แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1099
ครั้งที่ ๑๐๙๙
สาระสำคัญ
ลักษณะแท้ๆ ของสิ่งที่ปรากฏทางตานั้นคืออย่างไร
การศึกษารู้ความต่างกันของนามธรรมและรูปธรรมตามปกติ
ผู้ฟัง ท่านพระมหาติสสะ ท่านเห็นโครงกระดูกเพราะท่านเจริญอัฏฐิกสัญญาอยู่เป็นปกติ ไม่ใช่เจริญวันเดียว ท่านเจริญมานานจนเห็นว่า คนเราเมื่อเอาเนื้อหนังออกจะเห็นแต่โครงกระดูก ตัวเราเป็นเช่นไร คนอื่นก็เป็นเช่นนั้น เมื่อท่านพิจารณานานๆ จนอินทรีย์แก่กล้า คือ ท่านพิจารณาอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นปกติอยู่อย่างนั้น ท่านมองไป เมื่อเนื้อหนังไม่มี ก็มีแต่โครงกระดูก จิตของท่านจึงไม่ถือเอาว่า เป็นคนนั้น คนนี้ หรือเป็นหญิง เป็นชาย นี่ตามความหมายที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค ผมเคยอ่าน
สุ. เป็นชีวิตปกติธรรมดาที่ต้องอบรมเจริญปัญญา ความรู้จึงจะเกิดได้ถูกต้องว่า ทางตาเป็นอย่างไร ทางใจเป็นอย่างไร ทางหูเป็นอย่างไร
ถ. ตามธรรมดาท่านกล่าวว่า ไม่ให้ยึดติดในนิมิตอนุพยัญชนะ มีผู้หญิง ผู้ชาย เป็นต้น ซึ่งตามปกติเมื่อเราเห็นเราก็รู้อยู่ว่า เป็นผู้หญิง หรือเป็นผู้ชาย แต่ที่ท่านไม่ให้ยึด หมายความว่า ท่านไม่ให้รู้ว่า เป็นผู้หญิง ผู้ชาย หรืออย่างไร
สุ. ไม่ให้ติด ไม่ใช่ไม่ให้รู้ อย่าลืม ไม่ให้ยึดมั่น ไม่ให้ถือว่า เป็นสัตว์บุคคล ที่เที่ยง ให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง คือ สภาพธรรมทั้งหลายเป็นนามธรรมและรูปธรรม ถ้านามธรรมและรูปธรรมไม่มี ที่จะสมมติเป็นหญิง เป็นชาย เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ ก็มีไม่ได้
ถ. ในเมื่อเห็นแล้วว่าเป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย เราจะเจริญสติปัฏฐานอย่างไร
สุ. การเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่ไม่ให้รู้ว่าเป็นใคร แต่ให้รู้ตามความเป็นจริงว่า สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ในขณะที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ ลักษณะแท้ๆ ของสิ่งที่ปรากฏทางตานั้นคืออย่างไร นี่คือการที่จะรู้ความต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งดูเหมือนกับเป็นเรื่องที่น่าเบื่อมากที่จะพูดถึงบ่อยๆ ว่า ทางตา นามธรรมเป็น สภาพรู้ เป็นธาตุรู้ รูปธรรมเป็นสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่กว่าจะรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่กำลังปรากฏไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาได้เท่านั้นเอง ก็จะต้องอาศัยการพูดถึงเรื่องของขณะที่กำลังเห็นนี้จนกว่าสติจะเกิดระลึกได้ ศึกษา และรู้จริงๆ ว่า ขณะนี้ที่เข้าใจว่าอยู่ด้วยกันหลายคนในที่นี้ แท้ที่จริงแล้ว แม้แต่ตัวผู้ที่เข้าใจว่ากำลังอยู่กับคนอื่นหลายคน ก็ไม่มี
ตามความเป็นจริง คือ จิตกำลังอยู่กับรูปารมณ์ที่ปรากฏทางตาชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่มีคน แต่มีจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ ซึ่งกำลังรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาที่ภาษาบาลีใช้คำว่า รูปารมณ์ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ไม่มีใครเลย นอกจากจิตที่กำลังรู้รูปารมณ์ เท่านั้นเอง
ถ. ทางหู ที่อาจารย์ยกตัวอย่างว่า ได้ยินเสียงกบ แต่กบนั้นเป็นบัญญัติ เมื่อได้ยินเสียงกบแล้ว ชอบใจหรือไม่ชอบใจเกิดขึ้น หรือเฉยๆ ก็ได้ เมื่อเราได้ยินอย่างนี้แล้ว เราจะเจริญสติปัฏฐานอย่างไร
สุ. การเจริญสติปัฏฐาน ไม่จำกัดว่าจะเป็นเสียงอะไร จะเป็นเสียงกบ เสียงรถจักรยานยนต์ หรือเสียงคำพูดอะไรต่างๆ การสนทนากัน จะเป็นเสียงอะไรก็ตามแต่ หรือว่ากำลังเห็นอะไรก็ตามแต่ สภาพธรรมตามความเป็นจริงก็เป็นจริง อย่างนั้น คือ สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริงกำลังปรากฏเมื่อกระทบกับจักขุปสาท
ทางตา ฉันใด เสียงก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ขณะนี้กำลังปรากฏ กำลังมีจริง กำลังปรากฏกับจิตที่กำลังได้ยินเสียงนั้น ในขณะนั้นก็ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีใครเลย ไม่ใช่คนหลายคนกำลังนั่งคุยกันที่นี่ แต่ว่าขณะนั้นเป็นแต่เพียงจิตที่กำลังมีเสียงเป็นอารมณ์
นี่คือขณะหนึ่งในสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้น ในสังสารวัฎฏ์ก็มีจิตเห็นเกิดขึ้น ดับไป และจิตที่เกิดต่อท่องเที่ยวไปกับอารมณ์เดียวกับของจิตเห็น คือ รู้รูปารมณ์ที่กำลังปรากฏทางตา เป็นจักขุทวารวิถี และดับไป มีภวังคจิตเกิดดับคั่น และก็มี มโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นต่อ คือ รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา มีสีนั้นเองเป็นอารมณ์ต่อ
ถ้าเป็นทางหู เมื่อการได้ยินเกิดดับไปแล้ว และมีจิตอื่นๆ ซึ่งเกิดดับสืบต่อ ท่องเที่ยวไปในอารมณ์เดียวกับโสตวิญญาณ คือ รู้เสียงนั้นเอง ทางโสตทวารวิถี ดับไปแล้ว ภวังคจิตเกิดต่อ มโนทวารวิถีก็เกิดต่อ และภวังคจิตก็เกิดดับสลับกันไปอยู่เรื่อยๆ นี่คือสังสารวัฏฏ์ ชั่วขณะหนึ่งๆ ที่สั้นมาก
ไม่จำกัดว่าจะเป็นเสียงกบ หรือเสียงอะไร สติสามารถจะระลึกในขณะที่ สภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่งกำลังปรากฏในขณะนี้ ต้องเป็นในขณะนี้ ทางตาสติระลึกได้ ทางหูก็ระลึกได้ เพราะมีสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น สติจึงเป็น สภาพธรรมที่ไม่หลงลืม รู้ว่ามีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพื่อที่จะศึกษา เพื่อที่จะให้ปัญญาเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรมเท่านั้นเอง นามธรรมก็มีหลายชนิด รูปธรรมก็มีหลายอย่าง
ผู้ฟัง การเห็นรูปที่เรียกว่า รูปารมณ์ หรือสี กับการรู้ว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นคนละขณะ เพราะการเห็นสีหรือรูปารมณ์ หรือได้ยินเสียงที่เรียกว่า สัททารมณ์ เป็นชั่วขณะที่สติรู้ บางทีไม่ทัน ไม่สามารถจะรู้ได้ เป็นเรื่องที่เร็วมาก รวดเร็วที่สุด เราจะไปจับตอนนั้นรู้สึกว่าจะเป็นเรื่องยาก กระผมเข้าใจว่าต้องเป็นคนละขณะแน่ๆ ที่เป็นรูปารมณ์แท้ๆ หรือสัททารมณ์แท้ๆ หลังจากนั้นจิตจะต้องเกิดขึ้นอีกหลายวิถี หลายขณะ กว่าจะรู้ว่า เป็นคน เป็นสัตว์
ตราบใดที่เรายังไม่สามารถแยกระหว่างที่เห็นรูปารมณ์แท้ๆ หรือสัททารมณ์ แท้ๆ กับที่จะเห็นว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเสียงต่างๆ กระผมว่าก็ยังไม่สามารถจะทราบหรือเข้าใจ หรือรู้สัจธรรม ที่จะเป็นทางให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ เป็นเรื่องที่ยากจริงๆ กระผมเข้าใจว่าอย่างนี้
สุ. เป็นอย่างนั้น ถูกต้อง
ถ. ผมสังเกตดู เวลาอ่านหนังสือ ขณะที่เราเห็นตัวหนังสือ ขณะที่เห็นยังไม่รู้เรื่อง ยังอ่านไม่ออก จะต้องมีความคิด มีจิตเกิดขึ้นอีกหลายขณะกว่าที่จะรู้ว่า ข้อความนั้นอ่านว่าอะไร หรือมีความหมายว่าอะไร จะต้องเป็นขั้นตอนไปหลายๆ ขณะทีเดียว เป็นอย่างนั้นใช่หรือไม่
สุ. นี่เป็นความถูกต้อง ที่สติจะเริ่มสังเกตความต่างกันว่า ในขณะที่เคยอ่านหนังสือเป็นปกติประจำวันและไม่เคยระลึกได้เลยว่า ขณะที่เห็นนั้นเป็นตอนหนึ่ง เป็นขณะหนึ่ง และขณะที่นึกถึงคำเป็นอีกขณะหนึ่ง คนละขณะ นี่เป็นการที่เริ่มจะสังเกตในขณะที่เห็น ซึ่งแม้แต่ในขณะที่ดูโทรทัศน์ ที่เป็นชีวิตประจำวัน ถ้าสติยังไม่เกิด จะไม่ระลึกเลยว่า สภาพที่ปรากฏทางตา ต่างกับทางหูที่กำลังได้ยิน แต่ถ้าสติเกิด อาจจะมีการระลึกที่ลักษณะหนึ่งลักษณะใดก็ได้ กำลังนั่งและกำลังดูเป็นปกติ ไม่มีใครรู้ว่าขณะนั้น สติกำลังระลึกตรงเสียงและก็รู้ว่าต่างกับทางตาที่กำลังปรากฏ
และไม่ต้องรอคอยจนกระทั่งถึงเวลาดูโทรทัศน์ แม้ในขณะนี้เอง ไม่ต้องเป็นจอโทรทัศน์ ที่ไหนก็ได้ก็เหมือนกัน ในขณะนี้เอง สติอาจจะระลึกที่เสียงว่า เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ต่างกับทางตาที่กำลังปรากฏ ให้รู้ว่าเป็นสภาพธรรมที่ต่างกันก่อน และสติจึงจะเริ่มศึกษารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏทีละอย่างเพิ่มขึ้น แต่ให้ทราบว่า ทางตากับทางหู ก็เป็นสภาพธรรมคนอย่างแล้ว
และสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจตามปกตินี่เองที่สติจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ว่า สภาพใดเป็นนามธรรม สภาพใดเป็นรูปธรรม นามธรรมเป็นสภาพรู้ หรือว่ารู้สึก หรือว่าจำได้ ต่างกับรูปซึ่งปรากฏ ทางตาอย่างหนึ่ง ปรากฏทางหูเป็นเสียงต่างๆ อย่างหนึ่ง ปรากฏทางจมูกเป็นกลิ่นต่างๆ ปรากฏทางลิ้นเป็นรสต่างๆ ปรากฏทางกายในขณะนี้ เย็นบ้าง ร้อนบ้าง อ่อนบ้าง แข็งบ้าง ทางใจก็ปกติ เป็นเรื่องซึ่งกำลังคิด ทุกคนคิดอยู่เสมอ แต่สติสามารถระลึกรู้ได้ว่า ขณะที่คิดนั้นเป็นสภาพรู้คำ เพราะส่วนมากจะคิดเป็นคำ เวลาที่ใช้คำว่า คิดหรือนึก ก็จะเป็นเรื่องหรือว่าเป็นคำ
เพราะฉะนั้น ก็เป็นชีวิตประจำวันซึ่งเป็นนามธรรมและรูปธรรม แต่ไม่เคยรู้ว่า เป็นเพียงนามธรรมแต่ละอย่าง และเป็นรูปธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งสตินี้เองจะเป็น สภาพธรรมที่เมื่อฟังแล้วเข้าใจก็มีปัจจัยที่จะเกิดขึ้น โดยการที่เริ่มระลึกก่อน แต่ยังไม่รู้ชัด
การรู้ชัดต้องใช้เวลานาน และไม่สามารถที่จะเร่งให้เร็วขึ้น หรือบังคับให้มีสติได้มากๆ ในวันหนึ่งๆ และต้องรู้ว่า แม้สติก็เป็นอนัตตา เป็นสังขารขันธ์ เป็น สภาพธรรมที่ปรุงแต่ง เมื่อมีการระลึกได้ เริ่มระลึกได้แล้ว ย่อมมีปัจจัยให้ระลึกได้อีก เพียงแต่ว่าจะมากหรือจะน้อย จะช้าหรือจะเร็ว จะระลึกรู้รูปชนิดใดหรือนามชนิดใด เพราะว่าคงจะมีหลายท่านที่แม้จะได้ฟังเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน และก็รู้ว่ามีสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แต่สำหรับหลายท่านทางตาอาจจะไม่เคยระลึกเลย แม้ว่ากำลังเห็นอยู่ แต่ถ้ามีการเตือนให้ระลึกรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่งซึ่งมีจริงและกำลังปรากฏ ในขณะนี้เอง สติอาจจะเริ่มระลึกทางตา แม้ว่ายังไม่ชำนาญ ยังไม่คล่องแคล่ว และยังไม่ชัดเจน แต่ก็รู้ว่ามีสภาพธรรมชนิดหนึ่งเป็นของจริงที่ปรากฏทางตาสำหรับผู้ที่มีจักขุปสาท ซึ่งสำหรับผู้ที่ไม่มีจักขุปสาท คือ ผู้ที่ตาบอด สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้ซึ่งเป็นของจริงชนิดหนึ่งจะไม่ปรากฏเลย
นี่คือการศึกษาที่จะรู้ความต่างกันของนามธรรมและรูปธรรมตามปกติ เพื่อที่จะให้ประจักษ์ชัดว่า นามธรรมเป็นสภาพรู้เท่านั้นจริงๆ
ถ. คำว่า สัมภเวสี หมายความว่าอย่างไร
สุ. เป็นเรื่องของศัพท์ หมายความถึงผู้ที่แสวงหาที่เกิด ได้แก่ ผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ซึ่งยังต้องเกิดอยู่
ถ. ที่ว่าจิตไปจุติ วิญญาณทุกดวงดับสิ้นไปแล้ว อะไรที่มาเป็นสัมภเวสี
สุ. เวลาที่จุติจิตเกิดขึ้นและดับไป ปฏิสนธิจิตเกิดต่อทันที
ถ. สัมภเวสีจะอยู่ตอนไหน
สุ. ผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ต้องเกิดทั้งนั้น ขณะนี้ท่านผู้ฟังอยากจะเกิด หรือไม่อยากจะเกิดก็ตาม แต่ท่านก็เป็นผู้ที่กำลังแสวงหาที่เกิด เพราะเมื่อจุติจิตดับแล้ว ปฏิสนธิจิตต้องเกิดต่อทันที
ถ. ในขณะที่เป็นสัมภเวสี หมายความว่า ...
สุ. เวลานี้ก็เป็น ใครก็ตามที่ไม่ใช่พระอรหันต์ เป็นทั้งนั้น
ถ. ทั้งๆ ที่ยังไม่จุติใช่ไหม
สุ. ผู้ที่ยังต้องเกิดทั้งหมด
ถ. ไม่ได้หมายความว่า จุติแล้วใช่ไหม
สุ. จุติจิตดับ ปฏิสนธิจิตเกิดต่อ
ถ. รวมทั้งเราที่ยังไม่จุติด้วยใช่ไหม
สุ. ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ทั้งหมด แม้ในขณะนี้เอง ท่านผู้ฟังแสวงหาภพ ที่เกิดหรือเปล่า กำลังแสวงหาภพไหน
ถ. ก็อยากไปภพที่ดีด้วยกันทั้งนั้น
สุ. ต้องเป็นกามภพ คือ ยังต้องเป็นไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ยังไม่ใช่ขั้นฌานที่จะเว้นรูปได้บางรูป เช่น เว้นกลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ถ. ถ้าเป็นขั้นฌานแล้ว
สุ. แสวงหารูปภพ ไม่ใช่กามภพ ถ้าเป็นอรูปฌาน ก็แสวงหาอรูปภพ เพราะยังไม่ใช่พระอรหันต์
ถ. ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ชวนะในปัญจทวารวิถีจะเป็นกุศลได้ไหม
สุ. ได้ ตามเหตุตามปัจจัย
ถ. ผมเข้าใจว่า ไม่น่าจะได้
สุ. ทำไม
ถ. เพราะทันทีที่เห็น ถ้ากุศลจิตไม่เกิดก็ต้องเป็นอกุศล ในเมื่อไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องของจิต เจตสิก รูปเลย
สุ. กุศลจิตมี ๘ ดวง ญาณสัมปยุตต์ ๔ ญาณวิปปยุตต์ ๔
ถ. ญาณวิปปยุตต์เกิดได้
สำหรับคนที่เจริญสติปัฏฐาน ถ้ากุศลจิตเกิดที่ชวนะ ขณะนั้นก็ต้องมีสีเป็นอารมณ์เหมือนกัน สมมติว่าทางจักขุทวาร เพราะฉะนั้น ก็ไม่ต่างกับคนที่ไม่ได้ฟังธรรม
สุ. เขาเห็นไหม
ถ. เห็น แต่เราอบรมเจริญมรรคมีองค์ ๘
สุ. พูดถึงสติขั้นไหน หรือกุศลขั้นไหน
ถ. ขั้นต้นๆ ก็ได้
สุ. ขั้นต้นๆ ก็เกิดได้ ขั้นทานก็เกิดได้
ถ. และขั้นอบรมเจริญปัญญา
สุ. ถ้าไม่มีการฟัง ก็ไม่มีทางที่จะเป็นสติปัฏฐานได้
ถ. ที่อาจารย์กล่าวว่า ถ้าสติเกิดก็จะระลึกได้ว่า เดี๋ยวนี้มีสภาพธรรมที่ต้องศึกษาทางตา หรือทางหู ทั้ง ๕ ทางนี้ ซึ่งการระลึกอย่างนี้ ก็เป็นการคิดเหมือนกัน แต่ก็เป็นโอกาสให้ปัญญาเกิดขึ้นใช่ไหม หรือว่าขณะนั้นเป็นปัญญาแล้ว
สุ. ในคราวก่อนได้กล่าวถึงขณะที่ไม่ได้คิด มีได้ใช่ไหม ทำไมยังต้องพูดว่าเป็นคิดทุกที
ถ. ผมเข้าใจว่าส่วนใหญ่ต้องมาจากคิดก่อน ที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่คิด หมายความว่าคิดจนชำนาญแล้ว เกิดขึ้นก็จำได้เลย บางทีผมเห็นและรู้สึกว่า ไม่เหมือนกับเห็นขณะอื่น เพราะว่าบางครั้งจะระลึกได้ว่า ที่เห็นเมื่อสักครู่นี้เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ขณะนั้นก็ไม่ได้คิด เพราะทันทีที่เห็นจะมีความรู้สึกอย่างนั้นเลย ผมก็เข้าใจว่า เป็นการเจริญสติปัฏฐานเหมือนกัน
สุ. ขณะที่หลงลืมสติต่างกับขณะที่มีสติ นี่ต้องรู้ โดยมากท่านผู้ฟังเดา เพราะว่าไม่ได้รู้ลักษณะของสติปัฏฐานจริงๆ เพราะฉะนั้น ได้ฟังเรื่องของสติปัฏฐาน แต่ขณะใดที่มีสติหรือว่าขณะใดที่หลงลืมสติ ยังไม่รู้ชัดว่า มีสติคือขณะนี้ หลงลืมสติคือขณะนั้น หรือว่านี่เป็นสติขั้นคิด ก็ยังไม่ใช่สติที่ไม่ต้องคิด แต่กำลังน้อมไปที่จะรู้ ใช่ไหม
ถ. ก็ต้องมีอารมณ์ คือ การรู้ในขณะนั้นสิ่งที่รู้ต้องเป็นอารมณ์ อย่างที่อาจารย์กล่าวว่า เดี๋ยวนี้ต้องมีสิ่งที่รู้ ความหมายที่ว่าเดี๋ยวนี้ต้องมีสิ่งที่รู้ นั่นก็ต้องเป็นอารมณ์ของจิตในขณะนั้น ของสติปัญญาในขณะนั้น
สุ. เท่าที่ได้ศึกษามาก็ทราบทุกอย่างว่า จิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ แน่นอน จะไม่มีจิตสักดวงเดียวที่ไม่ใช่สภาพรู้ จิตจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้อารมณ์ได้ไหม
ถ. ไม่ได้
สุ. เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่ถูกก็ต้องถูก สิ่งใดที่จริงก็ต้องจริง สิ่งใดที่เป็นอย่างนั้นก็ต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อจิตเกิดขึ้นเป็นสภาพรู้ ต้องมีอารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ฟังเรื่องสติปัฏฐาน หรือไม่ได้ฟังเรื่องสติปัฏฐานก็ตาม ไม่ว่าชาติไหน ภาษาไหน ภพไหน ภูมิไหนก็ตาม ขณะใดที่จิตเกิดขึ้นจะปราศจากอารมณ์ไม่ได้ ถูกไหม เพราะฉะนั้น ทำไมถึงถามว่า ไม่มีอารมณ์ หรือต้องมีอารมณ์
ถ. ขณะนั้นจะไม่เรียกว่าคิดก็ได้ ถ้าคิดต้องหมายความว่า รู้นานๆ ทางใจ ใช่ไหม หมายความว่า เป็นการตรึกนึกถึงเรื่องนั้นนานๆ ทางมโนทวาร และ สติปัฏฐาน คือ ขณะที่เป็นมโนทวารวิถีที่ต่อจากปัญจทวารวิถี ขณะนั้นใช่ไหม
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๐๙๑ – ๑๑๐๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1081
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1082
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1083
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1084
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1085
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1086
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1087
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1088
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1089
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1090
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1091
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1092
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1093
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1094
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1095
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1096
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1097
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1098
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1099
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1100
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1101
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1102
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1103
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1104
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1105
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1106
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1107
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1108
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1109
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1110
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1111
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1112
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1113
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1114
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1115
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1116
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1117
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1118
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1119
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1120
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1121
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1122
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1123
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1124
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1125
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1126
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1127
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1128
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1129
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1130
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1131
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1132
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1133
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1134
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1135
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1136
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1137
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1138
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1139
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1140