แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1124
ครั้งที่ ๑๑๒๔
สาระสำคัญ
สัมมามรรคปฏิบัติ - อาศัยการเข้าใจถูกตั้งแต่เบื้องต้น
อบรมเจริญสติปัฏฐานจนมีกำลังเป็นปกติ
รับผลของกรรมตามกำลังอุปนิสสยปัจจัย
สะสมใหม่จนกระทั่งเป็นอุปนิสัย
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕
สุ. ตื่นกี่โมง วิถีจิตเกิด เพราะปกตูปนิสสยปัจจัย หลับกี่โมง ภวังคจิตเกิด ก็เพราะปกตูปนิสสยปัจจัยเหมือนกัน
ถ. ปรมัตถสัจจะกับอรรถบัญญัติ คำพูดกับเสียงเกิดพร้อมกัน จะตัดสินกันด้วยกี่ขณะ เสียงกับสมมติบัญญัติที่เราพูดกันเกิดพร้อมกัน อย่างเช่น คำว่า ทำ ก็เกิดพร้อมกับเสียง ทำดี มีทั้งปรมัตถ์และสมมติบัญญัติ เหมือนกันอย่างนี้จะตัดสินอย่างไร
สุ. ปรากฏเหมือนพร้อม แต่ความจริงพร้อมไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงต้องอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ว่า ไม่พร้อม ถ้ารู้สึกว่าพร้อม ก็ยังไม่ถูกต้อง
ทางโสตทวารวิถีต้องมีปรมัตถอารมณ์ คือ เสียง เท่านั้นเป็นอารมณ์ เมื่อ โสตทวารวิถีดับหมดแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่น หลังจากนั้นมโนทวารวิถีก็รู้ปรมัตถอารมณ์นั้นอีกครั้งหนึ่ง อีกวาระหนึ่ง และก็ดับไป และมีภวังคจิตเกิดคั่น หลังจากนั้น มโนทวารวิถีจึงรู้อรรถ คือ ความหมายของเสียงนั้น ของคำหนึ่งๆ
ถ. ต้องอบรมถึงญาณไหนจึงจะจับได้อย่างนี้
สุ. ญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ ลักษณะของสภาพธรรมปรากฏตามความเป็นจริง ถ้าเป็นเสียงที่ปรากฏในขณะนี้ วิปัสสนาญาณก็ได้ยินเสียงที่กำลังปรากฏ และก็รู้ทางมโนทวารวิถี เพราะฉะนั้น สภาพลักษณะของเสียงไม่ใช่ลักษณะของนามธรรม เสียงเป็นรูป สภาพรู้เป็นนาม และในขณะนั้นถ้ามีการคิดเกิดขึ้นก็รู้ว่า ขณะนั้นเป็นการคิดทางมโนทวาร ไม่ใช่เสียง
ถ. ไม่ใช่คิด
สุ. เวลานี้ได้ยินเสียงทางหู แต่เวลาคิด คิดทางหูหรือเปล่า ได้ยินเสียงทางหู คือ ทางโสตทวารวิถี ได้ยินคำว่า ทาง เสียงปรากฏแก่จิตทางโสตทวารวิถี แต่เวลาที่คิดถึงคำว่า ทาง คิดทางโสตทวารหรือเปล่า
ถ. ไม่ได้คิด
สุ. ต้องแยกกัน ทางโสตทวารวิถีเสียงปรากฏ แต่เวลาคิดเป็นมโนทวารวิถี เพราะฉะนั้น นามรูปปริจเฉทญาณ รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมโดยสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนทางมโนทวารวิถี
เวลาที่เสียงปรากฏ คือ เสียงทางโสตทวาร แต่เวลาคิด ขณะนั้นลักษณะของมโนทวารก็ปรากฏว่า เป็นมโนทวาร ไม่ใช่โสตทวาร
ถ. ไม่ใช่คิด พอฟังก็รู้เรื่องเลย เช่น คำว่า ทำดี
สุ. ไม่ได้คิดความหมายของคำว่า ทำ หรือ ไม่ได้คิดถึงความหมายของคำว่า ดี หรือ
ถ. ได้ยินก็รู้เลย
สุ. แต่คิดหรือเปล่า ถ้าไม่ได้คิด รับรองว่าท่านผู้ฟังจะไม่รู้เรื่อง ถ้าไม่ได้คิดเลยว่าเขาพูดกันเรื่องอะไร ต้องถามไหมว่า เมื่อครู่นี้ว่าอะไร นั่นเพราะไม่ได้คิด พูดอะไรก็ไม่ได้คิด ฟัง ได้ยินผ่านไปเฉยๆ แต่เวลาที่ต้องการจะรู้เรื่องก็ต้องถามว่า เมื่อครู่นี้พูดว่าอะไร เคยเป็นอย่างนี้บ้างไหม
ถ. เคยเป็น
สุ. แสดงว่า ได้ยินแต่ไม่ได้คิด เพราะฉะนั้น ในขณะที่ได้ยินคำว่า ทำดี อย่าลืม ต้องคิดถึงความหมายของคำว่า ทำ และความหมายของคำว่า ดี ได้ยินเสียง ไม่ใช่ว่าไม่ได้ยิน แต่ไม่รู้ คือ ไม่ได้คิดถึงความหมายของเสียงจึงต้องถามว่า เมื่อครู่นี้พูดว่าอะไร เพื่อที่จะต้องคิดตามเสียงที่ได้ยินจึงจะรู้อรรถ
ถ. ถ้าอย่างนั้น นามก็เกิดก่อน ใช่ไหม
สุ. เกิดก่อนอะไร
ถ. เกิดก่อนเสียง เพราะคิดก่อน
สุ. ไม่ได้ยินเสียง แต่คิดก่อน หรือว่าได้ยินแล้วคิด
ถ. พอได้ยินคำว่า ทำ ก็รู้เรื่องเลย
สุ. แต่ว่าได้ยิน ไม่ใช่ไม่ได้ยินและก็คิดคำว่า ทำ เวลาไม่ได้ยินก็คิดได้ แต่เวลาที่ได้ยินและคิดด้วยจึงเข้าใจ ถ้าได้ยินแล้วไม่คิดเลย จะไม่เข้าใจ
ถ. เข้าใจยาก
สุ. การอบรมเจริญสติปัฏฐานต้องอาศัยความเข้าใจถูกตั้งแต่เบื้องต้น คือ ขั้นการฟัง แต่ถ้าจะไปทำวิปัสสนาโดยไม่มีความเข้าใจอะไรเลย ผลคือไม่รู้
ถ. เป็นความจริง
สุ. เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยการเข้าใจถูกตั้งแต่เบื้องต้นจึงจะเป็นปัจจัยให้สติระลึกถูกได้ เป็นสัมมาสติได้
ถ. การพูดกัน เพราะเคยจำ เคยรู้เรื่องสมมติบัญญัติ เช่น คนไทยก็จำภาษาไทย คนต่างชาติก็จำภาษาของเขา
สุ. ก็ปกตูปนิสสยปัจจัย
ถ. ปรมัตถ์กับอรรถ แยกลำบากเหลือเกิน
สุ. โสตทวารวิถีดับไปหมดแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่น มโนทวารวิถีเกิด มีปรมัตถอารมณ์นั้นอีกครั้งหนึ่ง จิตทางมโนทวารวิถีดับหมดแล้ว ภวังค์เกิดคั่น มโนทวารวิถีเกิดอีกรู้อรรถ คือ ความหมายของเสียงนั้น ทีละคำ
ถ. นี่พูดถึงคำว่า ทำ คำเดียวใช่ไหม ที่เกิดอย่างนี้
สุ. ถูกต้อง
ถ. ขอบพระคุณมาก
สุ. ปัญญาต้องรู้อย่างนี้ไหม หรือว่าปัญญาต้องรู้ลักษณะของนามธรรมว่าต่างกับรูปธรรมเสียก่อน
ถ. เวลากังวล สติเกิดได้ไหม
สุ. ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน กว่าจะเป็นพระอริยบุคคล ต้องดับวิจิกิจฉา ความสงสัยในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม จนโสตาปัตติมรรคจิตเกิดเมื่อไร วิจิกิจฉา ความสงสัยในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ความไม่ในรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมจะดับหมดเป็นสมุจเฉท ไม่เกิดอีกเลย เพราะฉะนั้น ถ้ายังยึดถือความกังวลว่าเป็นเรา จะเป็นพระโสดาบันบุคคลไม่ได้ การที่จะไม่ยึดถือความกังวลว่า เป็นเรา เพราะสติระลึกรู้ลักษณะที่กังวลว่า เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง
ถ. ขณะนั้นกำลังพะวงถึงเรื่องอื่นอยู่
สุ. เรื่องไหนก็ตาม สติระลึกรู้ลักษณะที่กังวลว่า เป็นของจริง เป็น สภาพธรรมชนิดหนึ่ง ถ้าสติเกิดไม่ได้ ก็มีพระโสดาบันไม่ได้
ถ. แต่ยาก
สุ. ยากก็ยาก แต่การดับความยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นพระโสดาบันบุคคลจริงๆ ไม่ใช่ของหลอก ไม่ใช่ของเล่น แต่เป็นสัจธรรม เป็นของจริง ซึ่งสามารถจะอบรมเจริญได้จนกว่าจะถึง
ถ. อาจารย์เคยกังวล และมีสติไหม
สุ. มีไม่ได้หรือ
ถ. ถ้าเกิดเป็นสติแล้ว ไม่ควรจะกังวลถึงข้างหน้าหรือข้างหลัง
สุ. หมายความว่า พระโสดาบันบุคคลมีไม่ได้
ถ. มีได้
สุ. ก่อนที่จะเป็นพระโสดาบันบุคคล มีได้ไหม
ถ. ได้
สุ. ก็ไม่มีปัญหาว่า ต้องมีได้
ถ. ผมรู้สึกว่า พอเกิดพะวงแล้ว สติเกิดไม่ได้แน่
สุ. ต่อไปจะได้ไหม ปกตูปนิสสยปัจจัย
ถ. ถ้าอีกหน่อย ก็ไม่แน่
สุ. อีกกัปหนึ่งมีได้ไหม กัปหนึ่งอาจจะเร็วไปไหมถ้ายังไม่ได้ๆ อยู่ อย่าคิดว่าไม่ได้ เพียงคิดว่า ยังไม่ได้ แต่การที่จะเป็นพระอริยบุคคลจริงๆ จะต้องหมดความสงสัยในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมทุกชนิดที่ปรากฏ
ถ. โดยทฤษฏี ขณะที่กังวล สติน่าจะเกิดได้ แต่ขณะที่เป็นสติปัฏฐาน ไม่พะวงถึงอดีตใช่ไหม
สุ. ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ อย่าลืม จะทิ้งลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏไม่ได้ สติ คือ สภาพที่ระลึกได้ว่า ขณะนี้กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางหนึ่ง ทางใด เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน คือ ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏทางหนึ่งทางใดนั่นเอง
ถ. ถ้ากำลังคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่จะไม่ได้คิดว่า เดี๋ยวนี้กำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ทางใดทางหนึ่ง
สุ. เรื่องของการคิด อย่าลืมปกตูปนิสสยปัจจัย ห้ามไม่ได้ แต่สติสามารถจะระลึกรู้ว่า คิดเป็นสภาพนามธรรมชนิดหนึ่ง รู้ในลักษณะอาการที่คิด
ถ. ผมยังไม่มีสติปัฏฐานแน่นอน อะไรจะเป็นปัจจัยให้สติเกิด
สุ. การฟังจนกระทั่งเข้าใจ จนกระทั่งเป็นที่อาศัยที่มีกำลังเป็นปกติ อย่าลืม ปกตูปนิสสยปัจจัย ที่มีกำลังเป็นปกติ ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด อะไรจะเป็นสภาพธรรมที่มีกำลังเป็นปกติ อกุศลใช่ไหม
ถ. ใช่
สุ. แต่ถ้าได้อบรมเจริญสติปัฏฐานจนมีกำลังเป็นปกติ สติจึงเกิดได้ไม่ว่าที่ไหน หรือในขณะไหน หรือนามอะไร รูปอะไรปรากฏ
ถ. ภาวนามยปัญญาจะเกิดเฉพาะขณะที่มีสติเท่านั้นใช่ไหม
สุ. ภาวนา หมายความถึงอบรมเจริญให้เกิดขึ้น ให้มีขึ้นมากๆ
ถ. ปัญญาที่จะรู้นามและรูป มีได้ขณะที่มีสติเท่านั้น ใช่ไหม
สุ. แน่นอน ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด ก็เป็นการศึกษา เป็นการพิจารณาเรื่องของนามธรรมและรูปธรรม เป็นการเข้าใจเรื่อง แต่ไม่ใช่การรู้ลักษณะ
การศึกษาวิชาการต่างๆ เป็นการรู้เรื่องของปรมัตถธรรม เช่น เรื่องปอด หัวใจ ม้าม ตับ แต่ไม่ใช่รู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมจริงๆ สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นแต่เพียงการรู้เรื่องอรรถบัญญัติ ความหมาย สัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ
ถ. ขณะที่มีสติ แต่ยังไม่รู้ลักษณะที่แท้จริงของรูปและนาม จะชื่อว่า มีสติหรือยัง
สุ. เพราะฉะนั้น ต้องอบรมเจริญ ศึกษาพิจารณาจนกว่าจะเป็นความรู้ขึ้น จนกระทั่งเป็นความรู้ชัดขึ้น จนกระทั่งเป็นการรู้แจ้ง คือ ประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม โดยนามธรรมและรูปธรรมปรากฏตามความเป็นจริง
ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นจริงๆ แต่ตราบใดที่ยังไม่ปรากฏว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ก็แสดงว่า สติปัฏฐานจะต้องระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตาจนกว่าสภาพที่เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น จะปรากฏตามความเป็นจริง เมื่ออบรมเจริญสติปัฏฐานเพิ่มขึ้น มิฉะนั้นจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า วิปัสสนา หรือว่าการอบรมเจริญภาวนา
ถ. ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยก็เกิดไม่ได้
สุ. ถูกต้อง
ถ. การทำบุญ ทำบาป ทำความดีความชั่ว ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยก็ทำชั่วไม่ได้ ทำบุญไม่ได้ สมมติว่าความชั่วซึ่งเลวร้ายที่สุด เช่น ข่มขืนแล้วฆ่า ชั่วที่สุด แต่ถ้าเห็นว่าการกระทำนั้นไม่ใช่หญิง หรือชาย เป็นเพียง รูปนาม เป็นเพียงปรากฏการณ์ชนิดหนึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ก็ไม่น่าจะเอาไปลงโทษ หรือยิงเป้า เป็นเพราะเหตุปัจจัยต่างหาก
สุ. การลงโทษ การยิงเป้า เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยด้วยหรือเปล่า ถ้าไม่มีการกระทำความชั่วเป็นเหตุเป็นปัจจัย ก็ไม่มีการลงโทษใดๆ ทั้งสิ้น ตามเหตุตามปัจจัย ถ้าทำดีใครจะไปลงโทษ ก็ย่อมได้รับผลของความดีตามเหตุตามปัจจัยเหมือนกัน
ขอเล่าเรื่องส่วนตัวเล็กน้อย เพื่อแสดงให้เห็นผลของกรรมว่า อาจจะเกิดขึ้นในขณะไหนเมื่อไรก็ได้ เมื่อวันพฤหัสบดี ดิฉันมีนัดกับชาวศรีลังกาคนหนึ่งที่สถานทูตศรีลังกาซึ่งอยู่ชั้น ๗ ของตึกนายเลิศ คุณพ่อกับน้องก็ไปด้วย นั่งคอยอยู่ในรถ ดิฉันคนเดียวที่ลงไป ทันทีที่เท้าทั้ง ๒ ข้างเข้าไปในลิฟต์ ประตูปิด ไฟดับ ไม่ต้องมีใครทำอะไรให้เลย ทันที จะตกใจไหม ไม่ทันที่จะเอื้อมมือไปกดว่าจะที่ไปชั้นไหน เพียงแต่เท้าทั้งสองเข้าไปในลิฟต์ ประตูปิดทันที ไฟดับทันที และดิฉันอยู่ในนั้นคนเดียวด้วย
เพราะฉะนั้น ถ้าจะมีใครที่ถูกธรณีสูบ ไม่ต้องสงสัยเลย เท้าทั้งสองแตะพื้นเมื่อไร ธรณีก็แยกออกไปได้เมื่อนั้นทันทีเหมือนกัน ถึงแม้สมัยนี้จะมีการพัฒนาไปจนถึงยุคคอมพิวเตอร์หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าการให้ผลของกรรมย่อมสามารถจะเกิดขึ้นเป็นไปเองตามเหตุตามปัจจัย ไม่ต้องมีใครทำให้
ถ. ต่อไปเป็นอย่างไร
สุ. นาน กว่าจะออกได้ เพราะมืดจริงๆ มีแต่เลขหมายของชั้นซึ่งแสดงว่ายังคงเป็นชั้น ๑ เพราะยังไม่ทันจะได้กดอะไรทั้งสิ้น และมีแสงไฟขนาดเท่าไฟฉายอยู่ข้างๆ แต่ก็มองไม่เห็นอะไรเลย แสดงว่าไฟยังไม่ได้ดับหมด เพราะยังมีแสงสว่างที่เครื่องหมายของชั้นอยู่ว่ายังคงเป็นชั้นที่ ๑ ซึ่งถ้าใครติดอย่างนั้น จะใช้แรงสักเท่าไรก็คงไม่มีใครได้ยิน เพราะเป็นประตูเหล็กทั้งหมด ในที่สุดคิดว่าคนข้างบนก็คงจะคอยนาน และคนที่รออยู่ข้างนอกในรถก็คงจะคิดว่า ป่านนี้ทำอะไรอยู่ที่ไหน ก็คงจะไม่มีใครทราบว่าติดอยู่ในลิฟต์
เพราะฉะนั้น ถ้าใครหายไป ถ้าท่านมีนัดกับใคร ก่อนอื่นก็ควรหาในลิฟต์ หรือที่ห้องน้ำ เพราะบางทีประตูห้องน้ำปิดและเปิดไม่ได้ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ให้เห็นผลของกรรม ก้าวเข้าไปอย่างสบายไม่คิดว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ทันทีที่เข้าไปทั้ง ๒ เท้า ไม่ต้องทำอะไรเลย ประตูปิดทันที ไฟดับทันที เป็นเรื่องของกรรมไหม มีปัจจัยหรือเปล่าที่จะเกิดขึ้นเป็นไปอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น การรับผลของกรรม การถูกลงโทษ ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง หรือถึงจะไม่มีใครลงโทษ ก็อาจจะได้รับผลของกรรมตามกำลังของอุปนิสสยปัจจัยทางหนึ่ง ทางใด คงจะเคยไปขังใครไว้ในห้องมืด เพราะฉะนั้น ไม่ต้องทำอะไรเลย เพียงก้าวเข้าไปประตูก็ปิดเอง ไฟก็ดับเองหมด กรรมก็ย่อมเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
ถ. เมื่อไรจึงออกมาได้
สุ. สักครู่หนึ่ง คิดว่าคงจะต้องคลำข้างฝา เผื่อจะมีอะไรบ้าง เพราะมองไม่เห็นเลย ไม่ว่าจะเป็นปุ่มสัญญาณอันตรายหรืออะไรก็มืดหมด แต่เพียงคลำ ไฟก็เปิด ประตูก็เปิด ก็ก้าวออกมา และบอกเจ้าหน้าที่ว่า ลิฟต์อันนี้คงเสีย เพราะเมื่อสักครู่นี้ไฟดับ เจ้าหน้าที่ก็คิดว่า ดิฉันคงจะไปถูกสวิตช์ไฟ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะดิฉันยังไม่ได้ทันทำอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่เข้าไปทั้ง ๒ เท้าเท่านั้นเองประตูก็ปิดไฟก็ดับทันที และดิฉันก็จะต้องขึ้นไปที่ชั้น ๗ สักครู่หนึ่งก็มีอีกหลายคนที่จะขึ้นไปชั้นอื่นด้วย เพราะฉะนั้น ในการเข้าไปครั้งที่ ๒ ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทุกอย่างเป็นปกติ และการลงมาก็เป็นปกติ แต่ถึงคราวที่กรรมจะให้ผล โดยที่ไม่ต้องคิดเลย ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น ประตูปิดเอง ไฟดับเองได้
ผู้ฟัง ผมขอเล่าเรื่องส่วนตัว คือ ผมกลับจากเชียงใหม่ ยืนรอลูกอยู่ที่ หัวลำโพง ตอนนั้นหนังสือพิมพ์ลงว่า มีการวางระเบิดตามสถานีรถไฟ ผมก็คิดว่า ถ้าเรายืนอยู่ตรงนี้ มีระเบิดคงจะมีอันตราย ผมก็เดินมาที่เสา เพราะถ้าเกิดระเบิดตรงนั้น เราคงจะมีอันตรายน้อย ขณะที่ผมก้าวไปยืน มีหินก้อนใหญ่กระเด็นมาโดนน่องผมเจ็บมาก คือ มีรถแท็กซี่แล่นมาทับก้อนหิน หินก็กระเด็นมาชน
ถ. ปัจจัยที่สะสมใหม่ ที่เปลี่ยนใหม่ในปัจจุบันชาติ ไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ใช่ไหม
สุ. เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยสำหรับชาติต่อไป หรือว่าสำหรับนามธรรม คือ จิตและเจตสิกที่จะเกิดหลังๆ ที่เกิดต่อจากที่ได้สะสมบ่อยๆ แล้ว
บางท่านหลับเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา เพราะฉะนั้น พอถึงเวลาภวังคจิตก็เกิด พอถึงเวลาวิถีจิตก็เกิด เพราะว่าสะสมบ่อยๆ จนกระทั่งเป็นอุปนิสัย
ถ. สะสมใหม่เกิดได้อย่างไร
สุ. ทีละเล็กทีละน้อย เหมือนการเรียนตั้งแต่เด็ก ถ้าไม่เรียนตอนเด็ก ตอนนี้ก็ไม่มีความรู้ความคิดในเรื่องที่เรียน แต่วันนี้ที่รู้เรื่องที่เรียน คิดเรื่องที่เรียนได้ เพราะเคยเรียนมาแล้วตั้งแต่เด็ก
ถ. แต่ก็อาจจะไม่ชอบ
สุ. ชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยที่จะให้เข้าใจ หรือคิดถึงเรื่องนั้นๆ ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากรู้เรื่องไหน ก็สะสมเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้จนเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย ก็สามารถมีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ได้
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๑๒๑ – ๑๑๓๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1081
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1082
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1083
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1084
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1085
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1086
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1087
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1088
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1089
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1090
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1091
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1092
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1093
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1094
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1095
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1096
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1097
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1098
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1099
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1100
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1101
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1102
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1103
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1104
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1105
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1106
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1107
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1108
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1109
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1110
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1111
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1112
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1113
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1114
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1115
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1116
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1117
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1118
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1119
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1120
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1121
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1122
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1123
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1124
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1125
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1126
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1127
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1128
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1129
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1130
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1131
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1132
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1133
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1134
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1135
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1136
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1137
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1138
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1139
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1140