สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 093
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๙๓
วันจันทร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ ลักษณะของสมาธิก็ปรากฏได้แต่ไม่ใช่สมถะถ้าไม่ใช่กุศลจิต แต่ถ้าเป็นกุศลจิตแล้วเกิดสงบ และมีปัญญาที่สามารถจะทำให้จิตนั้นเป็นกุศลเพราะว่าตรึก นึกถึงอารมณ์ที่เป็นกุศลมากขึ้น ขณะนั้นกุศลจิตก็จะเกิด ๗ ขณะ ๗ ขณะ บ่อยครั้ง ลักษณะของความสงบจะปรากฏ เมื่อมากขึ้นความสงบนั้นก็ถึงระดับของสมาธิขั้นต่างๆ แต่ว่าต้องประกอบด้วยปัญญาเจตสิก ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก จะอบรมเจริญความสงบที่เป็นสมถภาวนาหรือว่าจะอบรมจนรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ซึ่งเป็นสติปัฎฐาน เป็นการอบรมเจริญภาวนาไม่ได้ถ้าไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมกับจิตนั้น เพราะฉะนั้นสมถะไม่ใช่สมาธิ เพราะสมาธินี้ก็เป็น ลักษณะของความตั้งมั่นเป็นลักษณะของเอกคตาเจตสิก แต่เวลาที่จิตสงบลักษณะของเอกคตาเจตสิกก็มีกำลังขึ้นจนถึงระดับที่ปรากฏเป็นลักษณะของความสงบขั้นต่างๆ ของสมาธิ
ผู้ฟัง ขออนุญาติกลับมาที่สัญญาอีกครั้ง เพราะว่าสัญญาที่เกิดกับจิตทุกดวง ในขณะที่ลืม สัญญานั้นก็จำ จำลักษณะอาการของสภาพจิตที่ลืมด้วย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ กล่าวได้ว่าสัญญาเจตสิตจำทุกสิ่งที่จิตรู้
อ. ประเชิญ ควรจะใช้คำว่า นึกไม่ออก ใช่ไหม นึกไม่ได้ ไม่ใช่ว่าจำไม่ได้เพราะว่าสัญญาเกิดขึ้นทุกครั้งก็จำทุกครั้งอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ ถูกต้องไหม นึกไม่ออก แต่จำไม่ได้
ผู้ฟัง ถึงแม้ว่าจะนึกไม่ออก ก็จำลักษณะอาการที่นึกไม่ออกไว้ซึ่งเป็นคนละอย่างกับในขณะที่วิตกเจตสิกไม่ตรึกไม่นึกถึงเรื่องนั้นๆ ที่เราได้เคยผ่านมาแล้ว เข้าใจว่าเป็นลักษณะที่ต่างกัน
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องของภาษาเพราะว่าเราไม่รู้ลักษณะของเจตสิกอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสภาพที่ตรึก วิตก จรดในอารมณ์หรือตึกในอารมณ์ เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ว่าขณะนั้นที่คิดเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็ต้องมีสัญญาจำเรื่องนั้นจริง แต่ก็ต้องมีวิตกเจตสิกซึ่งตรึกเฉพาะเรื่องนั้นหรือคิดเฉพาะเรื่องนั้นด้วย เพราะฉะนั้นก็เป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน แต่พอไม่รู้ว่าเป็นสภาพธรรมที่ต่างกันก็ปนกัน การศึกษาธรรมก็ต้องเข้าใจใหม่หลายอย่าง
ผู้ฟัง พอนึกไม่ได้ก็ต้องมีอารมณ์ ถูกหรือไม่ เพราะจิตทุกดวงต้องมีอารมณ์ แต่ในขณะนั้นรู้สึกว่า จำอะไรไม่ได้ นึกอะไรไม่ได้เหมือนไม่มีอารมณ์
ท่านอาจารย์ กำลังหลับสนิท จำอะไรหรือเปล่า
ผู้ฟัง ตอนนั้นไม่รู้ตัว
ท่านอาจารย์ ทำไมรู้ว่าหลับ
ผู้ฟัง มีสัญญาตื่นขึ้นแล้วมีสัญญาจำได้ว่าหลับ นั้นก็แสดงว่าสัญญาที่จำตอนหลังนี้รู้ได้ว่าตอนนั้นจำไม่ได้ ก็เหมือนกับนอนหลับ ถูกหรือไม่
ท่านอาจารย์ แม้จะหลับ จะตื่นอย่างไร ขณะใดที่จิตเกิดต้องมีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง
ผู้ฟัง เพื่อความเข้าใจในเรื่องของจิตกับเจตสิก ตอนนี้จิตเกิดขึ้นทุกครั้งหรือทุก หนึ่งขณะนี้จะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ดวง เราศึกษามาได้มี ๓ ดวง มีผัสสะเวทนา สัญญา ในขณะที่จิตเห็นเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง สัญญาก็จะจำลักษณะที่เป็นผัสสะด้วย ลักษณะที่เป็นเวทนาด้วย นี้เราพอจะเข้าใจอย่างนี้ได้ไหม
ท่านอาจารย์ จำอารมณ์
ผู้ฟัง จำอารมณ์ของจิตที่กำลังรู้
ท่านอาจารย์ เจตสิกทั้งหมด และจิตเกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน
ผู้ฟัง แต่สัญญาเจตสิกจะมีหน้าที่เพียงจำลักษณะของเวทนา ลักษณะของผัสสะที่เราได้กล่าวมาแล้ว
ท่านอาจารย์ ทำไมไปจำเวทนา ไปจำผัสสะ เพราะเหตุว่าจิต และเจตสิกเกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ขณะนั้นจิตรู้อะไรเจตสิกทั้งหมดที่เกิดร่วมด้วยก็รู้อารมณ์นั้นสัญญาเจตสิกก็จำอารมณ์นั้น อย่างขณะที่เห็น จิตเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ สัญญาก็จำลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ จิตเกิดขึ้นรู้อะไรเจตสิกนั้นก็จำสิ่งนั้น
ผู้ฟัง คือให้ส่วนที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวเมื่อต้นชั่วโมงที่แล้วเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า มีคำถามที่ว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าเจตสิกแต่ประเภทนี้ต่างกันในขณะที่จิตเกิดขึ้น นอกเหนือจากการฟังแล้ว ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่องของการรู้โดยกระทบ รู้โดยรู้สึก รู้โดยจำ ขณะนี้เรากำลัง กำลังจะรู้ด้วยความตั้งมั่น ทีนี้หมายความถึงว่ารู้ตรงนี้คือเจตสิกทำหน้าที่รู้อารมณ์นั้นโดยกระทบก็คือผัสสะ ไม่ทราบถูกหรือไม่ แล้วก็เจตสิกดวงที่รู้อารมณ์นั้นด้วยความรู้สึกคือเวทนา ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ หรือว่าเจตสิกตรงนั้นคือสัญญา รู้อารมณ์นั้นด้วยการจำอารมณ์นั้น ไม่ทราบจะถูกหรือไม่
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะเหตุว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม ก็ทรงแสดงลักษณะของสภาพธรรมทุกอย่าง โดยลักษณะ โดยกิจ โดยอาการปรากฏ โดยเหตุใกล้ให้เกิด แต่ว่าขณะนี้เรารู้อะไรบ้าง ถ้าพอจะรู้ได้ก็คือลักษณะเท่านั้นเอง และถ้าศึกษาต่อไปก็อาจจะเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ต้องเป็นเรื่องของการที่อบรมเจริญปัญญาที่จะมีลักษณะนั้นกำลังปรากฏให้รู้ให้เข้าใจว่าเป็นธรรมแต่ละอย่าง
อ.ประเชิญ สภาพธรรมที่ต่างๆ กันก็ทำให้วิจิตร จิตวิจิตรต่างๆ กันออกไป ก็สัมปยุตธรรมที่กล่าวๆ กันวันนี้ ในเรื่องของสภาพจิตสาธารณะที่จะเกิดร่วมกับจิตทุกขณะก็ ๔ ประเภทแล้ว ใน ๔ ประเภทนั้นก็เป็นเจตสิก ก็จะทำให้เห็นว่าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลใน ๔ ประเภทนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็นกระทบอารมณ์ก็ดี จำอารมณ์ก็ดีหรือว่าตั้งมั่นอารมณ์ที่เป็นเอกคตาซึ่งก็เป็นเจตสิกก็ทำกิจของตนของตน ก็ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลไม่มีวัตถุสิ่งของในสภาพธรรมเหล่านั้น
ผู้ฟัง ได้ยินคำถามว่าขณะที่เป็นโมหะมีสัญญาเกิดร่วนด้วยหรือเปล่า ก็อยากถามว่าขณะนี้มีสัญญากจำเหมือนกัน แต่ว่าจำแบบลืม ใช่ไหม
อ.สุภีร์ จำอารมณ์ จำสิ่งที่จิตรู้ จิต และเจตสิกนี้เป็นสัมปยุตธรรม เกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน เพราะฉะนั้นจิตขณะนั้นรู้อารมณ์อะไร โมหมูลจิตที่เกิดขึ้นขณะนั้น รู้อารมณ์อะไร เช่น รู้รูป รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือว่ารู้เสียงขณะนั้น โมห มูลจิตกิดขึ้นรู้เสียง สัญญาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโมหมูลจิตก็จำเสียง ฉะนั้น จิตรู้อะไรสัญญาเจตสิตก็จำสิ่งนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็รู้สึกกับอารมณ์นั้น ฉะนั้น จิต เจตสิก เกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน และรู้อารมณ์เดียวกันด้วย สัญญาเจตสิกนี้ก็สามารถจำเวทนาได้เช่นเดียวกัน กรณีที่เวทนาเป็นอารมณ์ของจิต จิตเกิดขึ้นรู้เวทนาใช่ไหม จิตเกิดขึ้นรู้ความรู้สึกเพราะเหตุว่าเวทนานี้เป็นเจตสิกสามารถเป็นอารมณ์ของจิตได้ สภาพธรรมทุกอย่างรวมถึงสิ่งที่ไม่ใช่สภาพธรรมด้วย ที่เป็นบัญญัติต่างๆ เรื่องราวต่างๆ สามารถเป็นอารมณ์ของจิตได้ ฉะนั้นสัญญาเจตสิกก็สามารถจำเวทนาได้เช่นเดียวกัน ในกรณีที่เวทนานั้นเป็นอารมณ์ของจิต จิตเกิดขึ้นรู้เวทนา สัญญาก็จำเวทนาที่จิตรู้นั่นเอง ผัสสะก็กระทบกับเวทนาที่จิตรู้นั่นเอง ฉะนั้นแล้วแต่ว่าขณะนั้น จิตมีอารมณ์อะไร สัญญาเจตสิตก็จำจำสิ่งนั้น
ผู้ฟัง ถ้าบอกว่าจำแบบหลง ก็ไม่ผิด
ท่านอาจารย์ จำแบบหลงๆ ลืมๆ นี้แล้วจะจำอะไรได้บ้างหรือไม่ เหมือนอย่างเวลาที่นอนหลับสนิท สัญญาเกิดขึ้นกับจิตแล้วก็จำอารมณ์ที่จิตกำลังรู้ในขณะนั้น แต่ไม่ปรากฏ ใครสามารถจะรู้ขณะที่หลับสนิทได้แต่เจตสิกทั้งหมดก็ต้องเกิดกับจิต และทำหน้าที่ของเจตสิกนั้นๆ เพราะฉะนั้นก็ไม่น่าแปลก อย่างนั้นยังไม่รู้ และเวลาที่โมห มูลจิตเกิดแล้วไม่รู้อารมณ์ตามความเป็นจริงในขณะนั้น สัญญาก็จำด้วย เพราะเหตุว่าสัญญาต้องเกิดกับจิตทุกขณะ
อ. ประเชิญ เราไม่มีเลยเพราะเป็นเพียงเจตสิกเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ เจตสิกอีกประเภทหนึ่งที่จะเป็นสัมปยุตธรรมที่จะทำให้จิตวิจิตรก็คือเจตนา เป็นเจตสิกประเภทที่ ๕ ที่เราจะสนทนากันในวันนี้ เจตนาเป็นเจตสิกที่เกิดขึ้นทำหน้าที่จงใจ ตั้งใจ ซึ่งในอรรถกถาท่านได้อุปมาเหมือนกับเจ้าของนา ชาวนาก็จะมีเจ้าของนา และก็ผู้ที่เป็นเพื่อนบ้านที่มาร่วมกันช่วยกันเกี่ยวข้าว เจ้าของนาก็จะทำหน้าที่ในการบงการ ในการที่จะขนขวายในเรื่องของการทำภารกิจในการที่จะเกี่ยวข้าวนั้นให้สำเร็จ ซึ่งเจตนานี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สังสารวัฏฏ์เป็นไปอย่างมาก ซึ่งก็เป็นตัวธรรมที่เป็นกรรมนั่นเอง ซึ่งถ้าในปกิจสมุทบาทเจตนานั้นเป็นสังขาร เป็นอภิสังขารที่จะทำให้เกิดผลอีกมากมาย แล้วสังขารที่เป็นเจตนาที่เป็นกรรมก็เกิดกับจิตทุกๆ ประเภท แต่ที่จะทำให้มีผลที่ต่างกันก็ต้องอาศัยเจตนาที่เกิดร่วมกับกุศลจิต และอกุศลจิตที่ทำกรรม ส่วน เจตนาที่เกิดร่วมกับวิบากจิต และกิริยาจิตท่านเรียกว่าสหชาตกรรม แต่เจตนาที่เกิดร่วมกับกุศลจิต และอกุศลจิตที่ทำกรรมดี และกรรมไม่ดีก็จะมีผลในต่างขณะกัน ท่านจึงใช้คำว่านานักขณิกกรรม สิ่งนี้ก็เป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่งที่ทำกิจซึ่งจะเกิดร่วมกับจิตทุกขณะ บางท่านอ่านออกเสียงคำว่า เจต-นา จะถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ หรือไม่
อ.สุภีร์ นี้ก็เป็นภาษาไทย เจต-นา แต่ถ้าเป็นภาษาบาลีแล้วก็ตามศัพท์ที่เป็นเจตนาเจตสิกออกเสียงเป็น เจ-ตนา
ท่านอาจารย์ การออกเสียงก็ต้องถูกต้องด้วย อย่างภาษาไทยเราพูดว่า เวท-นา ใช่ไหม และความหมายก็เปลี่ยนไป เช่น น่าเวท-นา เหลือเกิน ก็คิดว่าน่าสงสารเหลือเกินแต่ว่าความจริงสำหรับคำนี้เป็นภาษาบาลี เว-ทนา หมายความถึงสภาพเจตสิกซึ่งรู้สึกในอารมณ์ เช่นเดียวกับเจตนา ก็เป็นเจตนาเจตสิกแต่คนไทยก็เรียกว่า เจต-นา จะมีอุปมาด้วยตัวอย่างที่แสดงให้เห็นลักษณะของเจตนาเจตสิก คำเปรียบเทียบ
อ.สุภีร์ เจตนาเจตสิกก็เปรียบเสมือนกับว่าเป็นหัวหน้าใหญ่ในการงานใดการงาน หนึ่ง โดยเฉพาะที่เกิดเมื่อกระทำกรรมที่เป็นกุศล และอกุศลที่จะให้ผลต่อไปในอนาคต ซึ่งเจตนานี้เรียกว่า กรรม ตามพระพุทธพจน์ที่ว่า เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนานั่นแลว่าเป็นกรรม ฉะนั้นเจตนานี้ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นเสมือนกับหัวหน้าของสภาพธรรมอื่นๆ เมื่อมีการกระทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉะนั้นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงเรียกเจตนานี้ว่าเป็นกรรม ซึ่งเมื่อสำเร็จเป็นกุศลกรรม และกุศลกรรมก็จะสามารถทำให้ได้รับผลต่อไปในอนาคตได้ อย่างที่อาจารย์ประเชิญได้กล่าวขึ้นมาคำหนึ่งว่าเป็นอภิสังขาร ใช่ไหม คำว่าสังขาร ก็แปลว่า ปรุงแต่ง อภิ ก็คืออย่างยิ่ง อภิสังขารหรือว่าอภิสังขาระก็คือปรุงแต่งอย่างยิ่งหมายถึงปรุงแต่งผลของตนเองนั่นเอง เพราะเหตุว่าเจตนานี้เป็นกรรม เป็นอภิสังขารคือเป็นสภาพธรรมที่ผู้ปรุงแต่งผลของตนเอง ผลของอภิสังขารก็มีทั้งที่เป็นวิบาก และก็กัมมัชชรูป ฉะนั้นผลของกรรมก็มี ๒ ส่วนด้วยกัน ก็คืออย่างที่ ๑ ส่วนที่เป็นวิบากอย่างที่ ๒ ก็คือส่วนที่เป็นรูปที่เกิดจากกรรมเรียกว่ากัมมัชชรูป
ท่านอาจารย์ ขณะเห็นมีเจตนาเจตสิกไหม เห็นเดี๋ยวนี้ มี ทุกขณะไม่เคยขาดเลยเพราะเหตุว่าเจตนาเจตสิกก็เป็นสรรพจิตตสาธารณเจตสิก ต้องเกิดกับจิตทุกขณะ เพราะฉะนั้นเวทนามี ๔ ชาติเพราะเหตุว่าจิตมี ๔ ชาติ ชา-ติ คือการเกิดของจิต เกิดเป็นกุศล ๑ อกุศล ๑ เป็นเหตุ วิบาก ๑ เป็นผล กิริยา ๑ ซึ่งไม่ใช่เหตุ และไม่ใช่ผล คือไม่ใช่ทั้งกุศล อกุศล และวิบากฉันใด เมื่อจิตมี ๔ ชาติ และเจตนาเจตสิกก็เกิดกับจิตทุกขณะ เจตนาก็ต้องมี ๔ ชาติด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่เราพูดถึงเจตนาที่เราจะเข้าใจได้ เราก็มักจะคิดถึงกุศลเจตนา และอกุศลเจตนา เราไม่ได้คิดถึงเจตนาซึ่งเป็นชาติวิบาก และเวทนาซึ่งเป็นกิริยา แต่มีด้วยเพราะเหตุว่าจิตเป็นอย่างไรเจตสิกทั้งหมดที่เกิดร่วมด้วยก็ต้องเป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้นสำหรับกุศลเจตนากับอกุศลเจตนานี้ก็พอจะเข้าใจได้ ใช่ไหม เวลาที่มีความจงใจตั้งใจที่จะประทุษร้ายเบียดเบียนขณะนั้นก็เป็นอกุศลเจตนา เกิดแล้วดับแล้วหมดไปหรือเปล่า สะสมสืบต่อเป็นกัมมปัจจัย เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม หรือว่ากรรมได้แก่เจตนา เป็นผู้ที่กระตุ้นขวนขวายที่จะให้การกระทำนั้นสำเร็จลงไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นความจงใจ ตั้งใจ แม้ว่าจะเกิดแล้วดับแล้วแต่ก็สะสมสืบต่อทำให้เกิดผลคือวิบากจิตเกิดขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิ ภวังค์ แล้วก็ทางตาเห็น ทางหูได้ยิน พวกนี้ก็เป็นผลของกรรมเป็นวิบากจิตทั้งหมด เพราะฉะนั้นจึงต้องทราบเรื่องชาติของจิตว่า กุศล อกุศลไม่ใช่วิบาก แต่เมื่อเกิดขึ้นมาก็สะสมสืบต่อที่จะทำให้จิตที่เป็นวิบากเกิดขึ้นรับผลของกรรม แม้ว่ารูปก็เป็นผลของกรรมด้วย แต่รูปไม่ใช่สภาพรู้ เพราะฉะนั้นจะสุข จะทุกข์ มาจากจิต ถ้าจิตเห็นสิ่งที่ดีก็เป็นสุข ได้ยินเสียงที่ดีก็เป็นสุข เพราะฉะนั้นสภาพของจิตที่เป็นวิบากส่วนใหญ่คนต้องการมาก คือต้องการวิบากจิตที่จะเห็นดี ได้ยินดี ได้กลิ่นดี ลิ้มรสดี รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสที่สบาย แต่ลืมว่าหลังจากที่ได้เห็น และได้ยินแล้ว กุศลจิตเกิดหรืออกุศลจิตเกิดซึ่งสะสมต่อไปที่จะให้ผลเป็นไปตามเหตุ ถ้าเป็นอกุศลกรรมก็จะต้องทำให้อกุศลวิบากจิตเกิด ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมก็ทำให้กุศลวิบากจิตเกิด ขณะไหน เมื่อไร ไม่มีใครสามารถจะทราบได้ ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ล่วงหน้าของจิตแม้เพียงหนึ่งขณะที่จะเกิดว่าจะเป็นผลของกรรมใด แล้วก็จะเป็นผลของกรรมทางไหน ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายหรือทางใจ ถ้ามีการตาบอดฉับพลัน เฉียบพลันก็ได้ ใช่ไหม แล้วแต่กรรม ทุกอย่างเกิดได้ทั้งหมด วันนี้ร่างกายแข็งแรงดีแต่ก็อาจจะเป็นโรคร้ายหรือว่าอาจจะสิ้นชีวิต ตั้งใจว่าจะไปไหนแต่ก็ไม่ถึงเพราะเหตุว่ากรรมไม่ทำให้ถึง แต่ทำให้สิ้นสุดกรรมคือพ้นสภาพความเป็นบุคคลนั้นโดยสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นทั้งหมดนี้ก็จะได้ทราบว่า กรรมเป็นอีกชื่อหนึ่งของเจตนา เพราะเจตนานั่นเองเป็นสภาพที่จงใจตั้งใจขวนขวายกระตุ้นสหชาตธรรม คือเจตสิกที่เกิดร่วมกันให้ทำกิจการงานนั้นๆ ให้สำเร็จ
อ.ประเชิญ ก็จะมีพระสูตรที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของเจตนา ซึ่งเป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่งตรงนี้ ทุกท่านคงจะถูกคนอื่นถามว่า ท่านรักษาตัวเองหรือไม่ หรือว่าการรักษาตนนี้ อย่างไรจึงจะชื่อว่ารักษาตนที่ถูกต้อง เพราะว่าโดยทั่วไป เราก็จะเข้าใจว่า อาจจะทำเครื่องคุ้มกันทั้งหลายใช่ไหม อาจจะมีวัตถุมงคลที่จะมารักษาตัวเองให้หลุดพ้นจากภยันตรายทั้งหลาย หรือว่าบางท่านก็ทั้งวัตถุมงคลด้วยแล้วก็อาจจะจ้าง รปภ .หรือว่าจ้างผู้ที่คอยคุ้มกัน ใช่ไหม สิ่งนี้ก็เข้าใจว่าอย่างนี้คือการรักษาตัว ในสมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็สงสัยในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ในพระสูตรมาจากเล่มที่ ๒๔ ในฉบับมหามงกุฎอัคตรารคีตาสูตร ว่าด้วยการรักษาตน พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระภูมิภาคว่า ชนพวกไหนชื่อว่ารักษาตน และชนพวกไหนชื่อว่าไม่รักษาฅน น่าคิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนที่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ สิ่งนี้ก็เกี่ยวข้องกับกรรม ใช่ไหม ทุจริตนี้ก็คือทำกรรมทางกายที่เป็นปานาติบาท แต่ตนทางวาจาก็พูดโกหก พูดมุสาสิ่งนี้ก็เป็นทุจริตทางวาจา ทางใจก็เป็นเรื่องของ อวิชชา พร้อมทั้งความเห็นผิด สิ่งนี้ก็เป็นเรื่องของทุจริตทางใจ พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า ถึงแม้ว่าจะมีพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้าจะพึงรักษาชนนั้น ตอนนั้น แต่บุคคลนั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ถึงแม้ว่าจะมีพลช้าง พลม้า พลรถที่คอยคุ้มกัน คอยปกป้องรักษาก็ชื่อว่าไม่รักษาตน เพราะว่าผู้ที่รักตนก็ต้องทำสิ่งที่ดีให้กับตัวเอง เพื่อจะให้ตัวเองอยู่อย่างมีความสุข แต่ถ้าไปประพฤติสิ่งที่ไม่ดี ผลในอนาคตก็จะไม่ดี ใช่ไหม จะทำให้เกิดทุกข์ในอบายภูมิ แล้วก็ทำให้ได้รับในสิ่งที่ไม่น่ายินดีไม่น่าพอใจ สิ่งนี้คือผู้ที่ไม่รักษาตน ส่วนผู้ที่รักษาตน ก็คือผู้ที่ประพฤติสุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ ถึงแม้จะไม่มีคนมารักษาเลย ไม่มี รปภ. หรือไม่มีเครื่องคุ้มกันอะไรเลย ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้ที่รักษาตน เพราะว่าเขาทำสิ่งที่ดีให้กับตัวเอง เพราะฉะนั้นผู้ที่ประพฤติสุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจในทุกวันนี้ บุคคลนั้นชื่อว่ารักษาตน ทำให้ตัวเองเป็นผู้ที่จะได้รับความสุขในอนาคต พระผุ้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์นี้จบแล้วก็ได้ตรัสพระคาถาว่า การสำรวมทางกายเป็นการดี การสำรวมทางวาจาเป็นการดี การสำรวมทางใจเป็นการดี การสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นการดี บุคคลสำรวมในที่ทั้งปวงมีความละอายต่อบาป เรากล่าวว่าเป็นผู้ที่รักษาตน เพราะฉะนั้น พระพุทธพจน์นี้ก็เป็นพระพุทธพจน์ที่คอยเตือนทำให้เราเป็นผู้ที่สำรวมทางกาย ทางวาจา และทางใจ ก็จะได้เป็นผู้ที่ชื่อว่าเป็นผู้ที่รักษาตนอย่างถูกต้องตามผู้รู้ท่านแสดงไว้
ท่านอาจารย์ มีคำใหม่คำหนึ่งซึ่งคงจะแปลกหูคือ ไวยากรณ์
อ. สุภีร์ คำว่า ไวยากรณ์ก็คือ ถ้าเป็นภาษาไทยก็เป็นร้อยแก้วนั่นเอง ถ้าแปลตามศัพท์ก็แปลว่าคำต่างๆ ที่อธิบายกระทำเนื้อความต่างๆ ให้แจ้ง ไวยากรณ์ก็หมายถึงร้อยแก้ว ไม่ใช่ที่เป็นคาถา หลังจากกล่าวว่าไวยากรณ์ภาษิตก็คือเนื้อความต่างๆ ที่เป็นคำอธิบายของพระพุทธพจน์ต่างๆ มาแล้ว แล้วก็อธิบายข้อความต่างๆ แล้วก็ตรัสพระคาถา พระคาถาก็เป็นร้อยกรอง ไวยากรณ์ภาษิตก็เป็นภาษิตที่ตรัสโดยร้อยแก้ว
ท่านอาจารย์ พระอภิธรรมที่กล่าวทั้งหมดนี้ก็เป็นไวยากรณ์ ใช่ไหม
อ. สุภีร์ ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ วันนี้ท่านผู้ฟังทุกท่านก็ได้รักษาต้นด้วยกุศลคือการฟังธรรมก็ขออนุโมทนา
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 061
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 062
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 063
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 064
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 065
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 066
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 067
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 068
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 069
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 070
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 071
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 072
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 073
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 074
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 075
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 076
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 077
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 078
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 079
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 080
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 081
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 082
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 083
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 084
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 085
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 086
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 087
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 088
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 089
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 090
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 091
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 092
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 093
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 094
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 095
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 096
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 097
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 098
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 099
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 100
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 101
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 102
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 103
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 104
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 105***
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 106
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 107
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 108
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 109
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 110
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 111
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 112
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 113
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 114
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 115
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 116
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 117
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 118
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 119
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 120