แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 856
ครั้งที่ ๘๕๖
ธัม. เดี๋ยวนี้มีลักษณะของสภาพธรรมกำลังปรากฏ ใครไม่ชอบ ใครไม่ต้องการ จะทำอะไรก็ไม่ได้ จะตายก็เกิดขึ้นใหม่ทันที จิตดวงสุดท้ายของชาตินี้ดับไปแล้ว จิตดวงแรกของชาติต่อไปเกิดขึ้นทันทีไม่มีระหว่างคั่น เพราะฉะนั้น ไม่ชอบ ไม่ต้องการ จะทำอะไรก็ไม่ได้ เดี๋ยวดับ เดี๋ยวเกิดใหม่ ธรรมทั้งนามธรรม ทั้งรูปธรรม หนีไม่พ้น แต่สติไม่เกิดตาม เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้ไม่รู้ของจริง ไม่ว่าอะไรปรากฏก็ไม่รู้ของจริง เพราะคอยรอ ต้องการอย่างอื่นที่ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ
แม้ขณะที่ต้องการอะไรสักอย่างหนึ่ง ความต้องการเกิดขึ้นแล้วเป็นของจริง แต่สติไม่เกิดขึ้นระลึกตามรู้ลักษณะของความต้องการนั้นซึ่งเป็นของจริง ไม่ใช่ตัวตน เมื่อไม่เกิดปัญญา ไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ความไม่รู้ก็ยังอยู่ที่สิ่งนั้น ที่ธรรมนั้นๆ เต็มที่เหมือนเดิม หรือว่าไม่เหมือนเดิม เพราะว่าเพิ่มขึ้นอีก เพราะวันนี้ไม่รู้อีก ก็ยิ่งยากที่จะรู้ เพราะว่าลืม หรือไม่เข้าใจประโยชน์ของสติ ซึ่งจุดประสงค์ คือ รู้สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่แล้ว
เราจะบังคับธรรมให้เกิดตามที่เราต้องการไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วโดยเหตุปัจจัย มีอยู่แล้วจึงเกิดขึ้นได้ เดี๋ยวนี้เห็นแล้ว ไม่ต้องบังคับให้เห็น เพราะว่าเหตุปัจจัยมีพร้อมอยู่ที่จะให้เห็นแล้ว เดี๋ยวนี้ ไม่ทราบว่ากายปรากฏบ้างหรือเปล่า โยม ลักษณะของกายปรากฏในขณะนี้บ้างหรือไม่
ถ. ปรากฏ
ธัม. ถ้าปรากฏแล้ว ก็คงเข้าในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับกาย ไม่ว่าจะเป็นกายในลักษณะไหน เกี่ยวกับเย็นหรือร้อน เกี่ยวกับแข็งหรืออ่อน เกี่ยวกับตึงหรือไหว ก็เป็นกาย เป็นเรื่องของกาย ซึ่งเป็นของจริง ต่างกับจิต ต่างกับเวทนา ต่างกับธรรมอื่นๆ ที่ปรากฏคนละทาง ต่างกับสีที่กำลังปรากฏขณะนี้ อีกทวารหนึ่ง ต่างกับเสียงที่ต้องปรากฏเดี๋ยวนี้ เพราะโยมจะไม่ได้ยินอะไรเลยไม่ได้ เสียงปรากฏด้วย แต่ขณะที่กายปรากฏ เป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าจะปรากฏตรงนี้คือที่ช่องจมูก หรือจะปรากฏที่นิ้ว หรือว่าจะปรากฏข้างใน ข้างในที่นี่แล้วแต่เป็นเรื่องกาย ที่แข็งปรากฏข้างในบ้าง ข้างนอกบ้าง ของเราบ้าง ของคนอื่นบ้าง ปรากฏเป็นปกติ เป็นธรรมดา แต่เมื่อไม่เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ต้องรู้ และโอกาสมีอยู่แล้วที่จะรู้ได้ เมื่อลืมหรือไม่เข้าใจ สติไม่เกิด ไม่รู้อีกๆ ไม่เข้าใจกาย ไม่ว่าจะเป็นกายที่ปรากฏตรงนี้ หรือตรงไหนก็ตาม
บางทีลมหายใจปรากฏอยู่แล้วโดยเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้นปรากฏ แต่สติเกิดไม่ได้ เพราะปกติสติก็ไม่เกิด ไม่ว่าจะเป็นกาย หรือว่าเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏทางหนึ่งทางใด สติไม่เกิด เพราะยังไม่เข้าใจเรื่องสติที่เป็นอนัตตา แต่จะบังคับให้เกิดขึ้นตามที่เราต้องการให้เกิด และบังคับให้รู้สิ่งที่เราต้องการให้รู้ตามลำดับหรือตามโอกาส หรือตามที่เราเกิดอารมณ์ที่รู้สึกว่าอยากจะเจริญสติปัฏฐานเดี๋ยวนี้ อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เหตุปัจจัยยังไม่เกิดที่จะเกิดสติได้ สติก็ไม่เกิด ที่กายก็ไม่เกิด ที่เวทนาก็ไม่เกิด ที่จิตก็ไม่เกิด เพราะว่าจุดประสงค์และความเข้าใจยังไม่ตรง ยังไม่ถูก เพราะสติเป็นอนัตตาเหมือนกัน
ถ. หมายความว่า สิ่งที่ยังไม่ปรากฏ สิ่งที่ยังไม่เกิด ก็ไม่จำเป็นจะไปพยายามให้เกิด อย่างนั้นหรือเปล่า
ธัม. ห้ามไม่ได้ โยม เพราะว่าบางทีพยายามเหมือนกัน พยายามเป็นของจริง พยายามเพราะเหตุปัจจัยมีอยู่แล้วที่จะไม่สนใจสิ่งที่ปรากฏ แต่ต้องการรู้อย่างอื่น ผู้เจริญสติไม่พ้นจากความเข้าใจผิด ไม่พ้นจากโลภะ โทสะ โมหะ เพราะเป็นผู้เริ่มต้น
พระอรหันต์ผู้เดียวที่พ้นจากกิเลสทุกๆ อย่าง เพราะฉะนั้น บางทีลืม และความเข้าใจผิดที่สะสมมาทำให้ไม่อยากรู้สิ่งที่ปรากฏแล้ว แต่อยากรู้สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้ไม่ได้ เพราะว่าเดี๋ยวนี้ไม่มี และจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ไม่มีใครบอกได้ จะตั้งใจสักเท่าไร อาจไม่เกิดก็ได้ จะมรณภาพเมื่อไหร่ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ต้องการรู้ที่ลมหายใจ อีกประเดี๋ยวก็ตาย เพราะเหตุปัจจัย โดยไม่มีใครรู้ล่วงหน้าก็ได้
เมื่อสิ่งใดยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ แต่ต้องการรู้สิ่งนั้น หมายความว่า ขณะนั้นจะไม่เจริญสติ เพราะขณะนั้นไม่เกิดสติระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่แล้ว แต่เกิดความต้องการจะรู้สิ่งที่รู้ไม่ได้ เพราะว่าในขณะนั้นไม่มี และยังไม่ทราบว่าจะเกิดด้วยหรือเปล่า
ถ. ถ้าเป็นในลักษณะอย่างนี้ ก็แปลว่า ไม่เป็นทางที่ถูกอย่างนั้นหรือเปล่า
ธัม. โยมพิจารณาเองจะรู้ว่า ถ้าสิ่งใดยังไม่ปรากฏขณะนี้ จะมีโอกาสที่จะรู้ได้ไหม ถ้ายังไม่เกิดขึ้น
ถ. ถ้ายังไม่เกิด ก็รู้ไม่ได้ ถ้าเราพยายามจะให้เกิดในสิ่งที่ยังไม่เกิด ก็แปลว่า เป็นการฝืนธรรมชาติอย่างนั้นหรือเปล่า
ธัม. ไม่ใช่สติ เป็นสภาพธรรมเหมือนกัน เพราะว่าไม่ใช่เรา ต้องไม่ใช่เรา ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ก็ไม่ใช่เรา ต้องเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ถ้าไม่ใช่นามธรรมก็เป็นรูปธรรม ถ้าไม่ใช่รูปธรรมก็เป็นนามธรรม จะเป็นเราไม่ได้
ถ. ถึงแม้เราจะพยายามให้เกิด แต่เราจะต้องรู้ว่า สิ่งที่เราพยายามนั้นเป็นความคิด หรือนามธรรมอย่างหนึ่งที่คิดอยากจะให้เกิดเป็นขึ้นอย่างนั้น ใช่หรือเปล่า
ธัม. ถ้าคิดเกิดขึ้นปรากฏ ก็ต้องรู้คิด รู้อย่างอื่นไม่ได้ รู้สิ่งที่รู้ ไม่รู้อย่างอื่นที่ไม่รู้ รู้สิ่งที่ปรากฏในขณะนั้นโดยไม่เลือก เพราะว่าสติเป็นเรื่องการละ ไม่ใช่เรื่องการโลภ เพราะต้องการสิ่งที่ยังไม่ปรากฏ เป็นลักษณะของอภิชฌาที่ละเอียด บางทีอาจจะเข้าใจอภิชฌาว่าเกี่ยวกับโลภะที่หยาบๆ แต่อภิชฌามีหลายขั้น และขณะที่ไม่อยากรู้สิ่งที่ปรากฏแล้ว อยากรู้อย่างอื่น ก็เป็นอภิชฌาที่เกิดขึ้นห้ามสติในขณะนั้น
ถ. ขอบพระคุณ
ธัม. รู้สึกว่าไม่ค่อยมีใครชอบละ เพราะว่าเรื่องละไม่ขึ้นอยู่กับการชอบ แต่ขึ้นอยู่กับปัญญา ซึ่งเป็นคนละสภาพ โลภะทำหน้าที่ชอบ ทำหน้าที่ต้องการ ทำหน้าที่ยึด ปัญญาไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านี้ เป็นคนละอย่าง จะละด้วยโลภะไม่ได้ และสะสมอะไรมา ปกติทุกวันๆ สะสมมาที่จะละ หรือตรงกันข้าม
ถามตัวเอง วันนี้ตื่นขึ้นมาอะไรเกิด ปัญญาเกิดทันทีรู้ในสภาพธรรมที่เกิดขึ้น ละอภิชฌาและโทมนัส ไม่เกิดไม่พอใจ ไม่ยินดี แต่เกิดปัญญารู้ลักษณะที่ปรากฏทันที หรือว่าเป็นอย่างไร
และต่อมาๆ วันนี้เอง ถามตัวเอง อะไรเกิดมาก ปัญญาเกิดมาก หรือว่าอย่างอื่นๆ ถ้าเป็นอย่างอื่นๆ แบบไหน เป็นอย่างอื่นแบบให้ทานมากๆ บางทีก็มีได้ สะสมมาที่จะคิดถึงประโยชน์ของคนอื่น และมองดูวัตถุของตนเองในลักษณะที่ว่าสิ่งของเหล่านี้ๆ จะมีประโยชน์แก่ใครบ้าง หาผู้รับ และก็ให้ บางคนสะสมมาที่จะเกิดกุศลจิตประเภทที่ให้บ่อย ตัวเองก็รู้ได้ แต่เป็นอย่างนี้ทุกวันๆ ก็ไม่ได้ แม้ผู้ที่สะสมมามาก แต่จะมีโอกาสที่จะให้ทุกขณะไม่ได้
เพราะฉะนั้น วันนี้เป็นอย่างไร อะไรเกิดขึ้น เกิดกุศลจิตที่ให้ทาน เกิดกุศลจิตที่รักษาศีล เกิดกุศลจิตที่เจริญความสงบ เกิดเมตตาต่อบุคคลอื่นหรือเปล่า ที่บ้านคงมีพ่อแม่ หรือว่ามีสามี มีภรรยา หรือมีลูก มีน้อง มีพี่ มีสัตว์เดรัจฉานด้วย บางที มีสุนัข มีแมว วันนี้เกิดเมตตาหรือยัง ตั้งแต่เช้าถึงขณะนี้ เดี๋ยวนี้เกิดเมตตาบ้างหรือเปล่า เพราะว่าที่นี่มีคนอยู่ที่เป็นอารมณ์ของเมตตาได้
ถามตัวเองดี มีประโยชน์ วันนี้เกิดอะไรบ้าง คงจะเป็นอกุศลมากกว่า ใช่ไหม เพราะว่ากุศลเป็นสิ่งที่เกิดยาก อกุศลเกิดไม่ยาก ความสงบต้องอาศัยการอบรม แต่โลภะไม่ต้องอาศัยการอบรม โทสะก็ไม่ต้องอาศัยการอบรม โมหะไม่มีปัญหาเกิดง่าย เกิดมาก เกิดบ่อย
ถ้าไม่เจริญสติ จะรู้คร่าวๆ ถ้าจะรู้ก็รู้คร่าวๆ บางทีไม่รู้เลย รู้คร่าวๆ หมายความว่า เรามีเมตตา เรามีโทสะ เรามีอย่างนี้อย่างนั้น ซึ่งไม่ถูก เพราะเมตตาไม่ใช่เรา เมตตาเป็นนามธรรม มีลักษณะของเขาเอง ซึ่งไม่เหมือนกับลักษณะของธรรมอื่นๆ ธรรมแต่ละอย่างเป็นแต่ละอย่าง ไม่เหมือนกัน เกิดขึ้นดับไป เดี๋ยวนี้ดับหรือยัง ดับแล้ว และก็เกิดอีกแล้ว และดับแล้วๆ อีกด้วย เมื่อครู่หายไปไหน หมดแล้ว หมดเลย
เจริญสติปัฏฐานมีประโยชน์หรือเปล่า ถ้ายังไม่เห็นประโยชน์ เจริญยาก สาตถกสัมปชัญญะ เป็นความเข้าใจขั้นหนึ่งที่สำคัญมาก ถ้าไม่เข้าใจประโยชน์ของกุศลโดยเฉพาะของสติปัฏฐาน เจริญสติ รู้สิ่งที่กำลังปรากฏเพื่อที่จะละไม่ได้
ปกติในชีวิตประจำวัน ไม่ทราบว่าโยมรู้ประโยชน์ของสิ่งต่างๆ บ้างหรือเปล่า โยมรู้ประโยชน์ของบ้านหรือเปล่า บ้านมีประโยชน์หรือเปล่า เสื้อผ้ามีประโยชน์หรือเปล่า แต่ปกติในชีวิตประจำวันไม่ใช่เราจะไม่พิจารณาว่า อะไรมีไม่มีประโยชน์ อะไรไม่มีประโยชน์ ทุกขณะเราสนใจแต่สิ่งที่เราถือว่ามีประโยชน์ เป็นประโยชน์ เพราะว่าสิ่งที่มีประโยชน์หรือเป็นประโยชน์ เป็นสิ่งที่เราถือเราเข้าใจว่า จะนำความสุขมาให้ สนใจความสุขทุกขณะหรือเปล่า รู้สึกว่าคงทุกขณะ เดี๋ยวนี้ไม่มีใครอยากเป็นทุกข์แน่นอน สนใจความไม่เป็นทุกข์แน่นอน หมายความว่า สนใจประโยชน์ แต่เราเข้าใจผิดหรือเข้าใจถูกในสิ่งที่มีประโยชน์
อาหารมีประโยชน์อย่างไร ถ้ารับประทานอาหารเพื่อที่จะอยู่ต่อไปในสังสารวัฏฏ์ เพื่อที่จะติดในรูป ติดในเสียง ติดในกลิ่น ติดในรส ติดในโผฏฐัพพะ จะเรียกว่า รับประทานอาหารเพื่อประโยชน์หรือเปล่า บางทีไม่เข้าใจประโยชน์ของอาหาร การรับประทานอาหารไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์ แต่ประโยชน์เป็นอย่างไร รับประทานอาหารเพื่ออะไร น่าถาม วันนี้รับประทานแล้ว อาจจะรับประทานอีกวันนี้ พรุ่งนี้ก็รับประทานอีก เพื่ออะไร เพื่อที่จะตกนรกหรือเปล่า เพราะว่ายังไม่เป็น พระโสดาบัน ตกนรกได้ เคยตกมาแล้ว และจะตกอีก เพราะว่าเหตุมีอยู่แล้ว ไม่ทราบว่ามีใครในห้องนี้ไม่เคยทำอกุศลกรรม เคยทำมาแล้ว หมายความว่า มีเหตุพร้อมที่จะให้ตกนรก หรือว่าสถานที่อื่นๆ ที่ยิ่งแย่กว่าโลกมนุษย์
เพราะฉะนั้น ประโยชน์ไม่ใช่สิ่งที่เราไม่พิจารณา แต่จะพิจารณาด้วย โยนิโสมนสิการหรือว่าด้วยอโยนิโสมนสิการ พิจารณาถูกหรือพิจารณาผิด พิจารณาด้วยโมหะหรือพิจารณาด้วยโลภะ หรือพิจารณาด้วยโทสะหรือพิจารณาด้วยกุศลจิต บางทีพิจารณาด้วยกุศลจิตแต่ขาดปัญญา เพราะกุศลจิตเกิดพร้อมกับปัญญาบ้าง ปัญญาไม่เกิดบ้าง ถ้าพิจารณาที่จะให้ก็มีประโยชน์ แต่ปัญญาเกิดขึ้นรู้อะไรหรือเปล่า บางทีปัญญาก็เกิดขึ้น แต่ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ก็ยังไม่รู้ประโยชน์แท้ๆ
อะไรมีประโยชน์แท้ๆ ต้องเอาสติเป็นจุดประสงค์สูงกว่าจุดประสงค์อย่างอื่นๆ แต่ปกติจุดประสงค์อยากได้สีที่สวยงาม ที่ทำให้ไม่เป็นทุกข์ เกิดสุขสบาย อยากได้เสียงที่ไม่ติเตียน อยากได้เสียงที่สรรเสริญ เสียงที่ไม่ทำให้รำคาญ เป็นปกติ อยากได้รสที่อร่อย กลิ่นที่หอม นี่คือจุดประสงค์ของชีวิต และคิดว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะมีประโยชน์ที่สุด หรือไม่อย่างนั้น ความสุข ความรู้สึกสุขสบายที่เกิดขึ้นจากการรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี่คือสิ่งที่เราคิดว่ามีประโยชน์สูงสุด หรือว่าสิ่งเหล่าใดที่อุปการะให้ได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่น่าพอใจมีประโยชน์สูงสุด ถูกหรือเปล่า
เรามาฟังเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน แต่เข้าใจหรือยังว่า สติมีประโยชน์กว่าทุกอย่าง เพราะถ้าหลงลืมสติ จะเจริญปัญญาได้อย่างไร ลืม ปัญญาไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะลืมว่า ขณะนี้ต้องรู้สิ่งที่ยังไม่รู้ สำคัญมาก
ถ้าสติไม่เกิด กุศลจิตขั้นอื่นๆ เกิดได้ ดี มีประโยชน์ แต่ถ้ากุศลจิตไม่เกิด เกิดอกุศล ซึ่งผู้ที่เข้าใจประโยชน์ของสติไม่ได้หมายความว่า ไม่เข้าใจประโยชน์ของกุศลธรรมขั้นอื่นๆ ผู้ที่เข้าใจประโยชน์ของสติจริงๆ เข้าใจประโยชน์ของกุศลธรรมขั้นอื่นๆ อยู่แล้ว จึงหันหน้าไปหาสิ่งที่มีประโยชน์มากกว่ากุศลขั้นนั้นๆ ถ้าไม่เห็นประโยชน์ของศีล จะสนใจประโยชน์ของสติได้อย่างไร เพราะว่าศีล รักษาศีล ๕ เป็นต้น ขัดเกลากิเลส แต่สติขัดเกลากิเลสอย่างวิเศษ ศีลไม่วิเศษ ปกติธรรมดา แต่สติปัฏฐานไม่ใช่อย่างนั้น ทุกขณะที่สติเกิด สะสมเหตุปัจจัยที่จะไม่ต้องรักษาศีลอีกต่อไป เพราะว่าเป็นพระโสดาบันแล้ว ใครจะบังคับให้ล่วงศีลได้ เหตุปัจจัยหมดแล้ว ไม่มีทางที่จะฆ่าใคร ไม่มีทางที่จะล่วงศีลได้
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๘๕๑ – ๘๖๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 841
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 842
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 843
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 844
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 845
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 846
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 847
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 848
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 849
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 850
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 851
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 852
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 853
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 854
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 855
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 856
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 857
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 858
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 859
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 860
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 861
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 862
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 863
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 864
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 865
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 866
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 867
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 868
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 869
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 870
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 871
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 872
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 873
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 874
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 875
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 876
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 877
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 878
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 879
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 880
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 881
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 882
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 883
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 884
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 885
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 886
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 887
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 888
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 889
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 890
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 891
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 892
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 893
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 894
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 895
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 896
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 897
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 898
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 899
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 900