สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 085
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๘๕
วันจันทร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
อ.สุภีร์ ขณะเกิดเรียกว่าอุปาทขณะ ขณะที่ตั้งอยู่นะครับ เรียกว่าฐีติขณะ ขณะที่คล้อยไปสู่การดับ แล้วก็ดับไปเรียกว่าภังคขณะนะครับ อันนี้นะครับ ท่านบอกว่าเป็นกระแสจิตนะครับ ซึ่งถ้าท่านแปลนะครับ ก็สามารถแปลมาจากภาษาบาลีที่ใช้คำว่าสันตานะ หรือว่าสันตติก็ได้นะครับ ที่แปลว่ากระแสนะครับ แต่จริงๆ แล้วนะครับ
คำว่าสันตานะ หรือสันตตินะครับ ก็เป็นคำเดียวกันนั่นเอง แปลว่าการสืบต่อนะครับ ก็คือจิตดวงเก่าดับไปเป็นปัจจัยให้จิตดวงใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า สันตานะ หรือว่า สันตติ เป็นการเกิดดับสืบต่อกันของจิตนั่นเอง ซึ่งในกระแสจิตอะไรนี้ ที่ในภาษาไทยที่เราใช้กันนะครับ ก็อันนี้เป็นความคิดของผมเท่าที่เจอมานะครับ
บางคนก็ มีความเมตตากรุณา แล้วก็แสดงออกมาทางกาย ทางวาจาที่ดีๆ ใช่ไหมแล้วคนอื่นก็สามารถที่จะรู้ได้ หรือว่าสัตว์เลี้ยงอะไรอย่างนี้นะครับ สามารถที่จะรู้ความหวังดีปรารถนาดีที่ออกมาทางกาย ทางวาจา ที่เกิดจากจิตที่ดีของบุคคลนั้นได้ อันนี้บางท่านก็ใช้ คำว่า ส่งกระแสจิตถึงกันได้เหมือนกัน อันนี้ก็เป็นภาษาไทย
ท่านถามว่าการส่งกระแสจิตข้ามทวีปนะครับ อันนี้ยังไม่ต้องถึงข้ามทวีปนะครับ เอาคนใกล้ๆ ท่านก็ได้นะครับ ก็ลองมองหน้ากันดูก็ได้ ท่านถามไว้ว่าเป็นไปได้ หรือไม่นะครับ อันนี้ถ้าถามถึงการเป็นไปได้นะครับ เป็นเรื่องของบุคคลที่มีอภิญญานะครับ อันนี้ก็สามารถเป็นไปได้เช่นเดียวกัน
อันนี้พูดถึงความเป็นไปได้ ก็คือมีเช่นเดียวกันก็คือเป็นบุคคลผู้ได้อภิญญา ก็สามารถที่จะคุยกันข้ามทวีป หรือแม้แต่จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นเช่นพรหมโลกต่างๆ เป็นต้น ได้เช่นเดียวกัน อันนี้เป็นเรื่องของผู้ที่ได้ฌานแล้วผู้ที่มีอภิญญานะครับ เป็นเรื่องของผู้ที่มีคุณ มีความสามารถประการต่างๆ นะครับ ซึ่ง เรื่องเหล่านี้ ท่านที่สามารถทำได้ก็มีมากนะครับ ปรากฏมากในพระไตรปิฏกนะครับ
ซึ่งบางท่านอ่านแล้วบางทีก็ไม่เชื่อด้วย แต่จริงๆ แล้วก็คือเป็นเรื่องของบุคคลผู้ได้ฌาน ซึ่งเรื่องเหล่านี้นะครับ เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะคิดว่าท่านทำได้อย่างไร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่ามีอยู่ ๔ อย่าง ที่บุคคลไม่ควรคิดเพราะจะทำให้เป็นบ้า เดือดร้อนได้นะครับ ก็มีอยู่ ๔ อย่าง ก็คือ ๑ คิดเรื่องพุทธวิสัย ๒ คิดเรื่องฌานวิสัย ก็คือเรื่องเหล่านี้นะครับ สำหรับบุคคลผู้ที่เขาได้ฌาน ก็สามารถที่จะกระทำได้เช่นเดียวกัน เป็นเรื่องของฌานวิสัย
ประการที่ ๓ ก็คือเรื่องของวิบากของกรรม กรรมวิบาก แล้วก็ประการที่ ๔ ก็คือการคิดเรื่องโลก อันนี้ ๔ อย่าง ที่ไม่ควรคิดเพราะว่า คิด ก็จะทำให้เดือดร้อนใจ เพราะว่าไม่สามารถที่จะหาคำตอบได้ ซึ่งท่านผู้ถามในที่นี้ ก็ถามเรื่องกระแสจิต
คำถามมีดังนี้ครับ การส่งกระแสจิตข้ามทวีป และทำให้อีกคนหนึ่งที่รับกระแสจิต โทรศัพท์ไปหาผู้ที่ส่งกระแสจิต เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ หรือไม่ ไม่ควรคิดเช่นนั้นนะครับ เพราะเหตุว่าบางทีเราอาจจะคิดถึงคนโน้นอยู่ใช่ไหมครับ คนฝั่งโน้นก็คิดถึงเรา แล้วโทรศัพท์หากันอย่างนี้ก็ได้ด้วยเช่นเดียวกัน อันนี้ก็ไม่ควรจะคิดไปไกลขนาดนั้นนะครับ ต้องรู้ลักษณะของจิตว่าเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น แล้วก็เกิดขึ้น แล้วก็ดับไปทันที จิตที่ดับไปแล้วนี่นะครับ ทั้งสังสารวัฎนี้ก็จะไม่มาเกิดอีกเลย
อ.ธีรพันธ์ ที่อ.สุภีร์พูดถึงเรื่องวิบากกรรม ไม่ควรคิด แล้วที่เรามาศึกษาเรื่องกรรม วิบากกรรมเกี่ยวกับพระอภิธรรมจะเป็นคิดในทำนองนั้นป่าว หรือเปล่าช่วยอธิบายหน่อยครับ
อ.สุภีร์ คิดโดยทำนองที่ว่า เห็นตอนนี้นะครับ เป็นผลมาจากกรรมอะไร ได้ยินเสียงขณะนี้ครับ เป็นผลมาจากกรรมอะไร อันนี้ไม่สามารถที่จะหาได้นะครับ มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงรู้นะครับ เพราะว่าพระองค์ทรงรู้ทุกอย่างนะครับ แต่ระดับเรานะครับ ไม่สามารถที่จะรู้ได้
การที่จะรู้ได้ว่าทำไมถึงได้เกิดในประเทศไทยทำบุญอะไรมา หรือว่าผลที่ได้รับตอนนี้ได้มาจากผลของบุญอะไร หรือว่าได้ยินคนด่านะครับ เสียงที่ไม่ดีเป็นผลของบาปกรรมอะไรที่ได้กระทำไว้แล้วอย่างนี้ คิดก็ไม่สามารถที่จะหาคำตอบได้นะครับ ก็เป็นเหตุให้เดือดร้อนนั่นเองนะครับ
ผู้ฟัง ดิฉันขออนุญาตนะคะ ดิฉันเป็นเจ้าของคำถามที่ท่านพูดนะคะ อันนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวดิฉันเองนะคะ เพราะญาติดิฉันอยู่ที่อังกฤษ เขาก็บอกว่าเขาเรียนพวกปฏิบัติธรรม เขาก็แบบส่งกระแสจิตให้ดิฉัน ทั้งที่ดิฉันก็แบบไม่ได้คิดถึงเขา หรือไม่มีความประสงค์อะไรที่จะโทรศัพท์ไปหาเขา แต่ว่าอยู่ดีๆ ก็หมุนโทรศัพท์ไปหาเขา ทีนี้เค้าบอกว่า เออเนี่ยเขา ประสบผลสำเร็จ ดิฉันก็บอกผลสำเร็จอะไร เขาบอกก็ส่งกระแสจิตให้ดิฉันโทรศัพท์ไปหาเขา เขาเรียกว่า การโทรจิต ดิฉันก็ไม่แน่ใจก็คือแบบข้องใจเรื่องนี้ และอยากจะทราบว่าที่เขากล่าวมานั้นเป็นเรื่องจริง หรือไม่
อ.สุภีร์ ก็ต้องถามเขาดูครับว่าต้องการให้เราโทรศัพท์ไปกี่ครั้งแล้ว ครั้งนี้ก็เผอิญตรงกันพอดีก็ได้ อันนี้ก็คือก็อาจจะต้องการมาแล้วร้อยกว่าครั้งแล้วนะครับ พอดีครั้งนี้ตรงกันพอดีก็เลยคิดว่าเป็นอย่างนั้นก็ได้นะครับ อันนี้ก็เหมือนกับมงคลต่างๆ ที่เรากล่าวกันนะครับ อย่างเช่น เห็นสีแดงแล้วจะเกิดมงคลนะครับ วันนี้เห็นสีแดง พอดีวันนี้ได้ลาภก็เลยนึกว่าได้เพราะเห็นสีแดงอย่างนี้ก็คล้ายๆ กันครับ อันนี้ต้องถามเขาดูว่า เขาส่งมากี่ครั้งแล้ว แต่เราก็ไม่รู้ใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ทราบว่าส่งไปถึงคนอื่นได้ หรือเปล่า
ผู้ฟัง เขาก็บอกว่าจะประสบผลหากมีคนโทรกลับ
ท่านอาจารย์ ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกันเลยหรอนะคะ
ผู้ฟัง อ้อ สามารถจะเป็นคนที่รู้จักคุ้นเคยกันค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็คงจะมีหลายเหตุ
อ.สุภีร์ เพราะว่าคนที่รู้จักกันก็โทรศัพท์ไปหากันนี่ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกใช่ไหมครับ หลังจากที่โทรศัพท์ไปหากันแล้วนะครับ จะคิดยังไงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ ซึ่งโทรศัพท์ในทุกวันนี้เราก็ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารเป็นปกติอยู่แล้วนะครับ บางท่านที่ไม่ได้ส่งกระแสจิตเลยนะครับ ก็โทรศัพท์คุยกันวันหนึ่งหลายครั้งก็มีใช่ครับ ก็เป็นธรรมดาครับ
ท่านอาจารย์ ก็คงมีหลายท่านนะคะ ที่ใจตรงกัน เพราะว่ามีธุระที่จะต้องติดต่อกัน พอโทรไปก็มีคนบอกว่ากำลังจะโทรมาพอดี สำหรับวันนี้ก็หมดเวลาแล้วค่ะ
วันจันทร์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟังที่เคารพ วันนี้ก็ขอสรุปเรื่องของจิตซึ่งมีความวิจิตรมาก โดยนัยยะที่ได้กล่าวถึงแล้วทั้งหมดค่ะ ขอเชิญคุณกฤษณาค่ะ
อ.กฤษณา จิตเป็นสภาพรู้นะคะ เป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้ ดังที่เราได้สนทนากันมาระยะ หนึ่งแล้วนะคะ เพราะว่าเป็นนามธรรม เป็นจิตปรมัตถ์นะคะ เป็นสภาพที่รู้อารมณ์ สำหรับจิตนะคะ ที่เป็นสภาพที่รู้อารมณ์นั้น คือมีลักษณะที่รู้แจ้งอารมณ์นะคะ ในเมื่อจิตรู้แจ้งอารมณ์ก็หมายความว่ามีสภาพรู้ แล้วก็มีสภาพที่เป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็คืออารมณ์นั่นเองนะคะ จิตกับอารมณ์นี้จะต้องเป็นธรรมที่จะต้องคู่กันเสมอ
ถ้าไม่มีอารมณ์นะคะ ก็จิตจะเกิดขึ้นมาโดยที่เกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ จะต้องมีอารมณ์เป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้นะคะ เพราะฉะนั้นอารมณ์นั้นก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้จิตเกิดขึ้นโดยเป็นอารมมณปัจจัย สภาพธรรมทุกอย่างที่ปรากฏได้ก็เพราะจิตเกิดขึ้นรู้แจ้งอารมณ์นั้นๆ ที่ปรากฏ
ดังนั้นจิตจึงเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้อารมณ์คือรู้สิ่งที่กำลังปรากฏนั่นเองนะคะ ขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาก็ปรากฏกับจิตที่รู้แจ้ง ไม่ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏนั้นจะมีลักษณะอย่างไร จิตก็รู้แจ้งในลักษณะที่กำลังปรากฏนั้น คือเห็นสีสันต่างๆ ทั้งหมดของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏ จึงทำให้รู้ความหมาย รู้รูปร่างสัณฐาน แล้วก็คิดนึกถึงสิ่งที่ปรากฏทางตาได้
นอกจากนั้นจิตก็ยังสามารถที่จะรู้แจ้งอารมณ์ทางทวารอื่นๆ นะคะ ก็มีทางหู จิตก็รู้แจ้งลักษณะของเสียงที่ต่างๆ กันนะคะ ก็ได้ยินเสียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงอะไรต่างๆ จิตสามารถที่จะรู้แจ้งได้ทั้งนั้นเลย และยังสามารถที่จะรู้อารมณ์ทางจมูกคือได้กลิ่นนะคะ รู้แจ้งกลิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นที่ดี หรือกลิ่นที่ไม่ดีก็ตาม จิตรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้นนะคะ รสต่างๆ จิตก็สามารถรู้ได้ รู้ความต่างกันของรสไม่ว่าจะเป็นรสเปรี้ยว รสเค็ม รสหวาน หรือรสอะไรต่างๆ ก็รู้แจ้งรสต่างๆ เหล่านั้นได้
และยังสามารถที่จะรู้แจ้งอารมณ์ทางกายนะคะ ไม่ว่าจะเป็นความเย็น ความร้อน หรือว่าอ่อนแข็ง ตึงไหว จิตก็รู้แจ้งอารมณ์ต่างๆ ได้นะคะ เพราะฉะนั้นการรู้แจ้งอารมณ์นั้นก็เป็นลักษณะของจิตคือรู้ลักษณะต่างๆ ของอารมณ์ต่างๆ นะคะ รู้แจ้งแม้ลักษณะที่ละเอียดต่างๆ ของอารมณ์ต่างๆ สภาพที่รู้อารมณ์นั้นก็ไม่จำกัดเชื้อชาติ ไม่จำกัดศาสนา ไม่จำกัดว่าจะเป็นมนุษย์ หรือว่าจะเป็นสัตว์เดรัจฉานนะคะ
ถ้าเผื่อว่ามีปัจจัยที่จะให้รู้อารมณ์ทางทวารใดได้ จิตก็สามารถรู้อารมณ์ทางทวารนั้นๆ ได้นะคะ นี้ก็เป็นลักษณะของจิต คือรู้แจ้งอารมณ์ ก็คือรู้อารมณ์ต่างๆ นะคะ สามารถที่จะรู้ได้ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะละเอียดมากน้อยแค่ไหน ก็รู้ได้ทั้งนั้นค่ะ แล้วก็อีกประการหนึ่ง ที่เป็นลักษณะของจิตนั้น ก็คือจิตเป็นธรรมชาติที่วิจิตร
วิจิตรคือมีความหลากหลายนั่นเองนะคะ ความวิจิตรของจิตจะปรากฏ เมื่อคิดนึกเรื่องต่างๆ นะคะ ไม่ว่าจะทำอะไรในวันหนึ่งๆ ก็จะเป็นไปตามความวิจิตรของจิตทั้งนั้น จิตเป็นธรรมชาติที่วิจิตรเพราะว่าอารมณ์ก็มีต่างๆ มากมายหลากหลาย เพราะฉะนั้นจิตก็วิจิตรไปตามอารมณ์ที่มากมายอย่างหนึ่ง แล้วก็ยังวิจิตรด้วยสภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วยที่เรียกว่าสัมปยุตตธรรมด้วยนะคะ
สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิตก็คือเจตสิก ซึ่งจะเป็นเจตสิกปรมัตถ์เป็นธรรมชาติที่จะต้องเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต แล้วก็รู้อารมณ์เดียวกับจิต และสำหรับในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เจตสิกนั้นก็จะต้องมีที่อาศัยเกิดคือวัตถุอันเดียวกันนะคะ แล้วก็จิตนั้นก็เป็นธรรมชาติที่สามารถที่จะเรียกว่าสั่งสมสันดานของตน ได้ด้วยสามารถชวนวิถีนะคะ ซึ่งเป็นลักษณะอีกลักษณะหนึ่งของจิตนะคะ
จิตสามารถสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถชวนวิถี ชวนวิถีจิตนั้นก็เป็นวิถีจิตชนิดหนึ่งนะคะ ซึ่งวิถีจิตนั่นก็หมายถึงจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางเดียวกันนะคะ ทางทวารหนึ่ง ทวารใดในทวารทั้ง ๖ นะคะ เพราะว่าวิถีนั่นแปลว่าทาง นั่นก็คือว่าจิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ
ดังนั้นวิถีจิตก็คือจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อโดยอาศัยทางของการรู้อารมณ์นะคะ คือทวารหนึ่ง แล้วก็รู้อารมณ์เดียวกันนะคะ เช่น ในการรู้อารมณ์ทางตาก็มีวิถีจิตต่างๆ เกิดดับสืบต่อกัน โดยอาศัยจักขุทวารเป็นทวารของการรู้อารมณ์ คือสีที่กำลังปรากฏทางตานั่นเอง โดยที่วิถีจิตต่างๆ เหล่านั้น ต่างก็ทำกิจหน้าที่ของตนๆ ในการรู้อารมณ์เดียวกันนั้นนะคะ
ตั้งแต่อาวัชชนวิถีนั้น ก็ทำหน้าที่นึกถึงอารมณ์ขณะเดียวแล้วก็ดับไป แล้วต่อจากนั้นก็มีวิถีจิตอื่นๆ เกิดดับสืบต่อรู้อารมณ์ทางเดียวกันนั้น โดยต่างก็ทำหน้าที่ของตนๆ ตามลำดับนะคะ จนถึงชวนวิถีซึ่งเป็นวิถีจิตที่ทำชวนกิจ คือสืบต่อรู้อารมณ์เดียวกันนั้นโดยต่างก็ทำหน้าที่ของตนตามลำดับจนถึงชวนวิถี ซึ่งเป็นวิถีจิตที่ทำชวนกิจนะคะ
ชวนกิจก็คือหน้าที่ ที่แล่นไปในอารมณ์นะคะ หรือจะเรียกว่าเสพหรือเสวยอารมณ์ก็ได้นะคะ ชวนวิถีนั้นก็เกิดขึ้นติดต่อกัน ๗ ขณะ โดยที่เป็นจิตประเภทเดียวกันทั้ง ๗ ขณะ ชวนวิถีจิต ซึ่งทำกิจแล่นไปในอารมณ์นั้นก็สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็ได้แก่อกุศลจิต หรือกุศลจิตนะคะ สำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันต์ก็ได้แก่มหากิริยาจิต
และในขณะที่ชวนวิถีจิตกำลังทำหน้าที่แล่นไปในอารมณ์นั้นก็สามารถสั่งสมสันดานของตนนะคะ เมื่อชวนวิถีจิตขณะแรกเกิดแล้วก็ดับไปก็เป็นปัจจัยให้ชวนวิถีจิตขณะที่ ๒ เกิดต่อ ชวนวิถีจิตขณะที่ ๒ ก็เป็นปัจจัยแก่ชวนวิถีจิตที่ ๓ เกิดต่อ ชวนจิตขณะที่ ๓ ๔ ๕ ๖ ก็เป็นปัจจัยแก่ชวนจิตดวงที่เกิดติดต่อกันมาตามลำดับนะคะ
ซึ่งนอกจากจะเป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแล้วนะคะ ก็ยังเป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัยด้วยนะคะ อนันตรปัจจัยก็หมายถึง ธรรมที่อุปการะกันโดยความที่เกิดขึ้นติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่นนั่นเอง สำหรับอาเสวนปัจจัยก็เป็นธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเสพอารมณ์บ่อยๆ ชวนวิถีจิตนั้นเสพอารมณ์ซ้ำๆ กันถึง ๗ ขณะ ธรรมที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์บ่อยๆ นี้เป็นชวนวิถีจิตนะคะ ซึ่งชวนจิตดวงที่ ๗ นั้นจะไม่เป็นอาเสวนปัจจัยแก่จิตดวงที่เกิดต่อ แต่ชวนจิตที่จะเป็นอาเสวนปัจจัยนั้นจะต้องไม่ใช่จิตชาติวิบากด้วยนะคะ
จิตที่ทำชวนกิจสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็ได้แก่กุศลจิต หรืออกุศลจิตนะคะ ตรงนี้ก็จะทำหน้าที่โดยที่มีปัจจัยก็คืออาเสวนปัจจัย วิบากจิตนั้นไม่สั่งสมสันดานนะคะ เพราะว่าวิบากจิตในขณะที่ทำหน้าที่ชวนกิจ นั้นก็เป็นโลกุตรวิบากคือผลจิต ซึ่งจะไม่ทำหน้าที่สั่งสมสันดานนะคะ วิบากจิตไม่สามารถที่จะสั่งสมสันดานได้ จิตที่จะสั่งสมสันดานได้นั้นจะต้องเป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิตนะคะ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ซึ่งจิตนั้นก็ทำชวนกิจนั่นเองนะคะ
เพราะฉะนั้น อย่างที่กำลังเห็น หรือว่ากำลังได้ยินอยู่ในขณะนี้เป็นวิบากจิตนะคะ ก็ไม่สามารถที่จะสั่งสมสันดานได้ ชวนวิถีสั่งสมสันดานตน เพราะว่าเป็นวิถีจิตที่เกิดดับซ้ำกันถึง ๗ ขณะค่ะ นามธรรมที่เกิดกับจิต และดับไปแต่ละขณะนั้นก็สะสมสืบต่อในจิต ขณะหลังๆ ที่เกิดดับสืบต่อมานั่นเอง
ซึ่งก็เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์นะคะ กุศลธรรม และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นเป็นชวนวิถีแล้วก็ดับไปนั้น ก็สะสมสืบต่อในจิตขณะต่อไปนะคะ เพราะแม้ว่าจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่ว่าการดับไปของจิตดวงก่อนๆ นั้นก็เป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จิตดวงต่อไปที่เกิดขึ้นนั้นจึงสืบต่อทุกอย่างที่สะสมอยู่ในจิตดวงก่อน
เพราะว่าจิตที่เกิดสืบต่อนั้น ก็เกิดเพราะว่าจิตดวงก่อนนั้นเป็นปัจจัยนั่นเองนะคะ เพราะฉะนั้นการสั่งสมสันดานด้วยความสามารถของชวนวิถีจิตนั้น ก็ทำให้แต่ละบุคคลก็มีอัธยาศัยที่แตกต่างกันไปนะคะ มีอุปนิสัยต่างๆ กัน ตามการสะสมของจิต ของแต่ละขณะซึ่งเกิดดับสืบต่อกัน อาจจะเป็นอัธยาศัยของบางท่านที่เป็นผู้ที่ใจบุญใจกุศลนะคะ เป็นผู้ที่ให้ทานเสมอเป็นนิจนะคะ ก็เป็นอัธยาศัยที่ได้สะสมมา หรือว่าสำหรับผู้ที่สะสมมาในทางฝ่ายอกุศลก็อาจจะเป็นผู้ที่หนักในโลภะ หรือว่าหนักในโทสะ พยาบาท
อันนี้ก็เป็นการสะสมของ แต่ละคนที่เป็นอัธยาศัยมานะคะ ทำให้มีอัธยาศัยแตกต่างกันนะคะ ซึ่งการสะสมกุศล อกุศล ด้วยสามารถแห่งชวนวิถีจิตนั้นก็สะสมไปทุกขณะจนกระทั่งทำให้เกิดเป็นอุปนิสัยต่างๆ เป็นการกระทำกริยาอาการทางกาย ทางวาจาแล้วแต่การสะสมมาของแต่ละท่านนะคะ ที่จะมีอาการกริยาเป็นไปอย่างไรก็เพราะว่าสะสมมาอย่างนั้นเป็นเวลาเนิ่นนานนะคะ ซึ่งเราใช้คำเรียกว่าอุปนิสัยนะคะ อุปนิสัยในภาษาไทยนั้นก็เป็น ความหมายที่ว่าประพฤติที่เคยชินที่กระทำมาจนกระทั่งเป็นอย่างนั้นๆ นะคะ
สำหรับอุปนิสัยนี้ในภาษาบาลีนะคะ ก็หมายถึงที่อาศัยที่มีกำลังมากนั่นเองนะคะ อุปนิสัย หรืออุปนิสยะก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งด้วยเหมือนกันนะคะ เพราะฉะนั้นก็เรียกว่าเป็นอุปนิสยปัจจัยนะคะ สำหรับการที่บุคคลได้สะสมสิ่งต่างๆ มาเนี่ยนะคะ ก็มีคำที่เรียกว่าอาสยะนะคะ อาสยะนี้หมายถึงอาศัย หรือที่อาศัยนะคะ อาศัย มาเป็นภาษาไทยเราใช้ อาศัย อย่างเราเป็นมนุษย์ก็มี อาคารบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยนะคะ ปลาก็อาศัยอยู่ในน้ำ
แต่ว่าอาศัยในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเคหะสถานบ้านเรือนนะคะ มีคำอธิบายไว้ในคัมภีร์นะคะ บอกว่าสัตว์ทั้งหลาย ย่อมปรารถนา ย่อมอาศัย คือมีฉันนะ พอใจอยู่ในสภาวะใด สภาวะนั้นเป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย เช่นความเห็นผิดโดยประการต่างๆ ก็ตาม หรือว่าจะเป็น สภาวะของกุศลธรรม เช่นปัญญาเป็นต้นก็ตามนะคะ
ดังนั้นสิ่งใดเป็นที่อาศัยอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายสิ่งนั้นจึงชื่อว่าอาสยะนะคะ ซึ่งคำนี้ก็เป็นชื่อของสันดานนะคะ คือการเกิดดับสืบต่อกันของจิตนะคะ สันดานอันมิจฉาทิฎฐิคือความเห็นผิด หรือว่า สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบได้อบรมสะสมแล้วนะคะ หรือว่าโทษทั้งหลายมี กามเป็นต้น หรือว่าคุณทั้งหลายมีเนกขัมมะ การออกจากกามเป็นต้นนะคะ ก็ได้อบรมสะสมแล้วนั่นเอง
ที่เรียกว่าสัตว์เนี่ยนะคะ ก็หมายถึงผู้ที่ข้อง หรือว่าเกี่ยวข้องอยู่ด้วยฉันทราคะก็คือความพอใจ ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ในขันธ์ ๕ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจะมีฉันทะในทางฝ่ายกุศล หรือฉันทะในทางฝ่ายอกุศล ก็เป็นการสะสมเป็นอัธยาศัย เป็นจริตของบุคคลนั้นๆ ซึ่งพระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบการสะสมที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลด้วยพระปัญญาญาณตามความเป็นจริง
อย่างเช่นทรงทราบว่าบุคคลนี้เป็นผู้ที่หนักในกาม มีกามเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในกาม หรือว่าทรงทราบว่าบุคคลนี้เป็นผู้ที่หนักในเนกขัมมะ มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในเนกขัมมะ หรือว่าบุคคลนี้เป็นผู้ที่หนักในพยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในพยาบาทเป็นต้น
อัธยาศัยต่างๆ เหล่านี้พระผู้มีพระภาคทรงทราบนะคะ แล้วก็นี้เป็นการสะสมอัธยาศัยที่แตกต่างกันไปตามขณะจิตของแต่ละบุคคล การที่เสพคบกับใครก็ตามเนี่ยนะคะ ก็เป็นอัธยาศัยของบุคคลนั้นๆ ที่มีอัธยาศัยเหมือนกันก็จะเสพคบ หรือคบหาสมาคมด้วยกันนะคะ ซึ่งอธิมุตนะคะ ก็เรียกว่าเป็นอัธยาศัยของสัตว์นั้นเองนะคะ
ท่านได้กล่าวไว้ว่าสัตว์ทั้งหลายที่มีอธิมุตเลวก็มี มีอธิมุตประณีตก็มีนะคะ ไม่ว่าในกาลไหนๆ ทั้งในปัจจุบัน ในอดีต และในอนาคต สัตว์ทั้งหลายที่มีอธิมุตเลว คือมีอัธยาศัยเลวก็ย่อมคบหาสมาคมกับสัตว์ที่มีอธิมุตเลวเหมือนกัน ส่วนสัตว์ที่มีอธิมุตปราณีต คือมีอัธยาศัยที่ประณีตก็คบหาสมาคม นั่งใกล้กับสัตว์ที่มีอธิมุตประณีตเหมือนกันนะคะ
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 061
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 062
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 063
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 064
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 065
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 066
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 067
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 068
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 069
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 070
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 071
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 072
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 073
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 074
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 075
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 076
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 077
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 078
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 079
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 080
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 081
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 082
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 083
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 084
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 085
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 086
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 087
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 088
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 089
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 090
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 091
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 092
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 093
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 094
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 095
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 096
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 097
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 098
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 099
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 100
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 101
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 102
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 103
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 104
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 105***
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 106
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 107
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 108
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 109
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 110
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 111
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 112
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 113
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 114
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 115
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 116
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 117
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 118
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 119
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 120