แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1048
ครั้งที่ ๑๐๔๘
สาระสำคัญ
อรรถของอนัตตา
นิมิตและอนุพยัญชนะ
ธรรมปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เราจะปฏิบัติ
คำว่า อนัตตา ทุกคนที่อ่านออกก็อ่านได้ ใช่ไหม
เห็นคำว่า อนัตตา ก็อ่านได้ว่า อนัตตา หรือถ้าจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ คนที่ศึกษาธรรมภาษาอังกฤษ ก็จะอ่านคำว่า อนัตตา ได้ แต่ว่าใครจะเข้าใจ แม้ความหมายของคำว่า อนัตตา หรืออรรถของอนัตตา ถ้าเป็นผู้ที่สนใจ ก็จะดูในพจนานุกรมว่า อนัตตาหมายความว่าอะไร ซึ่งจะมีคำแปลว่า อนัตตา หมายถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่อัตตา
และก็จะพูดตามกันต่อไปอีกว่า อนัตตา หมายถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่อัตตา พูดตามนี้ง่ายจริงๆ แต่ที่จะเข้าใจตาม หรือว่าเข้าใจจริงๆ จนกระทั่งซาบซึ้งถึงความหมายของคำว่า อนัตตา ต้องเป็นการพิจารณาโดยละเอียด เช่น สภาพธรรมนั้นเป็นอะไร เพราะว่าสภาพธรรมนั้นมีจริงๆ กำลังปรากฏ หรือสิ่งที่เคยยึดถือว่าเป็นอัตตา ถ้าเป็นอนัตตาแล้ว เป็นอนัตตาอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นอนัตตา
เช่น ทางตาที่กำลังเห็น ก็เห็นอยู่ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ธรรมทั้งหลายต้องหมายความถึงธรรมทั้งหลายจริงๆ ไม่เว้นเลย ธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ในขณะที่เห็นต้องเป็นอนัตตาด้วย
คนที่ละเอียดจริงๆ แม้เพียงคำว่า อนัตตา เพื่อความเข้าใจจริงๆ ก็จะไม่ผ่านไป ไม่ใช่เพียงแต่อ่านคำแปลว่า อนัตตา หมายถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่อัตตา แต่ว่าเมื่อไม่ใช่อัตตา ธรรมทั้งหลาย แม้การเห็นก็เป็นธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังเห็นอย่างนี้ เป็นอนัตตาอย่างไร นี่คือผู้ที่จะพิจารณาและอบรมเจริญปัญญาจนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์แจ้งในลักษณะของอนัตตา โดยไม่ใช่เพียงแต่พูดตามว่า อนัตตา หมายถึงสภาพธรรมที่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่อัตตา
ผู้ที่ศึกษาธรรมจะต้องพิจารณาในขณะที่กำลังเห็น ที่จะให้รู้ว่า เป็นอนัตตาอย่างไร ซึ่งผู้ที่ตรัสรู้แล้วเห็นว่า สิ่งที่ปรากฏไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่ผู้ที่ยังไม่ตรัสรู้อริยสัจธรรมจะปฏิเสธไม่ได้ว่า กำลังเห็นคน กำลังเห็นวัตถุ กำลังเห็น สิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่อนัตตา ต้องรู้ว่ายังไม่เข้าใจในลักษณะที่เป็นอนัตตาของสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา
เพราะฉะนั้น จะอบรมเจริญอย่างไรจึงจะประจักษ์ความเป็นอนัตตาของ สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จึงจะเข้าใจ ในความหมายของอนัตตาแท้ๆ ว่า เป็นอนัตตาจริงๆ
ที่เคยเห็นเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ นั้น ยังเป็นอัตตาอยู่ เพราะฉะนั้น จะต้องเริ่มเข้าใจว่าเห็นอะไร ที่กำลังเห็น เป็นโลกสว่างที่คนตาบอดไม่มีโอกาสจะเห็น นี่คือสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา
ถ้าลองคิดถึงคนที่ตาบอด ไม่มีโอกาสที่จะรู้ลักษณะของโลกสว่าง ของสภาพสว่างที่กำลังปรากฏทางตาเลย ก็จะค่อยๆ ระลึกได้ว่า นี่เป็นโลกหนึ่ง เป็นสภาพหนึ่ง เป็นของจริงอันหนึ่ง ซึ่งคนตาบอดไม่มีโอกาสจะเห็น
เพราะฉะนั้น คนตาดีชินกับการเห็น จึงเห็นว่า การเห็นเป็นปกติ เป็นธรรมดา ซึ่งความจริงต่างกับความมืดสนิทจริงๆ ถ้าลองหลับตานานๆ ให้มืดสนิทจริงๆ นานๆ จะเห็นว่า โลกที่ลืมตาขึ้นมานี้เป็นอีกโลกหนึ่ง เป็นโลกของความจริง เป็นโลกที่สว่าง และไม่ใช่เพียงแต่สว่างเท่านั้นที่ปรากฏทางตา ยังมีการเห็นนิมิต คือ รูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏทางตา
ในพระไตรปิฎกจะมีพยัญชนะว่า นิมิตและอนุพยัญชนะ ไม่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ แต่ถ้าพิจารณาจริงๆ ไม่ผ่านไปอีกที่จะเข้าใจว่านิมิตนั้นหมายความถึงอะไร ที่ใช้คำว่า นิมิตและ อนุพยัญชนะทางตา โดยศัพท์ นิมิต หมายความถึงความฝัน หรือสิ่งที่ไม่จริง
เพราะฉะนั้น ถ้าจะพิจารณา จะต้องทราบว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา เห็นเป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นนิมิตของธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เพราะว่าธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มีลักษณะที่อ่อนหรือแข็งเป็นต้นเวลาที่กระทบสัมผัสทางกาย แต่ที่ใดก็ตามที่มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม จะต้องมีสี กลิ่น รส โอชา คือ อาหาร ด้วย เพราะฉะนั้น ในที่ใดก็ตามที่มีสี ที่นั่นเป็นนิมิต คือ เครื่องหมายว่า ในที่นั้นมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
และที่จะเข้าใจได้ถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนทางตา ก็จะต้องมีการพิจารณาในขณะที่กำลังเห็น ซึ่งกำลังเป็นของจริง
เวลานี้มีสีสันกำลังปรากฏทางตา ทำให้รู้ว่า ที่นั่นมีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว คือ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ทำไมไม่พยายามจะจับอากาศ เพราะว่าไม่มีนิมิตหรือรูปร่างสัณฐานว่าในที่นั้นมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ทุกท่านสามารถที่จะนั่งบนเก้าอี้ หรือว่าหยิบอาหารรับประทาน หรือว่าทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ ถ้ากระทบสัมผัส ก็คือกระทบสัมผัสธาตุดินที่อ่อนแข็งเท่านั้น หรือว่าธาตุไฟซึ่งเย็นหรือร้อน หรือว่าธาตุลมซึ่งตึงหรือไหว แต่ว่าทางตาไม่สามารถกระทบสัมผัสธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมได้ แต่สามารถรู้ได้ว่า ที่ใดมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เพราะเห็นนิมิตของสิ่งที่ปรากฏทางตา ซึ่งเป็นสีสันวัณณะต่างๆ
เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาอย่างนี้ จะทำให้รู้ความจริงว่า สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาที่เป็นโลกสว่างนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ซึ่งทำให้เกิดนิมิตปรากฏ ทางตา เป็นสีสันวัณณะต่างๆ ซึ่งผู้ที่เข้าใจผิดยึดถือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ว่าเป็นคนกำลังนั่งที่เก้าอี้ นั่นคือความเห็นผิดที่ยึดถือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมว่าเป็นคน ว่าเป็นเก้าอี้ แต่ถ้าเป็นการพิจารณาที่ถูกต้อง และเริ่มเข้าใจถูก ก็จะรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตานี้ รูปร่างสัณฐาน สีสันวัณณะทั้งหลายเป็นแต่เพียงนิมิต หรือเครื่องหมายของธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมเท่านั้นเอง
ถ้าเข้าใจถูกอย่างนี้ ก็ไม่มีคนกำลังนั่งเก้าอี้ เพราะสิ่งที่ปรากฏเป็นแต่เพียงนิมิต คือ เครื่องหมายของธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เวลาที่กระทบสัมผัสเท่านั้น
การที่จะประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่วัตถุสิ่งต่างๆ จะต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏแต่ละทางตามความเป็นจริง รูปร่างกายของคนซึ่งยึดถือว่าเป็นเรา ลักษณะของรูป คือ อ่อนหรือแข็ง รูปวัตถุซึ่งยึดถือว่าเป็นเก้าอี้ ก็คืออ่อนหรือแข็ง เป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะอ่อนหรือแข็ง คือ ปฐวีธาตุ หรือธาตุดิน
เมื่อไรที่ประจักษ์ความจริงอย่างนี้ เมื่อนั้นจึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่เก้าอี้ ไม่ใช่วัตถุใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่ในขณะที่ลืมตาเห็น ก็รู้ว่าเห็นเพียงนิมิต คือ เครื่องหมายของธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมเท่านั้นเอง เพราะรูปสามารถที่จะปรากฏทางตาเป็นสีสันวัณณะต่างๆ สามารถที่จะปรากฏเวลาที่กระทบกายเป็นเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว เพราะฉะนั้น จึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
แต่ถ้าไม่พิจารณาอย่างนี้ก็ผ่านไป ทางตาที่จะเป็นอนัตตาจะเป็นได้อย่างไร ในเมื่อไม่เคยพิจารณาเลยว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นนิมิต เป็นเพียงสัณฐาน เป็นเพียงเครื่องหมายของธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมว่า ในที่นั้นมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมเท่านั้นเอง จริงไหม
จะต้องพิจารณา จนกระทั่งสติสามารถที่จะระลึกถูกต้องตรงตามความเป็นจริง และสามารถที่จะเข้าใจในอรรถของคำว่า อนัตตา โดยไม่เพียงแต่ผ่านไปและคิดว่า เข้าใจแล้วว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
ถ้าใครคิดว่าเข้าใจแล้วว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ขอให้ทราบว่า ยังผิวเผินมาก เพราะถ้าเข้าใจจริงๆ ทางตาเป็นอนัตตาอย่างไรที่กำลังเห็น ทางหูเป็นอนัตตาอย่างไรที่กำลังได้ยิน ทางจมูกเป็นอนัตตาอย่างไรที่กำลังได้กลิ่น ทางลิ้นเป็นอนัตตาอย่างไรที่กำลังลิ้มรส ทางกายเป็นอนัตตาอย่างไรที่กำลังกระทบสัมผัส ทางใจเป็นอนัตตาอย่างไรที่กำลังคิดนึก
เพราะฉะนั้น ไม่พ้นจากการอบรมเจริญปัญญา พร้อมสติที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจจริงๆ จึงจะเข้าใจในอรรถของพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
อย่าลืม เห็นนิมิต ซึ่งหมายถึงเครื่องหมายของธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ที่ปรากฏทางตาเป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ
ถ. อาจารย์พูดถึงคำว่า นิมิต ทำให้รู้สึกสับสน เพราะว่าอาจารย์เคยพูดอยู่เสมอให้พิจารณาว่าเป็นรูป เป็นนาม ไม่ได้พูดว่า ให้พิจารณาเป็นนิมิต
สุ. รูป คือ สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ใช่ไหม
ถ. ใช่
สุ. ทางตา รูปอะไรปรากฏ
ถ. สี
สุ. เป็นคนหรือเปล่า เป็นโต๊ะเก้าอี้หรือเปล่า
ถ. ไม่เป็น
สุ. ไม่เป็นแน่หรือ ถ้าไม่เป็นก็ประจักษ์ความเป็นอนัตตา
ถ. ยังไม่ใช่เห็นตามจริงอย่างนั้น
สุ. ไม่ใช่จริง จึงเป็นนิมิต เมื่อไม่ใช่ของจริงก็ใช้คำว่า นิมิต ไม่ใช่คน ไม่ใช่วัตถุสิ่งต่างๆ เป็นเพียงนิมิต เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่ที่นั่น
ท่านผู้ฟังหยิบนาฬิกาได้ เพราะเห็นนิมิต ใช่ไหม เป็นเครื่องหมายว่า ในที่นี้มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม จึงหยิบ กระทบสัมผัสที่แข็ง นาฬิกาไม่มี วัตถุสิ่งต่างๆ ก็ไม่มี แต่เป็นรูปที่ปรากฏทางตา ของจริงเป็นแต่เพียงรูปที่ปรากฏทางตา แต่ว่าที่ใดมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ที่นั่นมีสี มีกลิ่น มีรส มีโอชา เพราะฉะนั้น เมื่อสีปรากฏ จึงทำให้เกิดการตรึกนึกถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ ยึดถือในนิมิต คือ รูปร่างสัณฐานนี้ว่าเป็นวัตถุสิ่งหนึ่ง คือ นาฬิกา ซึ่งจะต้องเห็นเป็นอนัตตาจริงๆ ที่จะละการยึดถือสภาพธรรมทั้งหลายว่า เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา ต้องเป็นการประจักษ์แจ้งด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องตามลำดับ และต้องเป็นการรู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริงทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จึงจะดับความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้
เพราะฉะนั้น เวลาอ่านคำว่า อนัตตา และหาความหมายของคำว่า อนัตตา รู้ว่า อนัตตา หมายถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่วัตถุ สิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่าคิดว่าเข้าใจแล้ว นั่นเป็นเพียงพูดตาม แต่ว่ายังไม่ได้เข้าใจจริงๆ ตราบใดที่ยังเห็นเป็นนาฬิกา ไม่ใช่เห็นนิมิต เป็นแต่เพียงนิมิต เป็นแต่เพียงเครื่องหมายให้รู้ว่า มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อยู่ที่นี่
ถ. ระลึกได้ทั้ง ๒ อย่าง ระลึกเป็นนิมิตก็ได้ ระลึกเป็นรูปก็ได้
สุ. จนกว่าจะไม่ปรากฏว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นวัตถุสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่ปรากฏทางตา เป็นแต่เพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่ง และยังรู้ด้วยว่า สภาพธรรมชนิดนั้นเป็นเครื่องหมายของธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเครื่องหมายของคนหรือสัตว์ เพราะในขณะที่สติยังไม่ได้ระลึกอย่างถูกต้อง เห็นคน เห็นสัตว์ เห็นวัตถุสิ่งต่างๆ ไม่ใช่รู้ว่าเห็นนิมิต คือ เครื่องหมายของธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมเท่านั้น
ยังเป็นเห็นคน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น การที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง คือ เห็นนิมิต ซึ่งเป็นเครื่องหมายของธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่ใช่เครื่องหมายของคนนี้ คนนั้น หรือวัตถุสิ่งนั้นสิ่งนี้
ถ. คำว่า อนัตตา อีกความหมายหนึ่ง คือ บังคับบัญชาไม่ได้ ใช่ไหม
สุ. ถูกต้อง ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาให้เป็น อย่างอื่นได้ นอกจากเป็นเพียงนิมิต เครื่องหมายของธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เท่านั้น
ผู้ฟัง เพื่อนคนหนึ่งเคยถามผมว่า คุณศึกษาธรรมมานานพอสมควรแล้ว ศาสนาพุทธนั้นสอนอะไร ผมก็พูดเรื่องอนัตตาให้ฟัง เขาเถียงว่า ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ของจริงต้องเอามาตั้งไว้ต่อหน้าให้เห็นเหมือนทางวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคิดเลข อะไรอย่างนี้ ผมก็อธิบายเรื่องอนัตตาให้ฟัง เขาก็ว่าไม่เห็นมีอะไร เถียงกันอยู่อย่างนั้นผมคิดว่าที่พระพุทธศาสนาไม่แพร่หลายมาก เพราะความยากลำบากของธรรมชาติหรือตัวโมหะที่ปิดบัง ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปได้ยากมาก
สุ. พระพุทธศาสนาเป็นพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้และทรงแสดงโดยละเอียด สุขุม ลึกซึ้ง ซึ่งถ้าไม่พิจารณาโดยละเอียดรอบคอบแล้ว จะทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้
ถ้าผู้ใดไม่พิจารณาโดยละเอียดถูกต้องจริงๆ จะไม่พบพระธรรมที่แท้จริง และไม่สามารถที่จะอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ว่า พระผู้มีพระภาคและพระอริยสาวกทั้งหลายท่านได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมอย่างไร ถ้าเพียงแต่มีความสนใจในพระพุทธศาสนา แต่ไม่ศึกษา ก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจธรรมโดยถูกต้อง และบางท่านก็อยากจะปฏิบัติ
ที่วัดไทย ที่วิมเบิลดัน ก็ได้ไปสนทนาธรรมกับอุบาสกอุบาสิกาที่นั่น ท่านบอกว่า ท่านต้องการปฏิบัติ จะปฏิบัติอย่างไร ดูเหมือนว่าทุกท่านอยากจะปฏิบัติ และขอคำอธิบายหาหนทางที่จะปฏิบัติ ซึ่งก็ได้เรียนท่านว่า พิจารณาธรรมให้เข้าใจขึ้น และธรรมจะปฏิบัติ ไม่ใช่เราจะปฏิบัติ สติเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นปฏิบัติกิจของสติ ปัญญาเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นปฏิบัติกิจของปัญญา
ถ. อนัตตา เห็นไม่ได้ใช่ไหม
สุ. ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สภาพธรรมที่เป็นอนัตตาที่เห็นได้มีอย่างเดียว คือ สีสันวัณณะ หรือสิ่งที่ปรากฏทางตา ในขณะที่กำลังเห็น สิ่งที่ปรากฏเป็นอนัตตา เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง
ถ. ไม่ใช่รูปหรือ
สุ. เป็นรูป จะเอาอนัตตาออกจากรูป หรือว่ารูปไม่ใช่อนัตตา หรืออนัตตาไม่ใช่รูป หรือรูปก็เป็นอนัตตา
ถ. อนัตตากับรูปตัวเดียวกันหรือ
สุ. ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่เว้นเลย เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ทุกอย่างที่มีจริง ไม่ว่าจะปรากฏทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทั้งหมดเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ถ. เพราะฉะนั้น ที่เราเห็นก็เป็นอนัตตา
สุ. สภาพจริงๆ เป็นอนัตตา แต่ผู้ที่เห็น เห็นอนัตตา หรือว่าเห็นอัตตา
ถ. ขอบคุณ
สุ. เพราะฉะนั้น ต้องพิจารณาในขณะที่กำลังเห็นจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะให้รู้จริงๆ ว่า เข้าใจความหมายของอนัตตาจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่พูดตาม กำลังเห็นนี้เป็นอนัตตาอย่างไร
เห็นเป็นอนัตตา ถูกต้อง แต่เวลานี้ที่เห็นเป็นอนัตตาหรือยัง ยัง
เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด ต้องเป็นผู้ที่ตรง ต้องเป็นผู้ที่พิจารณาจึงสามารถเข้าใจพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงได้จริงๆ ถ้าเป็นผู้ที่ผิวเผินและก็อยากจะปฏิบัติ ไม่มีทางที่จะอบรมเจริญปัญญาได้ เพราะเป็นตัวตนที่จะปฏิบัติ ไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอนัตตาที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
และเมื่อไม่เข้าใจจะปฏิบัติได้อย่างไร เพราะต้องเป็นสติ คือ สัมมาสติที่ปฏิบัติกิจของสติ ต้องเป็นปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ปฏิบัติกิจของปัญญา โดยพิจารณารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง คือ เป็นอนัตตา
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๐๔๑ – ๑๐๕๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1021
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1022
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1023
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1024
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1025
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1026
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1027
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1028
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1029
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1030
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1031
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1032
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1033
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1034
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1035
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1036
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1037
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1038
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1039
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1040
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1041
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1042
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1043
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1044
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1045
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1046
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1047
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1048
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1049
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1050
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1051
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1052
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1053
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1054
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1055
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1056
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1057
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1058
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1059
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1060
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1061
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1062
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1063
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1064
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1065
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1066
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1067
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1068
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1069
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1070
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1071
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1072
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1073
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1074
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1075
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1076
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1077
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1078
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1079
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1080