สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 118
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๑๑๘
วันจันทร์ที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ ซึ่งในขณะนี้จักขุวิญญาณเกิดหนึ่งขณะ สัมปฏิจฉันนะเกิดหนึ่งขณะ สันตีรณะเกิดหนึ่งขณะ โวฏฐัพพนะเกิดหนึ่งขณะ ถ้าเป็นอกุศล ๗ ขณะ มากกว่าเห็น ๗ เท่า ที่การเห็นเหมือนกับว่าไม่ได้ดับเลย เพราะฉะนั้นเรื่องของอกุศลประมาทไม่ได้ แต่ขณะนี้ที่เป็นกุศลก็ ๗ เท่าเหมือนกัน แต่ว่า ๗ เท่าของกุศลในห้องนี้ ทันทีที่พ้นจากห้องนี้ไปก็ไม่ทราบว่า ๗ ขณะต่อๆ ไปจะเป็นอะไร ก็เป็นเรื่องตรง ธรรมทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจเราเอง แล้วก็เข้าใจทุกคน และสามารถที่จะรู้ว่าชาตินี้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ประโยชน์สูงสุดคืออะไร คงไม่ใช่ทรัพย์สมบัติเงินทอง เพราะเหตุว่าไม่มีใครเอาติดตามไปได้ แต่ต้องเป็นความเห็นถูกความเข้าใจถูกในสภาพธรรม ซึ่งวันหนึ่งก็สามารถที่จะทำให้เราหยั่งถึงลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมที่เกิดดับได้
ผู้ฟัง ช่วยขยายผ้าเช็ดตัวในห้องน้ำว่าทุจริตเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ บางคนไม่ได้มีห้องน้ำส่วนตัวคนละคนใช่ไหม ก็อาจจะมีผ้าเช็ดตัวหลายผืนในห้องน้ำ ถ้าจะเป็นของสามีหนึ่งผืน ของภรรยาหนึ่งผืนก็ได้ใช่ไหม หรือของแม่หนึ่งผืน ของลูกหนึ่งผืนก็ได้ ของพี่หนึ่งผืน ของน้องหนึ่งผืนหรืออะไรก็ได้ ก็ลองดู เวลาล้างมือเสร็จแล้วจะเช็ดผืนไหน
ผู้ฟัง เช็ดผิดก็บาปด้วยหรือ เผอิญดิฉันอยู่คนเดียว ดิฉันไม่เข้าใจ เช็ดของคนอื่นผิด บาปหรือ ก็ของพี่ เราก็จำไม่ได้ ก็สีขาวๆ เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ แน่ใจหรือว่าจำไม่ได้
ผู้ฟัง อาการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีอุบัติเหตุหนักบ้าง เบาบ้าง นับเป็นเศษของกรรมได้หรือเปล่า
อ.อรรณพ กรรมคือเจตนาเจตสิก ถ้าเป็นถึงเจตนาเจตสิกที่จะทำให้ให้ผลต่อไป ก็จะต้องเป็นเจตนาที่เป็นขั้นกรรมบถที่จะให้ผลต่อไป ซึ่งเหมือนเมล็ดมะม่วงปลูกแล้วก็ได้ผลมากมาย ไม่ใช่ว่าเมล็ดหนึ่งได้ผลเดียวใช่ไหม เพราะฉะนั้นกรรมหนึ่งให้วิบากได้มากมายเหมือนกับมะม่วง ท่านเปรียบเทียบ เมื่อปลูกแล้วก็ได้ผลออกมาหลายผล อย่างเช่นในขณะนี้ที่เราตั้งแต่ขณะแรกของภพนี้คือ ในขณะปฏิสนธิจนถึงขณะสุดท้ายคือขณะที่เคลื่อนหรือตายจุติ ก็เป็นผลของกรรมหนึ่งกรรมใดที่เป็นชนกกรรมที่นำเกิดใช่ไหม เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตก็เกิดจากกรรมที่มีกำลังนั้นให้ผลได้มากมาย ภวังค์เกิดขึ้นนับไม่ถ้วนในปวัติกาลหรือในขณะหลังเกิด ก่อนตาย เพราะฉะนั้นกรรมหนึ่งกรรมใดที่ทำแล้ว ก็สามารถที่จะส่งผลได้ตราบเท่าที่กรรมนั้นยังมีกำลัง เพราะฉะนั้นกำลังของกรรมที่อ่อนลงก็ส่งผลให้ได้รับวิบากที่เบาบางลงตามสมควร นั่นก็คือความหมายของคำว่าเศษของกรรม คือกรรมที่ให้ผลแล้วแต่ก็ยังให้ผลเป็นวิบากได้อีก เหมือนกับเมล็ดมะม่วงปลูกแล้วก็ยังให้มะม่วงได้หลายผล
ผู้ฟัง ขอเรียนถามเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ๔ สืบเนื่องจากที่สนทนาเรื่องการเป็นอกุศลกรรมบถ แล้วก็การเป็นแค่อกุศลจิต อยากถามว่าในขณะที่หลงลืมสติ นับตอนที่ว่าหลงลืมสติขณะทำถึงขั้นอกุศลกรรมบถเลย หรือว่าแม้กระทั่งเป็นอกุศลจิตนั่นก็คือการหลงลืมสติ เพราะว่าสำหรับตัวเองคิดว่าทั้ง ๒ อย่างก็หลงลืมสติ ถ้าเผื่อจะมีสติคงจะเป็นตอนที่เจริญสติปัฏฐาน ไม่ทราบจะใช่หรือเปล่า
อ.สุภีร์ คำว่าหลงลืมสติ ก็คือไม่มีสติเจตสิกเกิดประกอบร่วมด้วย ก็แล้วแต่ว่าในขณะนั้นพูดถึงเรื่องอะไร ถ้าพูดถึงเรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เมื่อกล่าวว่าหลงลืมสติก็คือสติปัฏฐานไม่เกิด เรียกว่าหลงลืมสติ แต่ถ้าพูดถึงสติทั่วๆ ไปที่เกิดกับกุศลทุกประเภท เมื่อกล่าวถึงหลงลืมสติก็คือสติไม่เกิด แทนที่จะเป็นกุศลก็กลายเป็นอกุศล ซึ่งมีอกุศลเจตสิกเกิดประกอบร่วมด้วยแทน ก็แล้วแต่ ที่ใช้คำว่าหลงลืมสติ ซึ่งสติก็เป็นชื่อของสภาพธรรมที่เป็นโสภณสาธารณเจตสิก มีลักษณะที่ระลึกได้ในฝ่ายที่เป็นกุศล สติก็มีหลายระดับขั้นเช่นเดียวกัน เป็นสติขั้นทานก็มี สติขั้นศีลก็มี สติขั้นอบรมเจริญสมถภาวนาก็มี และสติขั้นที่เป็นสติปัฏฐานก็มี
ผู้ฟัง การเจ็บป่วยเป็นผลของกรรมทั้งสิ้นเลยหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ วิบากจิตทั้งหมดมีกรรมเป็นเหตุ
ผู้ฟัง ในชีวิตประจำวันที่มีการแนะนำว่า จะต้องอยู่ในที่อากาศดีๆ ออกกำลังกาย หรือทานอาหารที่สะอาด อะไรต่างๆ แล้วทำให้คนชีวิตยาวขึ้น ก็เป็นความเข้าใจผิด
ท่านอาจารย์ ทำไมถึงจะผิด
ผู้ฟัง เพราะว่ากรรมจะกำหนดคนอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ โรคที่เกิดจากจิตก็มี โรคที่เกิดจากอุตุก็มี โรคที่เกิดจากอาหารก็มี ไม่ใช่มีโรคที่เกิดจากกรรมอย่างเดียว
ผู้ฟัง การที่แต่ละคนพิจารณาต่างกัน บางคนอาจจะไม่สนใจไม่ระวัง หรือบางคนที่ระวัง อันนั้นก็คือผลจากอุตุ หรืออาหารใช่ไหม ที่จะมีผลให้คนนั้นป่วย ไม่ได้เกิดจากกรรม
ท่านอาจารย์ เวลาที่พูดถึงเรื่องหนึ่งเรื่องใด เราจะไม่พูดเป็นเรื่อง แต่จะพูดถึงขณะจิต เพื่อให้มีความชัดเจน
ผู้ฟัง แต่ว่าเราจะแยกไม่ออก ว่าคนนี้ป่วยเกิดจากเป็นจิตหรือเป็นอุตุใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นเห็นหรือเป็นเจ็บทางกาย เวลาพูดถึงการเจ็บป่วย
ผู้ฟัง ทางกาย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องมีกายปสาท ซึ่งกรรมเป็นปัจจัยให้กายปสาทรูปเกิด เมื่อถึงกาลที่จะกระทบกับเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ก็ทำให้เกิดทุกข์กายวิญญาณ ขณะนั้นก็เป็นการเจ็บป่วย
ผู้ฟัง หมายความว่าถ้าเราป่วยเนื่องจากอุตุ หรืออาหาร จะต้องไม่เจ็บใช่ไหม
ท่านอาจารย์ จะด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ขณะใดที่กายวิญญาณเกิดต้องเป็นวิบาก วิบากจิตต้องเป็นผลของกรรมปัจจัย
ผู้ฟัง ฆ่าสัตว์ แต่ละชนิด สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ ผลกรรมน่าจะต่างกันด้วยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน นี่เป็นความละเอียด
ผู้ฟัง เรื่องโมหะ วันๆ หนึ่ง ตื่นขึ้นมาก็คิดแล้ว คิดด้วยกุศลก็มีน้อยที่สุด คิดเป็นอกุศลก็มาก แล้วก็วันๆ หนึ่งก็พูดมาก ก็พูดด้วยอกุศลก็มาก เป็นโมหะด้วย จะให้ผลเป็นวิบากหรือไม่
ท่านอาจารย์ เริ่มเห็นตัวเองตามความเป็นจริงใช่ไหม เป็นคนดีมากไหม
ผู้ฟัง ก็ยังไม่ดีพอ
ท่านอาจารย์ เพราะว่าไม่ดีมากกว่าดีใช่ไหม แต่ไม่ได้ทำอกุศลกรรมหรือทำอกุศลกรรมด้วย
ผู้ฟัง ก็ทั้งสองอย่าง
ท่านอาจารย์ มีอกุศลกรรมอะไรวันนี้ หรือว่ามีอกุศลจิต
ผู้ฟัง อกุศลจิตมาก อกุศลกรรมยังไม่ได้ทำวันนี้
ท่านอาจารย์ วันหนึ่งๆ ก็มีอกุศลจิตสะสมสืบต่อเป็นอุปนิสัยต่อไป แล้วแต่ว่าจะเป็นอกุศลจิตประเภทใด ถ้าเป็นผู้ที่มากด้วยโลภะ เราจะเห็นอัธยาศัยของคน เขาชอบง่ายมาก อยากได้ทุกอย่าง แล้วก็ไม่จบ แล้วก็ไม่พอ ไม่มีวันจะพอเลย ที่ใช้คำว่าถมเท่าไหร่ก็ไม่เต็มคือโลภะ
ในพระสูตรมีข้อความว่าถึงแม้ว่าจะได้ภูเขาทองจริงๆ ลูกหนึ่ง ก็ยังไม่พอ อยากได้อีกต่อไปอีกเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่เห็นโทษจริงๆ ว่าโมหะเป็นมูล การไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งรู้แสนยาก และถ้าไม่มีผู้ทรงแสดงไม่มีผู้ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะทรงแสดง สัตว์โลกไม่มีโอกาสที่จะรู้ได้เอง ที่จะคิดว่าขณะนี้ไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม และขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล ไม่สามารถที่จะคิดเองได้เลย เพราะฉะนั้นการสั่งสมก็คือว่าถ้าสั่งสมโลภะมาก อุปนิสัยก็จะเป็นผู้ที่มีโลภะ แล้วถ้าสะสมโทสะมากก็หงุดหงิดโกรธง่ายไปเรื่อยเลย และก็ถ้าสะสมโมหะ ฟังอย่างไร ทำอย่างไรก็อาจจะไม่เข้าใจก็ได้ ก็เป็นผู้ที่ไม่สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมได้ แต่ทางฝ่ายกุศลก็จะสะสมด้วย
เพราะฉะนั้นก็เป็นแต่ละครั้งที่กุศลจิตเกิดหรืออกุศลจิตเกิด ขณะนั้นก็สั่งสมสันตานะ สันตานะคือการเกิดดับสืบต่อของจิต ซึ่งจะทำให้แต่ละบุคคลมีอัธยาศัยต่างกัน แล้วก็ถ้าอกุศลนั้นๆ มีกำลังก็จะกระทำอกุศลกรรม ซึ่งเมื่ออกุศลกรรมนั้นได้กระทำสำเร็จลงแล้ว แม้ว่าจิตขณะนั้นดับไปแล้วก็จริง แต่สืบต่อความเป็นกรรมปัจจัยไว้พร้อมที่จะให้ผลเป็นวิบากจิตเกิดขึ้น
ผู้ฟัง ขณะที่เป็นอกุศลอยู่ เป็นอกุศลอย่างเดียว ก็ยังไม่ให้วิบาก
ท่านอาจารย์ เป็นการสะสม
ผู้ฟัง แต่ถึงเวลาสะสมไว้มากๆ ก็ไปทำกรรม
ท่านอาจารย์ วันนี้พูดไม่ดีบ้างไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็นอกุศลกรรมบถหรือยัง
ผู้ฟัง ก็ยัง
ท่านอาจารย์ ต้องทราบเรื่องของอกุศลจิตกับอกุศลกรรมบถ
ผู้ฟัง ทางกุศลก็มี วันนี้ก็หยิบหนังสือมาอ่าน หนังสือธรรม ตอนนั้นก็ไม่ได้พูดกับใคร แล้วก็ไม่ได้ออกเสียงด้วย ขณะนั้นเป็นกรรมบถไหม
อ.อรรณพ ขณะที่กุศลจิตเกิด กุศลจิต หรือกุศลกรรม มีทั้ง ๓ ทาง ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ในขณะที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวทางกายหรือทางวาจา คือไม่มีการเป็นไปทางกายหรือทางวาจา แต่ขณะนั้นจิตที่เป็นกุศล เช่น อนุโมทนา จะต้องแสดงอะไรไหม หรือขณะที่เข้าใจธรรม ฟังธรรมหรืออ่านหนังสือธรรมอย่างเช่นที่กล่าว ขณะนั้นจิตเป็นกุศลเป็นไปในการพิจารณาธรรม ขณะนั้นอาจจะไม่ได้เป็นไปในทานคือการให้ หรือไม่ได้วิรัติอกุศลอะไร แต่ในขณะนั้นมีความเข้าใจธรรมซึ่งเป็นไปในการเข้าใจสิ่งที่ถูกต้องก็เป็นในเรื่องของภาวนา ในเรื่องการเข้าใจก็สงเคราะห์ลงในบุญกิริยาวัตถุในข้อของภาวนา
ผู้ฟัง ถ้าเช่นนั้นก็ให้วิบากได้ไหม
อ.อรรณพ ก็คงไม่ใช่เรื่องที่จะต้องหวัง เพราะว่ากุศลเกิดขึ้นแล้วสำเร็จในขณะนั้นก็สามารถที่จะสะสมไป และเมื่อได้เหตุปัจจัยก็ส่งผลเป็นวิบากได้ถ้าสำเร็จ
ผู้ฟัง ขอให้อธิบายอาการสั่งสมหรือสะสม อยู่ในวิถีจิตใด และอย่างไรให้เข้าใจด้วย
อ.สุภีร์ การสั่งสมเป็นลักษณะของจิตที่เกิดเป็นชวนจิต ถ้าในของบุคคลทั่วไป ก็เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง ลักษณะของจิตประการหนึ่ง ก็คือมีลักษณะที่สั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี ก็คือเมื่อใดก็ตามที่ชวนจิตเกิด เกิดดับสืบต่อกันไปถึง ๗ ขณะ ถ้าเป็นกุศลประเภทใด หรือว่าอกุศลประเภทใด กุศลประเภทนั้นๆ หรืออกุศลประเภทนั้นๆ ก็จะสะสมสืบต่อไปเป็นอุปนิสัยอัธยาศัยต่างๆ ของแต่ละคน ฉะนั้นบางคนจึงมีอัธยาศัยแตกต่างกันไป บางคนก็มีโลภะมาก บางคนก็มีโทสะมาก บางคนก็มีโมหะมาก ทางฝ่ายกุศลก็เช่นเดียวกัน บางคนก็มีอัธยาศัยในการให้ทาน บางคนก็มีกายวาจาที่ดี บางคนก็สนใจในเรื่องของสภาพธรรมที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ก็ด้วยอำนาจของจิตที่เป็นชวนจิตสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถชวนวิถี ถ้าชวนเป็นโลภะบ่อยๆ ก็สะสมเป็นอุปนิสัยที่ทำให้ชอบในสิ่งนั้น หรือชอบในลักษณะของโลภะประเภทนั้นที่สะสมบ่อยๆ อย่างนี้เป็นลักษณะของการสะสมเป็นลักษณะของจิตประการ หนึ่งในชวนวิถี
ผู้ฟัง ก็หมายความว่าในชวนวิถีจะต้องเกิด แล้วองค์ธรรมที่จะต้องเกิดคือกุศลกับอกุศลเท่านั้น แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว กิริยาจิตมองไม่เห็นว่าจะสะสมอย่างไร คือเป็นปุถุชนเรามองเห็น ถ้าเราขี้โกรธ ก็หมายความว่าเขาสั่งสมสั่งสมมากี่ชาติๆ จึงขี้โกรธ พอเรามาเรียนเช่นนี้เราไม่กล้าขี้โกรธแล้ว ประเดี๋ยวเขาบันทึกเอาไว้ไปชาติหน้าต่อไป อันนี้ก็คือที่น่ากลัว ชวน เพราะฉะนั้นชวนก็สำคัญเหมือนกัน ถ้าเราสะสมอกุศลไว้เมื่อใด ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น เรียนถามอาจารย์ว่าทั้งๆ ที่รู้ แต่ก็เกิด เคยคุยกับสหายธรรมเมื่อบ่ายนี้ จิตเราเหมือนกับน้ำ แต่ว่าโทสะกระเพื่อมเร็วที่สุด โดยที่เราก็ไม่อยากจะสะสม แต่ก็สะสมแล้ว เรียนถามว่าทำอย่างไรถึงจะไม่สะสมได้ หรือทำไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก็ตอบไปแล้วใช่ไหมว่าเป็นอนัตตา ต้องเข้าถึงความหมายนี้ มิฉะนั้นก็จะมีเราอยู่ตลอดกาล คิดว่าเราทำได้ เราจะทำอย่างนั้นเราจะทำอย่างนี้ นั่นคือไม่เข้าใจธรรม ถ้าเข้าใจธรรมต้องเข้าใจตั้งแต่คำต้นตลอดไป ไม่เปลี่ยน ลักษณะของสภาพธรรมเปลี่ยนไม่ได้ สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายธรรมทั้งหมดทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล มีลักษณะของสภาพธรรมเฉพาะอย่างเฉพาะอย่าง ถ้าเป็นสภาพธรรมที่เกิดก็ต้องมีปัจจัยปรุงแต่งเมื่อเกิดแล้วก็ดับ จึงเป็นสัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงเป็นทุกข์ แล้วก็เป็นอนัตตาด้วย
ผู้ฟัง บางครั้งเขามีกำลังจนกระทั่งถึงออกทางวาจา เราถึงจะรู้ตัวว่าอันนั้นไม่ถูกแล้ว ตอนนี้เวลาที่เรามาเรียน เรารู้ตัว ก็รู้ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น แล้วบางครั้งก็เป็นมากกว่านั้นด้วย อย่างนี้ก็เป็นสั่งสมหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ชวนเป็นกิจของจิต เพราะว่าจิตทุกดวงหรือทุกประเภทที่เกิดขึ้น ต้องทำกิจหนึ่ง จะไม่ทำกิจอะไรเลยไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่พูดถึงกุศลอกุศล ทำชวนกิจ หมายความว่าจิตเห็นขณะนี้ที่กำลังเห็น ไม่ใช่กุศลอกุศล ไม่ได้ทำชวนกิจ แต่ทำทัสสนกิจคือต้องเห็น จะไม่เห็นไม่ได้เลย เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เห็นสิ่งที่กระทบจักขุปสาท ถ้าเป็นจิตได้ยินก็จะทำกิจอื่นไม่ได้ ต้องทำสวนกิจคือทำกิจได้ยิน จนกระทั่งถึงสัมปฏิจฉันนะก็จะทำกิจอื่นไม่ได้ รับรู้สิ่งที่ทางตาหูจมูกลิ้นกายรับรู้แล้วดับไป สันตีรณะก็ทำกิจของสัมปฏิจฉันนะหรือทำกิจอื่นไม่ได้เลย ทำสันตีรณกิจ พอถึงโวฏฐัพพนะก็เป็นกิริยาจิต ต่อจากนั้นคือกุศลจิต และอกุศลจิต
เพราะฉะนั้นถ้าเราจะจำง่ายๆ ถ้าจะจำตั้งแต่ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตแรก แล้วก็จักขุวิญญาณพวกนี้ดับไปแล้ว ก็ถึงสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ชวน ถ้าจะจำก็ดี แล้วก็ไม่ยาก แต่เมื่อจิตเหล่านี้ไม่ได้ปรากฏ เช่นในขณะนี้ที่กำลังเห็น ก่อนเห็นเป็นปัญจทวาราวัชชนจิตก็ไม่ได้ปรากฏ ก่อนปัญจทวาราวัชชนจิต ภวังคจิตก็ไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้นเฉพาะจิตที่ปรากฏที่เราจะรู้ได้จริงๆ คือเห็น แล้วก็เกิดยินดียินร้ายหรือกุศล เพราะฉะนั้นก็หลังจากที่เห็นแล้ว ในพระสูตรก็จะแสดงย่อๆ คือเรื่องของกุศล และอกุศล จะไม่กล่าวถึงจิตซึ่งเราไม่สามารถที่จะรู้ได้ เช่น ปัญจทวาราวัชชนจิต สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต แต่ให้ทราบว่าชวนกิจก็คือกุศลจิต และอกุศลจิต และกิริยาจิตของพระอรหันต์ ซึ่งต่อไปก็จะทราบว่ามีจิตอื่นอีกด้วย แต่ว่าตอนนี้ก็คร่าวๆ เพียงแต่ว่าถ้าเรารู้จักกุศลอกุศลก็คือว่า จิตประเภทนี้ไม่ได้ทำทัสสนกิจ ไม่ได้ทำสวนกิจ ไม่ได้ทำสัมปฏิจฉันนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ แต่ทำชวนกิจ
เพราะฉะนั้นเวลาที่พูดถึงชวนจิต ก็ไม่ต้องงง คือกุศลจิต และอกุศลจิตนั่นเอง แทนที่จะพูดคำว่าชวน ก็พูดว่ากุศลจิต และอกุศลจิต เพราะว่ากุศลจิต และอกุศลจิตทำชวนกิจ คือเกิดดับซ้ำกัน ๗ ขณะ เป็นจิตประเภทเดียวกัน
ผู้ฟัง อย่างกิริยาจิตที่สั่งสม เป็น ๗ ดวง เป็น ๗ ขณะเหมือนกัน แล้วท่านจะเพิ่มหรือจะลดอะไร เหมือนกับกุศลอกุศลหรือเปล่า หรือไม่มีแล้ว
ท่านอาจารย์ เพิ่มอะไร ลดอะไร
ผู้ฟัง หมายความว่า อย่างขณะซึ่งเรามีความโกรธบ่อยๆ เขาก็จะสั่งสมใช่ไหม ก็เพิ่มพูนกำลังของโทสะ
ท่านอาจารย์ พระอรหันต์ดับหมดแล้ว
ผู้ฟัง กิริยาจิต หรือว่ามีแสดงที่ไหน ทรงแสดงที่ไหนว่ามีการสั่งสมเหมือนกับสั่งสมกุศลกับอกุศล
ท่านอาจารย์ พระอรหันต์ต่างกันหรือเหมือนกัน
ผู้ฟัง พระอรหันต์ต่างกันหรือเหมือนกัน ก็มีกิริยาจิตเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ พระอรหันต์มีอัธยาศัยต่างกันหรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็ต้องต่างเพราะว่าสิ่งที่ท่านสั่งสมต่างกัน
ผู้ฟัง วันๆ เราคิด วันๆ หนึ่งเราพูด วันๆ หนึ่ง เราก็ขยับกายหันไปหันมา อันนี้ก็เกิดจากชวนกิจที่ท่านอาจารย์กล่าว
อ.สุภีร์ การพูดหรือว่าการเดินการเหยียดคู้อะไรต่างๆ ของร่างกาย ในปุถุชนเราก็เกิดด้วยอำนาจของจิต ๒๐ ประเภท ที่ทำกิจชวนนั่นเอง อันนี้กล่าวโดยไม่ละเอียด กล่าวโดยย่อๆ ก็คือมีอกุศลจิต ๑๒ แล้วก็มหากุศล ๘ นี่เป็นจิต ๒๐ ประเภทที่ทำให้เกิดอาการเหยียดคู้ทางกาย การเดินหรือว่าการกระทำกิจหน้าที่การงานต่างๆ การพูดในชีวิตประจำวัน
ผู้ฟัง แม้แต่การคิดนึกด้วย อย่างนี้ก็ไม่พ้น ๒๐ ดวงนี้ ไม่กุศลก็อกุศลก็อยู่ในนี้ แต่ ๑๒ คงจะมาก
อ.สุภีร์ แต่ละคนก็ต้องรู้ตัวเองตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง ที่ว่าชวนสั่งสม เช่นกุศลหรืออกุศลใช่ไหม ถ้าคนที่ยกตัวอย่างที่เมื่อสักครู่กล่าวว่าโทสะมาก สั่งสมมามาก ตอนนี้ทุกคนก็อยากจะให้มีน้อยลง ก็คือน้อยเลยไม่ได้เพราะว่าเป็นอนัตตา หมายความว่าจะน้อยได้ก็คือฟังธรรมสะสมเหตุปัจจัยไปเรื่อยๆ เหตุผลนี้ถูกต้องไหม
ท่านอาจารย์ ก็คงไม่ลืมว่าเจตสิกที่เป็นสังขารขันธ์มีทั้งหมด ๕๐ ประเภท โลภะก็เป็นสังขารขันธ์ โทสะก็เป็นสังขารขันธ์ ศรัทธาสติทั้งฝ่ายกุศลอกุศลก็เป็นสังขารขันธ์ ซึ่งจะทำหน้าที่ของเขา ปรุงแต่งแล้วก็สะสมทำให้จิตประเภทนั้นๆ เกิดขึ้น
ผู้ฟัง ก็แสดงว่าถ้าคนที่โทสะน้อยก็คือสั่งสมมามีโทสะน้อยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ การที่จะรู้จักตัวเอง ก็ต่อเมื่อสภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นปรากฏ ถ้าสภาพธรรมนั้นยังไม่เกิดขึ้นปรากฏ จะไม่รู้เลยว่าสั่งสมอะไรมามาก เพราะว่าบางคนตอนเป็นเด็กก็ดูเป็นผู้ที่เป็นคนดีซื่อสัตย์สุจริต ถ้ามีจำนวนเงินที่ไม่มากเขาก็ยังคงซื่อสัตย์ต่อไปได้ แต่ถ้ามีลาภยศสักการะสรรเสริญหรือว่าจำนวนเงินมาก การเป็นผู้ที่สุจริตแต่เดิมก็เป็นผู้ทุจริตได้ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่าการสะสมสะสมอะไรมามากน้อยแค่ไหน จนกว่าเมื่ออะไรเกิดขึ้นเมื่อนั้นก็พิสูจน์ได้ว่าเป็นไปตามการสะสม เพราะว่าบางคนถึงแม้ว่าจำนวนเงินจะมากสักเท่าใด ก็ยังคงสุจริตต่อไปได้ นั่นก็ตามการสะสมเหมือนกัน
ผู้ฟัง ถ้าเราพบคนที่ดูแล้วกิริยากายวาจาอะไรดีมากเลย แล้วก็ไม่ค่อยโกรธเลย อย่างนี้เราจะเดาได้ไหมว่าเขาน่าจะมีการสะสมหรือว่าฟังพระธรรมมาในอดีตชาติ
ท่านอาจารย์ จะเดาทำไม ในเมื่อรู้ว่าถ้ายังไม่ใช่พระอริยบุคคลก็ยังมีกิเลสครบ
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 061
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 062
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 063
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 064
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 065
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 066
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 067
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 068
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 069
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 070
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 071
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 072
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 073
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 074
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 075
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 076
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 077
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 078
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 079
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 080
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 081
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 082
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 083
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 084
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 085
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 086
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 087
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 088
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 089
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 090
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 091
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 092
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 093
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 094
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 095
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 096
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 097
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 098
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 099
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 100
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 101
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 102
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 103
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 104
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 105***
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 106
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 107
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 108
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 109
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 110
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 111
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 112
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 113
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 114
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 115
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 116
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 117
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 118
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 119
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 120