แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1143
ครั้งที่ ๑๑๔๓
สาระสำคัญ
อุปนิสสัยปัจจัยให้สนใจศึกษาพระธรรม
ชีวิตหนึ่งเพียงชั่วขณะจิตเดียว
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย
สภาพธรรมที่เป็นกรรมและวิบาก
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๕
ย้อนถอยหลังไป ทุกท่านคงเคยเกิดกันมานับชาติไม่ถ้วน ถ้าจะถอยไปจนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ประมาณสัก ๒,๕๐๐ กว่าปี ที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ ทรงแสดงพระธรรม และทรงดับขันธปรินิพพาน แต่ละท่านก็ต้องเคยเกิดกันมาแล้วในชาติต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งถ้าจะย้อนไปเพียง ๒,๕๐๐ กว่าปี ก็ไม่มากชาติเท่ากับเป็น กัปๆ หรือแสนโกฏิกัปป์ คือ คงจะมีสัก ๒๐๐ - ๓๐๐ ชาติ แล้วแต่ว่าในชาติหนึ่งๆ นั้นจะมีอายุมากน้อยเท่าไร และบุคคลในครั้งที่พระผู้มีพระภาคเพิ่งจะปรินิพพานก็จะต้องเจริญสติปัฏฐานตามยุค ตามสมัย ตามกาล ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลในที่นี้ไม่สามารถย้อนระลึกถึงอดีตชาติได้ว่า เคยเกิดที่ไหน เคยฟัง พระธรรม หรือว่าสติเคยระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมในเหตุการณ์ไหนบ้างก็จริง ซึ่งการศึกษาเรื่องราวในอดีตที่ทุกท่านจะต้องเคยเป็นชาติหนึ่งชาติใด ไม่ว่าจะเป็นชาติไหน แต่สำหรับผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา มีเหตุปัจจัย คือ อุปนิสสยปัจจัยที่ได้สั่งสมมาทำให้มีความสนใจที่จะศึกษาพระธรรม ก็คงจะต้องเคย ได้ยินได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงในอดีตมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในยุคสมัยใดก็ตาม และก็จะต้องอบรมเจริญสติปัฏฐาน
ซึ่งท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า ชีวิตต่างๆ ซึ่งแต่ละบุคคลได้ยินได้ฟัง หรือแม้แต่ชีวิตของท่านเอง อย่าคิดว่าท่านจะกลับไปเป็นบุคคลนั้นอีก หรือว่าแม้ในชาตินี้ก็ไม่ใช่ว่าท่านจะกลับไปเป็นบุคคลซึ่งผ่านมาในขณะที่แล้ว หรือว่าในวันที่แล้ว ในเดือนที่แล้ว ในปีที่แล้ว เพราะว่าแต่ละคนจะมีชีวิต หรือเป็นชีวิตหนึ่ง เพียงชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญาจะต้องให้รู้ความจริงเพื่อที่จะละ ไม่ใช่เพื่อที่จะติด
การฟังเรื่องราวชีวิตของบุคคลหนึ่ง แท้ที่จริงบุคคลนั้นจะเป็นบุคคลนั้นเพียงชั่วขณะจิตเดียวจริงๆ และแต่ละขณะก็จะผ่านไปๆ จนกระทั่งสิ้นสุดความเป็นบุคคลนั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในอดีต หรือว่าบุคคลในปัจจุบันก็ตาม เช่น ท่านผู้ฟังในขณะนี้ คิดว่าตัวท่านเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ เป็นชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้นจริงๆ ไม่ว่าจะผ่านเหตุการณ์อะไรมาก็ชั่วขณะจิตหนึ่งและก็ดับ จะกลับไปผ่านเหตุการณ์อย่างนั้นอีก ก็ไม่ใช่ขณะจิตเดียวกันแล้ว เพราะฉะนั้น การที่จะเป็นบุคคลนี้ต่อไป ก็ยังคงเป็นต่อไปเพียงชั่วทีละขณะจิต เมื่อขณะจิตที่เป็นบุคคลหนึ่งดับไป ขณะนั้นมีขณะจิตต่อไปเกิดขึ้น ก็ยังดำรงความเป็นบุคคลนั้นไว้ชั่วขณะนั้นเท่านั้น และขณะนั้นก็ดับ ขณะต่อไปก็เกิด
เพราะฉะนั้น การเป็นบุคคลหนึ่งๆ ในชั่วชีวิตหนึ่งๆ ขอให้ทราบตามความเป็นจริงว่า เป็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้นจริงๆ และการเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้แต่ละขณะที่ผ่านไป จะทำให้ถึงความสิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ และจะไปสู่ความเป็นบุคคลอื่นในชาติต่อไป
ถ. เรื่องกัมมปัจจัยกับวิปากปัจจัย ฟังแล้วคิดว่าไม่เหมือนกับในพระสูตร ในพระสูตรบอกว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คำว่า ดี ในที่นี้หมายถึงได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข นี่คือความดีในพระสูตร แต่ในปัจจัยบอกว่า ผลของความดีนั้น ได้แก่ จักขุวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก โสตวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก ฆานวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก ชิวหาวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก และกายวิญญาณที่เป็นกุศลวิบาก ซึ่งวิญญาณที่เป็นกุศลวิบากทั้ง ๕ นี้ ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทองที่เรามีอยู่ คล้ายๆ กับว่าเป็นคนละเรื่องกัน
สุ. แต่อย่าลืมว่า การที่ได้ผลของกรรมดี เช่น การเกิดในสกุลสูง หรือว่ามีโภคสมบัติมาก มีเกียรติยศ มีบริวาร เหล่านี้ ก็เพื่อตาจะเห็นสิ่งที่ดีๆ เพื่อหูจะได้ยินเสียงที่ดีๆ เพื่อจมูกจะได้กลิ่นที่ดีๆ เพื่อลิ้นจะได้ลิ้มรสอาหารที่ประณีต เพื่อกายจะได้สัมผัสสิ่งที่สบาย
สำหรับคนที่ขาดทั้งบริวาร หรือลาภ หรือยศ หรือโภคสมบัติ หรือเกิดในสกุลต่ำ จะมีโอกาสได้สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายดีๆ ได้ไหม จะเหมือนอย่างผู้ที่เกิดในตระกูลสูง เป็นผู้ที่มีลาภ มียศ มีโภคสมบัติ ทรัพย์สมบัติ บริวารสมบัติหรือเปล่า
ถ. มี
สุ. มีหรือ แต่เท่ากัน หรือไม่เท่ากัน
ถ. เราไม่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่เวลาที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปที่ไหน ทหารรักษาพระองค์เป็นแถว กองเกียรติยศทั้งหมด เราก็เห็น พระเจ้าแผ่นดินก็เห็น
สุ. แต่ไม่ได้มาเฝ้าที่บ้าน ใช่ไหม ไม่ได้มาดูแลรักษาไว้เหมือนอย่างผู้ที่เกิดในสกุลสูง หรือมีลาภ มียศ มีทรัพย์สมบัติ มีโภคสมบัติ
การที่จะเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งทุกคนเคยอยู่ในโลกของ สมมติบัญญัติ คือ มีเหตุการณ์ต่างๆ มีเรื่องต่างๆ มากมาย มากกว่าการที่จะระลึกรู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ใดๆ เรื่องราวใดๆ จะเป็นเรื่องพระราชา เรื่องมหาอำมาตย์ของพระราชา เรื่องของพ่อค้าวาณิช หรือเรื่องของคนเข็ญใจต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องยาวๆ ทั้งหมดนี้ แท้ที่จริงแล้วเป็นเรื่องของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่กระทบกับตา หู จมูก ลิ้น กายในวันหนึ่งๆ เท่านั้นเอง ซึ่งถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ไม่สามารถจะระลึกรู้ลักษณะของวิปากปัจจัย คือ สภาพธรรมที่กำลังเห็นในขณะนี้ กำลังได้ยินเสียงในขณะนี้ กำลังได้กลิ่นในขณะนี้ กำลังลิ้มรสในขณะนี้ กำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกายในขณะนี้ ตามปกติ ตามความเป็นจริง
ทุกท่านติดอยู่ในเรื่องของเหตุการณ์ต่างๆ โดยที่ไม่คิดเลยว่า แท้ที่จริงแล้วเรื่องเหตุการณ์ทั้งหมด เป็นเพียงขณะที่คิดเท่านั้นเอง
ถ. สุภมาณพโตเทยยบุตรมีความสงสัยในบุคคล ๑๔ บุคคล ซึ่งปรากฏเห็นได้ชัดในโลกนี้ รวมแล้วมี ๗ คู่ คือ คนบางคนมีผิวพรรณทราม รูปชั่ว คนบางคนมีผิวพรรณงาม รูปหล่อ …
สุ. เท่านี้ก่อน นั่นสำหรับอะไร ผิวพรรณทรามกับผิวพรรณงาม สำหรับจักขุวิญญาณหรือเปล่าที่จะเห็น เพราะว่าทุกคนเห็นและมีอารมณ์ คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นอิฏฐารมณ์ คือ เป็นอารมณ์ที่ดี ที่สวยงาม ที่น่าพอใจ ที่ประณีต เป็นสิ่งที่มีจริง ส่วนอารมณ์ที่เป็นอนิฏฐารมณ์ คือ ไม่น่าดู ไม่น่าพอใจ ไม่ประณีต ก็มีจริง สำหรับจักขุวิญญาณที่เป็นอกุศลวิบาก ถูกไหม ถ้าไม่มีการเห็น ไม่มีการ ได้ยิน ผิวพรรณวรรณะที่สวยงามประณีตจะมีความหมายหรือจะมีประโยชน์อะไร แต่เพราะเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ เพราะฉะนั้น เป็นผลของกรรมใช่หรือเปล่า
สำหรับเพียงแค่รูปร่างผิวพรรณ ก็จะเห็นได้ว่า ไม่พ้นไปจากเรื่องของนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งเป็นผลของกรรม
ถ. และบางคนก็มีตระกูลสูง บางคนก็มีตระกูลต่ำ
สุ. ก็โดยนัยเดียวกัน ผู้ที่ตระกูลต่ำ ก็จะเห็นบ้าง ได้ยินเสียงซึ่งไม่น่าพอใจบ้าง ซึ่งคนตระกูลสูงก็จะได้ยินแต่คำและเสียงที่น่าพอใจ ซึ่งก็ต้องเป็นกรรมและวิบากนั่นเอง
ถ. ไม่เสมอไป คนที่มีตระกูลต่ำได้ยินเสียงเพราะๆ มากมาย เช่น เสียงเพลงจากวิทยุ เดี๋ยวนี้เกลื่อนกลาดไปหมด ไปที่ไหนก็ได้ยินแต่เสียงเพลงเพราะๆ ก็มี
สุ. ที่อยู่ที่อาศัยจะทำให้ได้ยินเสียงอื่นบ้างไหม ซึ่งไม่น่าพอใจ นอกจากเสียงวิทยุ
ถ. ก็ไม่แน่ บางทีก็มี บางทีก็ไม่มี
สุ. เรื่องไม่แน่เป็นเรื่องของกรรมซึ่งเป็นเหตุ และไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจะมีแต่อกุศลกรรม แต่การเป็นผู้ที่มีตระกูลสูง หรือมีโภคสมบัติ มีทรัพย์สมบัติมาก ย่อมแสดงให้เห็นว่า มีโอกาส หรือว่าเป็นปัจจัยที่จะได้รับกุศลวิบากมากกว่า ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง
ถ. ผมยังมองไม่เห็นว่า ตระกูลสูงจะเกี่ยวกับวิญญาณทั้ง ๕ อย่างไร
สุ. ผู้ที่เกิดในตระกูลสูง จะได้รับคำยกย่องไหม
ถ. ก็ไม่แน่อีก
สุ. เรื่องไม่แน่ ก็เป็นเพราะว่าทุกคนไม่ได้มีแต่กุศลกรรมอย่างเดียว แต่ถ้าพูดถึงในบรรดาผู้ที่มีตระกูลสูง สิ่งที่ปรากฏทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ย่อมมีโอกาสที่จะเป็นอารมณ์ที่ประณีตมากกว่า ถูกต้องไหม หรือไม่ถูกต้อง
ถ. ถูกต้อง
สุ. ถ้าไม่ถูกต้อง ทุกคนต้องอยากมีตระกูลต่ำ ไม่มีลาภ ไม่มีโภคสมบัติ ไม่มีทรัพย์สมบัติทั้งนั้น แต่เพราะว่าทุกคนยังต้องการสิ่งที่เป็นผลของกุศลมาก เพื่อที่จะให้จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ได้รับแต่อารมณ์ที่ดี ที่ประณีต
ถ. ทั้งหมดมี ๗ คู่ ก็โดยนัยเดียวกัน บางคนมีโรคมาก บางคนมีโรคน้อย บางคนมีปัญญาทราม บางคนมีปัญญาดี ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาของมาณพคนหนึ่งที่เข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาค ซึ่งทีแรกพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายไปต่างๆ กัน สุภมาณพก็ขอให้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยพิสดาร พระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงว่า คนที่มีความโกรธ เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาติใดๆ แล้ว จะมีผิวพรรณทราม ถ้ามีความโกรธน้อยหรือโกรธยาก เมื่อเกิดมาแล้วก็จะเป็นคนที่มีผิวพรรณงาม รูปหล่อ และที่ว่าเจตนาเป็นกรรม แต่การกระทำทางกาย ทางวาจาก็ไม่ใช่เจตนา การกระทำทางกาย ทางวาจา เป็นกรรมหรือเปล่า
สุ. การกระทำอะไรที่ไม่ใช่เจตนา
ถ. สมมติว่า เราจะไปฆ่าสัตว์ก็ดี หรือว่าจะไปทำบุญก็ดี เกี่ยวเนื่องกับกายทั้งนั้นนี่
สุ. แต่เป็นเจตนาเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิต ที่เป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา
ถ. เพราะฉะนั้น กรรมก็ไม่ใช่เพียงเจตนาเจตสิกอย่างเดียว
สุ. ถ้ากล่าวโดยกว้าง ได้แก่ อกุศลจิต ถ้าเป็นอกุศลกรรม แต่ถ้ากล่าวโดยเจาะจง ได้แก่ เจตนาเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่ขวนขวาย จงใจ ตั้งใจที่จะให้กิจนั้นๆ กระทำสำเร็จลงไป
ถ. เรื่องของกรรมและวิบาก เป็นเรื่องใหญ่ของบุคคลทุกยุคทุกสมัย ถ้าอาจารย์อธิบายไม่ละเอียด อย่างไรๆ คนสงสัยก็ยังมีมาก
สุ. เพราะฉะนั้น การที่จะพิจารณาให้รู้สภาพของปัจจัยจริงๆ ไม่ใช่คิดถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ซึ่งเป็นการคิดนึกทางใจ แต่เป็นการที่จะระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ เพื่อที่จะได้รู้สภาพที่เป็นวิปากปัจจัยในขณะที่เห็น หรือในขณะที่ได้ยิน เป็นต้น
ถ้าเป็นเรื่องของความคิดนึก ซึ่งทางใจคิดตลอดเวลามากมายหลายเรื่อง แต่ถ้าสติไม่ได้ระลึกที่สภาพธรรมที่กำลังปรากฏที่กายขณะใด ขณะนั้นจะไม่รู้สภาพธรรมที่เป็นวิบาก เพราะฉะนั้น ที่จะรู้สภาพที่เป็นวิบาก ได้แก่ ขณะที่สติเกิดขึ้นและระลึกรู้ สิ่งที่กำลังปรากฏ รู้ว่าสภาพนั้นๆ เป็นนามธรรมซึ่งต้องเกิดเพราะเหตุปัจจัยตามปกติ ตามความเป็นจริง
ถ้าไม่มีตาที่จะเห็น ไม่มีหูที่จะได้ยิน ไม่มีจมูกที่จะได้กลิ่น ไม่มีลิ้นที่จะลิ้มรส ไม่มีกายที่จะกระทบสัมผัสถูกต้อง ทางที่จะรับวิบากก็ย่อมไม่มี สำหรับผู้ที่เกิดในภูมิ ที่มีขันธ์ ๕ ถ้าอยากจะเข้าใจเรื่องวิปากปัจจัยจริงๆ ว่า สภาพธรรมใดซึ่งเป็นวิบาก ก็ต้องเพราะสติระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง แต่ถ้าเป็นทางใจขณะใด ขณะนั้นเป็นเรื่องราวทั้งหมด คิดนึกไปในเรื่องของสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
เมื่อครู่นี้ท่านผู้ฟังมีกุศลจิต สวดมนต์ ได้ยินเสียงอะไรบ้างหรือเปล่าในขณะที่กำลังสวดมนต์ไหว้พระ ได้ยินเสียงอะไรบ้างหรือเปล่า ได้ยินไหม วิปากปัจจัย เมื่อมีอารมณ์ที่กระทบกับตา หรือหู หรือจมูก หรือลิ้น หรือกาย สภาพธรรมที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ อย่าลืม นั่นเป็นวิบาก
ต้องแยก กุศลไม่ใช่วิบาก อกุศลไม่ใช่วิบาก ในขณะที่กำลังสวดมนต์ เห็นอะไรหรือเปล่า เห็นเป็นวิบาก แต่ขณะที่กำลังสวดมนต์ระลึกถึงพระพุทธคุณเป็น กุศลจิตซึ่งไม่ใช่วิบาก คือ สภาพธรรมหนึ่งเป็นวิบาก สภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งเป็นกุศล ไม่ใช่เรา ถ้าสติไม่ได้ระลึกจนกระทั่งรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้ ย่อมมีตัวตน มีสัตว์ มีบุคคล
เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญสติปัฏฐานจะไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามปกติตามความเป็นจริงทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่ได้ เมื่อได้ศึกษาเรื่องของปรมัตถธรรม เรื่องของปัจจัยต่างๆ และเรื่องของการเจริญสติปัฏฐานแล้ว ย่อมเป็นสังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่งให้สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ โดยเฉพาะในขณะที่กำลังฟังธรรมเรื่องของนามธรรมและรูปธรรม เรื่องของปัจจัยต่างๆ และโดยเฉพาะเมื่อรู้ว่า วิบากไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล
ในขณะที่กำลังสวดมนต์เมื่อครู่นี้เอง ถ้ามีสติระลึกรู้ตามปกติ จะเห็นความเล็กน้อยของปริตตธรรม คือ กามาวจรธรรม ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส หรือแม้สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ในขณะที่กำลังสวดมนต์ ท่านผู้ฟังท่านอื่นได้ยินเสียงอะไรบ้าง
ท่านหนึ่งบอกว่า ท่านได้ยินเสียงแมว อีกท่านหนึ่ง ท่านได้ยินเสียงอะไรบ้าง ขณะนี้ก็มี เสียงฆ้อง ได้ยินไหม เพราะฉะนั้น ขณะนี้ถ้าสติระลึกจะเห็นความเล็กน้อยสั้นที่สุดของแม้แต่ช่วงขณะที่กำลังสวดมนต์ก็มีเสียงเกิดคั่น ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้การได้ยินเสียงเกิดขึ้น คั่น การได้ยินเสียงก็ไม่ปรากฏ แต่สภาพธรรมตามปกติตามความเป็นจริงคืออย่างนี้
เพราะฉะนั้น ความสุขที่เกิดจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส จะเล็กน้อยสักแค่ไหน เหมือนกับขณะที่กำลังเห็นในขณะนี้ และได้ยิน และก็คิดนึก
สภาพธรรมตามความเป็นจริงเล็กน้อยจริงๆ สั้นจริงๆ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ แต่ต้องอาศัยสติที่จะระลึกรู้ตามความเป็นจริง จะไม่สับสน จะ ไม่ปะปนกันระหว่างสภาพธรรมที่เป็นกรรมและสภาพธรรมที่เป็นวิบาก และจะได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ถ้าตราบใดที่สติยังไม่ระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ยังแยกไม่ออก ก็ยังคงเป็นโลกของตัวตน เรื่องราวต่างๆ โดยไม่รู้ความจริงว่า เป็นปรมัตถธรรมแต่ละชนิด
เป็นความจริงอย่างนี้หรือเปล่า แม้ในขณะนี้ หรือในขณะก่อนที่กำลังสวดมนต์ ไม่ใช่มีแต่เห็น มีได้ยิน คิดนึก เป็นกุศลเล็กน้อย และก็เป็นวิบาก
ถ้าจะระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏทางกาย นั่นคือวิบาก พิสูจน์ได้แล้ว สภาพธรรมที่แข็งปรากฏที่กาย ไม่ใช่คิดนึก ไม่ใช่กุศล แต่เป็นสภาพที่รู้แข็ง เพราะฉะนั้น จึงเป็นวิบาก แต่ขณะที่กำลังฟังและเข้าใจในขณะนี้ ไม่ใช่สภาพที่รู้แข็ง เพราะฉะนั้น ในขณะที่เข้าใจธรรมที่กำลังได้ยินได้ฟัง ขณะนั้นเป็นกุศลจิต ขณะที่เสียงอื่นแทรกเกิดคั่น ขณะนั้นเป็นวิบากอีกแล้ว เพราะฉะนั้น สภาพธรรมแต่ละอย่างก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยทั้งสิ้น
ถ้าไม่รู้อย่างนี้ ไม่มีทางที่จะดับการยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๑๑๔๑ – ๑๑๕๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1141
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1142
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1143
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1144
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1145
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1146
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1147
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1148
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1149
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1150
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1151
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1152
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1153
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1154
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1155
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1156
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1157
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1158
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1159
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1160
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1161
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1162
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1163
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1164
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1165
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1166
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1167
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1168
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1169
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1170
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1171
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1172
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1173
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1174
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1175
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1176
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1177
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1178
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1179
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1180
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1181
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1182
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1183
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1184
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1185
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1186
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1187
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1188
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1189
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1190
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1191
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1192
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1193
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1194
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1195
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1196
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1197
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1198
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1199
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1200