แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 871
ครั้งที่ ๘๗๑
เพราะฉะนั้น เมื่อได้ฟังเรื่องอาการ ๓๒ แล้ว และไม่ลืม เวลารับประทานอาหารขณะหนึ่งขณะใด อาจจะระลึกได้ว่า ขณะที่อ้าปากไม่มีการเปิดปากนั้นด้วยกุญแจ หรือว่าเครื่องยนต์ใดๆ แต่วาโยธาตุทำให้ขากรรไกรอ้าขึ้น บดเคี้ยวอาหาร และก็กลืน
ทั้งหมดเป็นเรื่องของธาตุ อาหารนั้นเข้าไปข้างในร่างกายได้เพราะมีช่อง คือ อากาศธาตุ และวาโยธาตุเริ่มหยิบ เริ่มยก เริ่มใส่เข้าไปในปาก ตลอดเวลาที่เคี้ยวและกลืนก็ไม่มีตัวตนทั้งนั้น เป็นลักษณะอาการของธาตุ วาโยธาตุทำให้อาหารนั้นล่วงลงสู่ลำไส้ และตั้งอยู่ ไม่มีใครนำเอาเตาเข้าไปหุงในท้อง แต่ว่าธาตุไฟก็สามารถที่จะ บดย่อยอาหารซึ่งเป็นอาหารหยาบให้ละเอียดที่สุด จนกระทั่งเป็นอาหารเก่าได้
ก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมทั้งหมด แต่ความคิดนึก ไม่มีใครสามารถจะห้ามได้ ซึ่งแทนที่จะคิดในเรื่องอกุศล เวลาที่ได้ฟังพระธรรม ไม่ว่าจะเป็นโดยนัยของ สมถภาวนาหรือว่าสติปัฏฐานก็ตาม การคิดนึกอาจจะเปลี่ยนจากคิดนึกเรื่องอื่น แม้ในขณะที่รับประทานอาหาร มาคิดนึกถึงเรื่องอาการของธาตุต่างๆ ก็ได้ หรือว่า สติปัฏฐานจะเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ โดยอาการที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนก็ได้
อย่าลืมประโยชน์ของการที่ทรงแสดงสมถภาวนา เพราะว่าทุกคนไม่สามารถที่จะหยุดคิด แต่ถ้าทรงแสดงธรรมที่จะให้คิดในทางที่เป็นกุศล ในทางที่จะสงบได้ด้วยประการใดๆ พระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น เพื่อที่จะให้ผู้ฟัง ไม่หลงลืม และสามารถที่จะระลึกพิจารณาสภาพที่กำลังปรากฏในขณะนั้นด้วยจิตที่เป็นกุศล แทนที่จะให้จิตเป็นอกุศล แต่ไม่ใช่บังคับ เพราะฉะนั้น จึงต้องฟังเรื่องของอาการ ๓๒ โดยนัยของสมถภาวนาด้วย
ถ. ผู้ที่จะเจริญสมถภาวนา ที่ใช้กายคตาสติเป็นอารมณ์ ในวิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่าให้ท่อง ท่องโดยอนุโลมบ้าง ปฏิโลมบ้าง ทั้งอนุโลมทั้งปฏิโลมบ้าง อาการทั้ง ๓๒ ประการ ท่านแบ่งไว้เป็น ๖ หมวด คือ ธาตุดิน ๒๐ อาการ แบ่งเป็น ๔ หมวด ธาตุน้ำ ๑๒ อาการ แบ่งเป็น ๒ หมวด รวม ๒ ธาตุ เป็น ๖ หมวด และท่านให้ท่องเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี่โดยอนุโลม ให้ท่องอย่างนี้ตลอดทั้งวันทั้งคืน ๑๕ วัน เมื่อผ่านไปแล้ว ๑๕ วัน ก็ท่องโดยความเป็นปฏิโลม คือ ท่องว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา อย่างนี้อีก ๑๕ วัน จากนั้นก็ท่องโดยอนุโลมและปฏิโลม รวมกันอีก ๑๕ วัน ท่องไปอย่างนี้จนกระทั่งครบ ๖ หมวด ซึ่งขณะที่ท่อง ถ้าไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน คือ ไม่ได้มีความรู้สึกตัวขณะที่ท่อง ขณะนั้นจิตเป็นกุศลหรือไม่
สุ. เพียงท่อง หรือพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูล
ถ. ไม่ได้พิจารณา เพียงท่องเฉยๆ
สุ. เพียงท่องเฉยๆ ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่สามารถที่จะเห็นสภาพที่เป็นปฏิกูลของอาการ ๓๒ ได้
ถ. ก็น่าจะมีประโยชน์บ้าง เพราะว่าการทำสมถภาวนานั้น จุดประสงค์ต้องการนิมิต ถ้าท่านท่องไปเรื่อยๆ นิมิตจะเกิด นั่นเป็นประโยชน์
สุ. จริงหรือ ท่องเฉยๆ
ถ. ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวไว้ ให้ท่องอย่างนี้ เมื่อท่องไปโดยอนุโลม โดยปฏิโลม จนกระทั่งชำนาญขึ้น ท่องไปเรื่อยๆ ถ้าอุปนิสัยของใคร อารมณ์ไหนถูกกับอุปนิสัยของบุคคลนั้น นิมิตนั้นก็จะเกิดขึ้นแก่ผู้ท่องนั้น
สุ. เรื่องของการอบรมเจริญภาวนาเป็นเรื่องละเอียด สำหรับการอบรมเจริญสมถภาวนาที่จะให้จิตสงบโดยการระลึกถึงส่วนต่างๆ ของกาย ที่เป็นกายคตาสติ ซึ่งแบ่งออกเป็นธาตุดิน ๒๐ อาการ อาการละ ๕ และธาตุน้ำ ๑๒ อาการ หมวดละ ๖ นั้น กายคตาสติหมวดแรก คือ ตจปัญจกกัมมัฏฐาน ได้แก่ การระลึกถึงความเป็นปฏิกูลของผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ทีละอาการ สำหรับตจปัญจกกัมมัฏฐานนั้น ถือเอา คือ เรียนหรือมนสิการโดยเห็น กล่าวไว้เลยว่า สำหรับหมวดแรก ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนังนั้น ถือเอา คือ เรียน โดยเห็น นอกนั้นโดยฟัง และไม่ใช่เห็นเฉยๆ อย่างเช่น ผม จะต้องเห็น ถอนออกจากศีรษะมาดู และมนสิการโดยสี แล้วแต่ว่าสีของผมขณะนั้นเป็นสีอะไร สีดำหรือสีขาว หรือสีดำขาวด่างๆ ก็แล้วแต่ เพราะอาการ ๕ นี้ เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ เช่น ผมก็ปรากฏ ขนก็ปรากฏ เล็บก็ปรากฏให้เห็นได้ ฟันก็ปรากฏให้เห็นได้ หนังก็ปรากฏให้เห็นได้
เนื้อข้างในไม่ปรากฏ เลือดข้างในไม่ปรากฏ กระดูกข้างในไม่ปรากฏ ตับ ปอด หัวใจ ม้ามเหล่านั้นไม่ปรากฏ แต่ระลึกได้ น้อมนึกถึงสภาพลักษณะอาการต่างๆ มิฉะนั้นก็เป็นเพียงชื่อ และเป็นเพียงเสียงที่ต่างกัน อย่างคำว่า หัวใจกับตับ ก็เป็นเพียงเสียงที่ต่างกัน ถ้าไม่นึกถึงสัณฐานที่เป็นปฏิกูลของหัวใจ และสัณฐานที่เป็นปฏิกูลของตับ ของปอด ของม้าม ของแต่ละลักษณะ แต่ละอาการของธาตุดิน
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ฟังเสียง หรือนึกถึงเสียงที่ต่างกัน แต่ต้องนึกถึงลักษณะอาการของธาตุที่ปรากฏ ที่ต่างกันโดยความเป็นปฏิกูล
ไม่ทราบจะเคยคิดสงสัยหรือเปล่าว่า ทำไมจึงไม่แยกอาการของธาตุที่ปรากฏที่กายออกเป็นตา คิ้ว จมูก ปาก แขน ขา แต่แยกเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า ถ้าแยกเป็นตา ตาก็ยังสวย ถ้าแยกเป็นคิ้ว จมูก ปาก ซึ่งยังมีหนังหุ้มรอบอยู่ ก็ยังปรากฏเป็นของงาม หรือว่าเป็นสุภะได้ แต่ถ้าจะคิดถึงหนัง เวลาที่คิดเฉพาะหนังจริงๆ ไม่ได้นึกถึงเป็นแขน ซึ่งอาจจะมีอาการที่งาม เป็นสุภะ หรือขา เป็นทรวดทรง เป็นอาการที่งาม เป็นสุภะ แต่ถ้านึกถึงเฉพาะหนังจริงๆ ซึ่งมองดูข้างนอกอาจจะปรากฏเป็นสีต่างๆ สีชมพู สีเหลือง สีขาว สีคล้ำ สีน้ำตาล ก็ยังเป็นสีที่งามอยู่นั่นเอง แต่ลักษณะที่เป็นปฏิกูลของผิว ไม่ใช่สีต่างๆ เหล่านั้น เป็นสีขาว เมื่อลอกออกจากกาย หรือว่าจะถูกประหัตประหารให้หนังลอกออกมาจากส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม หนังทั้งหมดเป็นสีขาว ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นชาติ ชั้นวรรณะ ตระกูลใดๆ ก็ตาม หนังนั้นมีลักษณะเหมือนกันหมดโดยความเป็นปฏิกูล คือ เป็นเพียงสภาพซึ่งปกคลุมอยู่ และเป็นสีขาวเหมือนกันหมด ถ้าลอกหนังออกแล้ว ทุกส่วนจะปรากฏความเป็นปฏิกูลจริงๆ เพราะฉะนั้น เวลาที่จะเกิดความสงบ ก็ต้องนึกถึงส่วนที่เป็นปฏิกูลซึ่งหนังหุ้มไว้ และแยกออกมาเป็นส่วนต่างๆ จริงๆ ไม่ใช่เพียงท่อง หรือไม่ใช่เพียงแต่ฟังเสียง นึกถึงคำที่ต่างๆ กัน แต่ต้องนึกถึงสภาพที่เป็นปฏิกูลจริงๆ
ถ. ตามข้อความในวิสุทธิมรรค ท่านกล่าวไว้ให้ท่องอย่างนั้นจริงๆ
สุ. ขอประทานโทษ ไม่ว่าจะเป็นในวิสุทธิมรรค หรือในสัมโมหวิโนทนีก็กล่าวไว้ด้วยว่า สำหรับกายคตาสติหมวดแรก คือ ตจปัญจกกัมมัฏฐาน การถือ หรือการพิจารณา การเรียนที่จะให้สงบโดยการระลึกถึงผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เฉพาะหมวดแรกนี้เท่านั้น ที่ถือเอาโดยเห็น จะไปฟังไม่ได้ จะไปนั่งท่องว่า ผมๆ ๆ ขนๆ ๆ เล็บๆ ๆ ฟันๆ ๆ หนังๆ ๆ ก็ไม่ได้ ไม่มีประโยชน์อะไร แสดงไว้ชัดเจนว่า ให้ถือเอาโดยการเห็น
ถ. ต่อไปยังมีอีกวิธีหนึ่ง ก็ให้ท่องอีกเหมือนกัน แต่ไม่ได้ท่องว่าเป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เขาให้ท่องว่า ๑ – ๒ – ๓ – ๔ – ๕ ให้ท่องไม่ต่ำกว่า ๕ ไม่เกินกว่า๑๐ คือ ๑ – ๒ – ๓ – ๔ – ๕ – ๖ และ ๑ – ๒ – ๓ – ๔ – ๕ – ๖ – ๗ และ ๑ – ๒ – ๓ – ๔ – ๕ – ๖ – ๗ – ๘
สุ. เป็นหมวดไหน สมถกัมมัฏฐาน มี ๔๐
ถ. ข้อความนี้มีอยู่ในวิสุทธิมรรค ท่านให้ปฏิบัติแบบนี้
สุ. คราวหน้าขอให้นำข้อความตอนนั้นในวิสุทธิมรรคมาด้วย เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นโดยนัยของอานาปานสติ โดยนัยของการเจริญสมถภาวนา ก็มีข้อความที่แสดงว่าให้ถือเอาโดยการถูกต้อง ถ้าไม่ระลึกถึงขณะที่ลมหายใจกระทบถูกต้องจริงๆ ขณะนั้นสติก็ไม่ได้ระลึกอยู่ที่ลมหายใจ
ถ. ผมคิดว่า ผมเข้าใจไม่ผิด อยู่ในสมาธินิทเทส แต่เล่มไหนไม่รู้ เขาให้ท่องไม่ต่ำกว่า ๕ แต่ไม่เกินกว่า ๑๐ เหตุผลเพราะอะไร ผมก็ลืมแล้ว ทำให้ผมสงสัยว่า การท่องโดยไม่ได้มีการรู้สึกตัว ไม่ได้พิจารณา จุดประสงค์ของเขาให้ท่องให้คล่องปาก เมื่อท่องไป ๑๐,๐๐๐ ครั้ง ๑๐๐,๐๐๐ ครั้ง อุคคหนิมิตจะเกิดในอาการ ๓๒ นี้ จะเป็นอาการใดอาการหนึ่ง จะเกิดเป็นอุคคหนิมิตขึ้นมา
สุ. นี้เป็นเหตุที่จะทำให้มีการเข้าใจผิดในข้อปฏิบัติ เพียงโดยการอ่าน และไม่พิจารณาโดยละเอียดถึงเหตุและผลจริงๆ
ข้อความทั้งหมดที่กล่าวมามีอยู่ใน คัมภีร์สัมโมหวิโนทนี อรรถกถา พระวิภังคปกรณ์ คือ อรรถกถาของ พระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์วิภังค์ ซึ่งจะขอกล่าวถึงโดยตรงในเรื่องของการจะเจริญสมถภาวนา ใน กายานุปัสสนานิทเทส ข้อความที่เกี่ยวกับกายคตาสติ มีอยู่ในกายานุปัสสนาด้วย สำหรับในกายานุปัสสนา หมวดที่เป็นปฏิกูลมนสิการ เป็นการที่สติระลึกถึงส่วนต่างๆ ของกายโดยความเป็นปฏิกูล หัวข้อว่า กัมมัฏฐานกถาว่าด้วยอำนาจสมถะ อุคคหโกสล คือ ความฉลาดในการที่จะอบรม
ข้อความมีว่า
ก็กุลบุตรผู้ใคร่จะเจริญกัมมัฏฐานนี้เพื่อบรรลุพระอรหัต ต้องฟังและพิจารณาให้ตลอด เบื้องต้นต้องชำระศีล ๕ ให้บริสุทธิ์
เพียงเท่านี้ก็ชักจะงงๆ แล้วใช่ไหมว่า จะเริ่มทำกันอย่างไร ก็กุลบุตรผู้ใคร่จะเจริญกัมมัฏฐานนี้เพื่อบรรลุพระอรหัต เบื้องต้นต้องชำระศีล ๕ ให้บริสุทธิ์
ดูเหมือนกับว่าเลือกได้ จงใจได้ ต้องการได้ ว่าจะเลือกกัมมัฏฐานนี้ แต่ให้ทราบว่า จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการอบรมเจริญสติปัฏฐานนั้น เป็นการอบรมเจริญปัญญาซึ่งไม่เลือก ไม่ว่าจะมีข้อความกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ในพระสูตร หรือว่าในอรรถกถาเกี่ยวกับกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือมหาสติปัฏฐาน หรือ คัมภีร์วิภังค์ ซึ่งเป็นการจำแนกอธิบายสติปัฏฐานก็ตาม ก็จะต้องพิจารณาให้ถูกต้องด้วย โดยอย่าลืมว่า สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แต่ว่าอัธยาศัยของแต่ละท่านในวันหนึ่งๆ ก็แสนที่จะต่างกันอย่างเหลือที่จะจำแนกได้ มีบุคคลกี่บุคคลในโลกนี้ อัธยาศัยก็ต่างกันไปแต่ละขณะจิตอย่างวิจิตรทีเดียว
แม้ในครั้งที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพาน พุทธบริษัทก็มีทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา สำหรับภิกษุ ก็มีทั้งภิกษุปุถุชน ซึ่งไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล และภิกษุซึ่งเป็นพระโสดาบันก็มี พระสกทาคามีก็มี พระอนาคามีก็มี พระอรหันต์ก็มี หรือฝ่ายคฤหัสถ์ที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา ก็มีทั้งที่เป็นปุถุชนและที่เป็นพระอริยบุคคล ที่เป็นพระโสดาบันก็มี พระสกทาคามีก็มี พระอนาคามีก็มี แต่ว่าผู้ใดที่ได้บรรลุคุณธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ไม่มีปัจจัยที่จะให้ดำรงเพศของคฤหัสถ์อีกต่อไปได้ เพราะฉะนั้น ก็บวช เป็นเพศสำหรับพระอรหันต์ แต่ไม่ใช่หมายความว่า คนซึ่งไม่สามารถที่จะบรรลุคุณธรรมเป็นพระอรหันต์ แต่อยากจะบรรลุโดยอาศัยเจริญกัมมัฏฐานนี้ คือ กายคตาสติ ไม่ใช่อย่างนั้น
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๘๗๑ – ๘๘๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 841
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 842
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 843
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 844
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 845
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 846
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 847
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 848
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 849
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 850
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 851
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 852
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 853
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 854
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 855
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 856
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 857
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 858
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 859
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 860
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 861
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 862
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 863
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 864
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 865
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 866
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 867
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 868
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 869
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 870
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 871
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 872
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 873
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 874
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 875
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 876
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 877
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 878
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 879
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 880
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 881
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 882
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 883
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 884
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 885
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 886
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 887
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 888
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 889
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 890
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 891
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 892
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 893
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 894
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 895
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 896
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 897
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 898
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 899
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 900