สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 009
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๙
วันจันทร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมให้ผู้ที่เข้าใจธรรมอบรมเจริญปัญญาจนกระทั่งสามารถที่จะดับกิเลสได้ถึงความเป็นพระอนาคามี ไม่มีกิเลสประเภทนั้นเกิดอีกเลย ไม่มีความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏทัพพะ เพราะฉะนั้นก็เห็นคำสอนที่ต่างกัน คำสอนให้ระงับชั่วคราวแต่ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้กับคำสอนซึ่งเป็นผู้ที่อาจหาญร่าเริงที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ค่อยๆ อบรมเจริญปัญญาจนสามารถที่จะรู้จริงๆ ว่าเป็นธรรมแต่ละอย่างซึ่งไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นก่อนอื่น ไม่ใช่ละความติดข้องในรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสแต่ต้องละความยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา เพราะถ้ายังมีเราอยู่ดับกิเลสไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีความเป็นเรา กิเลสทั้งหลายก็จะค่อยๆ ดับไปได้
ผู้ฟัง ครั้งแรกที่เข้ามาฟังธรรมเห็นเขียนว่าโครงการปลูกจิตสำนึก อยากให้ท่านอาจารย์อธิบายคำว่าปลูกจิตสำนึก
ท่านอาจารย์ ตื่นขึ้นมาฟังธรรมแล้วก็สำนึกคือรู้จักตัวเอง
ผู้ฟัง ขอถามปัญหาต่อไป เป้าหมายอะไรในการที่เราศึกษาธรรม
ท่านอาจารย์ ความรู้กับความไม่รู้ จะเลือกอย่างไหนก็ตามใจไม่มีใครบังคับ ทุกคนมีสิทธิ์ รู้กับไม่รู้ จะเลือกอะไร รู้ความจริง กับไม่รู้ความจริง ที่จริงแล้วทุกคน ชอบสัจจะ ความจริง เพราะฉะนั้นที่แสวงหา ที่ทุกคนพอใจก็คือสิ่งที่จริง เพราะฉะนั้นคนที่ไม่ได้ศึกษาธรรม ได้ยินแต่คำเท็จ แต่พระพุทธศาสนา คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้จริง เพราะอะไร คนที่ไม่ได้ศึกษาคำสอนเชื่อว่ามีตัวเราจริงๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่จริง เพราะฉะนั้นความคิด คำพูดอย่างนั้นก็เท็จ เท็จหมายความว่าไม่จริง สิ่งใดก็ตามคำใดก็ตามที่ไม่จริงเป็นเท็จทั้งหมด แต่ว่าคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นจริงทั้งหมด เพราะฉะนั้นเราเกิดมานี้ เราต้องการอะไรเพราะว่าทุกคนก็ต้องจากโลกนี้ไปแน่นอน ทรัพย์สมบัติอะไรก็เอาไปไม่ได้ หนำซ้ำโลภะยังเพิ่มขึ้น โทสะเพิ่มขึ้น ทุกอย่างเพิ่มขึ้นทุกวัน ยิ่งอยู่นานเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ไม่ได้อยู่มาในโลกนี้ด้วยดีหรือว่าด้วยความดีถ้าเต็มไปด้วยอกุศล เพราะฉะนั้นถ้ารู้จริงๆ ถึงเหตุ และผล ทำไมเราไม่ชอบคนที่มีอกุศล และจิตที่ไม่ดี ทำไมเราไม่ชอบ แล้วถ้าเป็นเราคนอื่นก็ต้องไม่ชอบเหมือนกัน ใช่ไหม แล้วทำอย่างไรอกุศลจะลดน้อยลงไปได้ มีหนทางหรือเปล่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนก็คงจะพิจารณา และก็เห็นประโยชน์ของการรู้ความจริง ถ้าไม่ต้องการความจริงก็คงจะไม่นั่งฟังธรรม
ผู้ฟัง อีกคำถามหนึ่ง เป้าหมายในการที่เราเคารพพระรัตนตรัย
ท่านอาจารย์ คำว่าเคารพ ต้องมีความหมายด้วย ไม่ใช่เพียงไหว้ ไหว้นี้คงไม่ยาก ใครว่ายากบ้าง ไหว้ไม่ยาก แต่เคารพจริงๆ ในพระธรรม เพราะว่าถ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงพระธรรม ใครจะเคารพพระองค์ ไม่รู้ว่านี่คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่การเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นไม่ใช่เพียงเพื่อดับกิเลสดับทุกข์เฉพาะพระองค์ ถ้าเป็นการดับกิเลสดับทุกข์เฉพาะพระองค์ก็ไม่ต้องถึงความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ต้องทรงพร้อมด้วยพระปัญญาหลายประเภทแต่ด้วยพระปัญญาคุณมากมายมหาศาล เพราะฉะนั้นกว่าจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะต้องมีการอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่เพื่อเพียงพระองค์เดียวแต่เพื่อช่วยสัตว์โลก เป็นสัตตูปการคุณ อุปการะแก่สัตว์โลกด้วย ไม่ฉะนั้นเรายุคนี้จะไม่ได้ยินคำสอนเลย จะไม่ได้ยินแม้แต่คำว่าธรรมถ้าไม่ทรงแสดง แต่เมื่อตรัสรู้แล้ว ก็ทรงพระมหากรุณา ถ้าอ่านในพระไตรปิฏกก็จะเห็นได้ว่าแม้ว่าใครก็ตามอยู่แสนไกล แต่ถ้าการเสด็จไปแล้วเขาจะเกิดปัญญาสะสมเป็นอุปนิสัย หรือสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ พระองค์ก็เสด็จไปเพื่อที่จะโปรดคนนั้น นี่คือพระมหากรุณา แล้วเราทำอย่างนี้ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้จริงๆ ว่าการที่เรามีความเคารพในพระธรรมจะเคารพยิ่งขึ้น เมื่อเห็นคุณค่าของพระธรรมกว่าที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้ตรัสรู้ และก็ทรงแสดงธรรมเทศนาให้สัตว์โลกมีโอกาสฟัง จาก ๒๕๐๐ กว่าปี ขณะนี้ ขณะใดที่ได้ยินพระธรรมข้อใด ก็จะเหมือนกับท่านที่เคยนั่งเฝ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระวิหารเชตวัน ที่พระวิหารเวรุวรรณ ที่พระวิหารบุพพารามแล้วแต่ว่าจะประทับอยู่ที่ใด ก็จะมีอุบาสกอุบาสิกา ตอนเย็นๆ ก็มีดอกไม้ธูปเทียนไปเฝ้าฟังพระธรรม พระธรรมที่ทรงแสดงกับบุคคลเหล่านั้นในครั้งนั้น ก็สืบทอดมาจนถึงเราสมัยนี้ไม่ต่างกันเลย ท่านพระอานนท์ซึ่งท่านเป็นเอกทัคคะในการทรงจำท่านก็สามารถที่จะทรงจำไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ เช่น ตั้งต้นด้วยข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้คำแรกจนถึงคำสุดท้าย ถ้าใครอ่านแล้วลองทำอย่างท่านพระอานนท์ได้ไหม ตั้งแต่คำแรกจนถึงคำสุดท้ายไม่เปลี่ยน นี่ก็แสดงให้เห็นถึงปัญญาของคนสมัยโน้นซึ่งมีอุปการะต่อพุทธบริษัทตั้งแต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจนกระทั่งถึงพระสาวกที่รักษาพระธรรมจนกระทั่งถึงคนยุคนี้สมัยนี้
เพราะฉะนั้นการที่เราจะมีความเคารพต่อพระรัตนตรัยจริงๆ ก็ต่อเมื่อเรามีความเข้าใจคำสอนซึ่งเป็นพระธรรม เมื่อเข้าใจคำสอนก็จะรู้ได้ว่าบุคคลอื่นไม่สามารถจะสอนได้นอกจากผู้ที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น แล้วก็ถ้าไม่มีพระสงฆ์คือพระอริยสงฆ์ ซึ่งท่านรู้แจ้งอริยสัจธรรม ทรงจำสืบทอดมาจนถึงเรายุคนี้คำสอนนั้นก็เราลบเลือนไป แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด เรามีสิ่งที่มีค่าคือพระไตรปิฎก แล้วก็มีโอกาสที่จะได้ฟังพระธรรม แต่ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดรอบคอบ เพราะเหตุว่าพระธรรมลึกซึ้งมาก ถ้าเราคิดว่าเพียงแต่ฟัง ไม่ต้องศึกษา จะเข้าใจผิด นี้เป็นเหตุที่จะทำให้พระธรรมเสื่อมสูญจากความเข้าใจที่ถูกต้อง
อีกประการหนึ่ง ยุคนี้ไม่ทราบว่าเราจะเป็นผู้ตรงที่จะบอกว่า เป็นยุคที่พระพุทธศาสนาเจริญหรือเสื่อม? เสื่อม เพราะอะไร เพราะถ้าไม่ศึกษาคำสอน มีแต่พระไตรปิฎกอยู่ในตู้แล้วก็ไม่เข้าใจ ก็คือว่าถึงจะมีอยู่ต่อไปอีกล้านปีก็ตามแต่ก็ไม่มีใครสามารถที่จะเข้าใจได้ แต่ตรงกันข้าม หนทางที่จะดำรงหรือว่ารักษาพระพุทธศาสนาก็คือว่าทุกคนไม่เกี่ยง แต่ศึกษาด้วยตัวเอง เพราะว่าหลายคนก็บอกว่าพระพุทธศาสนา เลิศประเสริฐสุด แก้ปัญหาทุกปัญหาได้ไม่ว่าปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาชีวิต แก้ได้ด้วยพระพุทธศาสนาแต่ไม่เรียนเอง ก็บอกคนอื่นเพื่อที่จะให้คนอื่นเรียน ถ้าทุกคนเกี่ยงกันแบบนี้ก็จะไม่มีใครเรียน เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วก็คือว่าเรียนเอง แล้วก็จะได้ค่อยๆ สะสมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่ก็เป็นหนทางที่จะรักษาพระพุทธศาสนาให้ดำรงไว้ต่อไปได้ เคารพจริงๆ ก็คือต้องอย่างนี้ เพิ่มเติมอีกได้ไหมจากนี้มากมายเลย แค่ฟัง แค่ศึกษา แต่ไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็เป็นหนทางที่จะทำให้พระศาสนาเสื่อมเหมือนกัน เพราะว่าถ้าเราเป็นคนที่ศึกษาพระพุทธศาสนาแบบวิชาการ เหมือนอ่านตำราทำวิทยานิพนธ์ หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าไม่เห็นคุณค่าว่าการที่ทรงแสดงพระธรรมนี้ไม่ใช่เพียงให้เข้าใจเป็นเรื่องราว แต่ให้บุคคลนั้นมีปัจจัยที่จะทำให้ประพฤติปฏิบัติตาม ต้องเคารพด้วยการประพฤติปฏิบัติตาม และการประพฤติปฏิบัติตามก็มีหลายขั้น ตั้งแต่ขั้นปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ นี้ก็เป็นเรื่องที่จะเห็นจริงๆ ว่าถ้าเราช่วยกันศึกษาไว้ก็คงจะดำรงต่อไปถึงอีกหลายรุ่น ท่านผู้ฟังที่ถามก็กำลังศึกษาใช่ไหม และจะต้องประพฤติปฏิบัติตามด้วย
ผู้ฟัง ถ้าประพฤติปฏิบัติตามแล้วจะเป็นการทำโดยจงใจเจตนาเป็นตัวตน แล้วทำอย่างไรถึงจะประพฤติปฏิบัติตามโดยไม่เป็นตัวตนไปทำ
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ได้เข้าใจแล้วไม่ควรจะลืม เช่น ธรรม คำนี้ใช้คำว่าธาตุ ธา- ตุ ก็ได้ หรือธรรมก็ได้ ถ้าพูดถึงเรื่องธาตุไฟ เป็นใครหรือเปล่า แล้วที่ตัวมีธาตุไฟไหม และเป็นใครหรือเปล่า จริงๆ หรือว่าฟังมาว่าไม่ใช่เรา แต่พอถึงเวลาก็เราทั้งหมด เพราะฉะนั้นเรื่องเรียน เรื่องเข้าใจเป็นเรื่องหนึ่ง แต่จะต้องไม่ทิ้งความหมายเดิมว่าเราได้เข้าใจแล้วว่าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ไม่มีใครมีแต่ธรรมหรือธาตุแต่ละชนิดซึ่งมีปัจจัยก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นแม้ว่าเวลาที่เราหลงลืมก็เป็นเรา ใช่ไหมลืมไปแล้วว่าเป็นธรรม ทั้งๆ ที่บอกว่าไม่มีเรา มีจิต มีเจตสิก มีรูป แต่ลืมไปแล้ว เดี๋ยวก็ลืมเดี๋ยวก็ลืมก็เป็นเราอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้จริงๆ ว่ากว่าเราจะมีความมั่นคงจนกระทั่งไม่ใช่เรา อย่างที่ถามเลยว่าเราจะต้องเป็นผู้ทำหรือเปล่า ใช่ไหม ถ้ายังคงหลงลืมอยู่ก็เป็นเรา แต่ขณะใดที่ไม่หลงลืม เมื่อนั้นก็จะศึกษาด้วยความเข้าใจเพิ่มขึ้น และมีหนทางที่จะรู้ว่าไม่ใช่เราจริงๆ ด้วย แต่ต้องเป็นเรื่องละเอียดที่ค่อยๆ ฟัง เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องปัญหาที่ว่า ถ้าอย่างนั้นก็เป็นเรา หรือถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่เรา อยู่ที่ปัญญาในขณะนั้นว่าขณะนั้นหลงลืมหรือเปล่า หรือว่ามีปัญญาความเห็นถูกระดับไหน ถ้าระดับเรียนก็ตอบได้เลย จิต เจตสิก รูปแต่ใครกำลังเห็น เพราะฉะนั้นก็ยังมีความเป็นเราอยู่จนกว่าจะหมดความเป็นเรา
อ.อรรณพ ทั้งหมดที่สำคัญก็คือความเข้าใจหรือปัญญา เรียนถามท่านอาจารย์ว่าปัญญานี้จะเริ่มต้นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ฟัง เริ่มต้นจากการฟังนี้แน่นอน ในสมัยพุทธกาลก็มีผู้ที่ไปเฝ้าฟังคำ สมัยนี้ก็ยังมีอุปกรณ์อย่างอื่นด้วย แม้ไม่ฟังก็มีหนังสืออ่านแล้วก็ไตร่ตรองได้ เพราะฉะนั้นก็เพิ่มเครื่องมือที่จะทำให้เข้าใจพระธรรม แต่ต้องเป็นผู้ตรง ถึงแม้ว่าจะฟังก็จริง แต่ถ้ายังไม่ถึงเอกายนมรรค หรือหนทางที่จะอบรมเจริญปัญญาที่จะละความเป็นตัวตน ก็ยังคงมีตัวตนอยู่ แต่ให้เข้าใจว่าธรรมนี้เป็นเรื่องที่ละเอียด และเป็นเรื่องที่ค่อยๆ ฟังซึ่งเป็นการอบรม เพราะว่าทุกชีวิตเก็จะมีการอบรมได้จากความรู้ความเข้าใจของตัวเอง
ผู้ฟัง ย์ระหว่างความจำกับความเข้าใจ และตนเองเป็นคนที่ชอบฟังมากกว่าอ่าน สิ่งไหนถูกกว่ากัน จำ และเข้าใจ และก็เรียนรู้อยู่อย่างนี้ อะไรต่ออะไรหลายๆ อย่างนี้อยากจำเหลือเกิน จำกับเข้าใจ อ่านกับฟังอะไรอย่างนี้ สิ่งไหนก่อนอะไรหลังแล้วควรจะอย่างไร
อ.สุภีร์ าความจำนี้ก็เป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เป็นเจตสิกชนิดหนึ่งเรียกว่าสัญญาเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง ไม่ว่าเราจะเห็นจะได้ยินอะไร สัญญาเจตสิกก็เกิดด้วย ก็เป็นขันธ์ด้วยก็คือสัญญาขันธ์นั่นเอง ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะฟังอะไรหรือว่าเรียนอะไรจะอ่านอะไรก็ตาม ความจำมีอยู่ด้วยเสมอ ก็คือจำทุกๆ ขณะ การที่เราจะพิสูจน์ว่าเรามีความจำเกิดด้วยทุกๆ ขณะหรือเปล่า ก็ค่อยๆ พิจารณาได้โดยนึกย้อนไปสมัยเก่าๆ ก็ได้ว่า การที่เราสามารถอ่านหนังสืออะไรต่างๆ ได้ มาได้อย่างไร ถ้าไม่มีความจำเริ่มแรกก็จะไม่มีวันนี้ใช่ไหม ไม่มีวันนี้ที่สามารถอ่านหนังสือได้ ถ้าไม่มีความจำเริ่มแรกๆ การมาสู่สถานที่นี้ ทางมาหรือว่าสถานที่ต่างๆ ก็ไม่สามารถจะจำได้ ฉะนั้นความจำก็มีทุกๆ ขณะนั้นเอง เป็นนามธรรมชนิดหนึ่งที่เรียกว่าสัญญาเจตสิก แต่ความเข้าใจ ไม่ได้เกิดกับจิตทุกดวง สัญญาทำหน้าที่จำจำทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างที่จิตรู้ เกิดกับจิตทุกประเภท แต่ความเข้าใจเป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่าปัญญาเจตสิก ขณะที่เรานั่งฟังธรรมอยู่ที่นี่ ถ้าฟังแล้วเกิดความเข้าใจขึ้น เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม เข้าใจว่าการจะรู้เรื่องราวต่างๆ ได้ต้องมีนามธรรมต้องมีรูปธรรมที่ให้นามรู้อะไรอย่างนี้ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เราที่รู้ เป็นนามธรรมประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นรู้ก็คือปัญญาเจตสิก เป็นสังขารขันธ์
ฉะนั้นความจำจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะอะไร เพราะว่าความจำเกิดกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว แต่เรื่องที่ใหญ่กว่านั้นก็คือความเข้าใจ ความเข้าใจมาจากไหน ก็มาจากการได้ยินได้ฟังแล้วพิจารณาเรื่องที่ได้ยินได้ฟังนั้น เรื่องที่ได้อ่านนั้นค่อยๆ พิจารณาจนเป็นความเข้าใจของเราเอง การเข้าใจความจริงคือการเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เรียกว่าปัญญาเจตสิกหรือว่าเป็นสังขารขันธ์ประการหนึ่งในสังขารขันธ์ ๕๐ ประการ ฉะนั้น ความจำนี้เกิดกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว แต่ปัญญาหรือความเข้าใจที่ถูกต้องไม่ได้เกิดกับจิตทุกดวง นานๆ จะเกิดครั้งหนึ่ง
ผู้ฟัง ระหว่างความจำกับความเข้าใจ เมื่อสมัยก่อนคำว่าพิจารณานี้ไม่เคยมาได้อยู่ใกล้ตัว แต่ตั้งแต่ฟังอาจารย์สุจินต์มาจะใช้คำว่าพิจารณาได้ไม่เคอะเขิน รู้สึกว่าคำนี้เหมาะที่จะใช้จริงๆ และความจำกับความเข้าใจ ก็จะสับสนว่าทำไมเรามีความเข้าใจ แต่ความจำของเราไม่ได้อย่างที่เราประสงค์ ขณะนี้ก็มีความรู้สึกว่าเคยกังวล รู้ว่าความกังวลเป็นอกุศล แต่วันหนึ่งได้ฟังอาจารย์สุจินต์ว่าการศึกษาธรรมนั้นไม่ต้องรีบให้ค่อยๆ ไป และให้มีความสุขในการศึกษา ก็รู้สึกว่าตัวเองลดลงไปหน่อยหนึ่ง ความสุขก็เข้ามาแทนที่ แต่กระนั้นจากความมุ่งมั่นที่ตัวเองได้ทำมา ก็ยังมีความตรึกอยู่ว่าความเข้าใจนี้ค่อนข้างจะเข้าใจ แต่ความจำในตัวอักษรไม่ว่าจะแยกอะไร เนื้อหาที่ว่าจะให้ชัดเจนอะไรอย่างนี้ที่จะจำทุกทางเหมือนที่อาจารย์พูดอะไร เนื้อหาที่ฟังอาจารย์พูดนี้ก็มีความรู้สึกว่า ประสงค์หรือความปรารถนาที่จะเป็นอย่างนั้น นี้ผิดหรือไม่ระหว่างความเข้าใจกับจำเนื้อหา คือเข้าใจได้มาก แต่จำได้น้อยนี้นั้น ค้านกันหรือไม่
ท่านอาจารย์ เวลาที่เข้าใจนั้นมีสัญญาเจตสิกความจำเกิดร่วมด้วยหรือไม่ ต้องทราบว่าสัญญาเกิดกับจิตทุกขณะ ไม่มีจิตสักขณะเดียวซึ่งไม่มีสัญญาเจตสิก บางคนอาจจะไม่ทราบว่าทันทีที่เห็นจำแล้ว ทันทีที่ได้ยินก็จำ สัญญาเจตสิกมีหน้าที่จำจะไม่ทำหน้าที่อื่น ไม่ทำหน้าที่ของปัญญาด้วย ชาติก่อนพูดภาษาอะไร ชาติก่อน พูดคล่องเลยชาติก่อน พูดภาษาอะไร ไม่ทราบใช่ไหม ชาตินี้พูดภาษาไทยคล่องเลย จำได้ทุกคำ ชาติหน้าพูดภาษาอะไร เพราะฉะนั้นเรื่องของความจำนั้นไม่ใช่เรื่องของความเข้าใจไม่ต้องไปกังวลเรื่องจำ แต่ให้ทราบว่าขณะใดที่เข้าใจขณะนั้นจำ เริ่มจำ ถ้าเข้าใจมากก็จำมากด้วย
อ.อรรณพ รู่ท่านอาจารย์กล่าวถึงความต่างกันของความจำอย่างเช่น ชาติที่แล้วก็ไม่ทราบว่าพูดภาษาอะไรอยู่ใช่ไหม แล้วชาตินี้ก็รู้สึกว่าจำได้กับภาษาไทยที่ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วนึกจะพูดอะไรก็จำคำความหมายได้หมด แต่ถ้าเป็นปัญญาแล้ว เป็นความเข้าใจนี้สะสมอย่างไรถึงเป็นการที่ไม่เสื่อมแล้วก็สะสมตามลำดับตั้งแต่ในชาติก่อนๆ
ท่านอาจารย์ คงจะมีคนที่เคยพูดภาษาบาลีในชาติก่อน ใช่ไหม เคยไปพระวิหารเชตวันหรือไม่ สนใจที่จะได้ฟังธรรมแต่ว่าอาจจะไปอยู่ตรงท้ายแถว หรือว่าเวลาที่ทรงแสดงธรรมก็ไม่ทราบว่าได้ฟังบ่อยแค่ไหนเข้าใจแค่ไหน แต่ก็ยังมีความสนใจสะสมมาที่จะฟังธรรม เพราะฉะนั้นแต่ละคนก็จะไม่ทราบเลยว่าทุกชาติได้พบอะไรบ้าง ได้ฟังอะไรบ้าง เข้าใจอะไรบ้าง แต่ที่กล่าวถึงปัญญานี้ก็ถือว่าไม่ต้องใช้คำอะไร ก็สามารถที่จะเข้าใจในสิ่งนั้นได้ เช่น ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นธรรมจริงๆ ขึ้นอยู่กับว่าความเข้าใจของเราในสิ่งที่กำลังปรากฏ ระดับไหน ถ้าระดับท่านพระสารีบุตรทันทีที่ได้ฟังนี้เป็นธรรม ไม่มีความหลงเหลือที่จะเป็นเรา เพราะเหตุว่าขณะนั้น ปัญญาถึงระดับที่เป็นวิปัสสนาญาณที่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ ซึ่งผู้ที่กล่าว ไม่ได้กล่าวยาว กล่าวเยอะๆ แม้พูดน้อยแต่ว่าผู้ฟังที่ได้สะสมมาแล้วสามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้ว ขณะที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ไม่มีคำ แต่มีลักษณะของสภาพธรรมแล้วปัญญาที่ได้อบรมแล้วสามารถประจักษ์แจ้งการเกิดขึ้น และดับไปของสภาพธรรม เพราะเหตุว่าที่เราไม่สามารถที่จะรู้ว่าขณะนี้สภาพธรรมเกิดดับ ก็เพราะเหตุว่าอวิชชาความไม่รู้นี้ยังมากมายด้วยสัญญาว่าเป็นเราคืออัตสัญญา ในพระไตรปิฎกจะมีคำว่าอัตตสัญญากับอนัตตสัญญา อัตตสัญญาทุกชาติมากมายมหาศาล แล้วกำลังสะสมอนัตตสัญญา ความทรงจำทีละเล็กทีละน้อยว่า ไม่มีเรา ไม่ใช่เรา ขณะนี้ก็เป็นสภาพธรรม เมื่อไรที่ระลึกได้เมื่อนั้นก็รู้ว่าเป็นธรรม ทุกอย่างล้อมรอบตัวนี้เป็นธรรมหมด วันหนึ่ง วันหนึ่ง นี้ไม่มีใครพ้นจากธรรมสิ่งที่เคยเป็นเราทั้งหมดเป็นธรรมทั้งนั้น ไม่ว่าจะโลภ โกรธ หลง ริษยา เมตตาหรือสนุกสนาน หรืออะไร ทั้งหมดคือธรรมแต่ละลักษณะ แต่ว่าอัตตสัญญาที่จำไว้ผิดว่าเป็นเรา จะค่อยๆ ลดน้อยลงต่อเมื่อมีอนัตตสัญญาเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย แต่ลองเทียบส่วนในแสนโกฏิกัปที่สะสมอัตตสัญญามา แล้วก็ขณะนี้ก็เพิ่งเริ่มที่จะสะสมอนัตตสัญญา แต่จะเริ่มมากเลยเริ่มน้อย เฉพาะตัว อย่างท่านพระสารีบุตร ทำไมเพียงคำไม่กี่บทท่านก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เพราะว่าสภาพธรรมไม่เปลี่ยนเป็นจริงทุกกาลสมัย เกิดแล้วดับจริงๆ ขณะนี้ เพราะเหตุว่าถ้าขณะนี้เห็นยังเห็นอยู่เรื่อยๆ ไม่ดับ จิตได้ยินจะเกิดไม่ได้ ขณะใดที่จิตได้ยินเกิดหมายความว่าขณะนั้นมีจิตที่ได้ยินเสียง ไม่ใช่จิตเห็น
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 001
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 002
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 003
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 004
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 005
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 006
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 007
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 008
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 009
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 010
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 011
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 012
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 013
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 014
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 015
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 016
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 017
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 018
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 019
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 020
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 021
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 022
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 023
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 024
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 025
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 026
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 027
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 028
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 029
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 030
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 031
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 032
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 033
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 034
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 035
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 036
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 037
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 038
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 039
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 040
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 041
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 042
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 043
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 044
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 045
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 046
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 047
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 048
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 049
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 050
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 051
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 052
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 053
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 054
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 055
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 056
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 057
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 058
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 059
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 060