แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1184
ครั้งที่ ๑๑๘๔
สาระสำคัญ
ธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา
ปรมัตถธรรม คือ เป็นสิ่งที่มีจริง (ไม่จำเป็นต้องเรียกชื่อหนึ่งชื่อใดเลย)
น้อมไป โน้มไป คือ เพียรที่จะเข้าใจให้ถูก
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๕
ถ. เป็นเรื่องยากที่จะรู้รูปารมณ์
สุ. จักขุปสาทยังเกิดดับ ถ้าหลับตาก็ไม่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา และเวลาลืมตาจะไม่ให้เห็นเป็นสีต่างๆ ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าทุกสีที่ปรากฏทางตาเป็น รูปารมณ์ เพียงแต่ไม่ยึดถือรูปารมณ์ว่าเป็นตัวตน นี่คือสิ่งสำคัญที่จะต้องเพิกถอน อัตตสัญญา การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน โดยรู้ว่ารูปารมณ์เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น และวันหนึ่งจะปรากฏชัดว่า สภาพธรรม คือ รูปารมณ์ เป็นอนัตตาจริงๆ เข้าถึงความหมายของ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา
ถ. ปกติธรรมดา อย่างตัวผมเห็น ก็ไขว่คว้าไปถึงสิ่งที่ไม่ใช่เห็น เลยเห็นไป หรือเลยสิ่งที่อยากรู้ไป เพราะฉะนั้น ที่เรียกว่า รูปารมณ์ หรือสีที่ปรากฏทางจักขุทวาร หรือที่จักขุวิญญาณรู้จึงไม่ปรากฏ ที่จริงปรากฏแต่เราไม่เห็น
สุ. รูปารมณ์กำลังปรากฏ เพราะว่าจักขุปสาทยังไม่ดับ ในขณะนี้มีการเห็น กำลังปรากฏอยู่ แต่ไม่รู้ตามความเป็นจริง
ถ. ไปคิดเลยรูปารมณ์ไป คิดเรื่องราวไปต่างๆ เลยเถิดไป แทนที่จะรู้เฉพาะๆ กลับไปรู้เรื่องราวต่างๆ ซึ่งยืดยาวไป จึงไม่เห็นสภาพธรรมที่แท้จริง
สุ. เพราะฉะนั้น เวลาสติปัฏฐานเกิด ไม่ใช่ไปกั้นไม่ให้รู้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นอะไร แต่ให้น้อมรู้ลักษณะของรูปารมณ์จริงๆ ว่า เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏทางตาตามปกติ และสติจะได้รู้ว่า นี่เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แต่อาจจะมีการคิดต่อจากที่เห็น ก็เป็นปกติอีก เพราะฉะนั้น สติจึงต้องรู้ว่า ขณะที่คิดไม่ใช่ขณะที่เห็น
๖ ทางเท่านี้ที่สติจะต้องระลึกบ่อยๆ เนืองๆ จนความรู้เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น อย่าเข้าใจว่า ได้ไปประจักษ์ลักษณะของรูปารมณ์แว็บสองแว็บ ตอนหนึ่งตอนใด โดยที่ไม่เคยน้อมระลึกตามความเป็นจริงว่า ลักษณะของรูปารมณ์ คือ สิ่งที่กำลังปรากฏ ซึ่งเป็นอนัตตา ต้องเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นอนัตตา มิฉะนั้น จะไม่ใช่ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ถ. จะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า คือ จิตที่เกิดทางจักขุทวาร ไม่ใช่มีเพียง จักขุวิญญาณเท่านั้น จิตอื่นที่อาศัยจักขุทวารเกิดมีตั้ง ๔๐ กว่าดวง เพราะฉะนั้น การเห็นเป็นสีเขียว สีแดง ไม่ใช่จักขุวิญญาณ แต่เป็นจิตอื่น ซึ่งจิตอื่นที่จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยจักขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็นก่อน ใช่ไหม
สุ. จิตทุกดวงเกิดขึ้นกระทำกิจเฉพาะของตนๆ ไม่มีจิตดวงใดซึ่งเกิดขึ้นแล้วไม่ได้กระทำกิจหนึ่งกิจใด เพราะฉะนั้น มีการจำกัดกิจโดยไม่ก้าวก่าย เช่น จักขุวิญญาณเกิดขึ้นกระทำกิจเห็น ในจำนวนจิต ๘๙ ประเภท เฉพาะจักขุวิญญาณเท่านั้นที่กระทำกิจเห็น แสดงให้เห็นว่า จิตอื่นที่เหลือไม่ได้กระทำกิจนี้เลย เพราะฉะนั้น ขณะที่มีการคิดนึกถึงสีที่เห็นทางตาแล้ว จิตที่คิดนึกกระทำกิจคิดนึกเรื่องสีได้ หรือว่าคิดนึกถึงลักษณะของสีสันที่เห็นได้ แต่ไม่ใช่กระทำกิจเห็น จิตที่เห็นจริงๆ คือ จักขุวิญญาณ ซึ่งเกิดที่จักขุปสาทในขณะนี้เท่านั้นที่กระทำกิจเห็น
ถ. เมื่อจักขุวิญญาณทำกิจเห็นเท่านั้น เพราะฉะนั้น เวลาที่รู้ว่า เป็นสีแดง สีเขียว เป็นต้น ก็ไม่ใช่กิจของจักขุวิญญาณ
สุ. ท่านผู้ฟังแยกก่อน เห็นกับรู้ ท่านผู้ฟังใช้คำว่า รู้ว่าเป็นสีแดง สีเขียว และเห็นล่ะ เห็นอะไร ที่เห็น ไม่ใช่เห็นสีแดง สีเขียวหรือ
ถ. ก่อนที่จะรู้ว่าเป็นสีแดง สีเขียว ต้องมีการตรึกถึงสีนั้น
สุ. มิได้ เฉพาะเห็น ในขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้
ถ. เห็นเดี๋ยวนี้ก็มีรูปารมณ์ ซึ่งไม่ได้บอกว่า เป็นสีเขียว สีแดง
สุ. สีเขียวปรากฏทางไหน
ถ. สีเขียวต้องอาศัยจักขุวิญญาณเกิด จึงจะปรากฏได้
สุ. หมายความว่า สีเขียวปรากฏแก่จักขุวิญญาณ ใช่ไหม
ถ. ไม่ใช่ จักขุวิญญาณรู้เพียงสี แต่ยังไม่รู้ว่าสีเขียว
สุ. สีอะไรล่ะ นี่คือการติดในคำโดยที่ไม่เข้าใจว่า ที่จริงแล้ว รูปารมณ์ คือ สิ่งที่ปรากฏทางตานั้น ที่ไม่ใช่คำว่าสีอะไร เพราะว่ามากมาย ทุกสี มีสีอะไรที่ไม่ปรากฏแก่จักขุวิญญาณบ้าง มีสีอะไรที่ไม่ปรากฏแก่จิตเห็น มีไหม ไม่มีเลย เพราะฉะนั้น ไม่ว่าสีใดๆ ทั้งสิ้นที่จะปรากฏให้รู้ว่าเป็นสีหนึ่งสีใด เพราะจักขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็น กิจเห็นเป็นหน้าที่ของจักขุวิญญาณ ส่วนการที่จะคิดนึกเรื่องสีที่เห็น ไม่ใช่หน้าที่ของจักขุวิญญาณ เพราะจักขุวิญญาณทำกิจเห็นอย่างเดียว ไม่ได้ทำกิจคิดนึกถึงสีที่เห็นด้วย
ถ. ที่ผมพูดอย่างนั้น เพราะว่าจักขุวิญญาณมีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ สีแดง สีเขียวไม่ใช่ปรมัตถ์
สุ. ถ้าเช่นนั้นเป็นอะไร ไม่เรียกว่าแดง ไม่เรียกว่าเขียว ไม่เรียกว่าเหลือง สีนั้นๆ จะเป็นอะไร ถ้าไม่ใช่ปรมัตถ์
ถ. ถ้าไม่เรียก ก็ไม่มีสีแดง สีเขียว
สุ. มี เปลี่ยนชื่อก็ได้ เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีจริง โดยไม่จำเป็นต้องเรียกชื่อหนึ่งชื่อใดเลย แต่สภาพธรรมนั้นมีจริงๆ
ถ. ที่เราเห็นสี สมมติว่า มีสองสามสีวางอยู่ด้วยกัน เราเห็นสีนี้บ้าง สีนั้นบ้าง ที่แยกว่าสีนั้นคือสีแดงหรือสีเขียว แยกกันตรงที่ไหน
สุ. น้อมนึกถึงสีใด ขณะนั้นสีนั้นเป็นอารมณ์ ขณะนี้ถ้าถามท่านผู้ฟังว่า ในห้องนี้มีกี่สี เห็นหมด แต่ถ้าถามว่า ในห้องนี้มีกี่สี ตอบได้ทันทีไหม ก็ต้องน้อมนึกไปทีละสีๆ จะครบหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ถูกไหม แต่ว่าเห็นแน่นอน ถ้าไม่เห็นจะรู้ได้อย่างไรว่ากี่สี และเวลาที่จะรู้ว่ากี่สี ก็ต้องอาศัยตาดูจึงจะรู้ได้
ทางหู เสียงต่างๆ มีมากมายหลายเสียง ปรากฏทางหูทั้งนั้นทุกเสียง ฉันใด สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ไม่ว่าจะเป็นสีใดๆ ทั้งสิ้น จะต้องปรากฏเมื่อกระทบกับ จักขุปสาท ถ้าไม่กระทบจักขุปสาท สีใดๆ ก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จะใช้คำว่า รูปารมณ์ก็ได้ จะใช้คำว่าสีก็ได้ จะใช้ภาษาอะไรก็ได้ แต่ให้เข้าใจว่า เป็นสภาพธรรมที่มีจริงจึงสามารถกระทบกับจักขุปสาทและปรากฏ ในขณะที่จักขุปสาทยังไม่ดับ และ สีนั้นก็ยังไม่ดับด้วย
ถ้าวันไหนจักขุปสาทไม่เกิด เมื่อนั้นจะรู้ว่า รูปารมณ์หมายความถึงอะไร แต่เมื่อจักขุปสาทยังเกิดและยังเห็น ก็หลงลืมที่จะพิจารณาว่า แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่กำลังปรากฏเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏเมื่อกระทบกับจักขุปสาท เพราะฉะนั้น ไม่ต้องรอจนถึงวันที่จักขุปสาทไม่เกิด แต่แม้จักขุปสาทเกิดก็สามารถพิจารณารู้ความจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏเมื่อกระทบกับจักขุปสาท
ถ. ได้ยินคำว่า โน้มไป และน้อมไป บ่อยๆ คงไม่ใช่เรื่องของการคิด หรือการตรึกเพื่อที่จะหาเหตุผล ใช่ไหม
สุ. เป็นการน้อมไป โน้มไปที่จะพิจารณา เป็นเรื่องของนามธรรมซึ่งมีลักษณะที่จะน้อมไปสู่ความเข้าใจจนกว่าจะเข้าใจชัด อาจจะไม่เคยน้อมไปเลย ถ้าไม่เคยฟัง อาจจะไม่เคยน้อมไปว่า ไม่ว่าจะเป็นสีอะไรทั้งนั้น อย่าติดคำว่าสี หรืออย่าติดชื่อว่ารูปารมณ์ แต่ให้รู้ว่า เป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ทางตา
ถ. คำว่า น้อมไป คือ โยนิโสมนสิการ ใช่ไหม
สุ. จะใช้ภาษาบาลีก็ได้ แต่หมายความถึงขณะนั้นเป็นการที่วิริยะ คือ สัมมาวายามะ เกิดขึ้น เพียรที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง เพียรที่จะเข้าใจให้ถูก เพราะว่าเคยเข้าใจผิด เคยยึดถือสิ่งที่ปรากฏทางตาว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ ซึ่งตามความเป็นจริง ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่เนื่องจากดูเสมือนไม่ดับ ไม่เหมือนกับสภาพธรรมทางอื่น เช่น เสียง ก็ยังปรากฏชั่วขณะและก็ดับ กลิ่นก็ยังปรากฏชั่วขณะและก็ดับ แต่ทางตาเหมือนกับไม่ดับเลย เพราะฉะนั้น จึงทำให้ยึดโยงทางตา และทางกาย และทางใจ และทางหู และทางจมูก และทางลิ้น รวมกันเป็นกลุ่มก้อน โดยอาศัยทางตาที่เห็นยึดในรูปร่างสัณฐานว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มั่นคง แต่ถ้าเพียงแต่กระทบสัมผัสโดยไม่อาศัยทางตา ก็จะไม่เห็นรูปร่างสัณฐานว่า แข็งนั้นรูปร่างเป็นอย่างไร ถ้าหลับตาและกระทบสัมผัสทางกาย ลักษณะแข็งปรากฏ หรือว่าลักษณะเย็นปรากฏ หรือว่าลักษณะร้อนปรากฏ จะมีรูปร่างสัณฐานของแข็งนั้นไหม ในขณะที่หลับตา ก็ไม่มี แต่เวลาลืมตาขึ้นรูปร่างสัณฐานมาทันที ว่ากำลังกระทบกับวัตถุที่มีรูปร่างอย่างหนึ่งซึ่งแข็ง
นี่แสดงให้เห็นว่า ไม่ได้อบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะที่ต่างกันของแต่ละอินทรีย์ แต่ละทวาร ทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จนกระทั่งประจักษ์ชัดว่า ทางตาเพียงเห็น ไม่ใช่ทางใจที่กำลังคิดนึกถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่กำลังปรากฏ
เหมือนอย่างที่ท่านผู้ฟังท่านหนึ่งบอกว่า ยากที่จะรู้ว่ากำลังกระทบสัมผัสสิ่งที่ไม่ใช่น้ำ เพราะว่าโผฏฐัพพะ สภาพธรรมที่สามารถจะกระทบสัมผัสกายได้มีเพียง ๓ ธาตุ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม แต่เวลาที่เห็น ท่านเข้าใจว่าท่านเห็นน้ำ จึงทำให้ยากที่จะรู้ว่ากำลังกระทบสัมผัสสิ่งที่ไม่ใช่น้ำ แต่ตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็น น้ำเย็น น้ำร้อน น้ำชา น้ำอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเอานิ้วจุ่มลงไปกระทบสัมผัส ท่านคิดว่ากระทบสัมผัสน้ำ แต่ถ้าหลับตาและขณะนั้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ลืมสีสัน ลืมรูปร่างสัณฐาน ลืมความทรงจำซึ่งเป็นอัตตาว่าเป็นวัตถุสิ่งหนึ่ง เป็นสภาพอย่างหนึ่งซึ่งเป็นน้ำ ขณะนั้นจะมีแต่เฉพาะสภาพธรรมซึ่งสามารถจะกระทบกายได้ ถูกไหม
ที่เคยเข้าใจว่า เป็นน้ำ กำลังกระทบน้ำ แท้ที่จริงกำลังกระทบกับสภาพธรรมที่สามารถจะกระทบกายได้เท่านั้นเอง ซึ่งสิ่งที่สามารถกระทบกายได้จะไม่พ้นจาก เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว
ธาตุน้ำ เป็นสภาพธรรมที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่ให้แยกออกจากกัน ให้รวมกันอยู่ จึงไม่มีทางใดๆ เลยที่จะกระทบสัมผัสธาตุน้ำซึ่งเป็นสภาพที่เกาะกุมธาตุทั้ง ๓ ไว้ เพราะฉะนั้น เวลาที่กระทบสัมผัสสิ่งที่เข้าใจว่า เป็นน้ำ ถ้าหลับตาจะทราบได้ว่า สามารถกระทบสัมผัสกับวัตถุที่สามารถจะกระทบกับกายได้เท่านั้นเอง
เป็นเรื่องที่จะต้องระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมด้วยการศึกษา ด้วยการพิจารณา และด้วยการน้อมรู้ลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมแต่ละทาง ไม่ปะปนกัน วันนี้ลองดูว่าจะกระทบสัมผัสน้ำไหม ทันทีที่กระทบสัมผัสสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นน้ำ ลองหลับตา จะไม่เห็นรูปร่างสีสันของน้ำเลย และจะรู้ว่ากระทบสัมผัสกับสิ่งที่สามารถจะกระทบกายได้เท่านั้น ซึ่งสิ่งที่สามารถกระทบกายได้ต้องมีธาตุดินเป็นที่รองรับ และก็มีธาตุไฟ คือ ลักษณะที่เย็นหรือร้อน และก็มีธาตุลม คือ ลักษณะที่ตึงหรือไหว
เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา และนึกถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ทางตาซึ่งปรากฏเสมือนไม่ดับทำให้เข้าใจผิดคิดว่า เห็นสิ่งซึ่งเป็นวัตถุ เป็นบุคคล ต่างๆ เพราะการสืบต่อจากทวารอื่นอยู่เรื่อยๆ โดยรวดเร็ว
ถ. ทางกาย การที่จะมีโยนิโสมนสิการว่า เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง สภาพแข็งก็ดี สภาพร้อนก็ดี พอจะมองเห็นว่าเป็นความจริงอย่างนั้น แต่ทางตา มองอย่างไรๆ พิจารณาอย่างไรก็ยังเป็นรูปร่างอยู่
สุ. เพราะทางตาเกิดต่อจากทางหู ทางจมูก ตราบใดที่ยังลืมตาอยู่ ก็ทำให้นึกถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏทางอื่นอยู่เรื่อยๆ ทำให้มีความยึดถือว่าเป็นอัตตา เป็นตัวตน เป็นวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยอาศัยตาเห็น เพราะฉะนั้น จึงต้องมนสิการ พิจารณา น้อมที่จะรู้ลักษณะของรูปารมณ์จริงๆ ว่า เป็นเพียงสิ่งซึ่งปรากฏทางตา
ถ้าขาดการพิจารณาทางตา สติไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ทางตาเลย ก็ไม่สามารถรู้ตามความเป็นจริงว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน เพราะว่าทางตายังเห็นเป็นวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่เสมอ
ถ. ขณะที่อ่านหนังสือ ถ้ามีสติเกิดตอนนั้น อ่านช้าๆ ก็พอที่จะทราบว่า ลักษณะเห็นอย่างหนึ่ง กับการรู้เรื่องในการอ่านเป็นอีกอย่างหนึ่ง ผมไม่ทราบว่า ที่ผมรู้ในลักษณะต่างกันอย่างนั้น ยังเป็นปริยัติอยู่ใช่ไหม
สุ. ท่านผู้ฟังพูดถึงเรื่องการอ่านหนังสือ ขณะนี้ แทนที่ท่านผู้ฟังจะเห็นเป็นตัว ก. ข. ก็เป็นรูปร่างสัณฐานได้ไหม ทางตานี้ เหมือนกันกับอ่านหนังสือไหม แทนที่ทุกท่านในขณะนี้จะอยู่ในหนังสือเป็นตัว ก. ข. ก็กำลังอยู่ในที่นี้ และมีรูปร่างสัณฐานต่างๆ จะเหมือนกันกับอ่านหนังสือไหม
เพราะฉะนั้น ทางตา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ถ้าเริ่มพิจารณาก็จะน้อมไปสู่ ไม่ว่าการเห็นที่ไหน เห็นอะไร เห็นขณะใด
นึกถึงรูปร่าง ก. ในหนังสือ ฉันใด ขณะที่ไม่ได้อ่านหนังสือ กำลังนึกถึงรูปร่างของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็เป็นเหมือนกับตัวหนังสืออันหนึ่งอันใดก็ได้ เหมือนกันเลย เพราะฉะนั้น จึงไม่จำกัดที่จะพิจารณาแต่เฉพาะในขณะที่อ่านหนังสือ อ่านหนังสือหรือไม่อ่านหนังสือ ถ้าเข้าใจการพิจารณาสภาพธรรมที่ต่างกัน ย่อมสามารถพิจารณาในขณะที่กำลังเห็นในขณะนี้ว่า ก็คล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือ เพียงแต่ว่าสัณฐานของบุคคลที่กำลังปรากฏทางตาไม่ใช่ ก. ข. แต่ก็เป็นสัณฐานเหมือนกัน
การอบรมเจริญปัญญา ต้องบ่อยๆ เนืองๆ จึงจะรู้ความจริงของสภาพธรรม ทางตา ไม่ว่าในอดีตโกฏิกัปป์มาแล้ว หรือในปัจจุบัน หรือในอนาคตข้างหน้า ไม่ว่าจะกำลังอ่านหนังสือ หรือเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดในโลกยุคหนึ่งยุคใด สภาพธรรมที่ปรากฏ ทางตา ก็ยังคงเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา
พอที่จะนึกได้ไหมว่า กำลังเห็นสัณฐานของแต่ละท่านเหมือนกับเห็นรูปร่าง ก. ข. ในหนังสือ
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๑๘๑ – ๑๑๙๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1141
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1142
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1143
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1144
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1145
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1146
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1147
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1148
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1149
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1150
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1151
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1152
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1153
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1154
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1155
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1156
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1157
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1158
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1159
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1160
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1161
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1162
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1163
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1164
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1165
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1166
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1167
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1168
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1169
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1170
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1171
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1172
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1173
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1174
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1175
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1176
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1177
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1178
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1179
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1180
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1181
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1182
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1183
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1184
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1185
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1186
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1187
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1188
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1189
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1190
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1191
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1192
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1193
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1194
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1195
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1196
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1197
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1198
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1199
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1200