สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 082
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๘๒
วันจันทร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ แต่ว่าเมื่อมีเหตุปัจจัย เมื่อได้ปัจจัยก็เกิดขึ้นเป็นอกุศลที่ปรากฏ เช่น เกิดโกรธ หรือเกิดโลภพวกนี้นะคะ ก็เป็นกิเลสอีกระดับหนึ่ง ชื่อว่าปริยุฏฐานกิเลส เกิดร่วมกับจิตทำกิจการงาน แล้วก็อีกระดับหนึ่ง ก็เป็นกิเลสขั้นหยาบ วีติกัมมกิเลส คือขั้นประทุษร้ายเบียดเบียนคนอื่นให้เดือดร้อน
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้นะคะ ว่ามีหลายอย่างที่เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ แต่ว่าสามารถที่จะอบรมความเข้าใจถูก ความเห็นถูกเพิ่มขึ้น จนกว่าจะถึงกาละที่สามารถที่จะดับกิเลสได้เป็นสมุทเฉท แต่ละท่านที่ฟังอยู่นะคะ คงไม่ได้คิดว่าจะดับกิเลสเป็นสมุทเฉท หรือคิดค่ะ หรือฟังให้เข้าใจพระธรรมนะคะ แล้วก็ละความไม่รู้ และก็จนกว่าจะถึงเวลาที่กิเลสเบาบางลงไป อันนี้ก็เป็นความถูกต้องนะคะ
คือสามารถที่จะมีจิต ที่ตั้งจิตไว้ชอบ คือรู้ว่าเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาเป็นเรื่องที่ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปเพราะว่ากิเลสมีมาก การฟังแต่ละครั้งนี่คะ ก็จะทำให้ความไม่รู้ลดลงไป
ผู้ฟัง ค่ะ ท่านอาจารย์คะ เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์ ยกตัวอย่างว่า ถ้าได้ยินเสียงระเบิดตูมจะตกใจ ดิฉันคิดว่าตรงนี้นะคะ มันจะสะสมมาจากที่เคยได้ยิน ที่มันรู้แล้วว่ามันเป็นระเบิดนะคะ ที่ทางมโนทวารเกิด พอเกิดอีกที คราวนี้จำได้ อันนี้น่ากลัว
ท่านอาจารย์ ค่ะ เปลี่ยนเป็นฟ้าร้อง กลางคืนฟ้าร้องน่ากลัวมากเลยนะคะ เราก็รู้ว่าไม่ใช่ระเบิด แต่เพียงเสียงอย่างนั้นนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไรก็ตาม ทำให้จิตกระทบแล้วก็หวั่นไหวเป็นอกุศล หรือเปล่าคะ
ผู้ฟัง อันนี้ก็เข้าใจแล้วค่ะ กราบขอบพระคุณ อนุญาตเรียนถามอาจารย์สุภีร์นะคะ ถึงเรื่องสีลพัตตปรามาสนี่นะคะ อย่างสมมติเวลาส่วนมากที่เห็นโดยทั่วไป พอคนจะออกรถใหม่ก็ต้องดูฤกษ์ดูยาม จะสร้างบ้านใหม่ก็ต้องดูฤกษ์ดูยาม ตรงนี้เนี่ยคนคิดว่ามันดีแต่จริงๆ แล้วมันถูกต้องแค่ไหนคะ
อ.สุภีร์ ทุกอย่างอยู่ที่เหตุ และผลนะครับ ซึ่งเหตุก็คือกุศลกรรม และอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้แล้ว ผลก็คือสิ่งที่จะได้รับก็คือวิบากจิตที่เกิดขึ้น ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรสกระทบสัมผัสนะครับ แล้วก็ได้รูปก็คือกัมมชรูป รูปที่เกิดจากกรรมนะครับ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่กระทำด้วยความไม่รู้เท่านั้นเองนะครับ เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วมีความเข้าใจ หรือว่ามีความรู้ที่เกิดขึ้นจากการได้ยินได้ฟังนะครับ ก็จะค่อยๆ ละคลายไป
ซึ่งความไม่รู้นี่นะครับ ก็มีโทษมากนะครับ ก็คือทำให้ ทำสิ่งต่างๆ ด้วยความไม่มีเหตุ ไม่มีผลแล้วก็เป็นเหตุปัจจัยให้อกุศลประการต่างๆ เกิดขึ้นมากมายนะครับ โทสะจะเกิดขึ้นได้นี่ครับ เกิดขึ้นได้เพราะอะไร ก็เพราะว่าความไม่รู้นั่นเองนะครับ ถ้ารู้แล้วนะครับ ว่าโกรธนี่ครับ มีโทษอย่างไร เห็นโทษจริงๆ นะครับ รู้จริงๆ ก็จะไม่โกรธเลยนะครับ
ที่โกรธยังเกิดอยู่ก็เพราะว่าความไม่รู้นั่นเอง โลภะก็เช่นเดียวกันนะครับ เพราะเหตุไรจึงเกิดโลภะ ก็เพราะว่าไม่รู้นั่นเอง จึงเกิดโลภะนะครับ เพราะเห็นว่าความอยากได้นะครับ ไม่ใช่เป็นเหตุให้ได้ สิ่งที่เป็นเหตุให้ได้จริงๆ ก็คือกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้แล้วนั่นเองนะครับ แต่เราก็ต้องการใช่ไหมครับ ด้วยความไม่รู้นั่นเอง
ฉะนั้นอกุศลนะครับ ที่มีโทษมากแล้วก็อยู่กับเรามายาวนานก็คือความไม่รู้นั่นเองนะครับ เป็นเหตุปัจจัยให้กระทำสังขารประการต่างๆ ที่มีชื่อว่าอภิสังขารนะครับ ที่เป็นบุญญาภิสังขารบ้าง อบุญญาภิสังขารบ้าง อเนญชาภิสังขารบ้างนะครับ แล้วก็ทำให้เกิดยาวนานต่อไปในสังสารวัฎนะครับ
ผู้ฟัง ขออนุญาตต่ออีกนิดครับ ตรงนี้เนี่ยคือถ้าเผื่อผนวกเข้าไปในเรื่องเดิมๆ คือเรื่องของ การสั่งสมเนี่ย ที่ว่า สี แล้วก็ซื้อรถใหม่ หรือว่าจะขึ้นบ้านใหม่ หรือจะอะไรก็แล้วแต่เนี่ย แล้วก็มีความเชื่อถือว่าสิ่งนั้นเนี่ยเป็นมงคลนะครับ แล้วก็ปฏิบัติตามตรงนี้เนี่ย แม้กระทั่งสีบางสี เช่นสีแดง ก็เป็นสีที่เชื่อว่าเมื่อเห็นแล้วเนี่ย ก็จะเป็นเรื่องของสิ่งที่ดีนะครับ
สีแดงเป็นสีที่นำโชคหรืออะไรก็แล้วแต่ ต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น เป็นสีแดงแล้วก็จะรู้สึกพอใจทีเดียว ตรงนี้เนี่ยมันเหมือนกับว่าพอเราเห็นสีแล้ว ก็แน่นอนจิตเกิดดับสลับกันรวดเร็วในจิตต่างๆ ตรงนี้มันสั่งสมอย่างไรมาแล้วเห็นสีแดงปุปชอบทันที หรือว่าเราทำตามที่เขาทำนะครับ แม้กระทั่งการขึ้นบ้านใหม่ การซื้อรถใหม่ หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำตามที่เขาทำ ตรงนี้นะสั่งสมยังไง สั่งสมอวิชชา หรือสั่งสมด้วยโลภะ สั่งสมตรงไหน
อ.สุภีร์ ครับ ก็เป็นความไม่เข้าใจในเหตุในผลนะครับ ที่ได้สั่งสมมานะครับ สัตว์บุคคลทั้งหลายนะครับ ถือว่าสิ่งต่างๆ เป็นมงคลนะครับ ที่มีชื่อว่ามงคลตื่นข่าวนี้นะครับ ก็ถือว่าหลายอย่างเป็นมงคลด้วยกันนะครับ บางพวกก็เป็นทิศมงคล ก็คือถือสิ่งที่เห็นที่ดีว่าเป็นมงคลเช่นสีแดงก็ถือว่าเป็นมงคล เห็นวัวด่างก็ถือว่าเป็นมงคลอย่างนี้นะครับ เรียกบุคคลประเภทนี้นะครับ ว่าเป็นพวกทิศมงคลถือว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นมงคล
อีกบุคคลอีกประเภทหนึ่ง นะครับ ก็จะมีด้วยก็คือสุตมงคลก็คือเสียงที่ได้ยินเนี่ยครับ เสียงบางเสียงเป็นมงคลนะครับ สำหรับบุคคลประเภทนี้นะครับ เป็นคนที่ถือในเสียงที่ได้ยินเป็นมงคล เช่นว่าวันนี้จงมีความเจริญนะ อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นมงคลล่ะนะครับ บุคคลประเภทนี้เรียกว่าพวกที่เป็นสุตมงคลนะครับ ที่เหลือก็คือเป็นมุตมงคลนะครับ เป็นพวกถือมงคลเกี่ยวกับอารมณ์ที่ทราบแล้วในทางอื่นๆ นะครับ
เช่น สัมผัสทางกายบางอย่างก็เป็นมงคล หรือว่าการรับประทานอาหารบางอย่างก็เป็นมงคล การลิ้มรสบางอย่างก็เป็นมงคล การดมกลิ่นบางอย่างนะครับ ก็เป็นมงคล บุคคลประเภทนี้นะครับ เรียกว่าประเภทที่เป็นมุตมงคลนะครับ ในโลกนี้นะครับ ก็มีบุคคลประเภทที่ถือมงคลเหล่านี้นะครับ ก็ทำด้วยความไม่เข้าใจเหตุ และผลของสภาพธรรมนั่นเองนะครับ ก็มีทั้งที่เป็นทิศมงคล สุตมงคลแล้วก็มุตมงคลนะครับ
แต่ว่ามงคลจริงๆ ก็คือการกระทำความดีที่เป็นกุศลกรรมทุกๆ ประการนั่นเองนะครับ ที่เป็นมงคล ไม่ว่าจะเป็น ช่วงไหน เวลาไหน กาละไหนนะครับ ถ้าขณะใดที่เป็นกุศลขณะนั้นก็เป็นมงคลนั่นเองนะครับ อันนี้ก็เป็นการสะสมของแต่ละคนมานะครับ
ท่านอาจารย์ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ทรงตรัสรู้ว่าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตนเลยนะคะ มีจิตเจตสิก รูป นิพพาน เพราะฉะนั้นสำหรับความเห็นนี่คะ เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นสภาพธรรม เป็นใครหรือเปล่า ไม่ใช่ จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์
อีกชื่อหนึ่งของจิต คือมนินทรีย์นะคะ ในขณะที่สภาพธรรมใดกำลังปรากฏนี่คะ เช่นในขณะเห็น จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งคือเห็นสิ่งที่ปรากฏชัดเจนนะคะ แต่เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็ทำหน้าที่ของเจตสิกนั้นๆ ในขณะที่เสียงปรากฏ จิตเป็นสภาพที่รู้เสียง จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานนะคะ และก็มีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย
สำหรับความเห็นนี่ค่ะเป็นสิ่งที่มีจริงเป็นจิต หรือเป็นเจตสิก คือก่อนอื่นที่จะเข้าใจสภาพธรรมว่าไม่ใช่เรา แม้ว่าความเห็นก็มีต่างกันมากนะคะ ก็ความเห็นนั้นก็ไม่ใช่ใครสักคนเดียว แต่ว่าเป็นสภาพธรรมที่มีจริงเป็นเจตสิกนะคะ ซึ่งเกิดกับจิต ภาษาบาลีก็คือทิฏฐิเจตสิกเป็นอกุศลเจตสิก ขณะที่ทิฏฐิความเห็นผิดเกิดขึ้นขณะใดนะคะ ขณะนั้นจิตเป็นอกุศล จะเป็นกุศลไม่ได้เลย
และสำหรับความเห็นถูกนะคะ ก็เป็นโสภณเจตสิกเป็นเจตสิกฝ่ายดีเป็นปัญญาเจตสิก เพราะฉะนั้นขณะใดที่มีความเห็นถูกต้อง ตามความเป็นจริงของสภาพธรรม ขณะนั้นก็เป็นปัญญาเจตสิก ขณะใดที่มีความเห็นผิดจากความเป็นจริงนะคะ ขณะนั้นก็เป็นทิฏฐิเจตสิก ทิฏฐิเจตสิกเนี่ยนะคะ เป็นอนุสัยกิเลสด้วย
หมายความว่ามีความเห็นผิดเพราะมีความไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมนั้น เช่นการเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนะคะ ตามเหตุ ตามผลว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เช่นเห็นสีแดงเป็นมงคล หรือว่าได้ยินเสียงหรือสัมผัสอะไรที่คิดว่าเป็นมงคลนะคะ มงคลคือสิ่งที่จะนำความสุขความเจริญมาให้ แล้วสีจะนำความสุขความเจริญมาให้ได้อย่างไร ใช่ไหมคะ
ต้องเป็นกุศลจิต เป็นจิตที่ดีงามเท่านั้นที่เป็นเหตุที่จะทำให้เกิดกุศลวิบาก เพราะฉะนั้นถ้าเป็นความเห็นที่ถูกต้องนะคะ ก็คือเข้าใจถูกต้อง ว่าขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล ขณะที่กำลังคิดว่าสิ่งซึ่งเป็นมงคล เช่นสีแดงบ้างหรืออะไรก็ตามแต่นะคะ ขณะนั้นเป็นทิฏฐิเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกับอกุศลจิตประเภทโลภะ เพราะว่าความเห็นผิดนี่ค่ะ จะไม่เกิดกับจิตประเภทโทสะ ใหญ่ๆ มูลที่จะให้เกิดอกุศลเนี่ยนะคะ มี ๓ มูลคือโลภะมูลหนึ่ง โทสะมูลหนึ่ง โมหะมูลหนึ่ง
โมหเจตสิกต้องเกิดกับอกุศลจิตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอกุศลประเภทใดก็ตามนะคะ ต้องมีโมหเจตสิก อีกชื่อหนึ่งคืออวิชชานั่นเองนะคะ เกิดร่วมด้วยแต่ว่าเวลาที่มีอวิชชา หรือโมหเจตสิกเกิด โดยที่ไม่มีโลภะเกิดร่วมด้วย ไม่มีโทสะเกิดร่วมด้วยก็มีนะคะ ซึ่งก็คงจะพอสังเกตได้ หลังจากที่ได้ทราบแล้วว่าลักษณะของโมหะเป็นอย่างไร แต่ก็รู้ยากกว่าขณะที่โลภเจตสิกเกิด กับโทสเจตสิกเกิด สำหรับโลภเจตสิกนี่คะ จะไม่เกิดกับโทสเจตสิกเลย
โลภะเป็นสภาพที่ติดข้อง ส่วนตัวโทสะเป็นสภาพที่ไม่พอใจนะคะ เพราะฉะนั้นจะเกิดร่วมกันไม่ได้เลย แต่ว่าโมหเจตสิกนี่คะ จะต้องเกิดกับอกุศลจิตทุกประเภท ขณะใดที่มีโมหเจตสิกเกิดแล้วก็มีโลภเจตสิกเกิด ส่วนใหญ่จะไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย นอกจากขณะที่มีความเห็นผิดเกิดขึ้น
อย่างวันนี้นะคะ ก็มีโลภะมาก ใครมีน้อยบ้างคะ ทางตาตื่นขึ้นมาก็โลภะนะคะ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทุกอย่างต้องเป็นสิ่งที่ต้องการ ต้องเป็นสิ่งที่พอใจ ทุกอย่างในบ้านที่ยังไม่ทิ้งไปนอกบ้านนี่นะคะ เป็นสิ่งซึ่งเข้าบ้านเมื่อไหร่ก็เห็น โลภะเกิด นอกจากบางครั้ง บางขณะนะคะ ก็โทสะเกิด เพราะฉะนั้นโลภะนี้ก็มีมากเป็นประจำ
วันนี้นะคะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คิดก็คิดเรื่องที่สนใจหรือว่าต้องการที่จะคิด แต่ว่ามีการคิดเรื่องความเห็นบ้างไหมคะ ถ้าขณะใดมีความคิดเรื่องความเห็นที่ผิด ขณะนั้นนะคะ จิตนั้นเป็นโลภมูลจิตซึ่งมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามซึ่งไม่เป็นเหตุเป็นผลนะคะ ก็จะสามารถทราบได้ว่าเพราะสั่งสมมา ที่จะไม่รู้ในเหตุในผล
สะสมความติดข้อง สะสมความรักตัวนะคะ ลึกมากเลยค่ะ เพราะเข้าใจว่าสภาพธรรมเนี่ยเป็นเรา แต่ว่าจริงๆ แล้วก็คือสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับ ไม่เหลือเลยสักอย่าง จิตทุกขณะไม่เหลือ เกิด และดับไปนะคะ เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตนั้นก็ไม่เหลือด้วย แต่ว่าสืบ ต่อทำให้เกิดจิต และเจตสิก จนกว่าจะถึงจุติจิตของพระอรหันต์
ไม่มีใครสามารถที่จะดับอนันตรปัจจัย ความเป็นปัจจัยของจิตทุกขณะได้นะคะ เพราะเหตุว่าจะต้องมีจิตเกิดขึ้น หลังจากที่จิตขณะหนึ่งดับไป ไม่มีใครยั้บยั้งได้เลย มีใครสามารถทำได้ไหมคะ เพราะฉะนั้นก็ได้ทราบความจริงนะคะ ว่าจิตที่เกิดดับสืบต่อไปนี่คะ ก็มีทั้งที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศล ที่เป็นวิบาก ที่เป็นกิริยา แล้วก็เป็นไปตามการสะสม
ผู้ฟัง ตอนที่เริ่มต้นฟังธรรมใหม่ๆ นะครับ ได้ยิน ได้ฟังถึงเรื่องความไม่มีตัวตน ซึ่งไม่เคยได้ยินในตอนเริ่มต้นศึกษาธรรม ก็สงสัยทุกที แล้วก็คิดว่าคงหลอกเรานะ เริ่มคิดได้ว่าถ้าเกิดมีความคิดเหล่านี้ขึ้น ใหม่ๆ เราก็ไม่เข้าใจจนกระทั่งได้ยินได้ฟังว่า ลักษณะของทิฏฐิที่มีอยู่จริง จึงรู้ได้ว่าเมื่อไรที่เราขัดกับความจริงที่เราได้ศึกษา ตอนนั้นเป็นทิฏฐิแน่ๆ เลย จะถูกหรือป่าวท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ค่ะ ทิฏฐิเป็นความเห็นนะคะ ก็แล้วแต่ว่าขณะนั้นนะคะ เป็นความเห็นอะไร อย่างที่ว่าเห็นสีแดงเป็นมงคลอย่างงี้ค่ะ เคยคิดมาก่อน หรือเปล่า และเดี๋ยวนี้ยังคิดอย่างนั้นหรือเปล่า
ผู้ฟัง นานๆ ก็ยังมีเผลอ ในการทำการค้าเช่นเลข ๙ พอจะไปหาอะไรมาขาย เช่นช้างไม้แกะสลัก เอ จะมีสัก ๙ ตัว เพราะเขาชอบซื้อกัน ก็ยังจะมีแลบออกมา นะครับ
ท่านอาจารย์ ชอบซื้อ ๙ ตัว หรือว่าซื้อตัวเดียวค่ะ
ผู้ฟัง ส่วนใหญ่ซื้อตัวเดียว เพราะว่าเหมาะสมกับการซื้อแต่ละครั้ง
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เข้าใจก็อาจจะคิดว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ นะคะ แต่ว่าตามความจริง แม้แต่เห็น เราก็เลือกไม่ได้นะคะ ว่าเราจะเห็นอะไร ได้ยินก็เลือกไม่ได้ เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่เป็นวิบากนี่คะ ต้องเป็นผลของกรรม เราอาจมี ๙ ๙ ๙ แต่ว่ากรรมที่ได้ทำมา ไม่ทำให้ได้รับผลอย่างที่ต้องการก็ได้
ผู้ฟัง ขอบพระคุณมากครับ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ครับ ตรงที่สีนี่นะครับ ขณะที่เราจะศึกษาว่า ขณะนี้เรามีความเห็นผิดร่วมด้วยอยู่หรือเปล่า เช่นว่าเราเห็นสีน้ำตาล สีม่วง สีแดงนะครับ ถ้าผมเห็นสีน้ำตาล ผมจะรู้สึกว่าอันนี้เป็นใบละพันบาท ซึ่งน่าสนใจว่าสีแดงมากทีเดียว ตรงนี้ผมไม่ได้เห็นผิดนะครับ มันเป็นพันบาทจริงๆ แล้วก็อยากจะได้ด้วย ตรงนี้ไม่ใช่เห็นผิดใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ค่ะ ขอเชิญคุณอรรณพอธิบายตรงนี้ด้วยนะคะ
อ.อรรณพ ครับ เพราะว่าเรารู้บัญญัตินะครับ เราใส่ราคาลงไปใช่ไหมครับ ราคา หรือราคะ ความยินดีพอใจใช่มั้ยครับ เรารู้ว่าสีแดงอย่างนี้นะครับ แล้วก็รูปพรรณสัณฐานอย่างนี้นะครับ มีมูลค่า มีราคาเท่ากับ ๑๐๐ บาท ถ้าเป็นสีน้ำตาลนะครับ ที่ออกมาใหม่รุ่นนี้นะครับ สิบเท่า พันหนึ่งนะครับ จิตก็คิดไปนะครับ ถึงมูลค่าราคาของของนะครับ
ซึ่งเราก็ตั้งไปตามกำลังของโลภะ เพราะฉะนั้นเมื่อเรารู้นะครับ ว่าชาวโลกบัญญัติทั้งในหมู่ของคนไทยนะครับ ถ้าสมมติเราไปให้ธนบัตรเหล่านี้นะครับ กับผู้ที่ไม่เคยเห็นพันธบัตรเหล่านี้เลย เขาก็อาจจะไม่รู้ว่าแบงค์ยี่สิบกับแบงค์พันเนี่ยต่างกันไหม บางคนอาจจะเห็นว่ายี่สิบสวยกว่าก็ได้ เป็นรูปร่างใช่ไหมครับ
แต่เป็นการที่มีการบัญญัติตีราคานะครับ ลงไปในสิ่งนั้น แต่เฉพาะสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสีสันวรรณ เพราะฉะนั้นเราบัญญัติมูลค่าราคา หรือว่าเป็นสิ่งของต่างๆ จากสภาพปรมัตถ์ที่มีจริง เพราะความต่างของสีสันนะครับ ที่มีหลากหลายก็เป็นสีแดง สีน้ำตาล สีเขียว สีอะไรนี่นะครับ ซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นเฉดต่างๆ ในโทนต่างๆ นะครับ ก็เพราะว่าสภาพธรรม มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันนะครับ
แม้ว่าจะเป็นสภาพของรูปธรรมซึ่งไม่รู้อารมณ์แต่จิตสามารถที่จะรู้ได้ อย่างสิ่งที่ปรากฏทางตา จิตเห็นรู้ได้ ใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้นจึงบัญญัติสิ่งต่างๆ ครับ จากสิ่งที่เคยเห็น เคยได้ยิน เคยได้กลิ่น เคยลิ้มรส เคยกระทบสัมผัส เพราะฉะนั้นเสียงที่ท่านพลตรีวีระได้กล่าวว่าทำไมเนี่ยเห็นแบงค์พันนะครับ จึงมีความรู้สึกว่าอยากได้มากกว่าแบงค์ร้อย เพราะว่าเราเข้าใจบัญญัติ เข้าใจการตีราคาไปตามความพอใจ หรือตามกำลังของโลภะ ฉะนั้นกำลังของโลภะก็ทำให้เรารู้นะครับ ว่าแบงค์พันมีมูลค่ามีราคามากกว่า
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมดาใช่ไหมคะ การเกิดดับสืบต่อของจิตนี่คะ หลังจากที่มีการเห็นทางตา อาศัยจักขุปสาท รูปดับไปแล้วก็จริงนะคะ หลังจากนั้นทางใจนะคะ จิตจะต้องรับรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็มีการจำรูปร่างสัณฐานเกิดขึ้นนะคะ แล้วก็รู้ในความหมายของสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นลองคิดดูถึงเพียงชั่วขณะที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดนะคะ เช่น สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้สั้นๆ แว๊บเดียวนะคะ แล้วก็ดับ
ภวังคจิตไม่รู้อารมณ์ใดๆ เลยขณะนั้นจะมืดสนิทนะคะ แต่ทางใจนี่คะ ก็สามารถที่จะรับต่อ สิ่งที่ได้ผ่านมาทางตาอย่างเร็วมากนะคะ แล้วก็สามารถที่จะรู้สิ่งนั้นในลักษณะเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา หลังจากที่วิถีจิตทางจักขุทวารดับไปหมดแล้ว ทางใจนี่คะ จะรับรู้ต่อทั้งหมดไม่ว่าจะได้ยินครั้งหนึ่งนะคะ ไม่ใช่ว่าผ่านไปหมดเลย เสียงดับไปแล้วก็จริงแต่วิถีจิตทางใจจะเกิดขึ้นรับรู้เสียงนั้นต่อ
มิฉะนั้นก็จะไม่มีการรู้ในสัณฐานของเสียงสูงๆ ต่ำๆ เป็นคำที่มีความหมายในแต่ละภาษาได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตาดับไปแล้วนะคะ วิถีจิตทางใจจะเกิดสืบต่อรับรู้อารมณ์นั้นทันที ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นก็อยู่ในโลกนะคะ ของความคิดนึก สิ่งที่ปรากฏทางตาชั่วขณะที่สั้นมาก ปรากฏขึ้นทางหูก็ชั่วขณะที่สั้นมาก เหมือนกับมีความมืดสนิทนะคะ
แต่ก็มีจุดที่กรรมทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเป็นจักขุปสาทสำหรับกระทบสี เมื่อกระทบ และดับไปแต่ทางใจรับต่อ คิดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตาต่อได้นะคะ และก็ยังมีการจำรูปร่างสัณฐานนั้นด้วย อีกจุดหนึ่งซึ่งกรรมก็ทำให้โสตปสาทรูปเกิดขึ้น มีอายุเพียงชั่ว ๑๗ ขณะจิต แล้วก็ถ้าไม่มีเสียงกระทบ รูปนั้นก็เกิดดับเพราะเหตุว่าเป็นรูปที่เกิดจากกรรม รูปมีสมุฏฐาน ๔ ค่ะรูปที่เกิดจากจิตก็มี รูปที่เกิดจากกรรมก็มี รูปที่เกิดจากอุตุก็มี รูปที่เกิดจากอาหาร ที่บริโภคเข้าไปก็มี
สำหรับรูปที่เกิดจากกรรมนี่นะค่ะ ไม่มีใครจะยับยั้งได้ถ้ากรรมยังให้ผลที่จะให้รูปนั้นเกิดนะคะ รูปนั้นก็จะเกิด เช่น โสตปสาทรูปนี่คะเกิดดับนะคะ ถ้าเมื่อไหร่กรรมหยุดให้ผล โสตปสาทรูปไม่เกิดจะไม่มีการได้ยินเสียงเลย เพราะฉะนั้นขณะนี้ให้ทราบว่า และรูปที่ตัวนะคะ ก็เป็นปรมัตถธรรมเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ที่จะทำได้เลย
ถ้าเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ก็กรรมนั้นเองเท่านั้น ที่จะทำให้รูปนั้นเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นกรรมก็ทำให้จักขุปสาทรูปเกิดนะคะ แล้วแต่ว่าจะมีปัจจัยคือสิ่งที่กระทบตาทำให้จิตเกิดขึ้น เห็นแล้วดับไปแล้วนะคะ ทางใจรับต่อแล้วก็คิดเรื่องราวของสิ่งที่เห็น ทางหูนะคะ ก็โสตปสาทรูปก็เป็นจุดที่เล็กมากนะคะ แล้วก็กระทบกับเสียง และก็มีอายุแค่ ๑๗ ขณะ แล้วก็ดับ ทั้งเสียง ทั้งโสตปสาทรูปก็ดับ จิตที่ได้ยินก็ดับ แล้วจิตทางใจ ก็รับรู้ต่อ
เพราะฉะนั้นเราจะอยู่ในโลก ๖ โลกนะคะ คือโลกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายทางใจ แต่โลกทางตานี่จะต่อกับโลกทางหูทันทีไม่ได้ เมื่อโลกทางตาคือวิถีจิตที่เกิดขึ้นเห็นดับไปแล้วนี่นะคะ จิตที่อาศัยใจคือภวังคจิตนะคะ เป็นทวารจะเกิดขึ้นรับรู้สีนั้นต่อ ขณะที่ได้ยินเสียง เสียงดับ ภวังคจิตซึ่งเกิดต่อนะคะ ก็จะเป็นทวาร สำหรับให้จิตทางใจเกิดขึ้นรับรู้เสียงดังต่อ
เพราะฉะนั้นเราจะอยู่ในโลกของความทรงจำ จากสิ่งที่ปรากฏขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แต่โลกทางตาจะต่อกับโลกทางหูทันทีไม่ได้ เมื่อโลกทางตาคือวิถีจิตที่เกิดขึ้นเห็นดับไปแล้วนี่นะคะ จิตที่อาศัยใจคือภวังคจิตเนี่ยนะคะ เป็นทวารจะเกิดขึ้น รับรู้สีนั้นต่อ
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 061
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 062
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 063
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 064
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 065
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 066
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 067
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 068
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 069
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 070
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 071
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 072
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 073
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 074
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 075
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 076
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 077
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 078
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 079
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 080
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 081
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 082
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 083
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 084
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 085
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 086
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 087
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 088
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 089
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 090
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 091
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 092
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 093
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 094
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 095
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 096
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 097
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 098
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 099
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 100
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 101
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 102
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 103
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 104
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 105***
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 106
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 107
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 108
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 109
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 110
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 111
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 112
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 113
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 114
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 115
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 116
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 117
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 118
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 119
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 120