แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1175
ครั้งที่ ๑๑๗๕
สาระสำคัญ
อถ.อัฏฐสาลินี. ลักษณะเป็นต้นของ โอชารูป
อาหารอุปถัมภ์ร่างกายให้ดำรงอยู่
อถ.อัฏฐสาลินี อธิบาย “กาย” คือ “กายปสาท”
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๕
คำว่า อร่อย ได้แก่ รสที่น่าปรารถนา
คำว่า ไม่อร่อย ได้แก่ รสที่ไม่น่าปรารถนา
ด้วย ๒ บทนี้ ทรงกำหนดถือเอารสแม้ทั้งหมด แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ รสทั้งหมดที่ มิได้มาในพระบาลี เป็นต้นว่า รสก้อนดิน รสฝาเรือน และรสผ้าท่อนเก่า ก็พึงทราบว่า ผนวกเข้าฐานะเป็นรสที่ชื่อว่า เยวาปนกะ คือ รสแม้อื่นใด
ไม่ว่าจะเป็นรสใดๆ ทั้งหมดก็ตาม ลักษณะเป็นต้นของรส ซึ่งจะต้องประจักษ์แจ้งตามความเป็นจริง คือ
รสนี้แม้ต่างกัน โดยความต่าง มีรสรากไม้เป็นต้น ว่าโดยลักษณะเป็นต้น ไม่ต่างกันเลย
จริงอยู่ รสนี้แม้ทั้งหมดมีการกระทบชิวหา คือ ลิ้น เป็นลักษณะ
มีความเป็นอารมณ์แห่งชิวหาวิญญาณ เป็นรสะ
มีความเป็นโคจรแห่งชิวหาวิญญาณนั่นแหละ เป็นปัจจุปัฏฐาน
โอชารูปไม่สามารถจะรู้ได้ทางชิวหาทวาร แต่เวลาที่บริโภคอาหาร สิ่งใดก็ตามที่กระทบกับลิ้น สิ่งนั้นที่ปรากฏ คือ รส
สำหรับลักษณะเป็นต้นของโอชารูป ข้อความใน อัฏฐสาลินี มีว่า
ลักษณะเป็นต้นของกพฬิงการาหาร คือ อาหารที่บริโภคเป็นคำๆ แม้ว่าโดยลักษณะเป็นต้น กพฬิงการาหารพึงทราบว่า มีโอชา เป็นลักษณะ
มีการนำมาซึ่งรูป (ทำให้เกิดรูปที่เรียกว่า อาหารชรูป) เป็นรสะ
มีการอุปถัมภ์ เป็นปัจจุปัฏฐาน เป็นอาการปรากฏ
ทุกคนคงเห็นประโยชน์ว่า จะต้องบริโภคอาหาร เพราะว่าอาหารที่บริโภคนั้นอุปถัมภ์ร่างกายให้ดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น กพฬิงการาหารหรือโอชารูป จึงมีการอุปถัมภ์ เป็นปัจจุปัฏฐาน
มีวัตถุซึ่งพึงทำเป็นคำ แล้วกลืนกิน เป็นปทัฏฐาน เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
เพราะฉะนั้น ก็ต่างกันกับลักษณะเป็นต้นของรส เพราะว่าลักษณะเป็นต้นของรสนั้นมีการกระทบชิวหา เป็นลักษณะ แต่ลักษณะของกพฬิงการาหาร มีโอชา เป็นลักษณะ
รส มีความเป็นอารมณ์แห่งชิวหาวิญญาณ เป็นรสะ แต่กิจของกพฬิงการาหารหรือโอชารูปนั้น มีการนำมาซึ่งรูป เป็นรสะ คือ เป็นกิจ
รส มีความเป็นโคจรแห่งชิวหาวิญญาณ เป็นปัจจุปัฏฐาน คือ อาการปรากฏ แต่กพฬิงการาหาร หรือโอชารูป มีการอุปถัมภ์ เป็นปัจจุปัฏฐาน
เพราะฉะนั้น รสต่างกับโอชารูป แต่ที่บริโภคทั้งหมด ไม่ใช่บริโภคแต่เฉพาะรสอย่างเดียว หรือโอชารูปอย่างเดียว แต่บริโภคอาหาร คือ วัตถุอื่นซึ่งรวมอยู่ด้วย เช่น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม สี และกลิ่น
ต่อไปอินทรีย์ที่ ๕ กายินทรีย์
พิสูจน์ได้ไหม ทุกอินทรีย์ เริ่มหรือยังที่จะพิสูจน์ ด้วยการฟังและพิจารณา เมื่อเห็นว่าเป็นสภาพธรรมที่มีจริง สติก็ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ที่กำลังปรากฏ
อัฏฐสาลินี มีข้อความอธิบายคำว่า กาย คือ กายปสาท เพราะฉะนั้น ที่จะระลึกรู้ลักษณะของรูปซึ่งยึดถือว่าเป็นกาย จะได้ทราบว่าจะพิจารณาอย่างไร ข้อความมีว่า
ส่วนในกายนี้ ชื่อว่าอุปาทินนกรูป (รูปซึ่งเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย) มีอยู่เท่าใด กายายตนะซึมซาบอยู่ในอุปาทินนกรูปทั้งหมดเหมือนยางใยในปุยฝ้าย ได้รับอุปการะ อุปถัมภ์ อนุบาล และความแวดล้อม มีประการดังกล่าวแล้ว
คือ เกิดรวมกับกลุ่มของรูปที่เกิดเพราะจิต เพราะอุตุ เพราะอาหาร เป็นสมุฏฐานด้วย
ย่อมให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารแห่งวิถีจิต มีกายวิญญาณเป็นต้น ตั้งอยู่ตามควร
ในอุปาทายรูปเหล่านั้น พึงมีผู้สงสัยท้วงว่า ถ้าในกายนี้ชื่อว่าอุปาทินนกรูป มีอยู่เท่าใด กายายตนะซึมซาบอยู่ในอุปาทินนกรูปทั้งหมดเหมือนยางใยในปุยฝ้ายไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ลักษณะก็จะต้องระคนกัน
นี่คือความช่างคิดของผู้ที่ได้ฟังธรรมและสงสัยว่า ถ้ารูปใดก็ตามที่เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน และมีกายายตนะ หรือกายปสาทรูป หรือกายินทรีย์ซึมซาบอยู่ รูปทั้งหลายย่อมจะต้องปะปนระคนกัน
น่าสงสัยไหม เพราะว่าแยกไม่ออก เป็นกลุ่มของรูปที่เล็กมาก แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นกลุ่มของรูปซึ่งเล็กเพียงไร พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง และทรงแสดงลักษณะของรูปที่ต่างกันแต่ละลักษณะ เป็นแต่ละรูป ในแต่ละกลุ่ม ตามความเป็นจริง
แต่ผู้ที่สงสัย ก็สงสัยว่า ถ้ากายายตนะซึมซาบอยู่ในอุปาทินนกรูปทั้งหมด เหมือนยางใยในปุยฝ้ายไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้นลักษณะก็จะต้องระคนกัน
ถ้าไม่ฟังเพียงพยัญชนะ คือ ข้อความนี้ แต่ระลึกรู้ที่กาย จะสงสัยอย่างนี้ไหม ตลอดศีรษะจรดเท้า ขณะใดที่กระทบสัมผัสสิ่งใด ปรากฏแข็ง อ่อน เย็น ร้อน ตึง ไหว แสดงว่าตรงนั้นต้องมีกายปสาทรูป
ที่เรียกว่า ตา คือ สสัมภารจักขุ มีกายปสาทรูปรวมอยู่ด้วยไหม เจ็บตา อะไรเข้าไปข้างในก็เคืองตา แสดงให้เห็นว่ามีกายปสาทรูปซึมซาบอยู่อย่างที่อุปมาว่า เหมือนยางใยในปุยฝ้าย เพราะแยกไม่ออกจริงๆ แต่กายปสาทรูปก็ไม่ใช่จักขุปสาทรูป แม้ว่าไม่ห่างไกลกันเลย ตรงกลางตาดำ กระทบสัมผัสเจ็บไหม เจ็บ ก็ต้องมี กายปสาทรูป
แต่จักขุปสาทรูปไม่ใช่กายปสาทรูป โดยกิจ โดยลักษณะ จักขุปสาทรูป เป็นความผ่องใส หรือความใสของรูปซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่สามารถจะกระทบกับ สีสันวัณณะ คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา โดยที่กายปสาทรูปไม่สามารถจะกระทบกับ สีสันวัณณะได้เลย กายปสาทรูปที่อยู่ตรงกลางตากระทบกับเย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว แต่จักขุปสาทรูปซึ่งอยู่กลางตากระทบกับสีสันวัณณะต่างๆ ที่กำลังปรากฏ ทางตาในขณะนี้ เพราะฉะนั้น ไม่ปนกัน แต่เกิดซึมซาบทั่วกัน โดยที่ยากจะแยกออกจากกันได้ ซึ่งก็ควรที่จะมีผู้สงสัยอย่างนั้น จึงมีข้อความว่า
พึงมีผู้สงสัยท้วงว่า ถ้าในกายนี้ชื่อว่าอุปาทินนกรูปมีอยู่เท่าใด กายายตนะ ซึมซาบอยู่ในอุปาทินนกรูปทั้งหมดเหมือนยางใยในปุยฝ้ายไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ลักษณะ ก็จะต้องระคนกัน
ข้อความต่อไปมีว่า
ข้อนี้ขอตอบว่า ไม่ต้อง
ถามว่า เพราะเหตุไรเล่า
ตอบว่า เพราะกายายตนะอื่นหามีอยู่ในอุปาทินนกรูปอื่นไม่
กายายตนะจะมีอยู่ในจักขุปสาทรูปไม่ได้โดยเด็ดขาด จักขุปสาทรูปเป็น จักขุปสาทรูป กายปสาทรูปเป็นกายปสาทรูป จะเอากายปสาทรูปไปอยู่ใน จักขุปสาทรูปไม่ได้ หรือจะเอาจักขุปสาทรูปไปอยู่ในกายปสาทรูปก็ไม่ได้
ท้วงว่า ถ้าอย่างนั้น กายายตนะก็ไม่ซึมซาบอยู่ในอุปาทินนกรูปทั้งหมดน่ะซิ
แสดงให้เห็นว่า ที่พูดนั้นยังไม่ตรง หรือยังไม่ถูกต้องทั้งหมดทีเดียว
ตอบว่า ว่าโดยปรมัตถ์ ไม่ซึมซาบอยู่ในอุปาทินนกรูปทั้งหมด แต่เหตุที่จะแยกแยะกระทำกายายตนะนั้นให้ต่างกัน ใครๆ ไม่อาจจะบัญญัติได้ เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวไว้อย่างนั้น
การฟังพระธรรมต้องเข้าใจว่า โดยกว้าง หรือว่าโดยเจาะจง ถ้าโดยกว้างก็กล่าวได้ว่า กายายตนะซึมซาบอยู่ทั่วร่างกายตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า แต่ที่เว้นก็มี เช่น ปลายผม หรือว่าส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตามซึ่งขณะนั้นไม่ปรากฏลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหว ในที่นั้นก็ไม่มีกายายตนะ แต่เมื่อจะกล่าวโดยกว้าง ย่อมกล่าวได้ว่า กายายตนะซึมซาบอยู่ตลอดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า
ข้อความต่อไป
อุปมาว่า เหมือนอย่างรูป และรส เป็นต้น ย่อมกล่าวได้ว่า ซึมซาบอยู่ในกันและกัน เพราะเหตุที่ใครๆ ไม่อาจจะแยกกันได้ เหมือนอย่างผงทรายอันละเอียด
รูปในที่นี้ คือ รูปารมณ์ สีสันวัณณะต่างๆ จะแยกรสออกจากสีสันวัณณะ จะแยกได้อย่างไรเวลาที่ตาเห็น
ที่ว่าละเอียดยังแยกได้ แต่ปสาทรูปจะแยกได้อย่างไร แม้ตรงกลางตา คือ จักขุปสาท ก็มีกายายตนะ และมีจักขุปสาท ซึ่งเป็นคนละกลุ่ม คนละกลาป คนละส่วน แต่ว่าผงทรายอันละเอียดแม้แยกได้ แต่ปสาทรูปที่จะให้แยกอย่างผงทรายอันละเอียด ย่อมเป็นสิ่งซึ่งกระทำไม่ได้
แต่ว่าโดยปรมัตถ์ รสก็หามีอยู่ในรูปไม่
เห็นน้ำตาล เห็นเกลือ รสอยู่ที่สีของน้ำตาล หรือสีของเกลือไหม คนละรูป แยกออกจากกันได้ไหม ใครจะเพียรแยกรสออกจากสีสันวัณณะของน้ำตาล หรือเกลือที่ปรากฏ ย่อมแยกไม่ได้ ฉันใด แม้กายายตนะก็เหมือนฉันนั้น
ว่าโดยปรมัตถ์ หามีอยู่ในอุปาทินนกรูปทั้งหมดไม่ และจะไม่มีอยู่ใน อุปาทินนกรูปทั้งหมดก็ไม่ใช่ เพราะใครๆ ไม่พึงสามารถจะแยกกันได้ ในกายายตนะนี้ พึงทราบว่า ลักษณะไม่ต้องระคนกัน ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้
ลักษณะเป็นต้นของกาย ใน อัฏฐสาลินี อรรถกถา พระธรรมสังคณีปกรณ์ มีข้อความว่า
กาย ได้แก่ กายปสาทรูป
มีความเป็นปสาทแห่งภูตรูปอันควรแก่การกระทบโผฏฐัพพะ เป็นลักษณะ
มีความชักมาที่โผฏฐัพพะ เป็นรสะ
มีความเป็นที่รองรับแห่งกายวิญญาณ เป็นปัจจุปัฏฐาน
มีภูตรูปอันเกิดแต่กรรม ซึ่งมีความประสงค์จะถูกต้อง เป็นเหตุ เป็นปทัฏฐาน
ไม่ได้อยู่ที่อื่นเลย อยู่ที่ตัวของทุกท่าน คือ กายปสาทรูป เป็นรูปอันควรแก่การกระทบโผฏฐัพพะ เป็นลักษณะ ถ้าจะรู้ว่า กายปสาทรูปคืออะไร ก็หมายความถึงสภาพซึ่งควรแก่การกระทบโผฏฐัพพะ คือ เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว ปรากฏที่ใด ให้ทราบว่า ขณะนั้นมีกายปสาท ซึ่งเป็นรูปอันควรแก่การกระทบโผฏฐัพพะ
มีความชักมาที่โผฏฐัพพะ เป็นรสะ คือ เป็นกิจ เมื่อมีกายปสาทแล้ว จะรู้แต่เฉพาะโผฏฐัพพะเท่านั้น จะไม่รู้เสียง ไม่ได้ยินเสียง จะไม่มีเกี่ยวข้องสัมพันธ์ใดๆ กับเสียงเลย หรือกลิ่น รส หรือรูปารมณ์ที่กำลังปรากฏทางตา ก็ไม่ใช่เรื่องของกายปสาททั้งสิ้น สำหรับกายปสาทนั้น ชักมาที่โผฏฐัพพะเท่านั้นเป็นรสะ เวลามีโผฏฐัพพะที่ใด กายปสาทเป็นสภาพที่รู้ลักษณะของโผฏฐัพพะในที่นั้น ซึ่งในที่ที่มีโผฏฐัพพะ มีกลิ่นด้วย มีรสด้วย แต่กายปสาทไม่สามารถที่จะเกี่ยวข้องกับกลิ่นและรส เพราะฉะนั้น ในที่นั้น กายปสาทเป็นสภาพที่ชักไปที่โผฏฐัพพะ คือ ให้กระทบสัมผัสกับโผฏฐัพพะ เป็นรสะ คือ เป็นกิจ เท่านั้น
มีความเป็นที่รองรับแห่งกายวิญญาณ เป็นปัจจุปัฏฐาน คือ เป็นอาการที่ปรากฏ ในขณะที่กำลังกระทบสัมผัสในขณะนี้ พิสูจน์ธรรมได้ทันทีว่า กายวิญญาณอยู่ตรงไหน ขณะที่กำลังกระทบสิ่งที่อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหว ทราบได้ว่า กายวิญญาณอยู่ตรงไหน เพราะว่ากายปสาทเป็นสภาพที่รองรับ คือ เป็นสภาพซึ่งเป็นวัตถุ เป็นที่ตั้ง เป็นที่เกิดของกายวิญญาณซึ่งเป็นสภาพที่รู้แข็ง เพราะฉะนั้น ลักษณะที่รู้แข็ง จะไม่ใช่ตรงอื่นส่วนอื่น
ถ้าท่านคิดว่า ที่ใดเป็นสมอง แต่ท่านกำลังสัมผัสตรงไหน รู้แข็งตรงไหน กายวิญญาณอยู่ตรงนั้น ตรงที่ที่กำลังรู้ลักษณะของโผฏฐัพพะ
การอบรมเจริญปัญญาต้องรู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ปกติธรรมดา มีการ รู้แข็ง รู้อ่อน รู้ร้อน รู้เย็น ไม่หลงลืม คือ สติระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้น สภาพรู้ ธาตุรู้ กำลังรู้ลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง ส่วนลักษณะที่อ่อนหรือแข็งไม่ใช่สภาพรู้ ไม่ใช่ธาตุรู้ และวันหนึ่งจึงจะละการยึดถือทั้งสภาพที่รู้แข็งและลักษณะที่แข็งว่า เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้ ในเมื่อเฉพาะส่วนที่แข็งตรงนั้นเท่านั้นที่กำลังปรากฏ
ท่านผู้ฟังลองพิสูจน์ธรรมในขณะนี้ ลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ปรากฏทั่วทั้งตัวไหม หรือเฉพาะแห่งๆ ทั่วตัวไหม ไม่ทั่ว เพราะฉะนั้น สติระลึกเฉพาะตรงที่ปรากฏ อย่าผูกโยง เยื่อใย หรือทรงจำว่า มีเรากำลังนั่งอยู่ หรือว่ากำลังมีท่าทาง หรือว่ามีรูปอื่นรวมอยู่ในแข็งที่กำลังปรากฏ
ถ้ายังไม่ละการยึดถือ หรือความทรงจำว่า เป็นท่าทาง หรือเป็นรูปร่าง หรือเป็นตัวตน ไม่มีทางจะประจักษ์แจ้งได้ว่า แท้ที่จริงแล้วในขณะที่แข็งกำลังปรากฏนั้น สิ่งอื่นไม่มี เพราะว่ารูปธรรมย่อมเกิดดับอย่างเร็วมาก เพราะฉะนั้น รูปใดที่ไม่ปรากฏ ก็ดับไปแล้ว แม้แต่รูปที่กำลังปรากฏก็กำลังเกิดดับ เพียงแต่ยังไม่ประจักษ์เท่านั้นเอง
แต่ตราบใดที่ยังมีโลกกว้าง มีบ้าน มีคนมากมาย ก็ยังต้องเป็นตัวตนอยู่ คือ เป็นเราซึ่งกำลังรู้สิ่งต่างๆ เหล่านั้น ถ้าเหลือเพียงแข็งนิดเดียวตรงเฉพาะจุดที่กำลังปรากฏเท่านั้นโดยไม่มีอย่างอื่นรวมอยู่ด้วย จึงจะประจักษ์ได้ว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า สัญญา คือ นิจจสัญญา ความทรงจำว่าเที่ยง หรืออัตตสัญญา ความทรงจำว่ามีเรา หรือว่ามีร่างกาย มีตัวตน ทำให้ไม่สามารถประจักษ์ได้ว่า ในขณะที่แข็งหรืออ่อนเพียงเล็กน้อยที่กำลังปรากฏเท่านั้น เป็น ปรมัตถธรรมซึ่งยังไม่ดับจึงปรากฏ และไม่มีใครเลยในขณะนั้นนอกจากนามธรรมซึ่งกำลังรู้ลักษณะที่แข็งหรืออ่อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง
ซึ่งการที่จะเป็นเพียงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ทางกายทวารได้ ต้องเป็นปัญญาที่ประจักษ์ลักษณะของกลุ่มหรือของกลาปของรูป เพียงเล็กน้อย ไม่ใช่มากมายใหญ่โต เพราะเวลาที่รูปปรากฏ จะปรากฏเฉพาะส่วนที่กระทบกับกายปสาทเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ลักษณะของกายปสาท มีความเป็นที่รองรับ คือ เป็นที่ตั้งหรือเป็นที่เกิด แห่งกายวิญญาณ เป็นปัจจุปัฏฐาน คือ เป็นอาการที่ปรากฏ มีภูตรูปอันเกิดแต่กรรม ซึ่งมีความประสงค์จะถูกต้อง เป็นปทัฏฐาน คือ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด แสดงให้เห็นว่า ยังมีกรรมที่ทำให้ภูตรูปเกิดพร้อมกับกายปสาทอยู่เรื่อยๆ ตราบใดที่ยังไม่หมดหรือยังไม่ได้ดับความประสงค์ที่จะถูกต้องหรือสัมผัสทางกาย
พิสูจน์ธรรมได้ตามความเป็นจริง ทางตาเห็น แต่ถ้าสติระลึกที่กาย ขณะนั้น ใส่ใจเฉพาะลักษณะของแข็งเพื่อที่จะให้รู้ว่า เป็นสภาพที่ต่างกับสีสันวัณณะ และสภาพที่กำลังเห็นทางตา เพื่อจะได้รู้ว่า นามธรรมเกิดขึ้นและรู้ลักษณะของอารมณ์ทีละอย่าง ไม่ใช่พร้อมๆ กัน
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๑๑๗๑ – ๑๑๘๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1141
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1142
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1143
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1144
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1145
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1146
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1147
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1148
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1149
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1150
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1151
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1152
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1153
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1154
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1155
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1156
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1157
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1158
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1159
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1160
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1161
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1162
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1163
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1164
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1165
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1166
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1167
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1168
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1169
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1170
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1171
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1172
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1173
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1174
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1175
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1176
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1177
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1178
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1179
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1180
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1181
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1182
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1183
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1184
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1185
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1186
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1187
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1188
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1189
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1190
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1191
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1192
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1193
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1194
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1195
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1196
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1197
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1198
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1199
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1200