สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 094
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๙๔
วันจันทร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ พรุ่งนี้ก็เป็นวันเพ็ญเดือน ๑๒ ซึ่งก็เป็นวันสำคัญของประเพณีไทยโดยมากเราก็จะคิดถึงเรื่องของประเพณี แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้วในพระไตรปิฏกก็มีเรื่องที่เกี่ยวกับวันสำคัญในวันเพ็ญเดือน ๑๒ หลายแห่ง ซึ่งความจริงแล้วพระจันทร์ดวงนี้เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประสูติ ตรัสรู้ปรินิพพานก็คือดวงนี่ และระหว่างที่ยังไม่ได้ดับขันธปรินิพพานนั้นก็มีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ซึ่งก็เป็นที่น่าสนใจ น่าคิดถึงว่ามีเหตุการณ์อะไรบ้าง เพราะว่าเราก็คงจะไม่คิดถึงแต่เพียงเรื่องของประเพณีไทยเท่านั้น ขอเชิญคุณอรรณพ ที่จะกล่าวถึงเรื่องของวันเพ็ญเดือน ๑๒ มีอะไรบ้างในพระไตรปิฏก
อ.อรรณพ ก็คงมีเรื่องทั้งในพระสูตร แล้วก็ในเรื่องของพระวินัยที่เกี่ยวข้องในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ในโอกาสแรกก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระสูตร ซึ่งในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นวันปรินิพพานของท่านพระสารีบุตรซึ่งเป็นอัครสาวกที่เลิศด้วยปัญญา ในวันพรุ่งนี้คล้ายวันที่ท่านปรินิพพานซึ่งก็ขอนำข้อความโดยสรุปจากในจุลทสูตร ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวถึงการปรินิพพานของท่านซึ่งจะแสดงให้เห็นถึง ความจริงของสัจธรรม และการสะสมของผู้ที่จะเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา และเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระผู้มีพระภาค ซึ่งทุกข์กาย และความตายนี้ไม่มีใครจะเลี่ยงได้ แม้พระอรหันต์ซึ่งดับกิเลสได้เป็นสมุทเฉทแล้ว แต่ยังมีอัตภาพนี้ก็ยังต้องมีทุกข์กายโดยเฉพาะในขณะที่ใกล้จะปรินิพพาน แล้วความตายก็เลี่ยงไม่พ้น เพราะเราทราบว่าความตายเป็นของธรรมดา แต่การตายของพระอรหันต์ไม่ธรรมดาตรงที่จะไม่มีการเกิดอีกต่อไป
สำหรับในปีนั้น ในปีที่ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานก็เป็นปีเดียวกันกับที่ท่านพระโมคคัลลานะ และพระผู้มีพระภาคดับขันธ์ปรินิพพาน เป็นปีของการสูญเสียบุคคลที่เลิศ คือ พระสาวกทั้งสอง และพระผู้มีพระภาค ในสมัยที่ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่พระเชตวัน บ่ายวันหนึ่งหลังจากที่ท่านได้ออกจากพละสมาบัติแล้ว ท่านก็ได้ตรวจดูอายุสังขารของท่าน ท่านทราบว่าท่านจะอยู่ได้อีกเพียง ๗ วัน ถ้าเป็นเราแล้วถ้าจะรู้ว่าจะอยู่ได้อีก ๗ วันนี้เราจะคิดอย่างไร เราจะทำอย่างไร ก็คงเต็มไปด้วยความวิตกกังวลแต่ท่านพระสารีบุตรซึ่งเลิศด้วยปัญญา ท่านจะทำอย่างไร แน่นอนท่านต้องทำสิ่งที่สมควรที่สุด ในเวลา ๗ วันที่ ๑ เมื่อท่านรู้แล้วว่าท่านจะอยู่ได้เพียง ๗ วันก็ได้ปรารภถึงมารดาของท่านซึ่งมารดาของท่านมีบุตร ๗ คน และบุตรทั้ง ๗ ก็บวชทั้งหมด เป็นพระอรหันต์ทั้ง ๗ องค์ แต่ส่วนท่านเองในตอนนั้น ท่านยังเป็นผู้ที่มีความเห็นผิดอยู่ ท่านยังไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา แม้ลูกทั้ง ๗ จะบวชหมดแล้วแล้วท่านพระสารีบุตรก็เป็นบุตรชายคนโต เพราะฉะนั้นท่านสารีบุตรก็ตรึกนึกถึงมารดาก็คิดที่จะเกื้อกูลมารดาจากความเห็นผิด ท่านก็ได้ตรวจดูอุปนิสัยของมารดาทราบว่า มีอุปนิสัยถึงการที่จะได้เป็นพระโสดาบันบุคคล
แล้วท่านก็รู้ว่าผู้ที่จะแสดงธรรมให้กับมารดาก็คือท่านเอง ท่านจึงคิดว่าท่านจะไปปรินิพพานในบ้านเกิดของท่านที่นาลันทา ปัจจุบันแล้วก็เป็นเมืองนาลันทา เมื่อท่านตรึกอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ได้ทำในสิ่งที่สมควรคือกราบทูลลาพระผู้มีพระภาคก่อน ซึ่งหลังจากที่ท่านได้กราบทูลว่าท่านจะขอปรินิพพาน เนื่องจากหมดอายุแล้ว พระผู้มีพระภาคขอให้ท่านได้แสดงธรรมกับพุทธบริษัททั้งหลาย ซึ่งแน่นอนเรื่องที่สำคัญที่สุด ทุกกาล ทุกสถานการณ์ก็คือการที่ได้มีโอกาสที่จะฟังธรรม พิจารณาธรรม เพราะฉะนั้นท่านได้ให้โอกาสท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมกับพระภิกษุพระพุทธสาวก ซึ่งท่านพระสารีบุตรท่านเป็นผู้ที่มีปัญญามาก เพราะฉะนั้นท่านก็ได้แสดงธรรม และแสดงอิทธิปาฏิหารย์ต่างๆ ให้เป็นที่ประจักษ์แล้วเป็นที่ปลื้มปิติกับบริษัททั้งหลาย
เมื่อท่านได้แสดงธรรมกถาหลายอย่าง ท่านก็ได้กราบทูลลาพระผู้มีพระภาค และท่านก็ได้แสดงความตั้งใจของท่านตั้งแต่ในอดีต ซึ่งย้อนไปเป็นเวลานานเลย เป็นเวลาถึงหนึ่งอสงไขยกับแสนกัปป์ที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาที่จะเป็นพระอัครสาวกของพระผู้มีพระภาค แล้วบัดนี้ท่านก็ได้สมความปรารถนาแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าเป็นความตั้งความปรารถนาที่จะพบกันเพื่อความผูกพัน ย้อนไปหนึ่งอสงไขยกับแสนกัปป์ ไม่ใช่ตั้งความปรารถนาที่จะได้พบพระผู้มีพระภาคด้วยความติดข้อง ความผูกพัน แต่เป็นเรื่องความศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญาแล้วก็มุ่งประโยชน์กับพระศาสนาว่าแม้ว่าท่านจะไม่สามารถจะสะสมบารมีถึงความเป็นพระพุทธเจ้าได้เอง แต่การที่ท่านได้เป็นอัครสาวกที่เลิศด้วยปัญญาก็จะเป็นโอกาสที่จะค้ำจุนพระศาสนา
เพราะฉะนั้นท่านก็ได้แสดงความปลื้มปิติตรงนี้ ได้ทูลลาพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้ขอให้พระพุทธเจ้าอดโทษให้ ทั้งทางกาย ทางวาจาที่ไม่เหมาะไม่ควรก็ขอพระผู้มีพระภาคได้ประทานอดโทษให้ซึ่งพระผู้มีพระภาคก็ตรัสให้ว่าพระสารีบุตรไม่เคยทำสิ่งใดทางกาย วาจาที่พระองค์ท่านไม่ชอบใจเลย
ในตอนนั้นก็มีความอัศจรรย์มากมาย เพราะว่าผู้ที่มีคุณอันสูงสุดคือพระผู้มีพระภาคแล้วก็ผู้ที่มีคุณธรรมรองลงมาในตอนนั้นก็คือท่านพระสารีบุตร หลังจากนั้นท่านก็ได้ลาชาวเมือง ซึ่งชาวเมืองต่างร้องไห้คร่ำครวญ ก็รู้ว่าจะไม่มีโอกาสได้ฟังธรรมจากท่านอีกแล้ว ท่านพระสารีบุตรท่านก็ได้ให้ชาวเมืองกลับไป หลังจากที่ชาวเมืองได้มาส่งเป็นระยะทางพอสมควรแล้ว แล้วท่านก็เตือนว่าพวกท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทชื่อว่าสังขารทั้งหลายย่อมเป็นอย่างนี้ จึงให้กลับแล้ว เตือนให้ไม่ประมาท ให้กลับไป หลังจากนั้นท่านก็ได้ทำการสงเคราะห์พวกมนุษย์ตลอดทั้ง ๗ วันเวลาที่เหลือเพียง ๗ วันก็สงเคราะห์พุทธบริษัท ประชาชนต่างๆ ด้วยธรรม ในทุกแห่ง ท่านพักแม้เพียงแค่คืนเดียวเท่านั้น จนถึงบ้านนาลันทาซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ท่านก็ได้พบกับหลานของท่านซึ่งก็ได้พาไปที่บ้านของท่านแล้วก็ได้ไปบอกโยมมารดาของท่านพระสารีบุตร
หลังจากนั้นเมื่อท่านได้ถึงบ้านแล้ว ท่านก็ให้ภิกษุที่เป็นผู้ติดตามท่านไปพัก หลังจากภิกษุไปพักแล้ว อาพาธอย่างแรงกล้าก็เกิดกับพระเถระ มีเวทนามาก หนักหนาเหลือเกินถึงขนาดถ่ายเป็นโลหิต แต่ท่านก็ไม่ได้หวั่นไหว หลังจากนั้นท่านก็ได้เข้าไป พักในห้องของท่านที่เป็นห้องเกิดของท่าน ในขณะนั้นเทพยดาตั้งแต่ท้าวจตุมหาราชิกาจนถึงพรหมก็ได้มาเยี่ยมท่านเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งมารดาของท่านเป็นผู้ที่เลื่อมใสในลัทธิพราหมณ์ คือนับถือพรหมว่าเป็นพระเจ้าจึงไม่นับถือพระพุทธศาสนา ในขณะที่เทวดาได้มาเฝ้าเยี่ยมท่าน มารดาได้ยืนอยู่ที่ประตู ก็ได้เห็นแสงสว่างมาเป็นลำดับลำดับ
หลังจากเทวดาทั้งหลายกลับไปแล้วก็เลยถามท่านวพระสารีบุตรว่าใครมาบ้างซึ่งท่านพระสารีบุตรก็บอกมารดาทั้งว่าท้าวจตุมหาราชิกามา เท้าสักกะมา จนถึงพระพรหมมา ซึ่งมารดาของท่านก็เริ่มที่จะเกิดความปิติว่า แม้บุตรชายของท่านซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคยังมีความอัศจรรย์อย่างนี้เลย เทวดาโดยเฉพาะพรหมที่ท่านนับถือยังมาเยี่ยม ยังต้องมาไหว้บุตรของท่าน ท่านจึงน้อมระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาคว่าคุณพระผู้มีพระภาคนี้จะต้องมีมากมาย แม้บุตรท่านผู้เป็นสาวกก็ยังได้รับการบูชาสักการะจากเทวดาถึงเพียงนี้
ซึ่งเมื่อพระสารีบุตรท่านเห็นมารดาของท่านมีจิตใจที่อ่อนโยนควรที่จะแสดงธรรมท่านจึงได้แสดงธรรมกับมารดาท่าน ซึ่งเมื่อจบธรรมเทศนามารดาของท่านก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคล ท่านก็เลยคิดว่าเพียงนี้ก็เป็นสิ่งที่ได้ตอบแทนพระคุณของมารดาที่ได้เลี้ยงดูท่านมา หลังจากนั้นท่านก็ได้ขอให้มารดาท่านได้กลับไปซึ่งช่วงเวลานั้นจวนจะสว่างแล้ว
ท่านก็ได้เรียกภิกษุซึ่งเป็นผู้ติดตามท่านมา แล้วก็ได้กล่าวคำที่จะให้พระภิกษุได้อดโทษกับท่านถ้าท่านทำสิ่งใดที่ไม่เหมาะสม สิ่งนี้เป็นคุณธรรมความอ่อนน้อมของท่านที่ท่านกล่าวว่ากรรมใดของผมที่เป็นไปทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดีซึ่งพวกท่านไม่ชอบใจขอให้พวกท่านจงอดโทษแก่ตนเอง ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวว่าไม่มีสิ่งใดเลยที่จะเป็นความไม่เหมาะไม่ควรที่ท่านพระสารีบุตรปฏิบัติตลอดมา หลังจากนั้นท่านก็ให้ภิกษุทั้งหลายออกไป ท่านก็ดึงมหาจีวรมาปิดหน้านอนโดยข้างขวาแล้วก็เข้าสมาบัติโดยลำดับ ผู้มีพระภาค โดยทั้งอนุโลม และปฏิโลม เพียงแต่ว่าเมื่อท่านเข้าตั้งแต่ปฐมฌาณไปจนถึงจตุฌาน เมื่อออกจากจตุฌานแล้ว ท่านก็ปรินิพพาน มหาปฐพีก็หวั่นไหว
ซึ่งเมื่อมารดาของท่านรู้ว่าท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้วก็ร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมากเพราะว่าสำนึกถึงคุณของพระสารีบุตร เพราะว่าท่านเป็นพระโสดาบันแล้ว มารดาท่านตอนนี้ หลังจากนั้นท่านก็ได้ให้จัดการศพของท่านพระสารีบุตรอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งมหาชนเป็นอันมากก็ได้มาบูชาสักการะมณดป ที่ตั้งศพของท่าน ซึ่งก็มีอุบาสิกาท่านหนึ่งซึ่งเป็นผู้ที่อุปถากท่านมาตลอดคือนางเรวดีก็ได้จัดเสาดอกไม้ทอง ๓ ต้นมาจะบูชาสักการะ ซึ่งตอนนั้นมหาชนมีมาก คนไม่ทันเห็นนาง นางล้มลงไปก็เลยถูกเหยียบถึงจะสิ้นชีวิต ซึ่งด้วยกุศลนั้นก็ทำให้นางได้เกิดในวิมานทองในชั้นดาวดึงส์ แต่นางก็ได้มาแสดงศิริสมบัติที่นางได้กับมหาชนที่มาบูชาส่งท่านพระสารีบุตร
ซึ่งหลังจากนั้นโดยสรุป ท่านพระจุนทะซึ่งเป็นน้องชายองค์เล็กของท่านพระสารีบุตรก็ได้นำบาตร จีวร แล้วก็อัฐิธาตุของท่านพระสารีบุตรกลับมายังพระวิหารเชตวันเข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้วก็แจ้งความไม่ทราบว่า ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว ซึ่งทั้งหมดก็ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้มีพระภาคก็ได้รับเอาผ้ากรองน้ำที่ห่อธาตุของท่านพระสารีบุตร แล้วก็ได้ตรัสถึงคุณของพระสารีบุตรประการต่างๆ เป็นอันมาก ซึ่งหลังจากนั้นพระองค์ท่านก็ยังได้แสดงธรรมที่ทำให้พระภิกษุ ซึ่งตั้งแต่ท่านพระอานนท์ซึ่งท่านมีความเศร้าโศกมากที่พระสารีบุตรปรินิพพาน แต่พระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงว่าสิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่าขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลยดังนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด แล้วพระองค์ก็ตรัสให้อบรม เจริญสติปัฎฐาน ก็คือ พิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อที่จะเป็นหนทางของการดับกิเลสสังสารวัฏฏ์ในที่สุด
นี้ก็เป็นเรื่องราวเรื่องหนึ่ง ซึ่งในวันพรุ่งนี้ก็จะเป็นวันคล้ายวันนั้นในอดีตเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีก่อนซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่พระโมคคัลลานะปรินิพพานหลังท่านพระสารีบุตร ครึ่งเดือนแล้วก็ต่อมาในวันเพ็ญเดือน ๖ วันวิสาขา พระผู้มีพระภาคก็ดับขันธ์ปรินิพพาน ก็เป็นข้อความในพระสูตรซึ่งเป็นเรื่องการปฏิบัติผ่านของพระอัครสาวกคือท่านพระสารีบุตร
ในวันพรุ่งนี้ก็เป็นวันครบรอบของท่านซึ่งเราก็จะได้น้อมรำลึกถึงพระคุณของท่านแต่เราได้ศึกษาธรรมก็คือการที่เราได้เข้าใจธรรมก็มาจากพระสาวกทั้งปวง
ผู้ฟัง ถ้าฉะนั้นพรุ่งนี้เป็นวันลอยกระทง กระทงนี้ถ้าเราลอยไปแต่เราน้อมระลึกถึงคุณของพระสารีบุตรอย่างนี้จะมีประโยชน์กว่าหรือไม่
อ.อรรณพ ก็แล้วแต่บุคคล ซึ่งอย่างที่เรียนแล้วว่าไม่จำเป็นต้องเป็นวันลอยกระทงในขณะนี้ที่เราได้ฟังพระสูตรนี้จุนทะสูตร น้อมระลึกถึงพระคุณของท่านเป็นสังขารนุสติแล้วยังไม่ต้องเอากระทงไปลอยในน้ำเลยใช่ไหม แต่แม้ว่ายังเป็นผู้ที่ทำตามประเพณีอย่าง เช่น เราไปลอยกระทงใช่ไหม กุศลจิตอาจจะเกิดขึ้นได้แล้วก็คิดว่าบูชาผู้ที่สูงสุดด้วยอามิสบูชา ก็แล้วจิต แล้วแต่การกระทำ
ผู้ฟัง แล้วมารดาของพระสารีบุตรนี้มีลูกที่เป็นพระอรหันต์ถึง ๗ องค์ แต่ว่าปัญญาของทั้ง ๖ องค์ก็ช่วยอะไรมารดาของพระสารีบุตรไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องศึกษาพระธรรมทำให้เกิดปัญญาของเราเองอย่างนี้จะเข้าใจถูกหรือไม่
อ.อรรณพ จริงๆ แล้ว นางสารีพรามณี ท่านก็สะสมปัญญามาที่จะเป็นพระ โสดาบันบุคคล ขณะเป็นแม่ของพระอรหันต์ทั้ง ๗ องค์ แต่ถ้าสะสมอัธยาศัยมาที่จะเป็นพระโสดาบัน ยังไม่ได้เป็นพระสกทาคามี พรือพระอนาคามี ในการฟังธรรมจากท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรท่านเป็นผู้ที่เลิศด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นเมื่อท่านพิจารณาแล้วท่านรู้ว่า ผู้ที่จะแสดงธรรมกับมารดาของท่านแล้วมารดาของท่านจะบรรลุเป็นพระโสดาบันก็คือท่านเอง วันนี้ท่านรู้ด้วยปัญญา ท่านจึงทำในสิ่งที่ควรที่สุดก็คือ เกื้อกูลมารดา
ท่านอาจารย์ ก่อนที่จะถึงเรื่องของพระวินัยในวันสำคัญที่เป็นวันเพ็ญพวกนี้ ก็ไม่ทราบว่าเท่าที่ได้ฟังแล้วมีอะไรที่ใครที่จะได้สนทนากันในเรื่องนี้บ้างหรือไม่
ผู้ฟัง ที่บอกว่ามีตนเป็นเกาะ อะไรคือเกาะ เกาะหรือกรอบ
ท่านอาจารย์ เชิญคุณสุภีร์
อ.สุภีร์ มีตนเป็นเกาะก็คือ เกาะเป็นสถานที่ที่คนสามารถอยู่บนบกได้ ใช่ไหมสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ฉะนั้นจึงให้มีตนเป็นเกาะซึ่งการที่จะมีตนเป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่งได้ก็คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่งนั่นเอง คำว่ามีตนเป็นเกาะ ไม่ใช่มีตนเป็นเกราะ คนละอันกัน มาจากคำว่า อัตตะทีปา หมายถึงว่า มีตนเป็นเกาะก็คือเหมือนกับเกาะของเรา เกาะในมหาสมุทรอะไรอย่างนี้ เป็นพื้นดินขึ้นมา ก็คือเป็นสถานที่ที่ที่ทำให้บุคคลไม่จมลงไปสามารถช่วยเหลือตนเองได้
ผู้ฟัง อยากจะถามคุณอรรณพว่า วันที่พระสารีบุตรปรินิพพานจะเป็นวันลอยกระทงนี้เป็นการบังเอิญหรือว่าเจาะจงที่จะเอาวันปรินิพพานของพระสารีบุตรเป็นวันลอยกระทง
อ.อรรณพ เท่าทราบมาก็ไม่มีเรื่องลอยกระทงในพระไตรปิฏก แต่มีเรื่องปรินิพพานของท่านแล้วก็ไม่ได้แสดงว่าประเพณีลอยกระทงมีมาอย่างไรในพระไตรปิฏก
ผู้ฟัง อยากจะสนทนาต่อกับคุณสุภีร์เรื่องเกาะ มีตนเป็นเกาะ ในที่นี้หมายความว่าเป็นบุญของเราเท่านั้นกุศลจิตของเราเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของเรา อันนี้เกาะอันนี้หมายความถึงอย่างนี้หรือเปล่า เพราะว่าไม่มีตัวมีตน ตนในที่นี้หมายถึงกุศลใช่ไหมกุศลของใครก็ของคนนั้นที่จะเป็นที่พึ่ง
อ. สุภีร์ หมายถึงกุศลขั้นสูง หมายถึงการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เรียกว่ามีตนเป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่งก็คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ได้แก่การอบรมเจริญสติปัฏฐาน
ผู้ฟัง ขอเรียนถามอาจารย์สุจินต์ต่อว่าการที่เจริญสติปัฏฐานในที่นี้ก็หมายความว่าจะต้องมีธรรมในที่นี้ในขณะซึ่งมีชีวิตอยู่เป็นที่พึ่ง อันนี้ประเด็นที่หนึ่ง ประเด็นต่อไปก็คือที่กล่าวเมื่อสักครู่หมายความว่า เมื่อเวลาที่เราตายไปแล้วหรือว่าจะเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติอะไรก็ตาม บุญเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งแก่เรา ไม่ใช่อย่างอื่น เพราะฉะนั้นความหมายของเกาะในที่นี้จะหมายถึงไปอีกชาติหนึ่งด้วย ชาติปัจจุบันด้วยหรือเปล่า เพราะคิดว่าเป็นที่พึ่งในขณะซึ่งเราหมดชาตินี้ไปแล้ว กุศลกรรมที่เราทำเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งหรือบุญเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่ง นอกนั้นจะไม่มีอื่นเป็นที่พึ่งกันเรา ก็เพิ่งทราบเดี๋ยวนี้ว่าในขณะซึ่งมีชีวิตอยู่นั้น การเจริญสติปัฏฐานก็เป็นที่พึ่งได้นี่คือสองประเด็น
ท่านอาจารย์ คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่า มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง เพราะว่าถึงเราจะมีกุศลสักเท่าไร แต่ว่าถ้ากุศลนั้นยังเป็นไปในสังสารวัฎฏ์ก็คือจะต้องมีการเกิด และก็มีการตายไม่สิ้นสุด เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้ทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ตรัสรู้หนทางที่จะทำให้ไม่ต้องมีการเกิด เพราะเหตุว่าถ้ามีการเกิด ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ เราได้อะไร ความรู้สึก เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวโศก แล้วก็ต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องคิดนึก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในขณะแล้วก็หมดไปไม่เหลือเลย
เพราะฉะนั้นที่จะมีสิ่งที่เป็นที่พึ่งจริงๆ ในพระพุทธศาสนาก็คือมีปัญญาที่สามารถรู้ความจริงของสภาพธรรมที่จะทำให้เป็นเกาะเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง เพราะเหตุว่ากุศลอื่นๆ ก็ทำให้เกิด ตาย วนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์
ผู้ฟัง เป็นเกาะนี้ก็อธิบาย มันก็ต้องมีเกาะเล็ก เกาะใหญ่ ถ้าเกาะเล็กเรามีสิทธิ์มีโอกาสที่จะจมน้ำอีก ถ้าหากว่าเราจะสะสมกุศลนี้เมื่อไรจะใหญ่โตจนกระทั่งไม่จมน้ำตาย
ท่านอาจารย์ ก็เป็นการอบรมเจริญปัญญาจากการฟังเข้าใจ และก็มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมจนประจักษ์แจ้ง
ผู้ฟัง ฟังเหมือนกับว่าพระสารีบุตรท่านกล่าวเตือนบอกว่าเหมือนกับไม่ประมาท ท่านกล่าวแค่นี้เองแล้วก็ทุกคนเข้าใจว่าความประมาทคืออะไร
ท่านอาจารย์ ขณะที่ประมาท ขณะนั้นกุศลจิตไม่เกิด
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 061
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 062
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 063
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 064
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 065
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 066
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 067
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 068
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 069
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 070
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 071
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 072
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 073
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 074
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 075
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 076
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 077
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 078
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 079
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 080
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 081
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 082
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 083
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 084
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 085
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 086
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 087
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 088
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 089
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 090
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 091
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 092
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 093
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 094
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 095
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 096
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 097
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 098
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 099
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 100
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 101
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 102
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 103
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 104
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 105***
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 106
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 107
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 108
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 109
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 110
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 111
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 112
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 113
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 114
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 115
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 116
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 117
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 118
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 119
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 120