แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1161
ครั้งที่ ๑๑๖๑
สาระสำคัญ
อถ.วิ.อินทรีย์ ๒๒ โดยลำดับแห่งเทศนา และโดยความต่างกันและไม่ต่างกัน
ชีวิตนี้สำคัญมากเพราะเวทนาเกิดขึ้นเป็นไป
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๒ กันยายน ค่อวันอาทิตย์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๒๕
สุ. ไม่ยากถ้าทราบว่า อินทรีย์ ๒๒ เป็นรูป ๗ เป็นนาม ๑๔ คือ ๒ เท่าของรูป อินทรีย์ ๒๒ เป็นรูป ๗ เป็นนาม ๑๔ เป็นนามและรูป ๑
แต่ถ้ากล่าวโดยรูป ๒๘ รูปที่เป็นอินทรีย์มี ๘ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ อิตถินทรีย์ ๑ ปุริสินทรีย์ ๑ และชีวิตินทรีย์อีก ๑ รวมเป็น ๘
ซึ่งข้อความใน สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังคปกรณ์ วินิจฉัยการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอินทรีย์ ๒๒ โดยลำดับ และโดยความต่างกันและไม่ต่างกัน มีข้อความว่า
แม้ลำดับในข้อว่า โดยลำดับนี้ ก็ได้แก่ลำดับแห่งเทศนานั่นเอง ในข้อนั้นพึงทราบอธิบายดังนี้ ด้วยการกำหนดรู้ธรรมที่เป็นภายในจึงจะได้บรรลุอริยภูมิได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงจักขุนทรีย์เป็นต้น อันนับเนื่องด้วยภาวะของตนก่อน
ข้อความทั้งหมด ถ้าท่านผู้ฟังพิจารณาจริงๆ ให้เข้าใจในอรรถ จะเกื้อกูลต่อการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ถ้าไม่พิจารณาลักษณะของอินทริยะไม่เป็นหนทางที่จะให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะอินทรียะ ได้แก่ จักขุนทรีย์ ทางตาที่กำลังเห็น มีสภาพธรรมที่ปรากฏ ซึ่งถ้าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงว่า สภาพธรรมใดเป็นรูปธรรม สภาพธรรมใดเป็นนามธรรม ก็ย่อมไม่สามารถละการยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้
เพราะฉะนั้น ถ้าท่านผู้ใดคิดจะไม่พิจารณาจักขุนทรีย์ หรือว่าสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ให้ทราบว่า ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะแม้ใน อรรถกถาที่อธิบายถึงการที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอินทริยะโดยลำดับก็มีข้อความว่า ด้วยการกำหนดรู้ธรรมที่เป็นภายในจึงจะได้บรรลุอริยภูมิได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงจักขุนทรีย์เป็นต้น อันนับเนื่องด้วยภาวะของตนก่อน
เพราะฉะนั้น ควรจะต้องพิจารณาอรรถกถานี้ว่า หมายความว่าอะไร
ทุกท่านก่อนที่จะได้ฟังพระธรรม มีตัวตน และก็มีการเห็น ดังนั้น จักขุนทรีย์นี้ก็เป็นอินทรีย์อันนับเนื่องด้วยภาวะของตน มีตัวตนที่เห็น เป็นเราที่เห็น ใช่ หรือไม่ใช่ ในขณะที่เห็น ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นจักขุนทรีย์ เป็นสภาพธรรมที่นับเนื่องด้วยภาวะของตน
ถ้าไม่มีการเห็นโลกนี้ไม่ปรากฏ แต่เมื่อโลกนี้ปรากฏ ก็เป็นเราเห็น และเห็น สิ่งที่เป็นของเราด้วย เพราะฉะนั้น ตัวตนไม่พ้นจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นอินทริยะ เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ที่จะทำให้โลกปรากฏทางตา ที่เห็นเป็นสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม เป็นดอกไม้ เป็นพืชพรรณธัญญาหาร เป็นศิลปะ เป็นพระพุทธรูป เป็นวิชาการต่างๆ จิตรกรรมต่างๆ ล้วนมาจากการเห็นทั้งสิ้น และการเห็นนั้นก็เป็นอินทริยะอันนับเนื่องด้วยภาวะของตน
ทุกคนที่เห็น มีใครบ้างไหมที่ไม่คิดว่าเป็นเราเห็น เป็นตัวตน เป็นภาวะของตน เป็นสภาพหนึ่งของตัวตนที่เห็น
เพราะฉะนั้น การที่จะดับการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงจักขุนทรีย์เป็นอินทรีย์ที่ ๑ ต่อจากนั้นก็เป็นโสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์
ก็ภาวะของตนนั้น อาศัยธรรมอันใดจึงนับได้ว่าหญิงหรือชาย เพื่อทรงแสดงว่า ธรรมนั้นได้แก่ภาวะของตนนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ไว้ต่อจากจักขุนทรีย์เป็นต้น
ท่านผู้ฟังเกิดมาแล้วรู้ตัวใช่ไหมว่า เป็นหญิง หรือเป็นชาย ซึ่งก็ต้องอาศัย จักขุนทรีย์ ทางหูก็ต้องฟังเสียง เป็นหญิง เป็นชาย เป็นโสตินทรีย์ เพราะฉะนั้น ต่อจากอินทรีย์ ๕ ที่จะรู้ ภาวะของตนนั้น อาศัยธรรมอันใดจึงนับได้ว่าหญิงหรือชาย เพื่อทรงแสดงว่าธรรมนั้นได้แก่ภาวะของตนนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงอิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ไว้ ต่อจากจักขุนทรีย์เป็นต้น
ให้ทราบว่า ที่ยึดถือตัวเองว่าเป็นหญิงหรือเป็นชาย ก็เป็นเพราะภาวรูป ที่เป็นอิตถีภาวะ หรือปุริสภาวะนั่นเอง
ต่อจากนั้น อินทริยะที่ ๘ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์
เพื่อให้ทราบว่าภาวะของตนทั้ง ๒ อย่างนั้น มีความเป็นอยู่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตินทรีย์ พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงชีวิตินทรีย์ไว้ในลำดับต่อจากอิตถินทรีย์และ ปุริสินทรีย์นั้น
ที่ยังเป็นหญิงเป็นชายอยู่ก็เพราะมีรูปซึ่งเป็นชีวิตินทริยะอุปถัมภ์รูปซึ่งเกิดเพราะกรรมให้เป็นรูปที่ทรงชีวิต ดำรงชีวิตอยู่ตราบเท่าที่กรรมทำให้ชาตินี้เป็นหญิง เพราะเหตุว่าชีวิตินทริยะนี้อุปถัมภ์ภาวะรูปนั้นให้ดำรงสภาพของความเป็นหญิงอยู่ หรือว่าผู้ที่เป็นชายในชาตินี้ที่ยังคงเป็นชายต่อไปอยู่ทุกวัน ยังไม่หมดสิ้นภาวะของความเป็นชาย ก็เพราะชีวิตินทริยรูปเป็นรูปซึ่งเกิดเพราะกรรม อุปถัมภ์รูปอื่นทั้งหลายซึ่งเกิดเพราะกรรมให้ดำรงสภาพความเป็นรูปนั้นๆ อยู่
นี่เป็นอินทริยะที่ ๘
ขอทวนอีกครั้งหนึ่งว่า จักขุนทรีย์เป็นรูป โสตินทรีย์เป็นรูป ฆานินทรีย์เป็นรูป ชิวหินทรีย์เป็นรูป กายินทรีย์เป็นรูป อิตถินทรีย์เป็นรูป ปุริสินทรีย์เป็นรูป และชีวิตินทรีย์ เป็นรูปหนึ่ง คือ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นนามหนึ่ง คือ นามชีวิตินทรีย์ ได้แก่ ชีวิตินทริยเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตทุกดวง
สำหรับอินทรีย์ที่เป็นนาม นอกจากชีวิตินทริยเจตสิกแล้ว ลำดับต่อไป คือ ๙. มนินทรีย์ ได้แก่ จิตทั้ง ๘๘
๑๐. สุขินทรีย์ ได้แก่ สุขเวทนา
๑๑. ทุกขินทรีย์ ได้แก่ ทุกขเวทนา
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ได้แก่ โสมนัสเวทนา
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ได้แก่ โทมนัสเวทนา
๑๔. อุเปกขินทรีย์ ได้แก่ อุเบกขาเวทนา
๑๕. สัทธินทรีย์ ได้แก่ ศรัทธาเจตสิก
๑๖. วิริยินทรีย์ ได้แก่ วิริยเจตสิก
๑๗. สตินทรีย์ ได้แก่ สติเจตสิก
๑๘. สมาธินทรีย์ ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก
๑๙. ปัญญินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก
๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิกซึ่งเกิดกับโสตาปัตติมรรคจิต ๑ ดวง
๒๑. อัญญินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิกซึ่งเกิดกับโสตาปัตติผลจิต สกทาคามิมรรคจิต สกทาคามิผลจิต อนาคามิมรรคจิต อนาคามิผลจิต และอรหัตตมรรคจิต
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิกซึ่งเกิดกับอรหัตตผลจิตดวงเดียว
แสดงให้เห็นความละเอียดของความต่างกันแม้ของปัญญาว่า โดยทั่วไปแล้วปัญญาที่ไม่เกิดร่วมกับโสตาปัตติมรรคจิตเป็นปัญญินทรีย์ และสำหรับอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ซึ่งเกิดกับโสตาปัตติมรรคจิตขณะเดียวก็ไม่ใช่อัญญินทรีย์ ซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดกับโสตาปัตติผลจิตตลอดไปจนกระทั่งถึงอรหัตตมรรคจิต และอัญญาตาวินทรีย์ ก็ได้แก่ปัญญาที่เกิดกับอรหัตตผลจิตเท่านั้น ไม่เกิดกับโลกุตตรจิตอื่นๆ
เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังมีนามชีวิตินทรีย์ซึ่งเป็นเจตสิก ก็มีนามธรรมอื่นๆ เช่น อินทรีย์ที่ ๙ มนินทรีย์ ใจหรือจิตเป็นใหญ่ เป็นมนินทรีย์ ก็เพราะว่าเป็นที่ตั้ง เป็นที่เกิดของนามธรรมอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีจิต เจตสิกอื่นๆ ก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น สภาพของจิตจึงเป็นใหญ่ เป็นอินทรีย์ เป็นมนินทรีย์
และถ้าท่านผู้ฟังจะสังเกตต่อๆ ไปจะเห็นได้ว่า เมื่อกล่าวโดยปรมัตถธรรม ทรงใช้พยัญชนะว่า จิตปรมัตถ์ แต่ในบางครั้งใช้คำว่า มโน หรือถ้าเป็นอินทรีย์จะใช้คำว่า มนินทรีย์ เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับทวารอื่น เช่น จักขุนทรีย์เป็นจักขุทวาร โสตินทรีย์เป็นโสตทวาร นอกจากนั้น จิตนั่นเองเมื่อรู้แจ้งอารมณ์ทางหนึ่งทางใด ทวารหนึ่งทวารใดก็ใช้คำว่า วิญญาณ เช่น จักขุวิญญาณ
โลภมูลจิตไม่ใช่จิตเห็น เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สภาพที่รู้แจ้งรูปารมณ์ซึ่งกำลังปรากฏให้เห็นทางตาในขณะนี้ ในขณะที่รูปารมณ์กำลังปรากฏทางตา จิตซึ่งรู้แจ้ง คือเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ทรงใช้พยัญชนะว่าจักขุวิญญาณเพื่อให้รู้ว่า เป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ทางทวารไหน ถ้าเสียงที่กำลังปรากฏในขณะนี้ปรากฏเพราะจิตประเภทหนึ่งกำลังได้ยิน คือ รู้แจ้งเสียงซึ่งกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงใช้คำว่า โสตวิญญาณ
นี่ก็เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งถ้าท่านผู้ฟังสังเกตจะได้เหตุผลว่า เพราะเหตุใดจึงใช้จิตปรมัตถ์ ซึ่งก็เพราะหมายความถึงจิตทุกชนิดทุกประเภทเป็นสภาพรู้ แต่ที่ใช้คำว่า วิญญาณ เพราะว่าเป็นสภาพที่รู้แจ้งทางทวาร เช่น ทางตา จิตที่เห็นเป็น จักขุวิญญาณ เมื่อมี ๖ ทวาร เพราะฉะนั้น เวลาที่จะใช้คำที่มีความหมายของจิตที่เนื่องกับทวารก็ใช้คำว่า มโน เช่น มโนทวาร หรือว่ามโนวิญญาณธาตุ เป็นต้น
ข้อความต่อไปมีว่า
ตราบใดที่ชีวิตินทริยะยังเป็นไปได้อยู่
ในขณะนี้ อย่าลืมว่า นามธรรมและรูปธรรมเป็นอินทรีย์ทั้งนั้นที่กำลังกล่าวถึงโดยลำดับ
ตราบนั้นความเสวยอารมณ์ คือ เวทนา ความรู้สึกเหล่านี้ก็ไม่มีการหยุดยั้ง
ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนา เป็นสุขินทรีย์ ทุกขเวทนา เป็นทุกขินทรีย์ โสมนัสเวทนา เป็นโสมนัสสินทรีย์ โทมนัสเวทนา เป็นโทมนัสสินทรีย์ อุเบกขาเวทนา เป็นอุเปกขินทรีย์ ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า ชีวิตที่สำคัญมากก็เพราะเวทนาเกิดขึ้นเป็นไปในอารมณ์นั้น ถ้าเห็นเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความรู้สึกใดๆ เลย คงจะไม่ต้องเดือดร้อน แต่ไม่ว่าจะเห็นรูปทางตา หรือว่าได้ยินเสียงทางหู ถ้าเกิดสุขเวทนาขึ้น เป็นความรู้สึกที่เป็นสุขเนื่องจากการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ความรู้สึกที่เป็นสุขนั้นจะเห็นได้ว่าเป็นใหญ่จริงๆ ครอบคลุมสหชาตธรรมอื่นๆ ไม่ให้ปรากฏเลย ปรากฏเฉพาะความรู้สึกซึ่งเป็นสุข จริงไหม เวลาสุขนี้ ผัสสะปรากฏไหม เจตนาปรากฏไหม มนสิการเจตสิกปรากฏไหม ลักษณะของสหชาตธรรม คือ เจตสิกอื่นๆ ปรากฏไหม ไม่ปรากฏเลย มีแต่ความสุข บางท่านถึงกับกล่าวว่า สุขหนอ สุขหนอ หรือว่าวันนี้ช่างเป็นสุขจริงๆ ซึ่งก็เป็นเพราะว่าลักษณะของสุขเวทนานั้นเป็นอินทริยะ เป็นใหญ่ในการรู้สึก ซึ่งทำให้สภาพของสหชาตธรรมอื่นๆ เป็นไปกับความรู้สึกที่เป็นสุขนั้น
ตรงกันข้ามกับสุข คือ ทุกข์ ก็เป็นใหญ่อีกเหมือนกัน
ถ้าโดยนัยของอินทรีย์ ๕ ซึ่งแยกกายและใจ เวลาทุกขเวทนาเกิดขึ้น ปวด เจ็บ ทนไม่ไหว ลืมหมดสภาพธรรมอื่น จะเกิดสุขคละเคล้าขึ้นมาได้ไหมว่า เรามีทรัพย์สมบัติมากมายเท่านั้นเท่านี้ ในขณะที่ทุกขเวทนากำลังเป็นใหญ่ในขณะนั้น ลักษณะของสภาพที่ปวดเจ็บทุกข์ทรมานครอบคลุมสหชาตธรรมอื่นๆ เพราะว่าลักษณะของทุกขเวทนาเป็นอินทริยะ เป็นทุกขินทรีย์
ฉันใด โสมนัสเวทนา ความรู้สึกดีใจ โทมนัสเวทนา ความรู้สึกเศร้าเสียใจ อุเบกขาเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอินทริยะตามลักษณะของความรู้สึกนั้นๆ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงแสดงลำดับของเวทนาต่างๆ ต่อจากชีวิตินทริยะซึ่งเป็นนามธรรมและมนินทรีย์ว่า
ตราบใดที่ชีวิตินทริยะยังเป็นไปได้อยู่ ตราบนั้นความเสวยอารมณ์ เวทนาเหล่านี้ก็ไม่มีการหยุดยั้ง ก็เพื่อที่จะให้ทราบความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นทั้งหมดเป็นสุขและทุกข์เป็นต้น จึงทรงแสดงสุขินทรีย์ไว้ต่อจากชีวิตินทริยะและ มนินทรีย์
ท่านผู้ฟังอยากจะไม่มีเวทนาเจตสิกหรือยัง เพราะว่าตราบใดที่ชีวิตินทรีย์ คือยังมีชีวิตอยู่ ยังเป็นไปได้อยู่ ตราบนั้นความเสวยอารมณ์ คือ เวทนาเหล่านี้ ไม่มีการหยุดยั้ง ไม่หมด ความรู้สึกจะต้องมีอยู่ทุกขณะที่จิตเกิด และปรารถนาแต่เฉพาะ สุขเวทนาและโสมนัสเวทนา แต่อย่าลืมว่า สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา วันนี้เป็นสุขเวทนา ต่อไปอาจจะเป็นทุกเวทนาแสนสาหัสก็ได้จากอุบัติเหตุซึ่งมีอยู่ทุกเมื่อ หรือว่าจากโสมนัสเวทนา กำลังเป็นโสมนัสอยู่ ข่าวร้ายปัจจุบันมาก็เป็นโทมนัสเวทนาไปแล้ว ซึ่งในสังสารวัฏฏ์ก็จะต้องวนเวียนไปกับความรู้สึกที่ไม่มีวันจบ
ข้อความต่อไปมีว่า
ก็เพื่อแสดงข้อปฏิบัติว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญให้เกิดมีเพื่อที่จะได้ดับสุขินทรีย์เป็นต้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงศรัทธาเป็นต้นไว้ ต่อจากสุขินทรีย์เป็นต้น
ไม่หมดหนทาง มีหนทางที่จะดับเวทนาทั้งหลาย เพราะว่าพระผู้มีพระภาคทรงอุบัติ ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงหนทางที่จะทำให้ดับเวทนาทั้งหลายได้ โดยทรงแสดงอินทรีย์ ๕ ต่อจากอุเปกขินทรีย์ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ซึ่งได้แก่
อินทรีย์ที่ ๑๕ สัทธินทรีย์
อินทรีย์ที่ ๑๖ วิริยินทรีย์
อินทรีย์ที่ ๑๗ สตินทรีย์
อินทรีย์ที่ ๑๘ สมาธินทรีย์
อินทรีย์ที่ ๑๙ ปัญญินทรีย์
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๑๖๑ – ๑๑๗๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1141
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1142
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1143
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1144
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1145
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1146
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1147
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1148
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1149
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1150
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1151
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1152
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1153
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1154
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1155
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1156
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1157
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1158
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1159
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1160
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1161
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1162
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1163
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1164
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1165
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1166
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1167
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1168
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1169
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1170
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1171
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1172
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1173
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1174
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1175
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1176
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1177
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1178
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1179
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1180
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1181
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1182
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1183
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1184
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1185
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1186
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1187
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1188
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1189
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1190
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1191
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1192
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1193
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1194
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1195
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1196
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1197
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1198
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1199
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1200