้ได้ยิน ให้ได้กลิ่น ให้ลิ้มรส กระทบสัมผัส ให้นอนหลับ แล้วให้ตื่นใหม่ ให้เห็นใหม่ไปเรื่อยๆ แล้วเมื่อเห็นยังไม่หมดกิเลส ชวนะก็เป็นกุศล และอกุศลวนเวียนกันไป วนไปทางตาบ้าง วนไปทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง มีอยู่ ๖ โลก ให้วนเวียน ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิไหนๆ ก็มีแค่นี้
อ.กฤษณา กรรมหมายถึงการกระทำนั้นเอง ถ้าเป็นการกระทำชั่วหรือกระทำบาปเรียกว่าบาปกรรม หรืออกุศลกรรมนั้นเอง แต่ถ้าเป็นการกระทำดีหรือกัลยาณกรรมก็เป็นกุศลกรรม ซึ่งสภาพธรรมที่เป็นกรรมจริงๆ ก็คือเจตนาเจตสิกนั่นเอง เป็นสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่มีจริง เจตนาเจตสิกเป็นเจตสิกที่มีลักษณะที่จงใจตั้งใจ ขวนขวายกระทำกิจตามประเภทของเจตนานั้นๆ เจตนาเจตสิกเป็นสัพพจิตสาธารณเจตสิก คือต้องเกิดกับจิตทุกดวง เมื่อจิตเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นเจตนาเจตสิกก็เกิดพร้อมกับจิตด้วย ทุกครั้ง
พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงว่าเจตนาเจตสิกคือกรรม ในขณะที่จิตเกิดขึ้นทุกครั้ง เจตนาคือกรรมก็เกิดขึ้นด้วย กรรมที่เกิดพร้อมกับจิตทุกดวงนี้เรียกว่า “สหชาตกัมมะ” เป็นกรรมที่ยังไม่สามารถที่จะให้ผลคือวิบากของตนเกิดขึ้นได้ ในขณะที่เจตนากรรมกำลังเกิดขึ้นอยู่นั้น กรรมไม่สามารถที่จะทำให้วิบากของตนเกิดขึ้นพร้อมกับตนในขณะนั้นได้ ซึ่งเป็นสหชาตกัมมะ
แต่กรรมที่ได้กระทำแล้ว และดับไปแล้ว สามารถที่จะให้ผลของตนเกิดขึ้นในขณะที่ต่างกัน หมายถึงเป็นคนละขณะกับขณะที่กระทำกรรม แล้วผลนั้นก็เกิดขึ้นขณะหลัง ไม่ใช่ขณะเดียวกันกระทำกรรม อย่างนี้เรียกว่า “นานักขณิกกัมมะ” หมายความว่ากรรมที่ทำไว้แล้วก็ดับไปแล้วนั้นเป็นคนละขณะกับวิบาก คือผลของตน กล่าวให้ง่ายคือกรรมที่เป็นเหตุ กับวิบากที่เป็นผลนั้นไม่ได้เกิดพร้อมกันในขณะเดียวกัน แต่เกิดคนละขณะกันจึงเป็นนานักขณิกกัมมะ
อ.สุภีร์ นานักขณิกกัมมะ แยกศัพท์ออกได้เป็น “นานา”แปลว่า “แตกต่าง หรือต่างๆ ” “ขณิกะ” ก็คือ “ขณะ” “กัมมะ”ก็คือ “กรรม”คือเจตนาที่กระทำกุศลบ้างอกุศลบ้าง ดังนั้นนานักขณิกกัมมะ คือกรรมที่กระทำแล้ว และให้ผลต่างขณะกัน
ถ้าเป็นเจตนาที่เกิดพร้อมกันกับจิต เรียกว่าสหชาตกัมมะ “สห”แปลว่า “ร่วมกัน” “ชาตะ”แปลว่า “เกิด” ก็คือเกิดร่วมกัน เกิดร่วมกับจิตนั้น เรียกว่าสหชาตกรรม
แต่ถ้ากรรมนี้ทำไปแล้ว เป็นกรรมไปแล้ว พร้อมที่จะให้ผล ให้ผลต่างขณะออกไปในกาลต่อไปอีกปีข้างหน้า หรืออีก ๒, ๓ ชาติข้างหน้า หรืออีกแสนๆ ชาติข้างหน้าก็ได้ เรียกว่า นานักขณิกกรรม
ผู้ฟัง ขอให้อาจารย์สุภีร์ สรุปว่าขณะเป็นปุถุชน จิตของเราในกามจิตซึ่งกล่าวว่ามี ๕๔ แต่อันที่จริงแล้วมีไม่ถึง ๕๔ จึงขอทราบว่ากามจิต ๕๔ จริงๆ แล้วมีอยู่เท่าไร
อ.สุภีร์ ยังกล่าวเรื่องจิตยังไม่ครบ คงจะยังไม่นับตอนนี้ แต่ว่าทุกท่านคงจะทราบแล้วว่าจิตมี ๘๙ ประเภท โดยย่อๆ มี ๘๙ ประเภท ซึ่งจิตมี ๔ ภูมิ คือกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ
ถ้าเป็นจิตขั้นกามาวจรภูมิ เป็นจิตที่เป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือมีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์นั่นเอง ซึ่งมีจิต ๕๔ ประเภท
ส่วนรูปาวจรจิต เป็นจิตขั้นที่เป็นฌานที่เป็นรูปฌานมีรูปเป็นอารมณ์มีอยู่ ๑๕ ประเภท
อรูปาวจรจิตเป็นฌานจิตที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์มี ๑๒ ประเภท และโลกุตตรจิตซึ่งเป็นภูมิสุดท้ายมีพระนิพพานเป็นอารมณ์มี ๘ ประเภท
รวมแล้ว ๕๔ บวก ๑๕ บวก ๑๒ แล้วก็บวกอีก ๘ ก็จะเป็น ๘๙ ประเภทพอดี ซึ่งในกามาวจรจิต ๕๔ ประเภทนี้ ก็จะต้องแยกลงไปในรายละเอียดอีกครั้ง
เป็นความจริงว่าทุกๆ ท่านในขณะนี้ เป็นจิตที่เป็นไปในกามาวจรภูมิ แต่ว่าก็มีไม่ครบทั้ง ๕๔ เพราะเหตุว่าไม่มีจิตที่เป็นของพระอรหันต์
พระอรหันต์ก็มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ ก็เป็นกามาวจรจิตนั้นเอง
แต่เราไม่มีจิตที่เป็นเหมือนพระอรหันต์ จิตของพระอรหันต์ในกามาวจรจิตเป็นธาตุกิริยาก็มีหลายประเภท
แต่กิริยาจิตที่มีอยู่ในปุถุชนเราทั่วไปมี ๒ ประเภท ก็คือ ปัญจทวาราวัชชนะกับมโนทวาราวัชชนะเท่านั้น ส่วนของพระอรหันต์ก็มีมากกว่านั้น ซึ่งประเด็นนี้จะขอกล่าวในคราวต่อไป
ที่ได้กล่าวมาแล้วเรื่องของจิตที่เป็นจักขุวิญญาณมี ๒ ประเภท โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ เหล่านี้เป็นกามาวจรจิตที่มีในชีวิตประจำวัน มีจำนวน ๑๐ ประเภท
จิตที่เป็นชวนะ ได้แก่อกุศล ๑๒ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ และโมหมูลจิตอีก ๒ ก็คืออกุศล ๑๒ ประเภท ส่วนที่เป็นกุศล คือมหากุศล ๘ ประกอบด้วยโสมนัสเวทนา ๔ ประเภท และประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ๔ ประเภท และจิตประเภทอื่นๆ ที่เป็นมหาวิบาก มหากิริยา เป็นต้น
อ.กฤษณา ธรรมชาติของจิต ที่ชื่อว่าจิต เพราะว่าเป็นธรรมชาติอันกรรมกิเลสสั่งสมวิบาก เรื่องของกรรมก็ได้สนทนากันไปแล้ว ต่อไปเป็นเรื่องของกิเลส
อ.ประเชิญ พอทราบว่าคนที่มีกิเลส ก็จะมีความรู้สึกในทางที่ไม่ดี ตรงนี้ก็เป็นสิ่งที่พอจะเข้าใจในเรื่องของภาษาไทยตามที่ได้ทราบกันมา ซึ่งจริงๆ แล้วกิเลสเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม เป็นธรรมตรงกับข้ามกับสิ่งที่ดีงามที่เป็นโสภณธรรมที่เป็นกุศล กิเลสเป็นธรรมชาติที่เศร้าหมอง เมื่อเกิดกับจิตก็ทำให้จิตเศร้าหมอง กิเลสเป็นนามธรรม กิเลสไม่ใช่รูป กิเลสไม่ใช่จิต กิเลสไม่ใช่นิพพาน กิเลสเป็นเจตสิก ซึ่งประกอบด้วย โลภะเป็นกิเลส โทสะเป็นกิเลส โมหะเป็นกิเลส อิสสา มัจฉริยะเหล่านี้เป็นกิเลส มานะความถือตัว ความเห็นผิด สิ่งเหล่านี้ไม่ดีทั้งนั้น เมื่อเกิดกับจิตก็จะทำให้จิตเศร้าหมอง เพราะฉะนั้น ความเศร้าหมอง เป็นกิเลส และเป็นลักษณะของกิเลส ซึ่งก็หลายท่านคงไม่ปฏิเสธว่ายังมีกิเลสอยู่ ขณะใดที่ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะในชีวิตประจำวัน นั่นคือกิเลสเกิดแล้ว
ถึงแม้ว่าเราจะไม่เบียดเบียนใครเลยก็ตาม แต่ว่าความติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นั่นคือโลภะ เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ขณะใดที่ขุ่นใจ ไม่พอใจ หรือถึงขั้นโกรธหน้าดำหน้าแดง อย่างนี้ก็เป็นกิเลสอีกประเภทหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจเศร้าหมอง แต่ถ้ามีกำลังมากขึ้นๆ ก็ล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา ถึงขั้นด่าว่าคนอื่น หรือว่าถึงขั้นลงไม้ลงมือ อย่างนี้ก็เป็นอาการของกิเลสที่แสดงออกมาทางกาย ทางวาจา มีเพียงเกิดขึ้นในจิตใจก็เดือดร้อนแล้ว ทำให้จิตใจของบุคคลนั้นเศร้าหมอง แต่เมื่อล่วงออกมาแล้วก็ทำให้บุคคลอื่นที่อยู่รอบข้างก็ดี ที่เป็นสังคมกลุ่มนั้นก็ดี ก็เดือดร้อนด้วย เพราะฉะนั้นกิเลสจึงเป็นสิ่งที่ไม่ดี
อ.กฤษณา กิเลสก็เป็นสิ่งที่เศร้าหมอง ไม่บริสุทธิ์ สกปรก โดยธรรมชาติของกิเลสนั่นเอง และเมื่อกิเลสนั้นไปประกอบกับจิตใดก็ทำให้จิตนั้นเป็นจิตที่เศร้าหมอง ไม่บริสุทธิ์ สกปรกด้วย ก็เป็นอกุศลจิต ซึ่งกิเลสใหญ่ๆ ที่เป็นตัวเหตุก็คือ โลภเจตสิกเป็นโลภเหตุ และเป็นโลภะกิเลสด้วย โทสเจตสิกเป็นโทสเหตุ และเป็นโทสะกิเลสด้วย โมหเจตสิกเป็นโมหเหตุ และเป็นโมหะกิเลสด้วย
โมหะเจตสิกเป็นกิเลสตัวใหญ่เป็นเหตุที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งเมื่อมีกิเลสแล้วก็เป็นเหตุให้กระทำกรรม เมื่อกระทำกรรมก็เป็นเหตุให้เกิดวิบาก เพราะฉะนั้นธรรมชาติของจิต ชื่อว่าจิต เพราะกรรม กิเลส สั่งสมวิบาก ก็เป็นอย่างนี้
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 001
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 002
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 003
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 004
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 005
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 006
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 007
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 008
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 009
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 010
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 011
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 012
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 013
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 014
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 015
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 016
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 017
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 018
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 019
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 020
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 021
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 022
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 023
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 024
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 025
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 026
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 027
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 028
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 029
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 030
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 031
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 032
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 033
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 034
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 035
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 036
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 037
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 038
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 039
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 040
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 041
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 042
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 043
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 044
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 045
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 046
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 047
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 048
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 049
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 050
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 051
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 052
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 053
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 054
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 055
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 056
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 057
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 058
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 059
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 060