สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 095
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๙๕
วันจันทร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
ผู้ฟัง ฟังเหมือนกับว่าท่านพระสารีบุตรท่านกล่าวเตือนบอกว่าเหมือนกับไม่ประมาท ท่านกล่าวแค่นี้เองแล้วก็ทุกคนเข้าใจว่า ความประมาทคืออะไร
ท่านอาจารย์ ขณะที่ประมาทคือขณะนั้นกุศลจิตไม่เกิด แล้วถ้าเป็นกุศลที่เป็นไปในสังสารวัฎฏ์ก็ยังคงประมาทอยู่เพราะเหตุว่ายังต้องเกิดอีกต่อไป และจะเกิดตายอยู่เรื่อยๆ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นการเจริญสติปัฏฐานนี้จะเป็นทางเดียวใช่ไหมที่จะไม่ทำให้เกิดอีกในที่สุด
ท่านอาจารย์ เป็นหนทางอบรมซึ่งชาวพุทธมักจะใช้คำว่าปฏิบัติ แต่ความจริงก็คือการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นการไปทำอะไร เพราะเหตุว่าปัตติ (ปัด-ติ) ซึ่งคนไทยคิดว่าปฏิบัติแล้วก็เข้าใจว่าทำ ความจริงโดยศัพท์ความว่า ปฏิ คือ เฉพาะ ปัตติแปลว่า ถึง เพียงคำแปลว่าปฏิปัตติ ถึงเฉพาะ เราก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ถ้าเราไม่ได้ศึกษาพระธรรม แต่เมื่อศึกษาพระธรรมแล้ว เราก็ทราบว่าขณะนี้ไม่ใช่เรา เป็นธรรมซึ่งเป็นอนัตตา เกิด และดับอย่างรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้นจะถึงลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมไม่ใช่โดยขั้นเพียงการฟังเรื่องราวของสภาพธรรม แต่ว่าสามารถที่จะระลึกคือรู้ลักษณะแต่ละลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ และก็สามารถประจักษ์แจ้งตามความเป็นจริงได้นั้นถึงจะเป็นปัตติ เพื่อที่จะถึงปฏิเวทคือการแทงตลอดลักษณะของสภาพธรรมนั้นตามความเป็นจริงจนสามารถที่จะดับกิเลสได้ ปฏิบัตินี้ไม่ใช่เรา ขณะนี้ที่กำลังนั่งอยู่นี้เป็นเราขณะไหนบ้าง หรือว่าไม่มีเราแต่เป็นธรรม
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ รู้เมื่อไรว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง รู้เพราะฟังคำสอน
ท่านอาจารย์ ขณะนี้เป็นธรรม อะไรที่รู้แล้ว ยังไม่รู้เลยสักอย่างเดียวเพียงแต่ฟังเรื่องราวของสภาพธรรมเท่านั้นเอง ฟังขณะนี้เป็นเรื่องธรรมแต่ว่ายังไม่ถึงเฉพาะลักษณะหนึ่งลักษณะใดของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นขณะนี้จึงไม่ใช่ปฏิปัตติ แต่บุคคลใดก็ตามที่เมื่อฟังแล้วขณะนั้นสติก็เกิด สติเท่านั้นที่สามารถจะถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมแต่ละลักษณะที่กำลังปรากฏ ขอเชิญคุณสุภีร์กล่าวถึงเรื่องวันเพ็ญในพระวินัยสักเล็กน้อย และเราก็จะได้กล่าวถึงเรื่องที่ค้างไว้ตั้งแต่คราวก่อน
อ. สุภีร์ ก็ได้กล่าวความสำคัญของวันเพ็ญเดือน ๑๒ ซึ่งเป็นความสำคัญมากอย่าง หนึ่งก็คือวันปรินิพพานของท่านพระสารีบุตรซึ่งเป็นพระอัครสาวก ที่จะกล่าวก็จะกล่าวเรื่องที่เกี่ยวกับพระวินัยบ้าง และเกี่ยวกับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างที่เกี่ยวเนื่องกับวันเพ็ญเดือน ๑๒ ในพระวินัยมีหลายๆ เรื่องด้วยกันที่เกี่ยวเนื่องกับวันเพ็ญเดือน ๑๒ ถ้าท่านใดที่เข้าวัดบ่อยก็อาจจะพอทราบบ้างว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับพระวินัยของพระภิกษุที่เกี่ยวกับวันเพ็ญเดือน ๑๒ ก็ขอกล่าวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน แล้วจะกล่าวไปถึงพระภิกษุทั้งหลายว่ามีความสำคัญอย่างไรในวันเพ็ญเดือน ๑๒ พระอรหันตตสัมมาสัมพุทธเจ้านี้มีการประพฤติปฏิบัติที่เป็นอาจิณอยู่หลายอย่างด้วยกันเรียกว่าพุทธา อาจิณณ พุทธาก็คือพระพุทธเจ้า อาจิณณก็คือความประพฤติที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ เรียกว่าพุทธาอาจิณณหมายถึงสิ่งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำ มีหลายๆ อย่างด้วยกันอย่างหนึ่ง ก็คือการเสด็จจาริกไปโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายเมื่อออกพรรษาเรียบร้อยแล้วนั่นเอง ซึ่งการเสด็จจาริกของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านี้จะเสด็จเป็นวงรอบก็คือเริ่มต้นออกจาริกแล้วก็เมื่อถึงหน้าเข้าพรรษาอีกครั้งหนึ่งก็จะเข้าพรรษาในที่ใดที่ หนึ่งที่ทรงเห็นว่าสมควรโดยเดินทางเป็นวงกลม เรียกว่ามณฑล อาจจะไม่กลมเท่าไรแต่ว่าอาจจะเป็นวงรี หรืออะไรก็ตามแต่เป็นเส้นวงรอบเรียกว่ามณฑล ซึ่งมณฑลในการจารีกของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านี้มีอยู่ ๓ อย่างก็คือ หนึ่ง มหามณฑลได้แก่มณฑลใหญ่ สอง มัชฌิมะมณฑลได้แก่มณฑลปานกลาง แล้วก็ ๓ อัลติมณฑลมณฑลขนาดเล็กก็คือใหญ่ กลาง เล็กนั่นเอง ถ้าเป็นมณฑลขนาดใหญ่วัดโดยรอบของมณฑลแล้วได้ประมาณ ๙๐๐ โยชน์ หนึ่งโยชน์ก็ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ทุกท่านก็ลองคำนวณดูว่า ในการจาริกคราวหนึ่ง คราวหนึ่ง ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ไปโปรดเวไนยสัตว์กินระยะทางมากน้อยขนาดไหน ถ้าเป็นมัชฌิมะมณฑล มณฑลขนาดกลางจะสิ้นระยะทาง ๖๐๐ โยชน์ ถ้าเป็นอัลติมณฑล มณฑลขนาดเล็กจะสิ้นระยะทางโดยประมาณ ๓๐๐ โยชน์ ซึ่งเมื่อจำพรรษาเรียบร้อยแล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าพระองค์ประสงค์จะเสด็จจาริกในมหามณฑล ก็คือเสด็จจาริกมณฑลใหญ่นี้ พระองค์จะปวารณาในวันออกพรรษาพอดีก็คือ วันเพ็ญเดือน ๑๑ เรียกว่าวันมหาปวารณาแล้วหลังจากนั้นก็เสด็จจาริกไปพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย แต่ในคราวใดก็ตามที่พระองค์ทรงเห็นว่าอินทรีย์ของภิกษุทั้งหลาย หรือว่าสมถวิปัสสนาของภิกษุทั้งหลายยังไม่เจริญพอ หรือว่ายังไม่มีเวไนยสัตว์ที่พระองค์จะไปโปรดในทางข้างหน้า อินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นยังไม่แก่กล้า พระองค์ก็ทรงรอไว้แล้วก็เลื่อนวันปวารนามาเป็นวันคล้ายวันพรุ่งนี้นั่นเองก็คือวันเพ็ญเดือน ๑๒ เพื่อจะได้เสด็จออกจาริกเป็นมัชฌิมะมณฑล ฉะนั้นความสำคัญที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประพฤติปฏิบัติเป็นอาจิณเรียกว่าพุทธาจิณณอย่างหนึ่ง ในวันคล้ายในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ก็คือพระองค์จะปวารณาแล้วก็เสด็จออกจาริกในอาณาเขตที่เป็นมัชฌิมะมณฑล ในกรณีที่ในระหว่างพรรษานั้นที่ภิกษุทั้งหลายที่จะตามเสด็จยังมีอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ซึ่งการเสด็จจาริกของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายเพื่อแสดงธรรมแก่พระภิกษุทั้งหลายตามเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วก็เพื่อบัญญัติพระวินัยต่างๆ ซึ่งเรื่องราวการเสด็จจาริกตามที่ต่างๆ ก็จะปรากฏในพระสูตรแล้วก็ในการบัญญัติสิกขาบทต่างๆ นั่นเอง เรื่องเหล่านี้ก็มาจากเรื่องที่เกิดขึ้นในการเสด็จจาริกไปตามที่ต่างๆ ฉะนั้นในวันพรุ่งนี้ก็เป็นวันคล้ายวันหนึ่ง วันคล้ายวันสำคัญวันนี้ก็คือวันที่พระหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปวารณาแล้วก็เสด็จจาริกด้วยมณฑลที่เรียกว่ามัชฌิมณฑล เป็นมณฑลปานกลาง คำว่ามณฑลก็เป็นลักษณะที่เป็นวงกลม ทุกท่านก็คงจะได้ยินคำว่ามณฑลของพระจันทร์ มณฑลของพระอาทิตย์ ใช่ไหม ก็หมายถึงว่าวงกลมของพระจันทร์นั้นเรียกว่ามณฑลของพระจันทร์ ถ้าใช้คำว่ามณฑลก็หมายถึงว่าอะไรก็ตามที่คล้ายๆ เป็นวงกลม สิ่งนี้ก็เป็นความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อไปผมจะกล่าว ความสำคัญของวันเพ็ญเดือน ๑๒ ที่เกี่ยวเนื่องกับภิกษุทั้งหลาย การเข้าพรรษาของภิกษุทั้งหลายนี้จะมีอยู่ ๒ แบบ ก็คือเข้าพรรษาต้นกับเข้าพรรษาหลัง เข้าพรรษาต้นก็คือเข้าในเดือน ๘ เข้าในพรรษาหลังก็คือเขาในเดือน ๙ ถ้าเข้าพรรษาต้น วันออกพรรษาของภิกษุเหล่านั้นก็จะเป็นวันเพ็ญเดือน ๑๑ นี้ก็เป็นวันออกพรรษาของภิกษุทั้งหลายตามปกติ แต่ถ้าภิกษุเราได้ที่เข้าพรรษาในตอนหลังเพราะเหตุว่าเข้าพรรษาไม่ทันก็ตาม หรือว่าหาสถานที่มุ่งที่เข้าพรรษาไม่ได้ก็ตามก็เข้าพรรษาในเดือน ๙ เวลาออกพรรษาของภิกษุเหล่านั้นก็จะเป็นวันเพ็ญเดือน ๑๒ ซึ่งก็คือวันพรุ่งนี้นั่นเอง วันพรุ่งนี้ก็เป็นวันออกพรรษาอีกวันหนึ่งของเหล่าภิกษุท่านที่เข้าพรรษาหลัง นี้ก็เป็นความสำคัญของพระภิกษุ และภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนในอาวาสใดอาวาสหนึ่ง ก็จะมีอานิสงส์ของการจำพรรษาด้วย หลังจากออกพรรษามาแล้ว จะมีหน้าสำหรับให้ภิกษุผลัดเปลี่ยนจีวรได้เรียกว่ากาละ มีเวลา ๑ เดือนตั้งแต่แรม ๑ ค่ำนั่นเอง หลังจากวันเพ็ญเดือน ๑๑ มาจนกระทั่งถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ ระยะหนึ่งเดือนตรงนี้ เรียกว่ากาละจีวร หรือว่าจีวรกาล เป็นหน้าหรือว่าฤดูกาลที่ภิกษุจะหาจีวรสำหรับผัดเปลี่ยนได้ เป็นพุทธานุญาตพิเศษไว้เป็นกาลสำหรับการผลัดเปลี่ยนจีวร นี่เป็นกาลจีวรโดยทั่วไปของพระภิกษุที่อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนเรียบร้อยแล้ว แล้วก็ประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ในช่วง ๑เดือนนี้ซึ่งจะหมดเขตในวันเพ็ญเดือน ๑๒ สำหรับในประเทศไทยแล้วก็รู้สึกจะนิยมประเพณีนี้กันมาก ก็คือ กฐินนั่นเอง ซึ่งกฐินนี้เป็นพุทธานุญาตพิเศษที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้สำหรับภิกษุทั้งหลาย เพื่อเป็นการช่วยทำจีวรสำหรับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ในระยะเวลาตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ หลังจากออกพรรษามาแล้ว จนกระทั่งถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ซึ่งก็คือวันพรุ่งนี้เป็นวันสุดท้ายของการที่จะเป็นกำหนดในการทำกฐินนั่นเอง ถ้าในอาวาสได้มีการทำกฐิน วันพรุ่งนี้ก็จะเป็นวันสุดท้าย ซึ่งระยะเวลาในการทำกฐิน หรือว่าสังฆกรรมที่เรียกว่ากฐินนี้ก็มีระยะเวลา ๑ เดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว การทำกฐินก็เป็นพระพุทธานุญาตพิเศษที่พระองค์ทรงอนุญาตสำหรับภิกษุที่อยู่ร่วมกันในอาวาสใดอาวาสหนึ่งเรียบร้อยแล้ว ทั้ง ๓ เดือนมีพรรษาไม่ขาด สามารถที่จะทำจีวรสำหรับภิกษุรูปใดรูปหนึ่งได้กรณีที่มีจีวรชำรุด คำว่าจีวรในภาษาบาลี หมายถึงผ้าทุกอย่าง ผ้า ๓ ผืนที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุทรงไว้เป็นประจำเรียกว่า ไตรจีวร ถ้าเป็นภาษาไทยเรารู้สึกว่าคำว่าจีวรนี้จะหมายถึงผ้าที่ภิกษุท่านใช้ห่มคลุม ใช่ไหม แต่จริงๆ แล้วคำว่าจีวรในภาษาบาลีหมายถึงผ้าทั่วไปนั่นเอง คำว่าจีวรก็แปลตามศัพท์ก็แปลได้ว่า ผ้าที่เกิดจากการรวมกันของผ้าหลายๆ ท่อน เพราะเหตุว่าจีวรของพระภิกษุนี้จะเป็นผ้าที่โดนตัดเป็นท่อน ผ้าที่ถูกเย็บขึ้นมาจากผ้าหลายๆ ท่อนจึงเรียกว่าจีวร
ท่านอาจารย์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของพรรคไตรปิฏกคือพระวินัยปิฏก เพราะเหตุว่าพระไตรปิฏกก็มีทั้งพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม สำหรบวันเพ็ญนี้ จริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องธรรมดาที่พระจันทร์จะเต็มดวงแล้วก็มีการนับเดือนนับปี แต่ว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ ๒๕๔๖ ปีที่ผ่านมาแล้ว จนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ เหตุการณ์นั้นๆ ก็จะไม่กลับมาอีก แต่ละขณะในขณะที่สภาพธรรมนี้มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น และก็ดับไป ก็จะไม่มีการย้อนกลับมาได้อีก แต่ว่าสำหรับชีวิตของบุคคลในครั้งอดีตก็ทำให้เราได้สามารถเข้าใจถึงการสะสมต่างๆ กันของแต่ละคน เพราะว่าในครั้งนั้นทุกคนก็ต้องเกิดเหมือนกัน แต่ว่าจะเกิดอยู่ที่ไหนอย่างไร อาจจะเป็นเพื่อนของนางเรวดีได้ไหม ที่ ในวันที่ท่านถูกเหยียบตายเพราะว่าท่านไปบูชาศพของท่านพระสารีบุตร สำหรับเรวดีก็อยู่บนสวรรค์ แต่ญาติสนิทมิตรสหายของเรวดีจะอยู่ที่ไหนก็ไม่มีใครสามารถที่จะทราบได้ แต่ว่าทุกคนก็จะต้องมีเหตุปัจจัยที่จะเป็นไปที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วก็ไม่เหมือนกันด้วย แลกเปลี่ยนกันก็ไม่ได้ แม้แต่ความคิดในขณะนี้ ความรู้สึกในขณะนี้ทุกอย่างปรุงแต่งละเอียดมากจนกระทั่งเราไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า แม้แต่ความคิดอย่างนี้ ขณะนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ถ้าศึกษาแล้วก็สามารถที่จะทราบได้ว่าต้องมาจากการสะสมสืบต่อของจิต ซึ่งเกิดแบบไม่หยุดเลยตั้งแสนโกฏกัปป์ จิตหนึ่งที่ดับไปก็เป็นปัจจัยให้จิตต่อไปเกิดขึ้น ขณะนี้ก็เป็นอย่างนี้แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกนานแสนนานจนกว่าบุคคลนั้นจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม สามารถที่จะดับกิเลสถึงความเป็นพระอรหันต์ จิตขณะสุดท้ายของพระอรหันต์จึงเป็นปรินิพพาน ไม่มีการที่จะต้องเกิดดับสืบต่ออีกต่อไป
ผู้ฟัง คำว่าปวารณามีความหมายอย่างไร
อ. สุภีร์ คำว่าปวารณา แปลตามศัพท์แปลว่า ยอม คำว่าปวารณาในพระวินัยสำหรับการปวารณาหลังจากออกพรรษาก็คือการยอมให้ เพื่อนภิกษุว่ากล่าวตักเตือนได้ ว่ากล่าวตักเตือนได้ถ้าเห็นทำไม่ดี ได้ยินก็ตามหรือว่ารังเกียจก็ตาม ฉะนั้นการปราวณานาก็คือปวารนาทุกอย่างก็คือถ้าเห็นอะไรไม่ดี หรือว่าได้ยินว่าทำอะไรไม่ดี หรือว่ามีความสงสัยรังเกียจก็ตาม สามารถที่จะว่ากล่าวตักเตือนได้ตามธรรมตามวินัย คำว่าปวารณาก็แปลว่ายอมให้ว่ากล่าวตักเตือน
ท่านอาจารย์ นี้ก็เป็นความบริสุทธิ์ของพระธรรมวินัยซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะสำหรับพระภิกษุเท่านั้น ใครก็ตามที่ได้อ่านพระวินัย ได้ฟังพระวินัย และเห็นว่าสิ่งใดควรที่จะประพฤติตามได้แม้ไม่ใช่พระภิกษุก็ทำได้
ผู้ฟัง แต่เมื่อพูดถึงชาวโลกนี้ ผู้ที่เป็นผู้เตือนบางทีก็เตือนด้วยจิตเป็นกุศลหรืออกุศล ดังนั้นจะเป็นบาปกับผู้เตือน ถ้าเผลอเตือนแล้วมีมานะ
ท่านอาจารย์ ผู้เตือนมีกุศลจิตหรือว่าผู้ได้ถูกเตือนมีอกุศลในจิต
ผู้ฟัง ผู้ที่เตือน บางครั้งก็ทำเป็นเตือนแต่จริงๆ แล้วเตือนด้วยอกุศลจิต อย่างนี้เขาจะยิ่งแย่ใหญ่
ท่านอาจารย์ ใครจะรู้ถ้า นอกจากตัวเองเพราะว่าพระธรรมตรงที่สุด หลอกคนอื่นอาจจะหลอกได้ แต่ว่าหลอกตัวเองคงจะไม่ได้
ผู้ฟัง พระภิกษุที่จำพรรษาแล้ว ๓ เดือนแล้วก็จวนขาด แล้วมีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนตัวได้ในช่วง ในช่วงอาทิตย์นั้น ทีนี้ ในการทอดกฐิน ก็ได้ยินมาว่ามีจีวรมากพอสำหรับภิกษุทุกรูป เหลือในสำนักนั้นหรือเปล่า อย่างนั้นหรือเปล่า ก็ที่เป็นอยู่นั้นก็อาจจะมีแค่ชุด หนึ่ง สองชุดอะไรนี้
อ. สุภีร์ คำว่าทอดกฐินนี้ก็เป็นคำอีกคำหนึ่งที่ไม่น่าจะใช้ เพราะเหตุว่าคำว่าทอดฟังแล้วไม่เข้าใจความหมายอะไร เวลาเอาไปทอดกฐินเหมือนกับอะไรสักอย่างหนึ่ง จริงๆ ในพระไตรปิฏกมีคำว่ากรานกฐิน ไม่มีคำว่าทอดกฐิน คำว่ากรานกฐินฟังแล้วก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน คำว่ากรานก็มาจากคำว่า อัตถระ แปลว่าปูผ้าลง คำว่ากฐินก็แปลว่าไม้สะดึง ไม้สะดึงนี้ก็เป็นไม้เนื้ออ่อนสำหรับทำเป็นโครงในการเย็บจีวรสำหรับพระภิกษุเพราะเหตุว่าภิกษุเป็นผู้ที่ไม่ชำนาญในการเย็บจีวร แล้วจีวรผืนหนึ่งก็มีขนาดใหญ่ ฉะนั้นจึงต้องอาศัยโครงในการเย็บก็มีไม้ที่เนื้ออ่อนแล้วก็เหมาะแก่การทำเป็นโครงเย็บจีวรชื่อว่าไม้สะดึง ไม้สะดึงนี้เรียกว่ากฐิน ส่วนอาการที่ปูผ้าลงเรียกว่ากราน อาการที่ปูผ้าลง คำว่ากรานนี้เป็นภาษาเขมรแปลว่าาปูหรือว่าลากผ้า ก็ปูผ้าลงแล้วก็เย็บทำอะไรให้เรียบร้อย แล้วก็เย็บ ปัก ชุน อะไรให้เรียบร้อยแล้วก็ทำพินทุเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำไปอธิษฐานใช้ได้ วิธีการตรงนี้ทั้งหมด เรียกว่ากราน กรานกฐิน ฉะนั้นคำว่า ทอดกฐินนี่ก็เป็นคำภาษาไทยที่เค้านิยมใช้กัน ซึ่งพิธีการกรานกฐินนี้เป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่ภิกษุในอาวาสนั้นหรือว่าในสีมานั้น ถ้าเป็นเขตสีมาเดียวกันต้องร่วมกันทำทุกรูป ภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไปก็คือมีภิกษุรูปหนึ่งที่เป็นผู้รับกรานกฐิน แล้วอีก ๔ รูปเป็นทรง รวมเป็นอย่างน้อยต้องมี ๕ รูป แต่สำหรับฆราวาส คฤหัสถ์อย่างเราจะไปทอดกฐินหรือว่าไปทำกฐินไม่ได้ เพราะว่ากฐินเป็นสังฆกรรม สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ ถวายผ้าเพื่อกฐิน เรียกว่ากฐินนทุสังฆ์ ผ้าเพื่อกฐิน ฉะนั้นเวลาเราไปทอดกฐิน ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องก็กล่าวได้ว่าไปถวายผ้าเพื่อกฐินเท่านั้นเองเพราะว่ากฐินนี้เป็นสังฆกรรม ฆราวาสไม่สามารถที่จะไปช่วยพระภิกษุทำได้ เหมือนกับว่าทุกวันนี้คำว่าทอดกฐินก็คือไปทำกฐินนั่นเองซึ่งจริงๆ ไม่ถูกต้อง พระภิกษุเท่านั้นจึงจะสามารถทำสังฆกรรมที่เรียกว่ากฐินได้แล้วก็ทำเพื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แล้วก็ทำเพียงผ้าผืนเดียวในผ้าอัลตรวาสกคือผ้าสบง ผ้าอุตราสงค์คือภาษาไทยเราเรียกว่าจีวร ในทุกวันนี้แล้วก็พาสังฆาติคือผ้าห่มซ้อนอีกครั้งนึง ผืนใดผืนหนึ่งเท่านั้น ทำผืนเดียว
ผู้ฟัง ถวายผ้าเพื่อกฐินนี้ ถ้าหากว่าเราจะถวายแค่ชุดเดียวก็คงจะไม่ทั่วถึง สมมติว่าภิกษุที่อยู่ในอาวาสมีหลายรูปอยู่ จวนแต่ละรูปอาจจะขาด ชำรุดหรือพังไปจะว่าเราถวายผ้าก็คงจะอาจจะยังไม่พอความต้องการของหมู่สงฆ์ในวันนั้นหรือไม่
อ. สุภีร์ ในการที่พระภิกษุถ้าเกิดว่าในอาวาสนั้นอยู่จำพรรษาด้วยกันแล้ว ออกพรรษาแล้วจะประสงค์จะมีสังฆกรรมที่เรียกว่ากฐิน ถ้ามีพระภิกษุที่จีวรเก่าหลายรูป มีผ้าเก่าหลายรูปก็ให้เลือกรูปที่มีผ้าที่เก่าที่สุดแล้วเป็นผู้ฉลาดในสังฆกรรมของกฐินด้วย ถ้ารูปนั้นผ้าเก่าก็จริงแต่ว่าเป็นผู้ไม่ฉลาดในสังฆกรรมประเภทนี้เลยก็ไม่ต้องเลือกภิกษุรูปนั้นมา ก็คือ กฐินนี้เป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่เพื่อนภิกษุที่อยู่ในอาวาสนั้นร่วมใจกันทำสำหรับภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่มีผ้าที่เก่าแล้วแล้วก็มีความฉลาดสามารถในสังฆกรรมประเภทนี้ก็คือสามารถที่จะทำผ้าให้เสร็จภายในวันนั้นได้ ส่วนภิกษุรูปอื่นที่ร่วมกันทำผ้าสำหรับภิกษุรูปนั้น หลังจากภิกษุรูปนั้นได้กรานกฐินเรียบร้อยแล้วภิกษุเหล่าอื่นอนุโมทนา ภิกษุรูปอื่นที่เหลือก็เรียกว่าเป็นผู้ได้กรานกฐินด้วยซึ่งก็จะได้รับอานิสงส์กฐินก็คือถ้ามีผ้าที่คฤหัสถ์นำมาถวายเยอะๆ ในขณะนั้นซึ่งในสมัยนี้เราเรียกว่าบริวารกฐิน ใช่ไหม ซึ่งจริงๆ บริวารกฐินไม่มีเพราะว่ากฐินเป็นสังฆกรรม
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 061
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 062
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 063
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 064
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 065
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 066
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 067
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 068
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 069
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 070
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 071
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 072
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 073
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 074
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 075
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 076
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 077
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 078
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 079
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 080
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 081
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 082
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 083
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 084
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 085
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 086
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 087
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 088
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 089
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 090
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 091
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 092
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 093
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 094
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 095
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 096
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 097
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 098
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 099
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 100
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 101
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 102
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 103
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 104
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 105***
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 106
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 107
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 108
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 109
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 110
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 111
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 112
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 113
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 114
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 115
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 116
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 117
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 118
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 119
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 120