สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 106
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๑๐๖
วันจันทร์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ เลือกไม่ได้ใช่ไหม เลือกไม่ได้เลย เห็นแล้วอยากจะให้เป็นกุศลก็เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าจะต้องแล้วแต่การสะสม ซึ่งหลังจากที่เห็นแล้วซึ่งเป็นวิบาก ก่อนที่กุศลจิตหรืออกุศลจิตซึ่งเป็นเหตุจะเกิด ก็จะต้องมีกิริยาจิตเกิดทำโวฏฐัพพนจิตก่อน จิตดวงนี้ก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๑ ดวง ก็คือเป็นสิ่งที่ในพระสูตรไม่ได้กล่าวถึง เพราะเหตุว่าถ้าจะกล่าวถึงโดยละเอียดก็เป็นเรื่องของพระอภิธรรม แต่พระสูตรก็มักจะกล่าวถึงว่าเมื่อเห็นแล้วเป็นความชอบหรือไม่ชอบ เป็นกุศลหรืออกุศล แต่ถ้าโดยความละเอียด ก่อนที่กุศลจิตหรืออกุศลจิตจะเกิดหลังเห็น หลังสัมปฏิจฉันนะ หลังสันตีรณะ ก็จะต้องมีกิริยาจิตเกิดคั่นทำโวฏฐัพพนกิจตามการสะสม ซึ่งต่อจากนั้นจะเป็นกุศล และอกุศลแล้วแต่การสะสมของแต่ละบุคคล ซึ่งเวลาที่เป็นกุศลจิต และอกุศลจิต ก็จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากกว่า ๑๑ ดวง
ผู้ฟัง พิจารณาว่าจิตนี้คือจิตของเรา หรือขณะที่คิดว่าเจตสิกเป็นของเรา รูปก็ของเรา
อ.อรรณพ ขณะที่คิดว่าจิตเป็นของเรา หรือว่าขณะที่คิดว่าเจตสิกเป็นของเรา ขณะนั้นอะไรที่คิด เราคิด หรือว่าสภาพธรรมมีจิตเจตสิกเกิดขึ้นแล้วคิด ที่เรากำลังคิดว่ามีเราที่คิด จริงๆ ในขณะนั้นเป็นจิตที่คิดว่ามีเรา เป็นจิตที่คิดเรื่องว่ามีเรา ไม่ใช่มีสภาพธรรม ถึงจะคิดอย่างนั้นใครจะเห็นผิด ใครจะเห็นถูก ใครจะคิดแตกต่างอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคนจะเห็นว่าสภาพธรรมเป็นอนัตตา ขณะนั้นก็มีสภาพของจิตเจตสิกเกิดขึ้นตรึกพิจารณาถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริง เห็นความสอดคล้องของสภาพธรรมว่าเป็นอนัตตา แต่ถ้าเกิดคิดว่าสภาพธรรมเป็นอัตตา เป็นเราที่คิด เป็นเราที่ทำ ขณะนั้นก็ยังคงเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นคิดนึกเรื่องราว แต่เป็นการคิดนึกเรื่องราวที่ไม่ตรงต่อสภาพธรรมที่ทรงแสดงไว้ เพราะฉะนั้นก็เป็นสภาพของจิตเจตสิกที่คิดถึงเรื่อง ไม่ว่าจิตคิดว่าเรื่องสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน หรืออะไรก็ตาม
เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่ามีเรา ต้องหาให้ได้ว่าอะไรเป็นเรา แต่คิดว่าคำถามนี้คงเป็นจากการที่ยังไม่สามารถที่จะละคลาย หรือเห็นในความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นก็ยังมีความคิดวนกลับไปว่าสภาพธรรมเป็นเราหรือเปล่า ก็เหมือนมีเราที่มานั่งอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นเรื่องที่จะประจักษ์แจ้งเป็นเรื่องหนึ่ง แต่เรื่องที่เข้าใจตามความเป็นจริง แม้ว่าเราจะต้องมีการรู้ในบัญญัติรู้ว่าเป็นใครเป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ แต่เราก็ต้องมีความเข้าใจแม้ว่าจะไม่มีการที่สติจะเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมตรงสภาพธรรมนั้น แต่ความเข้าใจถูกในระดับขั้นต้นมีได้
ท่านอาจารย์ เพราะไม่รู้ก็คิดว่ารูปเป็นเรา อย่างที่กล่าวเมื่อสักครู่นี้ว่าเรานั่งอยู่ที่นี่ใช่ไหม ความจริงอะไรนั่ง นามนั่งได้ไหม จิตเจตสิกนั่งได้ไหม เพราะฉะนั้นจิตเจตสิกไม่ใช่รูป คือการศึกษาธรรมต้องเข้าใจให้ตรงให้ถูกต้องว่า จิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก รูปเป็นรูป เพราะฉะนั้นที่กล่าวว่าเรานั่ง จริงๆ แล้วก็คือว่าเป็นรูปที่ประชุมรวมกันทรงอยู่ตั้งอยู่ในอิริยาบถหนึ่งอิริยาบถใด เพราะฉะนั้นที่คิดว่าเป็นเรา ลักษณะของรูปที่กำลังนั่งอยู่ แท้ที่จริงไม่ใช่เราเลย เกิดดับอยู่ตลอดเวลาด้วย
อ.อรรณพ ตอนนี้เราก็สนทนาควบคู่กันไป ตั้งแต่จิตแต่ละขณะ แต่ละขณะ ตั้งแต่เริ่มเห็น เริ่มได้ยิน จนจะถึงการที่กุศลจิตหรืออกุศลจิตจะเกิดสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ แล้วเราก็ได้สนทนาถึงเจตสิกตั้งแต่สัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้ง ๗ ปกิณกเจตสิก ซึ่งเราสนทนากันมา ๕ ดวงแล้ว ก็เหลืออีกดวงหนึ่ง ก็คือฉันทเจตสิก หลังจากที่โวฏฐัพพนจิตดับไป ซึ่งเป็นจิตที่กระทำทางให้ชวนจิตเกิดขึ้น ซึ่งโวฏฐัพพนจิตต้องมีวิริยเจตสิกเกิดขึ้น เป็นเจตสิกทั้งหมด ๑๑ ดวง ที่จะกระทำทางให้ชวนเกิด ถ้าเป็นผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต ซึ่งถ้าเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิตที่เว้นโมหมูลจิต จิตเหล่านี้คืออกุศลทั้งหมดเว้นโมหะ หรือกุศลจิตทั้งหมด ก็มีสภาพของฉันทะคือเป็นสภาพที่พอใจเกิดเพิ่มเติมขึ้นอีก
ถ้ามีคำถามสงสัยก็คงจะคิดว่าฉันทะต่างอย่างไรกับมนสิการที่ใส่ใจ ดูสภาพธรรมจะคล้ายคลึงกันใช่ไหม เราลองพิจารณาถึงในขณะที่โลภะเกิดขึ้น แม้ยังไม่รู้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเห็นสิ่งที่ดี โดยทั่วไปชวนจิตเป็นอกุศลเป็นโลภะเป็นส่วนใหญ่ ที่จะยินดีพอใจในสิ่งที่น่าใคร่น่ายินดีในขณะนั้น นอกจากโลภเจตสิกซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเราจะได้กล่าวต่อไปในส่วนของอกุศลเจตสิก ขณะนั้นก็มีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วยเป็นสภาพของความยินดีความพอใจเพิ่มเติมเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นฉันทเจตสิกก็เป็นปกิณกเจตสิกซึ่งจะเกิดขึ้นกับจิตบางดวงบางประเภท คือฉันทเจตสิกจะไม่เกิดกับอเหตุกจิตทั้ง ๑๘ และไม่เกิดกับโมหมูลจิต ๒ ดวง จิตนอกนั้นก็มีฉันทเจตสิกเกิด
ท่านอาจารย์ ฉันทเจตสิกเป็นเจตสิกซึ่งภาษาไทยก็ใช้คำนี้ แล้วแต่ฉันทะ ก็คงจะได้ยินบ่อยๆ ฉันทะเป็นสภาพธรรมที่พอใจที่จะกระทำ ใครมีฉันทะทางให้ทาน ใครมีฉันทะทางการศึกษา หรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าฉันทเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่พอใจที่จะกระทำ การให้มีหลายอย่างใช่ไหม จะให้ผู้ที่สูงอายุ คนชรา หรือจะให้เด็กนักเรียน หรือจะให้อะไรก็แล้วแต่ ทั้งหมดแล้วแต่ฉันทะ เพราะฉะนั้นคำนี้ก็คล้ายกับความหมายในภาษาไทย แต่ลักษณะของฉันทะจะคล้ายๆ กับลักษณะของโลภะ แต่ต่างกันที่ว่า โลภะเป็นความติดข้อง แต่ฉันทะเป็นความพอใจที่จะกระทำ เพราะฉะนั้นฉันทเจตสิกจะเกิดได้ทั้งกับกุศลจิต และอกุศลจิต เวลาที่เราไปตลาดหรือไปร้านที่มีของขายหลายอย่าง จะเห็นฉันทะของเราไหม ไปด้วยกัน ๓ คน คนหนึ่งอาจจะเดินไปทางซ้าย อีกคนอาจจะเดินไปทางขวา หรือว่าเวลาที่เราจะไปเลือกซื้อสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามแต่ ขณะนั้นเราก็มีความต้องการ แต่ว่าฉันทะของเราพอใจในสิ่งไหน
เพราะฉะนั้นแม้แต่การกระทำของเราในวันหนึ่งวันหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการคิดหรือว่าการกระทำทางกายทางวาจา ก็มีฉันทะซึ่งเป็นสภาพธรรมที่สะสมมาที่จะพอใจ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งกับกุศลจิต และอกุศลจิต แต่สำหรับโลภะความติดข้อง เกิดได้เฉพาะกับอกุศลจิตเท่านั้น เพราะฉะนั้นทั้งหมดที่เคยเป็นเรา ก็คือจิตเจตสิกซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม และเป็นรูป เพราะฉะนั้นลองคิด ธรรมเป็นเรื่องที่น่าคิดมากเลย
ขณะที่เห็นจักขุวิญญาณเลือกได้ไหมที่จะเห็นอะไร เลือกไม่ได้ ไม่เหมือนกับพอใจในวัตถุสิ่งของ ซึ่งมีหลายอย่าง แม้แต่ดินสอหรือเสื้อผ้าก็ยังเลือกสีตามฉันทะที่สะสมมา แต่สำหรับจิตเห็นเลือกไม่ได้เลย แล้วแต่ว่าขณะนั้นมีอารมณ์อะไรกระทบกับจักขุปสาท
ด้วยเหตุนี้ขณะใดที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสสิ่งที่ไม่น่าพอใจ เป็นผลของกรรมที่เลือกไม่ได้เลย แล้วแต่ว่าถึงกาลที่กรรมใดจะให้ผล ก็มีจิต และเจตสิกนั้นๆ ซึ่งเป็นผลของกรรมเกิดขึ้นทำกิจต่างๆ แต่เวลาที่เป็นจิตอื่น เช่นกุศลหรืออกุศลจะมีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ หรือแม้แต่ปัญจทวาราวัชชนะก็จะเลือกไม่ได้อีก เพราะว่าจะต้องเป็นการได้รับผลของกรรม เวลาที่ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิด ก็คือรู้ว่าอารมณ์กระทบ และหลังจากนั้นผลของกรรมก็เกิดขึ้น จิตเห็นเป็นผลของกรรม จิตได้ยินเป็นผลของกรรม ซึ่งก็เลือกไม่ได้ แม้แต่มโนทวาราวัชชนะ หรือโวฏฐัพพนะที่เกิดก่อนกุศล และอกุศล ก็ไม่สามารถที่จะเลือกว่าจะให้เป็นกุศล เพราะว่าถึงแม้ว่าจักขุวิญญาณดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนะเกิด สันตีรณะเกิดต่อ โวฏฐัพพนะก็เลือกไม่ได้ที่จะให้กุศลจิตเกิด หรืออกุศลจิตเกิด เพราะเหตุว่าเป็นจิตที่เพียงทำกิจก่อนที่กุศลจิตหรืออกุศลจิตจะเกิดขึ้นตามการสะสม เพราะฉะนั้นก็จะเห็นความเป็นอนัตตาว่า จิตเหล่านี้ไม่มีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ว่าจิตอื่นก็จะมีเจตสิกเพิ่มขึ้น และก็มีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วยได้
เจตสิกเป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งจิต เพราะเหตุว่าจิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นลักษณะของจิต จะมีลักษณะที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ แต่จิตก็ไม่จำ และก็ไม่รู้สึก ไม่เป็นโลภะ ไม่เป็นโทสะ ลักษณะที่ปรุงแต่งจิตทำให้จิตต่างกันในวันนี้ทั้งหมด ก็คือเจตสิก ซึ่งเจตสิกทั้งหมดนี้ก็มี ๕๒ ประเภท เป็นประเภทต่างๆ คืออัญญสมานาเจตสิก โดยศัพท์ก็หมายความถึงเจตสิกที่เสมอกับเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมกัน ในบรรดาเจตสิกทั้งหมด ๕๒ ประเภทเป็นอัญญสมานาเจตสิกหมายความว่า เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตได้ทุกประเภท ๑๓ ดวง แล้วก็เป็นอกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง แล้วก็เป็นโสภณเจตสิก
ก่อนอื่นก็ควรที่จะได้ศึกษาเรื่องของเจตสิกตามลำดับ คือเรื่องของอัญญสมานาเจตสิก เพราะเหตุว่าเจตสิกนี้เกิดกับจิตได้ทั่วไป ก่อนที่จิตจะเป็นกุศลหรือเป็นอกุศลจะต้องมีเจตสิกนี้เกิดร่วมด้วย และสำหรับอัญญสมานา ๑๓ ก็แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ซึ่งต้องเกิดกับจิตทุกประเภทไม่เว้นเลย ส่วนอีก ๖ ดวงนั้นเป็นปกิณกเจตสิกหมายความว่า เว้นไม่เกิดกับจิตบางประเภท เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ก็จะต้องมีอัญญสมานาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่สำหรับเจตสิก ๗ ดวงซึ่งเกิดเป็นสัพพจิตตสาธารณะนั้นต้องเกิดกับจิตทุกดวง จิตซึ่งมีสัพพจิตตสาธารณเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ดวง ได้แก่จิต ๑๐ ดวงเท่านั้น
สำหรับวันนี้ก็จะขอทบทวนเรื่องของอัญญสมานาเจตสิก ทั้งสัพพจิตตสาธารณเจตสิก และปกิณกเจตสิก ซึ่งถ้าท่านผู้ใดมีข้อสงสัยในเรื่องใดก็ขอเชิญซักถามเพื่อความแจ่มแจ้ง ทบทวนเรื่องของสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ โดยชื่อก่อน
อ.ประเชิญ เจตสิก เป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิตเกิดดับพร้อมจิต อาศัยวัตถุเดียวกันกับจิต เป็นสัมปยุตธรรมซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งจิตด้วย เพราะฉะนั้นจิตจึงวิจิตรด้วยอำนาจของสัมปยุตตธรรม คือเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยกับจิตนั่นเอง ในอัญญสมานาเจตสิกทั้ง ๑๓ ประเภท ก็ประกอบด้วยสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ซึ่งก็จะมี ๗ ประเภท และปกิณกเจตสิกอีก ๖ ประเภท รวมแล้วเป็น ๑๓ ประเภท ใน ๑๓ ประเภทนั้น ก็ประกอบด้วยผัสสเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่กระทำหน้าที่กระทบอารมณ์ เวทนาเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่รู้สึก หรือเสวยอารมณ์นั่นเอง สัญญาเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่จำอารมณ์ เจตนาเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่จงใจ หรือกระตุ้นเตือนสัมปยุตตธรรมทำหน้าที่ของตน เอกัคคตาเจตสิกเป็นเจตสิกที่มีลักษณะที่เป็นหนึ่ง มีการตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวเป็นลักษณะ ชีวิตินทริยเจตสิกก็เป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง ที่จะอนุบาลรักษาสัมปยุตตธรรมที่เกิดร่วมกับตน และมนสิการเจตสิกเป็นเจตสิกที่กระทำหน้าที่ใส่ใจในอารมณ์ เหล่านี้เป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิกซึ่งจะเกิดร่วมกับจิตทุกๆ ประเภทเลยไม่เว้นเลย เมื่อมีจิตเกิดขึ้นเจตสิกเหล่านี้ก็จะเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง
เจตสิกประเภทต่อมา คือ ปกิณกเจตสิกประกอบด้วยวิตกภาษาบาลีก็คือวิตักกะ เป็นเจตสิกที่กระทำหน้าที่จรดในอารมณ์ บางครั้งท่านก็จะแปลว่ายกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือจรดในอารมณ์นั่นเอง วิจารเจตสิกก็เป็นสภาพธรรมที่ประคอง เมื่อมีการจรดในอารมณ์ แล้วก็มีเจตสิกอีกประเภทหนึ่งประคองหรือเคล้าอารมณ์ เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับวิตกเจตสิกในกามาวจรจิต ก็จะเกิดด้วยกันทุกครั้งเลย อธิโมกขเจตสิก เป็นเจตสิกที่ปักใจในอารมณ์ วิริยเจตสิก ซึ่งในภาษาไทยก็ทราบแล้วว่าเป็นเจตสิกที่กระทำหน้าที่พยายามหรือเพียรในหน้าที่ของตน ปีติเจตสิกเป็นสภาพที่อิ่มใจสภาพที่อิ่มเอิบ เจตสิกสุดท้ายในอัญญสมานาก็คือฉันทเจตสิกมีลักษณะที่พอใจหรือว่าใคร่เพื่อจะทำ เหล่านี้เป็นคำแปลที่โดยทั่วไปท่านแปลกัน
ผู้ฟัง วิริยเจตสิกแปลเหมือนกับว่าขยันหมั่นเพียรบากบั่นไม่ท้อถอย ตรงนี้เหมือนกับว่าคำแปลนี้จะอยู่กับในวิริยะฝ่ายดีใช่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ วิริยะกับฝ่ายไม่ดีนี้จะใช้คำว่าอะไร
อ.ประเชิญ เพียร ก็ทราบอยู่แล้วว่าโดยทั่วไปผู้ที่เพียรทำดีก็มี ผู้ที่เพียรทำไม่ดีก็มี เพราะฉะนั้นความเพียรก็มีทั้งความเพียรที่ดี และไม่ดี แต่โดยทั่วไปเวลาท่านอธิบายในอรรถกถา สภาพที่ประคองหรือค้ำจุน มีการประคองหรือค้ำจุนเป็นลักษณะ ซึ่งท่านเปรียบเหมือนกับเรือนเก่าที่จะล้มแล้วต้องอาศัยไม้มาค้ำไว้ เปรียบเหมือนกับวิริยะที่มาประคอง สภาพที่ค้ำจุนหรือประคองตรงนั้นเป็นวิริยะ
ท่านอาจารย์ เจตสิก แม้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง แต่ไม่ใช่ว่าเราสามารถที่จะรู้ได้เข้าใจได้ เป็นแต่เพียงว่าเริ่มที่จะรู้ว่าจิตที่จะเกิด ก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อยที่สุด ๗ ดวง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถที่จะรู้ลักษณะของเจตสิกจริงๆ โดยละเอียด เช่น ถ้ากล่าวถึงสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง เจตสิก ๗ ดวงนั้นมีเจตสิกไหนบ้างที่เราสามารถที่จะรู้ได้ในขณะนี้ ผัสสเจตสิกรู้ได้ไหม มีท่านผู้ฟังที่ท่านกล่าวว่ารู้ได้พยักหน้า แต่ว่าตามความจริงขณะนี้มีจิตเห็นเกิด เห็นเป็นธาตุรู้ซึ่งมีผัสสเจตสิกกระทบสิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะที่ได้ยินสั้นมากเลย ก็เป็นลักษณะของนามธรรมคือจิตที่เกิดขึ้นเป็นธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้เสียงที่ปรากฏ ไม่ว่าเสียงนั้นจะเป็นเสียงอะไรก็ตาม แต่ผัสสเจตสิกกระทบเสียง แล้วจะรู้ไหมขณะที่ผัสสะกระทบแล้วจิตได้ยินก็เกิดขึ้นได้ยินเสียง แต่สามารถที่จะเข้าใจได้ว่าขณะนี้ไม่ว่าอะไรปรากฏ เพราะจิตเกิดพร้อมผัสสเจตสิกที่กระทบอารมณ์นั้น อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้
เพราะฉะนั้นสำหรับสัพพจิตตสาธารณเจตสิก เราเพียงเข้าใจว่าจิตเกิดพร้อมกับผัสสเจตสิก และจิตก็รู้สิ่งที่ผัสสเจตสิกกระทบ ถ้าขณะนี้กำลังรู้แข็ง ก็เพราะว่าผัสสเจตสิกกระทบ แล้วจิตที่เกิดพร้อมผัสสะนั้นก็รู้ลักษณะที่แข็งซึ่งผัสสะกระทบ ทั้งหมดเป็นนามธรรม ก็ยากที่ว่าจะรู้ได้ว่าขณะหนึ่ง ซึ่งจิตเกิดจะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าใด เพราะฉะนั้นผัสสะนี้ก็รู้ยาก เพราะเหตุว่าแม้มีผัสสเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ ต้องรู้ลักษณะของจิตว่าไม่ใช่ผัสสเจตสิก แต่ว่าทั้งสองอย่างก็เกิดพร้อมกันอย่างรวดเร็ว
สัญญาเจตสิกพอจะจำได้ใช่ไหม พอจะเข้าใจได้ขณะนี้ที่จำได้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ใช่เราเลย แต่ว่าเป็นเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตทุกดวง ทำให้ขณะนี้กำลังจำรู้ว่ามีอะไรกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นเราวันหนึ่งวันหนึ่งก็ผ่านไป เพราะว่าตั้งแต่ตื่นนอนทำกิจการงานต่างๆ เราก็สามารถที่จะจำทุกอย่างได้ แต่ขณะนั้นไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นสัญญาเจตสิก
สำหรับเวทนาเจตสิกก็เป็นสภาพที่รู้สึก ก็พอจะรู้ได้ แต่รู้ด้วยความเป็นเรา วันนี้สบาย สบายใจ หรือวันนี้ขุ่นใจ ลักษณะของความขุ่นเคืองความไม่สบายใจก็เป็นลักษณะที่มี เพราะฉะนั้นพระธรรมเป็นสิ่งซึ่งแม้ว่าได้ยินได้ฟังว่ามีอะไรมากเท่าไหร่ แต่ก็ต้องค่อยๆ เข้าใจทีละเล็กทีละน้อยโดยที่ว่าไม่ต้องไปท่องจำเลย เช่น ผัสสะเป็นเจตสิกที่กระทบอารมณ์ เวทนาเป็นเจตสิกที่รู้สึกอารมณ์ สัญญาเป็นเจตสิกที่จำอารมณ์ เจตนาเจตสิกก็เกิดกับจิตทุกประเภททุกขณะ เพราะฉะนั้นขณะที่จิตเห็นก็มีเจตนาเจตสิกซึ่งขวนขวายกระตุ้นสหชาตธรรมให้กระทำกิจ เพราะว่าเป็นหน้าที่ของเจตสิกเฉพาะอย่างเฉพาะอย่างซึ่งจะต้องเกิดร่วมกัน นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งทบทวน เจตสิกบางเจตสิกพอจะรู้ได้ แต่ไม่ใช่ว่าเราสามารถที่จะรู้เจตสิกได้ทั้งหมด
ผู้ฟัง พูดถึงสัญญาเจตสิก ที่บอกว่าเป็นความจำแต่ทำไมเมื่อสักครู่ดิฉันเดินทางมา ก็เจอเชือกแต่นึกว่าเป็นงู ตรงนี้อย่างไร เพราะสัญญาจะจำ ก็ไม่ใช่ลักษณะของการจำผิด การที่จำผิดนั่นเกี่ยวกับอะไร
ท่านอาจารย์ คือพระธรรมที่ทรงแสดงไม่เปลี่ยน ถ้ากล่าวว่าสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง ต้องเกิดกับจิตทุกประเภท ต้องเป็นความจริง จะเปลี่ยนไม่ได้เลย จำงู จำหรือเปล่า จะจำอะไรก็แล้วแต่ จะคลาดเคลื่อน หรือว่าวิปลาสอย่างไรก็ตามแต่ แต่ว่าขณะนั้นก็มีความจำแล้ว คือจำเป็นงู ไม่ใช่จำเป็นเชือก ก็ต้องมีจำ ต้องมีสัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 061
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 062
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 063
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 064
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 065
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 066
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 067
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 068
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 069
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 070
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 071
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 072
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 073
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 074
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 075
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 076
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 077
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 078
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 079
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 080
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 081
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 082
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 083
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 084
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 085
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 086
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 087
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 088
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 089
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 090
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 091
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 092
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 093
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 094
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 095
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 096
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 097
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 098
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 099
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 100
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 101
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 102
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 103
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 104
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 105***
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 106
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 107
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 108
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 109
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 110
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 111
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 112
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 113
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 114
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 115
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 116
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 117
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 118
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 119
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 120