แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1071
ครั้งที่ ๑๐๗๑
สาระสำคัญ
คำถามทบทวน (ปรมัตถธรรม ๔ กับ ขันธ์ ๕) คำถามทบทวนเฉพาะเรื่องจิต
สำหรับปรมัตถธรรม ๔ ที่ได้ศึกษาไปแล้วโดยนัยต่างๆ รวมถึงอกุศลจิตดวง ที่ ๑ เพื่อที่จะให้ท่านผู้ฟังไม่ลืมสิ่งที่ได้ฟัง ขอให้ท่านผู้ฟังพิจารณาทบทวนโดยการตอบคำถามต่างๆ ซึ่งถ้าตอบได้ทั้งหมด ก็พร้อมที่จะศึกษาต่อไป
คำถามทบทวน
สุ. ปรมัตถธรรม มีกี่อย่าง อะไรบ้าง
ผู้ฟัง ปรมัตถธรรม มี ๔ อย่าง ได้แก่ จิตปรมัตถ์ ๑ เจตสิกปรมัตถ์ ๑ รูปปรมัตถ์ ๑ และนิพพานปรมัตถ์ ๑
สุ. ปรมัตถธรรมอะไร เป็นสังขารธรรม
ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม
สุ. ปรมัตถธรรมอะไร เป็นอสังขตธรรม
ผู้ฟัง นิพพานเป็นอสังขตธรรม
สุ. จิตเป็นสังขารธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. สังขารธรรมเป็นจิตใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. สังขารธรรมไม่ใช่จิตอย่างเดียว เจตสิกและรูปก็เป็นสังขารธรรม เพราะเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ
รูปเป็นสังขารธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. สังขารธรรมเป็นรูปใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. ไม่ใช่รูปอย่างเดียว จิตและเจตสิกเป็นสังขารธรรมด้วย
ปรมัตถธรรมอะไรไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป
สุ. จิต เจตสิก รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานก็เป็นอนัตตาด้วย แต่นิพพานเที่ยง เป็นสุข
วิญญาณขันธ์ได้แก่ปรมัตถธรรมอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ได้แก่ จิตปรมัตถ์ ๘๙ โดยย่อ หรือ ๑๒๑ โดยพิสดาร (โดยนัยที่ โลกุตตรจิตเกิดร่วมกับองค์ฌานขั้นต่างๆ)
สุ. รูปขันธ์ได้แก่ปรมัตถธรรมอะไร
ผู้ฟัง รูปขันธ์ ได้แก่ รูป ๒๘ รูป
สุ. ปรมัตถธรรมอะไรเป็นเวทนาขันธ์บ้าง
ผู้ฟัง เจตสิกปรมัตถ์ ๑ ดวง คือ เวทนาเจตสิก
สุ. ปรมัตถธรรมอะไรเป็นสัญญาขันธ์บ้าง
ผู้ฟัง เจตสิกปรมัตถ์ ๑ ดวง คือ สัญญาเจตสิก
สุ. สังขารขันธ์ได้แก่ปรมัตถธรรมอะไร
ผู้ฟัง ได้แก่ เจตสิกปรมัตถ์ ๕๐ ดวง (เว้นเวทนาเจตสิกและสัญญาเจตสิก)
สุ. รูปขันธ์เป็นรูปใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะเป็นธรรมที่ไม่รู้อะไร
สุ. รูปเป็นรูปขันธ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะรูปไม่รู้อารมณ์
สุ. โดยนัย ๑๑ อย่าง คือ เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน เป็นภายใน เป็นภายนอก หยาบ ละเอียด ทราม ประณีต ไกล ใกล้ โดยนัยของขันธ์ซึ่งสามารถจำแนกออกได้โดยลักษณะ ๑๑ ประการ
นิพพานเป็นขันธ์ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่
สุ. เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะนิพพานเป็นขันธวิมุตติ เพราะนิพพานเที่ยง ไม่เกิดดับ
สุ. สังขารธรรมเป็นสังขารขันธ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่
สุ. สังขารธรรมเป็นสังขารขันธ์ก็มี ไม่ใช่สังขารขันธ์ก็มี ที่เป็นสังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิก ๕๐ เท่านั้น นอกจากนั้นไม่ใช่สังขารขันธ์ เวทนาเจตสิก ๑ ดวง ไม่ใช่สังขารขันธ์ สัญญาเจตสิก ๑ ดวง ไม่ใช่สังขารขันธ์ รูปทั้งหมดไม่ใช่สังขารขันธ์ และจิตทั้งหมดไม่ใช่สังขารขันธ์
สังขารขันธ์เป็นสังขารธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. เวทนาขันธ์เป็นสังขารธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. สังขารธรรมเป็นเวทนาขันธ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่ก็มี ไม่ใช่ก็มี
สุ. สังขารธรรมที่เป็นเวทนาขันธ์ มี ๑ คือ เวทนาเจตสิก สังขารธรรมอื่น คือ จิต เจตสิก ๕๑ และรูปไม่ใช่เวทนาขันธ์
ปรมัตถธรรม ๔ เป็นขันธ์กี่ขันธ์
ผู้ฟัง ปรมัตถธรรมทั้ง ๔ เป็นขันธทั้ง ๕ และมีขันธวิมุตติด้วย
สุ. ปรมัตถธรรม ๓ เป็นขันธ์ ๕ นิพพานปรมัตถ์ไม่ใช่ขันธ์
ขันธ์ ๕ ได้แก่ ปรมัตถธรรมกี่ปรมัตถ์
ผู้ฟัง ๓ ปรมัตถ์
สุ. คือ จิต เจตสิก รูป
รูปปรมัตถ์ เป็นขันธ์กี่ขันธ์
ผู้ฟัง ๑ ขันธ์
สุ. นามปรมัตถ์ เป็นขันธ์กี่ขันธ์
ผู้ฟัง ๔ ขันธ์
สุ. นามปรมัตถ์ ๒ คือ จิตและเจตสิก เป็นนามขันธ์ ๔ นามขันธ์มีเท่าไร
ผู้ฟัง นามขันธ์มี ๔
สุ. อะไรบ้าง
ผู้ฟัง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
สุ. นามปรมัตถ์มีเท่าไร
ผู้ฟัง มี ๒ จิต เจตสิก
สุ. ปรมัตถธรรมมีเท่าไร
ผู้ฟัง ๔
สุ. นามปรมัตถ์มีเท่าไร
ผู้ฟัง โดยตรงมี ๒ ถ้าสงเคราะห์นิพพานก็เป็น ๓
สุ. ถ้าแยกโดยนามกับรูป นามปรมัตถ์มี ๓ คือ จิต เจตสิก นิพพาน แต่ สำหรับจิต เจตสิก เป็นสังขารธรรม นิพพานเป็นวิสังขารธรรม
นามปรมัตถ์เป็นนามขันธ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่ก็มี ไม่ใช่ก็มี
สุ. ใช่ ๒ ไม่ใช่ ๑ นามปรมัตถ์ ๒ คือ จิต เจตสิก เป็นนามขันธ์ แต่นิพพานซึ่งเป็นนามปรมัตถ์ ไม่ใช่นามขันธ์
นามขันธ์เป็นนามปรมัตถ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. คือ จิตและเจตสิก
ปรมัตถธรรมอะไรไม่รู้อารมณ์
ผู้ฟัง รูปปรมัตถ์ทั้งหมด และนิพพานด้วย
สุ. ปรมัตถธรรม ๔ กับขันธ์ ๕ จะต้องไม่ขาดการพิจารณาโดยรอบคอบ ถ้าถามว่าปรมัตถธรรมอะไรไม่รู้อารมณ์ ก็มีปรมัตถธรรม ๒ คือ รูปปรมัตถ์และนิพพานปรมัตถ์ นิพพานไม่ใช่จิต เจตสิก เพราะฉะนั้น นิพพานปรมัตถ์ก็เป็น ปรมัตถธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ และรูปปรมัตถ์ก็ไม่รู้อารมณ์ด้วย
ขันธ์อะไรไม่รู้อารมณ์
ผู้ฟัง รูปขันธ์
สุ. ปรมัตถ์อะไรเป็นอารมณ์
ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป ทั้งหมดเป็นอารมณ์ได้ นิพพานด้วย
สุ. เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรมทั้ง ๔ เป็นอารมณ์ ไม่มีอะไรที่จิตจะรู้ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจิต หรือเจตสิก หรือรูป หรือนิพพานก็ตาม สภาพธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมด พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นอารมณ์
สภาพธรรมทุกอย่างเป็นอารมณ์ ถึงแม้ไม่ใช่ปรมัตถ์ เช่น สมมติบัญญัติต่างๆ ก็เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น จิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ทุกชนิด ทุกอย่าง
ขันธ์อะไรเป็นอารมณ์
ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป เป็นอารมณ์
สุ. ถามถึงขันธ์
ผู้ฟัง ขันธ์ทั้ง ๕
สุ. ต่อไปจะถามทบทวนเฉพาะเรื่องจิต
จิตเป็นอภิธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. จิตเป็นปรมัตถธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. จิตเป็นสังขารธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. จิตเป็นวิสังขารธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่
สุ. จิตเป็นสังขตธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. จิตเป็นอสังขตธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่
สุ. จิตเป็นนิพพานใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่
สุ. จิตเป็นเวทนาขันธ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่
สุ. จิตเป็นสังขารขันธ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่
สุ. จิตเป็นวิญญาณขันธ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. โลกุตตรจิตเป็นอสังขตธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่
สุ. ถูกต้อง อย่าลืมว่า จิตไม่ใช่นิพพาน เพราะฉะนั้น โลกุตตรจิตไม่ใช่อสังขตธรรม เฉพาะนิพพานเท่านั้นที่เป็นอสังขตธรรม เพราะไม่เกิดดับ แต่โลกุตตรจิตเป็นสังขารธรรม เป็นสังขตธรรม เพราะเกิดดับ
จิตเป็นขันธวิมุตติ คือ พ้นจากขันธ์ใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่
สุ. นิพพานเป็นอารมณ์ของสังขตธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
สุ. เป็นอารมณ์เฉพาะสังขตธรรมที่เป็นจิต เจตสิก
จิตเป็นอารมณ์ได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
สุ. ต่อไปเป็นเรื่องของวิบาก เรื่องของธรรมที่เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม
ขันธ์อะไรเป็นวิบากได้
ผู้ฟัง วิญญาณขันธ์
สุ. ต้องคิดนิดหน่อย และต้องรอบคอบ คือ อย่าหลงลืม ถามถึงขันธ์ ขันธ์ ๕ ขันธ์ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ขันธ์อะไรเป็นวิบากได้
ผู้ฟัง วิญญาณขันธ์
สุ. ท่านผู้ฟังมีคำตอบอย่างอื่นไหม ขันธ์อะไรเป็นวิบากได้ เพื่อความไม่ลืม ขันธ์ ๕ กับปรมัตถธรรม ๔
ผู้ฟัง วิบากจิตกับเจตสิกที่ประกอบ
สุ. เพราะฉะนั้น นามขันธ์ ๔ ทั้งจิตและเจตสิกเป็นวิบาก
ถ้าจิตเป็นวิบากเกิดขึ้น เจตสิกที่เกิดร่วมกันต้องเป็นวิบากด้วย เวลาที่กุศลจิตเกิด เจตสิกทั้งหมดต้องเป็นกุศล อโลภะ อโมหะ ต้องเป็นกุศล แต่เวลาที่เป็น อัพยากตะ คือ วิบากจิตหรือกิริยาจิต เจตสิกที่เกิดกับวิบากจิตก็เป็นวิบาก เจตสิกที่เกิดกับกิริยาจิตก็เป็นกิริยา เพราะฉะนั้น ทั้งจิตและเจตสิก เมื่อเป็นวิบากก็เป็นวิบากด้วยกัน เมื่อเป็นกุศลก็เป็นกุศลด้วยกัน เมื่อเป็นอกุศลก็เป็นอกุศลด้วยกัน เมื่อเป็นกิริยาก็เป็นกิริยาด้วยกัน กุศลเจตสิกจะไปเกิดกับอกุศลจิตไม่ได้ กุศลเจตสิกจะไปเกิดกับวิบากจิตไม่ได้ กุศลเจตสิกจะไปเกิดกับกิริยาจิตไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงใช้คำว่า โสภณเจตสิก เพราะเกิดกับกุศลวิบากก็ได้ เกิดกับกิริยาก็ได้ เกิดกับกุศลก็ได้
อกุศลธรรมได้แก่ปรมัตถธรรมอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ได้แก่ จิต เจตสิก
สุ. เวทนาขันธ์เป็นชาติอะไรบ้าง
ผู้ฟัง เวทนาขันธ์ เป็นทั้ง ๔ ชาติ
สุ. เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นวิบาก เป็นกิริยา ได้ทั้ง ๔ ชาติ เพราะ เวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง กุศลจิตก็มีเวทนาเจตสิกเกิดด้วย อกุศลจิตก็มี เวทนาเจตสิกเกิดด้วย วิบากจิตก็มีเวทนาเจตสิกเกิดด้วย กิริยาจิตก็มีเวทนาเจตสิก เกิดด้วย เพราะฉะนั้น เวทนาขันธ์ก็เป็นชาติกุศลบ้าง เป็นชาติอกุศลบ้าง เป็น ชาติวิบากบ้าง เป็นชาติกิริยาบ้าง
อกุศลธรรมมีกี่ขันธ์
ผู้ฟัง มีนามขันธ์ทั้ง ๔
สุ. อัพยากตธรรมมีกี่ขันธ์
ผู้ฟัง มีนามขันธ์ทั้ง ๔
สุ. โดยหมวด ๓ กุสลา ธมฺมา ได้แก่ กุศลจิตและกุศลเจตสิก อกุสลา ธมฺมา ได้แก่ อกุศลจิตและอกุศลเจตสิก อัพยากตา ธมฺมา ได้แก่ธรรมอื่นทั้งหมด ที่ไม่ใช่กุศลและอกุศล เพราะฉะนั้น รูปทั้งหมดเป็นอัพยากตะ รูปไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่มีเจตนาเป็นกุศล หรือทำกุศลกรรมใดๆ ไม่ได้เลย นิพพานก็เป็นอัพยากตะ เพราะฉะนั้น ถามว่า อัพยากตธรรมมีกี่ขันธ์
ผู้ฟัง มีทั้ง ๕ ขันธ์
สุ. ขันธ์อะไรเป็นอัพยากตะ
ผู้ฟัง ได้แก่ ขันธ์ทั้ง ๕
สุ. ต้องจำแนกให้ละเอียดว่า รูปขันธ์ ๑ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบากและกิริยาจึงจะเป็นอัพยากตะ
ขันธ์ที่ไม่ใช่อัพยากตธรรมมีไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
สุ. ต้องคิด เรื่องของการศึกษาพระอภิธรรม หรือปรมัตถธรรม ต้องคิดๆ พิจารณา จะหลับจะนอน จะตื่นขึ้นมาก็ยังคิดอีก พิจารณาอีกถึงธรรมที่ได้ยินได้ฟังมา จนกว่าจะแจ่มแจ้งจริงๆ นี่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ท่านผู้ฟังซึ่งเห็น ได้ยิน แทนที่จะเป็นอกุศล ก็เป็นกุศล โดยการคิดถึงธรรมที่ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ เนืองๆ และพิจารณาจนกว่าจะเข้าใจแจ่มแจ้ง มิฉะนั้น เห็น อกุศลจิตก็เกิด คิดตามสิ่งที่เห็น แต่เมื่อได้ยินได้ฟังธรรม แทนที่จะคิดเรื่องอื่น ก็ยังมีปัจจัยที่จะให้คิดพิจารณาในความละเอียดของธรรมว่า ขันธ์ที่ไม่ใช่อัพยากตธรรมมีไหม
ผู้ฟัง มี ได้แก่ กุศลจิต อกุศลจิต และเจตสิกที่ประกอบด้วย
สุ. ถูกต้อง แต่ตอบตรงกับคำถาม คือ กุศลขันธ์และอกุศลขันธ์ ซึ่งได้แก่ กุศลจิต และอกุศลจิต และเจตสิกที่ประกอบนั่นเอง
อัพยากตธรรมที่ไม่ใช่ขันธ์มีไหม
ผู้ฟัง มี คือ นิพพาน
สุ. อัพยากตธรรมที่ไม่ใช่ขันธ์ คือ นิพพาน เพราะปรมัตถธรรมมี ๔ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งจิต เจตสิก รูป เป็นขันธ์ นิพพานเท่านั้นที่ไม่ใช่ขันธ์ แต่เป็นอัพยากตธรรม
อัพยากตธรรมเป็นสังขารธรรม หรือวิสังขารธรรม
ผู้ฟัง อัพยากตธรรมเป็นสังขารธรรมก็มี เป็นวิสังขารธรรมก็มี
สุ. ถูกต้อง ข้อนี้ท่านผู้ฟังก็คิดรายละเอียดเองได้ รูปทั้งหมดเป็น สังขารธรรม วิบากจิต วิบากเจตสิก กิริยาจิต กิริยาเจตสิกเป็นสังขารธรรม เฉพาะนิพพานซึ่งเป็นอัพยากตะเท่านั้นที่เป็นวิสังขารธรรม
เสียง ทุกท่านกำลังได้ยินเสียง ตามธรรมดา เสียงเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม หรืออัพยากตธรรม
ผู้ฟัง เป็นอัพยากตธรรม
สุ. เพราะเป็นรูปธรรม
สังขารธรรมเป็นอัพยากตธรรมใช่ไหม
ผู้ฟัง เป็นอัพยากตธรรมก็มี ไม่เป็นก็มี
สุ. คือ รูปทั้งหมดเป็นอัพยากตธรรม วิบากจิตและวิบากเจตสิกเป็น อัพยากตธรรม กิริยาจิตและกิริยาเจตสิกเป็นอัพยากตธรรม
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๐๗๑ – ๑๐๘๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1021
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1022
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1023
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1024
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1025
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1026
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1027
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1028
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1029
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1030
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1031
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1032
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1033
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1034
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1035
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1036
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1037
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1038
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1039
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1040
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1041
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1042
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1043
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1044
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1045
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1046
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1047
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1048
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1049
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1050
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1051
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1052
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1053
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1054
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1055
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1056
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1057
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1058
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1059
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1060
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1061
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1062
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1063
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1064
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1065
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1066
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1067
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1068
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1069
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1070
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1071
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1072
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1073
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1074
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1075
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1076
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1077
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1078
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1079
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1080