สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 083


    สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๘๓

    วันจันทร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๕


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเราจะอยู่ในโลกของความทรงจำ สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แต่โลกทางตานี่จะต่อกับโลกทางหูทันทีไม่ได้ เมื่อโลกทางตา คือวิถีจิตที่เกิดขึ้นเห็น ดับไปแล้วเนี่ยนะคะ จิตที่อาศัยใจคือภวัคจิตนี่นะคะ ที่เป็นทวารจะเกิดขึ้น รับรู้สีนั้นต่อขณะที่ได้ยินเสียงนะคะ เสียงดับ ภวังคจิตซึ่งเกิดต่อนะคะ ก็จะเป็นทวารสำหรับให้จิตทางใจให้เกิดขึ้นรับรู้เสียงนั้นต่อ

    เพราะฉะนั้นเราจะอยู่ในโลกของความทรงจำ สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย อย่างรวดเร็วนะคะ รวมทั้งความคิดนึกถึง สีสันวัณณะ เสียงต่างๆ กลิ่นต่างๆ รสต่างๆ ชื่อเรื่องราวต่างๆ นี่คะ มากมาย และในขณะที่จิตเกิดขึ้นทางใจ แล้วก็เกิดดับสืบต่อนะคะ จนกว่าจะเห็นอีก ได้ยินอีก นี่ก็เป็นชีวิตประจำวัน แต่ก็ให้ทราบว่าขณะที่คิดนึกนี่นะคะ เป็นสิ่งซึ่งจะต้องสืบต่อจากทางตา หรือทางหู

    เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องราว เป็นบัญญัติ ไม่ใช่เป็นความเห็นผิด ความเห็นผิดคือเห็นไม่ตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรมเช่น เห็นว่าสีแดงอย่างที่กล่าวถึงนี่นะคะ จะนำโชคลาภมาให้ ทั้งๆ ที่สีป็นสี สีไม่สามารถจะดลบันดาลอะไรได้เลย ขณะนั้นที่มีความคิดอย่างนั้นนะคะ จิตที่เกิดขึ้นเป็นวิถีจิต แล้วแต่ว่าจะเป็นทางไหนนะคะ

    แล้วก็มีความเห็นอย่างนั้น เกิดขึ้นเป็นอนันตรปัจจัยสืบต่อไป เป็นอนุสัยซึ่งไม่สามารถที่จะดับได้ เพราะว่าวันนี้อาจจะไม่เห็นผิด วันต่อไปเห็นได้ไหมคะ ก็เห็นผิดได้ แต่ถ้าอบรมเจริญปัญญาเพิ่มขึ้นนะคะ ก็จะคลายความเห็นผิดให้น้อยลง แต่ยังดับไม่ได้จนกว่าจะถึงโสตาปัตติมัคคจิตจึงจะดับได้

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ครับ ถ้าอย่างนั้นที่ผมเห็นเป็นพันบาทนี้ก็ไม่ผิดนะครับ

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมดาค่ะ หลังจากที่เห็นแล้วนะคะ ก็มีทางใจ จิตรู้สิ่งนั้นต่อแล้วก็สามารถที่จะรู้รูปร่างสัณฐาน เป็นความคิดนึก

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ที่เคารพ ฟังท่านอาจารย์อธิบายก็รู้ว่ามีแต่รูปกับนาม ไม่มีเรา มันกลัว ท่านอาจารย์ กลัวที่จะไม่มีเรา

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กลัวเป็นอะไรคะ

    ผู้ฟัง โทสะค่ะ ก็เลยไม่รู้จะศึกษาทำไมเพราะกลัว ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ กลัวความจริง เพราะฉะนั้นในพระไตรปิฎกนี่นะคะ ถ้าอ่านพระสูตรจะมีข้อความว่าอาจหาญร่าเริง ต้องมีความกล้าค่ะ ความจริงเป็นอย่างไร รู้ความจริงดีกว่าหลอกตัวเอง ด้วยความไม่รู้ ขอเชิญค่ะ

    ผู้ฟัง ขอเรียนถามเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา จิตเนี่ยนะครับ ข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่าจิตเนี่ยเกิดโดยรวดเร็วแล้วก็รู้ยาก เห็นยาก ทีนี้การศึกษา เราควรจะศึกษาขณะที่จิตกำลังเกิดขึ้น หรือว่าดับไป หรือว่าจิตยังไม่ดับไป

    ท่านอาจารย์ ค่ะ การศึกษาต้องตามลำดับนะคะ คือขณะนี้เองค่ะ ทั้งๆ ที่จิตกำลังเกิดดับแต่เป็นเรา เพราะฉะนั้นก็ต้องมีความเข้าใจถูกในสภาพของจิต ซึ่งเป็นนามธรรม ทุกขณะที่เห็นที่ได้ยิน โลกปรากฏเพราะจิต ถ้าไม่มีจิตซึ่งเป็นสภาพรู้นะคะ โลกไม่ปรากฏเลย วันนี้ทั้งวันจะไม่มีอะไรปรากฏ แต่เมื่อจิตเกิด จิตเป็นสภาพรู้ และมีทางของจิตด้วย ที่จะเห็น ที่จะได้ยิน

    เพราะฉะนั้นโลกจึงปรากฏได้ ทั้งวันนี่คือจิต ถ้าระลึกอย่างนี้นะคะ และสามารถที่จะรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม ขณะนี้การเกิดดับของจิต และเจตสิก และรูปไม่ปรากฏเลย เพราะว่าต้องปรากฏกับปัญญาที่อบรม ถึงระดับขั้นที่เป็นวิปัสสนาญาณ เป็นการประจักษ์แจ้งสภาพธรรมนะคะ

    หยั่งถึงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละลักษณะซึ่งเกิด และดับ เพราะฉะนั้นในขณะนี้คะ มีสภาพธรรมหลายอย่าง เห็นก็มี ได้ยินก็มี คิดนึกก็มี เกิดดับทั้งนั้นเลยค่ะ สืบต่อกันอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นก่อนที่จะประจักษ์การเกิดดับนะคะ ก็ต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ด้วยสติสัมปชัญญะ ที่เข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    เช่น ในขณะนี้นะคะ จำได้ ว่าใคร คนที่นั่งอยู่ตรงนี้คือคุณสุภีร์นะคะ จำได้ แต่จำได้ หรือยังว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ค่ะ เพราะฉะนั้นการฟังเนี่ยนะคะ ก็คือฟังจนกว่าเมื่อเห็นก็สามารถที่จะมีปัจจัยที่สะสม เพราะว่าจิตเกิดดับ สะสมนะคะ เป็นอุปนิสัย เป็นอัธยาศัย

    ถ้าสะสมปัญญา สะสมการฟังนะคะ จนกว่ามีความจำที่มั่นคง ว่าขณะนี้ค่ะ เป็นธรรมทั้งหมด สิ่งที่ปรากฏทางตาจริง เป็นธรรม กำลังปรากฏ ใครจะบอกว่าไม่เห็น ใครจะบอกว่าไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ถูกต้องนะคะ แต่ว่าเมื่อมีสิ่งที่ปรากฏทางตา

    ความถูกต้องก็คือเข้าใจถูกต้อง ในสิ่งที่ปรากฏ เมื่อกระทบจักขุปสาท แล้วดับอย่างรวดเร็ว แต่ว่าเกิดดับสืบต่อเหมือนนายมายากลนะคะ ที่จะทำให้มีความทรงจำในรูปร่างสัณฐานแล้วก็เป็นคนตลอดเวลา ทั้งวันนะคะ จนกว่าวันหนึ่งวันใดนี่คะ ค่อยๆ เข้าใจถูกว่า ไม่ว่าอะไรจะปรากฏ แล้วจำไว้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด

    แต่ก่อนอื่นนะคะ ต้องมีสิ่งที่ปรากฏก่อน และสิ่งที่ปรากฏก็ดับด้วยนะคะ เพราะฉะนั้นในขณะใดที่รู้ว่า ขณะนี้จริงๆ แล้วเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา พิสูจน์ได้ค่ะหลับตาแล้วไม่มี ไม่ปรากฎนะคะ เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ปรากฏเมื่อกระทบจักขุปสาท ถ้ามีความเข้าใจโดยการฟังบ่อยๆ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษา รวบรวมไว้เป็น ๓ ปิฏกนะคะ ก็ไม่พ้นจากเรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เท่านั้นเองค่ะ

    แต่ทรงแสดง ๔๕ พรรษาเรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งซึ่งไม่ว่าโลกไหนนะคะ ก็จะมีเกินกว่านี้ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นถ้าสามารถที่จะเข้าใจความจริงนะคะ วันหนึ่งก็จะรู้ได้ แล้วก็จะเข้าใจถูกต้องว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อนั้นจะรู้ได้ค่ะเริ่มคลาย การคลายจะน้อยมาก อุปมาเหมือนกับการจับด้ามมีด จับครั้งแรกๆ นี่คะ ด้ามมีดไม่สึกแน่ แต่จับไปๆ ต้องถึงวันหนึ่ง ซึ่งด้ามมีดสึกนะคะ

    เพราะฉะนั้นขณะนี้นี่ค่ะ เพียงแต่มีความเข้าใจสักนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นว่า ขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาจริงๆ ขณะนั้นก็จะทำให้มีการระลึกแล้วก็เข้าใจถูกต้องแล้วก็จะรู้ได้ว่า การที่ทรงแสดงเรื่อง การไม่ยึดถือในนิมิตอนุพยัญชนะ

    นิมิตคือรูปร่าง ส่วนอนุพยัญชนะคือส่วนละเอียด ซึ่งสามารถที่จะปรากฏกับจิต และก็มีการคิดนึกถึงสัณฐานต่างๆ ที่จะละคลายการยึดถือในนิมิตอนุพยัญชนะได้ เมื่อมีความเข้าใจว่าขณะนี้ เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ก็เพียงสักแต่ว่าเห็น แต่ไม่ใช่ด้วยความเป็นเราไปทำสักแต่ว่าเห็น ไม่ได้นะคะ แต่ต้องเป็นปัญญาที่เข้าใจถูกต้องจริงๆ ว่าสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ค่ะ ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย

    ถ้าเห็นดอกกุหลาบในกระจก ๖ ด้านทั้งๆ ที่มีดอกกุหลาบจริงๆ เพียงดอกเดียว แต่ทำไมเห็นเป็นอย่างนั้นได้ ฉันใดนะคะ การที่มีการเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วก็คิดนึกไปยาวไกลเรื่องคนหลายๆ คนที่นี่ ก็เช่นเดียวกัน จริงๆ แล้วก็คือสิ่งที่ปรากฏทางตา เวลาที่ดูโทรทัศน์เนี่ยนะคะ ทำไมเวลาดูเนี่ยเป็นคน แล้วก็เป็นเรื่อง แล้วก็สนุกสนานนะคะ เดี๋ยวก็ร้องไห้เดี๋ยวก็หัวเราะแล้วก็เรียกชื่อต่างๆ เหมือนมีคนจริงๆ แต่ความจริงไม่มีเลย

    ฉันใดนะคะ เวลาอ่านหนังสือพิมพ์เพียงสิ่งที่ดำๆ ขาวๆ นี่คะ ก็เป็นประธานาธิบดี เป็นประเทศต่างๆ เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ต่างๆ จากสีขาวๆ ดำๆ ฉันใดนะคะ ขณะนี้ก็สีเยอะ เหมือนหนังสือพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์จะมีรูปอย่างนี้ก็ได้นะคะ เหมือนกันเลยค่ะ ถ้าถ่ายรูปไว้แล้วลงหนังสือพิมพ์ แล้วก็บอกว่าคนนี้นั่งที่นี่ คนนั้นนั่งที่นั้น แต่ความจริงก็คือเหมือนเดี๋ยวนี้จากความคิดนึก

    เพราะฉะนั้นถ้ามีการเข้าใจจริงๆ นะคะ วันหนึ่งวันใดอาจจะไม่บ่อย แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นบ้างว่า ขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแห่งตา ก็จะละการยึดถือในนิมิตอนุพยัญชนะ เพราะขณะนั้นนะคะ เป็นสติปัฎฐาน แม้ว่าไม่เรียกชื่อหรือไม่ใช้คำว่าสติปัฏฐาน แต่ไม่ใช่โลภะ ไม่ใช่โทสะ ไม่ใช่อกุศล แต่เป็นการระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ

    เพราะเหตุว่าถ้าใช้คำว่าระลึกเนี่ยนะคะ เราก็มักจะนึกถึงเรื่องยาวๆ แต่นี่ไม่ใช่ค่ะถ้าเป็นสติสัมปชัญญะระลึกที่ลักษณะ มีลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง สติระลึกอยู่ที่นั่นนะคะ คือที่ลักษณะนั้น และก็มีความเข้าใจในสิ่งนั้นจากการที่ได้ยินได้ฟังพอสมควรนะคะ ที่จะเข้าใจถูกต้องว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ทุกทวาร ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    นี่คือการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ว่าธรรมทุกธรรมเนี่ยนะคะ มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่าง เพราะว่าวันนี้เป็นธรรมทั้งหมดค่ะ ไม่พอใจ เป็นเวทนา เป็นธรรมนะคะ มีลักษณะเฉพาะอย่างๆ จริงๆ แต่สติมีการระลึกลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดนะคะ จะรู้ได้ว่าจะมีลักษณะของสภาพธรรมนั้น ปรากฏให้ระลึก ให้รู้ได้ เชิญค่ะ

    ผู้ฟัง ขออนุญาตครับ คำว่าจิตที่วิจิตร เรียนถาม อ.สุภีร์ครับ จิตที่วิจิตรอันที่จริงจิตมันปภัสสร ที่วิจิตรมันเป็นเจตสิกกระทำมากกว่าใช่ไหมครับ เพราะว่ามันเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน เพราะฉะนั้นที่ปรุงแต่งก็คือเจตสิกกระทำ อันนี้วิจิตรมากกว่า จิตมันประภัสสรอยู่แล้วใช่ไหมครับ เพราะว่าต้นชั่วโมงได้ยินคำว่าวิจิตร

    อ.สุภีร์ คำว่าวิจิตรนะครับ ก็เป็นภาษาบาลีนะครับ วิจิตตะ แปลว่าต่างๆ นั่นเองนะครับ ถ้าภาษาไทยเรานะครับ ก็คือแปลกกันหลายๆ อย่างนั้นเองนะครับ หลายๆ ประเภทนะครับ แต่ภาษาไทยเราเอามาใช้ว่า วิจิตรหมายถึงว่าเป็นลวดลายอะไรมากมายใช่ไหมครับ แต่จริงๆ แล้วนะครับ วิจิตรในภาษาบาลีนะครับ ก็คือการต่างๆ กัน หรือว่าแตกต่างกัน มีหลายๆ ประเภทนั่นเองนะครับ

    ที่บอกว่า จิตวิจิตรนี้นะครับ เพราะว่าจิตมีหลายประเภท จริงอยู่นะครับ สภาวะลักษณะของจิตมีสภาวะลักษณะเดียวก็คือ เป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้อารมณ์เท่านั้น แต่ว่าวิจิตรคือ มีหลายๆ ประเภทถึงจะมีสภาวะเดียว แต่มีหลายประเภทนะครับ เพราะอะไร เพราะว่ารู้อารมณ์ต่างกัน เกิดในภพภูมิที่ต่างกัน ทำกิจหน้าที่ต่างๆ กัน และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยกับจิตนั้นนะครับ ก็ต่างๆ กันออกไป

    จึงเป็นเหตุทำให้จิตนะครับ มีความแตกต่างกันไปด้วยนะครับ อย่างเช่นนะครับ จิตที่กระทำสัมปฏิฉันนกิจครับ รับอารมณ์ต่อมาจากทางปัญจทวารที่ทำทัสนกิจเป็นต้นนะครับ สัมปฏิฉันนกิจเนี่ยนะครับ เป็นจิตชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นทำกิจนี้ ก็เรียกชื่อจิตนี้ว่าสัมปฏิฉันนจิตนี้ก็แตกต่างไปแล้วใช่มั้ยครับ

    เพราะว่ากิจหน้าที่ต่างกัน รู้อารมณ์ต่างกันก็เช่นเดียวกันนะครับ ก็จิตที่รู้อารมณ์ที่เป็นอิฏฐารมณ์ก็ประเภทหนึ่ง รู้อารมณ์ที่เป็นอนิฏฐารมณ์ก็ประเภทหนึ่ง ถ้าเป็นวิบากจิตนะครับ วิบากจิตก็จะมีประเภทที่เป็นกุศลวิบากนี้รู้อิฏฐารมณ์ อกุศลวิบากนี้รู้อนิฏฐารมณ์ คำว่าจิตวิจิตรนี้นะครับ ก็คือจิตมีหลายๆ ประเภทแตกต่างกันไปเพราะว่า เกิดทำกิจหน้าที่ต่างๆ กัน รู้อารมณ์ต่างๆ กันมีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยต่างๆ กันเกิดในภพภูมิที่ต่างๆ กัน นี่นะครับ

    เรียกว่าจิตวิจิตรคือมีประเภทต่างๆ กัน แต่ว่าโดยสภาวะลักษณะแล้วมีลักษณะเดียว ก็คือเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์เท่านั้นนะครับ ส่วนคำว่าประภัสสรนี้นะครับ มาจากภาษาบาลีว่า ประภัสสะระ นะครับ ปภัสสะระ ก็แยกออกมาเป็นประภานะครับ เป็นชื่อของรัศมีที่ใสสว่างนะครับ ประภา แล้วก็สะระก็คือซ่านออกไป หมายถึงรัศมีซ่านออก

    ถ้าแปลเป็นภาษาไทยทั้งสองคำรวมกันนะครับ ที่ว่าประภัสสะระก็แปลได้ว่าผ่องใส เป็นชื่อของจิตที่เป็นภวังคจิต และกุศลจิตนะครับ อันนี้ก็เป็นความต่างกันของคำว่าวิจิตรกับประภัสสรนะครับ วิจิตรก็แปลว่าต่างๆ หมายถึงมีหลายประเภท ประภัสสรก็คือเป็นจิตที่ผ่องใส เพราะว่าไม่ประกอบด้วยอกุศลเจตสิกประการต่างๆ ก็คือเป็นชื่อของภวังคจิต และกุศลจิตครับ

    ผู้ฟัง ครับ ก็เรียนถามต่อเลยว่าจริงๆ ที่ยุ่งอยู่ ยุ่งมากๆ ก็คือเจตสิกกระทำเนี่ย โลภมูล โทสะมูล โมหะมูล เป็นตัวที่ยุ่งมากๆ ใช่ไหมครับ

    อ.สุภีร์ ครับ ถ้าเป็นเรื่องของธรรมนะครับ แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจไปก็คงจะค่อยๆ ทำความเข้าใจได้นะครับ ก็คงไม่ยุ่งเท่าไหร่นะครับ แต่ว่าที่ยุ่งก็คืออาจจะศึกษาน้อย หรือว่าอยากจะรู้เร็วเกินไปอะไรอย่างนี้ครับ ก็ทำให้ยุ่งไปได้นะครับ ฉะนั้นแล้วนะครับ ก็ค่อยๆ ศึกษาไปนะครับ

    เพราะเหตุว่าในเรื่องของเจตสิกนะครับ ก็มี ๕๒ ประเภทนะครับ เมื่อแยกประเภทใหญ่ๆ ก็จะได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ ก็คืออัญญสมานาเจตสิกนี้มี ๑๓ ประเภท อกุศลเจตสิกนี้มี ๑๔ ประเภท แล้วก็โสภณเจตสิกอีก ๒๕ ประเภทนะครับ อันนี้เวลาเราศึกษานะครับ ก็ศึกษาเริ่มตั้งแต่ กลุ่มของเจตสิกที่ใหญ่ๆ ลงไป แล้วก็ค่อยๆ ทยอยๆ ลงไปนะครับ ก็คงจะไม่ทำให้สับสนมากนะครับ

    ผู้ฟัง ครับ เรียนถามต่ออีกนิดนึงว่า คิด ที่อาจารย์สุจินต์พูดอยู่บ่อยๆ นึกคิด นึกคิดก็คือบัญญัติใช่ไหมครับ เรียนถามอาจารย์สุภีร์

    อ.สุภีร์ นึกคิดนะครับ ก็เป็นจิตที่เกิดขึ้นทางมโนทวารนะครับ คิดนึกเรื่อง สิ่งต่างๆ ตามปกติแล้วนะครับ ในชีวิตประจำวันในภูมิที่มีขันธ์ ๕ แล้วก็ภูมิที่ติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อย่างเรานะครับ การคิดนึก ก็คิดนึกเรื่องสิ่งที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส นั่นเอง อันนี้ก็เป็นไปตามปกตินั่นเอง เพราะเหตุว่าเมื่อวิถีจิตทางปัญจทวารดับไปแล้วนะครับ ตามจิตตนิยามหรือว่าความแน่นอนของจิตก็คือว่า ต้องมีมโนทวารเกิดขึ้นรู้อารมณ์เดียวกับที่ปรากฏทางปัญจทวารนั่นแหละต่อ

    ฉะนั้นก็เป็นการคิด เรื่องสิ่งที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส มานั่นเองนะครับ แม้จะไม่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสนะครับ ก็คิดนึกเรื่องสิ่งที่จำไว้ก็ได้นะครับ ที่คิดนึกเรื่องสิ่งที่จำไว้แน่นอนก็คือ ตอนที่นอนฝันใช่ไหมครับ ตอนนั้นไม่เห็น ไม่ได้ยินอะไร แต่ว่าก็จำไว้แล้ว ก็คิดนึกเรื่องสิ่งที่จำนั่นเองนะครับ แม้แต่ตอนนี้ก็ สามารถได้เช่นเดียวกัน แต่ว่าในขณะนี้ไม่ใช่เป็นการฝันนะครับ เพราะเหตุว่ามีทางปัญจทวาร คือตา หู จมูก ลิ้น กาย เกิดแทรกคั่นนะครับ

    ผู้ฟัง ถ้าเช่นนั้นก็คือ นึกคิด หรือคิดนึก นี่ก็คือเป็นปรมัตถ์ไม่ใช่เป็นบัญญัติเลยครับ เพราะทางใจนี้อันที่จริงก็รู้ ทั้งรู้ได้ทั้งปรมัตถ์ รู้ได้ทั้งบัญญัติ เพราะฉะนั้นจึงจะแยกคำนี้ไม่ได้ใช่ไหมครับ ว่าเป็นปรมัตถ์หรือบัญญัติ

    อ.สุภีร์ แล้วก็เป็นการรู้อารมณ์ทางใจนั่นเองนะครับ การคิดนึกนะครับ ปกติเวลาเราใช้กันนะครับ ก็คือ เป็นการคิดนึกเรื่องนั้น เรื่องนี้ ก็คือเป็นการคิดนึกเรื่องราวของบัญญัติต่างๆ นั่นเอง จากสิ่งที่ปรากฎทางตา ก็คิดนึกเรื่อง เป็นคน เป็นอะไรไป อย่างนี้นะครับ ฉะนั้นในการใช้ในที่ต่างๆ นะครับ ก็เป็นที่เข้าใจกันนะครับ อันนี้ก็เป็นเรื่องของคำเท่านั้นเองนะครับ แต่ว่าการคิดนึกนี้นะครับ ก็เป็นการรู้อารมณ์ทางใจนั่นเอง

    แต่ถ้าพูดว่าเวลาเห็นแล้ว ก็คิดนึกว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล อย่างนี้นะครับ ก็เป็นที่เข้าใจว่า จริงอยู่นะครับ ว่าทางปัญจทวารนะครับ ที่เห็นนั้นเป็นปรมัตธรรมก็คือเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น มโนทวารวาระแรกๆ ที่ท่านแสดงไว้ ก็บอกว่าเป็นปรมัตถธรรมเช่นเดียวกัน อันนี้ก็พูดถึงมโนทวารระยะหลังๆ มา ที่คิดนึกเรื่องสัตว์ เรื่องบุคคลตามความทรงจำที่มีมาก่อนนั่นเองนะครับ อันนี้ใช้คำก็เป็นที่เข้าใจกันครับ

    ผู้ฟัง ขอโทษอีกทีครับ อันที่จริงมันจะเป็นธัมมธาตุหรือธรรมรง คำว่าคิดนึกนี่แหละครับ หรือเป็นได้ทั้งสองอย่างครับ

    อ.สุภีร์ ท่านอาจารย์ใช้คำว่าคิดนึก ท่านจารย์จะหมายความว่ายังไงครับ

    ท่านอาจารย์ ทุกคำต้องชัดเจนนะคะ ถ้าใช่คำว่าคิดนึกนี่คะ ทางตาคิดได้มั้ยคะ ไม่ได้ ทางหูที่ได้ยินเสียงกำลังมีเสียงเป็นอารมณ์คิดได้ไหมคะ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมี ๖ ทวาร คิดนึกนี่คะ ต้องเป็นทางใจเท่านั้น เป็นจิตที่คิดแล้วแต่ว่าจะคิดถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ หรือว่าคิดเป็นคำ เป็นเรื่องราวต่างๆ ถ้าถามว่าในขณะนี้คิดอะไรคะ มีใครจะตอบมั้ยค่ะ

    ผู้ฟัง ก็คิดเรื่องราว ที่ได้ฟังได้ยินจากอาจารย์ครับ

    ท่านอาจารย์ แต่ความจริงคิดเร็วกว่านั้นมากเลย เพราะว่าทันทีที่เห็นนะคะ ทางใจคิดได้เลยนะคะ แต่ว่าเวลาที่มีคนถามว่าคิดอะไร บ้างทีเราจะตอบไม่ถูก ใช่ไหมค่ะ เพราะว่าความรวดเร็วของจิต แต่ต้องทราบว่าขณะที่คิด ต้องเป็นทางมโนทวาร เพราะฉะนั้นคำว่าธัมมารมณ์นะคะ หมายความถึงอารมณ์ที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น

    บัญญัติเรื่องราวต่างๆ เนี่ยค่ะถ้าไม่มีจิตคิด ทางตากำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตา ที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์ตลอดของวิถีจิตทุกวิถีจิตนะคะ ที่อาศัยจักขุทวาร ทางหูเนี่ยค่ะก็ดูเหมือนว่าเสียงดับเร็วใช่ไหมคะ แต่ความจริงเร็วเท่าเร็วยังไงก็จะต้องมีจิตที่เป็นวิถีจิตเกิดสืบต่อกันรวมทั้งชวนจิตด้วยคือกุศล และกุศลนะคะ ในขณะที่เสียงปรากฏแล้วก็ดับไป

    เพราะฉะนั้นสำหรับทางตา หู จมูก ลิ้น กาย คิดไม่ได้เลย จิตทางตาจะเห็นเฉพาะสิ่งที่ปรากฏ หรือว่าวิถีจิตอื่นๆ ซึ่งเกิดต่อ เช่นชวนะคือโลภะ หรือโทสะ หรือกุศลจิต อกุศลจิตนั่นเองนะคะ ก็มีสีเป็นอารมณ์ เช่นเดียวกับจักขุวิญญาณ ทางหูหลังจากที่ได้ยินแล้ว ชวนะก็มีเสียงเช่นเดียวกับโสตวิญญาณนั่นเองนะคะ เพราะฉะนั้น ๕ ทางนี่คะ เป็นชื่อเฉพาะอารมณ์ของแต่ละทาง เช่นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตานะคะ ชื่อว่ารูปารมณ์ เป็นคำรวมของคำว่ารูปกับอารมณ์ เพราะเหตุว่ารูปคือสีสันวัณณะต่างๆ ที่ไม่ปรากฏนะคะ เกิดแล้วดับแล้วไม่ใช่อารมณ์ เป็นแต่เพียงวัณณะวัณโณ หรือว่าสีเท่านั้นเองนะคะ

    แต่ถ้ามีคำว่าอารมณ์ หมายความว่าจิตต้องรู้สิ่งนั้น คือเห็น เพราะฉะนั้นขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาที่ถูกจิตเห็น เป็นรูปารมณ์ หนึ่งอารมณ์แล้วนะคะ รูปารมณ์ เสียงเป็นสัททารมณ์ ได้ยินทางหูกลิ่นเป็นคันธารมณ์ขณะที่กลิ่นปรากฏ และจิตกำลังรู้กลิ่น ขณะที่รสปรากฏนะคะ รสนั้นก็เป็นรสารมณ์ ถ้าสิ่งที่กระทบกายมี ๓ อย่าง คือเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหวเนี่ยนะคะ รวมเรียกว่าโผฏฐัพพารมณ์

    เพราะฉะนั้น ๕ อารมณ์แล้วนะคะ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย คือ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ส่วนอารมณ์อื่นๆ ทั้งหมดนะคะ ที่ไม่สามารถจะรู้ได้ทางทวารทั้ง ๕ เป็นธัมมารมณ์ เพราะเหตุว่าธัมมารมณ์คืออารมณ์ที่รู้ได้เฉพาะทางใจทางเดียว บัญญัติก็เป็นธัมมารมณ์ด้วยนะคะ เพราะเหตุว่าต้องเป็นอารมณ์ของจิตคิดนึกทางใจ


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 7
    20 ก.ย. 2567

    ซีดีแนะนำ