แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1092
ครั้งที่ ๑๐๙๒
สาระสำคัญ
หน้าที่ของผู้ที่อบรมเจริญปัญญา
กามฉันทนิวรณ์ดับได้ด้วยอนาคามิมรรค
ระลึกรู้ว่าไม่ใช่ตัวตนเป็นเพียงรูปธรรมหรือนามธรรม
ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมจึงทำให้เดือดร้อน
ความหมายของอนัตตา
การอบรมเจริญปัญญาจะต้องรู้ทั่ว
อินทรียสังวร คือ สติเจตสิก
จุดประสงค์ในการฟังธรรมเพื่อให้เห็นสภาพความเป็นอนัตตาของธรรมที่กำลังปรากฏ
สุ. คำถามของท่านผู้ฟังแสดงว่า ยังไม่แน่ใจว่ามีเพียงหนทางเดียว เพราะฉะนั้น พยายามที่จะหาทางอื่น ใช่ไหม
ถ. ที่อาจารย์พูดผมก็เข้าใจ โดยปกติกามฉันทนิวรณ์ทำให้เราปั่นป่วนวุ่นวายเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย
สุ. ท่านผู้ฟังจะเป็นพระอนาคามีบุคคล ก่อนจะเป็นพระโสดาบันบุคคลหรือ
ถ. เป็นไปไม่ได้
สุ. เพราะฉะนั้น ต้องเป็นพระโสดาบันบุคคลก่อน พระโสดาบันบุคคลเป็นผู้ที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏว่า เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม ดับความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล พระโสดาบันจะไปทำอะไรกับกามฉันทนิวรณ์ได้ พระโสดาบันเองยังมีกามฉันทนิวรณ์ ยังพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ แต่ไม่มีความเห็นผิดในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น เมื่อยังไม่เป็นพระโสดาบัน จะไปทำอะไรกับกามฉันทนิวรณ์ ทางเดียว คือ ระลึกรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นสภาพธรรมซึ่งเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ นี่เป็นหน้าที่ของผู้ที่อบรมเจริญปัญญาเพื่อที่จะดับกิเลสบรรลุถึงความเป็นพระโสดาบันบุคคล ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น หรือว่าไปแสวงหาหนทางอื่นที่จะดับกามฉันทะ
ถ. จริง แต่เท่าที่สังเกตดูตัวเองมีเรื่องวุ่นวายต่างๆ ก็เกี่ยวกับนิวรณ์นี้แหละ
สุ. เพราะมัววุ่นที่จะดับกามฉันทนิวรณ์ จึงไม่เจริญปัญญาที่จะดับมิจฉาทิฏฐิ หรือสักกายทิฏฐิ
ถ. กามฉันทนิวรณ์ทำให้เพลินไป วุ่นวายไปทุกวันนี้ เป็นเหตุทำให้ปัญญาแทนที่จะเจริญเร็วหน่อย กลับทำให้ช้าลง หลงลืมสติวันแล้ววันเล่า บางวันไม่เกิดเลย หลายๆ วันก็เคย เป็นการทอนกำลังจริงๆ
สุ. เป็นเพราะกามฉันทนิวรณ์ หรือเป็นเพราะความไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม
ถ. ไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมก็เป็นตัวการทอนกำลัง แต่กามฉันทะนี้ทำให้หลงลืมสติ
สุ. ถ้ายังไม่รู้ว่าไม่ใช่ตัวตน จะดับกามฉันทนิวรณ์ได้อย่างไร ถ้าไม่รู้ว่า เป็นนามธรรมและรูปธรรม จะดับกามฉันทนิวรณ์ได้อย่างไร และถึงแม้ว่ารู้แล้ว ก็ยังดับไม่ได้ถ้ายังไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล
ไม่อยากมีกามฉันทนิวรณ์ อย่าลืมว่า สติปัฏฐานนั้นละอภิชฌาและโทมนัส กามฉันทะเกิดเพราะมีปัจจัย ถ้าไม่มีปัจจัยกามฉันทะก็ไม่เกิด และเมื่อกามฉันทะเกิด ไม่รู้ว่าเป็นสภาพนามธรรมชนิดหนึ่งจึงเดือดร้อน ยึดถือว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น ถ้าจะดับก็ต้องเกิดปัญญาที่รู้ว่าไม่ใช่เรา เป็นลักษณะของสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย
ถ. เราเจริญสติ ก็ไม่ใช่ว่าสติปัญญาเกิดขึ้นทุกครั้ง และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะรู้ความเป็นอนัตตาทุกครั้งก็หาไม่ บางครั้งก็ไม่เป็นไป
สุ. เมื่อไม่เป็นไปจะทำอย่างไร ก็ต้องอบรมเจริญสติระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมอื่นๆ ต่อไปอีก ไม่ใช่ไปวุ่นวายกับกามฉันทนิวรณ์
ถ. ก็ตัวนี้ทำให้เดือดร้อน
สุ. ไม่ใช่การไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมหรือที่ทำให้เดือดร้อน อะไรกันแน่ที่ทำให้เดือดร้อน การไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมว่าไม่ใช่ตัวตนใช่ไหม ที่ทำให้เดือดร้อน
ผู้ฟัง เรื่องของผู้ที่เจริญสติปัฏฐานใหม่ๆ หรือผิดๆ มีลักษณะเหมือนๆ กัน คือ เมื่อโลภะเกิดขึ้นก็เดือดร้อนไม่อยากให้โลภะเกิด เมื่อโทสะเกิดขึ้นก็เดือดร้อน ไม่อยากให้โทสะเกิด เมื่อโมหะเกิดขึ้นก็เดือดร้อนไม่อยากให้โมหะเกิด จนกระทั่ง สติปัฏฐานเกิดน้อยก็เดือดร้อนอยากให้สติปัฏฐานเกิดมาก เมื่อสติปัฏฐานเกิดมาก ก็ดีใจ ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานใหม่ๆ หรือผิดๆ มีลักษณะอย่างนี้ทั้งหมด
ส่วนการเจริญสติปัฏฐานที่ถูก เจริญไปๆ รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงมากขึ้นๆ สภาพธรรมต่างๆ เหล่านี้เมื่อเกิดมากขึ้นแล้ว ความเดือดร้อนจะค่อยๆ ลดไป เพราะทราบว่า ทุกสิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สติปัฏฐานไม่เกิดก็เพราะปัจจัยยังมีน้อย โลภะ โทสะ โมหะเกิดมาก เพราะปัจจัยมีมาก เพราะฉะนั้น เมื่อปัจจัยมีแล้ว ก็ต้องเกิด ถ้าเดือดร้อนขึ้นมาไม่มีสติระลึกรู้ ก็เดือดร้อนกันต่อไป ความเดือดร้อนหรือไม่เดือดร้อนนั้นขึ้นกับปัญญา
สุ. เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญาจะต้องรู้ทั่ว อย่าลืม ถ้า กามฉันทนิวรณ์เกิดแล้วจะไม่รู้ เมื่อไรจะละความเห็นผิดที่ยึดถือกามฉันทนิวรณ์นั้นว่าเป็นเรา ซึ่งแสดงว่ายังไม่ทั่ว ที่ว่าทั่วนั้น คือ ทั่วจริงๆ ในชีวิตประจำวันสิ่งใดก็ตามที่ปรากฏแล้วไม่รู้ หรือพยายามที่จะไม่รู้ ในขณะนั้นปัญญาจะเจริญไม่ได้ ไม่สามารถที่จะดับการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดปรากฏขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สติสามารถระลึกรู้ในลักษณะที่แท้จริง ซึ่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ถ. บางครั้งสติระลึกรู้ลักษณะที่เป็นวิเสสลักษณะแท้ๆ แต่ในคราวที่กิเลสมีกำลัง ก็ไม่สามารถจะหยุดยั้งได้ในทันที ยังมีติดต่อสืบเนื่องกันอยู่ต่อไป
สุ. แสดงให้เห็นว่า การอบรมเจริญสติปัฏฐานต้องอบรมนานจริงๆ เพียงเท่านั้นยังไม่พอ เพราะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนิดเดียวก็หลงลืมสติ และอกุศลก็มีกำลัง แต่สภาพธรรมตามความเป็นจริงในขณะนั้นเป็นอย่างนั้น ไม่มีใครสามารถที่จะให้บุคคลนั้นแทงตลอดในสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็น พระอริยบุคคลทันที ในเมื่อการสะสมที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมยังไม่พร้อม ยังไม่พอ
ถ้าเข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน จะเข้าใจในความหมายของคำว่า อบรม ซึ่งไม่ใช่เกิดขึ้นทันทีได้ เพราะเมื่อสติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม หลังจากนั้นอกุศลประเภทหนึ่งประเภทใดอาจจะเกิด ก็ต้องอบรมปัญญาที่จะรู้ลักษณะของ สภาพธรรมที่เกิดต่อ จนกระทั่งปรากฏสภาพที่เป็นอนัตตาจริงๆ
ความหมายของอนัตตา คือ ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่วัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดทั้งสิ้น เมื่อไร แม้ในขณะที่กำลังเห็น ปัญญาก็ต้องสามารถรู้ในลักษณะที่เป็นอนัตตาของสิ่งที่กำลังปรากฏ ซึ่งก่อนอบรมเจริญปัญญาเห็นอัตตาทั้งสิ้น เต็มไปด้วยคนมากมาย วัตถุสิ่งต่างๆ
เมื่อไรจะเป็นลักษณะที่เป็นอนัตตาแท้ๆ จริงๆ ซึ่งบุคคลที่ประจักษ์แจ้งแล้วประจักษ์ว่าไม่ใช่ตัวตนเลย ถ้าไม่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ระลึกรู้สภาพรู้ทางตาว่าต่างกับสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา จนกว่าจะชิน จนกว่าจะเริ่มรู้จริงๆ จะไม่มีการประจักษ์แจ้งในสภาพที่เป็นอนัตตาในขณะที่เห็น
แต่ถ้าอบรมเจริญสติระลึกรู้ในสิ่งที่ปรากฏ และเข้าใจจริงๆ ว่า ลักษณะแท้จริงต้องไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีวัตถุสิ่งใดในสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาทั้งสิ้น เป็นแต่เพียงความต่างกันของผู้ที่มีจักขุปสาท มีการเห็น กับผู้ที่ไม่มีจักขุปสาท ไม่มีการเห็นเท่านั้น
ความต่างกันของคนตาดีกับคนตาบอด คือ ในขณะที่กำลังเห็นเป็นโลกหนึ่ง เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่งซึ่งปรากฏเท่านั้นเองสำหรับผู้ที่มีจักขุปสาท แต่ว่าสำหรับผู้ที่ตาบอด ความต่างกัน คือ เพียงสภาพที่กำลังปรากฏในขณะนี้ไม่มี เพราะฉะนั้น ลักษณะที่แท้จริงของสภาพที่กำลังปรากฏทางตา คือ เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา จะมีสัตว์ มีบุคคล มีวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดในสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นไม่ได้
อนัตตาต้องปรากฏทางตา อนัตตาต้องปรากฏทางหู อนัตตาต้องปรากฏ ทางจมูก อนัตตาต้องปรากฏทางลิ้น อนัตตาต้องปรากฏทางกาย อนัตตาต้องปรากฏทางใจจริงๆ ในชีวิตประจำวัน จึงสามารถดับการยึดถือว่า เป็นอัตตา หรือว่าตัวตนได้
ถ. ที่อาจารย์ว่า มีทางเดียว คือ สติระลึกรู้ ผมสงสัยว่า ศีล อินทรียสังวร และมีหลายๆ อย่างที่จะช่วยให้สติเกิดขึ้น เป็นไปได้ไหม
สุ. ซึ่งได้แก่ จิตและเจตสิกต่างๆ เมื่อมีปัจจัยของโสภณเจตสิกจะเกิด โสภณเจตสิกจึงเกิด กุศลจิตจึงเกิด ไม่ใช่เราจะสำรวม หรือไม่ใช่เราจะทำศีล ถ้าเป็น ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ต้องเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม แท้ๆ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน นี่เป็นประโยชน์ของการอบรมเจริญปัญญา คือ การบ่มปัญญาให้สุก ให้เจริญขึ้นด้วยการฟังพระธรรมโดยละเอียด
เมื่อได้ศึกษาเรื่องของปรมัตถธรรม โดยความเข้าใจต้องรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นสภาพที่เป็นจิต หรือเจตสิก หรือรูปที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เวลาที่กุศลธรรมมีปัจจัย จึงเกิด ไม่ใช่เราเป็นผู้ที่จะทำศีล ถ้ายังคงมีความเห็นว่า เราจะทำศีล ขณะนั้นไม่ใช่การอบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่การศึกษาปรมัตถธรรม
เพราะฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไรกับปรมัตถธรรมที่ได้เรียนไปแล้วว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ในเมื่อรู้ว่า เป็นจิตแต่ละประเภท เป็นเจตสิกแต่ละชนิด เป็นรูปแต่ละลักษณะ แต่ก็ยังมีตัวตนที่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ก็แสดงว่าไม่ได้เข้าใจจริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม
ถ. ... (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. อินทรียสังวร คือ คน หรือว่าสติเจตสิก
ถ. อย่างในทีฆนิกาย ศีลขันธวรรค มีศีล มหาศีล อินทรียสังวร และ อะไรๆ อีกหลายอย่าง
สุ. แสดงถึงสภาพของสติเจตสิกขั้นต่างๆ ซึ่งเป็นไปในอารมณ์ต่างๆ
ถ. แต่อินทรีย์สังวรไม่ใช่ ...
สุ. อินทรียสังวร ได้แก่ จักขุนทรีย์ สังวรทางตา
ถ. สังวรคืออะไร อาจารย์ช่วยขยายศัพท์
สุ. สติเกิด จึงระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามขั้นของสติ สังวรในปาฏิโมกข์ พระวินัยบัญญัติ หรือว่าสังวรในอินทรีย์ หรือว่าสังวรในอาชีวะ หรือว่าสังวรในการใช้ปัจจัย ทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นสภาพธรรมแต่ละชนิดซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ถ. สังวรไม่ให้ล่วงทุจริตกรรม หรือให้เกิดสติ รู้สึกว่ามีหลายๆ อย่าง
สุ. ดิฉันเรียนถามแล้วว่า คนสังวร หรือว่าสติเจตสิกสังวร
ถ. เจตสิกสังวร
สุ. ศึกษาแล้วว่า เป็นเจตสิก ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิต ดับพร้อมกับจิต เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ท่านผู้ฟังต้องการให้สติปัฏฐานเกิดบ่อยๆ ใช่ไหม ต้องการให้เกิดมากๆ ใช่ไหม
ถ. ของดี ใครจะไม่ต้องการ ไม่ว่าใครๆ ก็ต้องการทั้งนั้น
สุ. สติปัฏฐานที่จะเกิดมากได้ เพราะเกิดขึ้นทีละขณะๆ ถ้าขณะนี้ สติปัฏฐานยังไม่เกิด จะหวังว่าสติปัฏฐานจะมากได้เมื่อไร แต่ถ้าสติปัฏฐานเกิดขณะนี้หน่อยหนึ่ง ขณะต่อๆ ไปอีกหน่อยหนึ่ง วันหนึ่งก็ต้องเกิดมากได้
เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังมุ่งคิดถึงเรื่องอื่นแทนที่จะคิดว่า ถ้าขณะนี้สติปัฏฐานเกิดครั้งหนึ่ง อีกหลายๆ วันเกิดอีกครั้งหนึ่ง อีกหลายๆ เดือนเกิดอีกครั้งหนึ่ง วันหนึ่งก็มากได้
ไม่พอใจ ช้าไป กิเลสอยู่ที่ไหน อยู่ที่ใจ เป็นนามธรรม ทำอย่างไรจึงจะเอากิเลสซึ่งเป็นนามธรรมออกจากใจได้ ซึ่งไม่เหมือนกับวัตถุที่จะไปหยิบยกตักทิ้งไป จะเอาสติเดี๋ยวนี้มากๆ หรือว่านิดหนึ่งเดี๋ยวนี้ และต่อไปก็เพิ่มขึ้นๆ ตามกำลัง
ผู้ฟัง เรื่องของปัจจัยได้ฟังเสมอๆ เวลาที่ไปฟังพระสวดอภิธรรม พอถึง ปัจจัย ได้ฟังค่อนข้างจะชัดเจน ไม่ใช่สวดแบบร้องเพลง สวดอย่างธรรมดาจะได้ฟังชัดเจน จะได้ยินคำว่า วิปากปัจจโย อาหารปัจจโย กัมมปัจจโย ซึ่งตอนที่เรามีชีวิตอยู่เราไม่ค่อยได้ศึกษาพระอภิธรรม แต่พอตายไปจึงมีคนมาสวดให้เราฟัง รู้สึกว่า ไม่เป็นประโยชน์แก่เราเลย
ผมฟังอาจารย์บรรยายมาหลายปีแล้ว ฟังทีไรก็รู้สึกว่าเกิดประโยชน์ เกิดความเลื่อมใสว่า อาจารย์สามารถเอาธรรมซึ่งอยู่ในพระอภิธรรม อยู่ในตำรามาอธิบายว่า ความจริงสิ่งเหล่านั้นอยู่ในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ผมรู้สึกเลื่อมใส และรู้สึกว่า ผมจะมีฉันทะในการเผยแพร่ธรรม ตามที่อาจารย์กล่าวว่า บางคนอาจจะมีฉันทะในอะไรบ้าง ซึ่งผมก็มีความพอใจที่จะแพร่ธรรมของอาจารย์ และผมก็พยายามทำอยู่
สุ. ขออนุโมทนาที่ท่านเห็นประโยชน์ว่า สำหรับเรื่องของปัจจัยทั้งหลาย ไม่ควรจะเป็นหลังจากที่สิ้นชีวิตแล้วจึงได้ฟังหรือได้ยิน แต่ควรจะเป็นการศึกษา ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ให้เข้าใจว่า สิ่งที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้โดยละเอียด แท้ที่จริงแล้ว คือ ทุกขณะในชีวิตประจำวัน ซึ่งถ้าเราไม่ได้ยินได้ฟังเราก็ไม่รู้ เท่านั้นเองว่า ในขณะนี้ การกระทำนี้โดยเหตุปัจจัย หรือว่าโดยอธิปติปัจจัย
เวลาที่โลภเจตสิกเกิดขึ้นทำให้จิตเป็นโลภมูลจิต นอกจากจะทำให้จิตและเจตสิกเกิดแล้ว โลภเจตสิกซึ่งเป็นเหตุนั้นยังทำให้รูปเกิดร่วมด้วย และสำหรับอโลภะ อโทสะก็เช่นเดียวกัน เวลาที่เกิดขึ้น นอกจากจะทำให้จิตและเจตสิกเกิดร่วมด้วยแล้ว ยังเป็นปัจจัยทำให้รูปเกิดขึ้นเป็นไปในกุศลทั้งหลายด้วย และในขณะที่จิตเจตสิกเกิดขึ้นเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้างนั่นเอง สภาพธรรมใดเป็นอธิปติ คือ เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าในขณะนั้นก็ล้วนแต่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนทั้งสิ้น
ผู้ฟัง พระอภิธรรมนี่ ฟังแล้วจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็เป็นประโยชน์ ขอให้มีโอกาสได้ฟัง จะมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว แม้กระทั่งสัตว์เดรัจฉานฟังภาษาคนรู้เรื่องที่ไหน แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ เช่น ค้างคาวในถ้ำได้ฟังพระสวดอภิธรรม ตายไปยังได้เกิดในสวรรค์ ชาติสุดท้ายยังได้มาเกิดเป็นลูกศิษย์ของท่านพระสารีบุตร มาเป็นพระที่ทรงพระอภิธรรมมาตลอดด้วย
สุ. ท่านผู้ฟังท่านหนึ่งกล่าวว่า การฟังของท่านสับสน เพราะเป็นเรื่องของสติปัฏฐาน และเป็นเรื่องจิต เป็นเรื่องเจตสิก บางครั้งก็มีเรื่องรูปด้วย และก็มาถึงเรื่องของปัจจัย รู้สึกว่าเป็นการยากสำหรับท่าน เพราะท่านอาจจะไม่คุ้นเคยกับการที่จะศึกษาธรรมในแบบต่างๆ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วมักจะศึกษาตามนัยของ อภิธัมมัตถสังคหะซึ่งรจนาโดยท่านพระอนุรุทธาจารย์ โดยท่านประมวลจิตทั้งหมดเป็นปริจเฉทที่ ๑ เจตสิกทั้งหมดเป็นปริจเฉทที่ ๒ และต่อไปจนถึงปริจเฉทที่ ๙
แต่สำหรับการอบรมเจริญสติปัฏฐาน จุดประสงค์ในการบรรยายเพื่อที่จะให้ท่านผู้ฟังได้พิจารณาธรรม เพื่อให้เห็นสภาพความเป็นอนัตตาของธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น เมื่อได้พูดถึงเรื่องจิตบ้างเล็กน้อย เจตสิกบ้างเล็กน้อย เพื่อที่จะให้เห็นสภาพความเป็นอนัตตาจริงๆ ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน จึงได้กล่าวถึงเรื่องของปัจจัย เพราะการที่สภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดจะเกิดขึ้นต้องมีปัจจัย คือ สภาพธรรมที่อิงอาศัย อุปการะเกื้อกูลให้สภาพธรรมนั้นๆ เกิดขึ้น เพราะสภาพธรรมที่เป็นอนัตตานั้นไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นตามใจชอบได้ แต่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น
สำหรับปัจจัยทั้งหมด มีประเภทใหญ่ๆ ๒๔ ปัจจัย เป็นส่วนที่ยากที่สุดของพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เพราะในขณะนี้เองจิตของแต่ละบุคคลเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวและดับไปอย่างรวดเร็วทันที ยังไม่มีใครประจักษ์ในการเกิดขึ้นและ ดับไปของจิตดวงที่ดับไปแล้ว หรือที่กำลังดับอยู่ในขณะนี้ เพราะยังไม่ได้รู้ความจริง หรือว่าความชัดเจนของจิตซึ่งเกิดและดับเมื่อครู่นี้ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีอะไรเป็นปัจจัย แต่พระผู้มีพระภาค แม้ว่าจิตจะเกิดดับอย่างรวดเร็ว คือ เพียงเกิดขึ้น ขณะเดียวและดับไป ก็ทรงตรัสรู้สภาพที่เป็นปัจจัยซึ่งทำให้จิตดวงนั้นเกิดขึ้นและทำให้จิตดวงต่อๆ ไปเกิดขึ้นด้วย
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๐๙๑ – ๑๑๐๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1081
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1082
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1083
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1084
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1085
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1086
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1087
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1088
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1089
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1090
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1091
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1092
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1093
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1094
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1095
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1096
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1097
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1098
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1099
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1100
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1101
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1102
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1103
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1104
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1105
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1106
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1107
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1108
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1109
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1110
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1111
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1112
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1113
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1114
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1115
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1116
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1117
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1118
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1119
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1120
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1121
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1122
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1123
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1124
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1125
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1126
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1127
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1128
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1129
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1130
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1131
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1132
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1133
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1134
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1135
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1136
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1137
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1138
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1139
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1140